คนเกิดวันพุธ ความทุกข์โถมทับทวี
นักไวโอลินไตวายผู้ขอพึ่งพาร่างกายของคุณ, จริยธรรมกับการทำแท้ง

วันนี้เห็นกระทู้ดราม่าทำแท้งในหว้ากอ ตอบสนองต่อกระแสข่าวน่าสะเทือนใจในเวลานี้ เปิดอ่านไปได้นิดหน่อยแล้วก็เลิกอ่านเพราะยาวจัด และเริ่มมีตรรกะวิบัติแทรกเป็นกระษัย ประเด็นการทำแท้งถูก-ผิดหรือไม่มีการถกเถียงกันมาช้านานแล้ว มิติของการทำแท้งนั้นซับซ้อน นอกเหนือจากข้อกำหนดกฎเกณฑ์ทางศาสนา (ซึ่งไม่มีความจำเป็นใดๆจะต้องถกเถียงให้มากความ เชื่อและปฏิบัติตามอย่างเดียว) ยังมิติทางสังคมศาสตร์ (ปัญหาที่เกิดจากการทำแท้ง v.s. ปัญหาที่เกิดจากการคลอดอันไม่พึงประสงค์) มิติทางวิทยาศาสตร์และนิติศาสตร์ว่าด้วยฟีตัสในครรภ์กำหนดเป็นบุุคคลหรือไม่





ราวปี 1970 Judith Jarvis Thomson นักปรัชญาแห่ง M.I.T. ได้เสนอข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการทำแท้ง (A Defense of Abortion) โดยเข้าข้างการทำแท้งอันท้าทายประเด็นทางจริยธรรมที่ถือว่าฟีตัสในครรภ์จัดเป็นบุุคคลโดยสมบูรณ์แล้ว

หากคุณตื่นขึ้นมาในวันหนึ่งแล้วพบว่าร่างกายของคุณถูกผูกติดอยู่กับนักไวโอลินผู้มีชื่อเสียง ที่นอนหลับใหล หมดสติ ไม่รู้เรื่องรู้ราวใดๆทั้งสิ้น นักไวโอลินดังกล่าวเป็นโรคไตวายระยะสุดท้าย สมาคมผู้รักเสียงไวโอลินสากลได้พยายามทุกวิถีทางที่จะหาหนทางรักษานักไวโอลิน และพบว่าคุณ-เป็นคนเดียวในโลกนี้ที่มีหมู่เลือดเข้ากันได้กับนักไวโอลินทุกประการ คนจากสมาคมจึงลักพาตัวคุณมา วางยาและผ่าตัดคุณให้มีร่างกายผูกติดกับนักไวโอลิน เพื่อให้ระบบไหลเวียนโลหิตเชื่อมต่อกัน ดังนั้นไตของคุณจะทำหน้าที่กำจัดของเสีย ถ่ายเลือดดีให้แก่นักไวโอลิน กระบวนการรักษาทั้งหมดคือเก้าเดือน นักไวโอลินคงต้องตายหากปราศจากคุณ ทางสมาคมอ้อนวอนขอร้องให้คุณยอมให้นักไวโอลินพึ่งพาร่างกายคุณตลอดเก้าเดือนนี้เพื่อเห็นแก่มนุษยธรรม แน่ละ ถึงแม้ว่าคุณจะรู้สึกว่ามันไม่ยุติธรรม และคุณต้องรู้สึกไม่สบายไปตลอดระยะเวลาการรักษา ทางสมาคมอ้างว่านักไวโอลินผู้นี้มีสิทธิที่จะมีชีวิต-สิทธิพื้นฐานที่สุดของมนุษย์ แล้วคุณล่ะ? คุณมีสิทธิที่จะปฏิเสธชีวิตอื่นที่ขอพึ่งพาชีวิตของคุณหรือไม่...

จากข้อโต้แย้งของ Thomson ต่อให้ฟีตัสในครรภ์เป็นบุคคลอย่างสมบูรณ์ และมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่รอดก็ตาม แต่มารดาก็มีสิทธิที่จะปฏิเสธการพึ่งพาครรภ์ของฟีตัส ในเมื่อร่างกายของมารดานั้นเป็นของมารดาโดยสมบูรณ์ และบุคคลใดๆล้วนมีสิทธิต่อร่างกายของตนเอง ดังนั้น การทำแท้งจึงไม่ใช่การละเมิดสิทธิการดำรงอยู่ของฟีตัส เพราะมารดา-ผู้มีสิทธิต่อรางกายของตนเอง-เพียงแค่ปฏิเสธที่จะให้ฟีตัสพึ่งพาร่างกาย หาใช่เจตนาทำลายชีวิตของฟีตัสไม่ จากข้อโต้แย้งของ Thomson การทำแท้งจึงเป็นการกระทำที่ไม่ผิดจริยธรรม-อย่างน้อยในกรณีที่จำเพาะเจาะจง เช่น การตั้งครรภ์จากการข่มขืน

แน่นอนว่าเมื่อ Thomson เสนอข้อโต้แย้งดังกล่าว ทำให้เกิดข้อถกเถียงในแวดวงนักจริยศาสตร์เป็นอย่างมาก ด้วยการทดลองในความคิดที่ว่า ทำไมการทำแท้งจึงกลายเป็นการกระทำที่ไม่ผิดจริยธรรมไปเสียได้ อย่างน้อยที่สุด นักจริยศาสตร์ฝั่งตรงข้ามได้อ้างว่าข้อโต้แย้งของ Thomson ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือการตั้งครรภ์อันไม่พึงประสงค์ส่วนใหญ่เกิดจากความสัมพันธ์ทางเพศอันยินยอมทั้งสองฝ่าย ในกรณีดังกล่าว นักไวโอลินไตวายกับคุณซึ่งถูกลักพาตัวใช้เป็นตรรกะเปรียบเทียบไม่ได้ เพราะคุณรับรู้ในความเสี่ยงที่จะมีทารกเกิดขึ้น

