εїз ต้นธรรม εїз เติบโตงดงามด้วยคุณธรรม
แหงนหน้ามองขึ้นใปจากโคนต้น เห็นรูปทรงแผ่ระย้ากิ่งสาขา จากร่มเงาแต่ละใบที่ได้มา เกิดจากว่าผู้มีใจไฝ่ในบุญ
Group Blog
 
All blogs
 
พระโพธิสัตว์เมื่อครั้งประสูติ ดำเนินได้ ๗ ก้าวจริงหรือ 500916

ธรรมะ Onlineบ่ายวันอาทิตย์
เรื่องพระโพธิสัตว์เมื่อครั้งประสูติ ดำเนินได้ ๗ ก้าวจริงหรือ
(วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๐)

ตัดต่อและเรียบเรียงโดย พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร


ในซอกเล็กๆๆ มีอะไรซ่อนอยู่-สิ่งไหนคิดว่าเป็นของเรา มันอาจจะไม่ใช่ของเรา says:
สวัสดีทุกท่านนะค่ะ แล้วก็คุยได้เลยหรอค่ะ

[คิม] ดวงใจยังรักเธอ says:
สวัสดีทุกๆ ท่านครับ

ขอนั่งอ่านก่อนนะค่ะ ครั้งแรกที่ได้เข้ามาค่ะ
นมัสการท่านปภัสฺสโรเจ้าค่ะ
เราจุมพิตโดยไม่รู้จักกัน says:
สวัสดีครับ

arusaya says:
นมัสการพระคุณเจ้าเจ้าค่ะ พึ่งเข้ามาครั้งแรกเหมือนกัน

นมัสการท่านเอกเจ้าค่ะ
ตื่นเต้นนะค่ะไม่เคยเข้ามาเลยค่ะ
นมัสการท่านปิยะลักษณ์เจ้าค่ะ นิมนต์แสดงธรรมด้วยเจ้าค่ะ
Ven. Upatham says:
นมัสการ-เจริญพรทุกๆ ท่าน

พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
นมัสการท่านปภสฺสโรครับ

ทุกคนแนะนำชื่อกันสักนิดไม๊คะ
พระเอกชัย says:
นมัสการครับพระอาจารย์  เจริญพรทุกท่าน

นมัสการเจ้าค่ะ
นมัสการท่านเอกชัยครับ
คิม ครับผม
ชื่อเล่น ษร (เกษร) ยินดีที่ได้รู้จักนะค่ะ
ใครมีคำถามอยากถามพระอาจารย์หรือเปล่าคะ
นัฐพล-น.น้ำใจดี (FM89.25Mhz) says:
นมัสการพระอาจารย์

เจริญพร สวัสดีจ๊ะทุกคน
ส้ม says:
สวัสดีทุกๆ ท่านค่ะ

ใครมีอะไร เปิดประเด็นเลยครับ
มีคุณธนวัฒน์ฝากคำถามมาทางเมล์เจ้าค่ะ 2 ข้อ
      1. จากพุทธประวัติที่ว่า เมื่อพระองค์ประสูติ ทรงเสด็จดำเนินได้ 7 ก้าวนั้น มีนัยอย่างไร เป็นปุคคลาธิษฐานอย่างไร? เกี่ยวข้องกับโพชฌงค์ 7 หรือไม่ ?
      2. มีโรงฆ่าสัตว์อยู่ไม่ไกลจากบ้านผม ดึกๆ จะได้ยินเสียงร้องด้วยความเจ็บปวด ซึ่งกระทบใจให้เศร้าหม่นหมอง ด้วยเหตุนี้ ผมควรวางใจให้เป็นอุเบกขาได้อย่างไร? ใจจริงแท้ ได้รับแรงดลใจให้อยากเลิกทานเนื้อสัตว์ แต่ผมไม่อยู่ในฐานะที่จะเลือกทำอย่างที่ใจชอบได้?

คำถามที่ดีมากๆ เลยครับ
น้องคิมเคยสงสัยไม๊คะ ว่าทำไมเด็กแรกเกิดถึงเดิน 7 ก้าวได้
       ผมตอบไม่ถูกแฮะ รอฟังคำตอบอย่างเดียว เพราะปัญญาไม่ถึงขั้นที่จะตอบได้ สงสัยครับ แต่ตอบไม่ได้
ออกความเห็นกันได้เลยนะคะ และนิมนต์พระอาจารย์ทั้ง 3 รูป ด้วยเจ้าค่ะ
 [b][c=12]G^o^LF[/c][/b][c=4][/c] says:
สวัสดีครับ

นิมนต์ท่านปภัสฺสโรตอบด้วยเจ้าค่ะ
.......

