เสริมสิริมงคลสงกรานต์ สรงน้ำ ‘9เทพนพเคราะห์’



กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ขอเชิญประชาชนร่วมสรงน้ำพระบรมธาตุ และเทพนพเคราะห์ เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 12-14 เมษายน 2559 ในเวลา 09.00-16.00 น. ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ

 

ประเพณีสงกรานต์  ถือเป็นประเพณีปีใหม่ของไทย โดยกำหนดให้วันแรกของเทศกาลเป็นวันที่พระอาทิตย์ย้ายออกจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ เรียกว่า “วันมหาสงกรานต์” วันถัดมาเรียกว่า "วันเนา" และวันสุดท้าย เรียกว่า "วันเถลิงศก"  ปัจจุบันปฏิทินไทยกำหนดให้วันที่ ๑๓ – ๑๕ เมษายน  เป็นเทศกาลสงกรานต์  พิธีกรรมเนื่องในเทศกาลสงกรานต์  ใช้น้ำเป็นหลัก  เพื่อผ่อนคลายความร้อน ได้แก่  การรดน้ำให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น  มีการรดน้ำอัฐิเป็นการแสดงความรำลึกถึง บรรพบุรุษ  การสรงน้ำพระพุทธรูป  เจดียสถาน  พระสงฆ์  และรดน้ำขอพรจากผู้ใหญ่  ในพิธีหลวงมีการสรงสนานเป็นสิริมงคลเมื่อ  ย่างเข้าสู่ปีใหม่  ปัจจุบันเทศกาลสงกรานต์มีพัฒนาการ  และแนวโน้มคลาดเคลื่อนไป  โดยมุ่งแสดงความหมายเป็นแต่เพียงประเพณีเล่นน้ำ  ทำให้ประเพณีที่ดีงามของไทยเสื่อมคลายความหมายที่ดีงามไป

แต่รากฐานวัฒนธรรมดั้งเดิม ก็จะมีความเชื่อว่าแต่ละคนเมื่อเกิดมาจะมีเทวดานพเคราะห์ประจำวันเกิด และในแต่ละช่วงชีวิตเทวดานพเคราะห์จะหมุนเวียนเข้าเสวยอายุ กำหนดปีการเสวยอายุตามกำลังของเทวดาแต่ละองค์ ซึ่งจะส่งผลร้ายหรือดีต่อมนุษย์ขึ้นอยู่กับประเภทของเทวดานพเคราะห์ว่าเป็นฝ่ายบาปเคราะห์หรือศุภเคราะห์ หรือความเข้ากันได้หรือไม่กับเทวดาประจำวันเกิด

เทพนพเคราะห์ คือ เทพทั้ง ๙ องค์ ผู้ครองเรือนชะตาของมนุษย์

ความเชื่อเรื่องเทพนพเคราะห์  มีต้นกำเนิดมาจากโหราศาสตร์ฮินดูที่นับถือพระสุริยเทพ (พระอาทิตย์) ซึ่งมีเทพบริวารอีก ๘ องค์ รวมเป็น ๙ องค์ ซึ่งให้โทษหรือสร้างอุปสรรคให้กับมนุษย์มากกว่าจะให้คุณ ต่อมาจึงต้องมีผู้ควบคุมเทพนพเคราะห์อีกชั้นหนึ่ง นั่นคือ พระคเณศ เทพผู้เป็นใหญ่เหนืออุปสรรคทั้งมวล เทพนพเคราะห์ทั้ง ๙ องค์ ประกอบด้วย

ที่มา thaitribune




 

Create Date : 12 เมษายน 2560    
Last Update : 12 เมษายน 2560 20:02:23 น.
Counter : 250 Pageviews.  

แอมแนสตี้เผยจีนครองแชมป์ประหารชีวิตมากสุดในโลก และไทยยังเป็นประเทศส่วนน้อยที่ใช้โทษประหารชีวิตอยู่



แอมเนสตี้ เปิดรายงานสถานการณ์โทษประหารชีวิตทั่วโลกปี 2559 พบจีนประหารชีวิตประชาชนมากที่สุดในโลก ขณะไทยเป็นส่วนน้อยที่ใช้โทษประหารชีวิตอยู่ และไม่มีการประหารชีวิตนักโทษมา 8 ปีแล้ว

 

เมื่อวันที่ 11เม.ย. 2560 - แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดเผยรายงานสถานการณ์โทษประหารชีวิตและการประหารชีวิตของปี 2559 พบว่าการประหารชีวิตส่วนใหญ่ในโลกเกิดขึ้นในประเทศจีน อิหร่าน ซาอุดิอาระเบีย อิรักและปากีสถาน ตามลำดับ  ส่วนไทยยังคงเป็นหนึ่งใน 57 ประเทศที่ยังใช้โทษประหารชีวิต ในขณะที่อีก 141 ประเทศทั่วโลกยกเลิกโทษประหารชีวิตทั้งในทางกฎหมายหรือในทางปฏิบัติแล้ว​

