ยินดีต้อนรับสู่ club.bloggang.com
...magazine online โดยหนุ่มสาวชาว =Neo=

บาดเจ็บจากการออกกำลังกาย

ข้อแนะนำการดูแลการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย และเล่นกีฬา สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข


ศ.คลินิก นายแพทย์ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์
สาขาเวชศาสตร์การกีฬา
ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โทปิดิคส์ฯ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ในการออกกำลังกายนั้น หากออกกำลังกายไม่ถูกวิธี ไม่เหมาะสม กับสภาพร่างกายของผู้เล่น หรือออกกำลังกายในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ก็อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ ตั้งแต่เกิดการบาดเจ็บเล็กที่รุนแรง ถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิต


การดูแลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬา จะได้ผลดีต้องกระทำอย่างถูกวิธี และถูกเวลา โดยขึ้นกับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง ประสบการณ์ และอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งจากแพทย์ ผู้ฝึกสอน นักกายภาพบำบัด รวมทั้งตัวผู้เล่นด้วย



การบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย และเล่นกีฬา โดยทั่วไปมักเกิดจาก 2 สาเหตุหลัก คือ




  1. การกระแทกอย่างรวดเร็ว และรุนแรง (contact and acute injury)
  2. การใช้งานอวัยวะมากเกิน หรือซ้ำซาก (overused injury)




สำหรับการดูแลผู้ที่ได้รับการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาเบื้องต้น จะดูแลในส่วนการบาดเจ็บที่เกินทันที ในสนามเป็นส่วนใหญ่ ความรุนแรงของการบาดเจ็บสามารถแบ่งได้หลายระดับ ดังนี้




  1. การบาดเจ็บเล็กน้อย เช่น การมีแผลถลอก ผิวหนังฉีกขาด มีอาการตะคริว และมีการยืดของเอ็นยึดข้อมากเกิน (sprains)
  2. การบาดเจ็บรุนแรงปานกลาง เช่น เอ็นยึดข้อมีการฉีกขาดบางส่วน (sprain) ส่วนที่ได้รับบาดเจ็บบวม (swelling) และมีอาการปวด (pain) มีอาการเจ็บเมื่อเคลื่อนไหวอวัยวะดังกล่าว รวมทั้งการเคลื่อนไหวทำได้น้อยลง (decrease range of motion)
  3. การบาดเจ็บรุนแรงมาก (severe injuries) เช่น มีกระดูกหัก หรือข้อเคลื่อน มีการเสียรูปของอวัยวะ และมีอาการปวดอย่างมาก
  4. การบาดเจฌบที่เป็นอันตรายต่อชีวิต (life threatening) เช่น มีการบาดเจ็บที่รุนแรง ต่อบริเวณลำคอ หรือศีรษะ มีอาการปมดสติ มีอากาารแสดงความผิดปกติของการทำงานของหัวใจ (heart attack)



การบาดเจ็บจากการกีฬานั้น มีความรุนแรงแตกต่างกันตามขนาดของกำลัง อัตราความเร็ว ความแข็ง ความอ่อน ความทื่อ หรือคมของสิ่งของที่มากระทบ ทำให้อวัยวะ และเนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บ ซึ่งเป็นอันตรายต่อนักกีฬา อาจทำให้เสียชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รับการบำบัดรักษาอย่างถูกต้อง และทันท่วงที การตัดสินใจว่า จะนำผู้ป่วยส่งสถานพยาบาย หรือโรงพยาบาลหรือไม่นั้น จะต้องทำโดยเร็วที่สุด อย่าลองปฐมพยาบาลอยู่นาน เพราะอาจสายเกินแก้ หรือมาช้าเกินไป



ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ซึ่งต้องดูแลผู้ได้รับบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย และเล่นกีฬา ทั้งบทบาททางตรง เช่น ทำหน้าที่แพทย์สนาม หรือบทบาทในทางอ้อม เช่น การพบการบาดเจ็บโดยบังเอิญ ดังนั้น เจ้าหน้าที่ดังกล่าวควรจะต้องมีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติการ ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บให้ได้รับการดูแล และความปลอดภัยในเบื้องต้นได้



การประเมินสภาพการบาดเจ็บ (Athletic Injury Assessment)


ก่อนให้การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ เจ้าหน้าที่ต้องทำการประเมินสภาพการบาดเจ็บของผู้ป่วยก่อน จึงจะสามารถให้การดูแลที่เหมาะสมได้ โดยทั่วๆ ไป มีข้อควรคำนึง (Athletic Injury Assessment Considerations) ที่เจ้าหน้าที่ควรพิจารณาดังนี้




  1. ทำการประเมินการบาดเจ็บเมื่อไร (When to Assess) เวลาที่เหมาะสมที่สุด ในการเริ่มต้นการประเมินสภาพการบาดเจ็บ คือ ให้ทำการประเมินให้เร็วที่สุด เท่าที่จะทำได้ ทั้งนี้เนื่องจาก เมื่อเวลาผ่านไปอาการและอาการแสดง (signs and symptoms) ที่เกิดจากการบาดเจ็บ ซึ่งช่วยในการประเมินได้ถูกต้อง อาจจะถูกปิดบัง ด้วยอาการปวด (pain) บวม (swelling) อักเสบ (inflammation) หรือจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ (muscle spasms) ได้ อย่างไรก็ตาม การดำเนินของโรคที่เกิดขึ้น หลังการบาดเจ็บมีการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องไปเรื่อยๆ (continuous process) จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่เจ้าหน้าที่จะต้องทำการประเมิน สภาพการบาดเจ็บเป็นระยะๆ (reassessment)
  2. ทำการประเมินสภาพการบาดเจ็บที่ไหน (Where to Access) การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา และออกกำลังกายสามารถเกิดได้ทั้งในสนามแข่งขัน สถานที่ฝึกซ้อม หรือที่อื่นใดก็ตาม ที่สามารถเล่น หรือออกกำลังกายได้ ในทางทฤษฎีแล้ว สถานที่ที่เกิดเหตุบาดเจ็บเป็นที่ที่ถูกต้อง ที่สุดในการประเมินสภาพการบาดเจ็บ แต่อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติไม่สามารถประเมินได้ทุกกรณี ยกต้วอย่างเช่น ในสนามการแข่งขันเมื่อเกิดการบาดเจ็บ จำเป็นจะต้องนำผู้บาดเจ็บออกจากสนามแข่งขันก่อน เพื่อให้การแข่งขันดำเนินต่อไปได้
  3. ทักษะในการประเมินสภาพการบาดเจ็บ (Personal Assessment Skills) การประเมินสภาพการบาดเจ็บ ไม่ใช่งานที่ทำได้ง่าย เนื่องจากผู้ที่ได้รับบาดเจ็บมักมีความตื่นเต้น กลัว และกังวลเกี่ยวกับการบาดเจ็บ ของตนเอง ทำให้ยากในการประเมิน ดังนั้น การประเมินในภาวพดังกล่าว จำเป็นต้องอาศัยทักษะเฉพาะตัวมากพอสมควร เจ้าหน้าที่ควรได้รับวิธีตรวจร่างกายผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ และการช่วยเหลือเบื้องต้น และควรเข้ารับการฝึก เพื่อทบทวนความรู้ และฝึกทักษะของตนเองเป็นระยะๆ
  4. รู้จักนักกีฬา (Know the Athletes) ยิ่งผู้ประเมินมีความคุ้นเคย หรือรู้จักกับนักกีฬามาก่อน ยิ่งทำให้การประเมินสภาพการประเมินสภาพการบาดเจ็บ และการดูแล ทำให้ได้ดียิ่งขึ้น ประวัติการเจ็บป่วย และภาวะสุขภาพปัจจุบันของนักกีฬา ควรได้รับการบันทึก ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ ในการดูแลผู้ได้รับบาดเจ็บได้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักกีฬาที่เจ้าหน้าที่ควรทราบ ได้แก่ การบาดเจ็บ (current injuries) การเป็นโรค การเป็นภูมิแพ้ เป็นต้น
  5. รู้จักกีฬา (Know the Sport) ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้ได้ดี เจ้าหน้าที่จะต้องรู้จักการเล่นกีฬาแต่ละชนิด และความเสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บต่ออวัยวะต่างๆ รวมทั้งความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ เพื่อที่จะได้เตรียมตัว ในการดูแลได้ถูกต้อง และเหมาะสม ซึ่งต่างจากผู้ฝึกสอนกีฬา ซึ่งรู้จัก หรือถนัดเฉพาะกีฬาที่ตนฝึกเท่านั้น
  6. ทำให้มีสติ ไม่ตื่นเต้น (Remain Calm) เมื่อเกิดการบาดเจ็บ มีบ่อยๆ ครั้ง ที่งานแรก ซึ่งเจ้าหน้าที่ต้องทำ คือ การทำให้ผู้บาดเจ็บมีสติ ไม่ตื่นเต้น ไม่กลัว หรือไม่วิตกกังวล กับอาการบาดเจ็บที่ได้รับมากนัก คำพูดและการกระทำของเจ้าหน้าที่สามารถช่วยได้ แต่อย่างไรก็ตาม การประเมินสภาพการบาดเจ็บ ก็ไม่ควรกระทำด้วยความรีบด่วนเกินไป เพราะอาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้
  7. มีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา (Be Alert) เจ้าหน้าที่จะต้องมีความตื่นตัวอยู่คลอดเวลา ขณะที่ปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่จะต้องทำมากกว่า การดูแลการแข่งขัน เพื่อความสนุก หรือชัยชนะในเกมส์การแข่งขันเท่านั้น แต่จะต้องสังเกตการเล่น การเคลื่อนที่ในการเล่นของนักกีฬาทุกคน และให้ความสนใจเป็นพิเศษ สำหรับนักกีฬา ที่มีปัญหาสุขภาพ หรือการบาดเจ็บอยู่ก่อน
  8. มีวิจารณญาณในการติดสินใจที่ดี (Use Good Judgement) ในการประเมินสภาพการบาดเจ็บ เจ้าหน้าที่จะต้องทำด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ โดยเฉพาะในเกมส์การแข่งขันที่สำคัญๆ และจะต้องสามารถตัดสินใจได้ว่า นักกีฬาควรกลับไปเล่นต่อ หรือรอสังเกตอาการ
  9. ประสบการณ์ (Experience) ประสบการณ์ในการทำงานเป็นเรื่องสำคัญ เจ้าหน้าที่จะต้องมีความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับกายวิภาคศาสตร์ อาการและอาการแสดงเฉพาะในแต่ละการบาดเจ็บ รวมทั้งรู้เทคนิคในการประเมินสภาพการบาดเจ็บแต่ละชนิด ปัจจัยเหล่านี้ สามารถพัฒนาได้ด้วยการฝึกปฏิบัติ และเริ่มต้นด้วยการเป็นผู้ช่วยแพทย์สนามก่อน เมื่อปฏิบัติบ่อยๆ ก็จะทำให้เกิดความชำนาญ และมีทักษะมากยิ่งขึ้น
  10. ความอดทน (Patience) เจ้าหน้าที่จะต้องมีความอดทนต่อสิ่งต่างๆ ที่เข้ามากระทบระหว่างการปฏิบัติงาน เพราะการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา มีได้หลายชนิด และมีความรุนแรงแตกต่างกัน ขณะประเมินสภาพการบาดเจ็บ และให้การปฐมพยาบาลเจ้าหน้าที่ จะได้รับความกดดันอย่างมาก ทั้งจากผู้ฝึกสอน พ่อแม่ และผู้ที่ชื่นชอบในตัวนักกีฬารายนั้นๆ ดังนั้น เจ้าหน้าที่จะต้องมีความอดทน และอารมณ์มั่นคงอยู่ตลอดเวลา
  11. ทักษะในการส่งต่อผู้ป่วย (Referral Skills) เจ้าหน้าที่จะต้องมีความรู้ และสามารถตัดสินใจได้ว่า การบาดเจ็บใด จะต้องส่งต่อสถานพยาบาล เพื่อได้รับการรักษาที่ทันเวลา และถูกต้องจากแพทย์ต่อไป
  12. แผนการทำงาน (Plan of Action) เจ้าหน้าที่จะต้องมีการวางแผนในการปฏิบัติงาน แผนรองรับภาวะฉุกเฉิน มีการเตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ให้พร้อม มีการวางแผนเกี่ยวกับการบาดเจ็บ เกินขอบเขตความรู้ความสามารถ ของเจ้าหน้าที่




ขั้นตอนการประเมินสภาพการบาดเจ็บ (Assessment Procedures)


ในการประเมินสภาพการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย และเล่นกีฬา แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนด้วยกันคือ




  1. การสำรวจการบาดเจ็บปฐมภูมิ (Primary survey)
  2. การสำรวจการบาดเจ็บทุติยภูมิ (Secondary survey)



ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้



การสำรวจการบาดเจ็บปฐมภูมิ หมายถึง การประเมินสภาพการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้อง กับการประเมินกลไกพื้นฐานของการมีชีวิต (Basic life support machanisms) ซึ่งประกอบด้วย ทางเดินหายใจ (Airway) การหายใจ (Breathing) และการไหลเวียนเลือด (Circulation) หรือที่รู้จักกกันโดยทั่วไปในชื่อ ABCs of life support ถึงแม้ว่า การบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย และเล่นกีฬามีโอกาสที่จะเกิดการบาดเจ็บ ที่รุนแรงถึงขั้นคุกคามการมีชีวิตรอด (Life-threatening situations) น้อยก็ตาม แต่เจ้าหน้าที่ก็จะต้องมีความรู้ และตระหนักถึงภาวะดังกล่าวนี้ตลอดเวลา และสามารถปฏิบัติการช่วยชีวิตได้อย่างเหมาะสม และทันท่วงที ในการประเมินสภาพการบาดเจ็บปฐมภูมิ จะต้องทำด้วยความรวดเร็ว และสมบูรณ์ เนื่องจากระยะเวลาของการมีชีวิตรอดมีอยู่จำกัด


เมื่อเกิดการบาดเจ็บขึ้น เจ้าหน้าที่จะต้องประเมินว่า ผู้บาดเจ็บยังมีความรู้สึกตัวอยู่หรือไม่ ถ้าผู้ขาดเจ็บไม่รู้สึกตัว (unconsious) ให้รีบตรวจสอบทางเดินหายใจ (airway) เพื่อดูว่าทางเด้นหายใจเปิดโล่ง หรือมีอากาศผ่านเข้า-ออก ปอดหรือไม่ ถ้าไม่มีให้ทำการเปิดทางเดินลมหายใจ โดยการแอ่นลำคอ และศีรษะ ยกหลายคางขึ้น (chin tilt) และดึงขากรรไกรไปข้างหลัง (jaw trust) หลังจากนั้นให้ตรวจสอบการหายใจ (breathing) ถ้าผู้บาดเจ็บไม่หายใจ ให้ช่วยโดยการเป่าลมเข้าปอด ด้วยการใช้ถุงลม (ambu bag) หรือใช้วิธีเป่าปาก (mount to mount) ต่อไปให้ทำการประเมินการไหลเวียนเลือด (circulation) โดยการตรวจสอบชีพจร หรือการเต้นของหัวใจ ถ้าหัวใจไม่เต้นให้ทำการฟื้นคืนชีวิต (cardiorespiratory resuscitation) หรือเรียกอีกอย่างว่า CPR อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญที่เจ้าหน้าที่ควรตระหนัก เกี่ยวกับการปฏิบัติดังที่กล่าวมาข้างต้นนี้ คือ จะต้องดำเนินการด้วยความรวดเร็ว ไม่ควรเกิน 1-2 นาที ไม่เช่นนั้นการช่วยชีวิต อาจจะไม่ให้ผล หรือเกิดความพิการตามมาได้


แต่ถ้าการบาดเจ็บไม่รุนแรง ผู้บาดเจ็บสามารถพูดคุยได้ โต้ตอบได้ ให้ทำการประเมินการบาดเจ็บทุติยภูมิ และให้การปฐมพยาบาลตามชนิด และความรุนแรงของการบาดเจ็บต่อไป


การสำรวจการบาดเจ็บทุติยภูมิ (Secondary survey) หมายถึง การประเมินสภาพการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นทั้งหมด (evaluate all injuries) ซึ่งในทางกีฬสเวชศาสตร์ (sport medicine) มีการใช้บ่อยมาก เพื่อประเมินธรรมชาติ (nature) ตำแหน่ง (site) และความรุนแรง (severity) ของการบาดเจ็บ โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติตามลำดับ ก่อน-หลัง ดังนี้ : ซักถามอาการ (history) สังเกต (observation) และตรวจร่างกาย (physical examination)


ในการซักถามอาการ ข้อมูลที่ควรจะได้จากการพูดคุย ได้แก่ การบาดเจ็บหลัก (primary complaint) กลไกการบาดเจ็บเป็นแบบทันทีทันใด หรือค่อยเป็น มีการเจ็บปวดเรื้อรังมาก่อน เป็นการบาดเจ็บซ้ำที่เดิมหรือไม่ ตำแหน่งที่บาดเจ็บ อาการแสดงที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บ ระดับความรู้สึกตัว เป็นต้น


ส่วนการสังเกต สิ่งสำคัญที่จะต้องดูคือ สิ่งแวดล้อมที่เกิดบากเจ็บโดยรวม สังเกตอาการ การทรงตัว ความสามารถในการทำหน้าที่ ของส่วนร่างกาย ได้แก่ การคลำ (palpation) การตรวจสอบการเคลื่อนที่ และการบาดเจ็บต่อข้อต่อต่างๆ (movement procedures) การประเมินระบบประสาท (neurological evaluation) และตรวจสอบการไหลเวียนเลือด (circulatory evaluation) ข้อมูลที่ได้จากการตรวจร่างกาย ได้แก่ ตำแหน่งที่เจ็บ และ/หรือ กดเจ็บ (pain and point tenderness) พิสัยของการเคลื่อนที่ และความแข็งแรงของข้อต่อ (range of motion and strength) การบวม การเสียรูป รวมทั้งอาการ (signs) อื่นๆ ที่เกิดจากอุบัติเหตุ (swelling, deformity and others signs of trauma) ้เป็นต้น


เมื่อทำการประเมินสภาพการบาดเจ็บเสร็จ เจ้าหน้าที่ก็สามารถให้การปฐมพยาบาล หรือช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ควรตระหนักไว้เสมอว่า ควรดำเนินการด้วยความรวดเร็วที่สุด เท่าที่จะทำได้ และให้ถูกต้อง สมบูรณ์มากที่สุด เพื่อให้ผู้บาดเจ็บปลอดภัยที่สุด และสามารถกลับมาเล่นกีฬา หรือออกกำลังกายได้ดังเดิม



อุบัติเหตุจากการออกกำลังกาย และเล่นกีฬาที่ต้องนำส่งสถานพยาบาล หรือโรงพยาบาล มีดังนี้





  1. หมดสติเพราะถูกกระแทก (ถึงแม้จะฟื้นคืนสติแล้วก็ตาม) ผู้บาดเจ็บจะต้องได้รับการตรวจเช็คสมองอย่างละเอียด จากแพทย์ทันที เพราะการบาดเจ็บ หรือโรคอาจดำเนินไปอย่างรวดเร็ว จนแก้ไขไม่ทันก็ได้ เช่น เลือดออกใต่กะโหลกศีรษะ หรือในสมอง ทำให้มีเลือดคั่งกดทับสมองส่วนที่ดี อาจทำให้พิการไปครึ่งซีก หรือไม่รู้สึกตัวไปตลอดชีวิต ในบางครั้ง ถ้สยังตรวจไม่พบในขณะนั้น อาจต้องดูแลผู้ป่วยต่อไปอย่างใกล้ชิดมาก ต้องตรวจอาการทางสมอง และระบบประสาททุกๆ ครึ่งชั่วโมง เพื่อจะได้แก้ไขและให้การรักษาเสียแต่เนิ่นๆ

    ในบางครั้งมีอุบัติเหตุจากการกีฬา ที่มีศีรษะกระทบกระแทก แต่คนไข้ไม่หมดสติ สมองอาจได้รับการกระทบกระเทือน ทำให้มีอาการในภายหลัง จากเลือดที่ออกอย่างช้าๆ ในสมอง หรือใต้กระโหลกศีรษะ ซึ่งบางครั้งนานเป็นเดือน กว่าที่จะแสดงอาการออกมา อาการที่แสดงว่ามีการบาดเจ็บทางสมองในเบื้องต้น ที่เตือนให้เราทราบว่า จะต้องส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลในทันที คือ การมีอาเจียนพุ่ง และปวดศีรษะอย่างรุนแรง ซึ่งบางครั้งผู้ป่วยอาจไม่รู้ตัว หรือถึบงแม้จะรู้แต่ไม่สามารถบอกกล่าวได้ ดังนั้น คนใกล้ชิดจึงควรจะรู้ถึงอาการแสดงเหล่านี้ จะได้รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลได้ทันเวลา และต้องได้รับการตรวจโดยละเอียด


  2. กระดูกหักทุกชนิด กีฬาที่ปะทะกัน โดยเฉพาะรักบี้ และฟุตบอลนั้น อาจทำให้เกิดกระดูกหักได้บ่อยๆ ผลของกระดูกหักนั้นจะเจ็บ บวมมากทันที เพราะเลือดออกมาก รูปร่างเปลี่ยนไป เช่น โก่ง คด งอ สั้น และเจ็บมาก เมื่อมีการเคลื่อนไหว บางครั้งจะได้ยินเสียงกรอบแกรบ เหมือนเสียงกระดาษทรายถูกัน ตรงบริเวณปลายที่หัก เมื่อมีการเคลื่อนไหว นอกจากผู้ป่วยจะเสียเลือด และเจ็บปวดมากแล้ว การนำส่งโรงพยาบาลช้าเกินไป จะทำให้มีสิ่งแทรกซ้อนเป็นอันตรายถึงพิการได้ การนำส่งสถานพยาบาล ต้องใส่เฝือกชั่วคราวไว้ เมื่อจะเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ที่สำคัญคือ อย่าพยายามดึงกระดูกเข้าที่เอง
  3. ข้อเคลื่อน ข้อหลุดทุกชนิด การบาดเจ็บที่ทำให้ข้อเคลื่อน หรือหลุดจากการเล่นกีฬานั้น มักจะไม่เป็นที่ ข้อไหล่ ข้อศอก และข้อนิ้วมือ ผู้ป่วยจะเจ็บปวด บวม ที่บริเวณข้อต่อเนื่องจากเลือดที่ออก เพราะมีการฉีกขาด ของเยื่อหุ้มข้อ และเนื้อเยื่อที่อยู่รอบๆ ข้อ อย่าพยายามดึงเข้าที่เอง เพราะนอกจากจะยาก เนื่องจากกล้ามเนื้อรอบข้อหดเกร็งแล้ว ยังจะไปทำอันตรายเนื้อเยื่อที่ดีอีก ถ้าทำไม่ถูกต้องจริงๆ จะทำให้อาการมากขึ้นไปอีก ควรพยุง หรือประคองอวัยวะส่วนนั้น แล้วรีบส่งพบแพทย์ต่อโดยเร็ว เพื่อที่จะเอกซเรย์ดูว่า มีกระดูกแตก หรือหักอื่นๆ ร่วมด้วยหรือไม่ เพราะบางครั้งอาจมีกระดูกแตกขึ้นเรื่อยๆ ร่วมด้วย จากนั้น จึงค่อยดึงเข้าที่ต่อไป
  4. การตกเลือดจากอวัยวะภายใน แบ่งเป็น 3 ตำแหน่ง คือ ทรวงอก ช่องท้อง เชิงกราน และบั้นเอว

    ทรวงอก กระทบกระแทกที่ทรวงอกพบได้บ่อยๆ ในนักกีฬา ที่มีการปะทะกัน เช่น รักยี้ ฟุตบอล บางครั้งมีกระดูกซี่โครงหัก ทิ่มแทงเนื้อปอด หรือปอดชอกช้ำจากการถูกกระแทก ทำให้มีเลือดออกจากปอด ถูกขังอยู่ภายในช่องเยื่อหุ้มปอด กดทับปอด ทำให้เล็กลง พื้นที่ปอดสำหรับหายใจน้อยลง ทำให้การหายใจลำบาก



    ช่องท้อง เมื่อมีการกระทบกระแทกที่ช่องท้อง อวัยวะภายในบอบช้ำ หรือมีเลือดออกในช่องท้อง โดยเฉพาะนักกีฬส ที่มีการกระแทกรุนแรง เช่น มวยสากล มวยไทย หรือรักบี้ บางครั้งถึงตับแตก ม้ามแตก ทำให้ปวดท้องมาก การตรวจสอบง่ายๆ ว่า มีเลือดออกภายในช่องท้องหรือไม่ ทำได้โดยใช้มือคลำที่หน้าท้องไปทั่วๆ ถ้าหน้าท้องผู้บาดเจ็บ เกร็งต้านอยู่คลอดเวลา ทุกๆ ตำแหน่งที่คลำ ให้สงสัยว่า มีการตกเลือดภายในช่องท้อง แต่ถ้าเกร็งต้านเฉพาะที่บาดเจ็บ หรือกระทบกระแทก แสดงว่า บอกช้ำบริเวณนั้น ยังไม่มีการตกเลือด