       ในเรื่องของการเสด็จดำเนินไป ๗ ก้าวของพระโพธิสัตว์นั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์อย่างนั้น ซึ่งลักษณะแห่งพระโพธิสัตว์นั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า มีด้วยกันหลายประการ ดังที่ตรัสไว้ในทีฆนิกาย มหาวรรคว่า
       “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ พระโพธิสัตว์ผู้ประสูติแล้วได้ครู่หนึ่ง ประทับยืนด้วยพระบาททั้งสองอันสม่ำเสมอ ผินพระพักตร์ทางด้านทิศอุดร เสด็จดำเนินไปเจ็ดก้าว
          และเมื่อฝูงเทพยดากั้นเสวตฉัตรตามเสด็จอยู่ทรงเหลียวแลดูทั่วทุกทิศ เปล่งวาจาว่าอันองอาจว่า เราเป็นยอดของโลก เราเป็นใหญ่แห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐแห่งโลก ความเกิดของเรานี้เป็นครั้งที่สุด บัดนี้ความเกิดอีกมิได้มี ดังนี้ ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้ ฯ”
(๑)
       ในข้อที่ว่า การดำเนินไปด้วยพระบาท ๗ ก้าวในครั้งพระโพธิสัตว์ประสูตินั้น บางคนก็เข้าใจว่า น่าจะเป็นอุปมาอุปไมย
       เช่นคิดว่า น่าจะหมายถึง การเผยแผ่พระศาสนาในยัง ๗ แว่นแคว้นใหญ่ในชมพูทวีปในสมัยนั้น หรือบ้างก็ว่า น่าจะหมายถึง การที่จะทรงแสดงหลักแห่งการตรัสรู้ ๗ ประการให้ปรากฏ คือ โพชฌงค์ ๗ อย่างนี้ก็มี
       บางคนก็ตั้งข้อสงสัยว่า เป็นไปได้อย่างไรที่เด็กทารกเกิดมาแล้วจะเดินได้ ? ซึ่งเชื่อว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

       ผมว่าน่าจะเป็นไปได้นะครับ คนปัจจุบันนำวิทยาศาสตร์มาครอบศาสนาจนหมด สิ่งที่พระตถาคตตรัสอยู่ในพระไตรปิฎก ก็น่าจะเป็นความจริงที่ตรงล้วนขอรับ
       หากว่าเราลองพิจารณาเรื่องง่ายๆ อย่างเช่น เราเชื่อว่าพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้จริง แล้วถามว่า มีใครบ้างไหมในที่นี้ที่เคยตรัสรู้บ้าง คำตอบก็คงจะเป็นว่า "ไม่มี" แล้วทำไมเราเชื่อล่ะว่า พระพุทธเจ้าทั้งที่เป็นมนุษย์เหมือนเราทรงตรัสรู้ได้ ทรงกระทำกิเลสให้หมดสิ้นไปได้ หรือมนุษย์มีความสามารถตรัสรู้ธรรมได้จริงหรือ ในแง่อย่างนี้เราเคยคิดบ้างไหม
หรือว่า ตรัสรู้ ยอมรับได้  แต่เด็กตัวแค่นั้นเดินได้ ไม่น่าเป็นไปได้
       หลายสิ่งหลายอย่างที่พระองค์ทำ แล้วเราทำไม่ได้นั้นมากนะครับ เช่น พระที่สำเร็จฌานล้วเหาะ เพราะได้อภิญญา ปฐวีกสิณ
       บางครั้ง เราเอามาตรฐาน หรือความรู้ความสามารถของตัวเราเข้าไปวัด หรือนำไปเทียบเคียงกับสิ่งที่เราไม่อาจเข้าใจได้ด้วยความรู้ความสามารถที่มีจำกัดของเราเอง ฉะนั้น เราจึงมองสิ่งต่างๆ แคบจนเกินไป แต่กลับคิดไปว่า อะไรที่เราทำไม่ได้ คนอื่นก็น่าจะทำไม่ได้เช่นเดียวกัน
สาธุครับ เราเอาวิทยาศาสตร์ของคุณๆ ฝรั่งทั้งหลายมาครอบจนหมดเสียแล้ว
       อย่างที่คุณเจดว่า ในเรื่องของฌานสมาบัติและอภิญญาก็เช่นเดียวกัน เราในที่นี้บางคนก็คงจะทำไม่ได้ หรือแทบจะไม่สามารถเข้าใจได้เลยว่า อภิญญาหรืออิทธิวิธีต่างๆ นั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วอย่างนี้ เราก็คงจะต้องปฏิเสธด้วยเช่นเดียวกันว่า ไม่มี เป็นไปไม่ได้ ถ้าเราเอามาตรฐานความสามารถของเราเป็นตัวตัดสิน (๒)
       เห็นด้วยเจ้าค่ะ ดิฉันเห็นว่าวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่หยาบ วิทยาศาสตร์ของคุณฝรั่งนะคะ
       พระพุทธเจ้าตรัสว่า "เป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์อย่างนั้น" เพราะเหตุใด ก็เพราะเหตุว่า พระโพธิสัตว์ในพระชาติสุดท้ายที่จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านั้น ได้ทรงบำเพ็ญบารมีมาแล้วอย่างน้อยที่สุดก็ ๔ อสงไขย กับแสนมหากัปป์ เพื่อการตรัสรู้ธรรมนั้น (๓)
       แล้วเรามิได้บำเพ็ญบารมีมายาวนานเช่นเดียวกับท่าน เพื่อการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเช่นนั้น ฉะนั้น บางสิ่งที่เราไม่อาจกระทำ หรือเข้าใจได้ จึงเป็นสิ่งธรรมดาที่จะเกิดขึ้นได้

