กล่องโฟมใส่อาหารอันตรายหรือไม่! อ.เจษฎา ชี้ ปลอดภัยหายห่วงกินได้ ทนร้อนดี สารก่อมะเร็งหลุดยาก-โต้ สธ



รศ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ โต้ สธ.เลิกใช้กล่องโฟมใส่อาหาร ชี้ ไม่ส่งผลต่อสุขภาพตามอ้างเหตุมีความเสถียรสูงสารก่อมะเร็ง “สไตรีน” สลายออกมาได้น้อย แต่รับกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านกรมวิทย์เห็นด้วยแต่ห่วงรับสารสไตรีนจากสารพิษที่หลงเหลือจากการผลิตกล่องโฟมมากกว่า

จากกรณี กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ออกมารณรงค์ให้ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร เพราะความร้อนจัดของอาหารเมื่อสัมผัสกับโฟม จะทำให้มีสารสไตรีน สารเบนซิน และ สารพทาเลท ออกมาปนในอาหาร ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง

ล่าสุด รศ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความเฟซบุ๊ก “Jessada Denduangboripant” สรุปใจความได้ว่า การใช้กล่องโฟมบรรจุอาหารไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ แม้สารสไตรีนจะเป็นอันตรายต่อร่างกายจริง แต่กล่องโฟมที่ใช้นั้น เป็น “โพลีสไตรีน” ซึ่งเป็นสารสไตรีนเดี่ยว ๆ มาเรียงต่อกัน แต่มีความเสถียรสูงมาก คุณสมบัติทนทาน เบา เอามาเป่าขึ้นรูปง่าย ทนกรดด่างและความร้อนได้ดี ไม่ละลาย ได้รับการรับรองว่าปลอดภัยจากองค์กรทางอาหารทั่วโลก เพราะมีการวิจัยพบว่าเมื่อใช้น้ำร้อนๆ ลงไปในแก้วที่ทำจากโฟมโพลีสไตรีน พบว่ามีสิทธิสลายพันธะทางเคมีทำให้เกิดสไตรีนหลุดออกมาแค่ 1 ใน พันเท่าของเกณฑ์ที่กำหนดเท่านั้น จึงไม่เห็นด้วยที่จะให้เลิกใช้โดยอ้างเรื่องสุขภาพ เพราะไม่ยุติธรรมต่อผู้ประกอบการกล่องโฟม แต่เห็นด้วยหากระบุว่าเป็นขยะที่ทำลายยาก รีไซเคิลยาก ไม่ดีต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังระบุว่า การรณรงค์ให้ใช้กล่องอาหารชานอ้อยแทนนั้น อาจเป็นเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะคุณหมอท่านหนึ่งนั้นขายกล่องอาหารชานอ้อย (อ่านฉบับเต็มได้ที่ https://www.facebook.com/jessada.denduangboripant/posts/802701586527144

ขณะที่ นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ออกมาสนับสนุนแนวคิดของ รศ.เจษฎา โดยระบุว่า สิ่งที่ รศ.เจษฎา กล่าวนั้นถูกต้องแล้ว การที่เลี่ยงกล่องโฟมนั้นเป้นเรื่องดี แต่ประเด็นหลักมองว่าอยู่ที่เรื่องส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า ส่วนเรื่องสุขภาพมีบ้าง แต่ไม่ใช่ประเด็นหลัก เพราะกรมฯ เคยมีการตรวจสอบพบว่า สารสไตรีนจะออกมาจากกล่องโฟมได้ก็ต่อเมื่อถูกน้ำมันร้อนจัด ๆ แต่การระเหยออกมาของสารดังกล่าว ถือว่าไม่มากมาย ถ้าเทียบกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

น.ส.จารุวรรณ ลิ้มสัจจะสกุล ผู้อำนวยการสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า สารสไตรีน มีผลต่อระบบประสาท ส่วนกล่องโฟมทำมาจากโพลีสไตรีน ซึ่งไม่ใช่สารพิษโดยตรง ที่กังวลคือสารพิษที่หลงเหลือจากการผลิตกล่องโฟมมากกว่า เพราะหากไปสัมผัสกับอาหารที่มีน้ำมันร้อน ๆ ก็ย่อมมีโอกาสเสี่ยงได้รับสารสไตรีนได้ โดยกล่องโฟมผลิตจากโพลีสไตรีน มีอากาศเป็นองค์ประกอบอยู่ร้อยละ 95 และมีโพลีสไตรีนร้อยละ 5 ตรงจุดนี้ที่กังวลกัน แต่ไม่ใช่ทั้งหมด สิ่งสำคัญคือ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมมากกว่า เนื่องจากย่อยสลายยาก และหากนำไปเผาก็ทำให้เกิดแก๊สที่กระทบต่อภาวะเรือนกระจก ดังนั้น ต้องเลือกวัสดุสัมผัสอาหารให้เหมาะสมกับอาหารดีที่สุด

