นกละเมอ
Group Blog
 
All blogs
 

บทสรุป สติปัฏฐาน ๔ ของหลวงพ่อจรัญ

       สติปัฏฐาน


   มักจะมีคำถามอยู่เสมอว่า เราจะปฏิบัติธรรมในแนวไหน หรือ


สำนักใด จึงจะเป็นการถูกต้องและได้ผล คำถามเช่นนี้เป็นคำถามที่


ถูกต้องและไม่ควรถูกตำหนิว่าชอบเลือกนั่นเลือกนี่ ที่ถามก็เพื่อระวังไว้


ไม่ให้เดินทางผิด ทางปฏิบัติที่ถูกต้อง คือ ปฏิบัติตามสติปัฏฐาน ๔


   สติปัฏฐาน ๔ แปลให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ฐานที่ตั้งของสติ หรือ


เหตุปัจจัยสำหรับปลูกสติให้เกิดขึ้นในฐานทั้ง ๔ คือ


    ๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การพิจารณากาย จำแนกโดยละเอียดมี ๑๔ อย่างคือ


. อัสสาสะปัสสาสะ คือ ลมหายใจเข้าออก


. อิริยาบถ ๔ ยืน เดิน นั่ง นอน


. อิริยาบถย่อย การก้าวไปข้างหน้า ถอยไปทางหลัง คู้ขาเข้า


เหยียดขาออก งอแขนเข้า เหยียดแขนออก การถ่ายหนัก ถ่ายเบา


การกิน การดื่ม การเคี้ยว ฯลฯ คือ การเคลื่อนไหวร่างกายต่าง ๆ


. ความเป็นปฏิกูลของร่างกาย (อาการ ๓๒)


. การกำหนดร่างกายเป็นธาตุ ๔


. ป่าช้า ๙


๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การเจริญสติเอาเวทนาเป็นที่ตั้ง


เวทนาแปลว่า การเสวยอารมณ์ มี ๓ อย่างคื


. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา ๓. อุเบกขาเวทนา


เมื่อเวทนาเกิดขึ้น ก็ให้มีสติสัมปชัญญะกำหนดไปตามความเป็น


จริงว่า เวทนานี้เมื่อเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่เที่ยงแท้แน่นอน เวทนา


ก็สักแต่ว่าเวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขาไม่ยินดียินร้าย ตัณหา


ก็จะไม่เกิดขึ้น และปล่อยวางเสียได้ เวทนานี้เมื่อเจริญให้มาก ๆ


เป็นไปอย่างสมบูรณ์แล้ว อาจทำให้ทุกขเวทนาลดน้อยลง หรือไม่มี


อาการเลยก็เป็นได้ อย่างที่เรียกกันว่า สามารถแยก รูป นาม ออก


จากกันได้ (เวทนาอย่างละเอียดมี ๙ อย่าง)


๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้แก่ การปลูกสติโดยเอาจิตเป็น


อารมณ์ หรือเป็นฐานที่ตั้งจิตนี้มี ๑๖ คือ




  •  จิตมีราคะ จิตปราศจากราคะ



  •  จิตมีโทสะ จิตปราศจากโทสะ



  •  จิตมีโมหะ จิตปราศจากโมหะ



  •  จิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน



  •  จิตยิ่งใหญ่ (มหัคคตจิต) จิตไม่ยิ่งใหญ่ (อมหัคคตจิต)



  •  จิตยิ่ง (สอุตตรจิต) จิตไม่ยิ่ง (อนุตตรจิต)



  •  จิตตั้งมั่น จิตไม่ตั้งมั่น



  •  จิตหลุดพ้น จิตไม่หลุดพ้น



การทำวิปัสสนา ให้มีสติพิจารณากำหนดให้เห็นว่า จิตนี้เมื่อ


เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่เที่ยงแท้แน่นอน ละความพอใจและความ


ไม่พอใจออกเสียได้


๔. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ มีสติพิจารณาธรรมทั้งหลาย


ทั้งปวง คือ


๔.๑ นิวรณ์ คือ รู้ชัดในขณะนั้นว่า นิวรณ์ ๕ แต่ละอย่างมี


อยู่ในใจ หรือไม่ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้วละเสียได้


อย่างไร ที่ละได้แล้วไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปอย่างไร ให้รู้ชัดตามความเป็น