สาธุครับ
       อย่างทุกท่านที่เกิดมานี้ ย่อมมีบุญญาบารมีต่างๆกัน ที่บำเพ็ญมา ทำไมบางคนเป็นหญิงเป็นชาย นั่นก็เป็นพระบารมีของพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญมา ผมว่านะครับ
       บางคนนั่งสมาธิอย่างหนัก เเต่มิได้ฌานเสียที เเต่บางคนปิติมาเร็วมาก อาจเป็นเพราะเคยทำมาก่อน เเล้วมาทำต่อ

       หรืออย่างเช่น พระพุทธเจ้าตรัสธรรมดาแห่งพระโพธิสัตว์ว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จออกจากพระครรภ์พระมารดา เสด็จออกอย่างง่ายดายทีเดียว ไม่เปรอะเปื้อนด้วยน้ำ ไม่เปรอะเปื้อนด้วยเสมหะ ไม่เปรอะเปื้อนด้วยโลหิต ไม่เปรอะเปื้อนด้วยอสุจิ อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่อง
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย แก้วมณีอันบุคคล วางลงไว้ในผ้ากาสิกพัสตร์ แก้วมณีย่อมไม่ทำผ้ากาสิกพัสตร์ให้เปรอะเปื้อนเลย ถึงแม้ผ้ากาสิกพัสตร์ก็ไม่ทำแก้วมณีให้เปรอะเปื้อน เพราะเหตุไรจึงเป็นดังนั้น เพราะสิ่งทั้งสองเป็นของบริสุทธิ์ แม้ฉันใด
          ดูกรภิกษุทั้งหลายฉันนั้นเหมือนกันแล ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จออกจากพระครรภ์พระมารดา เสด็จออกอย่างง่ายดายทีเดียว ไม่เปรอะเปื้อนด้วยน้ำ ไม่เปรอะเปื้อนด้วยเสมหะ ไม่เปรอะเปื้อนด้วยโลหิต ไม่เปรอะเปื้อนด้วยอสุจิ อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่อง  ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้ ฯ”
(๔)
ครับ เป็นบุญของทั้งพระมารดาและพระโอรส
ค่ะ
       ดังพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงและยกเป็นตัวอย่างให้เห็นนี้ เราเองโดยธรรมดาก็คงคิดว่า เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เช่นเดียวกัน ว่าทำไมเด็กเพิ่งคลอดใหม่ๆ จะไม่เปรอะเปื้อนด้วยโลหิต(เลือด) เพราะเราก็เคยเห็นแต่ทารกที่เวลาคลอดแล้ว ก็ต้องเลอะเทอะด้วยเลือด อันนี้ก็เช่นเดียวกัน เป็นสิ่งที่เราไม่อาจเข้าใจได้ด้วยลำพังสติปัญญาของเราเช่นเดียวกัน
คนปัจจุบัน บางคนคลอดง่าย บางคนคลอดยาก
       แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงตรัสด้วยคำเพียงสั้นๆ ว่า "นี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้ ฯ" นี้เป็นธรรมดาแห่งพระโพธิสัตว์อย่างนั้น
อืมม เป็นธรรมดา
       สิ่งเหล่านี้เข้าใจยากนะ แต่เราก็มีความศรัทธาเลื่อมใส มีความเชื่อในพระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ว่าพระพุทธเจ้าจะทรงพูดแต่ความจริง และตรัสเฉพาะสิ่งที่เป็นจริงที่ปรากฏให้เห็นได้เท่านั้น เพียงแต่ว่า บุคคลใดจะมีปัญญาเข้าถึงสิ่งที่พระองค์ทรงตรัสแสดงไว้ได้เท่านั้นเอง
      แล้ว 7 ก้าว มีความหมายว่าอย่างไรเหรอเจ้าคะ พระพุทธเจ้าท่านทรงตรัสไว้หรือเปล่า ว่าทำไมต้อง 7 ก้าว
ครับ รู้สึกจะทรงตรัสว่า เป็นธรรมดาเฉยๆ นะครับ เป็นธรรมดาเฉยๆ
       เช่น พระองค์ตรัสว่า
          "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ เมื่อใด พระโพธิสัตว์เสด็จออกจากพระครรภ์พระมารดา เมื่อนั้น ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ แสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ ย่อมปรากฏล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย..
       ซึ่งเราเองเกิดในยุคสมัยนี้ เราย่อมไม่มีโอกาสได้เห็นโอภาส คือ แสงสว่างอันยิ่งเช่นนั้น และเราก็ไม่ใช่เทพยดาเสียด้วย ที่จะได้เห็นโอภาส คือ แสงสว่างอันไม่มีประมาณ ซึ่งสามารถล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายได้ (หรือบางทีเราอาจจะเกิดเป็นเทวดาในครั้งนั้น แต่จำไม่ได้ก็ได้นะ)

