คืบหน้าโครงการสำรวจและออกแบบทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 35 ธนบุรี-ปากท่อ (ถนนพระราม 2)



กรมทางหลวง สรุปผลการคัดเลือกรูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมของโครงการการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการก่อสร้างทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 35 สายธนบุรี – ปากท่อ (ถนนพระราม 2) คาดนำเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการต่อรัฐบาลภายในปี 2560-2561

 

จากปัญหาการจราจรที่ติดขัดของถนนพระราม 2 ตั้งแต่บริเวณฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร ถึงจังหวัดสมุทรสาคร เนื่องจากบริเวณสองข้างทางมีชุมชนหนาแน่น มีสถานที่สำคัญหาลายแห่ง ทั้งสถานศึกษา โรงพยาบาล นิคมอุตสาหกรรม และสถานที่ท่องเที่ยว ทำให้เกิดความไม่สะดวกและความล่าช้าในการเดินทาง อีกทั้งทางหลวงสายนี้ยังมีข้อจำกัดทางด้านพื้นที่ในการขยายถนน  

ทางหลวงหมายเลข 35 สายธนบุรี-ปากท่อ หรือถนนพระราม 2 ซึ่งเป็นทางหลวงที่เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2516 มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเส้นทางหลักในการคมนาคมขนส่งสู่ภาคใต้ซึ่งจะช่วยย่นระยะทางลงสู่ภาคใต้ได้สั้นกว่าถนนเพชรเกษม ประมาณ 40 กิโลเมตร โดยมีการก่อสร้างขยายเป็นทางขนาด 8-12 ช่องจราจรแล้วในบางช่วง ปัจจุบันถนนพระราม 2 มีการจราจรประมาณ 100,00-150,000 คันต่อวัน และยังมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี  ทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนและวันหยุดในเทศกาลต่างๆ

กรมทางหลวงจึงมีแนวคิดที่จะก่อสร้างทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 35 สายธนบุรี–ปากท่อ (ถนนพระราม 2) ในลักษณะรูปแบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Motorway)  ซึ่งมีการควบคุมการเข้า-ออกและระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง เพื่อแก้ปัญหาการจราจรดังกล่าว และเสริมโครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล กับพื้นที่ภาคใต้ เพื่อให้การเดินทางเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง สามารถลดต้นทุนการขนส่ง ทำให้การเดินทางสู่ภาคใต้สามารถเดินทางได้สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากขึ้นรวมทั้งยังเป็นการเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันของประเทศอีกด้วย

กรมทางหลวง จึงดำเนินการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการก่อสร้างทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 35 สายธนบุรี-ปากท่อ (ถนนพระราม 2) ในปี พ.ศ. 2556 โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการที่ กม.9+731 บริเวณจุดตัดทางหลวงหมายเลข 35 กับทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 (ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 2) ไปจนถึง กม.84+000 บริเวณจุดตัดทางหลวงหมายเลข 35 ไปบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 4 (แยกวังมะนาว) ระยะทางรวมประมาณ 75 กิโลเมตร

ดำเนินการโดย บริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท นิวแอสเซท แอดไวเซอรี่ จำกัด บริษัท ยูทิลิตี้ ดีไซน์ คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท พรี ดีเวลลอปเมนท์ คอนซัลแตนท์ จำกัด ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 และได้ดำเนินการสำรวจและออกแบบรายละเอียด โครงการสำรวจและออกแบบรายละเอียดทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 35 (ธนบุรี-ปากท่อ) โดยแบ่งพื้นที่ศึกษาออกเป็น 3 ตอน โดยมีรายละเอียดดังนี้

ตอน 1 : ปี พ.ศ. 2556 กรมทางหลวงได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท เอซิลอน จำกัด บริษัท โชติจินดา มูเชล คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท ซี คอนซัลท์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และบริษัท ยูไนเต็ด
แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ให้เป็นผู้ดำเนินการศึกษาในระยะทาง 11.5 กิโลเมตรแรก เริ่มจากที่ กม.9+731 บริเวณจุดตัดทางหลวงหมายเลข 35 กับทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 (ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 2) ไปจนถึง กม.21+500 บริเวณจุดตัดทางหลวงหมายเลข 3242 (ถนนเอกชัย) ดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนกันยายน พ.ศ. 2557

ตอน 2 ส่วนที่ 1 : ปี พ.ศ. 2557 กรมทางหลวงได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท เอพซิลอน จำกัด บริษัท แพลนโปร จำกัด บริษัท นูแมพ จำกัด บริษัท เอส ที เอส เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท เอเซีย แล็ป แอนด์ คอนซัลแตนท์ จำกัด ให้ดำเนินการศึกษาสำรวจและออกแบบทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 35 (ธนบุรี-ปากท่อ) ตอน 2 (ส่วนที่ 1) ช่วง กม.21+500 บริเวณจุดตัดทางหลวงหมายเลข 3242
(ถนนเอกชัย) ถึง กม.41+500 บริเวณบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ระยะทาง 20 กิโลเมตร ดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนกันยายน พ.ศ. 255
8