    เชิงกราน และบั้นเอว ตำแหน่งดังกล่าวนี้ เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินปัสสาวะ และระบบสืบพันธุ์ ถ้าปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ แสดงว่า เป็นการบาดเจ็บที่มีเลือดออกที่ไต ซึ่งอยู่ด้านหลังตอนบนของบั้นเอว หรือในปัสสาวะเป็นเลือด หรือมีเลือดออกทางช่องคลอด แสดงว่า มีการบาดเจ็บที่ระบบวืบพันธุ์ และกระเพาะปัสสาวะ


    สำหรับการฟกช้ำที่มีอาการ หรือสงสัยว่าจะเป็นอันตรายต่ออวัยวะภายใน ก็ต้องนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว


  5. การบาดเจ็บที่ตา มีอาการตาพร่า ตามัว หรือเห็นว่ามีเลือดออกในตาดำ ซึ่งอันตรายมาก
  6. บาดแผลลึก ที่มีเลือดออกมาก เป็นบาดแผลที่ลึกกว่าชั้นผิวหนัง บางครั้งเห็นไขมันปูดออกมาก จะมีเลือดออกเพราะหลอดเลือดบริเวณชั้นใต้ผิวหนังฉีกขาด ต้องทำการปฐมพยาบาลห้ามเลือด และส่งพบแพทย์ทันที ถ้าช้าไป นอกจากจะเสียเลือดแล้ว โอกาสเกิดการติดเชื้อมีได้ง่าย
  7. สิ่งแปลกปลอมเข้าทางทวาร ที่เอาออกไม่ได้ ทุกทวารไม่ว่าจะเป็น จมูก หู ช่องปาก ทวารหนัก หรือทวารเบา ถ้ามีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปติดค้างอยู่แล้ว ไม่สามารถเอาออกได้เองในที่เกิดเหตุ ต้องนำส่งโรงพยาบาล ใช้เครื่องมือช่วยเอาออกโดยด่วน เพราะอาจมีอันตรายต่างๆ หรือความพิการตามมาอย่างคาดไม่ถึง
  8. บาดเจ็บที่ไม่ทราบสาเหตุ แต่ผู้ป้วยมีอาการมาก บางครั้งอยู่เฉยๆ ก็มีอาการบาดเจ็บที่รุนแรงมากขึ้น ถึงแม้จะมีสาเหตุ แต่เราไม่ทราบหรือค้นไม่พบ ต้องให้แพทย์ตรวจโดยละเอดีย อาจใช้เครื่องมือประกอบการตรวจด้วย เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง และให้การรักษาที่ถูกต้องต่อไป




อย่างไรก็ตาม การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา หรือออกกำลังกายส่วนใหญ่แล้ว มักเกิดกับระบบกระดูก และกล้ามเนื้อ โดยแบ่งกลุ่มการบาดเจ็บได้ดังต่อไปนี้




  1. การบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อ และเอ็น (ฟกช้ำ และฉีกขาด)
  2. การบาดเจ็บต่อข้อ (หลุดและเคลื่อน)
  3. การบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อที่เกิดร่วมกับกระดูกหัก



เนื้อเยื่อ (กล้ามเนื้อ เอ็น เนื้อเยื่อรอบๆ ข้อ) ได้รับบาดเจ็บ เส้นเลือดเล็กๆ บริเวณนั้นจะฉีกขาด ทำให้มีเลือดออกดดยรอบอย่างรวดเร็ว มีผลทำให้เกิดการบวม และกดทับเนื้อเยื่อข้างเคียง ทำให้มีอาการปวด และยังทพให้การกลับคืนสภาพเดิม ของเนื้อเยื่อช้าลง เพราะฉะนั้นการปฐมพยาบาล จึงมีเป้าหมายเพื่อหยุด และควบคุมการบวม จากหลอดเลือดที่ฉีกขาดดังกล่าว



หลักสำคัญในการปฐมพยาบาล เมื่อได้รับบาดเจ็บ ควรปฏิบัติดังนี้




  1. อย่าตื่นเต้น หรือตกใจ พยายามตั้งสติให้มั่น เพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้อง แล้วจึงทำการพยาบาลตามลำดับความสำคัญก่อนหลัง ด้วยความรวดเร็ว พร้อมทั้งพูดจาปลอบโยน และให้กำลังใจแก่ผู้บาดเจ็บไปพร้อมกันด้วย
  2. รีบให้การปฐมพยาบาลต่อการบาดเจ็บ ที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตก่อนอื่นโดยเร็ว เช่น หัวใจหยุดเต้น การหายใจขัด การตกเลือด เป็นต้น
  3. ให้ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บนอนราบ และเอียงศีรษะไปข้างใดข้างหนึ่ง ยกเว้นในกรณีที่มีหลักฐาน หรือเกิดการบาดเจ็บบริเวณลำคอ ให้นอนศีรษะตรง โดยมีหมอน หรือวัสดุอื่นใดที่คล้ายๆ กับประกบศีรษะ เพื่อประคองให้ศีรษะอยู่ในท่าตรงตลอดเวลา
  4. ถ้ามีผู้บาดเจ็บหลายๆ รายพร้อมกัน ให้พิจารณาดูความสำคัญว่า รายใดควรได้รับการปฐมพยาบาลก่อน
  5. ทำการปฐมพยาบาลอย่างนุ่มนวล และรวดเร็ว ด้วยเครื่องมือเครื่องใช้ที่สะอาด อย่านำเอาความสกปรกมาเพิ่ม
  6. ปลดเปลื้องเครื่องนุ่งห่มที่ทำให้การปฐมพยาบาล ทำได้ไม่สะดวก หรืออาจรัดแน่นเกินไป แล้วใช้ผ้าคลุม หรือห่มแทย เพื่อความอบอุ่น
  7. อย่าให้น้ำ อาหาร หรือยา แก่ผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับการบาดเจ็บที่ช่องท้อง หรือหมดสติ เพราะอาจจะทำให้อาเจียน สำลัก ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงยิ่งขึ้น
  8. ไม่ควรให้ยาแก้ปวดแก่ผู้ที่ได้รับการกระทบกระเทือนที่สมอง เพราะจะทไให้บดบังอาการทางสมอง
  9. ก่อนเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ต้องให้การปฐมพยาบาลเรียบร้อยก่อนทุกครั้ง
  10. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ต้องทำให้ถูกต้อง ตามลักษณะการบาดเจ็บนั้นๆ เช่น อาจจะใช้การประคอง หาม หรือใช้เปล และควรติดตามดูแลในระหว่างทาง จนกระทั่งถึงมือแพทย์



หลักการปฐมพยาบาลบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย และเล่นกีฬา


เริ่มจากการตรวจร่างกาย เพื่อประเมินลักษณะ ความรุนแรงของบาดแผล หรือการบาดเจ็บที่ได้รับ รวมทั้งซักถามอาการจากนักกีฬา เช่น ีบวม หรือกดเจ็บ มีอาการปวดขณะเคลื่อน หรือจยับส่วนนั้นๆ หรือไม่ หลังจากได้ข้อมูลการบาดเจ็บแล้ว ให้เริ่มทำการปฐมพยาบาล โดยปฏิบัติตามอักษรภาษาอังกฤษ ในคำว่า "RICE" โดยที่ R ใช้แทนคำว่า Rest I ใช้แทนคำว่า Ice C ใช้แทนคำว่า Compression E ใช้แทนคำว่า Elevation รายละเอียดของการปฏิบัติตามแนวทาง RICE มีดังนี้






  1. การพัก (Rest) การใช้งานส่วนของร่างกาย ที่ได้รับบาดเจ็บทันที นั่นคือ ให้หยุดพักการเล่นกีฬา โดยเฉพาะในช่วง 6 ชั่วโมงแรก ของการบาดเจ็บ ซึ่งถือว่า เป็นช่วงที่สำคัญ ควรมีการให้พักการใชเงาน อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่แล้ว การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา หรือออกกำลังกายต้องการเวลาพักประมาณ 48 ชั่วโมง ก่อนที่จะมีการเคลื่อนไหว (mobilization) อีกครั้ง
  2. การใช้ความเย็น (Ice) โดยการประควบเย็น ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดการมีเลือดออก บริเวณเนื้อเยื่อ ลดบวม และอาการปวดได้ ระยะเวลาการประคบเย็น ต้องกระทำให้เหมาะสมกับบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ โดยทั่วไปการประคบเย็น ให้ประคบนานครั้งละ 10 ถึง 20 นาที หยุดประคบ 5 นาที ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งไม่บวม หรือทำวันละ 2 ถึง 3 ครั้ง วิธีที่นิยมใช้ในการประคบเย็น ได้แก่

    • การใช้เป็นถุงเย็น (ice pack) ซึ่งจะคงความเย็นได้ประมาณ 45-60 นาที และต้องมีผ้าห่อไว้ ไม่ให้ถุงเย็นสัมผัสโดยตรงกับผิวหนัง
    • การใช้ถุงใส่น้ำแข็ง ผ้าชุบน้ำเย็น ในกรณีที่ไม่มีถุงเย็น หรือบริเวณของการบาดเจ็บ กว้างเกินขนาดของถุงเย็น
    • การพ่นด้วยสเปรย์เย็น (cooling spray) อาจใช้ลดปวดเฉพาะที่ได้ชั่วคราว สามารถใช้ได้กับบริเวณที่เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ไม่หนา เช่น คาง สันหมัด ข้อเท้า

  3. การพันผ้ายืด (Compression bandage) เพื่อกดไม่ให้มีเลือดออกในเนื้อเยื่อมาก มักใช้ร่วมกับการประควบเย็น เพื่อให้ได้ประโยชน์ทั้งสองด้านร่วมกัน การพันผ้ายืดควรพันให้กระชับ ส่วนที่บาดเจ็บ และควรใช้ผ้าสำลีผืนใหญ่รองไว้ให้หนาๆ โดยรอบ ก่อนพันด้วยผ้ายืด ควรพันผ้ายืดคลุมเหนือ และใต้ต่อส่วนที่บาดเจ็บ
  4. การยก (Elevation) ส่วนของร่างกายที่ได้รับการบาดเจ็บ ให้สูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อให้เลือดไหลกลับสู่หัวใจได้สะดวก เช่น การนอนวางขา หรือเท้าบนหมอน ในกรณีที่นั่ง ให้วางเท้าบนเก้าอี้ เป็นต้น ในกรณีบาดเจ็บรุนแรง ควรยกสูงไว้ประมาณ 24-48 ชั่วโมง นอกจากนี้ การยกส่วนของร่างกายที่ได้รับบาดเจ็บ ให้สูง ยังช่วยในการลดการกดของน้ำหนักเซลล์ที่หลั่งออกมา สู่เนื้อเยื่อบริเวณนั้น ทำให้ลดการบวมลงได้



อย่างไรก็ตาม บางหลักปฏิบัติ อาจเพิ่มการป้องกันการบาดเจ็บเพิ่ม (Protection) ด้วย ซึ่งอาจจะพบได้ในบางตำรา ทำให้หลักการปฏิบัติเพิ่มจาก "RICE" เป็น "PRICE" เช่น ในกรณีบาดเจ็บรุนแรง ที่สงสัยว่า มีอันตรายต่อข้อต่อ หรือกระดูก ควรตาม (splint) ด้วยอุปกรณ์ที่แข็ง และขนาดเหมาะสมกับอวัยวะ ซึ่งหาได้ในบริเวณที่เกิดเหตุ เพื่อประคองอวัยวะ และป้องกัน (Protection) ไม่ให้มีการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อเพิ่มเติม



ข้อควรหลีกเลี่ยง


ควรหลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนในรูปแบบต่างๆ ในระยะแรก (48 ชั่วโมง) ของการบาดเจ็บ เพราะจะทำให้เส้นเลือดขยายตัว มีเลือดออกในบริเวณนั้นเพิ่มขึ้น นำไปสู่การบวมของเนื้อเยื่อโดยรอบ และจะมีอาการปวดมากขึ้น การหายจะช้าลง


สำหรับการดูแลปฐมพยาบาลการบาดเจ็บ ในแต่ละส่วน เป็นดังนี้




  1. การปฐมพยาบาลบาลเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อ
  2. การปฐมพยาบาลบาลเจ็บบริเวณเอ็น
  3. การปฐมพยาบาลบาลเจ็บบริเวณข้อต่อ
  4. การปฐมพยาบาลบาลเจ็บบริเวณกระดูก





  1. การปฐมพยาบาลบาลเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนไหว วิ่ง หรือออกกำลังกาย คือ กล้ามเนื้อลาย โดยแต่ละใยของกล้ามเนื้อ จะรวมกันเป็นมัดกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายกล้ามเนื้อให้แข็งแรง จะทำให้กล้ามเนื้อนั้น ทนต่อการปวดเมื่อยและอักเสบได้ การเสี่ยงต่อการบาดเจ็บก็มีน้อย กล้ามเนื้อมีหน้าที่ยืดและหด ถ้ามีความแข็งแรงยืดหยึ่นดี เมื่อเกิดแรงกระตุก กระชาก ทำให้เกิดการฉีกขาดได้ยาก การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อมีดังนี้

    1. ตะคริว (cramp) เกิดจากการหดเกร็งตัวชั่วคราว ของกล้ามเนื้อนั้นๆ ทั้งมัด ทำให้เห็นเป็นก้อน หรือเป็นลูก จะมีอาการเจ็บปวดมาก และอยู่นอกเหนือการบังคับจากจิตใจ อาจจะเกิดได้บ่อยๆ และซ้ำที่เดิม หรือเป็นหลายๆ มัดพร้อมกันได้ สาเหตุเกิดจากกล้ามเนื้อไม่แข็งแรง หรือไม่ได้รับการฝึกอย่างเพียงพอ เมื่อวิ่งหรือใช้งานมากเกินไป นอกจากนี้ การที่ร่างกายขาดเกลือแร่บางชนิด เช่น แคลเซียม ฯลฯ หรือในสภาพอากาศที่เย็น หรือการรัดผ้ายืดแน่นเกินไป เลือดมาเลี้ยงกล้ามเนื้อน้อย จะยิ่งก่อให้เกิดตะคริวได้ง่ายขึ้น

      การปฐมพยาบาล ในขณะที่กำลังเล่นกีฬา แล้วเกิดเป็นตะคริว ให้หยุดพักทันที จากนั้นเหยียด และยืดกล้ามเนื้อมัดนี้ให้เต็มที่ประมาณ 5-10 นาที เมื่อคลายการเกร็งตัวแล้ว จึงนวดต่อด้วยน้ำมันนวดที่ร้อน ด้วยอุ้งมือเบาๆ ห้ามจับ บีบ หรือขยำ เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็งตัว เกิดตะคริวได้อีก หลังจากนั้นต้องบริหารกล้ามเนื้อมัดนั้นเป็นพิเศษ เพื่อให้แข็งแรงอยู่เสมอ จะได้ไม่เกิดอาการขึ้นมาอีก โดนทั่วไปแล้วตะคริวมักเกิดกล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ เช่น กล้ามเนื้อน่อง แต่ก็สามารถพบได้ในกล้ามเนื้อมัดเล็กๆ เช่น กล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อระหว่างกระดูกซี่โครง (intercostal muscles) หลักการทั่วไปในการปฐมพยาบาลตระคริว ในกรณีที่ไม่สามารถยึดกล้ามเนื้อ (passive stretching) ได้ให้ผู้บาดเจ็บพัก และหายใจเข้าออกลึกๆ (deep breathing) และประคบด้วยความเย็น (ice pack) อาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อจากตะคริว ก็จะค่อยทุเลาลง


      ตัวอย่าง เมื่อขณะเล่นกีฬาแล้วเกิดเป็นตะคริวที่น่อง มีอาการปวดที่น่องมาก คลำดูจะแข็งเป็นลูก ใช้ขาข้างนั้นต่อไปไม่ได้ การปฐมพยาบาล คือ ให้นักกีฬาผู้นั้นพัก ถอดรองเท้า และถุงเท้าออกให้หมด นั่ง หรือนอนราบ ให้เข่าอยู่ในท่าเหยียดตรง ค่อยๆ ใช้มือดันปลายเท้า ให้กระดกขึ้นเต็มที่อย่างช้าๆ ทำอยู่ในท่านี้ประมาณ 5-10 นาที กล้ามเนื้อน่องจะคลายการเกร็งตัว อาการปวดจะลดลง จากนั้นให้นอนคว่ำ ทาน้ำมันนวดที่ร้อน และนวดด้วยอุ้งมือเบาๆ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียน ของเลือดให้มาที่กล้ามเนื้อมัดนั้นมากขึ้น



    2. กล้ามเนื้อบวม เป็นการบาดเจ็บที่เกิดขึ้ย จากการบวมของกล้ามเนื้อในช่องว่างที่จำกัด เพราะมีเยื่อพังผืด ที่ค่อนข้างเหนียวห่อหุ้มอยู่ ทำให้ปวดมาก ปวดอยู่ตลอดเวลา กินยาแก้ปวดก็ไม่หาย ถ้าลองเหยียดกล้ามเนื้อมัดนั้น จะเจ็บปวดอย่างมาก สาเหตุเกิดจากการที่มีเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อมัดนั้น หรือกลุ่มนั้นน้อย พบในนักวิ่งที่เริ่มต้นฝึกซ้อมหนักเกินไป กล้ามเนื้อยังไม่คุ้นเคย และแข็งแรงพอ มักพบในกล้ามเนื้อที่ขา (หน้าแข้งและน่อง) ในรายที่มีอาการเกิดขึ้น ถึงแม้เจ็บแล้วก็ยังฝืนวิ่งต่อ จะเป็นอันตรายมาก เพราะกล้ามเนื้อที่บวมจะไปกดทับเส้นประสาท หลอดเลือด ทำให้ไม่มีประสาทสั่งงาน และกล้ามเนื้อตาย จึงเกิดเป็นอัมพาต หรือถึงกับเสียขาไปเลยก็ได้

      การปฐมพยาบาล เมื่อมีอการเกิดขึ้นให้หยุดเล่นกีฬาทันที แล้วประคบด้วยผ้าชุบน้ำอุ่น ยกเท้าสูง หลังจากอาการดีขึ้นแล้ว ต้องฝึกโดยบริหารกล้ามเนื้อกลุ่มนี้ให้แข็งแรง เพื่อให้ทนการบาดเจ็บชนิดนี้ได้ และเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอาการนี้อีก ค่อยๆ เพิ่มความหนักของการฝึกทีละน้อยๆ และสังเกตอาการด้วย ถ้ามีอาการผิดปกติให้หยุดทันที ระหว่างนี้ก็ต้องบริหารกล้ามเนื้อนี้ให้แข็งแรง ควบคู่กันไปด้วย ก็จะสามารถฝึกหนักเพิ่มไปได้เรื่อยๆ ในรายที่มีอาการมากดังกล่าวแล้ว เมื่อพบแพทย์จะต้องรีบทำการผ่าตัดรักษาทันที โดยเปิดช่องว่างของพังผืด ที่ห่อหุ้มกล้ามเนื้อออก เพื่อให้กล้ามเนื้อขยายตัวได้เต็มที่ ไม่ให้กล้ามเนื้อที่บวมอยู่ในเนื้อเยื่อที่จำกัด ตาย หรือไปกดทับเส้นประสาท และเส้นเลือด ซึ่งถ้าเข้าไป หรือให้การรักษาไม่ถูกต้อง จะทำให้ส่วนปลายของอวัยวะ เช่น ขา เกิดพิการหรือตาย หมดโอกาสเล่นกีฬา อีกต่อไป


    3. กล้าเนื้อชอกช้ำ (contusion) เกิดจากการถูกกระแทกที่กล้ามเนื้อด้วยของแข็ง ทำให้กล้ามเนื้อชอกช้ำ และหลอดเลือดที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อฉีกขาด มีเลือดคั่งอยู่ในกล้ามเนื้อ ถ้าเป็นมาก หรือได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง เลือดที่คั่งจะไปจับกันเป็นก้อนเดียว เกิดเป็นพังผืด ทำให้กล้ามเนื้อทำงานได้ไม่เต็มที่ และเกิดการเจ็บปวดได้

      การปฐมพยาบาล เมื่อได้รับบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ จากการกระทบกระแทก ให้หยุดพักทันที พร้อมกับประคบน้ำแข็งประมาณ 15-20 นาที เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดออก หรือออกน้อยที่สุด จากนั้นใช้ผ้ายืด หรือผ้าพันทับกล้ามเนื้อนั้น เพื่อจะได้มีแรงกด หรือหยุดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดนั้น หลังจากนั้น 1-2 วัน ให้ประคบน้ำร้อน หรือนวดด้วยน้ำมันที่ร้อนเบาๆ เพื่อให้เลือดที่อยู่กระจายตัว และถูกดูดซึมกลับไป ในที่สุดจะได้ไม่มีการยึดติด ด้วยพังผืดที่จะทำให้ประสิทธิภาพ ของกล้ามเนื้อเสียไป


    4. กล้ามเนื้อฉีกขาด (strain) เกิดจาก 2 สาเหตุ คือ แรงกระทบจากภายนอก และตัวกล้ามเนื้อเอง ดังนี้


      1. เกิดจากแรงกระทบภายนอก เกิดจากการถูกกระทบด้วยของแข็งอย่างแรง ทำให้กล้ามเนื้อฉีกขาด และมีเลือดออกมาก
      2. จากตัวกล้ามเนื้อเอง เมื่อวิ่งหลบหลุม หรือเปลี่ยนท่าการเล่นกีฬาทันที ทำให้มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อมัดนั้น โดยฉับพลัน เกิดการฉีกขาดขึ้น ทั้งนี้เพราะกล้ามเนื้อมัดนั้นไม่แข็งแรง มีความทนทานน้อย

      เมื่อเกิดการฉีกขาดของกล้ามเนื้อทันที เราสามารถแบ่งระดับง่ายๆ โดยใช้มือ หรือนิ่วคลำดู จะพบร่องบุ๋มตรงตำแหน่งที่ฉีกขาด แต่ระยะต่อมาจะบอกได้ยาก เพราะจะมีเลือดออก มากลบร่องตรงที่ฉีกขาด ทำให้ตรวจ หรือวินิจฉัยแบ่งระดับความรุนแรงได้ยาก


      การปฐมพยาบาล เมื่อมีการฉีกขาดของกล้ามเนื้อเกิดขึ้น การปฐมพยาบาลทั่วไปก็คือ หลุดเล่นกีฬาทันที แล้วประคบน้ำแข็ง 15-20 นาที พัก 5 นาที สลับกันไป จนไม่มีการบวมเพิ่มขึ้น พร้อมๆ กับใช้าผ้ายืดรัด ให้เกิดแรงกดบริเวณนั้น ต้องระวังไม่รัดแน่นจนเกินไป และให้ยกส่วนปลายสูง เพื่อให้เลือดไหลเวียน กลับสู่หัวใจได้สะดวก เป็นการลดอาการบวม หลังจากนั้น 1-2 วัน ให้ประคบน้ำร้อน เพื่อให้หลอดเลือกบริเวณนั้นขยายตัว จะได้ดูดซับเอาเลือดที่ออกกลับไป เมื่อเริ่มมีกล้ามเนื้อฉีกขาด ควรตรวจดูโดยเร็ว โดยการคลำเพื่อดูระดับการฉีกขาด ถ้าเป็นการฉีกขาดระดับที่ 1 เส้นใยกล้ามเนื้อ (muscle fibers) ฉีกขาดน้อยกว่า 10% บวมเล็กน้อย หรือไม่บวม ปวดไม่มาก วิ่งหรือเคลื่อนไหวต่อไปได้ ประมาณ 3 วัน อาการจะหายไป ถ้าเป็นระดับที่ 2 เส้นใยกล้ามเนื้อฉีกขาด 10-50% บวมมากขึ้น ปวดมาก เล่นกีฬาต่อไปไม่ได้ พอเดินได้ หลังจากปฐมพยาบาลแล้ว ต้องทำให้กล้ามเนื้อที่ฉีกขาดนั้นอยู่นิ่งๆ เพื่อให้ไม่มีแผลเป็น หรือมีพังผืดจับน้อยที่สุด โดยการยึดด้วยปลาสเตอร์ (เฝือกอ่อน) 3 สัปดาห์ ก็จะหายเป็นปกติ ถ้ามีการเคลื่อนไหว จะทำให้มีแผลเป็นใหญ่ และมีพังผืดเกิดขึ้น ประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อจะลดลงไป ถ้าตรวจพบโดยใช้นิ้วคลำ พบร่องบุ๋มใหญ่ พบว่า เป็นระดับที่ 3 เส้นใยกล้ามเนื้อมีการฉีกขาด 50-100% บวมมาก ปวดมาก หรือน้อย (ถ้าฉีกขาดสมบูรณ์) เล่นกีฬา หรือเดินต่อไปได้ เพราะกล้ามเนื้อไม่สามารถทำงานได้ ต้องรีบส่งพบแพทย์ทันที เพราะต้องรักษา โดยการผ่าตัดเย็บต่อกล้ามเนื้อ และเข้าเฝือก การได้ยาพวกต้านการอักเสบรับประทาน จะทำให้หายเร็วขึ้น



  2. การปฐมพยาบาลบาดเจ็บบริเวณเอ็น เอ็นเป็นตัวเชื่อมระหว่างกล้ามเนื้อ และกระดูก สามารถยืดและหดตัวได้ ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว ประกอบด้วยเอ็น และเยื่อหุ้มเอ็น การบาดเจ็บที่เอ็นนี้ มักเกิดจากการใช้งานมากเกินไป หรือเกิดจากการบาดเจ็บโดยทางอ้อม ส่วนการบาดเจ็บโดยตรงจากการถูกระทบกระแทกนั้น พบได้ไม่บ่อยนัก (ส่วนใหญ่จะเป็นเอ็นที่อยู่ในตำแหน่งตื้นๆ เช่น ที่ข้อมือ เป็นต้น) การบาดเจ็บเกี่ยวกับเอ็น มีดังต่อไปนี้