กระนั้น Thomson ก็ยังเสนอข้อโต้แย้งอื่นตามมา คือ เมล็ดพันธุ์มนุษย์ (People-Seeds)

สมมติว่าในอากาศมีสิ่งที่เรียกว่า "เมล็ดพันธุ์มนุษย์" ล่องลอยอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อเมล็ดพันธุ์ดังกล่าวฝังรากลง ณ ที่แห่งใดก็ตาม มันจะเจริญงอกงามกลายเป็นบุคคล คุณเป็นคนหนึ่งที่ไม่ต้องการให้เมล็ดพันธุ์เจริญงอกงามในบ้านของคุณ ในการณ์นั้น คุณจึงติดตั้งมุ้งลวดเหล็กดัดบนประตูและหน้าต่างทุกบาน แต่กระนั้น เมล็ดพันธุ์ก็ยังหลุดรอดและฝังรากในบ้านของคุณจนได้ ในมุมมองดังกล่าว มนุษย์จากเมล็ดพันธุ์ไม่มีสิทธิที่จะอาศัยอยู่ในบ้านของคุณในเมื่อคุณได้ทำการป้องกันแล้ว (และถึงแม้ว่าคุณเปิดประตูอย่างจงใจก็ตาม) เช่นเดียวกัน ทารก (มนุษย์เมล็ดพันธุ์) ก็ไม่มีสิทธิที่จะพึ่งพาร่างกายของคุณโดยปราศจากความยินยอม (บ้าน) แม้ว่าคุณมีเพศสัมพันธ์อย่างเต็มใจ (เปิดประตูบ้าน)

และแน่นอน ยังคงมีข้อโต้แย้งต่อมุมมองของ Thomson นอกเหนือไปจากนั้น เป็นต้นว่า การเพิกเฉย ปล่อยให้ผู้อื่นตาย-ในกรณีของนักไวโอลิน กับการฆาตกรรมอย่างมีจุดมุ่งหมาย-ในกรณีของการทำแท้ง นั้นแตกต่างกัน หรือบ้างก็โต้แย้งว่า การมีเพศสัมพันธ์ด้วยความยินยอมผูกติดกับความรับผิดชอบในชีวิตของทารกที่จะเกิดขึ้น ซึ่งล้วนแล้วแต่ให้เกิดข้อสรุปว่าการใช้ร่างกายผู้อื่นเพื่อการอยู่รอดเป็นสิทธิที่พึงกระทำได้

ในการถกเถียงทางจริยศาสตร์ไม่มีข้อสรุปที่ตายตัว ขึ้นกับเหตุผล ตรรกะที่หยิบยกขึ้นมาใช้โดยปราศจากอารมณ์และอคติ และข้อโต้แย้งทางจริยธรรมเกี่ยวกับการทำแท้งก็ยังคงดำเนินต่อไปในปัจจุบัน



ยินยอมให้นำเนื้อหาไปเผยแพร่ หรืออ้างอิงในกรณีถกเถียงเชิงจริยธรรมใดๆโดยไม่ต้องให้เครดิต แต่โปรดรับผิดชอบการใช้เหตุผลของคุณเอง



Create Date : 19 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2553 18:23:07 น. 0 comments
Counter : 2667 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

มีชีวิตบนดาวอังคารหรือเปล่านะ
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]






....โลกมนุษย์นี้ไม่มีที่แน่นอน
ประเดี๋ยวเย็นประเดี๋ยวร้อนช่างแปรผัน
โชคหมุนเวียนเปลี่ยนไปได้ทุกวัน
สารพันหาอะไรไม่แน่นอน
ชีวิตเหมือนเรือน้อยล่องลอยอยู่
ต้องต่อสู้แรงลมประสมคลื่น
ต้องทนทานหวานสู้อมขมสู้กลืน
ต้องจำฝืนสู้ภัยไปทุกวัน
เป็นการง่ายยิ้มได้ไม่ต้องฝืน
เมื่อชีพชื่นเหมือนบรรเลงเพลงสวรรค์
แต่คนที่ควรชมนิยมกัน
ต้องใจมั่นยิ้มได้เมื่อภัยมา


พันตรีหลวงวิจิตรวาทการ





เขามีส่วนเลวบ้างช่างหัวเขา
จงเลือกเอาสิ่งที่ดีเขามีอยู่
เป็นประโยชน์โลกบ้างยังน่าดู
เรื่องที่ชั่วอย่าไปรู้ของเขาเลย
จะหาคนที่มีดีเพียงส่วนเดียว
อย่าเที่ยวเสาะหาสหายเอ๋ย
เหมือนเที่ยวหาหนวดเต่าตายเล่าเอย
ฝึกให้เคยมองแต่ดีมีคุณจริง

หลวงพุทธทาส





ชีวิตใกล้ปัจฉิมวัย ไม่เป็นไปตามแผนการเมื่อปฐมวัย อะไรที่ยิ่งใหญ่เมื่อเช้า เป็นของเล็กน้อยเมื่อเย็น อะไรที่เป็นสัจจะเมื่อแดดจ้า กลายเป็นมายาเมื่อยามพลบ

We cannot live the afternoon if life
according to the program on life’s morning; for what was great in the morning will be little at evening, and what in the morning was true will at evening have become a lie.



C.G. Jung.




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add มีชีวิตบนดาวอังคารหรือเปล่านะ's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.