      มันเป็นแสงอย่างไรเหรอเจ้าคะ เหมือนเนื้อตัวพระพุทธเจ้าสว่างขึ้นมาเหรอเจ้าคะ หรือว่าเป็นอุปมาอุปไมย
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ทรงเเผ่รังสีขอรับ คิดว่าไม่ใช่อุปมาครับ
       โอภาสก็คือแสงสว่างวาบขึ้น โพลงขึ้น ท่านว่า
“(แม้)ช่องว่างซึ่งอยู่ที่สุดโลก มิได้ถูกอะไรปกปิด ที่มืดมิดก็ดี สถานที่ที่พระจันทร์และพระอาทิตย์เหล่านี้ ซึ่งมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากปานนี้ส่องแสงไปไม่ถึงก็ดี ในที่ทั้งสองชนิดนั้น แสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ ย่อมปรากฏล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย ถึงสัตว์ทั้งหลายที่เกิดในสถานที่เหล่านั้นก็จำกันและกันได้ด้วยแสงสว่างนั้นว่า พ่อเฮ้ย ได้ยินว่าถึงสัตว์พวกอื่นที่เกิดในนี้ก็มีอยู่เหมือนกัน และหมื่นโลกธาตุนี้ ย่อมหวั่นไหวสะเทื้อนสะท้าน ทั้งแสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ ย่อมปรากฏในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้ ฯ”
(๕)
สาธุครับ
ค่ะ
คับ
       สิ่งหนึ่ง ที่อยากให้เราลองพิจารณาก็คือ การที่เราไม่เข้าใจในสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ เช่น ในเรื่องธรรมดาแห่งพระโพธิสัตว์ เป็นต้น แล้วเราด่วนสรุปลงไป ว่าท่านไม่ได้เป็นอย่างนั้น ท่านมิได้มีอย่างนี้ หรือท่านเพียงพูดในเชิงเป็นอุปมาอุปไมยเท่านั้น เช่นนี้แล้ว จะถูกต้องอย่างนั้นหรือ
       บางคนหาญกล้าแสดงภูมิของตน ว่าตนรู้ตนเห็นในสิ่งต่างๆ เหล่านี้ดี ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงอุปมาอุปไมย ถึงกับมีนักวิชาการทางการศาสนาและการศึกษา ต้องการให้ตัดสิ่งเหล่านี้ออกไปจากพระไตรปิฏกเลยทีเดียว อย่างนี้จะถูกต้องหรือ

สาธุครับ
       บางท่านก็ว่า ขอให้พระภิกษุสงฆ์สอนเด็กนักเรียนว่า เรื่องเหล่านี้เป็นแต่เพียงอุปมาอุปไมยเท่านั้น เป็นบุคคลาธิษฐาน (๖) เพื่อให้ทรงจำได้ง่าย ให้น่าสนใจเท่านั้น แล้วให้สอนว่า พระโพธิสัตว์ไม่ได้เดินได้จริง เป็นแต่อุปมาอย่างนั้นอย่างนี้เท่านั้น อย่างนี้จะสมควรหรือ
       ท่านเหล่านั้น เอาศาสนามาปนกับเรื่องโลกๆ จนเกินไปมั้งครับ เเคร์กับเรื่องโลกๆ มากกว่า
       โดยแท้แล้วเขาเหล่านั้นที่กล่าว ก็มิได้มีคุณธรรมเสมอด้วยพระพุทธเจ้า แต่กลับปฏิเสธพระพุทธพจน์โดยอาศัยเพียงสติปัญญาอันจำกัดของตนมาตัดสินความถูกต้องของพระไตรปิฎก อย่างนี้เป็นสิ่งที่อันตรายมาก
       ครั้งหนึ่ง อาตมาเคยได้ยินเขากล่าวว่า "ต้องการให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เป็นสากล ประกอบด้วยเหตุและผล ไม่สอนให้งมงาย" จึงต้องการให้เปลี่ยนการสอน ‘วิชาพุทธประวัติ’ ให้เป็นวิทยาศาสตร์ทั้งหมด อะไรที่อธิบายไม่ได้ หรือผู้กล่าวไม่เข้าใจ ก็ให้บอกสอนไปว่า เป็นอุปมา เป็นเพียงอุปมาอุปไมยเท่านั้น ในลักษณะอย่างนี้
       แต่โดยแท้แล้ว มีสิ่งหนึ่งที่ผู้กล่าวกำลังหลงไปโดยที่ไม่รู้ตัว ก็คือ ความงมงายที่แท้จริงนั้น ก็คือ การปฏิเสธต่อสิ่งที่ตนไม่รู้ไม่เห็นนั้นล่ะ โดยทำคล้ายกับว่าเป็นสิ่งที่ตนรู้ตนเห็น แล้วก็กล่าวไปด้วยความเชื่อมั่นของตนนั้น ‘ว่าตนรู้’ ทั้งที่ตนมิได้รู้จริงเลย นี่ล่ะความงมงายต่อระบบการศึกษาสมัยใหม่ที่แท้จริง

