Group Blog
 
All blogs
 

นกจับแมลงจุกดำ

นกจับแมลงจุกดำ Hypothymis azurea (black-naped monarch) ขนาดตัวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ16-17.5ซ.ม. อยู่ใน Family Monarchidae สกุลนกจับแมลงจุกดำ( Genus Hypothymis ) (//www.bird-home.com)

แม้ว่าทั้งสองเพศมีลักษณะคล้ายกัน แต่ก็ไม่ได้เหมือนกันเสียทีเดียว ดังนี้






นกตัวผู้ ขนคลุมลำตัวส่วนใหญ่ และอกส่วนบนสีน้ำเงิน อมฟ้าสดใส มีจุดกลมสีดำบริเวณกลางหัว ค่อนไปใกล้ ท้ายทอย อกมีลายขีดเล็กๆสีดำพาดจากใต้คอไปเกือบถึงหลังคอ มีขีดดำเล็กๆลากผ่านตา ปากสีเทาอมฟ้า โคนปาก มีหนวดแข็งสีดำ หนา เห็นได้ชัดเจน ท้องด้านล่าง จนถึง ขนคลุม ใต้โคนหางสีขาว ตะโพก และ ขนคลุมใต้โคนหาง สีเทา มีแต้มสีฟ้า เล็กน้อย







นกตัวเมีย และนกวัยอ่อน บริเวณหัว คอ และ ใบหน้าด้านข้างสีฟ้าคล้ำกว่านกตัวผู้ ไม่มีจุกสีดำที่กลางหัว ขนบริเวณตั้งแต่ท้ายทอยลงไปถึงโคนหางน้ำตาลปนเทา ไม่มีขีดสีดำที่ใต้คอ ตั้งแต่ใต้คอลงมาเป็นสีฟ้าอมเทา และ ค่อยๆจางลงจนเกือบขาวบริเวณตะโพก และ ขนคลุมใต้โคนหาง


จับแมลงจุกดำเป็นนกที่สีสวย น่ารัก และหาพบได้ง่ายๆ ตั้งแต่ตามสวนธารณะในเมือง สวนผลไม้ ป่าชายเลน (ในช่วงฤดูหนาว ซึ่งมีนกอพยพนอกฤดูผสมพันธุ์มาเพิ่มเติม) ป่าโปร่ง ป่าดงดิบ จากที่ราบจนถึงความสูงระดับ 1520 เมตร







เดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม เป็นช่วงที่นกจับแมลงจุกดำจับคู่ ทำรัง วางไข่ โดยจะสร้างรังจากวัสดุจำพวกหญ้าใบยาวเปลือกไม้เส้นใยมอสนำมาพันและยึดเข้าด้วยกันด้วย ใยแมงมุม ทำเป็นรูปถ้วยทรงกรวย มักพรางตาศัตรูด้วยการใช้มอส ไลเคนส์ ต้นกล้วยไม้เล็กๆ หรือ พืชเถา จำพวก กระดุมพระอินทร์ สายสะพายพระอินทร์ เป็นต้นที่ยังมีชีวิตมาติดข้างรัง ทำให้กลมกลืนกับธรรมชาติรอบด้าน

นกทั้งสองเพศช่วยกันทำรัง และเลี้ยงลูกอ่อน ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 12 วัน ลูกนกจะยังคง อยู่ในรังประมาณ 7 - 10 วัน จึงทิ้งรังแต่ยังคงหากินร่วมกับพ่อแม่ระยะหนึ่งจึงจะแยกตัวออกไปหากินเอง






ข้อมูลจาก //www.bird-home.com
(ยังมีข้อมูลอีกมาก)




 

Create Date : 21 สิงหาคม 2548    
Last Update : 13 พฤษภาคม 2552 19:00:18 น.
Counter : 3385 Pageviews.  

