A ........ Z
Group Blog
 
All blogs
 

หนังสือสีเขียวๆ ที่จะทำให้โลกดูใสๆ




งานสัปดาห์ที่กำลังดำเนินอยู่ล่าสุดนี้
ผมกลายเป็นคนล้าสมัย
ตกเทรนเมื่อเทียบกับหนอนนักอ่านคนอื่นอยู่หลายข้อ
อย่างข้อที่อายชาวบ้านมากที่สุด การใช้ถงุผ้าแทนถุงพลาสติก
เพื่อเตรียมมาบรรจุ หอบ แบก เป้าหมายหนังสือมาแต่ที่บ้านแล้ว
บางคนพอรู้ว่าตกเทรนด์ ก็หาซื้อจากทางร้านค้าในราคาไม่แพงหนัก
เท่าที่เหลือบสายตาดู ลวดลายต่างๆนาๆไม่ค่อยซ้ำกันเสียด้วย
แต่ส่วนใหญ่ประกาศเจตนารมณ์เชิงต่อว่าไอ้พวกกะมาแต่ตัวพกเงิน
นิดหน่อย ฟาดซื้อหนังสือซึ่งในนั้นหมายรวมถุงพลาสติกที่ทางร้าน
จำต้องแจกมาด้วย คิดดูสิครับ ขนาดเด็กอนุบาลยังถือถุงผ้าขนาดเล็กลาก
มาซื้อหนังสือกับเหล่าผู้ปกครองของตนเดินต๋อยๆ แถมยังมีหน้ามาแหงน
ดูหน้าผมที่หิ้วถุงพลาสติกพะรุงพะรังอีก


ดังนั้นพอหนังสือเล่มที่สามที่ผมครอบครอง ผมจึงไม่
ลืมที่จะพวงถุงผ้าร่วมกระแสกับเขาด้วย เมื่อทางร้านค้าร้านต่อไป
เห็นผมอินเทรนเข้าหน่อย ก็รับรู้ได้ว่าถุงพลาสติกเป็นไม่อินเทรนอีกต่อไป
นอกจากนั้น ผมยังเสริมเทรนด์เพิ่มโหง้วเฮ้งไปอีก ด้วยหนังสือที่เพิ่มออก
ใหม่อีกเล่ม มันมีชื่อว่า “The Green Book” ที่เขียวตั้งแต่ปกหน้า เนื้อ
ในยันปกหลัง อ่านจบหัวใจผมกลายเป็นสีเขียวไปในบัดดล

ก่อนอื่นขอชื่นชม หน่วยออกแบบปกและศิลปกรรม ที่ทำ
หนังสือเล่มนี้แทบจะเป็นแฝดกับต้นฉบับภาษาอังกฤษแทบจะระเบียบทุก
อณู (แต่ราคาถูกกว่ามากและเป็นภาษาไทยเท่านั้นกระมัง) เป็นงานเขียนและ
ค้นคว้าข้อมูลโดย คนแรกทำงานให้กับMTVในด้านสิ่งแวดล้อม คนหลัง
เขียนคอลัมน์ใน Dow jones Markerwatch ผู้สร้างความแปลกและแตก
ต่างจากหนังสือด้านสิ่งแวดล้อมเล่มอื่น ตรงที่เป็นหนังสือที่วัตถุดิบทุกชิ้นที่ผลิต
มีผลต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ตั้งแต่กระดาษRecycle Post-consumer 100
เปอร์เซ็นต์ บอกไปเลย่ว่าใช้ต้นไม้ไปกี่ต้น มีของเสียกี่ปอด์น ถึงขนาดนับอนุภาค
แขวนลอยน้ำเท่าไร (ไม่รู้ใช้ตาชั่งอะไรคิด) สิ่งที่สังเกตของผู้อ่านตามมาคือ
ไม่ใชงานวิชาการอันหนักอึ้ง แต่เป็นงานสถิติช่างคิดช่างจำที่ไปหยิบพฤติกรรมรอบ
ตัวในชีวิตประจำวันเราๆท่านๆที่ทำกันโดยไม่ทันสังเกต มาคำนวณเชิงปริมาณจนทำให้
บางสิ่งบางอย่างมีผลต่อการตระหนักว่าเราเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่รักษาโลกใบนี้ได้
โดยไม่ต้องโวกแวกปากเรียกร้องภาครัฐให้เข้ามาแก้ไข (ซึ่งมักช้าทันการเสมอ) แต่
ต้องอยู่ในกติกาเชิงประชากรศาสตร์ (Demography) ที่เอาเปรียบเทียบในเชิง
ภูมิศาสตร์(Geography) ในเงื่อนไขที่เราต้องร่วมใจกันทำนะครับ