ในรายงาน “สถานการณ์โทษประหารชีวิตและการประหารชีวิตในปี 2559” (Death Sentences and Executions in 2016) ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลที่เผยแพร่ในวันที่11 เม.ย. 60 ยืนยันว่าแนวโน้มทั่วโลกมุ่งสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิต โดยในปี 2559 มีประชาชนอย่างน้อย 1,032 คนที่ถูกประหารชีวิตใน 23 ประเทศ หรือหนึ่งใน 10 ของประเทศทั่วโลกเท่านั้นที่ยังทำการประหารชีวิต และจีนยังคงเป็นประเทศที่ประหารชีวิตประชาชนมากที่สุดในโลก แต่ไม่ทราบจำนวนการใช้โทษประหารชีวิตที่แท้จริงในประเทศได้ เนื่องจากทางการจีนเก็บข้อมูลเหล่านี้เป็นความลับของชาติ ตัวเลขการประหารชีวิตระดับโลกอย่างน้อย 1,032 กรณีจึงไม่ครอบคลุมการประหารชีวิตที่คาดว่าเกิดขึ้นหลายพันกรณีในจีน

ในปัจจุบันมี 141 ประเทศหรือมากกว่า 2 ใน 3 ของประเทศทั่วโลกที่ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตทั้งในทางกฎหมายหรือในทางปฏิบัติแล้วและในอาเซียนซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 10 ประเทศนั้น กัมพูชาและฟิลิปปินส์ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับความผิดทางอาญาทุกประเภทแล้ว ส่วนลาว พม่า และบรูไนได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติ (หมายถึงการที่ยังคงไว้ซึ่งโทษประหารชีวิต แต่ได้ระงับการประหารชีวิตจริงเป็นระยะเวลา 10 ปีติดต่อกัน) ส่วนประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์และเวียดนามยังคงมีและใช้โทษประหารชีวิตอยู่

ขณะที่ นางปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยเปิดเผยว่าสำหรับประเทศไทย มีการประหารชีวิตครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2552 ขณะนี้ไทยได้ก้าวเข้าสู่ปีที่แปดที่ไม่มีการประหารชีวิตจริง ซึ่งหากไม่มีการประหารชีวิต 10 ปีติดต่อกัน ทางองค์การสหประชาชาติจะถือว่าไทยเป็นประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติทันที ซึ่งจะถือเป็นพัฒนาการที่ดีด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยอีกก้าวหนึ่ง

ทั้งนี้แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลคัดค้านโทษประหารชีวิตทุกกรณีโดยไม่มีข้อยกเว้น ไม่ว่าจะเป็นความผิดทางอาญาประเภทใด ไม่ว่าผู้กระทำผิดจะมีบุคลิกลักษณะใด หรือไม่ว่าทางการจะใช้วิธีประหารชีวิตแบบใด โทษประหารชีวิตละเมิดสิทธิที่จะมีชีวิตตามที่ประกาศไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และถือเป็นการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมทั้งมีงานวิจัยมากมายจากนานาประเทศได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าโทษประหารชีวิตไม่มีความเชื่อมโยงใด ๆ กับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของอาชญากรรมที่เกิดขึ้น

ที่มา thaitribune




 

Create Date : 11 เมษายน 2560    
Last Update : 11 เมษายน 2560 15:22:12 น.
Counter : 254 Pageviews.  

สะท้อนมุมมอง ถอยคำสั่ง ‘ห้ามนั่งท้ายกระบะ’ โดย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)



นักวิจัยทีดีอาร์ไอ สะท้อนมุมมอง รัฐถอยคำสั่ง ‘ห้ามนั่งท้ายกระบะ’ ตอกย้ำ การบังคับและใช้กฎหมายเพียงอย่างเดียวไม่ช่วยแก้ปัญหา ทั้งยังมีแรงต้านจากสาธารณะ เสนอปรับแนวคิดลดอุบัติช่วงเทศกาล รวมทั้งก่อนและหลัง 7 วันอันตราย พร้อมทางแก้ยกระดับความปลอดภัยผู้ใช้รถใช้ถนน

 

นางสาวณัชชา โอเจริญ และ นางสาวณิชมน ทองพัฒน์ นักวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)  ให้มุมมองว่า การถอยคำสั่ง มาตรา 44 ห้ามนั่งท้ายกระบะช่วงสงกรานต์ กรณีนี้ได้รับแรงต้านจากสาธารณะ เพราะผู้กำหนดนโยบายเน้นที่การบังคับใช้กฎหมาย โดยประชาชนและปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่นยังไม่พร้อม อีกทั้งขาดการดำเนินกลยุทธ์สร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชน และถึงแม้ประชาชนจะตระหนักถึงความเสี่ยงอันตรายหากนั่งและใช้รถผิดประเภท แต่ประชาชนก็ยังขาดทางเลือกอื่นในการเดินทาง โดยเฉพาะรถโดยสารสาธารณะที่ปลอดภัยและเพียงพอ