ฮอ นกฮูก ตาโต

นกฮูก หรือ นกเค้ากู่ Otus lempiji ( collared scops owl) เป็นนกที่มีขนาดตัว ประมาณ 23 เซ็นติเมตร จากปลายปากถึงปลายหาง ใบหน้าค่อนข้างแบน ตาอยู่ค่อนมาทางด้านหน้าของหัว สีน้ำตาลเข้ม มีขนข้างหัวตั้งชันขึ้นไปเหมือนหูของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ดูเผินๆคล้ายใบหน้าของแมว มี ขนซึ่งเรียงออกไปเหมือนจานกลมๆ ซึ่งเราเรียกว่า วงหน้า ( facial disk ) เป็นรูปครึ่งวงกลม จึงทำให้ใบหน้าของมัน เป็นวงกลม ปากสั้น สันปากบนโค้งลงมามาก และตอนปลายเป็นของุ้มใช้ในการฉีกเหยื่อเป็นชิ้นๆตรงโคนปาก มีลักษณะเป็นแผ่นเนื้อ ที่เรียกว่า เซียร์ ( Cere ) เช่นเดียวกับ เหยี่ยว และ นกแก้ว มีรูจมูก เปิดออกสู่ภายนอก ตรงแผ่นเนื้อนี้ด้วย ตำแหน่งของปาก จะอยู่ตรงกลาง ตรงที่วงหน้า 2 ข้าง มาชนกันพอดี บริเวณระหว่างปาก กับ ดวงตา มีขนปกคลุมด้วย ที่โคนปากของมันมีขนเส้นเล็กๆ คล้ายหนวดแมว ขนนี้มีประโยชน์ต่อมันมาก เพราะทำหน้าที่เป็นเรดาห์ ช่วยนำทางเช่นเดียวกับหนวดแมว ปากของมันงุ้มแหลมและแข็งแรง มาก สามารถดึงหัวของเหยื่อให้ขาดออกได้ เพราะมีแรงฉีกมาก เหยื่อขนาดเล็กจึงมักตายทันทีเมื่อถูกจิก แต่ถ้าเหยื่อมีขนาดใหญ่ จะต้องใช้เล็บเท้าช่วย จึงจะฆ่าเหยื่อได้ (//www.bird-home.com)

(หมายความว่า ส่วนที่เราคิดว่าเป็นหู จริงๆแล้วเป็นแค่ขนที่ชี้ขึ้นไปเท่านั้นเอง )





นกเค้ากู่ มีสีน้ำตาลหรือออกเทาๆทั่วทั้งตัว แต่ถ้าพิจารณาดีๆจะเห็นว่าวงหน้าของมันเป็นสีน้ำตาลจางๆ และ มีลายขีดสีน้ำตาล หน้าผากแถบขนเหนือตาดูคล้ายคิ้ว และ ด้านในของพู่ขนเป็นสีขาวขุ่นหรือสีเนื้อแลเห็นได้ชัดเจน แต่มีจุดกระสีดำประพรมบ้าง ดวงตากลมโต สีน้ำตาลเข้ม ปาก สีเหลืองจางๆ บนหัวและท้ายทอยสีออกน้ำตาลแต่มีลายจุดกระและลายไม่เป็นระเบียบสีดำและสีเนื้ออยู่ทั่วไป หลังคอสีแถบสีเนื้อคาดอยู่ เป็นที่มาของชื่อสามัญว่า Collared Scops - owl ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของ นกเค้าชนิดนี้ ส่วนบนของลำตัวที่เหลือทั้งหมดเป็นสีออกน้ำตาล แต่มีลายจุดกระและลายไม่เป็นระเบียบสีดำ และ สีเนื้อ อยู่ทั่วไป เช่นเดียวกับ บนหัว บริเวณไหล่ มีจุดสีเนื้อขนาดใหญ่เรียงต่อกันเป็นแถวด้วย ขนปลายปีกและขนกลางปีกด้านนอกสีน้ำตาล แต่มีปลายขนและแถบจุดเรียงขวางขนปีก เป็น สีน้ำตาลจางๆ จึงทำให้เห็นเป็นลายสีเนื้อบนปีกด้วย ขนหางตอนบนเป็นสีน้ำตาลแต่มีลายขวางสีจางๆ และมีจุดกระสีน้ำตาลอยู่ทั่วขนหางด้วยโดยเฉพาะที่ขนหางคู่กลาง และ ขอบขนหางคู่อื่นๆ คางสีเนื้อหรือสีขาว ใต้คอ สีเนื้อ แต่มีลายบั้งสีน้ำตาล ส่วนล่างของลำตัวที่เหลือทั้งหมดสีเนื้อ แต่มีลายไม่เป็นระเบียบ สีคล้ำๆ และ มีลายขีดสั้นๆสีดำอยู่ทั่วไป ขนคลุมใต้โคนหาง และขนคลุมขาสีเนื้อ ขาและนิ้วเท้าสีเหลืองหม่น
(//www.bird-home.com)