ยกตัวอย่าง การถอดปลั๊กโทรทัศน์เวลาไม่ได้ใช้ รู้บ้างไหมว่ามันกิน
ค่าไฟเท่ากับร้อยละ10-15ของเวลาเปิดโทรทัศน์ ถ้าบ้านในอเมริกามีโทรทัศน์หลังละ2
เครื่องช่วยกันถอดสาย จะประหยัดเงินไป 1000ล้านเหรียญสหรัฐ (ถ้ามองให้ง่ายเข้าก็
เท่ากับครึ่งหนึ่งของเงินทั้งหมดที่อดีตนายก ขายกิจการให้เทมาเส็กโฮดิ้ง-ฮา) หรือ
การส่ง sms หรืออีเมล์ทางมือถือแทนการส่งsms-อีเมลล์ทางคอมพิวเตอร์ ประหยัดไฟมาก
กว่า30 เท่าตัว


หนังสือยังมีดีอีกในส่วนของการสัมภาษณ์ในเรื่องสิ่งแวดล้อมคนมีชื่อเสียง
อาทิ มาร์ธา สจ๊วร์ต เจนนิเฟอร์ แอนิสตัน จัสติน ทิมเบอร์เลค เราจะได้เห็นทัศนะที่มัน
มีอะไรมากกว่าข่าวจาวดาราฮอลลิวู้ค ความจริงทรรศนะสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่มีการปลูก
ฝังกันมาตั้งแต่รุ่นลูกรุ่นหลาน แต่คงด้วยลัทธิบริโภคนิยม(กันจัง) และลัทธิอุตสาหกรรมนิยม
เมื่อสัญญาณด้านปัญหาสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้น บทบาทการตระหนักเราเป็นส่วนหนึ่งที่สร้าง
ปัญหาและความสามารถที่จะบรรเทาสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับลูกหลานในอนาคต หนังสือเล่มนี้
ไม่ได้บอกว่าน้ำแข็งกำลังจะละลาย หมีขั้วโลกจมน้ำ ประเทศไทยจะจมทะเลแปซิฟิคอีกกี่
ปีข้างหน้า หนังสือเล่มนี้บางประเด็นอ่านก็ขำๆ บางประเด็นต้องนั่งถามว่ามันจริงเหรอ
บางประเด็นตั้งเป้าให้กับตัวเองว่าวันนี้จะเปลี่ยนแปลงเพื่อโลกที่ดีในวันหน้า
โดยไม่ต้องหันมาถามใครต่อใครว่าจะร่วมมือกันทำรึเปล่า วันนี้จึงของชิงตัวลงมือทำก่อน
เพื่อนเลยละกัน

(ป.ล. หนังสือGreen book แปลโดย โตมร ศุขปรีชา จากค่ายมติชนอีกแล้วครับท่าน)
หากใครไปซื้อในงานจะได้ถุงผ้าใบเล็กสมนาคุณ แต่เห็นว่ามีจำกัดหมดแล้วหมดเลย
ไม่รู้ทางค่ายมติชนจะขู่เล่นรึเปล่า




 

Create Date : 29 มีนาคม 2551    
Last Update : 29 มีนาคม 2551 17:25:19 น.
Counter : 797 Pageviews.  