จริงที่เป็นอยู่ในขณะนั้น


๔.๒ ขันธ์ ๕ คือ กำหนดรู้ว่าขันธ์ ๕ แต่ละอย่างคืออะไร


เกิดขึ้นได้อย่างไร ดับไปได้อย่างไร


๔.๓ อายตนะ คือ รู้ชัดในอายตนะภายในภายนอกแต่ละอย่าง


รู้ชัดในสังโยชน์ที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยอายตนะนั้น ๆ รู้ชัดว่าสังโยชน์


ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้วละเสียได้อย่างไร


๔.๔ โพชฌงค์ คือ รู้ชัดในขณะนั้นว่า โพชฌงค์ ๗ แต่ละ


อย่างมีอยู่ในใจตนหรือไม่ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้ว


เจริญเต็มบริบูรณ์ได้อย่างไร


๔.๕ อริยสัจ ๔ คือ รู้ชัดอริยสัจ ๔ แต่ละอย่างตามความ


เป็นจริงว่าคืออะไร


สรุป ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานนี้ คือ จิต ที่คิดเป็น กุศล อกุศล


และอัพยากฤต เท่านั้น ผู้ปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ ต้องทำความเข้าใจ


อารมณ์ ๔ ประการให้ถูกต้องคือ


๑. กาย ทั่วร่างกายนี้ไม่มีอะไรสวยงามแม้แต่ส่วนเดียว ควร


ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้


๒. เวทนา สุข ทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์นั้น แท้จริงแล้วมีแต่


ทุกข์ แม้เป็นสุขก็เพียงปิดบังความทุกข์ไว้


๓. จิต คือ ความนึกคิด เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงแปรผัน ไม่เที่ยง


ไม่คงทน


๔. ธรรม คือ อารมณ์ที่เกิดกับจิต อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น


เมื่อเหตุปัจจัยดับไป อารมณ์นั้นก็ดับไปด้วย ไม่มีสิ่งเป็นอัตตาใด ๆ เลย


จากหนังสือคู่มือการฝึกอบรมพัฒนาจิต วัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี


โดย พ..วิง รอดเฉย ปี ๒๕๒๙







 

Create Date : 25 พฤศจิกายน 2551    
Last Update : 25 พฤศจิกายน 2551 15:45:22 น.
Counter : 565 Pageviews.  

สติปัฏฐาน ๔ [๓๐๐] จบมหาสติปัฏฐานสูตร ที่ ๙

[๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้  อย่างนี้ ตลอด๗ ปี


เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ  


พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑   


๗ ปี  ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี ... ๒ ปี ... ๑ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการ


อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลใน  ปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี


๑ ปียกไว้ ผู้ใดผู้  หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔  นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ 


อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑


๗ เดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้  ตลอด ๖ เดือน ... ๕ เดือน ... ๔ เดือน ...


๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน ... กึ่ง เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ


พระอรหัตผลในปัจจุบัน  ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑


กึ่งเดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔  นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใด     


 อย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็น พระอนาคามี ๑ ฯ


      ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อ


ล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส เพื่อ  บรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้


แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔  ประการ ฉะนี้แล


คำที่เรากล่าว ดังพรรณนามาฉะนี้ เราอาศัยเอกายนมรรคกล่าว  แล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว


ภิกษุเหล่านั้น ยินดี ชื่นชมภาษิต    ของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนี้แล ฯ           


      จบมหาสติปัฏฐานสูตร ที่ ๙    


.com/cafe/richtext/ target=_blank>Free TextEditor




 

Create Date : 24 พฤศจิกายน 2551    
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2551 14:18:01 น.
Counter : 240 Pageviews.  

