DIY Projector โปรเจ็คเตอร์ทำเอง ดูหนัง 100 นิ้ว
Group Blog
 
All Blogs
 

ตัวอย่าง DIY Projector และ ภาพที่ถ่ายจากของจริง คนไทยทำเอง

ได้รับความเอื้อเฟื้อภาพจาก คุณ wirat ขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย


ภาพ ที่ 1 ภายในตัวเครื่อง


ภาพที่ 2 ตัวกล่องภายนอกด้านหน้า


ภาพที่ 3. ภาพถ่ายด้านหลังกล่อง และจอฉาย


ภาพที่ 4. ภาพระหว่างทำการฉาย โดยใช้หลอดฉาย HQI 400W



ภาพที่ 5 ภาพหลอด HQI 400w แสงสว่างมาก


ภาพที่ 6 ภาพหลอด MH 400w มีขายทั่วไปในประเทศไทย


ภาพที่ 7 ภาพจากต่างประเทศใช้หลอด HQI ฉาย




ภาพสุดท้าย ฉายด้วยหลอด MH 400W แสงพอใช้ได้


ท่านที่เอาจอไปวางซ้อนบน Over Head แล้วเปิดดูทำได้ชั่วคราวนะครับ ถ้านานไปความร้อนจะทำให้จอท่่านพังได้ระวังด้วยครับ

ท่านใดจะทดลองทำ หรือ นักศึกษาท่านใดจะทำเป็นโปรเจคส่งอาจารย์ สอบถามได้ยินดีแบ่งปันความรู้ แต่ขอเป็น 19.00-20.30 น.  เพราะกลางวันไม่ว่างครับ หรือ เสาร์-อาทิตย์ ได้ทั้งวัน โทร. 081-3117335 วิรัตน์ครับ




 

Create Date : 08 มกราคม 2550    
Last Update : 5 กุมภาพันธ์ 2559 11:45:46 น.
Counter : 8852 Pageviews.  

ข้อดีข้อเสีย เครื่อ DIY เทียบกับเครื่อง Projector แท้

ข้อดีข้อเสียของ DIY Projector กับ Projector
ข้อดี
1. หลอดฉายแสง ราคาถูกกว่ามากอายุการใช้งาน
นานกว่ามาก คือหลอด Projector อายุการ
ใช้งาน 1000 ชั่วโมง เวลาหลอดหมดอายุ
เปลี่ยนต้องใช้เงิน ประมาณ 15000-20000 บาท
ส่วนหลอด MH 400w ที่ใช้ ทำ DIY 10000 ชม.
ราคา 900-1200 บาท
ถ้าใช้ดูภาพยนต์หรือโทรทัศน์อยู่บ้านจะคุ้มค่า
กว่าใช้ Projector แท้
2. เครื่องฉาย Projector มีราคาสูงกว่า มาก
3. ความละเอียด ของ DIY Projector ถ้าใช้จอ 15
นิ้วทำ ความละเอียด ภาพจะได้ 1024x768 จะ
เทียบเท่า Projector ราคา 80000-120000 บาท
ถ้าใช้ จอ 8นิ้ว ทำ ความละเอียดจะได้ 800X600
pix เท่ากับ Projector ราคา 40000-80000 บาท
ถ้าใช้จอ 7 นิ้ว wide Screen จะได้ 1440x234 pix
จะมากกว่า Projector ราคา 20000-35000 บาท
ซึ่งจะได้รายละเอียด 640x480 pix

ข้อเสีย
1. เครื่อง DIY จะมีขนาดใหญ่กว่า Projector แท้มาก
2. ความละเอียดถ้าจะมาทำ Presentation คุณภาพ
ตัวอักษร สีสรร จะสดสู้ Projector แท้ไม่ได้
แต่ถ้าดูภาพยนต์คุณภาพ ไม่ต่างกัน




 

Create Date : 08 มกราคม 2550    
Last Update : 8 มกราคม 2550 10:09:27 น.
Counter : 2176 Pageviews.  

