Group Blog
 
All Blogs
 
บทวิเคราะห์ Serial Experiment : Lain(4)











ลีลาการตั้งโจทย์ของเรื่องนี้ การติดตามการพัฒนาของตัวละคร และวิธีที่เรื่องดำเนินไปนั้น ใช้วิธีการเช่นเดียวกับโกอัน(koan) ซึ่ง วิธีการสอนธรรมะในรูปแบบหนึ่งของเซน โดยที่อาจารย์จะมอบปริศนาธรรมให้ลูกศิษย์ขบคิดเพื่อให้เข้าใจธรรมะ ทำให้บรรลุธรรมได้

ปริศนาที่เรื่องให้มา ได้นำพาให้ผู้ชมเกิดมุมมอง และวิธีคิดใหม่ๆเกี่ยวกับโลก และชีวิต ทั้งยังกระตุ้นให้เราหันย้อนกลับไปมองโลกในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และเว็บไซต์ต่างๆที่เราสร้างขึ้น...



...แนวคิดที่ตรงนี้ที่เรื่องพยายามนำเสนอให้แก่ผู้ชม อาจจะทำให้หลายๆคนเริ่มฉุกคิดขึ้นมาได้ว่า...

เรากำลังสร้างโลกต่างๆขึ้นในนั้นหรือเปล่า แล้วสักวันหนึ่งมันจะมีภาวะความเป็นจริง มากกว่าโลกของเราใบนี้หรือเปล่า

หรือว่าที่จริงแล้ว ...เราเพียงค้นพบโลกที่มีอยู่แล้ว... ภาวะความจริงคู่ขนาน ที่เราสามารถเข้าถึงได้โดยผ่านทางเทคโนโลยี.... หรือไม่บางทีโลกบนเว็บอาจจะมีความเป็นจริงมากกว่าโลกใบนี้ หรือมีความเป็นจริงเทียบเท่ากัน กับโลกนี้ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่เป็นจริงไปด้วยพร้อมๆกัน

นอกจากประเด็นในแง่อภิปรัชญาแล้ว สำหรับในแง่ของความคิดเชิงไซไฟ ที่เรื่องมีอยู่ก็คือ ทฤษฎีไกอา(Gaia) : สติรับรู้ และความรู้สึกนึกคิดของโลก

ทฤษฎีไกอา ได้ถูกจับมาใช้ประกอบงานเขียน และภาพยนตร์ไซไฟหลายๆเรื่อง แต่เรื่องนี้ให้มุมมองที่แปลกอกไป ในแง่ของการกล่าวถึง คลื่นความถี่กำทอนที่มีค่า 8Hz ของโลก และค่าสถิติของประชากรมนุษย์ที่เกือบเท่ากับจำนวนนิวรอน(เซลประสาท) ในสมองของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนบนโลก มีแรงขับดันที่จะพยายามติดต่อสื่อสารกันกับคนอื่นๆ เฉกเช่นเดียวกับเซลสมองแต่ละเซลส่งสัญญาณสื่อสารกันในสมองของเรา โดยเฉพาะการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีสื่อสารเมื่อเร็วๆนี้ ที่ทำให้คนแต่ละคนเข้ามาใกล้กันมากกว่าเดิม ทำให้โลกทั้งใบเชื่อมติดกัน และ(อาจจะ) ทำให้ความรู้สึกนึกคิด ของคนแต่ละคนสะสมรวมกันเป็นแหล่งข้อมูลจำนวนมหาศาล ซึ่งมีสิ่งต่างๆเพียงน้อยนิดบนโลกที่ไม่อยู่บนฐานข้อมูลอันนั้น

แน่ละ เฉกเช่นเดียวกับที่เซลสมองแต่ละเซลในสมองของคุณ ของผม ไม่อาจจะหยั่งรู้การมีตัวตน หรือความรู้สึกนึกคิดสติสัมปชัญญะของเจ้าของสมอง คือคุณ กับผมได้ ดังนั้นมนุษย์ จึงไม่อาจสำเนียกได้ ถึงกลุ่มความคิดที่ยิ่งใหญ่ที่รวมจิตใจทุกดวงของมนุษยชาติเป็นหนึ่งเดียว นั่นคือ... ไกอา...

จริงๆแล้วประเด็นนี้ยังเอามาใช้ได้อีกมาก และสามารถนำมาประกอบในนิยายวิทยาสาสตร์ได้หลายแนว เราจะเห็นแนวคิดไกอา หรือสติความรับรู้ร่วมได้ในนิยายหลายเล่ม เช่น ปฐมภพ ในนิยายชุดสถาบันสถาปนาของไอแซก อาสิมอฟ หรือ Collective Mind ของอารยธรรมบอร์ก หรือ เผ่าพันธุ์ The Buggers ในซีรีส์เอ็นเดอร์ ของ Orson Scott Card แม้แต่ตัวผมเองก็เคยหยิบทฤษฎี Collective Mind หรือ Universal Conciousness หรือ Gaia นี้มาใช้ในเรื่องสั้นของผมเรื่องหนึ่ง ที่เขียนไว้เล่นๆนานมาแล้ว เกี่ยวกับ Brain implant ที่สามารถเชื่อมสมองเข้ากับเน็ตเวิร์กโดยตรง


Create Date : 07 มกราคม 2548
Last Update : 7 มกราคม 2548 12:02:21 น. 1 comments
Counter : 502 Pageviews.


 












โดย: . (DigiTaL-KRASH!!! ) วันที่: 7 มกราคม 2548 เวลา:12:36:23 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

DigiTaL-KRASH!!!
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add DigiTaL-KRASH!!!'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.