Group Blog
All Blog
Kaizen
Kaizen

เมื่อวานนี้ได้ไปเข้าอบรมหัวข้อ Kaizen ที่ สสท. มา มีใครรู้จักKaizenบ้างไหมครับ ยกมือขึ้นหน่อย ก่อนจะไปอบรมได้รับการบอกเล่าจากท่าน
หัวหน้าที่บริษัทว่ามันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการยกกล่องขึ้นลง และการจัดระเบียบงาน ไอ้เราก็งง ๆ ว่าถ้ามันเป็นเรื่องแค่นี้แล้วเราจะไปอบรมมันทำไมกันให้เสียกระตังค์ แต่ยังไงบริษัทเขาส่งเราไปก็ต้องไปตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมาก เดินทางไปถึง สสท. ก็เกือบจะเก้าโมงเช้าแล้ว ใกล้จะได้เวลาเปิดอบรมแล้ว แต่ท่านวิทยากรก็ยังใจดีที่ยังคงรอเราอยู่

เริ่มต้นมาวิทยากรแกก็เล่าถึงเรื่องการยกกล่องเอกสารที่มันหนัก ๆ ยกทีแรก ๆ มันยังไม่ชินมันก็หนัก แต่พอเวลาผ่านไปพอเกิดความเคยชินเข้า ไอ้ของที่ว่าหนักมันก็จะเบาไปเอง แหมเหมือนกับที่ท่านหัวหน้าเล่าแปะเลยแฮะอวิทยากรชี้แจ้งขยายความเพิ่มเติม ก็ทำให้เราทราบว่าการทำเช่นนี้เป็นการกระทำที่ไม่ฉลาด เราจะหาวิธีการอื่นที่มาทำให้เราไม่ต้องยกกล่องที่หนัก ด้วยวิธีที่ประหยัดแต่ทุ่นแรงได้มากที่สุด ซึ่งหลังจากรับฟังการบรรยายต่อ ๆ ไป เรื่อย ๆ ก็ทำให้คิดว่าไอ้เจ้าไคเซ็นนี่มันค่อนข้างจะเกี่ยวข้องกับการลดขบวนการในทำงานที่ ที่ยุงยากซับซ้อนและเสียเวลา ให้ทำงานง่ายขึ้นสบายขึ้น เพิ่มผลผลิตให้มากขึ้นในขณะที่ใช้คนเท่าเดิม ไคเซ้นเริ่มที่ประเทศญี่ป่นและแพร่หลายไปยังอเมริกาและยุโรป จากนั่นก็เข้ามาที่บ้านเรา ในการทำไคเซ็นนั้นจะเริ่มจากพนักงานที่อยู่หน้างานเป็นอันดับแรก แล้วจึงค่อยขยายขึ้นสู่ลำดับที่สูงกว่า เพราะพนักงานระดับล่างจะเป็นผู้ที่พบปัญหาเป็น
คนแรก ตามทฤษฏีปัญหามักก่อขึ้นจากจุดเล็กก่อนแล้วหยายตัวออก เราจึงต้องให้พนักงานระดับล่างเป็นผู้ที่ค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงานของตน
มีอะไรที่ผิดแปลกไปจากการทำงานปกติหรือทำให้เราทำงานลำบากเป็นอุปสรรคเกิดขี้น แล้วก็คิดค้นนำเสนอวิธีในการแก้ไข แล้วนำออกใช้ จากนั้นจึงติดตามประเมินผลที่ได้รับจากการแก้ไข ตามทฤษฏีไคเซ็นต้องทำบ่อย ๆ แก้ปัญหาบ่อย ๆ จึงจะก่อให้เกิดประโยชน์กับองค์กร ในองค์ทีใหญ่จะมีทีมงานที่ทำหน้าในส่วนของไคเซ็นโดยตรง ซึ่งมักจะเป็นฝ่ายวิศวะกรรม




