หลอดอัลตราไวโอเล็ตสามารถนำประยุกต์ใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียและโรคไวรัสได้หรือไม่
หลอดอัลตราไวโอเล็ตสามารถนำประยุกต์ใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียและโรคไวรัสในอาคารสำนักงานได้หรือไม่ ถ้าสามารถใช้ได้ มีวิธีการนำมาใช้อย่างไร




       แสง Ultra violet สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสได้แต่มีข้อจำกัดหรือข้อควรระวังบางประการที่จะได้กล่าวต่อไป 


แสง UV มีความยาวช่วงคลื่น 100 – 400 nm แสง UV มีอยู่ 3 ชนิดคือ
 UV-A ความยาวช่วงคลื่น 315 – 380 nm (long waves)
 UV-B ความยาวช่วงคลื่น 280 – 315 nm (middle waves)
 UV-C ความยาวช่วงคลื่น 100 – 280 nm (short waves)

       โดยทั่วไปหลอดกำเนิดแสง UV ที่ใช้ฆ่าเชื้อโรคจะเป็นหลอดชนิดที่ให้แสง UV-C ให้แสงความยาวช่วงคลื่น 254 nm ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และ vegetative cell ของเชื้อราแต่ไม่สามารถทำลาย spore ของเชื้อรา 

       ในการใช้แสง UV เพื่อฆ่าเชื้อจะต้องคำนึงถึงความเข้มหรือพลังงานของแสงต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ (mW/cm2) ซึ่งพลังงานในการฆ่าเชื้อแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไปตามชนิดของเชื้อ นอกจากนี้แสง UV ยังฆ่าเชื้อได้ดีเฉพาะเชื้อที่ล่องอยในอากาศ เชื้อที่ตกบนพื้นหรือห่างจากหลอดกำเนิดแสงอาจไม่ถูกทำลาย และควรเป็นห้องที่จัดระเบียบเรียบร้อยไม่มีสิ่งของจำนวนมากมายซ้อนหรือรกรุงรังเพราะขัดขวางพลังงานของแสงที่แผ่ออกมา ดังนั้นการติดตั้งหลอดกำเนิดแสง UV เพื่อการฆ่าเชื้อในห้องหรือสำนักงานนั้นควรปรึกษาช่างเทคนิคหรือบริษัทที่จำหน่ายเครื่องมือแพทย์ เพื่อเลือกชนิดและจำนวนของหลอดและตำแหน่งที่ติดตั้งหลอดเพื่อเหมาะสมกับพื้นที่ของห้อง และควรเลือกหลอดที่มีต้นกำเนิดแสงที่ไม่ทำให้เกิด Ozone หลอดกำเนิดแสง UV บางชนิดจะร้อนจัดหลังจากเปิดใช้ไประยะเวลาหนึ่ง นอกจากนั้นข้อควรระวังอีกประการคือ แสง UV ทำให้ตาอักเสบและผิวหนังอักเสบหรือไหม้ได้ ต้องระวังไม่จ้องมองหรือสัมผัสกับแสงโดยตรง ต้องสวมใส่แว่นหรือหน้ากากป้องกันแสง และสวมใส่เสื้อ/ชุดที่ป้องกันแสง แสง UV จะทำลายพื้นผิวบางอย่างเช่นพลาสติคหรือกระดาษจะทำให้กรอบและแตกได้เมื่อถูกแสงนานๆหรือเป็นประจำ การเปิดปิดหลอดกำเนิดแสงต้องทำด้วยความรอบคอบระมัดระวัง นอกจากนั้นต้องมีการตรวจสอบพลังงานแสงที่ปล่อยออกจากหลอดเป็นระยะๆเพราะเมื่อใช้งานไประยะเวลาหนึ่งหลอดจะค่อยๆเสื่อมลง การปล่อยพลังงานจากหลอดจะลดลงทำให้ประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อลดลงด้วย โดยทั่วไปบริษัทที่ผลิตหลอดจะบอกระยะเวลาในการใช้งานของหลอดว่าใช้ได้นานกี่ชั่วโมง ในการใช้งานจึงต้องมีการบันทึกเวลาที่เปิดหลอดใช้งาน และทำการตรวจสอบโดยการให้ช่างเมคนิคใช้เครื่องมือวัดพลังงานของแสงที่ปล่อยออกจากหลอด

ผู้ตอบ : อรอนงค์ รัชตราเชนชัย ฝ่ายบักเตรีลำไส้
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

ขอบคุณบทความจากศูนย์ข้อมูลโรคติดเชื้อและพาหะนำโรค

เครื่องฟอกอากาศ,เครื่องฟอกอากาศระบบยูวี,เครื่องฟอก
ขอบคุณภาพจาก
//www.thaiinterlamp.co.th/



Create Date : 10 เมษายน 2556
Last Update : 10 เมษายน 2556 13:49:51 น.
Counter : 722 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

donkey55
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 13 คน [?]



All Blog