    1. ปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ (tenovaginitis) ที่พบได้บ่อยๆ จากการเล่นกีฬา คือ บริเวณข้อมือ และนิ้วมือ เนื่องจากการใช้งานมากเกินไป เช่น การเหวี่ยง บิด หรือสะบัดบริเวณข้อมือ และการบีบกำ หรือเกร็งบริเวณนิ้วมือ ทำให้ปลอกหุ้มเอ็นมีการอักเสบ และหนาตัวขึ้น ทำให้ช่องที่เอ็นจะลอดผ่านแคบลง เกิดการติดขัดในการเคลื่อนที่ของเอ็น เกิดการเจ็บปวดเมื่อมีการเคลื่อนไหว มีอาการบวม กดเจ็บ และจะเจ็บมาก เมื่อมีการบิดข้อมือ หรือยืดนิ้วออก

      การปฐมพยาบาล ในรายเฉียบพลัน ให้การปฐมพยาบาลแบบทั่วๆ ไป ใช้น้ำเย็นประคบ พักให้ยาแก้ปวด และยาต้านการอักเสบนาน 3 สัปดาห์ พร้อมๆ กับการรักษาทางกายภาพบำบัด หลังจากเวลาผ่านไป 2 วัน เช่น ประคบร้อนหรือคลื่นเหนือเสียง (อัลตราซาวน์) ถ้าไม่หายให้ฉีดยาต้านการอักเสบ สเตียรอยด์เฉพาะที่ ในรายที่เป็นเรื้อรัง อาจต้องผ่าตัดเปิดปลอกหุ้มเอ็นออก เพื่อให้เอ็นเคลื่อนไหวได้สะดวก การป้องกัน คือ ต้องหลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่หนักเกินไปในทันที ต้องค่อยๆ เพิ่มการฝึกทีละน้อยๆ และบริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรงอยู่เสมอ (เอ็นที่อยู่ต่อกล้ามเนื้อ จะแข็งแรงตามไปด้วย)


    2. เยื่อหุ้มเอ็นอักเสบ (paratendinitis) จะมีอาการปวด บวม และกดเจ็บรอบๆ เอ็นนั้นๆ มักพบที่เอ็นร้อยหวาย เอ็นใต้ตาตุ่มด้านนอก สาเหตุเกิดจากการใช้งานมากเกินไป เช่น วิ่งมากเกินไป ทำให้เกิดการอักเสบขึ้น การอักเสบอาจเป็นแบบเฉียบพลัน มีการอักเสบเกิดขึ้นทีละน้อย สะสมไว้จนเกิดอาการขึ้นมาทันที หรือเป็นแบบเรื้อรัง ซึ่งทั้งที่มีอาการแล้ว แต่ยังใช้งาน หรือเล่นกีฬาต่อไปเรื่อยๆ หรือเพียงแต่พักช่วยคราว แล้วไปเล่นกีฬาอีก ทั้งๆ ที่ยังไม่หาย พวกนี้มักต้องลงเอยด้วยการผ่าตัดรักษา

      การปฐมพยาบาล เหมือนๆ กับหารปฐมพพยาบาลปลอกเอ็นอักเสบ คือ ประควเย็น พัก และให้ยา ในรายที่เป็นการอักเสบครั้งแรกจริงๆ อาจไม่ต้องให้ยา เพียงแต่พักก็สามารถหายได้ แต่ต้องไม่ลืมการบริหาร และฟื้นฟูกล้ามเนื้อ และเอ็นนั้น ให้แข็งแรงก่อนเสมอ เพื่อจะได้ไม่เกิดการบาดเจ็บซ้ำเดิมอีก


    3. เอ็นอักเสบ (tendintis) เป็นการอักเสบของตัวเอ็นเอง มักพบภายในส่วนกลางของเส้นเอ็น เพราะมีเลือดมาเลี้ยงน้อย เกิดจากการเล่นกีฬา หรือซ้อมหนักเกินไป ใช้งานมากเกินไป หรือเกิดจากอุปกรณ์การเล่นไม่ถูกต้อง เช่น รองเท้าพื้นแข็งเกินไป พื้นที่ หรือสนามเล่นกีฬาแข็งมาก หรือมีการโหมเล่นกีฬาหนักทันที หรือเพิ่มความเร็ว จากการวิ่งอย่างกระทันหัน ที่พบได้บ่อยๆ คือ เอ็นร้อยหวายอักเสบ เอ็นข้อมืออักเสบ จะมีอาการปวดบวม เจ็บ กดเจ็บ และมักมีอาการปวด ในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น หลังจากเล่นกีฬา หรือฝึกซ้อมมากเกินไป เมื่อสายๆ อาการจะน้อยลงไป แต่เมื่อเริ่มเล่นกีฬา จะมีอาการปวดอีก อาการมักเป็นเรื้อรัง และแสดงอาการมากน้อยต่างกันออกไป นักกีฬาที่มีร่างกาย และสมรรถภาพไม่สมบูรณ์ หรือเล่นกีฬาด้วยเทคนิคไม่ถูกต้อง จะเสี่ยงต่อการเกิดการบาดเจ็บ ในลักษณะนี้ได้ง่าย ที่พบได้บ่อยๆ คือ เอ็นบริเวณข้อไหลือักเสบ หรือเอ็นร้อยหวายอักเสบ เช่น นักกีฬาวอลเลย์บอล และนักแบดมินตันที่ต้องตบลูกหนักหน่วง และบางครั้งต้องใช้งานถี่มาก หรือในนักวิ่งที่ซ้อมหนัก และวิ่งบนพื้นที่แข็ง เป็นต้น

      การปฐมพยาบาล ในรายที่มีอาากรเฉียบพลัน ให้ใช้หลักการปฐมพยาบาลทั่วไป คือ พัก และประคบเย็น มักไม่ค่อนใช้วิธีผ่าตัดรักษา การให้พัก และให้รับประทานยาต้านการอักเสบ ร่วมกับการทำกายภาพบำบัด ทำให้อาการหายเป็นปกติได้ การป้องกันนั้นต้องค่อยๆ เพิ่มการเล่นกีฬามากขึ้นทีละน้อย อย่าหักโหมฝึก หรือเพิ่มความเร็วในการเล่นอย่างกะทันหัน และต้องบริหารกล้ามเนื้อ ให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อให้มีเอ็นที่แข็งแรง ที่สำคัญคือ เทคนิคการเล่นกีฬาและอุปกรณ์กีฬาต้องถูกต้อง



    4. เอ็นฉีกขาด มักพบในนักกีฬาสูงอายุ (มากกว่า 40 ปี) เนื่องจากการเล่นกีฬาชนิดที่จะต้องเปลี่ยนทิศทาง และความเร็วทันทีทันใด เช่น วิ่งหลบหลุมหลบบ่อ หรือบิดหมุนตัวทันที เกิดการฉีกขาดของเอ็นเป็นบางส่วน หรือมีการฉีกขาดโดยสมบูรณ์ มักพบที่เอ็นร้อยหวาย ซึ่งเสื่อมจากการใช้งานมาก หรือพวกที่เคยรักษาโดยการฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่เข้าไป ในเอ็น (อันตรายมาก) เมื่อมีการฉีกขาดขณะเล่นกีฬา จะมีอาการเจ็บปวดมาก บวม เล่นกีฬาต่อไม่ได้ เพราะเดินหรือวิ่งไม่ได้ ถ้าฉีกขาดมาก ถึงกับขาดอย่างสมบูรณ์ จะทำให้กระดูกข้อเท้าลงไม่ได้ เป็นต้น

      การปฐมพยาบาล ให้ใช้หลักการปฐมพยาบาลทั่วไป ดังได้กล่าวมาแล้ว จากนั้นควรให้แพทย์ทำการรักษาต่อ ถ้าไม่สามารถหายไปได้เองใน 3 วัน แสดงว่ามีการฉีกขาดเป็นบางส่วน ต้องยึด หรือล็อกให้อยู่นิ่งๆ โดยใช้เฝือกปูน หรือเฝือกอ่อน (พันผ้าพลาสเตอร์) นาน 3 สัปดาห์ แต่ถ้ามีการฉีกขาดโดยสมบูรณ์ หรือเกือบสมบูรณ์ (50-100%) ต้องรักษาโดยการผ่าตัดเย็บต่อเอ็น แล้วใส่เฝือกปูนไว้ 3-6 สัปดาห์ จากนั้น จึงบริหารเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อ และเอ็นที่ได้รับบาดเจ็บให้แข็งแรงก่อน จึงจะกลับไปเล่นกีฬาได้ตามปกติ การป้องกันที่ง่ายๆ คือ การบริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรงอยู่เสมอ เอ็นก็จะแข็งแรงตามไปด้วย และหลีกเลี่ยงการเล่นกีฬา ที่จะต้องเปลี่ยนทิศทาง และความเร็วอย่างกะทันหัน



  3. การปฐมพยาบาลบาลเจ็บบริเวณข้อต่อ ข้อต่อประกอบด้วย ปลายกระดูกตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไปต่อกัน โดยที่มีกระดูกอ่อนหุ้ม ที่ปลายกระดูกอ่อน และปกคลุมโดยรอบด้วยเยื่อบุข้อ (synovial membrane) ซึ่งทำหน้าที่สร้างน้ำหล่อลื่น และยังมีส่วนควบคุมห่อหุ้มให้แข็งแรง และมั่นคง ภายนอกข้อต่อที่สำคัญ คือ เอ็นยึดข้อ (ligament) มีเอ็นยึดข้อบางอัน เข้าไปอยู่ในข้อก็มี หรือบางทีจะมีหมอนกระดูกอ่อนรองข้อเท้า เช่น ข้อเข่า เป็นต้น

    การบาดเจ็บที่ข้อต่อ มีดังนี้




    1. ข้อเคล็ด ข้อแพลง (sprain) เกิดจากการฉีกขาดของเอ็นที่ยึดข้อต่อ การฉีกขาดอาจเป็นเพียงบางส่วน หรือฉีกขาดทั้งหมด ถ้ารักษาไม่ดี อาจจะทำให้เอ็นยึด หรือติดไม่แข็งแรง หรือติดไม่ดี ผลที่ตามมา คือ เจ็บ ข้อหลวม หรือเกิดข้อเสื่อมในภายหลังได้

      บาดเจ็บจากการเล่นกีฬาที่พบบ่อย คือ ข้อเท้า ข้อเข่า ถ้ามีการฉีกขาดถึงเยื่อบุข้อต่อ จะทำให้เลือดออก คั่งอยู่ภายในข้อ เมื่อดูจากภายนอก จะเห็นว่า ข้อนั้นบวมขึ้นอย่างรวดเร็ว เอ็นยึดข้อเท้ากลุ่มที่เสี่ยงอันตรายมาก คือ กลุ่มที่อยู่ตรงบริเวณตาตุ่มด้านนอก ถ้าข้อเท้าพลิกในลักษณะที่ฝ่าเท้าบิดเข้าใจ จะมีผลให้เอ็นยึดข้อเท้าด้านนอก ที่เกาะติดกับบริเวณตาตุ่มด้านนอกบาดเจ็บ กลุ่มเอ็นยึดที่เข่า ที่เสี่ยงอันตรายมาก คือ กลุ่มที่อยู่ด้านใน และด้านนอกของข้อเข่า ถ้าข้อเข่าพลิกออกด้านนอก (โดยขากางออกทางด้านนอก และเข่าอยู่กับที่) จะทำให้เอ็นด้านในข้อเข่าฉีกขาด ซึ่งพบได้มากกว่าด้านนอกของข้อเข่าฉีกขาด ถ้ามีความรุนแรงมากขึ้น จะทำให้เยื่อบุข้อต่อฉีกขาด ทำให้บวมทั้งข้อต่อ สำหรับข้อเข่านั้น อาจทำให้เอ็นภายในข้อเข่าฉีกขาดร่วมด้วย ซึ่งเป็นบาดเจ็บที่รุนแรง ของข้อเข่าเลยทีเดียว เพราะถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และทันท่วงที โดยการผ่าตัด จะทำให้ข้อเข่าหลวม (ซึ่งพลาดกันเสมอๆ สำหรับบาดเจ็บของข้อเข่า เนื่องจากการล่าช้า ทำให้ไม่สามารถต่อเอ็นภายในข้อเข่า ที่ฉีกขาดได้ ถ้าไม่ได้ทำการผ่าตัดต่อเอ็นนี้ ภายในเวลาประมาณ 5 วัน นับแต่วันที่ได้รับบาดเจ็บ เนื่องจากเอ็นภายในข้อเข้านั้น ได้ถูกย่อยไปแล้ว) การทำในภายหลัง จะต้องใช้เส้นเอ็นเส้นอื่นๆ ของร่างกาย มาทดแทย หรือใช้เอ็นเทียม ทำให้วิ่งเลี้ยวไม่ได้ ไม่สามารถหยุดวิ่งได้ทันที ด้วยขาข้างนั้น หรือเมื่อลงบันได จะรู้สึกเข่าจะหลุดลอยออกไป เป็นต้น


      ความรุนแรงของข้อเคลฺด ข้อแพลง แบ่งเป็น 3 ระดับ


      ระดีบที่ 1 มีการฉีกขาดของเอ็นเล็กน้อย หรือมีการยึดของเอ็นบริเวณข้อต่อนั้น กดเจ็บบริเวณที่มีการฉีกขาด แต่จะไม่บวม หรือบวมเล็กน้อย อยู่เฉยๆ จะไม่เจ็บมีการเสียว หรือปวดที่ข้อต่อนั้นน้อยมาก และเดินไม่กะแผลก


      การปฐมพยาบาล ให้พักข้อต่อโดยยกให้สูง และประคบเย็นทันที ปริมาณ 5-10 นาที โดยใช้ผ้าชุบน้ำเย็น หรือน้ำแข็งทุบละเอียด บรรจุในกระเป๋ายาง ถุงพลาสติก หรือห่อผ้า และพันผ้ายืดไว้ ในหนึ่งชั่วโมงแรก หลังบาดเจ็บให้ประคบน้ำแข็งวางต่อเนื่องกัน 15 นาที หลังจากนั้นให้ประคบ 10-15 นาที สลับพัก 10-15 นาที ในชั่วโมงหลังๆ ประคบห่างออกไปเรื่อยๆ ให้ประคบ 4-8 ครั้งต่อวัน การประคบน้ำแข็งให้ประคบแค่ 24 ชั่วโมง หลังบาดเจ็บก็เพียงพอแล้ว ประมาณไม่เกิน 3 วันจะหายเป็นปกติ



      ระดับที่ 2 จะมีความรู้สึกเจ็บปวด มีการเสียวที่ข้อต่อนั้นเล็กน้อย เดินกะเผลก สำหรับข้อเท้านั้น จะทำให้ไม่สามารถเขย่งปลายเท้า หรือยืนบนปลายนิ้วเท้า เวลาเดินจะมีการบวมเฉพาะที่ และถ้าใช้นิ้วกดลงตรงบริเวณนั้น จะมีอาการเจ็บปวเอย่างมาก ควรระวังไม่ให้มีการเคลื่อนไหว หรือหมุนบิดของข้อนั้น เพราะอาการบวม จะมีในทันที เนื่องจากมีการฉีกขาดของหลอดเลือด บริเวณนั้น ทำให้มีเลือดคั่ง บริเวณใต้ผิวหนัง


      การปฐมพยาบาล สิ่งที่ต้องทำทันที คือ การพัก และบกข้อนั้นให้สูงไว้ จากนั้นประคบน้ำเย็นทันที ควรประคบหลายๆ ครั้งติดต่อกัน แต่ละครั้งติดต่อกัน แต่ละครั้งนานประมาณ 5-10 นาที พัก 2-3 นาที ระหว่างพัก ควรเฝ้าดูอาการบวมบริเวณนั้น ถ้าอาการบวมคงที่ ไม่เพิ่มขึ้น เป็นอันเสร็จวิธีประคบเย็น จากนั้นพันข้อต่อนั้นด้วยปลาเตอร์หลายๆ ครั้ง ที่เรียกว่า เฝือกอ่อน (Gibney's strap) ให้ยึดตรึง หรือล็อกข้อนั้นไว้ เพื่อให้เอ็นประสานกัน และติดกันสนิท (สำหรับข้อเท้านั้น ให้ยกกระดกขึ้น และบิดออกทางด้านนอก) จากนั้น พันด้วยผ้ายืด เราจะพันไว้ประมาณ 3 สัปดาห์ โดยเปลี่ยนปลาสเตอร์ที่พันทุก 1 สัปดาห์ เพราะมันจะยึดและทำให้หลวมได้ เมื่อครบ 3 สัปดาห์ เอาเฝือกอ่อนนี้ออก แล้วค่อยๆ หัดบริหารข้อต่อนั้น โดยเคลื่อนไหวต่อต้านแรง ที่ต่อต้านการเคลื่อนไหว เพื่อให้กล้ามเนื้อรอบข้อต่อนั้นแข็งแรง เมื่อข้อต่อมีความแจ็งแรงมั่นคง หายเป็นปกติดี สามารถเล่นกีฬาได้อย่างมั่นใจ แต่ถ้าไม่บริหารหลังเอาเฝือกอ่อนออก แล้วไปเล่นกีฬา จะทำให้ข้อต่อนั้นไม่แข็งแรง เกิดมีการพลิก หรือบาดเจ็บได้ง่าย ทำให้เกิดข้อเคล็ด หรือข้อแพลงได้ ซ้ำอีกอยู่บ่อยๆ


      ระดับที่ 3 มักจะมีการฉีกขาดของเยื่อหุ้มข้อร่วมด้วยเสมอ ทำให้มีเลือดคั่งในข้อ หรือซึมอยู่ใต้ผิวหนัง จะเห็นข้อเท้า หรือข้อเข่านั้น บวมทั้งข้อ มักจะเกิดจากการพลิกอย่างรุนแรง หรือในรายที่ได้รับบาดเจ็บซ้ำเติมภายหลัง ที่ข้อแพลงระดับ 2 นั้น ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเพียงพอ หรือรีบใช้งานเร็วเกินไป


      อาการที่เกิดขึ้น จะเจ็บปวดมาก บวมมาก เมื่อเราตรวจจับข้อเท้า หรือเข่าแยก หรือบิดออกจากกัน จะเห็นว่า มีช่องว่างอ้าออกจากกัน และไม่มั่นคง อาการบวมนั้น จะเกิดขึ้นทันทีทันใด เนื่องจากเยื่อบุข้อต่อฉีกขาด ทำให้เลือดคั่งอยู่ในข้อต่อนั้น จะเห็นข้อบวมชัดเจน บางรายเห็นเป็นกระเปาะ คลำดูจะรู้สึกอุ่นๆ เลือดที่คั่ง อาจเซาะมาใต้ผิวหนัง ทำให้สีเปลี่ยนแปลงไป โดยวันแรกอาจจะมีสีแดงเรื่อๆ หรือเปลี่ยนแปลงไม่ชัดเจน แต่ในวันต่อมา จะมีสีเขียวคล้ำ หรือม่วงคล้ำ จากนั้นค่อยๆ จางหายไป พร้อมอาการบวมในประมาณ ปลายสัปดาห์ที่ 3




       

      Create Date : 15 ตุลาคม 2551    
      Last Update : 15 ตุลาคม 2551 14:00:19 น.
      Counter : 3848 Pageviews.  

การแพทย์แสนล้ำ !เปลี่ยน “ไขมัน” เป็น “นม” สุดง่ายไม่ถึงชั่วโมง



ไขมันจากหน้าท้อง บั้นท้าย หรือต้นขาจะถูกดูดออกมาด้วยวิธีมาตรฐานทั่วไป และนำไปผสมกับสเต็มเซลล์ ถึงขั้นนี้เซลล์และไขมันจะผสมกันอย่างเข้มข้น เมื่อเซลล์บรรจุรออยู่ในเข็มเรียบร้อย ก็เตรียมพร้อมฉีดให้กับผู้ป่วยโดยใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง และรอคอยอีก 6 เดือนหน้าอกก็จะค่อยๆ โตขึ้น



ที่ผ่านมา ความพยายามนำไขมันส่วนเกิน ไปก่อรูปเป็นอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ส่วนใหญ่ล้มเหลวนั้น ก็เพราะไขมันส่วนใหญ่มักจะถูกดูดซึมกลับเข้าสู่ร่างกาย ทว่านักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่มั่นใจนักว่าวิธีการดังกล่าวจะใช้ได้ดีไหม แต่เชื่อได้ว่าสเต็มเซลล์จะส่งสัญญาณไปกระตุ้นให้หลอดเลือดขยายใหญ่ขึ้น และสร้างเนื้อเยื่อตามธรรมชาติขึ้นมา



ส่วนงานวิจัยชิ้นนี้สนับสนุนโดยบริษัทไซโตรี เทราพิวทิกส์ (Cytori Therapeutics) และรายงานรายละเอียดของแนวทางการรักษาลงในนิตยสารเคมีและอุตสาหกรรม (Chemistry and Industry Magazine) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์พัฒนาวิธีการนี้ขึ้นเพื่อช่วยผู้ป่วยมะเร็งที่ต้องตัด เต้านมออกไป



ทางบริษัทได้ดำเนินการทดสอบกับผู้หญิงญี่ปุ่นที่ถูกตัดเต้านมบางส่วน 19 คน โดยทุกคนตอบสนองดีกับการรักษาเพิ่มเต้า และยังไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ปรากฏ ส่วนการทดลองในระดับคลินิกยังคงเดินหน้า และทางบริษัทก็หวังว่าจะสามารถเปิดตัวการรักษาเพิ่มเต้านมด้วยวิธีนี้ใน ยุโรปได้ภายในช่วงต้นปีหน้า

เชื่อว่า ถ้าวิธีการรักษาด้วยการฉีดเสต็มเซลล์ผสมไขมันเข้าสู่หน้าอกได้รับอนุญาต จะกลายเป็นคู่แข่งสำคัญของ “ซิลิโคน” เพื่อนคู่ใจของสาวๆ เป็นแน่



ทว่า ทางบริษัทผู้พัฒนายอมรับว่า สนนราคาของการเติมนมด้วยวิธีนี้ยังค่อนข้างแพง หากเทียบต่อ 1 เข็มที่ฉีดเข้าไป แต่ก็อวดว่าไม่เหมือนกับการผ่าตัดเสริมอิ๋มที่ทำกันอยู่ทั่วไปแน่นอน



รายีฟ กรอฟเวอร์ (Rajiv Grover) สมาคมศัลยกรรมพลาสติกเพื่อความงามแห่งอังกฤษ (British Association of Aesthetic Plastic Surgeons : Baaps) แสดงความเห็นว่า งานวิจัยดังกล่าวดูเหมือนจะเป็นการพัฒนาทางการแพทย์ แต่ก็อดกังขาไม่ได้ว่าจะต้องกลายเป็นที่นิยมในการศัลยกรรมเพื่อความงามเป็น แน่



เฉพาะในอังกฤษมีผู้ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมมากถึงปีละ 45,000 ราย และในจำนวนนี้ 30% ต้องรักษาด้วยการตัดเต้านมบางส่วนทิ้งไป




 

Create Date : 27 กันยายน 2551    
Last Update : 27 กันยายน 2551 1:00:48 น.
Counter : 2526 Pageviews.  

เมื่อคุณเป็นคนหนึ่งที่ใช้คอมพิวเตอร์

วันหนึ่ง เพื่อนผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำคนหนึ่งของผมได้ถามขึ้นมา

"...ถามอะไรหน่อยสิ... ผมใช้โน้ตบุคเป็นประจำ แล้วก็ชอบวางไว้ที่หน้าตัก โน้ตบุคร้อนๆ จะทำให้เป็นหมันไหมเนี่ย"

ผมมองหน้าเพื่อนคนนั้น แววตาของเขาเต็มไปด้วยความเป็นห่วงกังวล

"..คิดมากไปได้..." ผมตอบ "แต่ถ้านายมัวแต่ใช้คอมไม่ยอมไปหาแฟนเลย อย่างนี้ถึงไม่เป็นหมันก็คงไม่มีลูกล่ะมั้ง.."