ค่ะ
       ที่ว่า ‘งมงายต่อระบบการศึกษาสมัยใหม่นั้น’ ก็คือ ความงมงายต่อระบบวิทยาศาสตร์ ที่ยอมรับเฉพาะสิ่งที่วัดค่าได้ วัดออกมาเป็นตัวเลขได้ มองเห็นได้ จับต้องได้ ยอมรับเฉพาะสิ่งที่รู้เห็นได้ทางประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ของตนเท่านั้น สิ่งใดที่ตนไม่รู้ ก็บอกว่า ‘ไม่มี’ นี่ล่ะ ความงมงายที่แท้จริง
เห็นด้วยคับ
สาธุครับ
       พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการกระทำ (๗) การพิสูจน์ทดลอง ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์เสียยิ่งกว่าวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันเสียอีก เพราะว่า วิทยาศาสตร์ในปัจจุบันสอนให้เชื่อเฉพาะเรื่องทางวัตถุที่จับต้องได้เท่านั้น แต่พระพุทธศาสนาสอนให้เราเป็นนักวิทยาศาสตร์ทั้งในทางวัตถุรูปธรรม และในทางนามธรรม คือ จิตใจ ไปด้วยพร้อมกัน
แล้วเราควรตั้งความเชื่อไว้อย่างไรเจ้าคะ
วิทยาศาสตร์สอนแค่ สัมผัส ลิ้น จมูก ตา เเต่ศาสนาพุทธ มีใจด้วยครับ
เห็นด้วยค่ะ
       พระพุทธศาสนาเราสอนให้รู้จักพินิจพิจารณาและกล่าวสัตย์ซื่อตามความเป็นจริง ไปตามที่ตนมีความรู้ความเข้าใจนั้นอย่างตรงไปตรงมาที่สุด
       เช่น ถ้ารู้ก็บอกว่ารู้ ถ้าเห็นก็บอกว่าเห็น ถ้าไม่รู้ก็ต้องบอกว่าไม่รู้ ถ้าไม่เข้าใจก็ต้องกล้าบอกว่าไม่รู้ไม่เข้าใจ อย่างนี้เป็นต้น

      สัมผัสที่พิสูจน์ได้ด้วยการรับรู้ของเราเอง อืมม ไม่ใช่ว่าไม่รู้ แล้วมาอธิบายเป็นอย่างอื่น ด้วยเหตุผลที่ตนเข้าใจ ก็เหมือนการไม่ซื่อสัตย์ต่อตน และบิดเบือนสิ่งที่ได้ยินมา
       เรียกว่า เป็นผู้ที่ถือ “สัจจนิยม” หรือถือ “สัจจานุรักษ์” (การคุ้มครองสัจจะ การตามรักษาสัจจะ หรือการตามรักษาความจริง) คือกล่าวและยอมรับในสิ่งที่ตนรู้ตนเห็นเท่านั้น ไม่กล่าวครอบคลุมลงไปว่า คงจะเป็นอย่างนั้น คงจะเป็นอย่างนี้ ทั้งที่ตนไม่รู้ เป็นต้น
       อย่างนี้ล่ะเรียกว่า เป็นชาวพุทธที่แท้จริง คือ เป็นผู้ตื่นจากความโง่เขลางมงาย ตื่นจากความหลงในหลักการ ทฤษฎี ความเชื่อที่ตนยึดถืออยู่ ตื่นจากความหลงในวิธีการคิดของตน โดยเข้าใจว่าตนเป็นผู้รู้ผู้เข้าใจแล้ว แม้ในสิ่งที่ตนยังไม่อาจรู้ไม่อาจเข้าใจได้ในขณะนั้นนั่นเอง