ทำDIY Projector ต้องกันแสง UV ตอนนี้ดูได้แต่จะเสียใจภายหลัง

ทำไมถึงต้องกรอง UV เพราะว่าแสง UV จะทำให้จอ LCDที่ฉายเสื่อมสภาพ เร็วขึ้น โดยมีอาการเปลี่ยนสีเป็นสีขาว หรืออายุการใช้งานสั้นลง แต่นักประกอบ DIY ในประเทศไทย ไม่ค่อยให้ความสำคัญในการป้องกัน เพราะใช้ไปหลายเดือน สียังคงเดิม แต่พอนานไปสีจะออกขาวซีดมากขึ้น เหมือนเอาภาพถ่ายสีไปตากแดด
สำหรับผู้ที่ยังไม่มีกระจกดังกล่าว ควรหากระจก ป้องกันแสง UV ใส่ไปด้วยเพราะราคา LCD มีราคาค่อนข้างสูงซึ่งมักจะมองข้ามกันไป


อีกอย่างคือ รังสีความร้อนความร้อน IR ที่เกิดขึ้นที่ และส่องไปกระทบ LCD แสงตัวนี้ ควรหากระจกกรองที่สามารถกรอง IR มาป้องกัน แต่ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร หาวิธีระบายอากาศ ให้ดีก็สามารถยืดอายุ LCD ของท่านได้ อาการที่เกิดกับ LCD เมื่อมีแสง IR ไปกระทบ กับจอ LCD ในปริมาณที่มาก และได้รับการระบายความร้อนไม่ดี คือ จะทำให้จอ LCD เกิด Dead Pixel ได้ คือ จะดำเป็นวงตรงกลาง และไม่สามารถแสดงผลได้ ซึ่งแสง UV และ IR นี้ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เพราะว่าความยาวคลื่นแสง ตาคนเราจะไม่สามารถมองเห็นได้ ซึ่งจะสัมผัสได้อย่างเดียวคือความร้อนที่แผ่ออกมาจาก หลอด เท่านั้น

สรุปปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งสองในการประกอบ DIY Projector ไม่ควรมอง ข้าม เพราะ แสง UV และ IR สามารถ กรองได้ด้วยกระจกพิเศษ เพื่อยืดอายุ LCD ที่มีราคาค่อนข้างสูง หรือ พังก่อนค่อยเห็นความสำคัญ จึงควรหากระจกกรอง UV และ IR ใส่ไว้กับเครื่อง DIY Projector ที่ภาคภูมิใจของท่าน ให้อายุการใช้ งานของ LCD มีอายุยาวนานที่สุด อย่าคอยให้ ซีดขาว หรือ เกิด Dead Pixel ก่อน แล้วค่อยนึกได้ว่าควรป้องกัน


ท่านใดจะทดลองทำ หรือ นักศึกษาท่านใดจะทำเป็นโปรเจคส่งอาจารย์ สอบถามได้ยินดีแบ่งปันความรู้ แต่ขอเป็นช่วงเย็น เพราะกลางวันไม่ว่างครับ ติดต่อ 081-3117335
วิรัตน์ครับ




 

Create Date : 06 มกราคม 2550    
Last Update : 5 กุมภาพันธ์ 2559 13:17:58 น.
Counter : 699 Pageviews.  

ตำแหน่ง การวางอุปกรณ์ Projector ทำเอง

ตัวอย่างเครื่อง Over head ที่ใช้มาทำ DIY Projector

อุปกรณ์ DIY Projector


ไล่จากหลังไปหาด้านหน้า

1. Reflector(โคมสะท้อนแสง)

มีคุณสมบัติมีไว้สะท้อนแสง ไฟที่ออกมาทางด้านหลังหลอด ให้รวมตัวกันแล้วพุ่งฉายไปรวมกับแสงหน้าหลอด เพื่อให้ เกิดความสว่างมากขึ้น ทำมาจากวัสดุหลายชนิดเช่น กระจก โลหะ แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

