What am I looking for?
Group Blog
 
All blogs
 
Are you ready for the visa?

ขั้นตอนสำคัญต่อไปหลังจากได้ใบรับรองจากสท. แล้วก็คือ การยื่นเอกสารสำหรับขอวีซ่า ซึ่งเป็น Work and Holiday Visa Subclass 462 โดยยื่นผ่าน VFS ซึ่งเป็นตัวแทนในการยื่นวีซ่าให้กับสถานฑูตออสเตรเลีย แต่ไม่ได้มีผลในการตัดสินว่าวีซ่าเราจะผ่านหรือไม่ สามารถขึ้น BTS ไปลงที่สถานีสุรศักดิ์ได้เลย

จากข้อมูลของสท. เอกสารที่ใช้ในการยื่นวีซ่ามีดังนี้

- แบบฟอร์ม 1208 สามารถ download ได้จากเวบไซต์ของสถานฑูตออสเตรเลีย (www.immi.gov.au)

- หนังสือรับรองจากสท. (ใช้ต้นฉบับ)

- passport

- หลักฐานการศึกษา (transcript และ ใบรับรองการสำเร็จการศึกษา

- หลักฐานการเงิน AUD 5000 (ใช้ต้นฉบับ)

- ใบเสร็จตรวจสุขภาพจากโรงพยาบาลที่สถานฑูตกำหนด

- ผล IELTS

- แผนการเดินทางคร่าวๆ 1 แผ่น A4 เป็นภาษาอังกฤษ

- Parent Permission Letter download ได้จากเวบไซต์ของสท.(www.opt.go.th)

- ประกันสุขภาพ

ที่สำคัญที่สุด เตรียมเงินมาจ่ายค่าสมัครวิซ่า 7400 บาท (ค่าดำเนินงานโดย VFS 535 บาท บวกค่าธรรมเนียม cashier cheque 35 บาท รวมทั้งหมด 7970 บาท) หากเราโดน reject ทางสถานฑูตเค้าจะไม่คืนเงินค่าสมัครให้

ข้อมูลของสท. มีข้อมูลสำหรับเท่านี้ ดังนั้นเวบไซต์ //www.thaiwahclub.com จึงมีบทบาทสำคัญมากๆ สำหรับคนที่ไม่รู้ว่าจะเตรียมเอกสารยังไงอย่างเรา (วันที่เราไปรับเอกสารมีคนเตรียมเอกสารไปเท่าที่ข้อมูลของสท. บอกจริงๆ ไม่ได้หาข้อมูลเพิ่มเติมเลย จึงทำให้ต้องเสียเวลาในการมายื่นเอกสารเพิ่มเติมอีก จะโทษว่าสท. ให้ข้อมูลไม่ละเอียดอย่างเดียวไม่ได้ ต้องโทษผู้สมัครด้วย ว่าไม่มีการขวนขวายหาข้อมูลเพิ่มเติมเลย)

ดังนั้นเอกสารที่ต้องเตรียมเพิ่มเติมคือ

- สำเนาบัตรประชาชน ทั้งแบบดั้งเดิมและแบบแปลเป็นภาษาอังกฤษ ถึงแม้ว่าเป็นแบบ smard card ก็ต้องแปล เพราะว่าที่อยู่ยังเป็นภาษาไทย

- สำเนาทะเบียนบ้าน ทั้งแบบดั้งเดิมและแบบแปลเป็นภาษาอังกฤษ

- สำเนาบัตรประชาชนของผู้ปกครอง ทั้งแบบดั้งเดิมและแบบแปลเป็นภาษาอังกฤษ

- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ปกครอง ทั้งแบบดั้งเดิมและแบบแปลเป็นภาษาอังกฤษ

สำหรับผู้ชายต้องแปลเอกสารทางการทหารด้วย

รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ

- หนังสือรับรองจากสท. มีอายุ 1 ปี เมื่อเราได้รับหนังสิอรับรองแล้วสามารถนำมายื่นขอวีซ่าได้ภายในเวลา 1 ปี

