รัฐเตรียมโอนเงินให้เกษตรกรไม่มีงานทำหรือรายได้น้อย 1,500-3,000 บาทผ่านธ.ก.ส.ให้ครั้งเดียว



รัฐบาลเตรียมโอนเงินให้เกษตรกรผู้มีรายได้น้อยแต่ต้องลงทะเบียนไว้สิ้นสุด 15 สิงหาคม 2559 เผยให้รายละ 1,500-3,000 บาท ใช้ขีดความยากจนเป็นเส้นแบ่งครอบครัวละไม่เกิน 100,000 บาทต่อปีถือว่ามีรายได้น้อยหรือบุคคลไม่เกิน 30,000 ต่อปีถือว่าอยู่ในเส้นความยากจน เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต

 

เมื่อ เวลา 13.40 น. วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 บริเวณห้องโถง ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเปิดเผยถึงการตรวจสอบคุณสมบัติของเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยและหลักเกณฑ์ในการโอนเงินภายใต้มาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้มีรายได้น้อย (มาตรการส่งเสริมคุณภาพชีวิตเกษตรกรรายย่อย)ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการตรวจสอบคุณสมบัติของเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยและหลักเกณฑ์ในการโอนเงินภายใต้มาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้มีรายได้น้อยตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ

ทั้งนี้สาระสำคัญของเรื่อง กระทรวงการคลังได้หารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กรมส่งเสริมการเกษตร และ ธ.ก.ส. เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 เพื่อกำหนดคุณสมบัติของเกษตรกรและหลักเกณฑ์ในการโอนเงินใต้มาตรการเพิ่มรายได้ฯ ให้มีรายได้เพียงพอสำหรับการดำรงชีวิต โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. คุณสมบัติของเกษตรกรตามมาตรการเพิ่มรายได้ฯ เกษตรกรผู้มีรายได้น้อยที่มีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินโอนตามมาตรการดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ที่มาลงทะเบียนในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐระหว่างวันที่ 15 กรกฎาคม – 15สิงหาคม 2559 ซึ่งต้องมีคุณสมบัติพื้นฐานและคุณสมบัติเฉพาะสำหรับมาตรการเพิ่มรายได้เกษตรกรผู้ที่มีรายได้น้อย ดังนี้

1) คุณสมบัติพื้นฐาน ได้แก่ เป็นบุคคลสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2559 (วันสุดท้ายของการเปิดให้ลงทะเบียน) และเป็นผู้ว่างงานหรือมีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี ในปี 2558 โดยมีการตรวจสอบสถานะบุคคลและความถูกต้องของข้อมูลในเบื้องต้นจากกรมสรรพากรและกรมการปกครองแล้ว

2) คุณสมบัติเฉพาะสำหรับมาตรการเพิ่มรายได้ฯ ต้องเป็นผู้มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนเกษตรกรหรือเป็นสมาชิกในครัวเรือนของผู้ที่อยู่ในทะเบียนเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร หรือเป็นผู้มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนผู้เลี้ยงสัตว์ของกรมปศุสัตว์ หรือทะเบียนผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามข้อเสนอของ สศช.

ทั้งนี้ในกรณีที่เกษตรกรที่ลงทะเบียนในโครงการนี้เป็นหัวหน้าครัวเรือนในทะเบียนเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร จะต้องปรากฏเป็นที่ประจักษ์ว่าครัวเรือนนี้มีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี จึงจะมีสิทธิ์ได้รับเงินโอน ทั้งนี้ ธ.ก.ส. จะเป็นผู้ดำเนินการเทียบข้อมูลจากฐานข้อมูลผู้มีรายได้น้อยที่มาลงทะเบียนในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐในข้อ 1

2. หลักเกณฑ์การโอนเงิน

1) หลักเกณฑ์ในการกำหนดจำนวนเงินที่โอนให้แก่เกษตรกรตามมาตรการเพิ่มรายได้ฯ หลักเกณฑ์ในการโอนเงินให้เกษตรกรจะใช้เส้นความยากจน (Poverty Line) ที่คำนวณโดย สศช. เป็นเกณฑ์ในการอ้างอิง โดยในปี 2257 เส้นความยากจนอยู่ที่ระดับประมาณ 30,000 บาทต่อปี ดังนั้น รัฐบาลจะให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรที่มีรายได้ต่ำกว่า30,000 บาทต่อปี เป็นมูลค่ามากกว่าเกษตรกร ที่มีรายได้สูงกว่า 30,000 บาทต่อปี เนื่องจากเป็นกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบทางรายได้มากกว่า

2) อัตราเงินโอน

2.1) เกษตรกรที่ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี โอนเงินให้จำนวน 3,000 บาทต่อคน เพียงครั้งเดียวผ่าน ธ.ก.ส.

2.2) เกษตรกรที่มีรายได้สูงกว่า 30,000 บาทต่อปี แต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี โอนเงินให้จำนวน 1,500 บาทต่อคน เพียงครั้งเดียวผ่าน ธ.ก.ส.

3) วิธีการโอนเงิน กำหนดใน ธ.ก.ส. เป็นผู้โอนเงินเข้าบัญชีให้แก่เกษตรกรที่มีคุณสมบัติตามข้อ 2.1 โดยตรง ทั้งนี้ ในกรณีที่เกษตรกรดังกล่าวไม่มีบัญชีเงินฝากกับ ธ.ก.ส. นั้น ธ.ก.ส. จะดำเนินการประสานงานกับธนาคารออมสินและธนาคารกรุงไทยเพื่อโอนเงินให้เกษตรกรต่อไป

สำหรับเกษตรกรที่ไม่มีบัญชีเงินฝากใน 3 ธนาคารข้างต้น ให้ ธ.ก.ส. ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรมาแจ้งเลขที่บัญชี ชื่อบัญชี และธนาคารที่ประสงค์จะให้โอนไปให้ได้ที่ ธ.ก.ส. ได้ทุกสาขา

ที่มา thaitribune




Create Date : 02 พฤศจิกายน 2559
Last Update : 2 พฤศจิกายน 2559 16:17:58 น. 0 comments
Counter : 268 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

p_chusaengsri
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 52 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add p_chusaengsri's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.