 “ถึงแม้ว่าภาครัฐจะระบุว่ามาตรา 44 นี้ เป็นเพียงแค่การบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่แล้ว แต่จะเห็นได้ว่า การที่ภาครัฐไม่ได้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่อง และมีการอะลุ่มอล่วยให้มีการนั่งท้ายกระบะหลังมาเป็นเวลานาน  อีกทั้งภาครัฐมีการอนุญาตให้ใช้งานรถที่มีลักษณะเช่นเดียวกัน เช่น รถสองแถว ซึ่งมีมาตรฐานด้านความปลอดภัยที่ไม่แตกต่างจากการนั่งท้ายกระบะหลังเท่าไรนัก  ทำให้ประชาชนตั้งข้อสงสัยกับการดำเนินนโยบายของรัฐ  ทั้งนี้รัฐต้องสื่อสารต่อสาธารณะถึงข้อเท็จจริงของอันตรายจากการใช้รถผิดประเภท หรือการนั่งท้ายและนั่งเบาะหลังกระบะ (บางรุ่น) เพราะไม่มีเข็มขัดนิรภัย ควบคู่กับการเน้นให้ข้อมูลความรู้ถึงความคุ้มค่าในการเลือกใช้รถที่ได้มาตรฐานเพื่อป้องกันและลดความสูญเสียในอนาคต”

“สิ่งสำคัญที่ภาครัฐควรคำนึงถึงและพิจารณาอีกประการคือ ความจำเป็นหรือข้อจำกัดของประชาชนบางส่วนที่ต้องเลือกใช้รถกระบะ เพราะอาจตอบสนองการใช้งานได้ทั้งการเดินทางและประกอบอาชีพ เป็นต้น ดังนั้น การเพิ่มทางเลือกให้ประชาชน โดยการจัดให้มีรถโดยสารสาธารณะที่เพียงพอ และรัฐสามารถควบคุม ยืนยันความปลอดภัยได้ จะช่วยให้ประชาชนลดความเสี่ยงจากการใช้รถส่วนตัว” นางสาวณิชมน ทองพัฒน์ กล่าว

เปิดตัวเลขสถิติสงกรานต์ย้อนหลัง ตั้งแต่ 2557 เพิ่มขึ้น ตั้งข้อสังเกตมาตรการที่ใช้ยังไม่ตรงจุด

จากสถิติของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนในปี 2559 พบว่า ดัชนีความรุนแรงของอุบัติเหตุ (จำนวนผู้เสียชีวิตต่อจำนวนอุบัติเหตุ 100 ครั้ง) ในช่วงสงกรานต์อยู่ที่ 12.8 เพิ่มขึ้นจาก 10.8 ในปี 2557 และ 2558 กล่าวคืออุบัติเหตุทางถนนทุก 100 ครั้ง ในปี 2559 มีคนเสียชีวิต เพิ่มขึ้นจากเดิม 2 คน

โดยถนนของกรมทางหลวงและองค์การบริหารส่วนตำบลหรือหมู่บ้าน มีจำนวนการเสียชีวิตสูงที่สุดซึ่งคิดเป็น 38% และ 36% ตามลำดับ และรถจักรยานยนต์ยังครองแชมป์ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุและเสียชีวิตสูงสุด โดยในปี 2559 มีสัดส่วนคิดเป็น 35% สำหรับจำนวนอุบัติเหตุ และ 65% สำหรับการเสียชีวิต รองลงมาคือรถกระบะ ที่มีสัดส่วน 29% และ 16% สำหรับจำนวนอุบัติเหตุและการเสียชีวิต ตามลำดับ

“จากสถิติเห็นได้ว่า อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ คือ พาหนะที่มีความเสี่ยงสูงมากที่สุดในช่วงสงกรานต์ ซึ่ง คำสั่งมาตรา 44 (ม.44) โดย คสช. ที่ออกมานั้นมีเรื่องการบังคับใช้เข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง การเพิ่มความปลอดภัยของ รถตู้โดยสารสาธารณะ การลงโทษหากไม่เสียค่าปรับเมื่อได้รับใบสั่ง รวมทั้งกรณีห้ามนั่งท้ายรถกระบะนั้น ทั้งหมดไม่ได้ครอบคลุมหรือเน้นป้องกันอุบัติเหตุขรถจักรยานยนต์” นางสาวณัชชา โอเจริญ ตั้งข้อสังเกต

เผยสาเหตุอุบัติเหตุในช่วงสงกรานต์ ต่างจากช่วง ก่อน/หลัง 7 วันอันตราย  แนะออกแบบมาตรการความปลอดภัยให้เหมาะสม

แม้อุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์จะสร้างความสูญเสียไม่น้อย แต่นักวิจัยเห็นว่า การดำเนินมาตรการต่างๆ ไม่ควรมุ่งเน้นที่ช่วงเทศกาลอย่างเดียวเท่านั้น เนื่องจากจำนวนอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์มีสัดส่วนร้อยละ 5 ของอุบัติเหตุทางถนนทั้งปี และการออกมาตรการต่างๆควรทบทวนไปถึงสาเหตุของอุบัติที่ครอบคลุมทั้ง 3 ปัจจัย คือ “คน-รถ-ถนน”

