สธ.เตือนประชาชนรับมือ 17-19 มีนาคมอาการร้อนจัดเกิดโรคลมแดดหรือ Heat stroke ได้-แนะวิธีปฏิบัติช่วยผู้

กระทรวงสาธารณสุขเตือนประชาชนเตรียมพร้อมรับมืออากาศร้อนจัด 17-19 มี.ค.ช่วงเวลา 11-14 น. ให้สวมเสื้อผ้าโปร่ง จิบน้ำบ่อยๆ ป้องกันร่างกายสูญเสียน้ำฉับพลัน เกิดโรคลมแดด มีปัญหาโทร.สายด่วน 1669 แนะวิธีปฏิบัติหากช้าผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้

เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2559 นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีนักวิชาการออกมาระบุถึงมวลอากาศร้อนที่จะเข้าสู่ประเทศไทย จะทำให้ประเทศไทยร้อนที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียนช่วงวันที่ 17-19 มี.ค. นี้ และมีโอกาสเปลี่ยนเป็นคลื่นความร้อนหรือฮีตเวฟ คือ อากาศมีอุณหภูมิร้อนเกิน 42 องศาเซลเซียส ติดต่อกันเกิน 24 ชั่วโมง มีความชื้นสัมพัทธ์เกิน 70% ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ ว่า ช่วงที่มีอากาศร้อนจัดคาดว่าจะเป็นช่วงเวลา 11.00-14.00 น. ทำให้มีความเสี่ยงจะเป็นโรคลมแดด หรือ ฮีตสโตรกได้ง่าย เพราะร่างกายปรับตัวไม่ทัน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงคือเด็ก ผู้สูงอายุ และกลุ่มคนที่ทำงานกลางแจ้ง

ดังนั้น จึงขอให้ประชาชนเตรียมตัวให้พร้อม ดื่มน้ำเรื่อยๆ อย่างน้อย 1 ลิตร ป้องกันภาวะร่างกายสูญเสียน้ำเฉียบพลัน สวมเสื้อหาผ้าโปร่งสบายระบายอากาศได้ง่าย ไม่สวมเสื้อผ้าแนบเนื้อ

“หากพบผู้ป่วยมีอาการหน้ามืด กระสับกระส่าย การปฐมพยาบาลต้องรีบนำเข้ามาภายในร่ม ยกขาสูง ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ด ถ้ายังมีสติให้จิบน้ำเย็น ปลดคลายเสื้อผ้า กระดุมที่รัดแน่นออกเพื่อระบายความร้อน หากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยโทร.สายด่วน 1669” ปลัด สธ. กล่าว

สำหรับ โรคลมแดด (Heat Stroke) เป็นอาการที่เกิดจากการได้รับความร้อนมากเกิน ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังหรือเล่นกีฬาในภาวะอากาศร้อนจัดเป็นเวลานาน โดยไม่ได้รับการชดเชยน้ำหรือเกลือแร่ที่สูญเสียอย่างเพียงพอ อาจจะเกิดขึ้นได้แม้ผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง

เมื่ออากาศร้อนเหงื่อจะออกมากเพื่อให้อุณหภูมิในร่างกายเย็นลง ในกรณีที่เกิดลมแดด กลไกควบคุมความร้อนในร่างกายล้มเหลว เหงื่อจะออกน้อยหรือไม่ออกเลย  เป็นเหตุให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น เพราะว่าร่างกายขาดน้ำอย่างมากจนไม่เพียงพอต่อการผลิตเหงื่อ

ในคนที่มีอาการของ heat stroke จะถึงขึ้นหมดสติ  เกิดลมชักและถ้าไม่ได้รับการรักษาปฐมพยาบาลอย่างถูกต้องและทันท่วงที  อาจจะถึงขั้นเสียชีวิตได้ ลักษณะที่ลมแดดต่างจากลมร้อน คือ ลมแดดมักพบในเพศชายมากกว่า พบในวัยกลางคนและสูงอายุ นักดื่มสุรา สาเหตุเสริมที่ทําให้เกิดลมแดด คือ อากาศร้อนอบอ้าว ความชื้นสูง การถ่ายเทอากาศไม่ดี

อาการโรคลมแดด

ระยะแรกผู้ป่วยจะรู้สึกผิวหนังร้อนและแห้ง หน้าแดง จะมีอาการกระหายน้ำมาก ชีพจรเร็ว และหายใจลึก ต่อไปอุณหภูมิของร่างกายจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วอาจถึง 108  F ชีพจรเบาและไม่สมํ่าเสมอ หายใจตื้น กล้ามเนื้อเกร็งตัว ชัก รูม่านตาขยาย การเคลื่อนไหวและสติสัมปชัญญะควบคุมไม่ได้อาเจียน ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อย ๆ และหมดสติในเวลาต่อมา ถ้าผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีเทาคล้ายสีขี้เถ้าแสดงว่าใกล้ถึงภาวะหัวใจหยุดทํางาน

การปฐมพยาบาลผู้ป่วยลมแดด

การช่วยเหลือผู้ที่มีอาการเป็นลมแดด ให้นอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ถอดเสื้อผ้าออก ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามซอกตัว คอ รักแร้ เชิงกราน ศีรษะ ร่วมกับการใช้พัดลมช่วยเป่าระบายความร้อน หรือเทน้ำเย็นราดลงบนตัวเลย เพื่อลดอุณหภูมิของร่างกายให้ต่ำลง และรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด ในรายที่อาการยังไม่มาก ควรให้ดื่มน้ำเปล่ามากๆ

ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็ก ผู้สูงอายุ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ดีเท่าคนหนุ่มสาว ผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง ที่ต้องกินยาควบคุมความดัน เช่น ยาขับปัสสาวะ ซึ่งมีผลขับสารโซเดียมออกจากร่างกาย ทำให้มีโอกาสเกิดความผิดปกติของระดับเกลือแร่ได้เร็วกว่าผู้อื่น รวมทั้งผู้ที่เป็นโรคอ้วน หรือผู้ที่อดนอน เนื่องจากจะทำให้ร่างกายตอบสนองต่อความร้อนที่ได้รับช้ากว่าปกติ

ที่มา thaitribune




Create Date : 17 มีนาคม 2559
Last Update : 17 มีนาคม 2559 9:47:47 น. 0 comments
Counter : 451 Pageviews.

p_chusaengsri
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 52 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add p_chusaengsri's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.