พบสาเหตุไฟไหม้ Grenfell Tower ใน London โดย ต่อตระกูล ยมนาค



คาดยอดผู้เสียชีวิตอาจถึง 100 ในข่าว ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเพลิงไหม้ของอังกฤษ วิเคราะห์ว่าน่าจะเป็นที่ แผ่น Aluminium Cladding ราคาถูกที่มีไส้กลางเป็น พลาสติค ชนิดPoly Urethane ที่ไม่ใช่วัสดุกันไฟ เพราะติดไฟได้ง่าย

 

แผ่น Aluminium Cladding แบบนี้นิยมใช้กันมาก เป็นเหตุให้เกิดไฟใหม้ซ้ำๆในหลายๆประเทศ รวมทั้งครั้งสำคัญที่ไหม้ที่ตึกสูง63 ชั้นในดูไบ ในคืนฉลองรับปีใหม่2016  (Address Hotel) และอาคารอื่นๆ อาทิเช่น Marina Torch residence ปี2015 และ Tamweel Tower ปี2012.

เท่าที่ทราบว่าของไทย ยังไม่มีสถาปนิก คนไหนเอาไปใช้ในอาคารสูง แต่วัสดุชนิดนี้มีขายในประเทศไทยมานานแล้ว

เพราะเห็นมีโฆษณาขายในเน็ตอย่างเปิดเผย มีขาย 2 ชนิด ชนิดกันไฟได้ และแบบไม่กันไฟ (คำโฆษณาในเน็ตมีข้อความว่า : นำเข้าและจำหน่ายAluminium Cladding คุณภาพสูง มีทั้งไส้ FR (กันไฟ) และไส้PE น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย )

อันตรายมาก ถึงจะไม่มีกฏหมายห้ามใช้ในขณะนี้ ก็ไม่ควรนำไปใช้ในอาคารสูงเด็ดขาด เพราะไหม้จุดเดียวจะลามไปไหม้ได้ทั้งรอบตัวตึก และจะไหม้ขึ้นไปจนสุดความสูงอาคาร

พวกอังกฤษไปทำงานที่ดูไบก็ยอมให้ใช้จนตึกไหม้ไปหลายหลัง ไม่น่าเชื่อว่าปล่อยไปได้อย่างไร ที่ดูไบนั่นเจ้าของก็มีเงินเยอะถ้าทราบว่าไม่ปลอดภัยคงไม่เลือกใช้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทั้งนี้ เหตุไฟไหม้อาคารเกรนเฟลล์ ทาวเวอร์ ในกรุงลอนดอน เมื่อวันพุธที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้มียอดผู้สูญหายที่เชื่อว่าเสียชีวิตแล้วจำนวน 58 ราย ซึ่ง 30 รายได้รับการยืนยันแล้วว่าเสียชีวิต โดยเจ้าหน้าที่คาดว่ายอดผู้เสียชีวิตอาจเพิ่มสูงขึ้นถึง 70 ราย เนื่องจากอาคารดังกล่าวมีห้องพักอาศัย 120 ห้องและคาดว่ามีผู้ติดอยู่ภายในอาคารจำนวนมากขณะเกิดเพลิงไหม้

ด้านกระทรวงต่างประเทศของไทย เปิดเผยว่า กรณีที่มีคนไทยซึ่งอาศัยอยู่ในอาคารดังกล่าว 3 ครอบครัวนั้น สถานเอกอัครราชทูตไทยติดต่อ 2 ครอบครัวได้แล้ว ซึ่งยังมีอาการตกใจ แต่ได้ย้ายไปอยู่ในที่ปลอดภัยแล้ว ขณะที่อีก 1 ครอบครัวที่เหลือ สถานเอกอัครราชทูตยังพยายามติดต่อต่อไป

อย่างไรก็ตาม รายการวิเคราะห์ประเด็นร้อน Newsnight ของสถานีข่าว BBC ของอังกฤษ ชี้ว่า ผู้ต้องสงสัยอันดับต้นๆ ในเวลานี้คือ วัสดุหุ้มอาคารภายนอก เนื่องจากในช่วงเวลาที่เกิดเหตุ เพลิงลุกไหม้จากชั้นที่ 4 ขึ้นไปท่วมชั้นสูงสุดอย่างรวดเร็วจากภายนอกอาคาร ส่วนหุ้มภายนอกอาคารเพิ่งเพิ่มเติมเข้ามาในช่วงการปรับปรุงอาคารเมื่อปี 2015 แล้วเสร็จเมื่อเดือน ..2016 เพื่อปรับปรุงระบบฉนวนความร้อนภายในอาคาร และรูปโฉมให้ทันสมัยยิ่งขึ้น วัสดุนั้นประกอบด้วยแกนโพลีเอธิลีน ซึ่งเป็นพลาสติกชนิดหนึ่งที่ติดไฟได้ง่าย ประกบด้วยแผ่นอะลูมิเนียมสองแผ่น

ผู้รับผิดชอบโครงการปรับปรุง คือบริษัทก่อสร้าง Rydon นับตั้งแต่เกิดเรื่องและข้อมูลของวัสดุของอาคารถูกเปิดเผย บริษัทก็ออกมาโต้แย้งว่า การปรับปรุงเป็นไปตามกฎป้องกันอัคคีภัยทุกประการ แต่ผ่านไปสักระยะหนึ่งก็ลบข้อความชี้แจงดังกล่าวนี้ออก และเริ่มถูกตั้งข้อสังเกตหนักขึ้น เช่น ทำไมจึงเลือกใช้แกนพลาสติกแทนที่แกนจากแร่ธรรมชาติ ซึ่งติดไฟยากกว่า ทั้งๆ ที่มีตัวอย่างตึกระฟ้าหลายแห่งทั่วโลกที่ใช้โพลีเอธิลีนแล้วเสียหายเป็นวงกว้างเมื่อเกิดเพลิงไหม้ทั้งสิ้น

นอกจากข้อสงสัยเรื่องการก่อสร้างอาคาร ก็ยังมีประเด็นด้านความหละหลวมของมาตรการป้องกันอัคคีภัยอื่นๆ เช่น สัญญาณเตือนเพลิงไหม้ไม่ร้องดังขึ้นมา ไม่มีระบบสปริงเคลอร์ดับไฟ ซึ่งเรื่องนี้เครือข่ายความปลอดภัยด้านอัคคีภัยอาคารสูงชี้แจงว่า กฎหมายปัจจุบันไม่บังคับให้ตึกสูงต้องมีการติดตั้งสปริงเคลอร์ แต่ก็หวังว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับในเร็วๆ นี้


ที่มา thaitribune




Create Date : 18 มิถุนายน 2560
Last Update : 18 มิถุนายน 2560 18:08:02 น. 0 comments
Counter : 352 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

p_chusaengsri
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 52 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add p_chusaengsri's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.