-ปัจจัยด้านคนต้องบังคับใช้กฎหมายที่ป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงให้ได้ผลอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะพฤติกรรมเมาแล้วขับ การขับขี่เร็วเกินกำหนด การใช้รถผิดวิธี และการไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัย

-ปัจจัยด้านรถ ต้องให้ความสำคัญกับการตรวจสอบสภาพรถและอุปกรณ์นิรภัย โดยเฉพาะรถโดยสารสาธารณะ ส่วนปัจจัยด้านถนนที่ส่งผลอย่างมากต่อความรุนแรงของอุบัติเหตุ หน่วยงานที่รับผิดชอบต้องลดจุดเสี่ยงให้น้อยที่สุด กำจัดสิ่งกีดขวางข้างทาง และติดตั้งวัสดุที่ลดความรุนแรงของอุบัติเหตุ

โดยปัจจัยทั้ง 3 นี้ต้องศึกษาแยกส่วนตามช่วงเวลาเพื่อออกแบบมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุดทั้งระบบ ข้อเสนอจากนักวิจัยจึงแบ่งมาตรการความปลอดภัยออกเป็น 2 ช่วง คือ 1) ช่วงฉลองเทศกาล และ 2) ช่วงเดินทางไป/กลับในช่วงเทศกาล ซึ่งขึ้นกับการสร้างระบบความปลอดภัยตั้งแต่ในช่วงปกติ

ช่วงฉลองเทศกาล การดื่ม-เมาแล้วขับ คือสาเหตุสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุ และการไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัย ทำให้อุบัติเหตุรุนแรงมากขึ้น

ช่วงการฉลองเทศกาล คือ ช่วง 12-14 เมษายน เป็นช่วงที่มีการเกิดอุบัติเหตุสูง โดยผู้ใช้รถใช้ถนนมักเดินทางระยะใกล้เพื่อไปเฉลิมฉลอง จึงมีผู้ดื่มหรือเมาแล้วขับจำนวนมาก ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ และหากผู้ขับขี่รวมทั้งผู้โดยสารไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัย จะยิ่งเป็นเหตุให้อุบัติเหตุรุนแรงมากขึ้น

โดยสถิติช่วงสงกรานต์ยังบ่งชี้ว่า ในช่วงกลางคืนหรือช่วงเวลา 16.01-20.00 น. มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด โดยเฉพาะในปี 2559 ซึ่งมีการจัดกิจกรรมมิดไนท์สงกรานต์ในหลายจังหวัด ทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นในช่วงเวลา 20.01-24.00 และ 00.01-04.00 น.

ส่วนมาตรการต่างๆที่ผ่านมา ถือว่ามีความพยายามพัฒนามาต่อเนื่อง ซึ่งลดความเสี่ยงได้บ้าง อย่างการ ตั้งด่าน ทั้งจุดตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐและชุมชน ซึ่งปี 2559 สามารถเพิ่มการจับกุม ดำเนินคดีกับผู้เมาแล้วขับได้เพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์จากปีก่อนหน้า ดังนั้นจึงควรขยายผลให้ครอบคลุมในพื้นที่ต่างๆมากขึ้น โดยต้องมีแนวทางช่วยส่งเสริมให้มาตรการนี้เกิดความยั่งยืน ด้วยการจัดสรรงบประมาณในการตั้งด่าน กำลังคนและค่าตอบแทนบุคลากร รวมทั้งการจัดหาอุปกรณ์ที่เหมาะสมเพียงพอ นอกจากนี้ ควรมีการจัดพื้นที่ในการเล่นน้ำสงกรานต์ (Zoning) พร้อมทั้งมีบริการรถโดยสารสาธารณะที่ได้มาตรฐานและควบคุมความปลอดภัยทั้งคนขับ รถ และถนนได้

ช่วงเดินทางไป/กลับในช่วงเทศกาล พฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การขับเร็ว ตัดหน้ากระชั้นชิด และหลับใน  คือสาเหตุสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุ

ที่ผ่านมาประสิทธิผลของมาตรการเพื่อความปลอดภัยในระยะนี้ การควบคุมพฤติกรรมเสี่ยง ยังทำได้ไม่ครอบคลุม เนื่องจากเจ้าหน้าที่เน้นการอำนวยความสะดวกในการเดินทางเป็นหลัก โดยการจับกุมและลงโทษผู้ขับรถเร็วเกินกำหนดที่ทำได้ไม่ครอบคลุมตั้งแต่ช่วงเวลาปกติ ดังนั้นจะทำให้คนรับรู้และเปลี่ยนพฤติกรรมได้เพียงเวลาจำกัดในช่วงเทศกาลจึงเป็นไปได้ยาก อีกทั้งยังขาดการจัดการที่ครอบคลุมด้านถนนและสิ่งแวดล้อมข้างทาง ทั้งต้นไม้ ป้าย และเสาไฟ ตั้งแต่ในช่วงเวลาปกติเช่นเดียวกัน