-Palabolic รุปร่างคล้ายจาน จะสะท้อนแสงหลอดไฟให้เป็นเส้นขนาน พุ่งตรงไปยังเลนส์เกี่ลยแสง ดังนั้นในการทำ Diyprojector ต้องใช้ขนาดใหญ่พอ เพื่อให้คลุมเติมพื้นที่ของเลนส์เกลี่ยแสง

-Elliptical รูปร่างทรงกลมรูปไข่ตัดครึ่ง จะสะท้อนแสงจากแหล่งกำเนิดแสงไปรวมกันที่จุด ๆ หนึ่ง แล้วจึงไปกระทบที่เลนส์เกี่ลยแสง ไม่เหมาะกับ DIYprojector

-Spherical รูปร่างทรงกลมตัดครึ่ง จะสะท้อนแสงจากหลอดไฟ แล้วกลับเข้าหาหลอดไฟอีกที ทำให้หลอดไฟสว่างเป็นสองเท่า โดยทั้งนี้ต้องวางให้ตำแหน่งหลอดไฟอยู่ตรงจุดศูนย์กลางของ reflector เท่านั้น

2. หลอดไฟ หรือ แหล่งกำเนิดแสง

เป็นสิ่งที่ทำให้เราเสามารถเห็นภาพบนจอได้ ส่วนมากแล้วนิยมใช้หลอด Metal Halide เพราะให้แสงสว่างมาก ความร้อนพอสมควร
เมื่อเปรียบเทียบกับ หลอดไฟชนิดอื่นๆแบบวัตต์ ต่อ วัตต์ ในการเลือกใช้หลอดไฟ ต้องพิจารณาสิ่งสำคัญ ดังต่อไปนี้

-อุณหภูมิสี ของหลอดไฟ(color temperature) ควรอยู่ระหว่าง 5000 - 5600 องศาเคลวิน เพราะหลอดไฟจะให้แสงเป็นสีขาว(ไม่มีสี) ถ้าน้อยกว่านี้ แสงออกไปทางสีเหลือง หรือ ถ้ามากกว่านี้ แสงก็จะเป็นสี น้ำเงิน ขึ้นเรื่อยๆ

- ความสว่างของหลอดไฟ(Lumen output) ตัวนี้สำคัญมาก ยิ่งมากๆ ยิ่งดี หมายถึงจอภาพของคุณจะสว่างชัดเจนไปด้วย

- กำลังไฟ(watt) หลอดไฟที่มีกำลังไฟสูงๆ จะให้แสงสว่างมากขึ้น แต่ ก็ทำให้มีความร้อนมากเช่นกัน จะอธิบายการระบายความร้อน ทีหลัง

- อายุหลอด( hour life) อายุการใช้งานของหลอดไฟ เป็นสิ่งไม่ควรมองข้าม หลอดที่มีอายุใช้งานนานๆ จะไม่ทำให้เราต้องเปลี่ยนหลอดบ่อยๆ นั้นหมายถึง ท่านประหยัดค่าใช้จ่าย ในการทำ projector ด้วยตัวท่านเอง หลอดไฟที่ใช้กับ LCD projector ทั่วๆไปตามท้องตลาด ราคาจะแพง หลายหมื่นบาท ประหยัดเงินได้เยอะทีเดียว

ได้ทดลองกันแล้วว่าหลอดที่ใช้ทำ DIY Projector ได้ดีที่สุดในราคาพอสมควร ขนาดที่นิยมใช้ คือ 250W และ 400W ทั้งแบบโดยคุณภาพแสงจากหลอด HQI จะดีว่า MH ถ้าหา HQI ไม่ได้อย่างน้อยก็ต้อง MH 400w
หลอดดังกล่าวนี้จะต้องมีอุปกรณ์อย่างอื่นเป็นส่วนประกอบในการทำงานคือ Ballast Inigtor และ Capacitor (บางทีใช้ electronic ballast แต่ราคาแพงกว่า coil and core ballast)

