ยินดีต้อนรับสู่ club.bloggang.com
...magazine online โดยหนุ่มสาวชาว =Neo=
กรรมวิบาก และ อานิสงส์ของศีล ๕

ศีล 5 กับการเปลี่ยนภพชาติ

ศีล 5 ปฏิบัติศีล 5 เพื่อละ เพื่อลด เพื่อเลิก..ไม่ฆ่า ไม่ลัก ไม่เจ้าชู้ ไม่โกหกและไม่ขี้เมา เพื่อให้เป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์
ความสำคัญของศีล 5..ทำให้คนเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์..เตรียมการเข้าสู่โลกที่มีแต่ความสงบสุข ทุกคนมีความเสมอภาค เท่าเทียมกัน โลกที่เต็มไปด้วยความไม่เบียดเบียนกันและกัน ..(เตรียมการเข้าสู่โลกพระศรีอาริย์เมตตรัย..โลกที่เต็มไปด้วยความเมตตา)

ศีล 5 ได้แก่

ปานาติปาตตาเวรมณี สิกขา ปะทังสมาทิยามิ ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท เว้นจากการฆ่าสัตว์
อทินนาทานาเวรมณี สิกขา ปะทังสมาทิยามิ ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท เว้นจากการลักทรัพย์
กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณี สิกขา ปะทังสมาทิยามิ ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
มุสาวาทาเวรมณี สิกขา ปะทังสมาทิยามิ ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท เว้นจากการพูดเท็จ
สุราเมรยมัชฌปมาทัฏฐานาเวรมณี สิกขา ปะทังสมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท เว้นจากการดื่มของมึนเมาจนครองสติไม่ได้

ศีล 5 กับความเป็นมนุษย์ มนุษย์ หมายถึงผู้มีใจสูง

เพราะปฏิบัติตามหลักศีล 5 ได้บริบูรณ์ ผู้ที่ปฏิบัติตามศีล 5
ได้ไม่ครบทุกข้อ เรียกว่า คน เพราะในแต่ละวันจะคิดดีคิดชั่ว ขึ้นสวรรค์ ลงนรก วันละหลายรอบ เดี๋ยวคิดดีเดี๋ยวคิดร้าย
ระคนปนกันไปไม่สิ้นสุด บางเวลาเกิดมีความเมตตาสงสารบางเวลาคิดฆ่า บางเวลาไม่ต้องการของของคนอื่น แต่บางวัน
บางเวลากลับแอบเอาของคนอื่นมาเป็นของตนเอง ตามหลักพระพุทธศาสนาเชื่อว่าสัตว์ทุกชนิดสามารถพัฒนาให้เป็น
มนุษย์ได้ และเมื่อใดเป็นมนุษย์ได้ ก็สามารถประกอบกรรมที่จะยกตนให้สูงกว่ามนุษย์ได้ เช่น เป็นเทวดา โดยปฏิบัติตน
อยู่ในกรอบของศีล 5 และปฏิบัติศีลเพิ่มอีก 2 ข้อ คือหิริโอตัปปะ เป็นพระพรหม โดยปฏิบัติตนอยู่ในกรอบของศีล 5
และปฏิบัติศีลเพิ่มอีก 4 ข้อ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นพระอินทร์ โดยปฏิบัติตนอยู่ในกรอบของศีล 5 และ
ปฏิบัติศีลเพิ่มอีก 7 ข้อ คือ 1.ให้ทานตลอดชีพ 2.ไม่โกหกตลอดชีพ 3.ไม่พูดหยาบตลอดชีพ 4. เลี้ยงดูบิดามารดา
ตลอดชีพ 5. 6. 7. เพราะคนเป็นสัตว์ที่ประเสริฐกว่าสัตว์อื่น ๆ จึงสามารถพัฒนาตนเป็นมนุษย์ได้ดีกว่า
สัตว์อื่นเร็วกว่าสัตว์อื่น และสามารถเลื่อนภพชาติตนอยู่ในภพภูมิที่สูงขึ้นดีกว่าสัตว์ชนิดอื่น ๆ ส่วนคนที่ไม่สามารถพัฒนา
ตนเป็นมนุษย์ได้ก็จะอยู่ในภพภูมิที่เรียกว่านรก หรือเรียกว่า สัตว์นรก