จากบทสนทนาวันนั้น ทำให้ผมได้กลับมานั่งคิดว่า ...เอ.. การใช้อุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่งเป็นเวลานานๆ มักจะมีผลเสียมากกว่าผลดี ....แล้วการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ล่ะ จะมีโทษบ้างหรือไม่

วันนี้ ผมกลับมานั่งทบทวนดู จากอดีตนับตั้งแต่เกือบยี่สิบปีที่ผ่านมาในแวดวงคอมพิวเตอร์ ผมได้พบกับผู้ที่มีอาการบาดเจ็บอันเนื่องมาจากการใช้คอมพิวเตอร์หลายอย่างด้วยกัน และบางอย่าง ผมก็ประสบกับตนเองเสียด้วยซ้ำ หลังจากที่มานั่งแจงรายละเอียดว่ามีอะไรบ้าง ก็ได้รายการเด่นๆ ดังต่อไปนี้

-ต้อเนื้อ

- ตาแดง แสบตา และอาการทางสายตาอื่นๆเช่นสายตาสั้นขึ้นเร็วอย่างผิดปกติ

- การปวดหลัง และต้นขา

-อาการปวดคอ ไหล่ และข้อศอก

-อาการปวดกระดูกข้อและนิ้ว อาการนิ้วยึด



ต้อเนื้อ... กล้ามเนื้อสายตาทำงานหนักเกินไป



เมื่อราวสิบปีมาแล้ว ตอนที่ผมเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยใหม่ๆ ช่วงนั้นจอคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มีค่าความเร็วในการรีเฟรชอยู่ที่ 60Hz และเป็นแบบ interlaced ซึ่งความถี่ขนาดนี้เท่ากับที่ใช้ในทีวีประเทศสหรัฐ (ของไทยเราอยู่ที่ 50Hz) ใครที่นั่งดูทีวีหลายๆ ชั่วโมงต่อวัน จะรู้สึกว่ามีอาการล้าดวงตาเป็นอย่างมาก

ผมได้พบกับเจ้าหน้าที่ของบริษัทผู้หนึ่ง ผู้ซึ่งมีอาชีพเป็นธุรการ นั่งพิมพ์อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์วันละไม่ต่ำกว่าแปดชั่วโมงติดต่อกัน หลังจากที่เธอผู้นั้นทำงานไปได้ราวเจ็ดแปดปี เธอต้องเข้ารับการผ่าตัดต้อเนื้อที่ลุกลามขึ้นมาจนเกือบปิดตาดำ อันเป็นผลจากการที่สายตาต้องเพ่งขนาดหนัก เป็นเวลานานๆ

ในปัจจุบัน จอภาพที่เราใช้กันอยู่มีอัตราความเร็วการรีเฟรชสูงขึ้นตั้งแต่ 72Hz ไปจนถึงราวๆ 90Hz และเป็นแบบ non-interlaced(หรือแสดงภาพเต็มเฟรมต่อรอบการรีเฟรช)รวมทั้งระบบปฏิบัติการในปัจจุบันส่วนใหญ่จะสามารถตรวจจับขีดความสามารถในการรีเฟรชและพยายามปรับระบบให้ทำงานที่ค่าสูงสุดเท่าที่จะทำได้ ทำให้อาการต้อเนื้ออันเกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานนั้นแทบจะไม่พบอีกเลย



อาการเกี่ยวกับตาอื่นๆ



แม้ว่าเราๆ ท่านๆที่ใช้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน คงไม่ต้องพะวงกับการเป็นต้อเนื้อแล้ว แต่ยังไม่อาจจะสบายใจกับอาการทางตาอื่นๆได้ครับ

คนส่วนใหญ่ที่ใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นชั่วโมง โดยเฉพาะเด็กๆ ที่เล่นเกมนานๆ จะมีอาการตาแดง เคืองตา ซึ่งเกิดจากการที่ดวงตาไม่ได้กระพริบบ่อยๆ เพราะต้องเพ่งสายตาที่หน้าจอ ทำให้ผิวดวงตาแห้ง เด็กบางคนชอบเล่นเกมในห้องมืดๆ เพราะรู้สึกว่าได้อารมณ์กว่าการเล่นเกมในห้องที่สว่าง บางคนที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องนานหลายชั่วโมง อาจจะมีอาการตาพร่าและสายตาสั้นขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะวัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่มีอาการสายตาสั้นอยู่แล้ว






ดังนั้น หลายท่านจึงแนะนำให้เล่นเกมคอมพิวเตอร์ในแต่ละช่วงไม่เกินหนึ่งชั่วโมง เช่น ใช้งานประมาณ 45 นาที และพักสายตาอีก 10-15 นาที เป็นต้น เพื่อให้สายตาได้มีการพักผ่อนบ้าง ส่วนความสว่างของห้องก็มีผลมาก ควรจัดแสงสว่างภายในห้องให้มีความสว่างที่พอเหมาะ โดยเฉพาะบริเวณด้านหลังของจอภาพ และควรลดความสว่างของจอลงให้ใกล้เคียงกับสภาพรอบข้าง การปรับให้จอมีความสว่างมากในขณะที่สภาพรอบห้องมืดนั้น จะทำให้ดวงตาต้องทำงานหนัก

สำหรับคนที่มีอาการสายตาสั้นขึ้น ผมแนะนำให้พักการใช้คอมพิวเตอร์ลงเสีย หรือใช้งานให้น้อยที่สุด และมีช่วงพักผ่อนมากขึ้น ในช่วงที่พักควรมองออกไปยังทิวทัศน์นอกห้องที่ไกลๆ หรือเปลี่ยนอิริยาบถ ลุกไปทำกิจกรรมอื่นๆ ครับ



อาการปวดหลัง และต้นขา



อาการนี้เกิดจากเก้าอี้ที่นั่งอยู่นั้นไม่มั่นคง หรือไม่ได้ระดับ งอเข่าต่อเนื่องนานๆ และพนักพิงไม่เหมาะสม

ท่านสามารถลดอาการเหล่านี้ได้โดยการเลือกเก้าอี้ที่มีพนักพิงที่สามารถปรับระดับให้รองรับกับแผ่นหลังได้ดี ไม่นั่งคุดคู้ และควรมีที่ด้านล่างเก้าอี้ให้สามารถยืดขาได้เพื่อลดการงอเข่าต่อเนื่องกันเป็นเวลานานๆ

การลดอาการปวดหลังและต้นขาที่ดีที่สุดก็คือ พักทุกๆ ชั่วโมงโดยลุกยืนเปลี่ยนอิริยาบถ และออกกำลังกายเป็นประจำครับ



อาการปวดคอ ไหล่ และข้อศอก...ตำแหน่งการวางคอมพิวเตอร์ไม่เหมาะสม



เคยรู้สึกใช้คอมแล้วปวดคอบ้างไหมครับ... ผมเชื่อว่าหลายคนคงกำลังมีอาการปวดคออยู่ตอนนี้เสียด้วย บางคนอาจจะบอกว่า ตอนตกหมอนมาเมื่อคืน แต่ไม่ว่าคุณจะเปลี่ยนหมอนไปกี่ใบ อาการก็ยังไม่หายไป แถมรุมเร้ามาด้วยการปวดไหล่ ปวดข้อศอก

อาการดังกล่าวสำหรับคนที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ เช่นเล่นเกมติดต่อกันหลายๆ ชั่วโมง หรือนั่งท่องเน็ตหลายๆ ชั่วโมง เกิดจากการจัดวางจอภาพและความสูงของโต๊ะที่ไม่เหมาะสม

การวางจอคอมพิวเตอร์ที่ดี ควรจะวางให้ต่ำกว่าระดับสายตา และหันจอขึ้นตอบรับกับแนวสายตา ส่วนความสูงของโต๊ะนั้น เมื่อคุณนั่งเก้าอี้แล้ว ข้อศอกควรจะมีระดับความสูงพอๆกับความสูงของแป้นพิมพ์และเมาส์ โต๊ะส่วนมากจะมีระดับความสูงมากกว่านี้ ทำให้คุณต้องเกร็งข้อศอก และยกหัวไหล่ตลอดเวลา ทำให้เกิดการปวดเมื่อยบริเวณหัวไหล่ กล้ามเนื้อคอ และข้อศอก

การแก้ไขอาการปวดคอ ไหล่และข้อศอกจึงต้องอาศัยโต๊ะคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบให้มีรางเลื่อนแป้นพิมพ์และเมาส์ที่มีระดับสูงพอเหมาะและการใช้เก้าอี้ที่สามารถปรับระดับให้มีความสูงรับกับระดับรางเลื่อนของแป้นพิมพ์และเมาส์ และระดับความสูงของขอบบนจอภาพควรจะต่ำกว่าระดับสายตาโดยหันจอให้เงยขึ้น ให้ใกล้เคียง กับระดับที่คุณใช้อ่านหนังสือ หากบางท่านอาจจะนึกไม่ออกว่าควรจะวางอย่างไร ผมขอแนะว่าให้คุณลองนั่งลงที่เก้าอี้หน้าคอมพิวเตอร์ และเล็งแนวสายตาให้มีมุมก้มประมาณ 20-30องศาจากแนวระนาบ แนวดังกล่าวถือว่าเป็นแนวที่เหมาะสมของกึ่งกลางหน้าจอภาพของคุณจากนั้นหันหน้าจอให้มีมุมเงยรับกับระนาบการมอง




อาการปวดกระดูกข้อ นิ้ว และอาการนิ้วยึด



อาการนี้เป็นอาการที่พบได้กับผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องพิมพ์บนแป้นพิมพ์หลายๆชั่วโมงต่อวัน ซึ่งรวมทั้งผมด้วยเช่นกัน อาการนี้เกิดจากการที่ข้อมือต้องอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมและเกร็งอยู่ในสภาพนั้นเป็นเวลานาน รวมทั้งการที่นิ้วต้องมีการขยับไปมาตลอดเวลา ทำให้เกิดการเสื่อมของหมอนรองกระดูกข้อเร็วกว่ากำหนด จนในรายที่มีอาการมาก อาจจะเกิดอาการที่ไม่สามารถจะกำนิ้วหรือยืดนิ้วได้อย่างเต็มที่หรือหากจะพยายามทำก็จะเกิดอาการเจ็บปวดมาก อาการบาดเจ็บที่เกิดจากการขยับข้อไปมาบ่อยๆนี้เรียกว่าRepetitive Strain Injury (RSI) และอาการปวดโพรงกระดูกข้อที่เกิดจากการขยับข้อไปมาบ่อยๆมีชื่อเรียกว่า Carpal Tunnel Syndrome (CTS)

คราวนี้ผู้อ่านหลายท่านคงถามผมแน่ว่า ...ขนาดผมเองยังมีอาการนี้ แล้วจะมาแนะนำท่านๆ อย่างไรกันดีล่ะ...

ผมคงต้องบอกว่า กรณีของผมนั้นเป็นอาชีพที่ต้องพิมพ์ข้อความและโปรแกรมเป็นจำนวนมากกว่าคนทั่วไปหลายๆเท่า ด้วยอาชีพจึงไม่อาจจะหลีกเลี่ยงอาการนี้ได้ แต่ผมมีวิธีลดอาการครับ



เปลี่ยนท่าการพิมพ์เพื่อลดอาการ

เริ่มจากการเปลี่ยนแป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ดที่คุณใช้ก่อนครับ แป้นพิมพ์บางแห้นมีระยะการกดแป้นพิมพ์ที่ลึกเกินไป ควรจะหาแป้นที่มีระยะพิมพ์สั้นลงแต่มีการตอบรับการกด และแป้นพิมพ์ที่ดีจะต้องไม่มีระยะห่างของคีย์ที่เล็กเกินอย่างในโน้ตบุคขนาดเล็กที่ระยะแป้นพิมพ์จะชิดมากจนพิมพ์ลำบาก ถ้าเป็นไปได้ หาแป้นพิมพ์ที่มีการโค้งหรือแยกตรงกลาง ซึ่งจะรับกับการพิมพ์สัมผัสได้ดีกว่า หรือหากหาไม่ได้ คุณควรจะต้องปรับการวางนิ้วในการพิมพ์สัมผัสใหม่ โดยจัดข้อมือไม่ให้บิดงอ ซึ่งการวางดังกล่าวจะทำให้การวางนิ้วบนแป้นอาจจะไม่สะดวกในระยะแรก แต่เมื่อปรับใช้งานไปได้ระยะหนึ่งจะเกิดความเคยชิน และอาการปวดข้อจะลดลงไปครับ





อาการปวดข้อมือขวาและไหล่ขวาจากการใช้เมาส์

บางคนอาจจะไม่ได้มีอาการปวดข้อมือทั้งสอง แต่ปวดเพียงข้อมือทางด้านขวาและลามไปยังไหล่ขวาและข้อศอกด้านขวา โดยเฉพาะผู้ที่ใช้เมาส์ในการทำงานเป็นหลัก ผสมผสานกับการพิมพ์

ผมได้อ่านในเว็ปบอร์ดหลายแห่งในต่างประเทศ มีผู้แนะนำวิธีแก้ซึ่งน่าสนใจมาก และหลายคนได้ใช้และบรรเทาอาการหรือได้แก้ไขอาการปวดข้อมือด้านขวา วิธีการก็คือ ให้เปลี่ยนการใช้เมาส์มาเป็นมือซ้าย สาเหตุที่มีการปวดข้อด้านขวามาก มาจากสาเหตุสองประการ ประการแรก การออกแบบแป้นพิมพ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันไม่ว่าภาษาไทยหรืออังกฤษนั้น จะมีการใช้คีย์ทางด้านขวามากกว่าคีย์ทางด้านซ้าย รวมทั้งพื้นที่ระหว่างตำแหน่งพักบนแป้นของมือขวากับตำแหน่งเมาส์ จะมีปุ่มลูกศรและตัวเลขขวางอยู่ ทำให้หัวไหล่ ข้อศอก และข้อมือขวาต้องทำงานหนักในการขยับแขนและข้อมือไปมา การเกลี่ยการใช้งานให้แขนซ้ายรับภาระมากขึ้นโดยการ ใช้เมาส์มือซ้าย จะช่วยลดอาการที่เกิดกับไหล่ขวา ข้อศอกขวา และข้อมือขวาลงได้มาก การวางแป้นเมาส์มือซ้าย ยังทำให้สามารถวางได้ชิดกับตำแหน่งพักของมือซ้าย อาการปวดไหล่ซ้ายจึงไม่เกิดขึ้นดังที่เกิดกับไหล่ขวา




มาออกกำลังกายกันเถอะ...



สำหรับคนอย่างผม และอีกหลายๆท่านที่ชีวิตนี้ต้องฝากไว้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ คงจะต้องค้นหาวิธีที่จะสามารถอยู่กับคอมพิวเตอร์ได้โดยไม่ "เจ็บปวด" จนเกินไป วิธีที่ได้รับการแนะนำกันอย่างกว้างขวางก็คือ การออกกำลังกายในระหว่างการทำงานหรือระหว่างช่วงพักการทำงาน ทั้งนี้เพื่อให้กล้ามเนื้อที่เกร็งอยู่ตลอดได้มีโอกาสผ่อนคลายเสียบ้าง รวมทั้งเป็นการลดอาการปวดข้อ นอกเหนือจากการที่เราสามารถกระทำได้โดยการเปลี่ยนการจัดวางคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม

ผมจึงขอแนะนำท่านั่งออกกำลังกายซึ่งมีท่านหนึ่งได้กรุณาตั้งชื่อให้ว่า ท่า"นั่งบิดขี้เกียจระหว่างทำงาน" ดังต่อไปนี้ครับ...



ท่าที่1 ขยับเข่าและข้อเท้า

ยืดเข่าซ้ายออกให้สุด จากนั้นควงข้อเท้าไปมาสองสามรอบ หดกลับเข้ามาและทำซ้ำอีกครั้งกับเข่าและข้อเท้าขวา



ท่าที่2 หลังและหัวไหล่

ประสานนิ้วมือเข้าด้วยกันจากนั้นบิดข้อมือให้ฝ่ามือหันออกจากตัว และยืดข้อศอกออก แล้วยกแขนขึ้นสูงและเลยไปด้านหลังให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (ระหว่างทำท่านี้อยู่ ขายึดพื้นดีๆ นะครับ ระวังเก้าอี้ล้ม เดี๋ยวจะต้องเข้าโรงพยาบาลด้วยอาการศีรษะกระแทกแทน)โดยให้กล้ามเนื้อไหล่และหลังยืดมากที่สุด สามารถทำท่านี้ซ้ำๆ ระหว่างนั่งคิดหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อลดอาการนิ้วยึด ปวดไหล่ และปวดหลังได้ดีครับ



ท่าที่ 3 หัวไหล่

ใช้นิ้วมือทั้งห้าแตะหัวไหล่ทั้งสองข้าง จากนั้นควงหัวไหล่ไปรอบๆ สองสามรอบ







ท่าที่ 4 กำนิ้ว

กำนิ้วโดยสลับระหว่างการให้นิ้วโป้งอยู่ด้านนอกนิ้วทั้งสี่ และอยู่ภายในนิ้วทั้งสี่ ออกแรงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (ซึ่งอาจจะได้ยินเสียงกระดูกลั่นกร๊อบเบาๆ) จากนั้นกางนิ้วทั้งห้าออกให้ได้มากที่สุด แล้วกระทำท่านี้ซ้ำอีกครั้ง บางคนอาจจะหาบอลยางมาช่วยในการกำด้วยก็ได้ครับ



ท่าที่ 5 ข้อมือ

วางแขนพาดบนโต๊ะ ให้ข้อมืออยู่ที่ขอบโต๊ะพอดี จากนั้นกดฝ่ามือลงสลับกับยกฝ่ามือขึ้น ทำซ้ำๆ สองสามครั้ง จากนั้นที่ตำแหน่งเดิมนี้แหละครับ ควงข้อมือไปรอบๆ สักสองสามครั้ง สลับทำทั้งข้อมือซ้ายและข้อมือขวา



หวังว่า สิ่งที่ผมแบ่งปันให้ทุกท่านในวันนี้ คงจะช่วยหลายๆ คนที่กำลังมีอาการ "เจ็บปวด"อันเนื่องมาจากคอมพิวเตอร์ได้ ไม่มากก็น้อยนะครับ ผมถือว่ามีอะไรดีก็มาฝากกันครับเพราะผมเองก็เป็นผู้หนึ่งที่มีชีวิตหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ และต้องประสบกับสภาวะเช่นเดียวกันนี้

...พบกันครั้งหน้า ผมหวังว่าทุกท่านคงจะสุขสบายคลาย "เจ็บปวด""จากคอมพิวเตอร์อย่างถ้วนหน้ากันครับ...




 

Create Date : 23 กันยายน 2551    
Last Update : 23 กันยายน 2551 20:22:31 น.
Counter : 1874 Pageviews.  

ทานอาหารนอกบ้านอันตราย!!

ที่มา:นสพ.ผู้จัดการ
แฉ!! “ร้านก๋วยเตี๋ยว” ไม่ผ่านเกณฑ์ เส้น-ผัก-เครื่องปรุง พบสารปนเปื้อนอันตราย
วันนี้ (11 ส.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นายวิชาญ มีนชัยนันท์รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าปัจจุบันมีร้านอาหารและแผงลอยทั่วประเทศจำนวน 166,760 แห่งเป็นร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายก๋วยเตี๋ยวจำนวน 75,000 แห่งมีตั้งแต่ระดับรถเข็นข้างถนนไปจนถึงระดับห้างสรรพสินค้า และแฟรนไชส์ทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ซึ่งบางร้านถูกลักษณะได้มาตรฐานแต่บางแห่งก็ยังไม่ได้มาตรฐาน โดยมักพบสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายในเส้นก๋วยเตี๋ยว โดยเฉพาะพบสารกันเสียประมาณร้อยละ 22ส่วนผักที่ใส่เป็นส่วนผสมมีสารเคมีปนเปื้อนร้อยละ 4-11ขณะที่เครื่องปรุงพบว่ามี การปนเปื้อนใช้น้ำส้มสายชูไม่ได้มาตรฐานร้อยละ26 และตรวจพบ อะฟลาทอกซินในพริกป่น และถั่วลิสง ร้อยละ 19

“การ ตรวจมาตรฐานจะประสานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดูแลอย่างใกล้ชิดโดยจะให้ เริ่มสุ่มตรวจในเขต กทม.ก่อนที่จะขยายวงไปปริมณฑล และจังหวัดต่างๆโดยอาศัยกำลังจากอาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในแต่ละพื้นที่ส่วนที่เป็นโรงงาน จะต้องมีการพัฒนาเพื่อให้ได้มาตรฐานจีเอ็มพีเบื้องต้นจะขอความร่วมมือก่อน ที่จะใช้มาตรการทางกฎหมายที่มีอยู่หากพบว่ายังไม่ได้มาตรฐานคงต้องมีการสั่ง ให้หยุดการผลิตต่อไป”นายวิชาญ กล่าว

นายวิชาญ กล่าวต่อว่า นอกจากอาหารที่นำมาใช้เป็นส่วนประกอบยังมีเรื่องของภาชนะและอุปกรณ์ เช่น หม้อก๋วยเตี๋ยวต้องได้มาตรฐานมีคุณภาพ ชาม และตะเกียบทำด้วยวัสดุที่ไม่ก่อพิษไม่ตกแต่งสี เช่นชามที่ทำจากเมลามีนจะมีอายุการใช้งานประมาณ 3-5 ปีหากสารเคลือบหลุดลอกก็จะทำให้พลาสติกไม่สามารถทนความร้อนได้และทำให้มีสาร ปนเปื้อนได้ ด้านสุขาภิบาลต้องถูกลักษณะสถานที่ปรุงจำหน่ายอาหารต้องมีความสะอาด สูงกว่าพื้น 60 เซ็นติเมตรอาหารปรุงสุกมีการปกปิด หรือมีการป้องกันสัตว์แมลงนำโรคกำจัดเศษอาหารทุกวัน ส่วนผู้ประกอบอาหารต้องแต่งกายสะอาด ตัดเล็บสั้นไม่ทาเล็บ ผูกผ้ากันเปื้อน และผ่านการอบรมด้านสุขาภิบาล

“สธ. กำลังจะดำเนินโครงการก๋วยเตี๋ยวอนามัยส่งเสริมคนไทยสุขภาพดีในช่วงปลายเดือน สิงหาคมนี้โดยจะมีการลงนามบันทึกข้อตกลงระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและผู้ประ กอบการแฟรนไชส์โดยเบื้องต้นกรมอนามัยดำเนินการอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบ การร้านก๋วยเตี๋ยวที่เข้าร่วมโครงการ จากนั้น กรมอนามัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จะทำการประเมินผลร่วมกันโดยใช้เกณฑ์มาตรฐานของสถานที่จำหน่ายอาหารประเภท ก๋วยเตี๋ยวโดยร้านที่ได้มาตรฐานจะได้รับป้ายสัญลักษณ์ก๋วยเตี๋ยวอนามัยเพื่อ สร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคด้วย” นายวิชาญ กล่าว
=====================================================

ที่มาของข้อมูล : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ประจำวันที่ 25 สิงหาคม 2551
พบสารปรอทในปลาหิมะจากอุรุกวัย เกินมาตรฐานถึง 1 เท่า พร้อมขึ้นบัญชีดำเป็นอาหารกักกัน เตือนปลาลอตเดียวกันกระจายสู่ตลาดแล้ว หวั่นลูกค้ารับสารปรอท ชี้อันตรายถึงสมองฝ่อ แขนขาไม่มีแรงคล้ายคนพิการ จี้รัฐควบคุมอาหารทะเลนำเข้า

แม้ว่าสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จะมีการกล่าวเตือนสารพิษที่ผสมในอาหารชนิดต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา อย.ได้สั่งเปรียบเทียบปรับบริษัทนำเข้าปลาหิมะ อาหารทะเลนำเข้าราคาแพง หลังตรวจพบสารปรอทในปริมาณสูงเกินกว่ามาตรฐาน 1 เท่า และขึ้นบัญชีดำเป็นอาหารกักกัน แต่ปลาหิมะที่เหลือในตู้คอนเทนเนอร์เดียวกันไม่ทราบว่า ได้กระจายไปยังร้านอาหารหรือผู้บริโภคอย่างไรบ้าง

นายเสน่ห์ ดิษฐอ่วม เจ้าหน้าที่ด่านอาหารและยาการรถไฟลาดกระบัง ให้ข้อมูลว่า เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ได้สุ่มตรวจอาหารทะเลแช่แข็งนำเข้าของบริษัทนำเข้า-ส่งออกแห่ง หนึ่ง ซึ่งนำเข้าปลาหิมะจากประเทศอุรุกวัย และที่ผ่านมายังไม่เคยมีรายงานการตรวจปลาหิมะนำเข้าจากประเทศนี้มาก่อน โดยสุ่มหยิบปลาหิมะแช่แข็ง 1 ตัว ส่งไปให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจว่า มีสารตกค้างอันตรายหรือสารโลหะหนักหรือไม่



"ปกติการสุ่มตรวจ 1 ตัวจากทั้งหมดเป็นการทำตามขั้นตอนที่กำหนดไว้อยู่แล้ว แต่จำไม่ได้ว่าในตู้คอนเทนเนอร์นั้นมีปลาหิมะอยู่จำนวนเท่าไร เพราะแต่ละวันต้องสุ่มตรวจอาหารแช่แข็งจำนวนมาก จำได้เพียงว่าไม่เคยตรวจปลาหิมะแช่แข็งจากอุรุกวัยมาก่อน เลยส่งตัวอย่างไปให้ห้องแล็บกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจหาสารอันตรายทุกชนิด เช่น สารปรอท ตะกั่ว ฟอร์มาลิน ฯลฯ ใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ พอรู้ว่ามีสารปรอทถึง 1.06 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งถือว่าสูงมากเพราะมาตรฐานกำหนดให้ปนเปื้อนสารปรอทได้ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จึงส่งเรื่องไปที่ฝ่ายนิติกร เพื่อให้แจ้งข้อหาไปที่บริษัทนำเข้า แต่เราก็ไม่รู้ว่าปลาหิมะที่ไม่ได้สุ่มตรวจนั้นกระจายส่งไปขายที่ไหนแล้ว บ้าง" นายเสน่ห์กล่าว