อืมม สัจจานุรักษ์ คำนี้เคยได้ยินในวงสนทนาแบบไดอะล๊อก
ค่ะ
       พระพุทธเจ้าตรัสว่า เมื่อเธอรู้เห็นอย่างไร ก็พึงกล่าวตามไปอย่างนั้น กล่าวตรงตามไปอย่างนั้น ไม่กล่าวไม่ไขว้เขวเป็นอย่างอื่นไป นี่ล่ะเรียกว่า ผู้ถือสัจจานุรักษ์ (๘) คือ ลักษณะของผู้ที่ย่อมกล่าวไปตามที่ตนรู้ และได้ศึกษามาเท่านั้น ไม่พูดเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจผิดไปว่า ‘ที่แท้มันเป็นอย่างนี้นะ มิใช่อย่างนั้น โดยเอาความเห็นของตนเข้ามาสอดแทรกไปกับข้อมูลที่มี ให้เกิดความสับสนว่าอันไหนเป็นข้อมูลความจริงที่ตนรู้ อันไหนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้พูดเท่านั้นกันแน่’ แยกออกจากกันอย่างชัดเจนและตรงไปตรงมา อย่างนี้สิ พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นสัจจานุรักษ์ (ผุ้ตามรักษาสัจจะ) ที่แท้จริง ไม่ด่วนสรุปลงไปทีเดียว
เราควรหัดฟังเสียงในใจเราด้วย ว่าเราได้เกิด bias ขึ้นหรือไม่
ฝนตกขอลงก่อน สวัสดี
นมัสการเจ้าค่ะ
       ซึ่งในเรื่องที่ได้ยกขึ้นมาเป็นประเด็นสนทนาในวันนี้ ถ้าจะกล่าวให้ถูก กล่าวอย่าง "สัจจานุรักษ์" ก็ควรจะกล่าวว่า "ตามที่ได้ศึกษามา พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ ซึ่งมีปรากฏหลักฐานในพระไตรปิฎกว่า 'ธรรมดาของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย เมื่อเสด็จออกจากพระครรภ์มารดา ย่อมเสด็จดำเนินไป ๗ ก้าว แล้วเปล่งอาสภิวาจา.. นี้เป็นธรรมดาแห่งพระโพธิสัตว์"
       แล้วกล่าวต่อไปว่า "ตามหลักฐานที่ปรากฏเป็นเช่นนั้น ในส่วนตัวของข้าพเจ้าๆ ไม่รู้ไม่เห็น จึงไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นจริงเช่นนั้นหรือไม่ แต่โดยความเห็นของข้าพเจ้าๆ คิดว่า น่าจะเป็นอุปมาอุปไมย เท่านั้น" อย่างนี้เป็นต้น
       หรือกล่าวว่า ตามหลักฐานในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าตรัสว่า "..." เช่นนี้ ซึ่งข้าพเจ้ามีศรัทธาเลื่อมใสในปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าเชื่อว่า พระองค์จะไม่ทรงโกหกเรา สิ่งที่ท่านกล่าวคงจะเป็นจริงอย่างนั้นอย่างแน่นอน ข้าพเจ้ามีศรัทธาเช่นนี้ อย่างนี้ก็ได้

เจ้าค่ะ
       ในฐานะที่เราเป็นชาวพุทธ เราควรมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และให้ความยุติธรรมแก่พระธรรมวินัย สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ก็ล่วงเลยมากว่า ๒๐๐๐ ปีแล้ว ฉะนั้น การที่เราจะตัดสินสิ่งใดลงไป เราควรพินิจพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อนด้วยสติปัญญาเท่าที่เรามีอยู่ ไม่พึงตัดสินหรือคัดค้านพระธรรมคำสอนโดยที่เราไม่รู้ไม่เข้าใจ ซึ่งจะเป็นบาปแก่บุคคลผู้ปฏิบัติเช่นนั้น เรียกว่า กล่าวให้ผิดไปจากพระธรรมวินัย แสดงในสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงแสดงไว้ แต่กลับกล่าวไปให้ผิดเพี้ยนไม่ตรงกับที่พระพุทธเจ้าตรัส แล้วกล่าวว่า "เป็นเช่นนั้นเช่นนี้" ซึ่งเป็นสิ่งไม่สมควรเลย
       ถ้าจะกล่าวให้หนักแน่นอย่างที่ไม่เกรงใจกัน ก็จะกล่าวว่า ท่านผู้พูดให้เสื่อมเสียผิดเพี้ยนจากพระธรรมวินัยนั้น ได้กระทำกรรมหนักที่เรียกว่า "อริยุปวาท"
(๙) คือ กล่าวคัดค้าน ลบหลู่ต่อพระธรรมคำสอนของพระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ทั้งที่ตนไม่รู้ไม่เข้าใจ
       ย่อมจักเป็นบาปตกแก่บุคคลนั้น ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งเราเหล่าพุทธบริษัททุกคนผู้ปรารถนาความสุขความเจริญแก่ชีวิต ก็พึงสำเหนียกไว้โดยความสำรวมระวัง อย่าได้ประมาทในการกล่าววาจาจ้วงจาบต่อพระพุทธศาสนาอีกเลย

สาธุ
       ขอให้ทุกท่านได้มีความสงบร่มเย็นในชีวิต ขอให้มีความเบิกบานในจิตใจ ขอให้ได้เข้าถึงเป้าหมายแห่งพระพุทธศาสนา คือ ความพ้นจากทุกข์ และจากความลุ่มหลงด้วยกันทุกคน เทอญ
       ขอบูชาคุณแห่งสมเด็จพระผู้มีพระภาค ด้วยบาลีว่า
"จิรํ ติฎฺฐตุ สทฺธมฺโม" ขอพระสัทธรรมจงสถิตสถาพรตลอดกาลนานเทอญ