“ปัจจัยด้านถนน มีความสำคัญมาก จึงควรออกแบบจัดการให้มีความปลอดภัยตั้งแต่ต้น และแจ้งเตือนการใช้เส้นทางจุดเสี่ยงด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ จะเห็นว่าประสิทธิผลของมาตรการในช่วงต้นหรือปลายของช่วง 7 วันอันตรายนั้น ขึ้นอยู่กับการสร้างระบบความปลอดภัยในช่วงเวลาปกติเป็นสำคัญ”  นางสาวณัชชา โอเจริญ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอเพื่อยกระดับความปลอดภัยที่ครอบคลุมจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย ผสานกับกลไกที่ส่งเสริมให้ผู้ใช้รถใช้ถนนระมัดระวัง โดยนักวิจัยได้ให้ข้อเสนอดังนี้

- ผู้ใช้รถใช้ถนน ต้องได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องความปลอดภัย มากไปกว่ากรรับรู้เฉพาะข้อกฎหมายในการใช้รถและถนน เช่น โอกาสรักษาชีวิตให้รอดปลอดภัยเมื่อใช้อุปกรณ์นิรภัย ซึ่งสามารถดำเนินการผ่านกลไกการอบรมและการสอบใบขับขี่ ควบคู่ไปกับการผลักดันให้เกิดกลไกความรับผิดให้เกิดขึ้นจริง โดยเฉพาะผู้เมาแล้วขับ ที่จะมีผลต่อการระงับหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ ส่วนการแก้ไขการขับขี่เร็ว ควรมีการสนับสนุนเทคโนโลยีที่สามารถช่วยจำกัดความเร็วไม่ให้เกินกำหนด และหรือลดความรุนแรงจากการชนได้

- ภาครัฐควรสร้างความร่วมมือกับผู้ผลิตและจำหน่ายรถในประเทศ ให้มีการติดตั้งอุปกรณ์นิรภัยให้ครบ และงดจำหน่ายรถที่ไม่มีมาตรฐาน ด้วยมาตรการต่างๆ เช่น การจูงใจทางภาษีฯ หรือการส่งเสริมให้ผู้ขายทำการตลาดเพื่อจูงใจให้ผู้ซื้อหันมาใช้รถที่ได้มาตรฐาน

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางถนนควรแก้ไขจุดเสี่ยงของถนน ปรับความสว่างและสิ่งแวดล้อมข้างทางให้ช่วยลดความรุนแรงหากเกิดอุบัติเหตุตลอดช่วงเทศกาล และในช่วงปกติ ประกอบกับการจำกัดประเภทของรถที่สามารถใช้ผ่านได้ในแต่ละเส้นทาง อีกทั้งมีจุดพักรถที่ได้มาตรฐาน ที่มีระบบตรวจสอบความพร้อมของรถและคนขับไว้บริการ ตลอดจน มีทีมสืบสวนสอบสวนหลังเกิดอุบัติเหตุโดยเฉพาะอุบัติเหตุใหญ่ (มีผู้เสียชีวิต 2 คนขึ้นไป หรือ มีผู้บาดเจ็บที่เป็นผู้ป่วยใน 4 คนขึ้นไป หรือ ผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต 4 คนขึ้นไป หรือ มีมูลค่าความเสียหายไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาท) เพื่อนำผลไปใช้ในการหาสาเหตุและจัดการความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น

“นอกจากการป้องกันและแก้ปัญหา คน  รถ ถนน แล้ว หนทางสำคัญที่ช่วยยกระดับความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตประชาชนที่ดีอย่างยั่งยืน คือ  การปรับปรุงบริการรถโดยสาธารณะให้มีมาตรฐานและมีเพียงพอ เพื่อเพิ่มทางเลือกในการเดินทางให้กับประชาชน  และช่วยลดความเสี่ยงจากการใช้รถส่วนตัวที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือผู้ขับอยู่ในสภาพไม่พร้อม” นางสาวณิชมน ทองพัฒน์ กล่าวย้ำ

โดยภาครัฐต้องสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันของผู้ประกอบการรถสาธารณะด้านคุณภาพ และสามารถกำกับดูแลผู้ประกอบการให้เตรียมความพร้อมทั้งด้านเครื่องยนต์และคนขับ ผ่านระบบบันทึกประวัติผู้ประกอบการที่สามารถเปิดเผยข้อมูลผู้ให้บริการสาธารณะที่ได้มาตรฐานแก่ประชาชน

ที่มา thaitribune




 

Create Date : 11 เมษายน 2560    
Last Update : 11 เมษายน 2560 15:21:08 น.
Counter : 224 Pageviews.  