Gun Germs and Steel ความลดเลี้ยวของมนุษย์กลับมาลงทัณฑ์


มานั่งคิดเล่นๆว่าอีกไม่กี่ปี ก็ใกล้ครบสิบปีที่เรา
เรียนจบในระดับอุดมศึกษา ไปๆมาๆนอกจาก
ทำงานแล้วก็หางานใหม่ แล้วก็ทำงานต่อ
ชีวิตมนุษย์เงินเดือนนอกจากเงินเดือนแล้ว
ก็แทบจะไม่มีวิัิวััฒนาการใหม่ๆ ที่กระตุ้นแรง
บันดาลใจอะไรกับชีวิตในแต่ละวันเอาเสียเลย
มานึกย้อนทบทวนหนังสือที่เริ่มต้นจะฝึกทักษะ
ทางภาษาอังกฤษเล่มแรกๆ เพราะรู้ดีว่าการศึกษา
ในเกณฑ์อุดมศึกษา ไม่อาจทำให้แตกฉานทาง
ภาษาอังกฤษพอที่จะไปสู้รบตบมือในเวทีชีวิต
จริงในโลกกว้างได้ ด้วยผู้ต่อกรนอกมหาวิทยาลัย
ความจริงมานั่งคิด(ที่เก้าอี้ตัวเดิม)อีกครั้งว่า
วิชาบังคับภาษาิอังกฤษไม่กี่หน่วย เทียบกับโลก
ตลาดเสรีที่มุ่งดูดเงินดอลลาร์เป็นหลัก มันมีความ
จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องขวนขวายทางด้านภาษา
อยู่ตลอดชีวิต เราเองไม่ได้เป็นมหาอำนาจพอที่จะทำให้
ชาติตะวันตกต้องปรับตัวมาเรียนภาษาไทย(ยกเว้น
แองโกลแซงซอลบางคนเท่านั้นที่อยากศึกษาภาษาไทย
เพื่อมองจุดที่ซ่อนกว่าภาพฉายแบบอเมซิงไทยแลนด์)