ขอรับ สาธุครับ
และขอส่งท้ายด้วยบทพุทธภาษิตอีกครั้งหนึ่งว่า (๑๐)


“มคฺคานฏฺฐงฺคิโก เสฏฺโฐ      สจฺจานํ จตุโร ปทา
วิราโค เสฏฺโฐ ธมฺมานํ           ทิปทานญฺจ จกฺขุมา”
บรรดาทางทั้งหลาย ทางมีองค์ ๘ ประเสริฐสุด
บรรดาสัจจะทั้งหลาย บททั้ง ๔ (อริยสัจ) ประเสริฐสุด
บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคธรรมประเสริฐที่สุด
บรรดาสัตว์สองเท้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้มีจักษุประเสริฐสุด


       ขอนมัสการท่านเอกชัยด้วยความเคารพ และขออนุโมทนาบุญกับญาติโยมทุกคน ที่ได้เข้ามาร่วมสนทนาธรรมกันในวันนี้
ขอบพระคุณมากเจ้าค่ะ
อาตมาลาล่ะนะ
ครับ ขอบพระคุณครับ นมัสการลา
       สัปดาห์หน้า อาตมาขอลานะ จะไม่ได้เข้ามาร่วมสนทนาด้วย เพราะจะต้องไปพบแพทย์จ๊ะ
อาทิตย์ต่อไป มีการสนทนาเป็นปกตินะเจ้าคะ
จ๊ะ
...................................................






๑.  ๔ ๕ ที.ม.๑๐/๒๖/๑๑, ๑๐/๒๔/๑๑, ๑๐/๒๗/๑๒ มหาปทานสูตร
๒. ที.ปา.๑๑/๔๓๑/๒๖๔, อง.ฉกฺก.๒๒/๒๗๓/๒๕๘
๓. ขุ.พุทฺธวํส.๓๓/๒/๒๙๕, ขุ.จริยา.๓๓/๑/๓๗๒
๖ ม.มู.อ.๑๗ หน้า ๖๒
[เทศนา ๔ - จริงอยู่ การเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า อันดับแรกมี ๔ ประการ ด้วยอำนาจธรรมและบุคคลนั่นแล คือ ธรรมเทศนาที่ยกพระธรรมเป็นที่ตั้ง(ธัมมาธิษฐาน) บุคคลเทศนาที่ยกพระธรรมเป็นที่ตั้ง (ธัมมาธิษฐาน) บุคคลเทศนาที่ยกบุคคลเป็นที่ตั้ง (บุคคลาธิษฐาน) และพระธรรมเทศนาที่ยกบุคคลเป็นที่ตั้ง (บุคคลาธิษฐาน).


  • บรรดาเทศนา ๔ ประการนั้น เทศนาแบบนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้, เวทนา ๓ อะไรบ้าง คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา เละอทุกขมสุขเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนาทั้ง ๓ เหล่านี้แล พึงทราบว่า ชื่อว่าธรรมเทศนาที่เป็นธัมมาธิษฐาน.

  • เทศนาแบบนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษนี้ มีธาตุ ๖ มีผัสสายตนะ ๖ มีมโนปวิจาร ๑๘ มีอธิษฐานธรรม ๔ พึงทราบว่า ชื่อว่าบุคคลเทศนาที่เป็นธัมมาธิษฐาน.

  • เทศนาแบบนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษบุคคล ๓ พวกเหล่านี้ มีอยู่ในโลก ๓ จำพวกเหล่าไหนบ้าง? คือบอด, มีจักษุข้างเดียว และจักษุ ๒ ข้าง ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลบอดเป็นไฉน? พึงทราบว่า ชื่อว่าบุคคลเทศนาที่เป็นบุคคลาธิษฐาน.

  • เทศนาแบบนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภัยในทุคติเป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นว่า  กายทุจริตแลมีวิบากอันลามก อภิสัมปรายภพ ฯลฯ ย่อมบริหารตนอันสะอาด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภัยในทุคติ พึงทราบว่า ชื่อว่า ธรรมเทศนาที่เป็นบุคคลาธิษฐาน.]