ลักษณะของสัตว์นรก แบ่งตามกรรมที่ปฏิบัติได้ดังนี้คือ

1.ยักษ์ อสุรกาย เป็นผู้ขาดศีล 5 ข้อที่ 1 คือ ปานาติปาตาเวรมณี พระพุทธศาสนาบรรยายคุณ
ลักษณะของยักษ์ไว้ว่า ร่างกายกำยำ มีอาวุธประจำกาย เป็นผู้มักโกรธ ตาแดงเนืองนิจ ผู้มีคุณสมบัติดังกล่าวคือผู้ขาดศีล
ข้อที่ 1 เป็นผู้มักเบียดเบียนผู้อื่น

2.เปรต ได้แก่ ผู้ขาดศีล 5 ข้อที่ 2 คือชอบเอาสิ่งของของผู้อื่นที่เจ้าของเขาไม่ให้ พระพุทธศาสนาบรรยาย
คุณลักษณะของเปรตไว้ว่า เป็นผู้เห็นแก่กินเป็นใหญ่ มีแขนขายาว ตัวสูง ผอม บางรายจะมีปากเล็กเพราะอดอยาก

3.เดรัจฉาน เป็นผู้ขาดศีล 5 ข้อที่ 3 ลักษณะเดรัจฉาน คือผู้เป็นผู้ชอบมั่วในกามโดยไม่เลือกว่าเป็น
ลูกเมียของผู้อื่น ไม่รู้ว่าเป็นผู้สืบเชื้อสายเดียวกัน เป็นวงศาคณาญาติกัน ไม่เลือกเวลา สถานที่ ควบคุมอารมณ์ทางเพศไม่ได้

4.ผี เป็นผู้ขาดศีล 5 ข้อที่ 4 มีลักษณะเป็นผู้ชอบโกหกหลอกลวงผู้อื่น แม้สิ้นชีวิตไปแล้วก็จะคอย
หลอกหลอนผู้อื่น

5.สัตว์นรกชั้นต่ำ หมายถึงผู้ผิดศีล 5 ข้อที่ 5 เป็นผู้ชอบดื่มของมึนเมาจนครองสติไม่อยู่ จึงทำให้ทำผิดศีลข้อ
อื่น ๆ

ได้โดยง่าย เพราะขาดสติ และทำให้มีพฤติกรรมของสัตว์ทั้ง 4 ประเภทข้างต้น และซ้ำร้ายสามารถแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ
โดยไร้สติ จึงถือเป็นพฤติกรรมของสัตว์นรก

ศีล 5 กับการเปลี่ยนภพชาติ

การเปลี่ยนภพชาติตามหลักในพระพุทธศาสนา เปลี่ยนได้ 2 ลักษณะ คือ
1.เปลี่ยนภพชาติขณะยังมีชีวิตอยู่ 2. เปลี่ยนภพชาติเมื่อสิ้นชีวิตแล้ว
การเปลี่ยนภพชาติจะเปลี่ยนแปลงไปตามกรรม และเปลี่ยนไม่มีที่สิ้นสุด จนกว่าจะหมดกรรม (หมดกิเลส หรือ
หมดกรรมกิเลส) หากเราสังเกตชีวิตของเราหรือคนรอบข้างอย่างมีสติ เราจะเห็นชัดเจนว่าการเปลี่ยนภพชาติเป็นไปตาม
กรรมที่เรากระทำ