เพราะกลุ่มคนพวกนี้จะเป็นผู้ที่ความเชี่ยวชาญในการมองและแก้ไขปัญหาในภาพขององค์รวมได้ดีกว่าพนักงานระดับล่าง ซึ่งพวกเขาจะมองเห็นแต่ปัญหาของตัวเอง แต่พวกวิศวะนี่จะสามารถแก้ไขปัญหาในรดับที่ใหญ่ขึ้นระดับองค์กรได้ และสามารถกำหนดเป็นตัวเลขชี้วัดได้ดีกว่า

ในตอนท้ายอาจารย์สรุปว่าไคเซ้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในงานทุก ๆ ด้านไม่เฉพาะกับงานด้านโรงงานอย่างเดียว แกเน้นยำว่าต้องฝึก ต้องทำบ่อย ๆ ต้องมองว่าสิ่งที่เราทุกวันนี้มันล้าสมัยอยู่ตลอดเวลา เพื่อเป็นแรงกระตุ้นในการทำไคเซ็น คนเรามักจะมองว่าสิ่งที่ตัวเองทำทุกวันนี้มันดีอยู่แล้วมันจึงไม่มีการพัฒนาในทางที่ดีขึ้น ในยุคเศรษฐกิจแบบนี้คนเราต้องตื่นตัวอยู่เสมอ แต่การทำไคเซ็นนี่ก็คำนึงถึงหลักจริยธรรมเหมือนกันน่ะครับ
เพราะมิใช่ว่าพอทำไปแล้ว ไปเกิดผลกระทบทำให้บริษัทปลดคนออกเพราะ
ใช้คนน้อยลง ไคเซ็นไม่ได้วัตถุประสงค์เพิ่อการนั้น แต่เพื่อให้ทำงานสบายขึ้นได้งานในปริมาณมากขึ้นและมีคุณภาพมากขึ้น

พวกเรามองลองทำไคเซ็นในออฟฟิศหรือที่บ้านกันเถอะครับ



Create Date : 25 เมษายน 2552
Last Update : 25 เมษายน 2552 17:20:47 น.
Counter : 712 Pageviews.

4 comments
  
อืมเคยได้ยินค่ะ ตอนเรียนมหาลัยอ่ะ พวกเมเจอร์อุตสาหการ พูดบ่อยๆค่ะ แต่มะรู้หรอก เพราะเราเรียนสิ่งแวดล้อม
โดย: no filling วันที่: 25 เมษายน 2552 เวลา:18:44:34 น.
  
อู้วว ลึกซึ้งมั่กๆ
ใข้ตัวช่วยอะไรคะ เอามารีวิวกันมั่งจิ
โดย: funkylady วันที่: 25 เมษายน 2552 เวลา:23:45:14 น.
  
สวัสดีค่ะ
จำไม่ได้ว่าเคยได้ยิน
แต่ก็ดีนะคะ ท่าทางจะช่วยได้เยอะ ลดขบวนการและขั้นตอนในงาน ประหยัดดี
แต่อาจจะไม่ทุกชนิดของงานหรือองค์กรก็ได้ เนาะ
โดย: จันทร์ไพลิน วันที่: 26 เมษายน 2552 เวลา:5:24:46 น.
  
ไปอบรม KAIZEN มาแล้วเหมือนกันค่ะ
ตอนนี้ก็ยังอยู่ในโครงการ

KAIZEN ก็มาจาก 5 ส. นั่นแหละค่ะ
แต่ว่าพอเราทำ 5 ส.แล้ว
จัดระเบียบดีขึ้น มีรายละเอียดมากขึ้น สร้างสรรค์มากขึ้น
สามารถลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพในการทำงานได้มากขึ้น ถึงเรียกว่า KAIZEN ค่ะ

ถ้าทำได้ และทำได้ตลอดไป ก็จะดีมากเลยค่ะ

แต่ก็ไม่รู้ว่าจะรอดกันหรือเปล่า
24 มิย. นี้ อาจารย์ก็จะมาตามงานแล้วจ้า..
โดย: ไก่_CNX (rakakarn ) วันที่: 14 มิถุนายน 2552 เวลา:14:01:21 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tomcat007
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]