เมืองไร้กฎหมาย : โดย วสิษฐ เดชกุญชร



หลังจากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในตำแหน่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญ ประกาศว่าในวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ปีนี้จะให้เจ้าหน้าที่กวดขันกับผู้ขับขี่ยานพาหนะประเภทต่างๆ โดยเฉพาะรถยนต์กระบะ บรรทุก จะห้ามไม่ให้ใช้กระบะท้ายรถเป็นที่นั่งโดยสาร ปรากฏว่ามีเสียงคัดค้านอย่างรุนแรงและกว้างขวางจากฝ่ายต่างๆ

 

จนกระทั่งเมื่อวันศุกร์ที่ 7 เมษายนที่ผ่านไปนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวในรายการ ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ชี้แจงว่าการออกคำสั่งดังกล่าวกระทำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่เดิม เพื่อลดอุบัติเหตุและความเศร้าโศกอันเกิดจากการสูญเสียและสะเทือนใจใน ห้วงเวลาแห่งความสุข

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ตนเข้าใจดีว่าหากบังคับใช้กฎหมายอย่างเต็มที่ก็จะสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนมากเกินไป ฉะนั้นเจ้าหน้าที่จึงจะอะลุ้มอล่วยเป็นบางส่วน เช่น อนุญาตให้ผู้ที่นั่งเบาะหลังของรถยนต์โดยสารส่วนบุคคลไม่ต้องคาดเข็มขัดนิรภัย และอนุญาตให้ผู้โดยสารรถยนต์กระบะบรรทุกนั่งในกระบะท้ายรถได้ แต่ห้ามนั่งบนขอบกระบะ

นายกรัฐมนตรีกล่าวด้วยว่า หลังเทศกาลสงกรานต์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้หารือเพื่อพิจารณาความเหมาะสมว่าจะปรับมาตรการอย่างไรให้สอดคล้องกับความเป็นจริง และจะกำหนดห้วงเวลาให้ประชาชนมีโอกาสปรับตัวปรับวิถีการเดินทางบนท้องถนน โดยรัฐบาลจะเร่งรณรงค์สร้างความเข้าใจต่อไปอย่างต่อเนื่อง

อันที่จริงการที่นายกรัฐมนตรีใช้อำนาจในฐานะเป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติสั่งตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ ให้เจ้าหน้าที่กวดขันและห้ามผู้โดยสารนั่งในกระบะท้ายรถยนต์บรรทุกนั้น เป็นไปตามกฎหมายที่มีอยู่เดิมซึ่งห้ามมิให้ใช้รถยนต์ผิดประเภท รถยนต์กระบะบรรทุกนั้นกฎหมายอนุญาตให้ใช้เพื่อขนส่งสิ่งของแต่มิใช่เพื่อโดยสาร การที่นายกรัฐมนตรียินยอมอนุโลมให้ผู้โดยสารนั่งในกระบะท้ายรถได้ แม้จะห้ามนั่งบนขอบกระบะก็เท่ากับว่านายกรัฐมนตรีอนุญาตให้ทำผิดกฎหมาย

สิ่งที่นายกรัฐมนตรีควรกระทำโดยรีบด่วนนั่นคือเสนอรัฐสภาขอแก้กฎหมายเกี่ยวกับการขนส่งและการจราจร โดยเฉพาะในส่วนที่ว่าด้วยการบรรทุกและโดยสาร เพื่อให้การโดยสารในกระบะท้ายรถยนต์บรรทุกเป็นไปโดยถูกกฎหมาย หากไม่แก้ไขกฎหมายแต่อนุญาตให้ผู้โดยสารนั่งในกระบะท้ายรถยนต์บรรทุกได้อีกนานเท่าใด ก็เท่ากับรัฐบาลยอมให้ทำผิดกฎหมายไปนานเท่านั้น

ขณะนี้การที่ประชาชนละเมิดกฎหมายและการที่ผู้รักษากฎหมาย ไม่ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของตน กำลังจะทำให้เมืองไทยกลายเป็นเมืองไร้กฎหมายอยู่แล้ว

ที่มา thaitribune




 

Create Date : 11 เมษายน 2560    
Last Update : 11 เมษายน 2560 15:19:59 น.
Counter : 237 Pageviews.  

กำนัน,ผู้ใหญ่บ้านคัดค้านเหลือวาระ 5 ปี มหาดไทยเตือนอย่าทำตัวอย่างก่อม๊อบ



กำนัน-ผู้ใหญ่บ้านค้านวาระ 5 ปี ชี้ทำแตกแยก-อ่อนแอ ไม่อยากเปลี่ยนแปลง ตั้งมา 127 ปี ไม่มียุคไหนเสนอ กฎหมายทำร้ายมากขนาดนี้ - “พล.อ.อนุพงษ์” เตือนกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน เป็นคนดูแลความสงบเรียบร้อยบ้านเมือง จะทำอะไรให้คิดดูให้ดี

 

เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2560 -  ด้านนายยงยศ แก้วเขียว นายกสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย ยื่นหนังสือถึง ร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ ประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ผ่านนายเจษ อนุกูลโภคารัตน์ ผบ.กลุ่มงานประสานงานการเมืองและรับเรื่องราวร้องทุกข์ สภาผู้แทนราษฎร เพื่อคัดค้านรายงานของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง สปท. ที่เสนอลดวาระการดำรงตำแหน่งของกำนันเหลือ 5 ปี และให้มีการประเมินผลการทำงานของผู้ใหญ่บ้านทุก 3 ปี โดยนายยงยศกล่าวว่า องค์กรกำนันผู้ใหญ่บ้านตั้งมา 127 ปี ไม่เคยมีรัฐบาลใดเสนอกฎหมายทำร้ายองค์กรกำนันผู้ใหญ่บ้านเช่นนี้ ทำให้เกิดความแตกแยกอ่อนแอในการปฏิบัติหน้าที่ จึงขอคัดค้านรายงานดังกล่าว เพราะไม่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวาระการดำรงตำแหน่งของกำนัน ซึ่งไม่รู้ว่ามีวาระซ่อนเร้นหรือไม่ หากให้กำนันอยู่ในตำแหน่ง 5 ปี จะทำให้การทำงานไม่ต่อเนื่อง เกิดความไม่เกรงกลัว และเกิดความแตกแยกเลือกข้างในหมู่ประชาชน การอ้างว่า ถ้ากำนันอยู่ในตำแหน่งจนถึงอายุ 60 ปี จะสร้างอิทธิพลเป็นฐานเสียงให้พรรคการเมืองนั้น ไม่เป็นความจริง ถ้าเป็นฐานเสียงจริง การเลือกตั้งในภาคใต้ พรรคประชาธิปัตย์คงไม่ได้ ส.ส.มากขนาดนี้ อีกทั้งขณะนี้ประชาชนมีความรู้ คนที่เป็นผู้นำไม่สามารถไปครอบงำได้ ยิ่งมีสื่อโซเชียลมีเดียคอยติดตามการทำงานของกำนันผู้ใหญ่บ้านตลอด จึงไม่สามารถสร้างอิทธิพลอะไร อย่าเอาบริบทของการเมืองระดับชาติมาโยงกับเรื่องกำนันผู้ใหญ่บ้าน

นายยงยศกล่าวว่า ส่วนประเด็นเรื่องการประเมินผลงานผู้ใหญ่บ้านทุก 3 ปีนั้น ความจริงกรมการปกครองมีการประเมินผลงานของผู้ใหญ่บ้านทุก 4 ปีอยู่แล้ว และยังมีมาตรา 14 (6) พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 คอยควบคุมการทำงานของผู้ใหญ่บ้าน สามารถเข้าชื่อลงมติถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ง่ายอยู่แล้ว ขอให้ไม่ต้องกังวล ยืนยันจะคัดค้านเรื่องดังกล่าวถึงที่สุด แต่คงไม่ถึงเคลื่อนไหวชุมนุมใหญ่ เพราะผิดวินัย เนื่องจากกำนันผู้ใหญ่บ้านเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ แต่จะหารือกันว่าจะดำเนินการอย่างไร เบื้องต้นอาจจะไปรวมตัวกันที่ศาลากลางแต่ละจังหวัด เพื่อยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดคัดค้านต่อไป ขณะนี้มีสมาชิก สปท.หลายคนติดต่อมาทางสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแสดงความไม่เห็นด้วยกับการลดวาระการดำรงตำแหน่งของกำนันและประเมินผลการทำงานของผู้ใหญ่บ้านทุก 3 ปี

*******************************************

เตือนกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน เป็นคนดูแลความสงบเรียบร้อยบ้านเมือง จะทำอะไรให้คิดดูให้ดีไม่เช่นนั้นอนาคตจะห้ามประชาชนไม่ได้

ด้าน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ออกมากล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า ตนเองคงไม่ให้ความมั่นใจอะไร เพราะไม่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้อยู่แล้ว แต่สิ่งที่อยากฝากเตือน คือ การจะทำให้บ้านเมืองสงบสุขนั้น เป็นหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เวลามีปัญหาของชาติบ้านเมือง จะต้องดูแล ดังนั้น เวลาเมื่อตัวเองมีปัญหาจะมาเรียกร้องอะไรต้องคิดดูให้ดี ไม่เช่นนั้น ในอนาคตจะห้ามประชาชนไม่ให้ทำไม่ได้ ทั้งนี้ จะมารวมตัวกันเป็นม็อบ คงไม่ใช่บริบทในเวลานี้ ส่วนตัว มองว่า ใครก็แล้วแต่ที่เสียประโยชน์ แล้วใช้พลังมวลชนออกมาเคลื่อนไหวน่าจะโบราณ จึงอยากให้เดินไปด้วยเหตุผล ตัวบทกฎหมายมากกว่า ประเทศมีประชาธิปไตย การพิจารณาร่างกฎหมาย จะคิดเห็นอย่างไร ก็เป็นเรื่องของ สปท. เพราะยังมีขั้นตอนอีกมาก โดยสามารถเสนอความเห็นไปยังสปท.ได้