การส่งผลของกรรมจะส่งผลช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้คือ

1. ความหนักเบาของกรรม กรรมที่มีน้ำหนักมาก จะส่งผลเร็ว กรรมที่มีน้ำ
หนักน้อย จะส่งผลช้า (ความหนักเบาของกรรมขึ้นอยู่กับเจตนาหรือความตั้งใจกรรมนั้น ๆ)
2. สิ่งแวดล้อม ที่คอยอุปถัมภ์ค้ำชูหรือคอยบั่นทอน เช่น มีพ่อแม่ ครูอาจารย์
คอยปกป้องคุ้มครอง หรือมีมารมาผจญเร่งให้ผลกรรมส่งผลเร็วขึ้น
3. ระยะเวลาในการส่งผล กล่าวคือเป็นไปตามโอกาส เช่น ช่องโหว่ระหว่าง
กรรมดีกับกรรมชั่ว โดยเป็นไปตามน้ำหนักหรือความรุนแรงของกรรมนั้น ๆ
4. โลกอื่น ๆ หรือ สังคมอื่น ซึ่งมีอิทธิพลต่อโลก อื่น สังคมอื่น หรือคนอื่น ๆ


ผลกรรมเนื่องจากการทุศีล ศีล 5

ผิดศีล ข้อที่ 1
อย่างหนัก ตกนรก
เศษของบาป กลับมาเกิดจะเป็นคนพิการ อายุสั้น มีคู่อาฆาตจองเวร
♥ ☺
ถ้ารักษาศีลข้อนี้ได้ จะมีร่างกายสมส่วน มีกำลังมาก ผิวพรรณเปล่งปลั่ง มีกิริยาวาจาเรียบร้อย อ่อนโยน มี
วาจาไพเราะ อายุยืน จะไม่ตายด้วยอุบัติเหตุ

ผิดศีล ข้อที่ 2
อย่างหนัก ตกนรก
เศษของบาป เกิดเป็นคนจนฝืดเคือง สมบัติที่หามาได้ จะพินาศเสียหายเพราะภัยพิบัติต่าง ๆ
♥ ☺
ถ้ารักษาศีลข้อนี้ได้ จะมีทรัพย์สินมาก ทำมาหากินคล่อง สมบัติเกิดง่าย จะรักษา
สมบัติที่หามาได้ก็จะรักษาและครอบครองไว้ได้ ไม่สูญหายจากภัยพิบัติต่าง ๆ จะไม่สูญเสียของรัก อยู่ที่ไหนก็มีความสุข

ผิดศีล ข้อที่ 3
อย่างหนัก ตกนรก
เศษของบาป จะมีชีวิตอยู่ก็จะถูกดูถูกดูแคลน มีศัตรูรอบด้าน เกิดชาติต่อ ๆ ไป จะบกพร่องทางเพศ ตามกำลัง
กำที่ทำ เช่น เป็นกะเทย เป็นโสเภณี หรือเจ็บช้ำน้ำใจเพราะคู่ครอง
♥ ☺
ถ้ารักษาศีลข้อนี้ได้ จะไม่มีศัตรู เป็นที่รักของทุกคน ไม่ต้องเกิดเป็นหญิงอีก แต่ถ้าเกิดเป็นหญิงก็จะเป็นกุล
สตรี เป็นผู้มีอำนาจมาก ครอบครัวอบอุ่นมีความสุข

ผิดศีล ข้อที่ 4
อย่างหนัก ตกนรก
เศษของบาป พูดจาไม่น่าเชื่อถือ ไม่มีใครเชื่อถือ ปากมีกลิ่นเหม็น จะถูกใส่ความเรื่อย ๆ ไป
♥ ☺
ถ้ารักษาศีลข้อนี้ได้ ต่อไปภายหน้าจะเป้นคนตัดสินใจเฉียบขาด ไม่พลาดพลั้งใน
การพูด พูดจาคนจะเชื่อถือ กลิ่นปากจะหอม ฟันสวยเรียบสม่ำเสมอ ไม่พูดติดอ่าง ริมฝีปากสีแดง ผิวพรรณผ่องใส

ผิดศีล ข้อที่ 5
อย่างหนัก ตกนรก
เศษของบาป เกิดในภพชาติต่อไปจะเป็นคนปัญญาอ่อน วิกลจริต
♥ ☺
ถ้ารักษาศีลข้อนี้ได้ จะเป็นคนมีสติปัญญาดี เฉียบแหลม ไม่วิกลจริต มี วาจาอ่อนหวานไพเราะมีบุคลิกดี