เฮ้อ! ต้องขออนุญาตลอกคำอธิบายหน้าตาของนกเค้ากู่ หรือนกฮูกทั้งหมดนี้มาจาก เบิร์ด-โฮมเลยค่ะ เพราะว่าช่างยากแก่การอธิบายเหลือเกิน







นกฮูก เป็นนกที่เราจะพบได้ตั้งแต่ตามสวนสาธารณะแถวบ้าน จนถึง ป่าดงดิบและป่าโปร่ง จากที่ราบ จนถึงที่สูงถึง2,200 เมตรจากระดับน้ำทะเลทีเดียว


เราเองพบนกเค้ากู่เป็นครั้งแรกที่พุทธมณฑล เค้ากำลังเกาะกิ่งหลับเงกตอนกลางวันในกอไผ่รกๆ ต้องถ่ายภาพแยงทะลุกอไผ่ ผลก็คือ เห็นนกเป็นเสี้ยวน้อยๆ


อาหารของนกเค้ากู่ได้แก่ ด้วง แมลงสาบ ตั๊กแตน ผีเสื้อกลางคืน หนูตัวเล็กๆ นกตัวเล็กๆที่หลับตามต้นไม้ และ ตุ๊กแก


นกเค้ากู่ผสมพันธุ์ ทำรัง วางไข่ในช่วงฤดูฝน คือเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม โดยเลือกใช้โพรงที่เกิดเองตามธรรมชาติ หรือโพรงที่เคยเป็นรังของสัตว์หรือนกอื่น
โพรงมักสูงจากพื้นดินประมาณ 2 - 5 เมตร แต่ ถ้าหากเป็นตามชานเมือง หรือใกล้ๆ อาคารบ้านเรือน ก็อาจเข้ามาวางไข่ตามซอกหินหรืออาคารบ้านเรือนก็ได้






หลังจากวางไข่แล้ว ตัวเมียจะกกไข่เพียงตัวเดียวโดยตัวผู้จะหาอาหารมาให้ เมื่อวางไข่แล้ว นกจะกกไข่ทันที ดังนั้น ลูกนกจากไข่ฟองแรกจะเกิดก่อน จึงเป็นไปได้ว่าในรังเดียวกันจะมีลูกนกที่อายุต่างกันมากเป็นสัปดาห์เลยทีเดียว






นกฮูกครอบครัวที่ถ่ายภาพมานี้กำลังง่วงเหงาหาวนอนในตอนกลางวัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาพักผ่อน พวกเค้าทำรังอยู่บริเวณบ้านกร่าง อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน สีของตอไม้ที่เค้าใช้ทำรัง และสีของตัวเค้า ช่างดูกลมกลืน นี่ถ้าไม่มีใครชี้ให้ดูก็ไม่รู้จะเห็นหรือเปล่า

นี่เป็นบทเรียนที่ได้จากการดูนก

ถ้าเราไม่สังเกต เราก็จะไม่เห็น

และสิ่งที่เราไม่เห็น ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีอยู่

ดังนั้นบางสิ่งที่เราอยากพบ (แต่ไม่พบ)

บางทีก็อาจจะไม่ได้อยู่ไกลจากเรามากอย่างที่คิด




ข้อมูล :
//www.bird-home.com

ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับนกฮูกอีกมากค่ะ






 

Create Date : 19 สิงหาคม 2548    
Last Update : 13 พฤษภาคม 2552 19:02:52 น.
Counter : 8767 Pageviews.  