- วีซ่ามีอายุ 1 ปี เมื่อเราได้วีซ่าแล้ว เราสามารถเดินทางได้ภายในเวลา 1 ปี

- เราสามารถทำงานและท่องเที่ยวได้เป็นเวลา 1 ปี โดยนับจากวันแรกที่เดินทางเข้าออสเตรเลีย แต่ว่าห้ามทำงานกับนายจ้างใดนายจ้างหนึ่งเกินกว่า 6 เดือน

- เราตรวจสุขภาพกับโรงพยาบาลกรุงเทพ ใช้เวลาประมาณ 2-3 ชีวโมง ควรเตรียมตัว download แบบฟอร์มสำหรับตรวจสุขภาพและกรอกให้เรียบร้อยล่วงหน้า ถึงแม้ว่าทางโรงพยาบาลจะมีแบบฟอร์มให้ก็ตาม ค่าใช้จ่าย 1590 ตรวจร่างกายทั่วไป ตรวจปัสสาวะ และ x-ray ปอด

- เราทำประกันภัยการเดินทางรายปีของ Chartis แบบ 365 วัน โดยคุ้มครองสูงสุด 120 วัน

- แผนการเดินทางต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ คือ ทำงานและท่องเที่ยว ไม่ใช่ทำงาน make money อย่างเดียว อาจมีผลต่อการพิจารณาวีซ่าได้ เราหาช้อมูลจากหนังสือ "ใครๆ ก็ไปเที่ยวออสเตรเลีย"

- เรา print ตั๋วเครื่องบินแบบ e-ticket แนบไปด้วย เป็นตั๋วไปอย่างเดียว ไม่จำเป็นต้องเป็นตั๋วไป-กลับ จริงๆ แล้วไม่จำเป็นต้องแนบก็ได้ เราบินไปกับสายการบิน Jetstar กรุงเทพ-เมลเบิร์น แบบ direct flight

เมื่อเอกสารครบถ้วนแล้วก็ถึงเวลายื่นวีซ่าที่ VFS วันที่ 3 สิงหาคม 2010 ค่าสมัครวิซ่าสามารถชำระที่ VFS ได้เลยหรือจะซื้อ cashier cheque จากธนาคารก็ได้ จากนั้นรอประมาณ 10 วันทำการ เช็ค status ของหนังสือเดินทางของเราได้จากเวบไซต์ของ VFS (www.vfs-au.net) หาก ready for collection แสดงว่าสามารถไปรับ passport ได้แล้ว ปัจจุบันวีซ่าเป็นแบบ electronic visa แล้ว จึงไม่มีการแปะวีซ่าที่หน้า passport อีกต่อไป แต่สถานฑูตก็จะให้เอกสารเพื่อบอกว่าวีซ๋าเราเป็นลำดับที่เท่าไหร่ และหมายเลขอะไร เราได้วีซ่ามาครองครองเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2010 จริงๆ แล้วได้ตั้งแต่วันที่ 17 แล้ว แต่ว่ายังขี้เกียจไปรับ ไม่ต้องกังวลไปเกินกว่าเหตุ หากเราเตรียมเอกสารครบถ้วนและถูกต้องแล้ว ไม่มีเหตุผลอะไรที่สถานฑูตจะ reject วีช่าเรา

ทำตามกติกา เราก็จะได้วีซ่ามาอย่างสบายใจ ใช่มั้ย?










Create Date : 27 สิงหาคม 2553
Last Update : 27 สิงหาคม 2553 15:32:23 น. 1 comments
Counter : 609 Pageviews.

 


โดย: นนนี่มาแล้ว วันที่: 27 สิงหาคม 2553 เวลา:10:12:17 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

CiPherKey
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




I'm just a girl.

Background.MyEm0.Com
Friends' blogs
[Add CiPherKey's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.