คัดลอกมาจาก //www.kroouraluck.com/pap-5-command.pdf




กรรมวิบาก และ อานิสงส์ของศีล ๕

กรรมวิบากของศีล ๕

ผู้ที่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่ ๑ คือประพฤติปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) ย่อมได้รับกรรมวิบาก ๕ สถาน ได้แก่.-


๑.ย่อมเกิดในนรก
๒.ย่อมเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
๓.ย่อมเกิดในกำเนิดเปตวิสัย (แดนแห่งเปรต)
๔.ย่อมเป็นผู้มีอวัยวะพิการ
๕.โทษเบาที่สุด หากเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมเป็นผู้มีอายุสั้น

ผู้ที่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่ ๒ คือประพฤติทินนาทาน(ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย/ลักทรัพย์) ย่อมได้รับกรรมวิบาก ๕ สถาน ได้แก่.-

๑.ย่อมเกิดในนรก
๒.ย่อมเกิดในกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉาน
๓.ย่อมเกิดในกำเนิดเปตวิสัย
๔.ย่อมเป็นผู้ยากจนเข็ญในไร้ที่พึง
๕.โทษเบาที่สุด หากเกิดเป็นมนุษย์ ทรัพย์ย่อมฉิบหาย

ผู้ที่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่ ๓ คือ ประพฤติผิดในกาม ย่อมได้รับกรรมวิบาก ๕ สถาน ได้แก่

๑.ย่อมเกิดในนรก
๒.ย่อมเกิดในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน
๓.ย่อมเกิดในกำเนิดเปตวิสัย
๔.ย่อมเป็นผู้มีร่างกายทุพลภาพ ขี้เร่ มากไปด้วยโรค
๕.โทษเบาที่สุด หากเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมเป็นผู้มีศัตรูรอบด้าน

ผู้ที่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่ ๔ คือประพฤติมุสาวาท พูดเท็จ ย่อมได้รับกรรมวิบาก ๕ สถาน ได้แก่.-


๑.ย่อมเกิดในนรก
๒.ย่อมเกิดในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน
๓.ย่อมเกิดในกำเนิดเปตวิสัย
๔.ย่อมเป็นผู้มีวาจาไม่เป็นที่เชื่อถือ มีกลิ่นปากเหม็นจัด
๕.โทษเบาที่สุด หากเกิดเป็นมนุษย์ จะถูกกล่าวตู่อยู่เสมอ


ผู้ที่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่ ๕ สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานนา คือผู้ดื่มสุราเมรัย ย่อมได้รับกรรมวิบาก ๕ สถาน ได้แก่.-


๑.ย่อมเกิดในนรก
๒.ย่อมเกิดในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน
๓. ย่อมเกิดในเปตวิสัย
๔.ย่อมเป็นผู้มีสติไม่สมประกอบ
๕.โทษเบาที่สุด หากเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมเป็นบ้า


อนึ่ง โทษแห่งการดื่มสุราเมรัยและเสพสิ่งเสพติดให้โทษซึ่งผู้ประพฤติย่อมได้รับโทษในปัจจุบัน ๖ อย่าง คือ


๑.เสียทรัพย์ ๒.ก่อการทะเลาะวิวาท
๓.เกิดโรค ๔.ถูกติเตียน
๕.เป็นผู้ไม่มียางอาย ๖.ทอนกำลังสติปัญญา



อานิสงส์แห่งการรักษาศีล ๕

สิกขาบทที่ ๑ ย่อมได้รับอานิสงส์ ๗ ประการ ได้แก่.-

๑.มีร่างกายสมส่วน ไม่พิการ
๒.เป็นคนแกล้วกล้าว่องไว มีกำลังมาก
๓.ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส ไม่เศร้าหมอง
๔.เป็นคนอ่อนโยน มีวาจาไพเราะ เป็นเสน่ห์แก่คนทั้งหลาย
๕.ศัตรูทำร้ายไม่ได้ ไม่ถูกฆ่าตาย
๖.มีโรคภัยเบียดเบียนน้อย
๗.ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน


สิกขาบทที่ ๒ ย่อมไดรับอานิสงส์โดยย่อ ๗ ประการ ได้แก่


๑.ย่อมมีทรัพย์สมบัติมาก
๒.แสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรมได้โดยง่าย
๓.โภคทรัพย์ที่หามาได้แล้วย่อมมั่นคงถาวร
๔.สมบัติไม่ฉิบหายเพราะโจรภัย อัคคีภัย และอุทกภัย เป็นต้น
๕.ย่อมได้รับอริยทรัพย์
๖.ย่อมไม่ได้ยินและรู้จักคำว่า "ไม่มี"
๗.อยู่ที่ไหนก็ย่อมเป็นสุข เพราะไม่มีใครเบียดเบียน


สิกขาบทที่ ๓ ย่อมมีอานิสงส์โดยย่อ ๗ ประการ ได้แก่


๑.ไม่มีศัตรูเบียดเบียน
๒.เป็นที่รักของคนทั้งหลาย
๓.มีทรัพย์สมบัติบริบูรณ์
๔.ไม่ต้องเกิดเป็นหญิงหรือเป็นกระเทยอีก
๕.เป็นผู้สง่า มีอำนาจมาก
๖.มีอินทรีย์ ๕ บริบูรณ์
๗.มีความสุข ไม่ต้องทำงานหนัก


สิกขาบทที่ ๔ คือ ย่อมมีอานิสงส์โดยย่อ ๗ ประการ ได้แก่


๑.มีอินทรีย์ ๕ ผ่องใส
๒.มีวาจาไพเราะ มีไรฟันสม่ำเสมอเป็นระเบียบดี
๓.มีร่างกายสมส่วนบริบูรณ์ ผิวพรรณเปล่งปลั่ง
๔.มีกลิ่นปากหอมเหมือนกลิ่นดอกบัว
๕.มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เชื่อถือของคนทั่วไป
๖.ไม่เป็นอ่าง ไม่เป็นใบ้
๗.มีริมฝีปากแดงระเรื่อและบาง


สิกขาบทที่ ๕ มีอานิสงส์โดยย่อ ๖ ประการ ได้แก่


๑.รู้จักอดีต อนาคต ปัจจุบันได้รวดเร็ว
๒.มีสติตั้งมั่นทุกเมื่อ
๓.มีความรู้มาก มีปัญญามาก
๔.ไม่บ้า ไม่ใบ้ ไม่มัวเมาหลงไหล
๕.มีวาจาไพเราะ มีน้ำคำเป็นที่น่าเชื่อถือ
๖.มีความซื่อสัตย์ สุจริตทั้งกาย วาจา ใจ


อานิสงส์โดยย่อของการรักษาศีล


การรักษาศีลย่อมมีอานิสงส์มากมายจนสุดที่จะบรรยายให้ไหมดได้ แต่เมื่อกล่าวโดยหลักใหญ่ ๆ ซึ่งปรากฏในคำกล่าวสรุปหลังจากที่พระท่านให้ศีลว่ามี ๓ ประการ คือ


๑.ศีลเป็นเหตุให้ไปสู่สุคติ (สีเลนะ สุคติง ยันติ)
๒.ศีลเป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ (สีเลนะ โภคะสัมปะทา)
๓.ศีลเป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน (สีเลนะ นิพพุติง ยันติ)


และเมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ศีลนั้นมี "ความไม่เดือดร้อน" เป็นอานิสงส์ที่สูงสุด


วิธีการหรือขั้นตอนการสมาทานศีล

เบื้องต้น ผู้ต้องการจะสมาทานศีล พึงจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย เสร็จแล้วกล่างคำบูชาพระรัตนตรัย ดังต่อไปนี้

