Group Blog
 
All Blogs
 

ภาพจิตรกรรมสิบสองภาษาที่วัดพระเชตุพน

ภาพจิตรกรรมสิบสองภาษาที่วัดพระเชตุพน เขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 มีคำจารึกเป็นโคลงประกอบรูปหล่ออยู่ที่ศาลาราย 16 หลัง เป็นเรื่องเกี่ยวกับชนชาติต่าง ๆ 32 ภาษาด้วยกัน แต่ที่เราเรียกว่า สิบสองภาษานั้นเพราะเป็นคำไทยเดิมที่ใช้เรียก คนต่างชาติ นั่นเอง (จริง ๆ แล้วมีชาติมากกว่านั้น)

ภาพจิตรกรรมเหล่านั้น ปัจจุบันได้ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา อีกทั้งโคลงประกอบและรูปหล่อก็สูญหายไปเกือบหมด

ภาพนำมาแสดงเป็นภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์จำนวน 12 ภาพด้วยกัน เรามาดูกันเถอะค่ะ

ภาพที่ 1 ชาติรัสเซีย (เมืองปีเตอร์สเบิรก์)





2. ชาติมอญ




3. สยาม
ตอนนั้นยังไม่ได้ชื่อเป็น ไทย เลยนะ ประเทศเราชื่อสยามมาตั้งนานแล้วตั้งแต่สมัยก่อนสุโขทัย อยู่ ๆ เปลี่ยนเป็น ไทย (...)




4. ชาติจาม (จามคือเวียดนามที่อยู่ตอนใต้ของประเทศ และเข้ามาอยู่ในเขมรด้วย เรียกแขกจามก็ได้)




5. ชาติดอดชิ (คงเป็นดัตซ์ น่ะ)




6. ชาติหุ้ยหุย
(ไม่รู้จักงะ..)



7. ชาติพม่า (เพื่อนบ้านเราเอง)
ถ้าคนเคยใช้ยาหม่องจะรู้จักพม่าดี




8. ชาติกะเหรี่ยง
อันนี้มีปัญหา คือว่าขอชี้แจงหน่อยนะ คือ ภาพมาเป็นชาย 2 คนแบกหน้าไม้อ่ะ แต่กลอนที่ผู้พิมพ์เอามาใส่ด้านหลังภาพเป็นชาติมลายู เราว่ามันผิดนะ น่าจะเป็น ชาติกะเหรี่ยงมากกว่า เพราะเราเคยเห็นตามจิตรกรรมฝาผนังเป็นชาวกะเหรี่ยงถือหน้าไม้ ล่าสัตว์ ดูได้ที่ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ หรือ วัดประตูสาร จ.สุพรรณบุรี(อันนี้เด็ดมาก กะเหรี่ยงจะปีนขึ้นหาพระแม่ธรณี--ตอนมารผจญ)
เราก็เลยจัดการพิมพ์ใหม่ เป็นโคลงชาติกะเหรี่ยง ซะเลย
(ถ้าคิดว่าไม่ถูก ก็Comment มาเลยค่ะ)

ของเดิมเป็นชาติมลายู



ที่ถูกต้อง เป็นชาติกะเหรี่ยง นะคร๊าบ..บ



9. แขกจุเหลี่ย
(อือ..อ ไม่รู้จัก)



10. ชาติเงี๊ยว
(แต่งกายเหมือนงิ้วเลยค่ะ)





11. ญี่ปุ่น (Nippon)
เหมือนงิ้วอีกเช่นกัน





12. ชาติอาฟกัน







สังเกตนะคะ ชาวสยามมองชาติอื่นว่าด้อยกว่าตนเอง ดูอย่าง ชาติอาฟกัน มีคำว่า "โฉดชาติฉวี" และ "เครื่องแต่งร่างร้าย" ด้วย




 

Create Date : 21 มิถุนายน 2552    
Last Update : 21 มิถุนายน 2552 23:12:21 น.
Counter : 5737 Pageviews.  

เรียนประวัติศาสตร์ศิลปะแล้วได้อะไร ?