นกอีแพรดแถบอกดำ

นกอีแพรดแถบอกดำ Rhipidura javanica (pied fantail) เป็นนกที่หาพบได้ง่ายมากชนิดหนึ่งในประเทศไทย จนเราอาจนึกไม่ถึงว่าเป็นนกที่ไม่มีการกระจายพันธุ์ทางภาคตะวันตกและทางเหนือของประเทศไทย







อีแพรดแถบอกดำเป็นนกขนาดเล็กความยาวจากปลายปากจรดหาง18 ซม. นกทั้งสองเพศสีสันคล้ายกัน นกที่เต็มวัยใต้คอสีขาว ต่อจากสีขาวมีลายพาดสีดำผ่านอกตอนบน ท้องมีสีขาวแกมสีครีม ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลเข้ม ปน สีน้ำตาลดำ หัวสีออกดำ คิ้วมีบริเวณที่เป็นสีขาวเล็กน้อย และอาจสังเกตเห็นได้ไม่ถนัดนักเพราะขนโดยรอบยาวปิดบังไว้ หางกางแผ่ออกเป็นรูปพัดปลายขนหางสีขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhipidura javanica ชื่อชนิด ดัดแปลงมาจาก ชื่อสถานที่ที่พบและจำแนกชนิดได้ครั้งแรก คือเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลก มี 3 ชนิด ย่อย และประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อย (//www.bird-home.com)







เรามักพบนกอีแพรดแถบอกดำกระโดดหากินอยู่ในสวนหลังบ้าน สวนสาธารณะในเมือง ไปจนถึงป่าชายเลน ป่าโปร่งในที่ราบ จนถึงความสูง 450 เมตร จากระดับน้ำทะเล บางพื้นที่พบขึ้นไปหากินได้ถึงระดับ 825 เมตร จากระดับน้ำทะเล







อาหารของนกชนิดนี้คือได้แก่แมลงขนาดเล็ก ยุง หนอน โดยจิกกินตามกิ่งไม้ ยอดไม้ และที่พื้น โดยโฉบลงมาจิกกินที่พื้นดิน หรือ กึ่งเดินกึ่งบิน ขณะจับแมลงบนพื้นดิน ขณะหากินบางครั้งส่งเสียงร้อง เพื่อประกาศอาณาเขตของตนไปด้วย


นกอีแพรดแถบอกดำเป็นนกที่หวงถิ่น ถ้ามีนกแปลกหน้าหลุดเข้ามาในอาณาเขตของตัวเอง จะร้อง และจิกตี ขับไล่ออกไปทันที







นกอีแพรดแถบอกดำชอบเล่นน้ำมากทีเดียว ภาพที่ไปถ่ายมาทั้งหมดนี้ มาจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน ที่เจ้าหน้าที่ใจดีวางถาดน้ำไว้ให้นกมาเล่นน้ำคลายร้อน นกอีแพรดสองตัวนี้จะแวะเวียนมาเล่นน้ำบ่อยครั้ง แต่ลีลาการเล่นน้ำของเค้าไม่ใช่การลงไปแช่แล้วสะบัดๆตัวเหมือนนกแว่นตาขาว แต่จะเป็นการบินโฉบไปเฉี่ยวมาสัก2-3ครั้ง แต่ก็มีนานๆครั้งที่ลงไปแช่เต็มตัวสักทีหนึ่งแล้วบินออกมาอย่างรวดเร็ว








ในบางครั้งเมื่อมีนกแปลกๆหลงเข้ามาในสวนหลังบ้าน อาจรู้สึกขุ่นเคืองใจบ้างที่นกอีแพรดประจำสวนของเราขับไล่อาคันตุกะ(ที่อาจหน้าตาดูดีกว่าตัวเอง)ออกไป แต่ในยามเหงา หางรูปพัดที่กระดกรำแพนตลอดเวลาก็น่าจะเป็นสิ่งชดเชยชูใจได้ไม่มากก็น้อยทีเดียว







ข้อมูลจาก :

//www.bird-home.com
มีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอีแพรดแถบอกดำอีกมาก




 

Create Date : 16 สิงหาคม 2548    
Last Update : 13 พฤษภาคม 2552 19:05:58 น.
Counter : 12211 Pageviews.  

นกกินเปี้ยว

กินเปี้ยว

ชื่อนกกระเต็นชนิด Halcyon chloris ในวงศ์ Alcedinidae ปากหนาสีดำปลายแหลม ลำตัวด้านบนสีน้ำเงินเขียว คอและใต้ท้องสีขาว ชอบหากินในป่าแสม ป่าโกงกาง กินปูเปี้ยวและปลา

เปี้ยว

ชื่อปูขนาดเล็กชนิด Uca dussumerii ในวงศ์ Ocypodidae ตัวผู้มีก้ามข้างหนึ่งใหญ่เท่าลำตัว และอีกข้างหนึ่งเล็กมาก ส่วนตัวเมียมีก้ามเท่ากันทั้ง ๒ ข้าง, ก้ามดาบ ก็เรียก.