คำกล่าวบูชาพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์, บริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย, ได้ตรัสรู้ถูกถ้วนดีแล้ว,
อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ, ข้าพเจ้าบูชา, ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ (กราบ ๑ ครั้ง)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,พระธรรมคือศาสนา อันพระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงไว้ดีแล้ว
อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ, ข้าพเจ้าบูชา, ซึ่งพระธรรมเจ้านั้น, ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ (กราบ ๑ ครั้ง)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, หมู่พระสงฆ์ผู้เชื่อฟัง, ของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว
อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ, ข้าพเจ้าบูชา ซึ่งหมู่พระสงฆะเจ้านั้น, ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ (กราบ ๑ ครั้ง)

หลังจากที่ได้กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัยแล้ว พึงตั้งใจให้แน่วแน่ที่จะสมาทานศีล เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติให้เกิดความปกติทางกาย วาจา โดยกล่าวคำอาราธนาศีล ดังต่อไปนี้

คำอาราธนาศีล ๕

มะยัง ภันเต, วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ, ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต, วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ,ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ, ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต,วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ,ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
หมายเหตุ.- ถ้าคนเดียวทั้งอาราธนาศีลและรับศีลให้เปลี่ยน มะยัง เป็น อะหัง,
เปลี่ยน ยาจามะ เป็น ยาจามิ นอกนั้นเหมือนกันหมด

พึงนั่งให้เรียบร้อย สำรวมกาย วาจา ใจ แล้วคำคำสมาทานศีล โดยกล่าวตามพระภิกษุ สามเณร หรือผู้มีศีล ตามลำดับ ดังต่อไปนี้

คำนมัสการ


นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

(แปลว่า ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง, >>>>>ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง, >>>>>ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง)

คำปฏิญาณตนถึงไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

(แปลว่า ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และ พระสงฆเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกในการดำเนินชีวิต
>>>>>แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และ พระสงฆเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกในการดำเนินชีวิต
>>>>>แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และ พระสงฆเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกในการดำเนินชีวิต)

ต่อจากนี้พระท่านจะกล่าวว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง ผู้รับศีลพึงรับพร้อม ๆ กันว่า
"อามะ ภันเต"แล้วตั้งใจสมาทานศีล(รับศีล)ตามที่พระท่านนำกล่าวสมาทานต่อไปว่า.-


ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการฆ่า การเบียดเบียน การทำร้ายร่างกายคนและสัตว์ แล้วมีจิตใจประกอบด้วยเมตตากรุณา มีความปรารถนาดี และสงสารเห็นอกเห็นใจผู้อื่นสัตว์อื่น)

อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมยหรือโจร อันได้แก่ ลัก ฉก ชิง วิ่งราว ขู่กรรโชก ขู่เข็ญ ปล้น จี้ ตู่ ฉ้อโกง หลอก ลวง ปลอม ตระบัด เบียดบัง สับเปลี่ยน ลักลอบ ยักยอก และรับสินบน แล้วเป็นผู้มีความขยันประกอบสัมมาชีพ บริจาคทาน และเคารพในกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น)

กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นเว้นจากการประพฤติผิดในกาม)

มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากมุสาวาท)

สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการดื่มน้ำเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท อันได้แก่ น้ำสุรา เมรัย เครื่องดื่มมึนเมาอื่น ๆ และการเสพยาเสพติดอื่นๆ เช่น ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา ยาบ้า ฯลฯ)

(ต่อจากนี้พระท่านจะกล่าว ผู้รับศีลไม่ต้องว่าตาม)

อิมานิ ปัญจะสิกขาปะทานิ,
สีเลนะ สุคะติง ยันติ, สีเลนะ โภคะสัมปะทา,
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ, ตัสฺมา สีลัง วิโสธะเย.


ผู้รับศีลพึงรับพร้อม ๆ กันว่า "สาธุ ภันเต" เสร็จแล้วไหว้ หรือ กราบตามสมควรแก่กรณี


Create Date : 18 มีนาคม 2552
Last Update : 18 มีนาคม 2552 15:59:55 น. 0 comments
Counter : 1397 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

=Neo=
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add =Neo='s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.