เมื่อแรกเริ่ม ข้าพเจ้าก็คิดจะเรียนต่อปริญญาโท สาขาบริหาร หรืออะไรแนว ๆนี้ แต่เมื่อไปสืบค้นดูแล้ว หลายสถาบัน หลายคณะ มันไม่ถูกสเปกข้าพเจ้าเลยจริง ๆ และแล้ววันนึงเมื่อข้าพเจ้าไปซื้อยาที่ร้านลออเภสัช ที่ตลาดมหาชัย เห็นแผ่นประชาสัมพันธ์รับสมัครนักศึกษาปริญญาโท(ภาคพิเศษ) คณะโบราณคดี สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ จบวุฒิปริญญาตรี ไม่จำกัดสาขา เท่านั้นแหละ เหมือนจุดไฟที่ริบหรี่ภายในใจ ให้ลุกโชติช่วงขึ้นมาอีกครั้ง เพราะมีความปรารถนาที่อยากจะเรียนเกี่ยวกับด้านโบราณคดีมานานแล้ว แต่วุฒิการศึกษาที่จบมาไม่เอื้ออำนวย ครั้งนี้แหละที่จะทำให้ฝันเป็นจริง (ถ้าสอบติดนะ)
ไปซื้อใบสมัครที่ร้านหน้าวัดพระแก้ว อ่านหนังสือแล้วไปสอบ ข้อสอบมี 2 ข้อ เขียนบรรยายไปข้อละ 3 หน้า ตามความรู้ที่มี พอถึงวันประกาศผลก็ลุ้นนะว่าจะติดหรือเปล่า ปรากฏว่าสอบติด เหลือแต่สอบสัมภาษณ์ วันสอบสัมภาษณ์ ก็ไม่ได้อ่านอะไรมากมาย อ่านแต่เรื่อง “แนวทางใหม่ของการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ศิลปะ” เขียนโดย อ.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ และ เรื่อง “การศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะในฐานะที่เป็นการศึกษาหลักฐานทางโบราณคดี” เขียนโดย อ.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง ไปแค่ 2 เรื่องเท่านั้น เข้าไปในห้องสอบสัมภาษณ์ มีกรรมการสอบ 3 คน (ตอนนั้นไม่รู้ว่าเป็นใคร แต่ ตอนนี้รู้แล้วว่า คือ 1. ศ.ดร.สันติ เล็กสุขุม 2. รศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ และ 3. ผศ.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง) คำถามที่ถูกถาม คือ 1. ทำงานธนาคาร แล้วทำไมถึงมาเรียนด้านนี้ ดูไม่น่าจะเกี่ยวข้องกัน ข้าพเจ้าตอบ “ ชอบค่ะ ชอบมาตั้งแต่เด็ก ๆ อ่านหนังสือเกี่ยวกับด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์มาตลอด จึงคิดว่าน่าจะสามารถศึกษาต่อด้านนี้ได้...บลา ๆ ๆ” 2. ชอบศิลปะสมัยใดของไทยมากที่สุด ข้าพเจ้าตอบ “ชอบศิลปะสมัยอยุธยาค่ะ เพราะเป็นสมัยที่ศิลปะที่มีงดงาม มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง และเป็นยุคที่ศิลปะเจริญรุ่งเรืองที่สุดยุคหนึ่ง...” ส่วนคำถามอื่นจำไม่ได้แล้ว กรรมการยังชมว่าข้าพเจ้าเขียนบรรยายในกระดาษคำตอบได้ดี อ่านแล้วเข้าใจง่าย ทำให้เดินยิ้มไม่หุบออกมาจากห้องสอบ แต่ประเดี๋ยวก็ต้องรีบหุบ เดี๋ยวคนนึกว่าบ้า
ข้าพเจ้าว่า เราข้ามมาถึงวันที่เข้าเรียนเลยเถอะ ขี้เกียจเขียนถึงเรื่อง ประกาศผลสอบสัมภาษณ์ รายงานตัว ปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ และอื่น ๆ อีก ภาคเรียนแรก จะเป็นการปูพื้นฐานเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยต่าง ๆ ของไทย และประวัติศาสตร์ศิลปะของประเทศใกล้เคียง ส่วนภาคเรียนต่อ ๆ ไป ก็จะเรียนแบบเจาะลึกลงไปถึงประวัติศาสตร์ศิลปะไทย แต่ละยุคสมัย ซึ่งสนุกสนานมาก
