ตำรวจกำสรวล (2) โดย วสิษฐ เดชกุญชร



ผมนึกอยู่แล้วว่าตำรวจคงจะต้องกำสรวลต่อไปอีก และก็เป็นไปดังที่ คาดจริงๆ เมื่อบ่ายวันที่ 6 เดือนนี้ (มิถุนายน 2559) ร.ต.ท.อาทิตย์ บุญญะโสภัต อธิบดีกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้นำกำลังชุดปฏิบัติการพิเศษ ของกรมการปกครองและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดนรวม 100 นาย เข้าตรวจสอบการดำเนินธุรกิจของสถานบริการอาบอบนวด “นาตารี เอ็นเตอร์เทนเมนท์” ถนนรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร หลัง จากที่ได้รับการร้องเรียนว่าสถานบริการดังกล่าวนำหญิงต่างด้าวอายุต่ำกว่า 18 ปีเข้าไปแอบแฝงค้าประเวณี

         ปรากฏว่า นอกจากจะตรวจพบหญิงชาวเมียนมาร์ 7 คน ซึ่งมีอายุต่ำ กว่า 18 ปีในสถานบริการแห่งนั้นแล้ว เจ้าหน้าที่ยังตรวจพบและยึดเอกสาร ฉบับหนึ่งซึ่งแสดงหลักฐานการจ่ายเงินให้แก่เจ้าหน้าที่และหน่วยราชการ ตำรวจบางหน่วย เช่น ตำรวจสันติบาล ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง และตำรวจ ท่องเที่ยว

         หลังจากนั้นในการให้สัมภาษณ์ในวันที่ 8 เดือนเดียวกัน พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ตอบคำถามผู้สื่อข่าวว่า การที่กรมการปกครองเข้าไปจับกุมสถานบริการเช่นนั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบ ต่อภาพลักษณ์ขององค์กรตำรวจ แต่กลับเป็นประโยชน์ในการปราบปราม สถานบันเทิงในลักษณะนี้มากกว่า และตนเห็นว่าการที่สื่อนำเสนอข่าวนี้ก็ จะไม่กระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยในการปราบปรามการค้า มนุษย์ด้วย

         ในฐานะที่ผมเคยเป็นตำรวจและยังมีตำแหน่งเป็นนายตำรวจราช สำนักพิเศษอยู่ ผมขอบอกว่าผมรู้สึกขายหน้าอย่างยิ่งในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และผมเห็นว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำความเสียหายร้ายแรงให้แก่สำนักงาน ตำรวจแห่งชาติและแก่ประเทศไทย   หากตำรวจนครบาลทำหน้าที่ของตนอย่างเคร่งครัด สม่ำเสมอ และ สุจริต คงไม่มีสถานบริการใดๆกล้าละเมิดกฎหมายด้วยการเปิดซ่องโสเภณี และค้ามนุษย์ไม่ว่าในรูปใดๆขึ้นในกรุงเทพมหานคร แต่เพราะตำรวจละเลย ไม่ตรวจตรา หรือรับ “ส่วย” หรือประโยชน์จากธุรกิจที่ผิดกฎหมาย การค้า ประเวณีและค้ามนุษย์จึงเกิดขึ้นได้อย่างโจ่งครึ่ม จนร้อนถึงหน่วยราชการ อื่นต้องเข้าไปจับกุม การทำหน้าที่ของกรมการปกครองในกรณีนี้ไม่ต่าง อะไรกับการตบหน้าตำรวจอย่างเปิดเผย

         ขณะนี้ได้มีการย้ายข้าราชการตำรวจเจ้าของท้องที่ที่เกิดเหตุคือผู้กำกับการและรองผู้กำกับการสถานีตำรวจห้วยขวาง และผู้บังคับการตำรวจนคร บาล 1 ไป “ช่วยราชการ” ยังกองบัญชาการตำรวจนครบาลแล้ว และก็ย่อม ต้องมีการตั้งกรรมการสอบสวนเพื่อพิสูจน์ความผิด แต่ที่ควรสังเกตก็คือ การสอบสวนก็จะกระทำโดยตำรวจด้วยกันนั้นเอง

         สมมติว่ามีการรับผลประโยชน์หรือ “ส่วย” จากสถานบริการที่ผิดกฎ หมายจริงๆ และส่วยนั้นเป็นจำนวนเงินมหาศาล ย่อมเป็นไปได้ว่า ผู้กระทำ ความผิดและรับส่วยอาจแบ่งผลประโยชน์ที่ได้ให้แก่ผู้อื่น รวมทั้งผู้บังคับ บัญชาบางคนด้วย ใครจะรับรองหรือประกันได้ว่ากรรมการที่ได้รับแต่งตั้ง ให้สอบสวนผู้กระทำผิดจะไม่มีผู้รับประโยชน์จากส่วยรวมอยู่ด้วย และการ สอบสวนจะเป็นไปอย่างเป็นธรรมเพียงใด

        การสอบสวนจะเป็นอย่างเที่ยงตรงและเป็นธรรมจริงๆก็ต่อเมื่อกรรมการสอบสวนไม่ใช่ตำรวจ แต่เป็นบุคคลภายนอกที่เป็นอิสระ ไม่เกี่ยวข้อง กับตำรวจ และไม่ขึ้นต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติเท่านั้น

         ในปี พ.ศ.2550 คณะรัฐมนตรีชุดที่มี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็น นายกรัฐมนตรี ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการพิจารณาเรื่องราว ร้องทุกข์เกี่ยวกับตำรวจต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่สภาหมดอายุลงเสียก่อน

         ถ้ารัฐบาลชุดปัจจุบันนำร่างกฎหมายนี้มาพิจารณาประกาศใช้ จะโดย ผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรืออาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญก็ตาม เราก็จะมีเครื่องมือที่ใช้สอบสวนความผิดของตำรวจที่ประกัน ความบริสุทธิ์ยุติธรรม และประกันชื่อเสียงของตำรวจดีๆได้อย่างแน่นอน

จนกว่าจะถึงวันนั้น ตำรวจดีๆก็คงจะต้องก้มหน้ากำสรวลต่อไป.

 ที่มา thaitribune



Create Date : 14 มิถุนายน 2559
Last Update : 14 มิถุนายน 2559 15:58:26 น. 0 comments
Counter : 277 Pageviews.

p_chusaengsri
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 52 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add p_chusaengsri's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.