นพ.ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กล่องโฟมบรรจุอาหารเชื่อมโยงกับมะเร็งโดยตรงนั้น อันที่จริงยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ขนาดนั้น สิ่งที่สำคัญคือว่า โฟมที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีสารสไตรีน ซึ่งจะออกมาปนเปื้อนกันอาหารเมื่อถูกความร้อนหรือความมัน ในเกณฑ์มาตรฐานสัก 1,000 มิลลิกรัม อาจจะละลายปนเปื้อนออกมาสัก 300 - 400 มิลลิกรัม ซึ่งถ้าประชาชนกินอาหารที่มีสารสไตรีนปนเปื้อนอยู่เรื่อย ๆ สารตัวนี้จะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ผู้บริโภคต้องระมัดระวัง แม้จะเป็นปริมาณไม่เยอะ แต่ด้วยปริมาณ ความถี่ และระยะเวลาที่สะสม ก็อาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยงได้ สารสไตรีนอาจจะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อร่างกายได้หากสัมผัสสารที่มีความเข้มข้นสูง การบริโภคอาจจะไม่ส่งผลเท่าใด แต่ผู้ที่ต้องผลิตกล่องโฟมหรือผู้ที่ต้องทำลายกล่องโฟมนั้นจะได้รับผลกระทบต่อสุขภาพโดยตรง

นพ.ดนัย กล่าวต่อว่า กล่องชานอ้อยนั้นเป็นภาชนะทดแทน ถ้ามองในแง่ของสิ่งแวดล้อม กล่องโฟมถือว่ากำจัดยากกว่ามาก และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่ากล่องชานอ้อย เช่นถ้าเตากำจัดขยะไม่ได้มาตรฐานควันจากการกำจัดโฟมก็จะฟุ้งกระจาย ส่งผลกระทบต่อร่างกาย กล่องชานอ้อยสลายได้ง่ายกว่า แต่ก็ยังมีราคาที่สูงกว่ากล่องโฟมอยู่ จึงได้พยายามรณรงค์ให้ประชาชนลดใช้กล่องโฟม เพื่อที่จะได้ช่วยลดปริมาณขยะด้วย แต่จากข้อมูลปี 2556 นั้น พบว่า คนไทยใช้กล่องโฟมคนละ 1 กล่องต่อวัน และปีต่อๆมาก็ลดลงจากข้อมูลเดิมไม่มาก ลดได้ไม่ถึง 1% จึงอยากขอให้บรรดาผู้ประกอบการช่วยลดการใช้กล่องโฟมด้วย

“ส่วนกล่องชานอ้อยมีความอันตรายน้อยกว่าหรือไม่หากนำไปบรรจุอาหาร ก็ยังเป็นเรื่องที่ทางกรมอนามัยต้องเก็บข้อมูล และเฝ้าระวังต่อไปว่ากล่องแบบชานอ้อย จะมีสารตัวใดที่ละลายออกมาเหมือนกรณีของกล่องโฟมหรือไม่ และขอยืนยันว่า ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผลประโยชน์กับบริษัทผลิตภาชนะทดแทนหรือกล่องชานอ้อยแน่นอน ไม่ได้มีใครถือหุ้นอยู่ แต่ที่พยายามรณรงค์เรื่องการลดใช้โฟมเนื่องจากมีสารที่เป็นปัจจัยกระตุ้นใก้เกิดมะเร็ง และต้องการลดปริมาณขยะจากโฟมที่จะเกิดขึ้น เพราะจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อมและตัวประชาชนเอง” นพ.ดนัย กล่าว

รศ.ดร.กรรนิการ์ ฉัตรสันติประภา อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า สารสไตรีนโมโนเมอร์ เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีและเปลี่ยนไปเป็นสไตลีนออกไซด์ที่สามารถก่อมะเร็งได้ ซึ่งการคาดคะเนความเสี่ยงมีโอกาสเป็นมะเร็งได้ 1 ในล้าน ถือเป็นอัตราที่ไม่สามารถยอมรับได้ เพราะไม่ต้องการให้ประชาชนมีความเสี่ยงใด ๆ เลย ซึ่งจากการที่ตนศึกษาวิจัยเรื่องนี้ ซึ่งคำนวณโดยอิงค่าหน่วยบริโภคอาหารของคนไทย พบว่าแม้บริโภค 1 กล่องต่อวันก็มีโอกาสเป็นมะเร็งเกินกว่า 1 ในล้าน เป็นค่าที่ยอมรับไม่ได้

 ที่มา thaitribune



Create Date : 13 มิถุนายน 2559
Last Update : 13 มิถุนายน 2559 10:58:58 น. 0 comments
Counter : 658 Pageviews.

p_chusaengsri
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 52 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add p_chusaengsri's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.