เรื่องรายงาน ส่วนใหญ่อาจารย์จะให้คิดหัวข้อเอาเอง ตามที่นักศึกษาสนใจ แต่ให้เกี่ยวกับวิชาที่เรียน และหัวข้อรายงานควรนำมาปรึกษากับอาจารย์ก่อน เพื่อที่จะได้หาข้อมูลได้อย่างถูกต้อง แรก ๆ ก็หาข้อมูลแบบงู ๆ ปลา ๆ เพราะยังไม่ชินกับการเรียนในระบบให้ตั้งหัวข้อเอง ค้นคว้าข้อมูลเอง สักเท่าใด เนื่องจากความรู้พื้นฐานที่มีก็ยังไม่มากนัก แค่ตั้งหัวข้ออย่างเดียวก็คิดกันเป็นเดือนแล้ว แล้วยังหาข้อมูลอีก นำมาเรียบเรียง ทำรายงานออกเป็นรูปเล่ม ทำ Presentation เพื่อนำเสนออาจารย์และเพื่อน ๆ ภาคเรียนแรกผ่านไปอย่างยากลำบากนัก เพราะยังปรับตัวไม่ได้เท่าที่ควร แม้ว่าเรื่องรายงานจะยากลำบากเพียงใด แต่การเรียนภาคทฤษฎีนั้น เราชอบมาก นั่งฟังอย่างตั้งใจ จดอย่างละเอียดทุกคำพูดของอาจารย์ วาดรูปตามสไลด์ที่อาจารย์ฉายให้ดู อ่านหนังสือตามที่อาจารย์แนะนำให้อ่าน และที่ชอบมากที่สุดคือ วิชาที่มีภาคปฏิบัติ เพราะจะมีการพานักศึกษาออกไปนอกสถานที่เพื่อดูสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรมโบราณ ในสถานที่ต่าง ๆ ตามเนื้อหาของวิชาที่ได้เรียนในเทอมนั้น ๆ
เรียนประวัติศาสตร์ศิลปะ แล้วได้อะไร ? อันที่จริงข้าพเจ้าคาดหวังว่า การได้เข้ามาเรียนประวัติศาสตร์ศิลปะ น่าจะได้มีการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของคนแต่ละสมัย หรือมีการเรียนรู้เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมโบราณบ้าง แต่ปรากฎว่า ที่ข้าพเจ้าเรียนจะเน้นไปในเรื่องการศึกษาเกี่ยวกับโบราณคดี ศึกษารูปแบบทางศิลปะ และการกำหนดอายุ เสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งบางครั้ง ข้าพเจ้ายังคงรู้สึกเหมือนกับว่าเรียนรู้ได้ไม่เต็มที่ เหมือนยังขาดอะไรไปสักนิดสักหน่อย แต่ก็ช่างเถอะ เพราะสิ่งที่ได้จากการเรียนนั้นมีค่ามากมายมหาศาล โชคดีจริง ๆ ที่ได้เรียนประวัติศาสตร์ศิลปะ ทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจเรื่องราวทางพุทธศาสนามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพุทธประวัติ ชาดก ฯลฯ ได้ทราบเรื่องราวของเทพในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ได้อ่านคัมภีร์เก่า ๆ ที่คิดว่าคงไม่ได้อ่านแล้ว สามารถดูพระพุทธรูปได้ว่าอยู่ในสมัยไหน (แต่แท้ ไม่แท้นี่ดูยาก) ได้เรียนรู้เรื่องลวดลายโบราณต่าง ๆ ได้ชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหลายแห่ง ได้เห็นโบราณสถานจำนวนมากมายที่ไม่เคยได้เห็น และที่สำคัญที่สุด คือการได้รู้จักกับคนมากหน้าหลายตา ทั้งอาจารย์หลายท่านผู้มีเมตตา เพื่อนแสนดีที่มาจากหลายหลายอาชีพ รุ่นพี่ที่ให้คำแนะนำในเรื่องต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้ทำให้ข้าพเจ้าได้คิดว่า การได้เรียนรู้ในสิ่งที่เรารักแม้เพียงบางส่วน ก็สามารถเติมเต็มชีวิตที่บางส่วนขาดหายไปได้แล้ว




 

Create Date : 10 ธันวาคม 2551    
Last Update : 15 ธันวาคม 2551 18:30:40 น.
Counter : 7658 Pageviews.  


Aomori
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add Aomori's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.