ตอน 2 ส่วนที่ 2 : ปี พ.ศ. 2557 กรมทางหลวงได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนส์ จำกัด บริษัท พีเอสเค คอนซัลแตนส์ จำกัด และบริษัท แมคโครคอนซัลแตนท์ จำกัด ให้ดำเนินการศึกษาสำรวจและออกแบบทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 35 (ธนบุรี-ปากท่อ) ตอน 2
(ส่วนที่ 2) ช่วง กม.41+500 บริเวณบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ถึง กม.62+800 บริเวณจุดตัดทางหลวงหมายเลข 325 (แยกจังหวัดสมุทรสงคราม) ระยะทาง 21 กิโลเมตร ดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม พ.ศ. 255
8

ต่อมา กรมทางหลวงได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ให้ดำเนินการสำรวจและออกแบบรายละเอียดในแนวเส้นทางของทางหลวงหมายเลข 35 ตอน 3 ที่ยังเหลืออยู่ ตั้งแต่บริเวณ กม.62+800 ถึง กม.84+000 ระยะทางประมาณ 21.2 กิโลเมตร โดยแบ่งเป็น 2 โครงการ ดังนี้

ตอน 3 ส่วนที่ 1 : ช่วง กม.62+800 บริเวณจุดตัดทางหลวงหมายเลข 325 (แยกสมุทรสงคราม)

ถึง กม.72+800 บริเวณจุดตัดทางหลวงชนบท สค.4012 กรมทางหลวงโดยสำนักสำรวจและออกแบบ ได้ว่าจ้าง
กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนส์ จำกัด บริษัท พีเอสเค คอนซัลแตนส์ จำกัด และบริษัท ธรรมชาติ คอนซัลแตนท์ จำกัด ให้ดำเนินการศึกษาสำรวจและออกแบบทางยกระดับ
บนทางหลวงหมายเลข 35 (ธนบุรี-ปากท่อ) ตอน 3 (ส่วนที่ 1) ระยะทาง 10 กิโลเมตร

ตอน 3 ส่วนที่ 2 : ช่วง กม.72+800 บริเวณจุดตัดทางหลวงชนบท สค.4012 ถึง กม.84+000 บริเวณจุดตัดทางหลวงหมายเลข 35 ไปบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 4 (แยกวังมะนาว) กรมทางหลวงโดยสำนักสำรวจและออกแบบ ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท เอพซิลอน จำกัด บริษัท แพลนโปร จำกัด บริษัท นูแมพ จำกัด บริษัท เอส ที เอส เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท เอเซีย แล็ป แอนด์ คอนซัลแตนท์ จำกัด ให้ดำเนินการศึกษาสำรวจและออกแบบทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 35 (ธนบุรี-ปากท่อ) ตอน 3 (ส่วนที่ 2) ระยะทาง 11.2 กิโลเมตร

โครงการมีจุดเริ่มต้นจากบริเวณจุดตัดทางหลวงหมายเลข 35 กับทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 (ถนนกาญจนาภิเษก) บริเวณทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน กิโลเมตรที่ 9+731 ไปบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม)  บริเวณทางแยกต่างระดับวังมะนาว กิโลเมตรที่ .84+000)  อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี  รวมระยะทางประมาณ 75 กิโลเมตร  โดยมีจุดขึ้น-ลง จำนวน 7 จุด คือ

1.บางขุนเทียน  2.พันท้ายนรสิงห์  3.มหาชัยเมืองใหม่  4.สมุทรสาคร  5.บ้านแพ้ว  6.สมุทรสงคราม 7.วังมะนาว  อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี

รูปแบบโครงการ : เป็นทางหลวงพิเศษเก็บค่าผ่านทาง โดยบางช่วงเป็นทางยกระดับ บางช่วงเป็นทางพิเศษระดับพื้น มีกำแพงคอนกรีตเพื่อไม่ให้บุคคลภายนอกเข้ามาในพื้นที่ ซึ่งมีเขตทางกว้าง 80 เมตร   การพัฒนาโครงการดังกล่าว จะพัฒนาในเขตทางเดิม โดยลงเสาเข็มบนพื้นที่เกาะกลางถนน จุดที่เป็นจุดกลับรถจะมีการเพิ่มพื้นที่ และจะมีการชดเชยค่าเวนคืนที่ดินแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ

สำหรับรูปแบบการลงทุนมอเตอร์เวย์นั้น จะเป็นการร่วมทุนเอกชน (PPP) ทั้งสาย โดยอาจจะเปิดประมูลหรือพิจารณาใช้เงินกองทุนโครงสร้างพื้นฐานหรือไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์ เพื่อเป็นแหล่งเงินของโครงการ

แผนการดำเนินงาน : โครงการดังกล่าวกำลังอยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียด  เพื่อนำเสนอกระทรวงคมนาคม โดยคาดว่าจะนำเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการต่อรัฐบาลภายในปี 2560-2561 วงเงินค่าก่อสร้าง 89,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ ประชาชนสามารถสอบถามและติดตามรายละเอียดของโครงการก่อสร้างฯเพิ่มเติมได้ที่สำนักสำรวจและออกแบบ กรมทางหลวง โทร. 0 2354 1048 หรือเว็บไซด์ www.highway35-3.com และสายด่วนกรมทางหลวง 1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง)

ขอบคุณข้อมูลจาก นิตยสารบ้านพร้อมอยู่ , //www.highway35-3.com

ที่มา thaitribune




Create Date : 03 พฤศจิกายน 2559
Last Update : 3 พฤศจิกายน 2559 21:58:12 น. 0 comments
Counter : 472 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

p_chusaengsri
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 52 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add p_chusaengsri's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.