เจ้าหน้าที่ด่าน อย.ลาดกระบัง อธิบายเพิ่มเติมว่า แม้จะไม่สามารถติดตามปลาหิมะที่ปนเปื้อนสารปรอทชุดที่แล้วได้ แต่ในอนาคตจะขึ้นบัญชีดำของระบบกักกัน หมายความว่าตามกฎระเบียบ อย.หากตรวจพบสารปรอทเกินมาตรฐาน 1 ครั้งในอาหารประเภทใดแล้วก็ตาม อาหารประเภทนั้นจะถูกขึ้นบัญชีดำ หากนำเข้าครั้งต่อไปต้องถูกสุ่มตรวจสอบทุกตู้จนปลอดภัยครบ 3 ครั้ง จึงจะหลุดออกจากบัญชีรายชื่อในระบบกักกัน เช่นเดียวกับปลาหิมะจากอุรุกวัย หากมีการขออนุญาตนำเข้าก็ต้องสุ่มตรวจก่อนหากปลอดภัยครบ 3 ครั้ง จึงจะออกจากระบบกักกัน แต่ช่วงนี้ยังไม่พบการนำเข้าปลาชนิดนี้จากอุรุกวัยแต่อย่างใด

ด้านเจ้าหน้าที่กลุ่มกฎหมายและยา อย.กล่าวว่า ขณะนี้ อย.ได้สั่งปรับบริษัทนำเข้าปลาหิมะจากอุรุกวัยแล้ว ถือเป็นกรณีแรกที่ตรวจพบสารปรอทจากปลาหิมะแช่แข็ง จึงสั่งปรับผู้ดำเนินกิจการ 5,000 บาท และสั่งปรับบริษัทอีก 5,000 บาท รวมเป็น 1 หมื่นบาท จึงอยากเตือนให้ผู้ที่นิยมบริโภคปลาชนิดนี้ระวังสารปรอทตกค้างด้วย เพราะเป็นสารโลหะหนักที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย นอกจากปลาหิมะแล้วยังตรวจพบสารปรอทในเห็ดหอมอีกด้วย

ขณะที่พนักงานบริษัทนำเข้า-ส่งออกเจ้าของปลาหิมะสารปรอทยอมรับว่า มีการนำเข้าปลาหิมะจากอุรุกวัยจริง ซึ่งบริษัทเองก็ไม่รู้ว่าเหตุใดถึงมีสารปรอทเจือปน เพราะที่ผ่านมาไม่เคยถูกสุ่มตรวจสอบมาก่อน พร้อมกันนี้พนักงานคนเดิมอ้างว่าปลาหิมะชุดนั้นได้ถูกทำลายทิ้งไปหมดแล้ว

นพ.ณรงค์ สายวงศ์ ผู้อำนวยการกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงอันตรายจากการกินอาหารปนเปื้อนสารปรอทว่า จะมีการสะสมในร่างกายโดยเฉพาะสารปรอทที่เป็นโลหะหนัก จะมีอันตรายต่อสมองและอวัยวะต่างๆ สำหรับปลาหิมะปนเปื้อนสารปรอทหากนำมาบริโภคเป็นปลาดิบก็จะยิ่งอันตราย เพราะร่างกายได้รับสารตะกั่วโดยตรง หากไม่แน่ใจว่าปลานำเข้าชนิดใดปลอดภัยหรือไม่ ให้กินปลาไทยแทน เพราะสารอาหารไม่ต่างกันมาก มีทั้งโปรตีนและโอเมก้า 3

เช่นเดียวกับ รศ.ดร.ทรงศักดิ์ ศรีอนุชาติ อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ปลาหิมะที่มีการปนเปื้อนสารปรอทเกินมาตรฐานถึง 1 เท่า ถือว่ามีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะกับผู้ที่กินบ่อยๆ อย่างต่อเนื่อง เพราะสารปรอทจะเข้าไปสะสมในร่างกาย และส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบปราสาท ทำให้สมองฝ่อ แขนขาอ่อนแรง คล้ายคนพิการ สารปรอทเป็นสารโลหะหนักถ้าปนเปื้อนในอาหารแล้ว ไม่ว่าจะนำอาหารไปปรุงรสหรือผ่านความร้อนก็ไม่สามารถทำให้สารปรอทหายไปได้ ยิ่งไปกว่านั้นตับและไตที่มีหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกายก็แทบจะไม่ สามารถขับสารปรอทออกจากร่างกายได้

"ถ้าตรวจพบว่าปลาหิมะนำเข้าจากต่างประเทศมีสารปรอทปนเปื้อนอยู่จริงต้อง รีบออกมาเตือนประชาชน เพราะคนที่กินอาหารที่มีสารปรอทผสม จะไม่รู้ตัวและไม่มีอาการอะไรเลย จนกระทั่งร่างกายสะสมจนถึงระดับหนึ่งสารปรอทค่อยๆ สะสมเป็นก้อนใหญ่จับตัวกับเนื้อเยื่อในระบบประสาท จนส่งผลให้กลายเป็นโรคสมองฝ่อหรือร่างกายพิการ เพราะฉะนั้นการนำเข้าอาหารทะเลแช่แข็งทุกชนิดรัฐบาลต้องเข้มงวด และระมัดระวังตรวจสอบความปลอดภัยจากสารพิษทุกประเภท" นักวิจัยด้านอาหารกล่าว

โรคมินามาตะ (MINAMATA) เป็นโรคที่เกิดจากพิษสารปรอทที่สะสมในร่างกาย ทำอันตรายต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ถ้าสะสมไว้ในปริมาณมากก็จะทำให้ตายได้ พบครั้งแรกที่เมืองมินามาตะ ประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมปล่อยน้ำเสียที่มีสารปรอทเจือปนลงในอ่าวมินามาตะ สารปรอทจึงเข้าไปสะสมอยู่ในปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นนำปลาและสัตว์ทะเลมารับประทาน จนประชาชนบริเวณอ่าวมินามาตะกว่า 2,000 คนมีอาการปวดท้อง ท้องร่วง ระบบกล้ามเนื้อถูกทำลาย ประสาทตาและหูเสื่อม โดยตรวจพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้รายแรกเมื่อปี 2499 มีผู้เสียชีวิตจากโรคมินามาตะแล้วกว่า 2,000 คน

สำหรับปลาหิมะถูกแปลมาจากภาษาจีนกวางตุ้ง เรียกว่าปลาซิดหยี โดย "ซิด" แปลว่า หิมะ ส่วน "หยี" แปลว่า ปลา ขณะที่ต่างชาติเรียกปลาชนิดนี้ว่า ซาเบิลฟิช (Sable fish) แต่ก่อนจะมีเฉพาะตามร้านอาหารญี่ปุ่นในโรงแรมห้าดาว แต่ประมาณ 10 ปีให้หลังภัตตาคารจีนเริ่มนำมานึ่งซีอิ๊วปรุงรส โดยเนื้อปลาที่สั่งเข้ามาจากต่างประเทศยังคงใสเหมือนเดิม และมีการอ้างว่าให้โปรตีนสูงแต่ไขมันต่ำ ทำให้ได้รับความนิยมมากขึ้น ปัจจุบันร้านอาหารทั่วไปเริ่มนำปลาหิมะมาดัดแปลงเป็นอาหารหลากหลายชนิดขึ้น พร้อมกับราคาที่ลดลงเหลือเพียงจานละ 300-500 บาท เช่น ปลาหิมะทรงเครื่อง ปลาหิมะน้ำแดง ปลาหิมะราดซอสเสฉวน ปลาหิมะผัดเต้าซี่ ฯลฯ

ผู้เชี่ยวชาญการทำอาหารจีนภัตตาคารซีฟู้ดชื่อดังแห่งหนึ่ง บอกว่า ปลาหิมะที่นิยมขายในร้านอาหารทั่วไปจะสั่งนำเข้ามาจากหลายประเทศ เช่น สวิตเซอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ ฯลฯ โดยราคาจะแตกต่างกัน แต่ปลาหิมะจากสวิตเซอร์แลนด์จะมีราคาแพงที่สุด ต้องสั่งนำเข้ามาขายเป็นตัว เมื่อแล่เนื้อปลาออกมาแล้วจะขายราคาจานเล็ก 2 ชิ้น 800 บาท ส่วนจานใหญ่ 3-4 ชิ้น 1,600 บาท ลูกค้าส่วนใหญ่มักนิยมสั่งปลาหิมะต้มซีอิ๊ว เพราะจะได้รสชาติมันๆ ของเนื้อปลา
=====================================================

จาก หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
เตือนระวัง "หน่อไม้ปี๊บ" ปนเปื้อนจุลินทรีย์อาจถึงตาย

สสจ.ลำปาง เตือนระวังเชื้อ "คลอสตริเดียม โบทูลินัม" ปนเปื้อนในหน่อไม้ปี๊บ ชี้ออกฤทธิ์ทำลายกล้ามเนื้อ ระบบทางเดินหายใจ ถึงเสียชีวิต แนะต้มก่อนรับประทาน

นพ.ชิโนรส ลี้สวัสดิ์ รักษาการนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดลำปาง เปิดเผยว่า ในช่วงหน้าร้อนเป็นช่วงที่เชื้อจุลินทรีย์สามารถเจริญเติบโตได้ง่ายและรวดเร็ว ทำให้เกิดโรคระบาดเกี่ยวทางเดินอาหารได้ง่าย

จึงขอให้ประชาชนระมัดระวังการรับประทานอาหารให้มากขึ้น โดยเฉพาะการรับประทานหน่อไม้อัดปี๊บ จะต้องระมัดระวังการปนเปื้อนของเชื้อคลอสตริเดียม โบทูลินัม

เพราะเชื้อดังกล่าวจะทำให้เกิดอาการหนังตาตก พูดไม่ชัด ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ จนกระทั่งเชื้อดังกล่าวไปทำลายระบบทางเดินหายใจ และเสียชีวิตในที่สุด ซึ่งในช่วงปี 2549 ที่ผ่านมา พบประชาชนป่วยด้วยโรคดังกล่าว

จึงขอให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการซื้อหน่อไม้อัดปี๊บ ที่ไม่ทราบแหล่งที่มา และก่อนที่จะนำไปบริโภค ควรต้มในน้ำเดือดประมาณ 15-20 นาที ซึ่งเชื้อดังกล่าวก็จะสามารถตายในความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงและนาน
=====================================================

สคบ.ตรวจพบน้ำดื่มตู้สแตนเลสปนเปื้อนสารตะกั่ว
12 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 11:34:00

สคบ.เผยน้ำดื่มจากเครื่องทำน้ำเย็นหลายจังหวัดปนเปื้อนสารตะกั่วเกินมาตรฐาน ส่งผลทำลายระบบประสาท เหตุจากผู้ผลิตเครื่องหวังลดต้นทุนใช้วัสดุ-กระบวนการผลิตต่ำมาตรฐาน

ปัจจุบันการบริโภคน้ำจากเครื่องทำน้ำเย็นเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะสถานที่ราชการ โรงเรียน ฯลฯ จากการสำรวจของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตรัง สงขลา ภูเก็ต และจังหวัดอุบลราชธานี พบว่าเครื่องทำน้ำเย็นมีการปนเปื้อนของสารตะกั่วเกินมาตรฐานความปลอดภัย

โดยตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 และ 125
กำหนดให้มีสารตะกั่วปนเปื้อนในน้ำดื่มไม่เกิน 0.015 มิลลิกรัมต่อปริมาณน้ำ 1 ลิตรและมาตรฐานของ US EPA กำหนดให้มีสารตะกั่วปนเปื้อนได้ไม่เกิน 0.015 มิลลิกรัมต่อปริมาณน้ำ 1 ลิตร

แต่ปริมาณที่ตรวจพบมีการปนเปื้อนของสารตะกั่วเกินมาตรฐานอยู่ที่
0.08-0.20 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ซึ่งจุดที่ทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารตะกั่วเกินมาตรฐานเกิดจากภายในเครื่อง ทำน้ำเย็นมีการบัดกรีบริเวณมุมขอบภายในของเครื่องทำน้ำเย็นด้วยตะกั่ว การเชื่อมถังน้ำดื่ม การขึ้นรูปเครื่องทำน้ำเย็นส่วนที่เก็บน้ำ การเชื่อมลูกลอยกับก้านส่วนที่สัมผัสกับน้ำดื่ม การบัดกรีท่อจ่ายน้ำดื่ม ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเครื่องทำน้ำเย็นที่ได้มาตรฐานจะต้องใช้วัสดุสแตนเลสอย่าง หนา จะต้องเชื่อมด้วยวัสดุเคลือบที่มีคุณภาพสูง (Argon at High Voltage) ในการเคลือบภายใน แต่ผู้ประกอบธุรกิจส่วนใหญ่มักใช้สารตะกั่วในเครื่องทำน้ำเย็นเพราะทำให้ต้น ทุนถูก

ซึ่งพิษร้ายของสารตะกั่วจะทำลายระบบประสาทส่วนปลาย เกิดอาการเป็นอัมพาตที่นิ้วเท้าและมือ ทำลายเซลล์สมอง ทำให้อารมณ์แปรปรวนหงุดหงิดง่าย เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ฉุนเฉียว ฯลฯ

จากปัญหาดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)
ได้รับมอบหมายจากการประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นผู้ประสานงาน ทั้งภาครัฐและผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อหามาตรการแก้ไขปัญหาสารตะกั่วปนเปื้อนในน้ำดื่มในโรงเรียนตลอดจนการ กำหนดมาตรฐานของสินค้าดังกล่าว
=====================================================

ที่มาจากหนังสือพิมพ์ *** ข่าวสด

อาหารจานเดียว" เชื้อปนเปื้อนเพียบ
นพ.ไพจิตร์ วราชิต อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เก็บตัวอย่างอาหารพร้อมบริโภค ในช่วงเดือนต.ค. 2548 ถึงก.พ. 2549 จำนวน 1,395 ตัวอย่าง พบว่า ไม่ได้เกณฑ์คุณภาพมาตรฐาน 232 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 16.6 เป็นตัวเชื้อโรคบ่งชี้ ความไม่สะอาดจำนวน 208 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 15 และเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ จำนวน 81 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 5.8 ที่มีปัญหามาก คือ อาหารจานเดียว เช่น ข้าวมันไก่ หมูแดง และอาหารประเภทยำ เช่น ลาบหมู ยำรวมมิตร สลัด
สาเหตุการปนเปื้อน มีทั้งเกิดจากวัตถุดิบ และการปนเปื้อนจากอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันระหว่างของดิบและของสุก เช่น มีด เขียง ในส่วนของน้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำแข็งหลอดตรวจวิเคราะห์ 530 ตัวอย่าง ตกเกณฑ์มาตรฐาน 66 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 12.4 พบเชื้อที่บ่งชี้ความไม่สะอาด 52 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 9.8 และเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ 26 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 4.9
สำหรับวิธีการเลือกซื้ออาหารในช่วงหน้าร้อน ให้เลือกซื้ออาหารที่ปรุงเสร็จใหม่ๆ สะอาด หรือมีการอุ่นร้อนอยู่เสมอ ส่วนอาหารอาหารสำเร็จรูปควรเลือกซื้ออาหาร ที่มีเลขทะเบียนอาหารและยา (อย.) ซึ่งจะบอกวัน เดือน ปี ที่หมดอายุของอาหาร
=====================================================

ที่มาจากหนังสือพิมพ์ มติชน

ตรวจพบ "ถ้วย-จาน-ชาม เซรามิค" พบสี "ปนเปื้อนตะกั่ว" เตือน!!เสี่ยงโรค
เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม นพ.มรกต กรเกษม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้คนไทยเสี่ยงภัยจากสารอันตรายที่ปนเปื้อนมากับอาหารบริโภคมากขึ้นโดย รู้เท่าไม่ถึงการณ์ โดยเฉพาะภาชนะใส่อาหารที่มีสีเคลือบ หรือมีลวดลายในถ้วยชามกระเบื้องเคลือบดินเผา หรือเซรามิคกต่างๆ ที่มีวางขายทั่วไปตามตลาดสด,ตลาดนัด

"ชาวบ้านมัก นิยมเลือกส่วนที่มีลวดลายสวยงาม แต่ไม่รู้ถึงอันตรายที่แอบแฝงอยู่ในสีที่ใช้เคลือบลวดลาย เนื่องจากสีเหล่านี้จะมีสารตะกั่วเป็นส่วนผสม เมื่อถูกความร้อนจะสลายตัวออกมาปนเปื้อนกับอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีสภาพเป็นกรด การปนเปื้อนสารตะกั่วไม่สามารถมองเห็นได้ เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะเกิดการสะสมในร่างกายโดยไม่รู้ตัว" นพ.มรกตกล่าว และว่า จากการศึกษาพบว่า สารตะกั่วในภาชนะจะปนเปื้อนมากับอาหารถึงร้อยละ 95 และหากเข้าสู่ร่างกายจะมีฤทธิ์ทำลายระบบประสาทและสมอง ทำให้ความจำเสื่อม ตัวสั่น ทำลายไต ทำลายเม็ดเลือดแดง หากเป็นในเด็กเล็กแม้ได้รับเพียงปริมาณน้อยก็จะมีผลให้เติบโตช้า ไอคิวต่ำ เพราะสมองถูกตะกั่วทำลาย ประสิทธิภาพการเรียนรู้จะลดลง พิษเหล่านี้จะค่อยๆ สะสมในร่างกายมากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดได้มอบหมายให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พัฒนาชุดตรวจหาสารตะกั่วที่ปนเปื้อนอยู่ในสีที่เคลือบลวดลายภาชนะเหล่านี้ เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยและเตือนภัยแก่ประชาชนได้อย่างทันท่วงที

นพ. มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้พัฒนาชุดตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหารทั้งหมด 22 ชนิด ซึ่งรวมทั้งชุดทดสอบสารตะกั่วในถ้วย ชาม จาน ที่เป็นกระเบื้องเคลือบดินเผาด้วยวิธีการตรวจง่ายมาก โดยใช้กระดาษทรายขูดบริเวณลวดลาย เพื่อขัดน้ำยาเคลือบออก จากนั้นใช้ไม้พันสำลีจุ่มน้ำยาที่มีสีเหลืองถูวนไปวนมาบนสีที่เคลือบประมาณ 1 นาที หากสำลีเปลี่ยนเป็นสีชมพูแสดงว่ามีสารตะกั่ว

" จากการตรวจสอบถ้วย จาน ชาม เซรามิคที่วางขายในท้องตลาดทั่วไป โดยเฉพาะตามตลาดนัดหรือวางแบกะดิน จ.นนทบุรี ซึ่งมีราคาถูกประมาณชิ้นละ 10-15 บาท พบว่าภาชนะเซรามิคประเภทจานแบนที่เคลือบลวดลายสีภายใน 14 ตัวอย่าง มีสารตะกั่วทุกตัวอย่าง ส่วนจานแบนสีขาวไม่มีลวดลายด้านใน ตรวจ 8 ตัวอย่าง ไม่พบสารตะกั่วทุกตัวอย่าง และจานเซรามิคที่มีสีแต่ไม่มีลวดลายด้านใน ตรวจ 7 ตัวอย่าง ไม่พบสารตะกั่วเช่นกัน ดังนั้น จึงควรเลือกภาชนะที่ไม่มีลวดลาย แต่หากเป็นถ้วยชามที่มีลวดลายด้านใน ลักษณะรอยลวดลายจะต้องเรียบเป็นเนื้อเดียวกับกระเบื้อง" นพ.มานิตกล่าว และว่า การใช้ถ้วยชามที่มีลวดลายหากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการใส่อาหารประเภทที่มี ฤทธิ์เป็นกรด เช่น แกงส้ม เพราะกรดอาจจะทำให้สีละลาย ทั้งนี้ หากสนใจชุดตรวจหาสารตะกั่วสอบถามได้ที่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โทร.0-2951-1020-1
=====================================================

เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2551
สารปนเปื้อนนมผงจีนลามสู่เครื่องดื่มไอศกรีม

กรณี สารเมลามีนปนเปื้อนในนมผงเลี้ยงทารกในจีน จนทำให้มีเด็กเสียชีวิตแล้ว 4 ศพ และป่วยหลายพันคน ลุกลามเข้าสู่เขตปกครองพิเศษฮ่องกงแล้ว โดยตรวจพบสารปนเปื้อนในไอศกรีมและโยเกิร์ตด้วย ส่วนฮูออกมาเตือนหลายประเทศให้ระวังนมผงจากจีน ขณะที่ ทางการจีนยืนยันว่า นมผงที่ผลิตในจีนมีความปลอดภัย

เมื่อวันพฤหัสบดี เขตปกครองพิเศษฮ่องกงของจีน สั่งเรียกเก็บคืนผลิตภัณฑ์ของบริษัทจีนแห่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับปัญหาความ ปลอดภัยด้านอาหารอยู่ในขณะนี้ หลังจากมีการตรวจกลุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์นม 30 ชนิด ล่าสุด พบผลิตภัณฑ์ 8 ใน 30 ชนิด ซึ่งรวมทั้งเครื่องดื่ม ไอศกรีม และโยเกิร์ต ต่างปนเปื้อนด้วยสารเมลามีน ทั้งนี้ การตรวจโดยสำนักงานความปลอดภัยด้านโภชนาการ เป็นการพิสูจน์ให้เห็นครั้งแรกจากหน่วยงานอิสระว่า ปัญหาอื้อฉาวด้านสุขภาพเรื่องการปนเปื้อนสารเมลามีนในอาหาร ขณะนี้ได้ลุกลามไปในสินค้าอื่น ๆ แล้ว

ขณะเดียวกัน องค์การอนามัยโลก (ฮู) เตือนหลายประเทศให้ระวังอันตรายจากนมผงของจีนที่ปนเปื้อนสารเมลามีน ซึ่งมีการส่งไปขายในต่างประเทศด้วย โดยสำนักงานองค์การอนามัยโลก ประจำกรุงปักกิ่ง เปิดเผยว่า ได้แจ้งไปยัง 167 ประเทศทั่วโลก ให้ระวังอันตรายจากนมผงดังกล่าว เนื่องจากมีการส่งออกไปขายในต่างประเทศ 5 ประเทศ เช่น พม่า และบังกลาเทศ องค์การอนามัยโลกระบุด้วยว่า กำลังร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับทางการจีนและเรียกร้องทั้งรัฐบาลและฝ่าย อุตสาหกรรม เปิดเผยข้อมูลอย่างตรงไปตรงมาเพื่อความโปร่งใส

อย่างไรก็ตาม จีนยืนยันว่า นมผงเลี้ยงทารกส่วนใหญ่ที่ผลิตในประเทศมีความปลอดภัย สำนักข่าวซินหัวของทางการจีน รายงานเมื่อวันพุธที่ผ่านมาอ้างคำแถลงของคณะรัฐมนตรีจีนว่า ผลการตรวจสอบของทางการจีนพบว่า ผลิตภัณฑ์นมผงส่วนน้อย หรือ 69 ใน 491 กลุ่มตัวอย่าง ของ 22 ใน 109 บริษัททั่วประเทศที่ถูกตรวจสอบว่า มีสารเมลามีนปนเปื้อนเช่นเดียวกับบริษัท ซานลู่ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ทารกกว่า 1,200 ราย ป่วยเป็นนิ่วในไต หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.18 ของผลผลิตนมผงทั้งสิ้นในประเทศ

สำหรับความคืบหน้าในการจับกุมผู้ต้องสงสัย โฆษกตำรวจในมณฑลเหอเป่ย์ กล่าวว่าจับกุมได้แล้ว 18 คน พร้อมกับยึดของกลางเป็นสารเมลามีนน้ำหนัก 222 กิโลกรัม รวม ทั้งสารเคมีต้องสงสัยชนิดอื่น ๆ อีกหลาย 10 กิโลกรัม

ด้านเว็บไซต์ของรัฐบาล ระบุว่า มีเด็กเสียชีวิตเพิ่มอีก 1 ศพ จากการบริโภคนมผง ปนเปื้อน ในเขตซินเจียง ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ทำให้มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น เป็น 4 ศพแล้ว ขณะที่มีเด็กล้มป่วยทั้งสิ้น 6,200 คน.
=====================================================

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 31 สิงหาคม 2551
กรมวิทย์เต้น สั่งสุ่มตรวจเส้นก๋วยเตี๋ยวปนเปื้อนสารพิษ

กรม วิทย์ สั่งเจ้าหน้าที่สุ่มตรวจเส้นก๋วยเตี๋ยวในกรุงเทพฯ ปริมณฑล 100 ตัวอย่าง วิเคราะห์หาสารอันตรายเพิ่มตามผลสำรวจของ สกว.คาดทราบผลสัปดาห์หน้า ด้าน อย.ชี้ข้อมูลเส้นก๋วยเตี๋ยวของ สกว.เก่า แล้ว ปัจจุบันสารปนเปื้อนลดลง ระบุ มีโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวได้จีเอ็มพีแล้ว 3 แห่ง ตั้งเป้าปี 2551 เพิ่มเป็น 13 แห่ง

จาก กรณีนักวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ออกมาเปิดเผยถึงสำรวจพบเส้นก๋วยเตี๋ยวมีสารปนเปื้อนหลายชนิดที่อันตรายต่อ สุขภาพ ทั้งสารโพลา เกิดจากน้ำมันทอดซ้ำ สารอะฟลาท็อกซิน จากน้ำมันถั่วที่ใช้เคลือบเส้นก๋วยเตี๋ยวไม่ให้ติดเครื่องจักร รวมทั้งสารกันบูด สารส้ม อะลูมิเนียม นั้น

นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย รอง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กรมวิทย์ จะประสานกับ สกว.เพื่อขอข้อมูลการวิจัยเพื่อนำมาปรับปรุงระบบการตรวจวิเคราะห์เส้น ก๋วยเตี๋ยวว่าจะมีสารใดที่เป็นอันตรายบ้าง เพื่อนำมาปรับปรุงกระบวนการตรวจวิเคราะห์ให้ครอบคลุมมากขึ้น โดยในวันนี้ (29 ส.ค.)ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ออกสุ่มตรวจเส้นก๋วยเตี๋ยวตามตลาดสด ร้านค้า ซูเปอร์มาร์เก็ตในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 100 ตัวอย่าง ซึ่งจะต้องเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวที่มาจากโรงงานผลิตคนละแห่ง ซึ่งปัจจุบันมีโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวประมาณ 300 แห่งทั่วประเทศ เพื่อตรวจวิเคราะห์ว่ามีสารปนเปื้อนใดบ้าง

“การ ตรวจวิเคราะห์ครั้งนี้ จะวิเคราะห์หาสารตามที่ผลการวิจัยของสกว.ตรวจพบ เช่น ในกระบวนการผลิตใช้สารโพลา สารอะฟลาท็อกซิน น้ำมันพืช ในปริมาณเท่าใด และน้ำมันที่ติดอยู่กับเส้นเป็นน้ำมันชนิดใด ระหว่างน้ำมันพืช น้ำมันถั่ว หรือน้ำมันเครื่องจักรที่อาจจะติดมาระหว่างกระบวนการผลิต” นพ.นิพนธ์ กล่าว

นพ. นิพนธ์ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ คาดว่า จากการสำรวจครั้งนี้จะได้ข้อมูลที่ครบถ้วนมากที่สุดเท่าที่กรมวิทย์ฯ ได้ตรวจสอบมา และคาดว่าจะทราบผลภายในสัปดาห์หน้า พร้อมทั้งจะมีการขยายผลโดยสุ่มตรวจเส้นก๋วยเตี๋ยวทั่วประเทศต่อไปด้วย ที่สำคัญ จะมีการนำผลการตรวจไปปรับปรุงกฎหมายการควบคุมการปริมาณและส่วนผสมของสารต้อง ห้ามในกระบวนการผลิตอาหารด้วย

“ที่ผ่านมา กรมวิทย์ไม่สามารถตรวจสอบกระบวนการผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวในโรงงานได้ เนื่องจากไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของกรมวิทย์ จึงทำให้ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่ามีการเติมสารปนเปื้อนอะไรลงไปในกระบวนการ ผลิตได้บ้าง ทางกรมวิทย์ใช้วิธีให้คำแนะนำและรณรงค์การใส่สารในปริมาณที่กฎหมายกำหนด โดยคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานอาหารสากล (Codex) แทน” นพ.นิพนธ์ กล่าว

รอง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมา กรมวิทย์ได้สุ่มตรวจเฉพาะเส้นก๋วยเตี๋ยวที่วางจำหน่วยตามร้านค้าทั่วประเทศ เพื่อตรวจหาสารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิก ว่ามีค่าเกินมาตรฐานหรือไม่ เนื่องจากผู้ผลิตมักใส่สารชนิดนี้จำนวนมากเพื่อยืดอายุเส้นก๋วยเตี๋ยวให้นาน ขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้ประกอบการใส่สารกันบูดเกินกว่าค่ามาตรฐาน คือ ไม่ 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งผู้บริโภครับประทานก๋วยเตี๋ยว 1 ชาม จะไม่ได้รับอันตรายทันที แต่จะต้องรับประทานเส้นก๋วยเตี๋ยวในครั้งเดียวมากถึง 10 กิโลกรัมเท่านั้น จึงจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ขณะเดียวกัน หากได้รับสารดังกล่าวในปริมาณเล็กน้อยแต่ติดต่อกันเป็นเวลานานก็เป็นอันตราย ต่อสุขภาพได้เช่นกัน

ด้าน ภก.มานิตย์ อรุณากูร รอง เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า จากการสำรวจร้านก๋วยเตี๋ยวครั้งล่าสุด ช่วงกลางปี 2551 พบว่า มีร้านก๋วยเตี๋ยวกว่า 75,000 แห่งทั่วประเทศ ส่วนใหญ่ใช้วัตถุดิบและเครื่องปรุงที่เสี่ยงปนเปื้อนสารอันตราย อย่างเช่น มีการใช้สารกันเสียชนิดเบนโซอิกเกินมาตรฐาน ร้อยละ 22 ผักต่างๆ ที่ใช้เป็นส่วนผสม อาทิ ถั่วงอก คะน้า และต้นหอม พบมีสารกำจัดศัตรูพืชปนเปื้อนร้อยละ 4-11 มีการใช้น้ำส้มสายชูไม่ได้มาตรฐาน ร้อยละ 26 และพบสารพิษอะฟลาท็อกซินที่เกิดจากเชื้อราในพริกป่น ถั่วปน ร้อยละ 18 ซึ่งทั้งหมดต่างเพิ่มอัตราเสี่ยงให้เกิดโรคมะเร็งมากขึ้น

“ส่วน ข้อมูลการวิจัยของ สกว.เป็นข้อมูลเก่าเก็บตัวอย่างมาตั้งแต่ปี 2549-2550 แต่เพิ่งมาเปิดเผยข้อมูลในปี 51 ซึ่งหากมีการสุ่มตรวจขณะนี้จะรู้ว่ามีเส้นก๋วยเตี๋ยวที่มีสารปนเปื้อนเกิน มาตรฐานกำหนดลดลงจากผลการสำรวจของ สกว.อย่างแน่นอน” ภก.มานิตย์ กล่าว

ภก. มานิตย์ กล่าวด้วยว่า ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา ทาง อย.ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวอย่างมาก โดยได้จัดโครงการอบรม “การผลิตก๋วยเตี๋ยวให้ปลอดภัยและได้มาตรฐาน” ทั่วประเทศ พร้อมจัดหลักสูตรอบรมโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวขนาดใหญ่ที่ส่งจำหน่ายทั่วประ ทศ มีทั้งสิ้น 13 แห่ง โดยมีหนักวิชาการ นักโภชนาการ ให้ความรู้เรื่องสุขอนามัย เทคนิค และวิธีการผลิตที่ปลอดภัย การคัดเลือกวัตถุดิบที่สะอาด ปลอดภัย และถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อพัฒนาเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่มีมาตรฐานการผลิตที่ดี (จีเอ็มพี) ซึ่งขณะนี้ทำสำเร็จแล้ว 3 แห่ง และตั้งเป้าให้ครบทั้ง 13 แห่ง ภายในปี 2552 ซึ่งเป็นปีที่อย. จะออกกฎหมายกำหนดให้โรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวขนาดใหญ่ที่ส่งสินค้าจำหน่าย ทั่วประเทศจะต้องผ่านจีเอ็มพี จึงจะสามารถจำหน่ายได้ถูกต้อง

ทั้ง นี้ มีข้อมูลจาก อย.แจ้งว่า สารเบนโซอิกสามารถรับประทานได้ไม่เกิน 25 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หากน้ำหนักตัว 60 กิโลกรัมก็สามารถทานได้ไม่เกิน 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครทานก๋วยเตี๋ยวได้เกิน1 กิโลกรัมต่อวัน ปกติทานก๋วยเตี๋ยว 1 มื้อ ใช้ก๋วยเตี๋ยวไม่เกิน100 มิลลิกรัม มีสารกันบูดดังกล่าวประมาณ 100 มิลลิกรัม หากทานก๋วยเตี๋ยว 3 มื้อ ก็มีเพียง 300 มิลลิกรัม ก็ไม่เกินในปริมาณที่กำหนด และไม่เป็นอันตราย แต่ทั้งนี้ก็ไม่มีหลักเกณฑ์กำหนดว่า หากมีในปริมาณที่เกินกว่าที่กำหนดเท่าใด กี่เท่าจึงไม่ปลอดภัย แต่หากเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวที่มีปริมาณสารกันบูดเกินการทาน 3 ชามต่อวัน ก็อยู่ในปริมาณที่ไม่เกินกว่ากำหนด
=====================================================

เขียนโดย ผู้จัดการออนไลน์ Monday, 14 January 2008
อย. พบน้ำแข็งหลอดปนเปื้อนเชื้อโรค ทั้ง อี.โคไล และจุลินทรีย์ซาลโมเนลลา ตัวการอาหารเป็นพิษ ทำให้จู๊ดๆ ระบุเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ถือเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐาน และเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ แถมพบสถานที่ผลิตยังไม่ผ่านเกณฑ์จีเอ็มพี ที่สำคัญ ยังไม่ได้รับอนุญาตผลิตจาก อย.สั่งระงับการผลิตทันทีจนกว่าจะปรับปรุงแก้ไขให้ได้มาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากการที่มีผู้บริโภคร้องเรียนมายัง อย.ให้ตรวจสอบน้ำแข็งหลอดไม่มีเครื่องหมาย อย.ดังนั้น เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2550 เจ้าหน้าที่ อย.พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตดอนเมือง กทม.จึงได้เข้าตรวจสอบสถานที่ผลิตน้ำแข็ง ชื่อร้านเฮ็งง่วนเส็ง เลขที่ 249-250 หมู่ที่ 8 ซอยข้างโรงภาพยนตร์กรุงสยาม ถ.พหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ โดยสถานที่ดังกล่าวเป็นอาคารพาณิชย์ 2 ชั้น 2 คูหา จำหน่ายอาหารสินค้าอุปโภคบริโภค และจัดแบ่งพื้นที่ชั้นล่างเป็นสถานที่ผลิต แบ่งบรรจุน้ำแข็งหลอด เพื่อจำหน่าย ส่วนชั้น 2 เป็นที่พักอาศัย ลักษณะไม่เข้าข่ายเป็นโรงงานโดยยังไม่ได้รับเลขประจำสถานที่ผลิตที่ไม่เข้า ข่ายโรงงาน และยังไม่ได้จดทะเบียนแจ้งรายละเอียดอาหารจาก อย.ทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบสุขลักษณะของสถานที่ผลิตตามหลักเกณฑ์กรรมวิธีที่ดีในการผลิต หรือจีเอ็มพี พบว่า ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานจีเอ็มพี โดยขณะตรวจ พบน้ำแข็งหลอดเก็บในตู้ทำน้ำแข็งยูนิคเก่า และในห้องเย็น อีกทั้งพบผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ฉลากระบุ “แม็กซ์ยูนิค น้ำแข็งยูนิค ใช้รับประทานได้.....” จึงเก็บตัวอย่างน้ำแข็งหลอดแม็กซ์ ยูนิค ส่งให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อตรวจวิเคราะห์ จากผลการตรวจวิเคราะห์ ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปรากฏว่า พบบักเตรีชนิด อี.โคไล และเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ได้แก่ ซาลโมเนลลา ซึ่งตามเกณฑ์มาตรฐานกฎหมายต้องไม่พบเชื้อทั้ง 2 ประเภทนี้ จึงถือเป็นอาหารผิดมาตรฐานและเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค

รองเลขาธิการ กล่าวต่อว่า อี.โคไล เป็นเชื้อแบคทีเรีย ที่พบได้ทั่วไปในทางเดินอาหารของสัตว์เลือดอุ่น และคนซึ่งมีหลายสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคและเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วย การปนเปื้อนมักพบทั่วไปในอาหารดิบ หรือปนเปื้อนไปกับอาหารที่ปรุงแล้วด้วยการใช้มือสัมผัส หรือติดไปกับภาชนะบรรจุ หรืออุปกรณ์ หรือน้ำที่ไม่สะอาด เมื่อรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อตัวนี้เข้าไป จะมีอาการท้องเสีย อุจจาระเหลว การพบเชื้อในอาหารนี้แสดงว่าอาหารมีการปนเปื้อนอุจจาระและมีการผลิต ปรุง หรือเก็บรักษาอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ สำหรับซาลโมเนลล่า เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษหากเข้าสู่ร่างกาย 6-36 ชั่วโมง จะทำให้เป็นไข้ ปวดศีรษะ ท้องเดิน อาเจียน ถ้าเป็นเด็กอ่อนหรือผู้สูงอายุ อาจมีอันตรายถึงเสียชีวิตได้

“สำหรับการดำเนินมาตรการตามกฎหมายนั้น กรณียังไม่ได้รับเลขประจำสถานที่ผลิตที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน (สบ 1) และยังไม่ได้จดทะเบียนแจ้งรายละเอียดอาหาร (สบ 5) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท กรณีสุขลักษณะของสถานที่ผลิตไม่ผ่านเกณฑ์จีเอ็มพี ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และให้งดการผลิตเพื่อจำหน่ายอาหารดังกล่าวตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะได้รับเลขสารบบอาหาร จาก อย.พร้อมทั้งแสดงฉลากให้ถูกต้อง กรณีพบ “ อี.โคไล” และจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค “ซาลโมเนลลา” ถือเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐานนั้น ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท และเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ ซึ่ง อย.จะได้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป” นพ.นิพนธ์ กล่าว
=====================================================

การปนเปื้อนของเชื้อซัลโมเนลลาในเนื้อหมูและเนื้อไก่ที่จำหน่ายในตลาดสด เขตเทศบาลนครขอนแก่น

สุภาพร เวทีวุฒาจารย์ และ น้อย ทองสกุลพานิชย์

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ขอนแก่น

ซัลโมเนลลาเป็นเชื้อก่อโรคอาหารเป็นพิษและโรคอุจจาระร่วงที่เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขของประเทศไทย มีรายงานการศึกษาพบเชื้อซัลโมเนลลาปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์ในปริมาณค่อนข้างมาก เพื่อให้ทราบสถานการณ์การปนเปื้อนดังกล่าวในจังหวัดขอนแก่น ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ขอนแก่น และเทศบาลนครขอนแก่น จึงได้ร่วมมือกันศึกษาสภาพปัญหาการปนเปื้อนของ เชื้อซัลโมเนลลาในเนื้อหมู และเนื้อไก่ ด้วยการสุ่มเก็บจากทุกแผงจำหน่ายในตลาดสดทั้ง 5 แห่งในเขตเทศบาลนครขอนแก่น ในช่วงเวลาเดือน กุมภาพันธ์ - ธันวาคม 2544 นำมาตรวจวิเคราะห์ด้วยวิธี Standard Conventional Method จากนั้น ส่งเชื้อซัลโมเนลลาที่แยกได้ไปจำแนกสายพันธุ์ที่ศูนย์ทดสอบเชื้อซัลโมเนลลา และชิเกลลาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จำนวนตัวอย่างทั้งหมด 175 ตัวอย่าง เป็นเนื้อหมู 91 ตัวอย่างและ เนื้อไก่ 84 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนทั้งหมด 168 ตัวอย่าง (96.0%) โดยพบการปนเปื้อนในเนื้อหมู 87 ตัวอย่าง (95.6%) และในเนื้อไก่ 81 ตัวอย่าง (96.4%) และผลการจำแนกซีโรวาร์ในเนื้อหมูพบ 16 ซีโรวาร์ ส่วนมากเป็น S. Anatum (47.1%), รองลงมาได้แก่ S. Rissen (22.3%), S. Panama (14.0%) ส่วนเนื้อไก่จำแนกได้ 27 สายพันธุ์ ซีโรวาร์ที่พบมาก ได้แก่ S. Virchow (25.6%) S. Enteritidis (17.4%) และ S. Panama (7.4%) ตามลำดับ ผลจากการศึกษานี้ จึงเป็นข้อมูลให้ผู้เกี่ยวข้องได้เกิดความตื่นตัว เช่น ผู้บริโภคจะได้ไม่รับประทานเนื้อที่ปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ และหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคและองค์กรปกครองท้องถิ่นจะได้ดำเนินการแก้ไขขั้นตอนการผลิตอาหารให้เป็นมาตรฐานต่อไป
=====================================================

โดย มติชน วัน เสาร์ ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2550 09:23 น.

พบเชื้อบาซิลลัส ซีเรียส ปนเปื้อน น้ำเฉาก๊วย-ข้าวโพด-ชานมเป็นพิษ
เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุดรธานีได้ทำการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างเครื่องดื่ม ที่บรรจุในภาชนะที่ปิดสนิทในพื้นที่ 4 จังหวัด ประกอบด้วย จ.อุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู เลย เพื่อศึกษาการปนเปื้อนของเชื้อ บาซิลลัส ซีเรียส (Bacillus cereus) ในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มที่บรรจุในภาชนะที่ปิดสนิทระหว่างเดือนตุลาคม 2548-เมษายน 2550 จำนวน 119 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนในปริมาณที่เกินเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนด โดยพบในปริมาณไม่เกิน 200 โคโลนีต่อ 1 มิลลิลิตร จำนวน 7 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 5.88 ได้แก่ น้ำเฉาก๊วย 3 ตัวอย่าง น้ำนมข้าวโพด 2 ตัวอย่าง น้ำชานม 1 ตัวอย่าง และน้ำเผือก 1 ตัวอย่าง ที่ อย.กำหนดเกณฑ์ให้พบการปนเปื้อนได้ไม่เกิน 100 โคโลนีต่อ 1 มิลลิลิตร

นพ.มานิตกล่าวว่า ที่พบการปนเปื้อนอาจมีสาเหตุจากการใช้วัตถุดิบที่ด้อยคุณภาพ การล้างวัตถุดิบที่ไม่สะอาดการให้ความร้อนไม่เพียงพอ การไม่ควบคุมความสะอาดในระหว่างกระบวนการผลิต การทำให้เย็นรวมถึงการบรรจุ และที่สำคัญ คือการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์หลังการผลิตไว้ในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้เชื้อสามารถเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นผู้ประกอบการจึงควรคำนึงถึงอุณหภูมิที่ใช้เก็บผลิตภัณฑ์ก่อนออก จำหน่ายรวมทั้งระยะเวลาในการขนส่งและสำหรับผู้จำหน่ายเครื่องดื่มแช่เย็นควร เก็บผลิตภัณฑ์ไว้ในตู้เย็นและเลือกซื้อเครื่องดื่มที่บรรจุในภาชนะที่ปิด สนิทมีเครื่องหมาย อย. ทั้งนี้ เชื้อบาซิลลัส ซีเรียส เป็นบักเตรีแกรมบวก รูปแท่ง สร้างสปอร์ทนต่อความร้อน เป็นเชื้อโรคอาหารเป็นพิษที่สำคัญ พบมากในดิน ฝุ่นละอองน้ำ และอาหารทั่วไป มักพบในอาหารธัญพืช โดยเฉพาะข้าวและแป้งข้าวโพดหากผู้บริโภคได้รับเชื้อเข้าไปจะทำให้เกิดอาการ อาเจียนอย่างรุนแรง เป็นตะคริวที่ท้อง ท้องร่วง ปวดท้อง

หน้า 5
=====================================================

กรีนพีซระบุ สารปนเปื้อนน้ำบาดาลไทยสูงเกินมาตรฐาน
กรุงเทพฯ /รายงานกรีนพีซเผยรายงานล่าสุด ระบุน้ำบาดาลรอบพื้นที่เกษตรกรรมในไทยปนเปื้อนไนเตรทปริมาณสูงเกินค่า มาตรฐาน แจงส่งผลร้ายต่อสุขภาพในระยะยาว ชี้เหตุเกิดจากใช้ปุ๋ยเคมีปริมาณมาก
26 พฤศจิกายน 2550

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆนี้ กรีนพีซเปิดเผยรายงานเรื่อง “ไนเตรทกับคุณภาพน้ำใต้ดินในประเทศไทย” โดยนายเรเยส ทิราโด นักวิทยาศาสตร์จากศูนย์วิจัยและทดลองของกรีนพีซ มหาวิทยาลัยเอ็กเซ็ทเตอร์ ประเทศอังกฤษ รายงานระบุว่า การใช้ปุ๋ยเพื่อการเกษตรในปริมาณมากมีส่วนทำให้ไนเตรทปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำ บาดาล ซึ่งเป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคของประชาชน ทั้งนี้กรีนพีซตรวจสอบตัวอย่างน้ำบาดาลที่เก็บจากประเทศฟิลิปปินส์และไทยพบ ว่า 30% ของน้ำบาดาลที่ใช้ดื่มของทั้งสองประเทศมีไนเตรทปนเปื้อนในปริมาณสูง

ส่วนบริเวณที่พบมากที่สุดคือพื้นที่เพาะปลูกหน่อไม้ฝรั่ง จ.กาญจนบุรี ซึ่งมีไนเตรทปนเปื้อนสูงกว่า 3 เท่าของมาตรฐานความปลอดภัยในน้ำดื่มองค์การอนามัยโลก (WHO) และมากกว่า 3 เท่าของมาตรฐานน้ำใต้ดินที่ใช้ดื่มของกรมควบคุมมลพิษ กล่าวคือองค์การอนามัยโลกกำหนดเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยน้ำดื่ม โดยให้มีไนเตรทปนเปื้อนสูงสุดไม่เกิน 50 มิลลิกรัม/ลิตร แต่ตัวอย่างน้ำที่เก็บจากแหล่งนำใต้ดินใกล้พื้นที่เพาะปลูกหน่อไม้ฝรั่งใน จ.กาญจนบุรี พบว่ามีค่าสูงถึง 152 มิลลิกรัม ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานถึง 3 เท่า

“เราพบไนเตรทปนเปื้อนในแหล่งน้ำบาดาลบริเวณพื้นที่เกษตรกรรมใน จ.กาญจนบุรีและสุพรรณบุรี ซึ่งกรณีนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ปุ๋ยปริมาณ มากกับการเกิดวิกฤตน้ำบาดาล ว่าการปนเปื้อนของไนเตรทในแหล่งน้ำบาดาลมักจะเกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีการใช้ ปุ๋ยในปริมาณมาก สิ่งที่น่าวิตกกังวลมากก็คือทารกและผู้ที่ดื่มน้ำจากพื้นที่ดังกล่าวอาจได้ รับผลกระทบในระยะยาวต่อสุขภาพ เช่น โรคมะเร็งหลายประเภท” นายเรเยส ทิราโด กล่าว

ทั้งนี้ รายงานยังระบุว่า อันตรายที่น่ากลัวที่สุดของการปนเปื้อนไนเตรท คือ โรค blue baby หรือ methemoglobinema ซึ่งจะเกิดกับทารกโดยเฉพาะทารกที่มีอายุต่ำกว่า 4 เดือนที่ดื่มน้ำที่ปนเปื้อนไนเตรท โรค blue baby นี้ สามารถทำให้เกิดอาการผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเนื่องจากขาดออกซิเจน ปวดหัว มึนงง อ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ หมดสติ กล้ามเนื้อเกร็ง หายใจติดขัด และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ นอกจากนี้น้ำที่ปนเปื้อนไนเตรทยังสามารถทำให้เกิดโรคมะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน และมะเร็งรังไข่ได้

นอกจากนี้ยังพบว่า แหล่งน้ำบริเวณพื้นที่เพาะปลูกหน่อไม้ฝรั่ง 6 แห่งใน 11 แห่ง ของ จ.กาญจนบุรี มีปริมาณไนเตรทสูงกว่ามาตรฐานความปลอดภัยในน้ำดื่มขององค์การอนามัยโลก ส่วนที่ จ.สุพรรณบุรีพบว่ามี 2 แห่งที่สูงเกินกว่าค่ามาตรฐานดังกล่าว

น.ส.ณัฐวิภา อิ้วสกุล ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพันธุวิศวกรรม กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าวว่า ผลการศึกษาในครั้งนี้ทำให้ทราบว่ามลพิษที่พบในแหล่งน้ำไม่ได้มาจากภาค อุตสาหกรรมเพียงอย่างเดียว แต่ยังมาจากภาคเกษตรกรรมด้วย ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลควรมีมาตรการจัดการกับปัญหามลพิษทางน้ำจากมลพิษภาค เกษตรกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งพิจารณาออกกฎหมายปกป้องน้ำบาดาล

“เราเชื่อว่าการเกษตรกรรมเพื่อผลิตอหารให้มนุษย์สามารถพัฒนาควบคู่ไปกับ การรักษาความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำได้ เพราะน้ำสะอาดและปลอดภัยเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของมนุษย์ รัฐบาลจึงควรปกป้องแหล่งน้ำอย่างจริงจังโดยออกมาตรการควบคุมปริมาณการใช้ ปุ๋ย หาวิธีจัดการเพื่อลดการสูญเสียของปุ๋ยจากหน้าดิน สนับสนุนการเกษตรกรรมแบบยั่งยืน เพื่อปกป้องให้แหล่งน้ำสะอาดและปลอดภัยจากสารพิษ” น.ส.ณัฐวิภา กล่าวเสริม

อนึ่ง ก่อนหน้านี้กรีนพีซเปิดเผยการปนเปื้อนของโลหะหนัก ได้แก่ ตะกั่ว ทองแดง และสังกะสี ในน้ำบาดาลของบ้านหนองเป็ด ซึ่งอยู่บริเวณติดกับนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จ.ลำพูน ซึ่งพบว่ามีการปนเปื้อนของตะกั่ว ทองแดงและสังกะสีที่แหล่งน้ำประปาบาดาลบริเวณบริเวณดังกล่าวในปริมาณสูงกว่า ค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ในมาตรฐานน้ำดื่มของไทย โดยพบปริมาณสารตะกั่วและทองแดงสูงกว่ามาตรฐาน 4 เท่า และสังกะสีสูงกว่ามาตรฐานถึง 8 เท่า.
=====================================================




 

Create Date : 22 กันยายน 2551    
Last Update : 22 กันยายน 2551 21:51:57 น.
Counter : 1211 Pageviews.  

