ระบบการศึกษายุคใหม่ ต้องเป็นต้นน้ำเศรษฐกิจของประเทศ : กรณีศึกษา MIT สร้างผู้ประกอบการ โดย พ.อ.ดร.เศร



การเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรวดเร็ว ทำให้ทุกฝ่ายต้องมีการทำงานร่วมกันมากขึ้น และที่สำคัญคือภาคการศึกษา ที่ไม่ควรเป็นเพียงแค่ตลาดความรู้เท่านั้น แต่ควรเป็นต้นน้ำที่คอยขับเคลื่อนและผลักดันเศรษฐกิจ เพื่อช่วยให้เกิดการจ้างงานและสร้างรายได้ รวมถึงเป็นตัวส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ ทั้งในระดับท้องถิ่น ไปจนถึงระดับประเทศ และในระดับภูมิภาค

 

ทำให้ในปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยหลายแห่งพยายามสร้างและผลักดันให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ๆ  อย่างเช่นหลักสูตรผู้ประกอบการที่ MIT ประเทศสหรัฐอเมริกา

Nick Majer ผู้ดูแลหลักสูตรผู้ประกอบการที่ Massachusetts Institute of Technology (MIT) โดย Nick และกลุ่มนักเรียนในศูนย์บ่มเพาะธุรกิจแห่ง MIT ที่เรียกว่า Martin Trust Center ซึ่งเน้นการสร้างสตาร์ทอัพ (Startup) สู่ระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยที่พวกเขาหวังว่าจะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา

MIT เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นสถาบันที่มีความเป็นเลิศทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการสร้างผู้ประกอบการ แต่หลายคนอาจสงสัยว่าจะเริ่มต้นทำ startup ที่นี่ได้อย่างไร? เนื่องจากบรรยากาศและวัฒนธรรมของ MIT ที่ไม่เหมือนที่ใดในโลกนี้ การอยู่ในศูนย์บ่มเพาะธุรกิจใน MIT นั้น คุณอาจจะประสบความสำเร็จหรือประสบความล้มเหลวก็เป็นได้ทั้งสิ้น แต่อย่างไรก็ตาม มีบริษัทจำนวนกว่า 25,000 แห่งที่ได้ออกไปก่อตั้งภายหลังจบหลักสูตรจาก MIT และมีรายได้รวมแล้วมากกว่า 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และมีการจ้างงานกว่า 3 ล้านตำแหน่ง โดยสามารถเปรียบเทียบได้กับเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 11 ของโลกเลยทีเดียว

ในแต่ละช่วงเวลา MIT จะมีบริษัทประมาณ 20 – 30 บริษัทที่เริ่มก่อตั้งโดยนักศึกษา ดังนั้นจะไม่มีวันขาดแคลนการสนับสนุนหรือที่ปรึกษาที่เพื่อนก็สามารถแนะนำเพื่อนได้ นักศึกษาจะถูกกระตุ้นโดยบรรยากาศของการมีเป้าหมายและมีความร่วมมือ การแวดล้อมไปด้วยผู้คนที่น่ายกย่องชื่นชมจะสร้างแรงบันดาลใจ และกระตุ้นให้มีการทำงานที่หนักขึ้น ที่ MIT มีการเพิ่มเวลาทำงานจาก 12 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์ เป็น 14 ชั่วโมงและ 18 ชั่วโมงเพียงเพื่อตามให้ทันคนอื่นๆ

สาเหตุที่ MIT ประสบความสำเร็จอย่างมากในการสร้างผู้ประกอบการที่มีประสิทธิภาพ ที่สำคัญคือวัฒนธรรม แต่คนส่วนใหญ่มักจะบอกว่าความสำเร็จของผู้ประกอบการเกิดจากคุณภาพของนักศึกษาที่ MIT แต่หากกล่าวถึงเรื่องคุณภาพนักศึกษาแล้ว ที่ Harvard, Stanford และ Caltech ก็มีนักศึกษาที่ฉลาดและมีคุณภาพดีเช่นกัน แต่เหตุผลที่แท้จริงว่าทำไมนักศึกษาของ MIT จึงประสบความสำเร็จมากกว่าสถาบันการศึกษาชั้นนำอื่นๆ ก็เพราะ การที่ MIT มีวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรม โดยที่ Martin Trust Center แห่ง MIT ถือว่านวัตกรรมเป็นส่วนสำคัญหลักของผู้ประกอบการ จึงทำให้นักศึกษาที่ MIT กลายเป็นผู้ประกอบการที่มีคุณภาพ

ยิ่งไปกว่านั้น MIT ยังคงมีความร่วมมือกับสตาร์ทอัพอื่นๆ และแบ่งปันความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ด้วยการทำวิจัยตลาดอย่างหนักเพื่อหาข้อมูลว่าอะไรที่คนส่วนใหญ่ต้องการในชีวิตกันแน่ และที่แตกต่างอย่างยิ่งคือ การสร้าง Politifund ขึ้นมา เพื่อผลักดันให้มีการผ่านกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อสตาร์ทอัพ ซึ่งโดยรวมแล้ว สภาพแวดล้อมภายในศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ MIT ดูเหมือนจะเป็นเรื่องเหลือเชื่อและเกินความจริง แต่การเริ่มธุรกิจภายในเวลาอันรวดเร็วได้ ก็เป็นผลมาจากการทำงานอย่างจริงจังนั่นเอง