สติปัฏฐาน ๔ [๒๙๙] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

[๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน  นี้คือมรรค


มีองค์ ๘ อันประเสริฐ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา  สัมมากัมมันตะ สัมมา


อาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ     


      ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ


ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ฯ 


      สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ความดำริในการออกจากกาม ความดำริใน ความไม่


พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน อันนี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ ฯ     


      สัมมาวาจา เป็นไฉน การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด


งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ อันนี้เรียกว่า     สัมมาวาจา ฯ  


      สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการถือ เอาสิ่งของ


ที่เขามิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม อันนี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ ฯ   


      สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จ


การเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ อันนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ ฯ  


      สัมมาวายามะ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดฉันทะพยายาม   ปรารภความ


เพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่    เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละ


อกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยัง     ไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่


ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้น เต็มเปี่ยม  แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันนี้เรียกว่า


สัมมาวายามะ ฯ   


   สัมมาสติ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ


มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ


พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ


มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้ อันนี้เรียกว่า สัมมาสติ ฯ    


      สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก  อกุศลธรรม


บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่     เธอบรรลุทุติยฌาน มีความ


ผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร


มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมี     อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะ


ปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน  ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา


มีสติอยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส   


 โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมา    สมาธิ ฯ     


      ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามิมีปฏิปทาอริยสัจ ฯ 


      ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง  


พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง


พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในภายนอกบ้าง


พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง


พิจารณาเห็นธรรมคือ เสื่อมในธรรมบ้าง


พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง   ย่อมอยู่


อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้  


เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก


ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็น    ธรรมในธรรมอยู่ ฯ    


                      จบสัจจบรรพ


                     จบธัมมานุปัสสนา  






 

Create Date : 24 พฤศจิกายน 2551    
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2551 14:08:05 น.
Counter : 226 Pageviews.  

สติปัฏฐาน ๔ [๒๙๘] ทุกขนิโรธอริยสัจ

[๒๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน


ความสำรอก   และความดับโดยไม่เหลือ ความสละ ความส่งคืน ความปล่อยวาง ความไม่มี อาลัย ในตัณหานั้น


ก็ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่ไหน เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่ไหน


ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้


อะไรเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ฯ


      ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคล จะละ


ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ รูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์


เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้


เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ ฯ


      จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ   มโนวิญญาณ


เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสีย    ได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับ


ในที่นี้ ฯ 


      จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็นที่


รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้   เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ


      จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา   ชิวหาสัมผัสส


ชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก ตัณหา


เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ  ย่อมดับในที่นี้ ฯ   


      รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา   ธัมมสัญญา เป็นที่


รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสีย    ได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ 


      รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา   โผฏฐัพพสัญเจตนา


ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อ


จะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ  


     รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา


เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้   เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ


      รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็นที่รักที่เจริญ


ใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ   ย่อมดับในที่นี้ ฯ   


      รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร    เป็นที่รักที่เจริญ


ใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ    


      ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ





 

Create Date : 24 พฤศจิกายน 2551    
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2551 14:01:15 น.
Counter : 249 Pageviews.  

สติปัฏฐาน ๔ [๒๙๖] - [๒๙๗] ทุกขสมุทัยอริยสัจ

        [๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นไฉน


ตัณหานี้ใด อันมีความเกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน


พลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา   


        [๒๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย


ก็ตัณหานี้นั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่ไหน


ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา นั้นเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้


เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ อะไรเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ฯ   


      ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิดย่อมเกิดที่นี้


เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ณ ที่นี้ ฯ 


      รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รักที่เจริญใจใน โลก ตัณหา


เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ


      จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ    มโนวิญญาณ


เป็นที่รักที่เจริญในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้นในที่นี้  เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ   


      จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส


เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ   


      จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา   ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา


กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา


เป็นที่รัก   ที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่    ในที่นี้ ฯ   


      รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา


เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะ    ตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ   


      รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา


ธัมมสัญเจตนา


เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อม เกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ    


      รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา


เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะ ตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ   


      รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก    


เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่  ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ     


  รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร 


เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่  ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ     


      ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ     





 

Create Date : 24 พฤศจิกายน 2551    
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2551 13:54:52 น.
Counter : 243 Pageviews.  

1  2  3  4  5  

นกละเมอหลงเวลา
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add นกละเมอหลงเวลา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.