หมอติดเชื่อ HIV จากคนไข้จริงหรือ?

//www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1183817578;start=0

เพื่อนๆหมอเคยคิดไหม ครับ ว่าวันหนึ่งถ้าเรากลับมามีเชื้อ HIV เราจะสามารถทำงานหนักได้อย่างเดิมไหม แล้วเราจะมีโอกาสแพร่เชื้อให้คนไข้ได้หรือไม่ แล้วสุดท้าย เราควรจะเป็นหมอต่อไปหรือไม่


26 มค. 49 เป็นวันแรกที่ผมรู้ว่าผลเลือดผิดปกติ ซึ่งจริงจริงแล้วผมไม่ได้ตั้งใจอยากจะเจาะเลือดเท่าไร แค่เจาะไปตามหน้าที่ แต่พี่เฉาฝ่ายการพยาบาลบอกว่า หมอต้องไปเจาะให้ครบครบนะ หมอโดนเข็มตำมา พี่ต้องเขียนรายงานให้ผู้อำนวยการมันทำให้ผมรู้สึกว่าถ้าผมไม่ยอมไปเจาะ เลือดคงทำให้พี่เฉาลำบาก

เช้าวันนี้ผมก็ไปเจาะเลือดเหมือน3ครั้งก่อน ผมเดินไปที่ห้องฉุกเฉิน เข้าไปหาพี่อาร์ทให้ช่วยเจาะเลือดให้ พี่อาร์ทป็นพยาบาลสาวสวยใจดีที่น่ารกมากคนนึง ผมไม่เคยรู้เลยว่าพี่อาร์ทมือเบาขนาดนี้ ผมแทบไม่รู้สึกเจ็บเลย ทุกอย่างช่างเป้นไปอย่างเรียบร้อย ผมฝากเลือดไปส่งที่ห้องแล็ป เดินออกจากห้องฉุกเฉินอย่างสบายใจเพราะผมคงไม่ต้องมาเจาะเลือดอีก ครั้งนี้แหละ ครั้งสุดท้ายที่เราจะเจ็บตัว

ผมกลับไปนั่งตรวจคนไข้ที่ แผนกผู้ป่วยนอก วันนี้เป็นวันที่คนไข้มากจริงจริง ที่นั่งรอก็เต็ม ทั้งคนไข้และญาติก็ยืนรอกันเกะกะไปหมด วันนี้ผมคงต้องรีบตรวจหน่อยแล้ว ไม่งั้นคนไข้คงจะรอแย่ซะก่อน แต่พอตรวจไปได้ประมาณ 1 ชั่วโมง คุณพรชัยโทรจากห้องแล็ปว่าอยากพบผม ถ้ามีเวลาขอให้รีบไปที่ห้องแล็ปด้วย ในตอนแรกผมคิดว่าเลือดคงไม่พอ ขอตรวจใหม่ซึ่งคุณพรชัยบอกว่าขอเจาะเลือดใหม่จริงจริง แต่เหตุผลกลับไม่ใช่ คุณพรชัยบอกว่าผลมันเป็น weakly positive อยากจะขอตรวจใหม่ด้วยวิธี ELISA โดยใช้น้ำยาตัวใหม่ หลังจากได้ยินคำขอ ผมก็รีบเดินไปที่โต๊ะเจาะเลือดอย่างรวดเร็วราวได้รับคำสั่งมา ท่วงท่าผมไม่มีความกังวลใจเลยซักนิด แต่ในใจนั้นกลับหยุดนิ่งอยู่กับที่เหมือนไม่มีอะไรอยู่รอบตัว ห้องเจาะเลือดที่คาคร่ำไปด้วยผู้คนกลับเงียบเหมือนไม่มีใครอยู่ซักคนเดียว ผมกลับมาคิดถึงคำพูดคุณพรชัยเมื่อกี๊ว่าประโยคที่พูดเมื่อครู่มันหมายถึงอะไ รกันแน่ มันน่าแปลกที่แพทย์ใช้ทุนปี3อย่างผมไม่เข้าใจคำว่า weakly positive แปลว่าอะไร ในวินาทีนั้นผมแปลว่ามันคือ false positive หมายความว่าคุณพรชัยคงตรวจผลเลือดผมผิด แล้วไม่มั่นใจเลยขอตรวจซ้ำด้วยน้ำยาที่ดีกว่าเก่าเพื่อจะได้ยืนยันผลให้ผม ผมเดินกลับหอพักคนเดียว แต่วันนี้มันเป็นตัวคนเ ดียวที่ไม่เหมือนทุกวัน ใจกับตัวมันไม่ได้มาด้วยกัน ขาว่าก้าวไป แต่ใจอยากเดินกลับไปถามอีกรอบว่าที่คุณพรชัยพูดมันแปลว่าอะไร ตกลงผม HIV positive หรือไม่ ผมเดินมาถึห้อง นั่งลงบนเตียง คิดย้อนถึงเหตุการณ์ที่เกิดในชั่วครู่หลายสิบรอบ... ผมลืมกลับไปตรวจคนไข้ต่อ... ผมลืมไปroundเย็น... ผมไม่ได้รบโทรศัพท์ที่รพ.ตาม... ผมกำลังทำอะไรที่นี่!!!

นั่งอยู่เปล่าเปลี่ยว วนเวียนว้าวุ่น ทบทวนความหลัง ว่าเราเป็นอะไร
เรามาทำอะไรที่นี่ เป็นหมอแล้วดีตรงไหน หากไม่เป็นแล้วเราจะทำอะไร แต่ยังไงคงไม่เป็นเอดส์ซะเอง
ผม ยังนั่งสับสนอยู่บนเตียงคนเดียว ผมคิดอะไรไม่ออก แต่จริงจริงแล้วคงต้องบอกว่าไม่รู้ว่าควรเริ่มคิดจากตรงไหน ผมตัดสินใจปรึกษาเพื่อนที่สนิทที่สุดของผม ผมเริ่มเล่าเหตุการณ์ทั้งหมดอย่างช้าๆ ตั้งแต่ว่าผมโดนเข็มตำนิ้วกลางมือซ้ายตั้งแต่ มิย 48 ตอนนั้นผมทำผ่าตัด appendectomy ให้กับคนไข้ผู้หญิง HIV infection อายุ 24 ปีซึ่งตอนนี้ไปทำงานที่ฟิลิปปินส์ ผลการเจาะเลือดครั้งแรกของผมนั้น HIV neg ทางรพ.ก็มีguidelineในการตรวจเลือดซ้ำตอน 1เดือน ,3เดือน และ 6เดือน ผมกินยาเป็นสูตร 4ตัว กินครบ1เดือน ตรวจเลือดซ้ำที่ 1,3 เดือน ผลHIV ก็ยัง neg อยู ตอนนั้นผมคิดว่าผมคงรอดแล้วล่ะ เพราะคำบอกเล่าจากเพื่อนฝูงก็บอกว่า บางคนไม่กินยายังไม่เป็นเลย แล้วนายจะเป็นได้ยังไง ผม consult พี่infectious ในรพ. เค้าก็บอกว่าตั้งแต่เค้าดูมาเค้ายังไม่เคยเจอ HIV positive จากโดนเข็มตำเลย่ ที่สำคัญที่สุดคือเลยwindow period ไปแล้วซึ่งผมคงสบายแล้วล่ะ

แต่บางสิ่งในชึวิตมันกลับไม่เหมือนในตำรา เราเดินไปตรงๆแต่เราก็หลุดจากเส้นทางได้ถ้าเราลืมดูว่าจริงจริงแล้วมันเป็นท างโค้ง ที่ในหนังสือเค้าบอกว่าถ้าเกิน 3เดือนจากการcontactเชื้อ แสดงว่าปลอดภัย แต่จริงจริงเค้าศึกษาใน normal population ไม่ใช่คนที่กิน ARV ครบ1เดือน จึงไม่น่าแปลกใจที่ผลHIVจึง positive ที 6 ่เดิอน (เค้าถึงให้เจาะเลือดที่6เดือนไงล่ะ)

ผมคุยกับเพื่อนอยู่นาน สุดท้ายผมตัดสินใจที่จะไปหาที่เจาะเลือดในรพ.เอกชนเพื่อยืนยันผลการตรวจ ที่นั่นทำให้ผลได้รับคำตอบ คำตอบที่เป็นความจริง ความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ ความจริงที่ผมมี HIV

ผลการยืนยันสรุปว่าผมติดเชื้อจริง... ติดเชื้อจริงจริง.... ติดเชื้อจริงจริงเหรอ..... ผมถามประโยคนี้กับตัวเองในทุกๆก้าวที่เดิน ผมเดินกลับมาถึงรถ ผมขับรถไม่ไหวแล้ว ตาผมมองไปข้างหน้าแต่กลับมองไม่เห็นแสงไฟมาจากที่ใด ผมสงสัยว่าทำไมต้องเป็นผม มีคนเป็นอย่างผมอีกหรือไม่ ผมทำผิดอะไรไว้สิ่งนี้จึงเกิดกับผม ผมควรจะโทษตัวเองที่เอาเข็มทิ่มนิ้วตัวเอง หรือว่าโทษพ่อแม่ทีผลักดันจนผมได้มาเรียนหมอ หรือว่าโทษกรรมเก่าที่คนเราชอบอ้างถึงแต่ไม่มีใครตอบได้ว่ามันคืออะไร ผมนิ่งเงียบ เพื่อนผมพูดอะไรไม่ออก ไม่รู้ว่าจะปลอบได้ยังไง...........ผลกลัวตายครับ........ผมเพิ่งรู้สึกจริง จริงกับตัว ว่าผมกลัว ถึงแม้เรารู้ว่าซักวันนึงเราตองตาย แต่ก็ไม่ใช่ตอนนี้ ผมเพิ่งอายุ 26 ผมยังไม่อยากตาย ผมกลัว PCP ผมไม่อยากเป็น Crypto meningitis ผมกลัวแม้แตเป็น PPE ...ผมกลัว

ความ ตายไม่ใช่เรื่องเล่นเล่นอย่างที่เราเคยเข้าใจซะแล้ว พวกเราอยู่กับความเจ็บป่วยมานาน สิ่งที่เราทำกันอยู่ในปัจจุบันคือรักษาโรคแต่เพียงอย่างเดียว จนลืมไปแล้วว่าจริงจริงเรารักษาคน เราดูแต่เจ้าของร่างกายโดยที่เราลืมรักษาจิตใจที่ร่วมมาด้วย ผมย้อนคิดไปถึงอดีตที่ดูแลคนไข้ มีคนไข้จำนวนมากที่ป่วยเป็นโรคที่อาจทำให้เสียชีวิต แต่เรากลับบอกพวกเขาสั้นๆว่า คุณป้าเป็นมะเร็งครับ คุณติดเชื้อ HIV ครับ มันพอแล้วหรือหรือเปล่า ผมไม่เคยเข้าใจความรู้สึกนี้มาก่อนจนกระทั่งวันที่เจอกับตัว การที่รู้ว่าเราต้องตายถึงแม้จะอีกนาน แต่มันก็ทำให้ชีวิตที่เหลืออยู่มันไม่มีความสุขสักนิด ทุกสิ่งรอบตัวที่เคยดูสวยงาม ตอนนี้มันไม่มีความหมาย ผมเดินผ่านมันไป ดูเหมือนเป็นเพียงอากาศธาตุเท่านั้น

ผมตัดสินใจบอกแฟนผมเรื่องผล เลือด ผมไม่สามารถปิดบังเรื่องนี้กับเค้าได้ ผมชอบเค้ามาก มากจนไม่สามารถเอาเค้าเข้ามาอยู่กับตัวผมได้อีก ผมเป็นแฟนกับเค้ามาเกือบสามปี เดือนหน้าก็จะเป็นวันครบรอบสามปีพอดี ช่วงที่ผมไปใช้ทุนต่างจังหวัด ก็ไม่ค่อยได้เจอกัน ตอนนี้ใช้ทุนเกือบครบแล้วกลับต้องมีเรื่องไม่ดีเกิดขึ้น ผมบอกกับเค้าว่า ผมขอโทษ ตอนนี้ผมไม่ได้มีทุกอย่างพร้อมเหมือนเดิมอีกแล้ว เพราะสิ่งที่ขาดไปไม่มีใครมาทำให้เป็นเหมือนเดิมได้ ผมชอบ ... มากแต่เราคงไ่ม่สามารถใช้ชีวิตอยู่กันได้หรอก ตอนนี้ผมรู้สึกเหมือนตัวเองเป็นคนไร้ค่า ความรู้สึกของหมอกับคนไข้ที่ติดเชื้อ มันทำให้ผมรังเกียจตัวเองอย่างบอกไม่ถูก

เรื่องของ...เป็นไปตามที่ผม วางแผนไว้ เธอโทรมาคุยกับผมนานนานครั้ง ห่างขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้เราไม่ได้ติดต่อกันแล้ว ถึงแม้เราจะไม่ได้บอกเลิกกันอย่างเป็นทางการทำให้ผมเข้าใจในการในการตะดสินใ จของเขา และก็ไม่เคยโกรธเขาแม้แต่ครั้งเดียว ความรู้สึกของผมต่อ....ก็ยังเป็นเหมือนเมื่อก่อน ไม่เคยเปลี่ยนแปลง

เปลี่ยนไปแล้ว เปลี่ยนไป
ความสดใส ไม่กลับมา
ความรัก กลับจากลา
เพราะเพียงว่า เราเปลี่ยนไป

วัน รุ่งขึ้น ผมเริ่มรู้ตัวเองว่าผมไม่สามารถ แบกปัญหาที่ใหญ่ขนาดนี้บนบ่าตัวเองได้ ผมโทรไปหาพี่เนศ่ (เป็นพี่medที่ดูแลบุคลากรในรพ.ที่โดนเข็มตำ) พี่เนศเค้าตกใจมาก เค้าถามถ้าพอมีเวลาไปหาเค้าที่บ้านตอนเที่ยงหรือไม่ พี่เนศอยากคุยกับผมเป็นการส่วนตัว ในวินาทีนั้นผมตื่นเต้นมาก ผมอยากให้พี่เค้าบอกว่าผมเข้าใจผิด บอกว่าผลการตรวจผิดพลาด หรือบอกว่าใช้น้ำยาผิด หรืออะไรก็ได้ ผมไม้รู้ว่าผมจะยืนบนขาคู่เดิมได้อีกนานแค่ไหน ผมไม่เคยรู้สึกเหนื่อยขนาดนี้มาก่อนในชีวิต ผมเหนื่อยจริงจริง

เมื่อ ถึงเวลาเที่ยง ผมก็รีบไปพบพีเนศ ตามที่นัด บ้านพักของพี่เค้าอยู่ในรพ. มีหมาพุดเดิ้ลคอยให้การต้อนรับผมเป็นอย่างดี พี่ชวนผมให้นั่งรอที่โซฟา ผมรู้สึกเหมือนผ่อนคลาย พี่เค้าจึงขอให้ผมเล่าอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ผมค่อยๆเล่า ค่อยๆเรียบเรียงเรื่องทุกอย่่างให้พี่เค้าฟัง พี่เนศมีทีท่าตั้งใจมาก แต่ไม่ได้ทำหน้าตกใจหรือตื่นเต้นมากเกินไปนัก หลังจากผมเล่่าจบ ผมรู้สึกว่าการมาครั้งนี้ของผมไม่เสียเที่ยวเลยจริงจริง พี่เค้าเป็นทั้งหมอและเป็นทั้งพี่ที่มีแต่ความห่วงใย และความปรารถนาดีมากมาย ผมรู้สึกได้ ผมรู้สึกได้ว่ามันมีรัศมีออกมาจากตัวเค้าจริงจริง ในชีวิตนี้ผมเคยได้สัมผัสแบบน้้มาจากพ่อแม่เท่านั้น และยังไม่เคยคิดว่าจะมีคนที่เป็นห่วงเราถึงเพียงนี้ เรื่องของผลตรวจนั้นพี่เค้าอยากให้ทำ lab confirm ก่อน เพราะว่าELISA เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอในการวินิจฉัยได้ ส่วนเรื่องเพื่อนและคนรู้จักอย่าเพิ่งบอก และอย่าเพิ่งบอกพ่อแม่เพราะว่าผลยังไม่แน่ชัดเดี๋ยวท่านจะตกใจ

ผมทำ ตามที่พี่เค้าบอกทุกอย่าง ผมรูสึกดีขึ้นเมื่อรู้ว่ามีคนที่มีสติมายืนอยู่ข้างๆผม ผมเดินไปเจาะเลือดเป็นครั้งที่สาม แต่คราวนี้ต่างจากครั้งอื่น เพราะผมรู้ว่าผมกำลังทำอะไรอยู่ และทำเพื่ออะไร ผมoffเวรของทั้งอาทิตย์ตามที่พี่เนศสั่ง เดินกลับไปที่ห้องพัก นอน และทำใจให้สบายเพื่อรอผลตรวจซึ่งพี่่เค้าจะโทรมาบอกเองว่าผลเป็นอย่างไร

ผม ยังคงนอนอยู่ที่เตียง นอนนิ่งอยู่นาน แต่ในใจผมไม่มีหยุดคิดซักวินาทีเดียว ประมาณบ่ายสาม ผมลุกขึ้นมานั่ง หยิบโทรศัพท์โทรไปหาเพื่อนของผมว่าผมควรทำยังไงดี ผมอยากโทรไปหาพี่เนศว่าผลเป็นอย่างไร แต่ไมากล้าเพราะกลัวว่าพี่เค้าจะยุ่งอยู่ เพื่อนผมบอกว่าให้รอไปก่อน พี่เค้าบอกแล้วว่าจะโทรบอกเอง ก็ต้องเป็นอย่างนั้น ใจเย็นรออีกหน่อย ผมนั่งรอ นอนรออยู่นาน จะโทรปรึกษาใครก็ไม่ได้ ผมรู้สึกตัวคนเดียว ผมมองออกไปนอกห้อง ผู้คนที่เรารู้จักมากมายเดินผ่าน....ไม่มีใครคุยได้เลยจริงจริงหรือนี่... ไม่มีเ ลยจริงจริง

เมื่อถึงเวลาเย็น พระอาทิตย์เริ่มหรี่แสงลง ผมรู้สึกเหมือนว่าความหวังผมกำลังจางหายไป ผมเหนื่อย ผมถอนหายใจ เอาวะ อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด พี่เนศโทรมาพอดี พี่บอกว่ารอที่ห้องประชุม พี่อยากคุยด้วย ผมเดินลงจากห้องอย่างช้าช้า กลัวกับสิ่งที่กำลังจะเผชิญ ผมไม่แ่นใจว่าผมจะรับไหวรึเปล่าถ้าพี่เค้าบอกผมว่าผมติดเชื้อ คงไม่มั้ง ชีวิตคนเราต้องมีหวัง ผมเดินไป กลัวๆกล้าๆ แต่ใจมันบอกให้เดินไปเพราะมันอยากรู้ ผมเปิดประตูเข้าไปในห้องประชุม พี่เนศอยู่กับพี่ปกซึ่งเป็นพี่psychiที่รพ. เค้าถามผมถึงสภาพทั่วไปของผมวันนี้ ผมไม่อยากตอบแล้วละ ผมอยากรู้เรื่องผลเลือดมากกว่า "ผลมันเป็นpositiveนะ" พี่เนศบอก หลังจากนั้นพี่เค้าพูดอะไรต่อก็ไม่รู้ ผมหูอื้อไปหมดแล้ว ผมเพียงแต่พยักหน้าเมื่อพี่เค้าพูดจบประโยค คำตัดสินมันมาแล้วล่ะ ผมบอกกับตัวเอง พี่เค้าบอกว่าเค้ารู้ผลตั้งแต่บ่ายแล้ว แต่ไม่ได้บอกเพราะว่าพี่ไม่สามารถปลีกเวลามาบอกได้ ซึ่งจริงจริงเพื่อนผมก็รู้้ตั้งแต่บ่ายแล้ว แต่พี่เนศสั่งห้ามบอก้เพราะกลัวบอกไม่ถูกวิธี

เรื่องของผมเอง ผมต้องรู้เป็นคนสุดท้ายเหรอ ผมถ่ามตัวเอง ผมเสียใจที่เพื่อนสนิทของผมหลอกผมว่าไม่รู้เรื่อง โลกนี้ให้อะไรกับผมบ้างที่ทำงานหนักและได้เงินเดือนมา 10000 บาท ผมเข้าใจตัวเองว่าผมฉลาดที่เอ็นทรานส์ติดหมอ แต่จริงจริงผมว่าผมโง่มากกว่าที่คิดเรียนหมอ ชีวิตหมอไม่ได้สวยหรูเหมือนที่วาดไว่ซะแล้ว พวกคนภายนอกที่อยากให้ลูกมาเรียนหมอจะรู้มั้ยว่ามีผมคนนี้ที่อาจจะตายเพราะม าเป็นหมอ ค่ายอยากเป้นหมอของโรงเรียนแพทย์เคยพูดหรือไม่ว่าคุณมาเรียนหมอก็เหมือนไปเท ี่ยวผู้หญิง เพราะไม่ว่าคุณจะใส่ถุงมือหรือถุงยางก็ยังติดเอดส์ได้ ผมโกรธตัว้เอง ผมโกรธเพื่อน ผมโกรธทุกคน โกรธสถาบัน ผมพาลแล้วล่ะ ผมเพิ่งรู้สีกว่าผมพาลแล้วล่ะ ผมนั่งลงเก้าอี้ในห้องนอนของผม แต่ครั้งนี้ผมร้องไห้ ผมจำไม่ได้เลยว่าผมร้องไห้ครั้งสุดท้ายเมื่อไหร ผมเป็นคนใจแข็งมาก เพื่อนผมมักชอบว่าผมว่าเป็นคนไม่มีหัวใจ เพราะไม่ว่าจะเกิดเรื่องร้ายแรงอะไรผมก็ยังนั่งเฉย เหมือนกับไม่มีปัญหาอะไร แต่วันนี้ผมรับไม่ไหวแล้วล่ะ ผมร้องไห้โฮอย่างสุดตัว ร้องอย่างสุดเสียงโดยไม่อายใคร ผมมองไปในกระจก ผมเพิ่งเคยเห็นน้ำตาตัวเองครั้งนี้เป็นครั้งแรกตั้แต่จำความได้ ผมไม่เคยคิดเลยว่าชีวิตผมจะมีวันนี้

อยากจะร้องให้สุดเสียง
หวังแค่เพียงเปลี่ยนเป็นฝัน
แต่ก็รู้ว่าไม่มีวัน
เพราะว่าฝันไม่เคยทำให้เจ็บลงไปลีกสุดในหัวใจ

เวลา ผ่านไปเป็นอาทิตย์ แต่ผมก็ยังทำใจไม่ได้ ตอนนี้เพื่อนผมประมาณ 6 คนที่ใช้ทุนที่เดียวกันรู้หมดแล้วล่ะครับว่าเกิดอะไรขึ้นกับผมบ้าง ถึงผมไม่ได้บอกด้วยปาก แต่จากสีหน้าผมทุกคนคงรู้ว่าเกิดสิ่งร้ายแรงกับผมเป็นแน่ ผมขอให้เพื่อสนิทผมเล่าให้กับเพื่อนบางคนที่อยู่ด้วยกัน เพื่อนๆผมทุกคนดีกับผมมาก ให้กำลังใจผมอย่างดี มันทำให้เรารู้สึกว่าอย่างน้อยๆก็ยังมีเพื่อนเป็นห่วงเราอยู่

ผมขับ รถออกไปจากรพ.ที่ผมอยู่ประมาณ 20 กิโลเมตร เพื่อไปยังห้องแล็ปแห่งหนึงที่ต่างอำเภอตามคำแนะนำของพี่เนศ มันลักษณะเหมือนคลีนิดที่อยู่ในซอยลึกพอควร ผมเข้าไปก้บเพื่อ พบผู้ชายคนหนึ่งอายุประมาณ 40 ซึ่งพบคาดว่าคงเป็นเจ้าของ ผมบอกเค้าว่ามาเจาะ CD4 และ viral load พี่เค้าทำสีหน้าตกใจไปชั่วครู่ แต่ก็พูดคุยกับผมอย่างดี สิ่งนี้ยังคงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผมรู้สึกว่า ไม่ว่าจะเป็นนักเทคนิคการแพทย์ หรือ แพทย์ จริงจริงแล้วคุณค่าของอาชีพอย่างพวกเรา มันอยู่ที่จรรยาบรรณ มากกว่าระดับความรู้ มากกว่าภาพลักษณ์ภายนอก และมากกว่าเงินทองที่เราประเมินจากสิ่งที่เราสัมผัสได้เสียอีก

ผล เลือดผมออกมาแล้ว CD4 455, 20% และ viral load 610, log 2.79 ถึงตอนนี้ผมหมดสิทธิ์ deny แล้วครับ ผมมีเพื่อนใหม่มาอยู่กับผมตั้ง610 ตัวต่อเลือด 1cc ชีวิตตอนนี้ผมต้องเปลี่ยนไปอย่างถาวรแล้ว ผมต้องระวังเลือดของตัวเองไม่ให้ไปโดนอื่น เรื่องแฟนคงหมดโอกาส คงไมมีใครคิดจะมีแฟนเป็นคนติดเชื้อหรอกใช่มั้ยครับ