โครงการ Politifund มีเป้าหมายเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายได้อย่างรวดเร็ว ตามระบบกฎหมายของสหรัฐอเมริกา โดยให้อำนาจลอบบี้ยิสต์ ซึ่งจะมีการระดมทุนสาธารณะ (crowdfunding) ซึ่งแต่เดิมนั้นจะมีแค่บุคคลที่มีฐานะร่ำรวยและบริษัทใหญ่ๆ เท่านั้น ที่จะมีสิทธิจ้างลอบบี้ยิสต์ที่มีอำนาจพอที่จะทำให้มีกฎหมายตามที่ต้องการได้ แต่สำหรับ Politifund นั้น จะทำให้มีลอบบี้ยิสต์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ผ่านกฎหมายที่มีประโยชน์ที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ

ด้วยรูปแบบธุรกิจใหม่ ที่มีการเชื่อมโยงระหว่างการเมือง (การออกกฎหมาย) และการระดมทุนสาธารณะ ทำให้มีหลักประกันในระดับหนึ่ง ที่สามารถรักษาผู้ลงทุนเอาไว้ได้ โดยมีประเด็นสำคัญคือ

(1) ความโปร่งใสถือเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อทำให้เกิดความโปร่งใส ลอบบี้ยิสต์ทุกคนจะถูกเลือกโดยคณะกรรมการของลอบบี้ยิสต์ที่เกษียณแล้ว โดยพิจารณาถึงทักษะและคอนเน็คชั่นที่มี ลอบบี้ยิสต์แต่ละคนจะได้รับมอบหมาย เฉพาะในโครงการที่เขามีคอนเนคชั่นที่เหมาะสมและพวกเขาต้องส่งอีเมลสัปดาห์ละครั้งไปยังบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการนั้นๆ เกี่ยวกับความคืบหน้า เป็นต้น

(2) นักลงทุนจะต้องมั่นใจว่าถ้าเงินทุนไม่พอในการจ้างลอบบี้ยิสต์ที่ดีสำหรับแต่ละงาน พวกเขาจะต้องมีส่วนร่วมในการลงทุนด้วย เพื่อเป็นการจูงใจให้มีการแชร์โครงการและทำให้โครงการเติบโตขึ้น รวมทั้งภาพลักษณ์องค์กรที่ดีขึ้นด้วย

นวัตกรรมและหลักสูตรการศึกษานั้นมีความสำคัญมาก ซึ่งความคิดที่ว่านักศึกษา MIT นั้นเป็นนักนวัตกรรมมาตั้งแต่กำเนิดนั้น เป็นเพียงความเชื่อเท่านั้น ซึ่งหลักสูตรของ MIT ต่างหากที่ทำให้นักศึกษาเป็นนักนวัตกรรม การพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ไม่ได้มาจากในห้องเรียนเท่านั้น แต่การที่ MIT มีการแข่งขัน กิจกรรมเสริมหลักสูตร และโปรแกรมเครือข่าย ทำให้การเรียนการสอนที่มีทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน เป็นสิ่งที่ดีต่อนักศึกษาที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมและให้ความสนใจในแต่ละวิชามากขึ้น

ปัจจุบัน มีการพูดถึงนวัตกรรมกันมาก แต่ MIT มองว่า นวัตกรรมหากเป็นเทคโนโลยีขั้นสูง แต่ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้ ก็ไม่ถือว่ามันเป็นนวัตกรรม ซึ่งสมการง่ายๆ ที่ MIT ใช้คือ นวัตกรรม = การประดิษฐ์ x การใช้เชิงพาณิชย์ ซึ่งหมายความว่าการประดิษฐ์ที่ไม่สามารถใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ก็ไม่มีประโยชน์อะไรในเชิงธุรกิจ

ตัวอย่างที่น่าสนใจที่ใช้เป็นกรณีศึกษาตัวอย่างของ MIT คือ Jaylen Bledsoe ซึ่งผู้ประกอบการอายุเพียง 18 ปี และเขาเป็นเจ้าของหลายบริษัท และมีการสร้างแรงบันดาลใจอย่างมากในกับผู้เขามาบ่มเพาะใน MIT เนื่องจาก เขาสร้างจากธุรกิจของเขาจากศูนย์และตอนนี้เขาได้กลายเป็นเจ้าของบริษัทซอฟต์แวร์ที่มีมูลค่าหลายล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้นักศึกษาของ MIT มีพลังและแรงบันดาลใจที่จะทำงานให้หนักขึ้น เพื่อจะได้ประสบความสำเร็จในอนาคตเช่นกัน

"เรามาช่วยกันผลิตทรัพยากรมนุษย์ของชาติ เพื่อมาสร้างเศรษฐกิจของประเทศ ให้ทันกับโลกยุคใหม่กันเถอะ"

ที่มา thaitribune




Create Date : 21 กุมภาพันธ์ 2560
Last Update : 21 กุมภาพันธ์ 2560 16:03:30 น. 0 comments
Counter : 222 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

p_chusaengsri
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 52 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add p_chusaengsri's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.