ตอนนั้นที่เลือกซื้อGuns Germs and Streel;
the fates of human societies by Jered
Diamond ด้วยช่วงนั้นหนังสือเล่มนี้ตอบโจทย์ที่
เราอยากรู้ มากกว่าการรอคอยให้อาจารย์ในชั้นเรียน
แนะนำให้อ่าน(แต่ละเล่มไม่ได้สร้างทัศนคติที่มีอิทธิพล
ต่ออนาคตชีพ) อย่างที่ไม่ได้บอกไว้ก่อนว่าผมเอง
เป็นนักศึกษาประวัติศาสตร์ เหตุที่เลือกเพราะไม่อยาก
รู้อะไรในสิ่งที่เราเป็นในปัจจุบันและไม่อยากคาดการณ์อะไร
ในอนาคต อารมณ์วัยรุ่นในช่วงนั้นมันคิดอยางนั้นจริงๆ
คิดอย่างเดียวว่าอดีตมันเป็นเพื่อนแท้ของเรามาแต่ไหน
แต่ไร เพียงแต่เราจะตีความเอามาใช้ประโยชน์ในวิธีไหน
หนังสือgun germs and streel ก็ให้อารมณ์อย่างนั้น
ความจริงหัวข้อหนังสือที่ไปหยิบยก นวัตกรรมแปลกๆอย่าง
ปืน เชื้อโรคและเหล็กกล้า ก็แทบจะไม่ได้เป็นหัวข้อใหญ่อะไร
ในหนังสือเล่มนี้ แต่คุณค่าที่สำคัญคือความเป็นมนุษยวิทยา
ในหนังสือเล่มนี้มากกว่า ว่ากันด้วยเรื่องมนุษย์กันล้วนๆ
แล้วไม่มีคติที่ว่าคนฝรั่งที่ผู้ป้อนวัฒนธรรมศิวิไลท์แก่
พวกผิวเหลือง ตัวดำและบ้าบูชายัญอย่างที่นักประวัติ
ศาสตร์ตะวันตกยุคก่อนสอนให้เราต้องสยบยอม สำนวนภาษา
ก็ว่ากันแบบตะวันตกซื่อๆ ไม่ต้องมาปีนกระไดขึ้นมาอ่าน
แถมนักเขียนฝรั่งท่านนี้ลำดับเรื่องราวไปก็ด่าชนชาติ(ฝรั่ง)
โดยไม่มีอคติในความเป็นชาติอย่างที่อาจารย์มหาลัยเรา
ไปถูกชุบตัวแล้วอะไรที่เป็นตะวันตกล้วนแล้วแต่งดงามเสีย
ไปทุกอย่าง แต่ความงดงามที่หนังสือเล่มนี้กล่าวถึง
คือ ความงดงามจากความหลายหลายทางวัฒนธรรม ทาง
ความแตกต่างทางชนชาติตลอดจนวิธีคิดที่สอดคล้องตาม
ภูมิภาค ภูมิำลำเนาที่อาศัย ตอบโจทย์มาตราฐานการพัฒนา
วิวัฒน์ว่าจะเอาอะไรที่เป็นตะวันตกมายัดใส่หัวคนต่างภูมิภาค
นั่นเป็นไปได้ยาก(เหมือนอย่างที่ฝรั่งอาจตื่นตาตื่นใจใน
จา พนมตามหาช้างจากบ้านเรา อาหารจีนคีบก้านไม้ไผ
หรือเข้ารีตต่างนิกาย แต่โครงสร้างสังคมตะวันตกก็ไม่เคย
แปรเปลี่ยนไป่อย่างรุนแรง ตีจากชาติอื่นๆที่แทบจะหวาดกลัว
ความเป็นตะวันตกเสียจนสิ้นชาติ-ผู้พิมพ์อัดอั้นอย่างแรง)

หนังสือประกอบด้วยสี่ภาค สิบเก้าบท แต่ละบทก็จบในตอน
ฉายแต่ละบทตามภูมิภาคที่คนส่วนใหญ่ในโลกอยากจะได้คำตอบ
เช่น ทำไมอัฟริกาถึงเป็นถิ่นคนผิวดำ จักรพรรดิอินคาทำไมไม่จับ
กษัตริย์สเปนให้เป็นเชลยเสียเมื่อมีโอกาส โรคภัยที่มีทุกวันนี้เกิด
จากแนวคิดการทำปศุสัตว์ ภาษาเขียน เทคโนโลยี เกษตรกรรม
มีมาอย่างไรในโลก เชื่อว่าหากได้อ่านในแต่ละประโยคที่ผู้เขียน
เสนอจะได้ความคิดใหม่ๆที่หักล้างความคิดเดิมๆอยู่ตลอด
หนังสือเล่มนี้ได้รับรางวัลPulizer ปี1998และยังได้รับรางวัล
อื่นๆอีกมากมาย ทุกวันนี้(เป็นสิบปีแล้ว)ก็ยังเป็นหนังสือขายติด
อันดับ แม้แต่audio bookที่วางจำหน่ายให้โหลด。ในi-tune
ก็ยังมียอดจำหน่ายที่ดี ผมเคยทราบว่ามีการแปลเป็นภาษาไทย
มาแล้วโดยสำนักพิมพ์คบไฟ ได้ไปถามที่สัปดาห์หนังสือปีที่แล้ว
ปรากฎว่าหมดเกลี้ยงในสัปดาห์แรก (ทั้งที่แปลเมื่อป2547ก็ตามที)
แต่เหมาะกับคนที่มีรสนิยมหลงอดีตและศรัทธาความเป็นมนุษย์
แปลกๆ ไม่ต้องมาไล่พ.ศ.เพื่อศึกษาอดีตที่หาเบื่อเหมือนสมัย
ห้องเรียนจนเป็นเหตุให้โดดเรียนบ่อยอย่างผม.....