*******************************************

และในเดียวกันเมื่อเวลา 13.30 น. ที่รัฐสภา การประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) โดยมี น.ส.วลัยลักษณ์ ศรีอรุณ รองประธาน สปท. ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง เรื่อง “ข้อเสนอประเด็นสำคัญเพื่อประกอบการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2557 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู่ตำแหน่งกำนัน วาระการดำรงตำแหน่งกำนัน และการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน และร่าง พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่...) พ.ศ.....” โดยมีสาระสำคัญ คือ การลดวาระการดำรงตำแหน่งของกำนันจากเดิมให้อยู่ในตำแหน่งจนถึงอายุ 60 ปี เหลือให้ดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี โดยให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนที่เลือกจากผู้ใหญ่บ้านในตำบลนั้นๆ ที่ลงสมัครรับเลือกเป็นกำนัน ให้อยู่ในตำแหน่งได้คราวละ 5 ปี ไม่จำกัดวาระ เพื่อให้กำนันที่ได้รับเลือกจากประชาชนได้รับการยอมรับจากคนในพื้นที่ ไม่เกิดการผูกขาดอำนาจและสั่งสมอิทธิพลในพื้นที่ รวมทั้งการให้ประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ใหญ่บ้านทุก 3 ปี จากเดิม 5 ปี

ทั้งนี้ สมาชิก สปท. ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะ สปท. สายอดีตผู้ว่าราชการจังหวัด อาทิ นายปรีชา บุตรศรี ,นายศานิตย์ นาคสุขศรี ,นายธงชัย ลืออดุลย์ ,นายธวัชชัย ฟักอังกูร ต่างอภิปรายแสดงความไม่เห็นด้วยกับรายงานของ กมธ. การเมือง ที่เสนอให้กำนันอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี เพราะจะสร้างความแตกแยก แบ่งฝักแบ่งฝ่ายประชาชนในพื้นที่เป็นกลุ่มๆ จึงไม่อยากให้นำเรื่องการเมืองระดับชาติมาเชื่อมโยงกับกำนันผู้ใหญ่บ้าน โดยวาระการทำงาน 5 ปี เป็นการทำงานที่สั้นเกินไป ทำให้ไม่มีความต่อเนื่องในการทำงาน ควรให้อยู่ในตำแหน่งถึงอายุ 60 ปีตามเดิม ยิ่งให้เลือกตั้งบ่อยๆจะยิ่งสิ้นเปลืองงบประมาณ

ด้าน นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธาน สปท. การเมือง กล่าวว่า ยืนยันว่า ข้อเสนอ สปท. การเมืองกลั่นกรองมาอย่างรอบคอบ ขอให้สมาชิก สปท. ถอดหัวโขนเดิมออก แล้วทำหน้าที่ตัดสินใจแทนประชาชน จะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า สปท. พร้อมปกป้องผลประโยชน์คนทั้งประเทศหรือไม่ แต่จะตัดสินใจอย่างไรตนพร้อมยอมรับผลการตัดสิน แต่ขอยืนยันว่า หากไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ยึดติดแนวคิดเดิมการปฏิรูปจะเกิดไม่ได้ หากปล่อยให้กำนันอยู่ในอำนาจแบบผูกขาดถึงอายุ 60 ปี ถ้าได้คนไม่ดีมาเป็นกำนันจะทำอย่างไร แต่ถ้าให้อยู่ในวาระครั้งละ 5 ปี จะทำให้กำนันมีความกระตือรือร้นในการทำงานมากกว่า และการเลือกตั้งไม่ได้ทำให้สังคมแตกแยก ถ้าเลือกแล้วจบ ยอมรับกติกา ก็จะไม่เกิดความแตกแยก

นายวิทยา แก้วภราดัย สปท.การเมือง กล่าวว่า เป็นผู้เสนอแนวคิดให้กำนันอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี ที่ผ่านมาข้อเสนอใดที่ไปกระทบกับกระทรวงมหาดไทยมักมีปัญหาทุกครั้ง แต่แนวทางที่ กมธ. เสนอเป็นวิธีประนีประนอมที่สุด ถ้ากำนันทำงานดี จะได้รับการเลือกตั้งต่อไปเรื่อยๆ และแก้ปัญหาการเข้าสู่ตำแหน่งกำนันที่แลกด้วยผลประโยชน์ คนที่ออกมาคัดค้านวันนี้บางคนเคยพูดกับตนว่า เลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านที่สมุย หมดไป 7 ล้านบาท ดังนั้นจึงขอให้ สปท. กล้าปฏิรูป

ทั้งนี้ หลังจากที่สมาชิกอภิปรายครบถ้วนแล้ว ที่ประชุมลงมติเห็นชอบรายงานฉบับดังกล่าวด้วยคะแนน 91 ต่อ 27 งดออกเสียง 32 โดยให้ส่งรายงานความเห็นให้ ครม.รับไปดำเนินการต่อไป

ที่มา thaitribune




 

Create Date : 11 เมษายน 2560    
Last Update : 11 เมษายน 2560 15:18:59 น.
Counter : 232 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  

p_chusaengsri
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 52 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add p_chusaengsri's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.