ชุดไฟกำเนิดแสงนี้ เป็นแหล่งที่จะทำให้เกิด ความร้อน และแสง UV ซึ่งจะส่งผลโดยตรงกับ จอ LCD ที่มีราคาค่อนข้างสูงของท่าน ฉะนั้นในการออกแบบควรระวังเรื่องการระบายควาร้อน และป้องกันแสง UV ให้ดีที่สุด (อ่านบทความเรื่อง แสง UV และ รังสี IR อันตรายที่ไม่ควร มองข้าม)

3. Condenser Lens

มีลักษณะเป็นเลนส์นูนใส ทำจากแก้วชนิดพิเศษที่เรียกว่า PYREX มีคุณสมบัติในการทนความร้อนได้สูง และรวมแสงที่ได้จากหลอดไฟ ทำให้แสงออกมารวม ออกมาสว่างมากยิ่งขึ้น

4. แผ่นกรองความร้อน IR ( Heat filter)

มีลักษณะเป็นกระจกใส มองแล้วไม่ต่างอะไรกับกระจกธรรมดา แต่คุณสมบัติกระจกขนิดนี้ จะกันความร้อนไม่ให้ผ่านออกมาได้ และทนความร้อนได้สูง

5. แผ่นกรองรังสี UV

มีลักษณะเป็นพลาสติกใส มองด้วยตาเปล่าก็ไม่ต่างอะไรกับกระจกใสธรรมดาเหมือนกัน แต่สามารถกรองแสง UV และทนความร้อนได้สูงถึง 240องศา บางชนิดเป็นแผ่นฟิล์มบางๆใสๆแต่ไม่นิยมใช้ เพราะติดตั้งยาก ราคาแพง ที่นิยมใช้มากคือ แผ่น Polycabonate LexanXL10 เพราะทั้งป้องกัน UV จากหลอดไฟ และ ทนความร้อนด้วย

6. Fresnel Lens ชนิดเกลี่ยแสง

มีลักษณะเป็นแผ่นเลนส์ ซึ่งมีคุณสมบัติ นำแสงที่ผ่านจาก Condenser Lens มากระจาย ให้ทั่วเลนส์ แล้วส่องผ่านไปยัง จอกำเนิดภาพ LCD ถ้าไม่มีอุปกรณ์ชนิดนี้ ภาพที่ฉายออกมาตาม มุม 4 มุมจะเป็นเงาดำ แสงจะน้อย กว่าตรงกลางจอ เลนส์ชนิดนี้จะมีหน่วยวัดตามเบอร์ของเลนส์ เช่น แผ่นเลนส์เบอร์ 160 หมายถึง ระยะตั้งแต่แหล่กำเหนิดแสงจนถึง Lens เท่ากับ 16cm. เป็นต้น

7. จอ LCD(แหล่งกำเนิดภาพ)

เราสามารถเลือกใช้ จอชนิดต่างๆได้หลายขนาด โดย ขนาดจอควรสัมพันธ์กับ Lens ที่ฉาย เพราะ อาจมีผลในเรื่องแสง เช่น จอเล็ก 7 นิ้ว ไปใช้ Lens ที่มีความยาว Focus ยาว แสงจะออกมาน้อย เนื่องจาก ภาพที่ออกมาจะเล็กกว่าใช้จอใหญ่ จึงต้องถอยตัวเครื่องฉายออกห่าง จอมาก ทำให้แสงลดลง ฉะนั้น ความสัมพันธ์ของเลนส์ กับ ขนาดจอ ควรเลือกให้ตรงกัน จอที่สามารถ นำมาใช้ได้ ได้ตั้งแต่ 7-19 นิ้ว แล้วแต่ความต้องการ โดยรายละเอียดจอไม่ควร ต่ำกว่า 800X600 Pixels จึงจะดี และการเลือกจอควรศึกษา หรือถามผู้ที่เคยมีประสพการณ์ ว่า สายไฟภายในมีความยาวพอ หรือไม่ หรือ สามารถซื้ออุปกรณ์ต่อสายให้ยาวได้ โดยไม่ต้อง มาเปลี่ยน Socketใหม่ เพราะเรามีความจำเป็นต้องแยกตัวจอออกมาวางคู่กับ Fresnel เลนส์ ทั้งสองอัน จึงต้องมีสายไฟที่ต่อไปยังจอยาวจึงจะไม่มีปัญหาในการประกอบ