ถึงวันนี้ผมมอง ย้อนไปในวันที่เกิดเหตุ 6 เดือนก่อน้ผลเลือดจะผิดปกติ วันนั้นผมง่วงมาก ผมหลับไปและโดนตามมาทำ appendix ตอนเที่ยงคืน ซึ่งยังไงก็คงต้องทำเพราะเป็นหน้าที่ แต่สุดท้ายผมก็ทำเข็มทิ่มตัวเอง.....ตกลงใครผิด...ผมทบทวนเรื่องนี้อยู่หลาย ครั้ ง ผมผิดหรืือเปล่าที่ประมาทเลินเล่อ แต่ผมทำงานมาทั้งวัน เหนื่อยก็เหนื่อย และต้องอยู่เวรต่ออีก ถ้าชีวิตผมเป็นแบบนี้ยังไงก็ต้องมีซักวันที่ต้องโดนเข็มทิ่มแน่แน่
หรือว่าผมควรจะโกรธคนไข้ ถ้าเขาไม่ติดเชิ้อ เรื่องเลวร้ายเช่นนี้ยังไงก็คงไม่เกิดขึ้น ตอนนี้ผมคงไม่รู้สึกแย่ขนาดนี้

ถึง ตอนนี้ผมไม่ได้โกรธใครเลย เพราะผมถามตัวเองว่าถ้าผมย้อนกลับไปวันนั้น ผมจะยังผ่า appendix ในคนไข้ติดเชื้ออีกหรือไม่ คำตอบก็คือผ่า เพราะถ้าไม่รักษาเค้า แล้วใครจะไปรักษาเค้า เราเกิดมาเป็นที่พึ่งของคนหมู่มาก ถึงแม้เราจะได้เงินตอบแทน(ในบางครั้ง) แต่สิ่งที่เราทำลงไปแลกมาได้ด้วยชีวิตของคนไข้ ผมมองว่ามันน่าจะคุ้มนะ ถึงแม้ว่ามันจะแลกมาด้วยอนาคตของผมเอง

ผมเคยได้ยินเรื่องค่าตอบแทน ถ้าเกิดบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อที่เกิดจากการ ทำงาน ประมาณ 1-2 ล้านบาท ซึ่งในกรณีของผม มีผลเลือดของรพ.ที่ปกติแล้วเปลี่ยนมาเป็นติดเชื้อ อย่างน้อยน้อยผมก็ได้มาเป็นค่ายาในอนาคตเพราะคงมีวันนึงที่ CD4ต่ำกว่า 200 ผมถามเรื่องนี้กับพี่เนศ พี่เค้าบอกว่าเค้าก็ไม่รู้ เพราะว่าไม่เคยเจอเรื่องนี้มาก่อน ผมกับพี่เนศจึงขึ้นไปปรึกษากับผู้อำนวยการ ท่านแสดงความเห็นอกเห็นใจผมเป็นอย่างมาก และก็ยินดีจะช่วยดำเนินการให้ แตมันอาจไม่ง่ายอย่างที่ผมคิด ท่านแนะนำว่าให้ลองคิดดีดี เพราะการจ่ายเงินของระบบราชการล่าช้าและซ้ำซ้อนมาก ชื่อของผมจะต้องโดนเสนอไปถึงกระทรวง เงินเป็นล้านราชการคงไม่ยอมให้คุณง่ายๆหรอก และน่าจะมีการสอบด้วย ถึงตอนนั้นจะมีคนจำนวนมหาศาลรับรู้ว่าผมติดเชื้อ ผมทำใจได้หรือ้เปล่า ถ้าเพื่อนผมรู้ว่าผมติดเชื้อ จะมีกี่คนที่คิดว่าผมติดเชื้อจากการทำงาน ถ้าอาจารย์รู้ ผมจะได้มีโอกาสเรียนต่อหรือไม่ แต่ที่แน่แน่ถ้าคนไข้รู้ ไม่มีทางที่พวกเค้าจะมาตรวจกับเราเป็นแน่

คำตอบก็คือ ไม่ ผมทำใจไม่ได้ ผมลองกลับมาคิดดู เงินล้านน่ะผมใช้เวลาเท่าไรในการหามาด้วยตัวเอง ถ้าวันนี้ผมลาออก ไปทำงานรพ.เอกชน แค่อยู่คลินิกประกันสังคม ภายในปีเดียวผมก็หาได้แล้ว มันจะคุ้มหรือที่ผมขายข้อมูลตัวเองซึ่งเงินที่ได้มาเป็นเงินที่ผมหาได้ใน 1 ปีเทียบกับชิวิตที่เหลืออยู่อีกหลายสิบปี คิดยังไงก็ไม่คุ้ม

ผม รู้สึกชีวิตผมมันน่าตลก คนเค้าว่าคนที่มาเรียนหมอเป็นคนที่เรียนเก่งอันดับต้นต้นของประเทศ แต่สุดท้าย หมอกลับเป็นอาชีพขาดคุณภาพชีวิตอย่างมาก ทำงานก็หนัก ชีวิตของพวกเราเมื่ออยู่ในสายงานรัฐบาลก็มีแค่พอกิน ไม่ได้อยู่สบายเหมือนกับคนอื่นเค้า พอเกิดเรื่องเราก็ไม่มีโอกาสได้อะไรเลย...งั้นเหรอ

หากรักสบายซักนิด
นึกคิดทำขี้เกียจ
ถึงตอนนี้คงไม่เครียด
ที่กระเดียดมาเป็นหมอ

เวลาย้อนกลับไม่ได้
สิี่งที่เปลี่ยนไม่รั้งรอ
หากยังนั่งเพียงวอนขอ
ก็ไม่รูต้องรออีกเท่าใด

ชีวิตในวันนี้
โทษใครดีที่เปลี่ยนไป
เพราะเราหรือเพราะใคร
หรือเพราะไซร้ที่เกิดมา

ทุกคนมีความทุกข์
แต่ถ้าลุกมารักษา
อย่ายอมแพ้กับชะตา
เพราะว่าข้าคือคนจริง

3 อาทิตย์ผ่านไป สภาพจิตใจของผมดีขึ้นตามลำดับ ถึงแม้ว่ายังไม่เหมือนเดิมนัก แต่ว่าอย่างน้อยผมก็รูว่าผมยังมีคนเป็นห่วงและให้กำลังใจอยู่อีกมาก ที่สำคัญวันนี้เป็นวันศุกร์ วันหยุดเสาร์อาทิตย์ก็ไม่มีเวร ผมจะได้กลับบ้านซักที เผื่อว่าอะไรจะดีขึ้น

ผมไม่ได้กลับบ้านมาซัก 2 เดือนแล้ว พ่อแม่ผมดีใจที่วันนี้ผมจะกลับและอยู่กับที่บ้านในวันหยุด แต่การกลับบ้านครั้งนี้ของผมไม่เหมือนทุกครั้ง ผมวางแผนที่จะบอกข่าวร้ายที่สุดให้กับคนที่ผมรักที่สุดซึ่งก็คือพ่อแม่ของผม ตลอดทางระหว่างผมขับรถกลับกรุงเทพ ผมคิดหาวิธีที่ดีที่สุดที่จะบอกโดยที่เจ็บน้อยที่สุด แต่ก็คิดไม่ออก เพราะว่าเรื่องของผมมันไม่ใช่เรื่องที่จะยอมรับกันได้ง่ายๆ ผมไมอยากให้พ่อแม่เป็นเหมือนกับที่ผมที่รู้ข่าวในช่วงแรก

คืนวัน เสาร์ ผม พ่อแม่ และน้องน้อง นัดกันไปกินข้าวเย็นด้วยกัน ถึงแม้ว่าเราจะไม่ค่อยได้เจอกันบ่อยนัก แต่ครอบครัวของผมก็ยังเป็นครอบครัวที่อบอุ่น มีความสมัครสมานสามัคคีกันดี ผมทำตัวเหมือนทุกอย่างเป็นปกติ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น เราคุยกันหยอกล้ออย่างเคย ทุกคนต่างเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนที่ไม่ค่อยได้เจอกัน แม่ถามผมว่า ทำงานเหนื่อยมั้ย คนไข้เยอะหรือเปล่า อย่ามัวแต่หาเงินนะ กลับมาบ้านบ้างก็ได้ ผมยิ้มกลับให้แม่ แต่หัวเราะไม่ออก คำถามของแม่มันช่างเจ็บปวดเหมือนกับจะบังคับให้ผมบอกข่าวร้ายตรงนัน ภายในตาทั้งสองมีน้ำตาเอ่อรอล้นออกมา ผมตอบแม่ว่า ผมสัญญา เพราะต่อไปนี้ผมคงไม่ทำงานหนักอีกแล้ว แม่ฟังผมแต่ก็ไม่ได้สนใจอะไร

เมื่อ กลับถึงบ้าน คืนวันอันแสนสุขได้ผ่านไป ความจริงที่กำลังจะปรากฎต่อหน้าพ่อแม่ผมไม่แน่ใจว่าท่านจะรับไหวหรือไม่ ผมสัญญากับพี่เนศแล้วว่าผมจะบอกเมื่อผมพร้อม เพราะว่าพ่อแม่ก็คงมีอาการเหมือนกับผมในช่วงแรกที่ทราบข่าว ผมจำเป็นต้องมีสติและเป็นผู้คุมสถานการณ์ให้ได้ ผมพร้อมแล้ว ผมบอกตัวเองว่าผมพร้อมแล้ว วันนี้เราจะเผชิญหน้ากับความจริง

ผมเดิน เข้าไปในห้องนอนของพ่อแม่ กดล็อกประตู นั่งบนเก้าอี้ในห้อง ทำหน้าตาจริงจังเล่าเรื่องในอดีตที่เกิดขึ้นอย่างเป็นขั้นตอน พ่อแม่ผมเริ่มสีหน้าไม่ดีเพราะรู้ว่าน่าจะมีเรื่องร้ายเกิดขึ้น "ผมติดเชื้อ HIV" ผมบอกพ่อแม่เป็นประโยคสุดท้ายว่าผมติดเชื้อ HIV ในตอนนั้นแม่ผมล้มลงไปคุกเข่ากับพื้น ร้องไห้และสับสนมากในเรื่องราวที่เกิดขึ้น พ่อผมยืนนิ่ง ตกใจไม่รู้จะพูดอะไรต่อ ผมก้มลงไปประคองแม่ของผมขึ้นมาจากพื้น แต่แม่กุมมือผมแน่นทั้งสองข้าง โอบกอดรัดตัวผมแนบสนิท เหมือนกลัวว่าใครจะพรากของที่รักที่สุดไป "แม่ขอโทษลูก แม่ขอโทษ แม่ไม่ได้ตั้งใจที่บังคับขู่เข็ญให้เรียนหนังสือ แม่เพียงหวังจะให้ลูกได้ดีเมื่อโตขึ้น แม่ไม่ได้ตั้งใจให้เรื่องนี้เกิดกับลูก แม่ขอโทษ" แม่ผมพูดแล้วร้องไห้ไม่หยุด ผมไม่เคยเห็นแม่ร้องไห้มากขนาดนี้มาก่อน แม่คิดว่าผมกำลังจะตาย แม่ผมคิดอย่างนั้น ผมค่อยๆอธิบายเรื่องราวของโรคนี้ทั้งหมดให้แม่ฟัง แม่สนใจมาก ถามทุกประเด็นที่ท่านสงสัย แม่ถามผมว่าลูกจะลาออกไหม กิจการที่บ้านมันมากพอที่ผมจะไม่ต้องเหนื่อยอีกเลยตลอดชีวิต ผมไม่รู้หรอก ผมคิดไม่ออก ผมไม่กล้าตัดสินใจ

สุดท้ายผมก็ได้ทำบาปครั้งใหญ่่คือ สร้างความทุกข์อย่างใหญ่หลวงให้กับพ่อแม่ คืนนั้นแม่ผมนอนร้องไห้ทั้งคืน ผมเสียใจกับเรื่องร้ายๆที่ผ่านมาในชีวิตผมและครอบครัว แต่ผมก็ดีใจเพราะอย่างน้อยตอนนี้ผมก็มีเพื่อนมาเดินอยู่ข้างๆผมอีกสองคนแล้ว

คืน วันอาทิตย์ ผมเก็บของเตรียมกลับไปต่างจังหวัดเหมือนเคย แม่เดินเข้ามาพูดคุยกับผมตลอด ผมจำได้ดีว่าคำพูดทุกคำของแม่ที่พูดกับผมตอนนั้นมันกลั่นออกมาจากความห่วงใย ที่สุดที่คนคนหนึ่งจะให้กับคนคนหนึ่งได้ แม่เป็นห่วงผมในทุกเรื่อง แม่ถามทุกคำถามที่แม่นึกออก ผมหัวเราะให้แม่ ผมหัวเราะครั้งแรกของผมให้กับแม่ ผมรู้สึกเหมือนผมกลับมาเป็นเด็กอีกครั้ง

ผม กลับไปทำงานตามปกติ ตอนนี้ผมดีขึ้นมาก ผมบอกทุกคนที่ควรจะรู้จนครบแล้ว รู้สึกเหมือนหน้าที่ผมลุล่วงไปด้วยดี วันนี้ผมมีกำลังใจมากขึ้นกว่าทุกวัน ตอนนี้ก็เหลือเพียงเรื่องของผมที่พร้อมจะเดินต่อไปหรือไม่เท่านั้น

แต่ เรื่องของผมนี่แหละที่เป็นปัญหา ผมได้รับการตอบรับเพื่อเป็น resident ศัลยกรรมของโรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่ง พี่ที่แผนกธุรการโทรมาทวงเอกสารที่ผมยังส่งไม่ครบ เพราะว่าถ้าเกินกำหนดนั่นแปลว่าผมสละสิทธิ์ เรื่องนี้มันเป็นปัญหาใหม่ให้ผมจริงๆ คำถามคือศัลยแพทย์ที่ติดเชื้อทำผ่าตัดได้หรือเปล่า ผมสับสน ไม่กล้าตัดสินใจ ผมนอนคิดอยู่ทั้งคืน ผมอยากเรียนศัลย์ แต่ไม่รู้ว่ามัน fair กับคนไข้หรือเปล่าHuh

วันรุ่งข้นผมเดินไปหาพี่เนศและพี่ปก ผมถามคำถามนี้กับพี่ๆ โดยหวังว่าผู้ใหญ่น่าจะมองในกรอบที่กว้างกว่าเด็ก พี่เค้าตอบว่ามองเผินๆอาจจะใช่ แต่พี่ว่าไม่ เพราะเวลาเราผ่าตัดเข็มเราจะเลอะเลือดคนไข้ตลอด เวลาพลาดโดนเข็มตำ เลือดของคนไข้ก็จะมาเปื้อนเราทำให้เราติดเชื้อ แต่ในทางกลับกันถ้าเข็มเปื้อนเลือดเราเมื่อไร เราคงเปลี่ยนเข็มนั้นเพราะมัน contaminated ไปแล้ว เราคงไม่เอาเข็มที่เปื้อนเลือดเราไปเย็บต่อ ส่วนในกรณีที่ว่ากลัวเลือดหยดลง field คงไม่น่าเป็นไปได้ เพราะเราคงไม่ได้ใช้กรรไกรหรือมีดมาตัดนิ้วเรา เลือดถึงมากพอที่จะตกลงไปได้ ผมคิดดูมันก็จริง แต่คนไข้จะยอมรับเหรอ ไม่มั้ง ผมว่าไม่ ใครจะยอมให้หมอที่ติดเชื้อมาผ่าตัด

อนาคตของผมมัน ผันแปรไปเป็นเพราะผมอยากเป็นหมอผ่าตัด ผมก็ไม่รู้ว่าผมเป็นอะไร ทั้งที่รู้ว่าวันนี้ชีวิตผมเปลี่ยนไปในทางตรงข้ามเพราะว่าเข็ม 1 เข็มกับเลือด 0.01 ccนั้น แต่ผมก็ยังดื้อด้านกลับไปหาสิ่งนั้น ผมถามตัวเองว่าผมทำไปเพื่ออะไร คุ้มจริงจริงเหรอที่จะกลับไปเรียนหนัก ทำงานหนัก ศัลยกรรมมันเหนื่อยนะ มันจะทำให้ขีวิตมันแย่ลงหรือเปล่า ตอนนี้เราไม่ใช่คนธรรมดาแล้ว เราจะมาคิดแบบเดิมไม่ได้ แต่ไม่ใช่ ใจผมตอบว่าไม่ใช่ ตัวผมเปลี่ยนไป แต่ใจยังรักเหมือนเดิม ผมยังอยากเป็นหมอศัลยกรรม ผมว่าตัวผมมีคุณค่า ผมคิดว่าชีวิตในอนาคตของผมจะไม่อยู่อย่างคนขลาด อยู่อย่างเจียมตัวว่าเป็นคนป่วยแล้วไม่คิดทำอะไร ผมเกิดมาพร้อมกับศักยภาพที่มาพร้อมกับผม ผลเลือดที่เปลี่ยนไปไม่ได้ทำให้ชีวิตผมจบลง ผมไม่ยอมแพ้เข็ม 1 เข็มกับเลือด 0.01 cc ในคืนนั้นแน่ ชีวิตที่เกิดมาตั้ง 20 กว่าปียังไงก็จะไม่เปลี่ยนแปลงเพราะเหตุการณ์ในช่วงวินาทีเดียว ไม่มีทาง


ลุกขึ้น ยืนหยัด กัดฟันสู้
กลับมองดู ความฝัน ครั้งหลัง
วันนี้ วันใหม่ ผมมีพลัง
ไม่มีใคร มารั้ง ผมต่อไป

ไปข้างหน้า เจ็บขา ได้บางคร้ง
เหนื่อยก็นั่ง พักใจก่อน ให้สดใส
พรุ่งนี้มา เราสู้ใหม่ ไม่อ่อนใจ
ไม่ยอมให้ สิ่งไหน มาทำลาย

ยิ้มหัวเราะ ต่ออุปสรรค ที่เกิดขึ้น
เพราะว่า-ึง จะไม่เกิด เป็นซ้ำสอง
ความสำเร็จ ในวันหน้า จะมากอง
เหล่าเพื่อนพ้อง ร่วมสรรเสริญ ในโชคชัย

สิ่ง ที่ผมได้มาจากประสบการณ์อันยิ่งใหญ่ของผมคือ "มันสมอง" มันสมองที่ไม่ได้หมายถึง IQ หรือความรู้พิเศษอะไร แต่เป็นมันสมองที่ช่วยให้ผมลองมองสิ่งของเดิมรอบตัวผมด้วยความรู้สึกใหม่ ว่าการตีค่าว่าของหนึ่งชิ้น หรือคนหนึ่งคน ขึ้นกับอะไรกับ ในวันแรกที่ผมรู้ว่าผมติดเชื้อ ผมรู้สึกว่าตัวเอง ไม่มีค่า เป็นของมีตำหนิ ซึ่งคงเป็นตราบาปที่ติดตัวผมไปจนตาย แต่ในวันนี้ผมไม่ได้มองแบบนั้น ค่าของคนไม่ได้เป็น่ทีสิ่งที่คุณเห็นด้วยตา แต่เป็นสิ่งที่คุณเห็นได้ด้วยใจ มีครั้งหนึ่งที่ผมดูแลคนไข้ที่เข้ามารักษา cholangiocarcinoma หน้าที่ของผมคือ consult intervention เพื่อ cholangiogram with PTBD บอกsurgery เพื่อผ่าตัด บอก medicine เพื่อช่วย preop หน้าที่ของผมคือบอกคนอื่นให้ช่วยรักษาคนไข้ของผม ผมทำไปตามหน้าที่ ก็เราไม่ใช่ specialistนี่ เราก็ต้องทำแบบนี้แหละ แต่ในวันที่คนไข้กลับ คุณลุงแกให้เงาะผม 3 ลูก มังคุด 2 ลูก ใส่ถุงพลาสติกสีแดงมาให้ผม คำถามของผมคือนี่อะไร เทียบกับ 300 บาทที่เป็นค่า DF ของโรงพยาบาลเอกชนไม่ได้หรอก แต่ผมได้คำตอบเมื่อผมเงยหน้ามองแก เห็นหน้าคุณลุงที่มแต่คำขอบคุณสุดพรรณา แกบอกผมเพียงขอบใจ ทำให้ผมได้คำตอบว่า นี่มันเรียกว่า "ใจ" ใจที่ไม่ได้ซือ้ให้กันได้ แต่คุณให้คนอื่นได้ไม่มีวันหมด ไม่มีวันจาง แม้ว่าชีวิตคุณจะเป็นยังไง

ผม กลับมาที่กรุงเทพ ชีวิตวันหยุดก่อนการเรียนต่อทำให้จิตใจผมสบายขึ้นมาก ผมเลิกคิดเรื่องการลาออก ผมไม่คิดว่าร่างกายของผมจะเป็นอุปสรรคต่อการเรียน ผมใช้ "ใจ" ของผมเป็นตัวตัดสิน มีเพื่อนผมหลายคนบอกให้ผมไปเรียนสาขาวิชาอื่นที่ไม่หนักมาก จะได้พักผ่อนมากๆเนื่องจากกลัวผมจะทำงานไม่ไหว แต่ผมบอกพวกเขาไปแล้วว่าผมไม่ได้ป่วย จริงอยู่ที่ผมติดเชื้อ แตว่าผมไม่ได้ป่วย ผมไม่ได้ poor insight หรือยังอยู่ในช่วง deny แต่อย่างใด แต่ผมลองเปรียบเทียบความรู้สึกว่าการที่ผมได้เรียนสิ่งที่ผมอยากเรียน ทำงานในสิ่งที่ผมอยากทำ เทียบกับการที่ผมทำงานอย่างเจียมเนื่อเจียมตัวว่าตัวเองป่วย ตอนบ่ายก็กลับบ้านไปนอนพักผ่อนแล้วก็นอน ผมทำใจไม่ได้ที่จะใช้ชีวิตที่เหลืออยู่บนกองทุกข์และความเศร้า ที่ผมสร้างขึ้นมาด้วยตัวของผมเอง ผมอยากออกไปทำงาน ไม่อยากอยู่อย่างคนป่วย ถ้าเรามองเปลี่ยนมุมคิดใหม่ว่าการควบคุม CD4 คือการควบคุม DTXล่ะ มันทำใ้ห้ชีวิตเราดีขึ้นบ้างไหม จะเทียบว่า HIV กับ DM เหมือนกันรึเปล่า ผมว่ามันก็ใกล้เคียง CD4นั้นมีขึ้นมีลงตลอด เหมือนกับระดับน้ำตาลของคนไข้เบาหวาน อยู่ดีดีมันก็ขึ้น เจาะอีกทีก็ไม่เหมือนเดิม แต่ถ้าคุณเป็นคนไข้ที่กินยาเบาหวานอย่างสม่ำเสมอ หรือฉีดยาเป็นประจำ เจาะระดับน้ำตาล (หรือCD4, viral load) อย่างเป็นประจำ โรคแทรกซ้อนต่างๆก็ไม่เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน ในปัจจุบันมียาต้านออกมาตัวใหม่ใหม่อยู่ตลอด ข้อมูลในปัจจุบันของยาตัวใหม่อาจยังไม่มีผลการทดลองในระยะยาวมากนัก เพราะว่ายามันเพิ่งมีผลิต แล้วคุณจะไปเอาระยะเวลาที่ไหนมาบอกว่าคุณจะตายแล้ว นั่นสิ ผมคิดถูกแฮะ ผมมีความหวังอยู่ สมัยก่อนวัณโรคเป็นแล้วตาย แต่ตอนนี้กิยาแค่ 6 เดือน แล้วโรคของผมถ้าในวันหน้ามียารักษา อาจจะต้องกินยาเป็นปี หรือว่าหลายปี ผมก็จะรอวันนั้น วันที่ผมประสบความสำเร็จในอาชีพ และประสบความสำเร็จในการรักษาโรคของตัวเอง

ตอนนี้โรคของผมได้รับการ ดูแลจากอาจารย์ที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่งในประเทศไทย ผมอุ่นใจมาก ผมเจาะ CD4, viral load ทุก 2-3 เดือน ผลเลือดผมใกล้เคียงเดิมมาตลอด 1 ปีที่ผ่านมา โดยที่ผมยังไม่ได้เริ่ม้กินยา และตอนนี้ผมก็เป็น resident 1 general surgery อย่างเต็มตัวแล้ว ชีวิตผมไม่ได้สุขสบายมากนัก เนื่องจากเรียนหนัก ไม่ค่อยได้นอน และก็ไม่ค่อยได้กินข้าว คำตอบของผมอยู่ที่ใจคำเดียวเท่านั้น ใจเท่านั้นที่ทำให้คุณไปถึงทุกที่ ใจที่ไม่ยอมแพ้ ใจที่ไม่ลดละ ใจที่พร้อมเสียสละ ใจที่อยากเอาชนะสิ่งทั้งปวง ใจนี่แหละที่ยังรักษาระดับCD4เอาไว้ได้ ผมเชื่ออย่างนั้น ผมเชื่อ

ผมพร้อมจะกลับมาเป็นหมอแล้ว




 

Create Date : 22 กันยายน 2551    
Last Update : 22 กันยายน 2551 21:22:01 น.
Counter : 1718 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  

=Neo=
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add =Neo='s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.