๗ ที.สี.๙/๑๘๒/๑๒๑, ม.ม.๑๓/๖๕๐/๔๔๘
๘ ม.ม.๑๓/๖๕๕/๔๕๒ จังกีสูตร, ขยายความ ม.ม.อ.๒๑ หน้า ๓๖๙
๙ วิ.ม.อ.๑ หน้า ๓๐๐, ขุ.อิติ.อ.๔๕ หน้า ๔๒๓, ขุ.เถรี.อ.๕๔ หน้า ๓๖๘, ขุ.จริยา.อ.๗๔
หน้า ๓๒๗,
   องฺ.ทสก.อ.๓๘ หน้า ๒๘๔, ม.มู.๑๒/๑๖๖-๙/๙๙, ม.มู.๑๒/๑๗๖/๑๐๖
[การกล่าวใส่ร้ายพระอริยเจ้ามีโทษเช่นกับอนันตริยกรรม - ก็บรรดาอริยุปวาทและมิจฉาทิฏฐิ เหล่านั้น แม้เมื่อท่านสงเคราะห์อริยุปวาทเข้าด้วยวจีทุจริตศัพท์นั่นเอง และมิจฉาทิฏฐิเข้าด้วยมโนทุจริตศัพท์เช่นกันแล้ว การกล่าวถึงกรรมทั้ง ๒ เหล่านี้ซ้ำอีก พึงทราบว่า มีการแสดงถึงข้อที่กรรมทั้ง ๒ นั้นมีโทษมากเป็นประโยชน์.
จริงอยู่ อริยุปวาทมีโทษมากเช่นกับอนันตริยกรรม. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนสารีบุตร ! เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญาพึงได้ลิ้มอรหัตผลในภพปัจจุบันนี้แล แม้ฉันใด, ดูก่อนสารีบุตร ! เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ ฉันนั้น บุคคลนั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสียแล้ว ต้องถูกโยนลงในนรก (เพราะอริยุปวาท) เหมือนถูกนายนิรยบาลนำมาโยนลงในนรกฉะนั้น…]
ม.มู.อ.๑๘ หน้า ๒๙๙
[ชื่อว่าอันตรายิกธรรม เพราะทำอันตรายต่อสวรรค์และนิพพาน. อันตรายิกธรรมเหล่านั้นมี ๕ อย่าง คือ กรรม กิเลส วิบาก อริยุปวาท และอาณาวีตกกมะ.


  • ในอันตรายิกธรรมเหล่านั้น อนันตริยกรรม ๕ ชื่อว่า กัมมนตรายิกธรรม...

  • ธรรมคือนิยตมิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่า อันตรายิกธรรมคือกิเลส.

  • ปฏิสนธิธรรมของบัณเฑาะก์ สัตว์เดรัจฉานและอุภโตพยัญชนก ชื่อว่า อันตรายิกธรรมคือวิบาก.

  • ธรรมคือการเข้าไปว่าร้ายพระอริยเจ้า ชื่อว่า อันตรายิกธรรมคืออุปวาทะ. แต่อุปวาทันตรายิกธรรมเหล่านั้น ย่อมกระทำอันตรายตลอดเวลาที่ยังไม่ให้พระอริยเจ้าทั้งหลายอดโทษ เบื้องหน้าแต่นั้นให้พระอริยเจ้าอดโทษแล้ว หากระทำอันตรายไม่.

  • อาบัติ ๗ กองที่ภิกษุจงใจล่วงละเมิดแล้ว ชื่อว่า อันตรายิกธรรมคืออาณาวีติกกมะ. แม้อาณาวีติกกมันตรายิกธรรมเหล่านั้น ย่อมกระทำอันตรายตลอดเวลาที่ภิกษุต้องอาบัติแล้วยังปฏิญญาตนว่าเป็นภิกษุอยู่ก็ดี ไม่อยู่ปริวาสกรรมก็ดี ไม่แสดงอาบัติก็ดี เบื้องหน้าแต่นั้น (แสดงอาบัติแล้ว) หากระทำอันตรายไม่….]

๑๐ ขุ.ธ.๒๕/๓๐/๓๕



Create Date : 29 กันยายน 2550
Last Update : 19 ตุลาคม 2550 21:29:28 น. 2 comments
Counter : 526 Pageviews.

 


โดย: kampanon วันที่: 29 กันยายน 2550 เวลา:10:05:52 น.  

 
บอกหน่อยตอนประสูติพระพุธทเจ้าดำเนินได้7ก้าวอุปมาเปรียบได้อะไร


โดย: คนกำลังเรียน IP: 124.121.47.61 วันที่: 2 มิถุนายน 2551 เวลา:16:39:37 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

กลุ่มต้นธรรม
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




* * * * * * * * * * * * * * * * * * *

อันเวลาอันนับไม่ได้ที่เราหมักหมมมานานแสนนานแล้วนั้นถ้าเราไม่เริ่มรู้เราก็ไม่เริ่มตัด ถ้าไม่ตัดก็ไม่เห็นปลาย และเวลาอันนับไม่ได้นั้นก็เป็นปลายที่ยังอยู่
web site hit counter
We keep fighting fires because we keep adding fuel.
We truly putout fires only when we remove their fuel.

ถึงโลกกว้างไกล ใครๆ รู้
โลกภายในลึกซึ้งอยู่ รู้บ้างไหม
มองโลกภายนอก มองออกไป
มองโลกภายใน คือใจเรา

Friends' blogs
[Add กลุ่มต้นธรรม's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.