จาก : เครือข่ายพจนานุกรม ราชบัณฑิตยสถาน







นกกินเปี้ยวมีความยาวจากปลายปากจดปลายหาง 24 ซม. ลำตัวค่อนข้างอวบ หัวโต มีปากยาวไม่สมตัว ความยาวของปากพอๆกับ ความยาวของหัว ปากใหญ่ กว้างตอนโคน ปาก แหลมตรง และ แข็งแรง สันปากบนแบนลงเล็กน้อย ปากล่างโค้งเข้าหา ปากบน มีประโยชน์ในการขบกระดองปูให้แตก (บ้าน-นก)


สีของขนคลุมหัว ท้ายทอย ปีก และหางเป็นสีฟ้า หรือเขียวอมฟ้า นอกจากนั้นเป็นสีขาว ดูสดใส ชวนมองมาก แต่อย่างไรก็ตาม กินเปี้ยวเป็นนกที่หากินอยู่ตามป่าชายเลนซึ่งเป็นโคลนเลน จับกินปูเปี้ยว ปลาตีน หรือสัตว์เล็กแถวนั้น จึงทำให้ดูมอมแมมไปบ้าง แต่เมื่อเทียบสีกับนกชายเลนอื่นๆแล้วก็นับว่าเป็นนกที่สีสวยกว่าเพื่อน






นอกจากปูเปี้ยว หรือ ปู ชนิดอื่นๆ แล้ว มันก็ยังชอบกินกุ้งเล็กๆ ปลาเล็กๆ รวมทั้งปลาตีน ( Mudskippers ) ซึ่งหาได้ง่ายในบริเวณหาดโคลนชายทะเล และ ตามริมฝั่งที่เป็นดินเลน ชิ้นส่วนของเหยื่อที่ย่อยไม่ได้ จะถูกสำรอกออกมาทางปากเป็นก้อนเล็กๆ สำหรับนกกินเปี้ยวที่อาศัยอยู่ห่างจากทะเล หรือ ดินเลนที่มีปู และ ปลาตีน นั้น จะเลี้ยงชีวิตด้วย สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ขนาดเล็ก เช่น ตั๊กแตน จั๊กจั่น ด้วง แมลงภู่ ต่อ หอยทาก ไส้เดือน ปูบก และ แมงมุม และ สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก เช่น กบ กิ้งก่า จิ้งเหลน งูขนาดเล็ก และ หนูตัวเล็กๆ นอกจากนี้ มันยังชอบเข้าไปขโมยไข่นก และ ลูกนกในรังอีกด้วย (บ้าน-นก)







โดยส่วนใหญ่เราจะพบนกกินเปี้ยวตามชายฝั่งทะเลทั่วประเทศไทย ตั้งแต่ตะวันออกไปจนถึงภาคใต้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าเราจะไม่พบเค้าเลยภายในแผ่นดิน มีรายงานว่าพบนกกินเปี้ยวตามสวนสาธารณะในเมืองบ้างเป็นครั้งคราว และเมื่อปีก่อนก็ได้พบเค้าเข้ามาจับคู่ทำรังในพุทธมณฑล


ในภาพนี้ตัวผู้กำลังป้อนอาหารตัวเมีย คาดว่าพวกเค้ากำลังขุดรูในจอมปลวกเพื่อทำรัง







สำหรับนกกินเปี้ยว นับตั้งแต่วางไข่ จนลูกนกออกจากรังไป ใช้เวลาประมาณ 44 วัน โดยที่ที่เค้าเลือกทำรังได้แก่ จอมปลวก หรือไม่ก็ ขุดโพรงเข้าไปในตอไม้ หรือ ลำต้น ไม้ผุๆ บางครั้งก็บินลงไปขุดโพรงรังที่ริมตลิ่งเช่นเดียวกับนกกะเต็นชนิดอื่นๆ หรือบางครั้งก็ขึ้นไปใช้โพรงรังเก่าของนกหัวขวาน

นกกินเปี้ยวเป็นนกประจำถิ่นของประเทศไทย ที่หาพบได้ง่าย มีสีสันสดใสชวนมอง หากไปแถวป่าชายเลน ป่าโกงกาง ก็น่าจะได้พบพวกเค้าเกาะเสาอากาศบ้านคน หรือตามไม้โกงกางอย่างแน่นอน



ข้อมูล :

//www.bird-home.com (บ้าน-นก)




 

Create Date : 12 สิงหาคม 2548    
Last Update : 13 พฤษภาคม 2552 19:20:12 น.
Counter : 3976 Pageviews.  

