ปรับนิยามผู้ป่วยฉุกเฉิน ค่ารักษาเหมาะสม ทุกฝ่ายเห็นตรงห้ามเก็บเงินใน 72 ชม.

บอร์ดกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน ลงความเห็นห้ามเก็บเงินผู้ป่วยฉุกเฉินใน 72 ชม. พร้้อมนิยามผู้ป่วยวิกฤตสีแดงให้ชัดเจน มีระบบเบิกจ่ายที่เหมาะสมตามราคากลางค่ารักษาพยาบาล พร้อมประกาศใช้ก่อนสงกรานต์ 2559

วันที่ 16 มีนาคม 2559 ที่ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข  นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ) พร้อมด้วยนพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ  ประชุมคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน ครั้งที่ 6 /2559  โดยผู้แทน 3 กองทุน  และโรงพยาบาลเอกชนเข้าร่วมประชุมด้วย ในวันนี้ที่ประชุมได้ติดตามความคืบหน้า นโยบาย  “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ” ที่มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน และผู้แทนจาก 3 กองทุน หารือแนวทางการดำเนินงานเพื่อปรับระบบให้เกิดประโยชน์กับประชาชน ที่ประชุมเห็นตรงกันว่า นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินรักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ ต้องดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินฟรีในช่วง 72 ชั่วโมงแรก หลังจากนั้นให้ส่งต่อผู้ป่วยไปรักษายังโรงพยาบาลตามสิทธิ ส่วนของการสำรองเตียงเพื่อรองรับการส่งต่อ ประกันสังคมไม่ค่อยมีปัญหา เพราะมีโรงพยาบาลคู่สัญญา ส่วนระบบข้าราชการหากไม่สามารถส่งต่อได้ กรมบัญชีกลางจะมีงบประมาณสำหรับดูแล ส่วนสิทธิบัตรทอง กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะพยายามแก้ปัญหาให้ 

โดยจากการหารือ ส่วนใหญ่เห็นด้วยในหลักการ ทั้งในเรื่องการคัดแยกผู้ป่วยวิกฤตสีแดงตาม 25 กลุ่มอาการที่เห็นตรงกันทั้งโรงพยาบาลและผู้ป่วย  โดยหากมีข้อสงสัยจะมีหน่วยงานกลางคือสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติเป็นที่ปรึกษาและให้ความเห็นภายใน 15 นาที  ส่วนในเรื่องรูปแบบการเบิกจ่ายเงินนั้น เห็นด้วยกับการจ่ายแบบราคากลางค่ารักษาพยาบาล( Fee schedule) ให้มีการปรับราคากลางที่ทุกส่วนมีความพอใจ  สำหรับการดำเนินการหลัง 72 ชั่วโมงหลังผู้ป่วยพ้นวิกฤตที่ต้องหาโรงพยาบาลรับส่งต่อ กองทุนประกันสังคมใช้โรงพยาบาลต้นสังกัด กองทุนสวัสดิการข้าราชการ  กรมบัญชีกลางจะได้กำหนดระเบียบขึ้นมารองรับ เช่น ให้อยู่โรงพยาบาลเดิมต่อไป โดยกำหนดอัตราการเบิกจ่าย ส่วนต่างผู้ป่วยจ่ายเพิ่มเอง ส่วนกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ใช้โรงพยาบาลต้นสังกัดและเพิ่มการจัดการเรื่องศูนย์สำรองเตียง

"สำหรับนิยามเจ็บป่วยฉุกเฉิน ที่ประชุมเห็นด้วยกับหลักการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสีแดง 25 กลุ่มอาการ ดังนี้

1.ปวดท้องบริเวณหลัง เชิงกราน และขาหนีบ

2.แพ้ยา แพ้อาหาร แพ้สัตว์ต่อย แอนาฟิแล็กซิส ปฏิกิริยาภูมิแพ้

3. สัตว์กัด

4.เลือดออกโดยไม่ได้มีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บ

5. หายใจลำบาก หายใจติดขัด

6. หัวใจหยุดเต้น

7. เจ็บแน่นทรวงอก หัวใจ มีปัญหาทางด้านหัวใจ

8. สำลัก อุดกั้นทางเดินหายใจ

9. เบาหวาน

10. ภาวะฉุกเฉินเหตุสิ่งแวดล้อม

11. ปวดศีรษะ ภาวะผิดปกทางตา หู คอ จมูก

12. คลุ้มคลั่ง ภาวะทางจิตประสาท อารมณ์

13.พิษ รับยาเกินขนาด

14.มีครรภ์ คลอด นรีเวช

15. ชัก มีสัญญาณบอกเหตุการชัก

16. ป่วย อ่อนเพลีย อัมพาตเรื้อรัง ไม่ทราบสาเหตุจำเพาะ

17. อัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนแรง สูญเสียความรู้สึก ยืนหรือเดินไม่ได้เฉียบพลัน

18. ไม่รู้สติ ไม่ตอบสนอง หมดสติชั่ววูบ

19. เด็ก กุมารเวช

20. ถูกทำร้าย

21. ไหม้ ลวกเหตุความร้อน สารเคมี ไฟฟ้าช็อต

22. ตกน้ำ จมน้ำ บาดเจ็บทางน้ำ

23. พลัดตกหกล้ม อุบัติเหตุ เจ็บปวด

24. อุบัติเหตุยานยนต์

25 อื่นๆ ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัย สพฉ.จะเป็นหน่วยงานกลางคอยให้คำปรึกษาและให้ความเห็นภายใน 15 นาที" รมว.สธ. กล่าว

ที่มา thaitribune



Create Date : 17 มีนาคม 2559
Last Update : 17 มีนาคม 2559 12:17:38 น. 0 comments
Counter : 187 Pageviews.

p_chusaengsri
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 52 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add p_chusaengsri's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.