8. Fresnel Lens ชนิดรวมแสง

มีลักษณะเป็นแผ่นเลนส์ ซึ่งมีคุณสมบัติ นำแสงที่มีภาพจาก LCD มารวมไว้ข้างหน้า โดยจะมีหน่วยวัดความยาวตามเบอร์ของชนิดของเลนส์ เช่น Fresnel Lens 220m คือความยาว Focus จาก เลนส์ ไปจนถึง เลนส์ฉาย 22Cm เป็นต้น

9. Front Surface Mirror (กระจกงเงาสะทอ้นผิวหน้า)

เป็นกระจกเงาเพื่อทำการหักเหแสงให้ออกไปทิศทางด้านข้าง ซึ่งจะใช้หรือไม่ใช้ก็ได้ เพื่อการออกแบบของกลอ่ง projector กระจกชนิดนี้เป็นกระจอชนิดพิเศษ คือ เคลือบปรอทไว้ด้านผิวหน้า ของกระจก ซึ่งไม่เหมือนกระจกธรรมดาที่เคลือบปรอทไว้ด้านหลัง ทำไมต้องใช้กระจก ที่เคลือบปรอทด้านหน้า เนื่องจากถ้าใช้กระจกธรรมดาทั่วไป ภาพที่ฉายออกมาจะมีเงา เป็นภาพ 2 ชั้นเนื่องจากการหักเหแสงมีความหนาของกระจกเข้ามาเกี่ยวข้อง

10. เลนส์ฉาย

เป็นเลนส์ที่ถูกประกอบกันขึ้นจากเลนส์ 3 เลนส์(Triplet lens) คือ ด้านหน้า และ ด้านหลัง เป็นเลนส์นูน ส่วนตรงกลาง จะเป็น เลนส์เว้า ถูกบรรจุ เรียงกันไว้ในตัวยึดเลนส์อลูมีเนียมสีดำ เป็นเลนส์ที่รับแสงที่ผ่านจากFresnel lens รวมเข้ามาแล้วฉายออกไป การเลือกใช้ เลนส์ฉายควรมีความยาวโฟกัส เท่ากับ ความยาวโฟกัส ของFresnel lens รวมแสง หรือใกล้เคียงกัน ให้มากที่สุด เพื่อความชัดเจนของภาพบนจอ



ท่านใดจะทดลองทำ หรือ นักศึกษาท่านใดจะทำเป็นโปรเจคส่งอาจารย์ สอบถามได้ยินดีแบ่งปัน
ความรู้ แต่ขอเป็น 19.30-21.00 น. เพราะกลางวันไม่ว่างครับ หรือ เสาร์-อาทิตย์ ได้ทั้งวัน ติดต่อ 081-3117335 
วิรัตน์ครับ

ท่านที่เอาจอไปวางซ้อนบน Over Head แล้วเปิดดูทำได้ชั่วคราวนะครับ ถ้านานไปความร้อน
จะทำให้จอท่่านพังได้ระวังด้วยครับ


การออกแบบควรวางเป็นแนวนอนจะดีกว่าแนวตั้ง (แบบ Overhead) เพราะถ้าเปลี่ยนหลอด
เป็น MH หรือ HQI ความร้อนจะทำให้ จอเกิด Dead Pixcel ได้ครับ




 

Create Date : 05 มกราคม 2550    
Last Update : 5 กุมภาพันธ์ 2559 13:16:55 น.
Counter : 6376 Pageviews.  


vivo
Location :
นนทบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ท่านใดอยากประกอบเอง ปรึกษาแบ่งปันความรู้ไ้ด้ทุกวัน
แต่ขอเป็นช่วง19.30-21.00 น. เพราะกลางวันไม่ว่างครับ
หรือ เสาร์-อาทิตย์ ได้ทั้งวันถึง 21.00 น.
081-3117335 วิรัตน์ครับ
Friends' blogs
[Add vivo's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.