นกคัคคูมรกต

นกคัคคูมรกต Chrysococcyx maculatus ( asian emerald cuckoo)

เป็นนกที่มีขนาดตัวประมาณ 17-18 ซม. ตัวผู้และตัวเมียมีสีสันแตกต่างกันอย่างชัดเจน






เจอเค้าเป็นครั้งแรกที่ ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน โดยเจอเฉพาะตัวเมีย เกาะนิ่งๆให้ดูอยู่อย่างนั้นเป็น 20 นาทีได้ เก็บภาพเค้ามาไม่ได้ แต่ก็รู้สึกประทับใจในสีสันของเค้ามาก







นกตัวเมียขนคลุมหัวสีแดงอมน้ำตาล ไล่ลงมาถึงคอ ปีกและขนคลุมหางสีเขียวอ่อนเหลือบทองแดงเป็นมันวาว (เมื่อเรามองแบบไม่ละเอียด แต่ถ้าพิจารณาให้ดีๆก็จะเห็นว่ามีสีน้ำตาลแดงและดำปนด้วย) ลำตัวด้านล่างตั้งแต่คอลงมามีลายขวางสีดำสลับขาวทั้งตัว ปากเหลืองส้ม ปลายปากดำ







ส่วนนกตัวผู้ที่มาพบทีหลังที่พุทธมณฑล มีปีก หัว อก ลำคอด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมันวาว ท้องเป็นลายขวางสีดำสลับขาว ขนหางด้านล่างและขนคลุมโคนหางด้านล่างเป็นสีขาวสลับเขียว มีปากสีเหลืองส้มปลายปากดำ







เช่นเดียวกับคัคคูชนิดอื่นๆ (เว้น นกโกโรโกโส และ บั้งรอก) นกคัคคูมรกตเป็นนกปรสิต ไม่วางไข่ในรังของตัวเอง แต่จะไปวางไข่ในรังของนกชนิดอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นกกินปลีคอแดง( Crimson Sunbird ) นกกินปลีหางยาวคอสีฟ้า( Mrs Gould 's Sunbird ) และนกปลีกล้วยบางชนิด โดยเฉพาะนกปลีกล้วยเล็ก( Little Spiderhunter ) ดังนั้นฤดูทำรังวางไข่ของเค้าจึงขึ้นกับนกที่เค้าไป "ฝากเลี้ยง" เมื่อวางไข่แล้ว เค้าจะไม่สนใจไข่อีกเลย ปล่อยให้พ่อแม่บุญธรรมเลี้ยงกันไป


สำหรับเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ คัคคูมรกตเป็นนกประจำถิ่น ที่พบ ไม่บ่อยนัก ของ เมียนม่าห์ พบทางภาคตะวันตกและ ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ของ ไทย ภาคเหนือ และ ภาคกลาง ของ อันนัม เป็นนกอพยพมาในฤดูหนาว นอกฤดูผสมพันธุ์ ของ ไทย กัมพูชา ภาคกลางและภาคใต้ ของลาว ภาคใต้ของอันนัม โคชินไชน่า ภาคตะวันตก และตะวันออกของตังเกี๋ย เป็นนกอพยพผ่านของคาบสมุทรมาลายูและสิงคโปร์







ทุกๆฤดูหนาว เราจะพบเค้าได้แทบทุกที่ ทั้งป่าดงดิบ ป่าโปร่ง สวนผลไม้ สวนสาธารณะในเมือง สวนหลังบ้าน จากที่ราบถึงความสูง 1800 เมตร




ข้อมูล :

//www.bird-home.com

คู่มือดูนก โดย รุ่งโรจน์ จุกมงคล





 

Create Date : 08 สิงหาคม 2548    
Last Update : 13 พฤษภาคม 2552 19:23:06 น.
Counter : 3753 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  

จันทร์น้อย
Location :
ปทุมธานี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




Friends' blogs
[Add จันทร์น้อย's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.