 

Create Date : 28 มีนาคม 2551    
Last Update : 28 มีนาคม 2551 19:42:06 น.
Counter : 730 Pageviews.  

Age of Turbulance เมื่อมะกันทำตัวของพวกเขาเอง


พอได้อ่านหนังสือที่ชื่อทำเอาอนาคตต่อไปข้างหน้าร้อนๆหนาวๆ
อย่าง The Age of Turbulence :Adventures in a New World
ที่เคยดำรงตำแหน่งอย่างหนาวนานหลาย(Chainman of the Federal Reserve)
ช่วงประธานาธิบดีโดย
ไม่ต้องประกาศตนเองว่า "ผมจะอยู่สักกี่สมัย" ให้หลายคนเขาหมั่นไส้
หนังสือเล่มนี้โด่งดังตั้งแต่ยังไม่ออกจำหน่าย เพียงแค่เกริ่นๆบทความ
เล็กๆในNewsweek ก็มีคนต่างทยอยถามหาอย่างต่อเนื่อง
แม้จะออกมาตั้งแต่กันยายน ปีที่แล้ว แต่บทความที่วิจารณ์รัฐบาล
บุชก็ยังเป็นสิ่งที่ผู้เข้าชิงตำแหน่งอย่างโอบามาหรือฮิลลารี่ยังเอามา
ใช้โจมตีฝ่ายรีพับรีกันอยู่ไม่น้อย แต่สิ่งที่ผมสนใจจากหนังสือเล่มนี้
มันมาตรงกับจุดยืนของการทำหน้าที่อย่างอิสระในการกำหนดทำทาง
ค่าเงินของประเทศ แม้ความจริงแล้วตรงจุดที่กรีนแปงค์มาอธิบาย
an autobiographical chronology ของตังเอง เรื่องนี้ผู้สนใจประวัติศาสตร์ยุค
70-ปัจจจุบันก็ไม่อยากให้พลาด ทำให้ผมมาคิดเองว่าอิทธิพลของกิจกรรมยามว่าง
วัยเด็ก(ซึ่งกรีนแปงค์ชื่นชอบการเป่า saxophone)และการได้มีผู้ที่มีอิทธพล
ทางความคิด(การที่กรีนแปงค์วัยเด็กได้ใกล้ชิดกับAyn Rand นักปรัชญาที่
เลื่องชื่อ) จะเป็นเครื่องสะท้อนต่อแรงจูงใจในการทำงานชิ้นใหญ่ที่เกือบ
มีอิทธิพล เศรษฐกิจและการเมืองของระดับประเทศ (ซึ่งถ้ามาคิดถึง
ตัวเองนอกจากการอ่านการ์ตูนกับยอดมนุษย์แรงเจอร์แล้วแทบนึกไม่
ออกถึงอิทธิพลที่มีต่อเราในปัจจุบันเอาเสียเลย)
หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็นสองภาค ภาคแรกว่าด้วยเรื่องของชีวิตตนเอง
ที่เป็นมาอย่างไรและมีอะไรที่มีผลต่อการทำงานจนต้องมาเกษียณในที่สุด
ส่วนภาคสองว่าด้วยปรัชญา ความคิด ความเชื่อและสิ่งที่น่าจะเป็นซึ่งมี
ความสำคัญอย่างที่ไม่ต่างจากภาคแรก เพราะได้บรรยายถึงความเปลี่ยน
แปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจแต่ละยุคสมัยของประธานาธิบดีแต่ละท่าน
มีการคัดแย้งเรื่องของการลด เพิ่มอัตราดอกเบี้ยที่อาจทำให้เขาต้องตก
เก้าอี้ได้ทุกเวลาที่ฟันธง แต่ไม่ว่าพรรคไหนก็ตามยังยินดีที่จะมอบเก้าอี้
ธนาคารกลางให้แก่เขาเสมอ (แม้หนังสือช่วงหนึ่งวิจารณ์อย่างเผ็ดร้อนจน
เอาผมคิดว่าเขาเป็นเดโมแครตหัวเอียงซ้ายไปเสีย)
