บ้านท่านขุนรัฐวุฒิวิจารณ์เรือนปั้นหยาแห่งนครศรีธรรมราช

เรือนปั้นหยาหลังนี้อยู่ที่นครศรีธรรมราช รักษาไว้โดยหลาน-เหลน ของนายเขียน มาลยานนท์ ผู้ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้เป็น “ขุนรัฐวุฒิวิจารณ์” นายอำเภอเมืองกลาย ถือศักดินา ๘๐๐ ไร่ เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๕ (ในสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖)ปัจจุบันกลายเป็นสถานที่อนุรักษ์วัฒนธรรม เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ใครๆก็อยากไปชม

 

ตามประวัติ นายเขียน มาลยานนท์ เกิดวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๒๔ ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีมะเส็ง ที่ตำบลนา อำเภอเมือง เมืองนครศรีธรรมราช  (หากท่านมีชีวิตอยู่ปัจจุบันก็อายุ ๑๓๕ ปี) ท่านเป็นลูกของนายมาไลยและนางส้มจีน มาลยานนท์ แต่งงานกับนางปั้น จักรมานนท์  นางปั้นเป็นลูกของนายกุ้งและนางศรีกิ้น จักรมานนท์

นางปั้นและขุนรัฐวุฒิวิจารณ์ ไม่มีบุตร จึงยกที่ดินและบ้านหลังนี้ให้แก่นายโกวิท ตรีสัตยพันธุ์ หลานชายคนโตเป็นลูกของนางจันทร์ พี่สาวของนางปั้น

นายโกวิท ตรีสัตยพันธุ์ ใช้บ้านและที่ดินเปิดเป็นโรงเรียนชื่อ “โรงเรียนรัฐวุฒิวิทยา” เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านขุนรัฐวุฒิวิจารณ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๒ ที่บ้านเลขที่ ๓๒ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีนักเรียน ๒๖ คน ครู ๒ คน เริ่มทำการเรียนการสอนเมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๒ โดยทำการสอนตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กถึงชั้นมัธยมปีที่ ๑ (ป.๕ ปัจจุบัน)

ต่อมาเปลียนชื่อเป็น“โรงเรียนนครวิทยา”เมื่อทำการสอนมาได้ ๓ ปี ในปีพ.ศ. ๒๔๘๔ สงครามมหาเอเซียบูรพาเริ่มเกิดขึ้น โรงเรียนทุกแห่งต้องปิดบ้างเปิดบ้าง เนื่องจากประชาชนต้องอพยพหลบภัยสงคราม นักเรียนไม่ได้เล่าเรียนเต็มตามหลักสูตร ทำให้ฐานะทางการเงินของโรงเรียนตกต่ำจนแทบจะดำรงอยู่ไม่ได้

เมื่อสงครามสงบลงก็พยายามพยุงฐานะของโรงเรียนขึ้น พยายามปรับปรุงทีละเล็กละน้อยทั้งด้านสถานที่ ครูและอุปกรณ์การศึกษาเพื่อให้ทัดเทียมกับโรงเรียนราษฎร์อื่นๆที่เปิดทำการสอนมาก่อน

ในปี พ.ศ. ๒๕oจังหวัดนครศรีธรรมราชประสพวาตภัยร้ายแรง (วาตภัยแหลมตะลุมพุก)เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕o สร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นจำนาวนมาก โรงเรียนนครวิทยาต้องสูญเสียอาคารเรียนขนาด ๔ ห้องเรียน ๑ หลัง ค่าเสียหายประมาณ ๓o,oooบาท

หลังจากนั้นแม้จะพยายามแก้ไขปัญหาเรื่องสถานที่เรียนและปัญหาด้านอื่นๆ สำเร็จลุล่วงไปได้บ้างแล้วก็ตาม แต่ก็พบกับปัญหาอีกอย่างหนึ่ง คือ ขาดครูผู้สอน เพราะในระยะนั้นขาดแคลนครูจริงๆนายโกวิทต้องขอครูจากโงเรียนอื่นมาช่วยสอนบ้างในบางชั่วโมงและพยายามช่วยกันสอนจนตลอดลอดฝั่ง

ในที่สุดปีพ.ศ. ๒๕o๖ โรงเรียนนครวิทยาได้รับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล ทำให้มีกำลังใจต่อสู้กับอุปสรรคต่อไป โดยไม่คิดหยุดยั้ง ต่อมาอีกประมาณ ๓ ปี ในปีพ.ศ. ๒๕o๙ โรงเรียนนครวิทยาก็เจริญขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถยืนหยัดได้ด้วยขาที่แข็งแรง และมิใช่เพียงแต่ยืนอย่างเดียว ยังได้ก้าวไปข้างหน้าด้วย

กำลังขาที่มั่นคง ก้าวโดยไม่ยอมหยุดยั้งหรือถอยหลังแม้แต่ก้าวเดียว นับวันแต่จะก้าวหน้าไปเรื่อยๆ จนโรงเรียนมีครู ๔o คน นักเรียนประมาณ ๑,ooo คนในปีพ.ศ.๒๕๑๙ ซึ่งเป็นที่ประสบความสำเร็จสูงสุด อย่างไรก็ตามโรงเรียนได้ปิดตัวเองลงเมื่อปีพ.ศ.๒๕๒๙

ต่อมาปีพ.ศ. ๒๕๓๖ นายสำราญ ตรีสัตยพันธุ์ หลานชายคนโตของนายโกวิท ตรีสัตยพันธุ์ และนางณัฐฏสุด ตรีสัตยพันธุ์ ภรรยานายสำราญ ดำเนินการบูรณะปรับปรุงอนุรักษ์และซ่อมแซมบ้านให้มีสภาพสวยงาม เป็นโบราณสถานเพื่อชนรุ่นหลังของชาวนครและนักท่องเที่ยวได้ชมความงามของเรือนปั้นหยาอายุกว่า ๐๐ ปีหลังนี้

ปัจจุบันบ้านและที่ดินแปลงนี้ครอบครัวนายสำราญ ตรีสัตยพันธุ์ เป็นเจ้าของและดำเนินการดูแลรักษาสืบไป

บ้านท่านขุนรัฐวุฒิวิจารณ์ ตั้งอยู่เลขที่ ๕๑๒ ถ.ราชดำเนิน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80000  E-mail : baantankhun@gmail.com

เข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  //baantankhun.com/

ที่มา thaitribune




Create Date : 26 มีนาคม 2559
Last Update : 26 มีนาคม 2559 12:31:39 น. 0 comments
Counter : 294 Pageviews.

p_chusaengsri
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 52 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add p_chusaengsri's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.