เคุณประโยชน์ของหนังสือเล่มนนี้ ผมอยากจะเรียกว่า "ี้ีthe book of
brief history of major global economic constructs" เสียจริงๆ แต่อย่างว่า
อธิบายหมดคงไม่เท่าที่กรีนแปงค์แกช่วยย่อให้เห็นอยางชัดแจ้งเรียบร้อย
ไว้แล้ว ด้วยสายตาและทัศนะที่เขาผ่านการช่วงชิงวิธีคิดทั้งคอมมิวนิสต์
ประชานิยมและเศรษฐศาสตร์แบบผ่าเหล่า ด้วยความที่กรีนแปงค์ศรัทธา
แนวคิดแบบAdam Smith ในมือที่มองไม่เห็นให้ทำงานด้วยดี(แต่แปลก
ที่บ้านเรามือที่มองไม่เห็นกลับเป็นที่สะอิดสะเอียนของคนในรัฐบาล) จึงทำให้
นักการเมืองและมือชั้นนำทางเศรษฐกิจแบบอเมริกันหลงรักและไว้ใจ
ในการทำงานของกรีนแปงค์แม้จะเห็นขัดแย้งในเรื่องระดับตัวเลขที่ปรับ
ลดอัตราดอกเบี้ย แต่เห็นอย่างนี้ เขาก็ไม่เห็นด้วยกับการที่จะทุนนิยมโดย
ไม่มีเสียซึ่งความวิพากวิจารณ์ การยึดหลักผลประโยชนการเติมโต
์ของประเทศโดยไม่อิงอาศัยการปรับเปลี่ยนนโยบายการต่างประเทศที่ไม่
ถููกต้อง ต้องขจีดcreative destructionที่มีผลต่อการดำเนินธรรมภิบาล
ระดับสังคมโลก แต่อย่างไรเสียสิ่งที่กรีนแปงค์ฝากให้แก้ไขเสียในรัฐบาล
ต่อๆไป คือ มาตารฐานระดับการศึกษาที่รองลงมาที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ
ต่อคนส่วนใหญ่ทั้งหมดและช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยที่ขยายตัว
เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แต่กระนั้นเมือเดือนก่อนการที่วาทะของกรีนแปงค์นอก
ตำแหน่งทางราชการกล่าวถึงเวลาของการถดถอยเศรษฐกิจอเมริกันกำลัง
มาเยือนแล้วนั้นยังไปสอดคล้องกับคำพูดของวอร์เรนต์ ปัฟเฟต คนที่รวย
ที่สุดแห่งการจัดอันดับนิตยสารForbsปีล่าสุด (ถ้าไม่ด้วยคุณพี่เกตต์ออกตัว
ไปทำการกุศลอย่างที่ใจหมาย) ผลที่กล่าวอ้างก็แค่เตือนทุกคนให้เตรียมตัว
รับผลที่จะตามมาในไม่ช้าด้วยความที่เราไปพึ่งพิงตลาดอเมริกันมาจน
เกินไปเวลาที่มีผลกระทบครั้งใหญ่พี่มะกันคนนี้มักจะเอาลูกหาบน้อยใหญ่
รับผลกระทบตามไปด้วย Age of Turbulence จึงเป็นหนังสือที่เตือนคนทั้ง
โลก มิใช่แต่คนอเมริกันเท่านั้นเอง




 

Create Date : 28 มีนาคม 2551    
Last Update : 28 มีนาคม 2551 19:29:04 น.
Counter : 1324 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  

Mr.Chanpanakrit
Location :
สงขลา Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 28 คน [?]




Friends' blogs
[Add Mr.Chanpanakrit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.