Group Blog
 
All Blogs
 
ความคิดและความเคลื่อนไหวเพื่อการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย

ความคิดและความเคลื่อนไหวเพื่อการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย

การปกครองของประเทศไทย นับแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ต่อมาถึงกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นแกนกลาง เป็นศูนย์อำนาจ เรียกว่าระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันการเมืองการปกครองสูงสุดของประเทศมาถึงวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีกลุ่มบุคคลที่เรียกว่า คณะราษฎร ได้ยึดอำนาจการปกครองของประเทศ แล้วเปลี่ยนเป็นการปกครองของประเทศ แล้วเปลี่ยนเป็นการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย

ความคิดและความเคลื่อนไหวเพื่อการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย เริ่มปรากฏให้เห็นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ ร.ศ. 103 (พ.ศ. 2427) และมีเหตุการณ์ อื่นอันเป็นแรงผลักดันมากขึ้น สืบสานความคิดมาเป็นการยึดอำนาจการปกครองของประเทศในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475

ความคิดและความเคลื่อนไหวเพื่อการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย มีมาจากประชาชนในยุโรป และอเมริกา ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 23 การปกครองของอังกฤษซึ่งค่อยๆ ดำเนินไปสู่ระบบรัฐสภาแห่งเสรีประชาธิปไตย โดยไม่ต้องมีการปฏิวัติเสียเลือดเนื้อ การเรียกร้องสิทธิในการปกครองตนเองของอเมริกาจากอังกฤษใน พ.ศ.2319 (ค.ศ. 1776) และการปฏิวัติในประเทศฝรั่งเศสใน พ.ศ. 2332(ค.ศ.1789) หลังจากนั้นความคิดแบบประชาธิปไตยก็แพร่ขยายไปยังประเทศต่างๆ ประเทศไทยก็ได้รับแนวความคิดเรื่องการปกครองประเทศบบประชาธิปไตยด้วยการติดต่อกับประเทศในยุโรปและอเมริกา

การติดต่อกับต่างประเทศในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มตั้งแต่มีพระราชไมตีทางการค้ากับประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ.2367 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่พัว ต่อมาพวกมิชชันนารีจากประเทศสหรัฐอเมริกาเข้ามาเผยแพร่คริสตศาสนาในประเทศไทย คนไทยเริ่มศึกษาภาษาอังกฤษ ศึกษาวิทยาการต่างๆ โดยเฉพาะพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ กลุ่มพระบรมวงศานุวงศ์ และกลุ่มขาราชการก็ศึกษาวิชาการต่างๆ ด้วย ดังนั้นสังคมไทยบางกลุ่มจึงได้มีค่านิยมโลกทัศน์ตามวิทยาการตะวันตก

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ.2394 นั้นพระองค์ทรงตระหนักว่าถึงเวลาที่ประเทศไทยจะต้องยอมเปิดสันติภาพกับประเทศตะวันตกในลักษณะใหม่ และปรับปรุงบ้านเมืองให้ก้าวหน้าเยี่ยงอารายประเทศ ทั้งนี้เพราะเพื่อนบ้านกำลังถูกคุกคามด้วยลัทธิจักรวรรดินิยม จึงทรงเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศของไทยมาเป็นการยอมทำสนธิสัญญาตามเงื่อนไขของประเทศตะวันตก และพยายามรักษาไมตรีนั้นไว้เพื่อความอยู่รอดของประเทศ

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลตอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์อย่างแรงกล้าที่จะปฎิรูปประเทศไทยให้เจริญทัดเที่ยมกับประเทศตะวันตก ปัจจัยที่จะนำไปสู่จุดหมายได้คือ คน เงิน และการบริหารที่ดี ทรงมีพระราชดำริว่า หนทางแห่งความก้าวหน้าของชาติจะมีมาได้ก็ต้องอาศัยการศึกษาเป็นปัจจัย จึงทรงตั้งพระราชหฤทัยเด็ดเดี่ยวว่า เยาวชนรุ่นใหม่ทั้งของราชวงศ์และบุตรขุนนางจะต้องได้รับการศึกษาอย่างดีกว่ารุ่นพระองค์เอง ในระยะแรกอิทธิพลของประเทศตะวันตกที่มีต่อประเทศไทยคือ ประเทศอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ หม่อมเจ้าเจ๊ก นพวงศ์ กับพระยาชัยสุรินทร์ (ม.ร.ว. เทวหนึ่ง สิริวงศ์) ไปเรียนที่ประเทศอังกฤษเป็นพวกแรก นับว่าเป็นครั้งแรกที่ทรงส่งนักเรียนหลวงไปเรียนถึงยุโรป ต่อมาก็ส่งพระราชโอรสและนักศึกษาไปศึกษาวิชาทหารที่ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส ประเทศเดนมาร์ก และประเทศรุสเชีย ก่อนหน้านั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคัดเลือกหม่อนเจ้า 14 คน ไปเรียนหนังสือที่สิงคโปร์ 2 ปี ระหว่าง พ.ศ.2413 - พ.ศ.2415 ในโอกาสที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปสิงค์โปร์ในปี พ.ศ.2413 นั่นเป็นการเตรียมคนที่จะเข้ามาช่วยแบ่งเบาพระราชภาระในการปรับปรุงประเทศ การเตรียมปัจจับการเงินเป็นการเตรียมพร้อมประการหนึ่ง ถ้าขาดเงินจะดำเนินกิจการใดให้สำเร็จสมความมุ่งหมายคงจะเป็นไปได้ยาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่า การจัดการเงินแบบเก่ามีางรั่วไหลมาพวกเจ้าภาษีนายอากรไม่ส่งเงินเข้าพระคลังครบถ้วนตามจำนวนที่ประมูลได้พระองค์จึงทรงจัดการเรื่องการเงินของแผ่นดินหรือการคลังทันทีที่พระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะ มีอำนาจในการปกครองแผ่นดินเต็มที่ เริ่มด้วยให้ตราพระราชบัญญัติตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ จ.ศ. 1235 (พ.ศ. 2416) มีพระราชบัญญัติกรมพระคลังมหาสมบัติในปี จ.ศ 1237 (พ.ศ.2418) เพื่อจะได้ใช้จ่ายทุนบำรุงประเทศ ต่อมาทรงให้จัดทำงบประมาณจัดสรรเงินให้แต่กระทรวงต่างๆ เป็นสัดส่วน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังไม่ทรงทันได้ปรับปรุงการปกครองประเทศให้เป็นไปตามที่พระองค์ทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้ ก็มีกลุ่มเจ้านายและข้า ราชการทำหนังสือกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนเปลงการปกครองราชการแผ่นดินเมื่อ ร.ศ. 103 (พ.ศ.2427) ทั้งนี้อาจจะวิเคราะห์ได้ว่า ที่พระองค์ยังไม่ทรงปรับปรุงงบการบริหารประเทศก่อน พ.ศ. 2428 เพราะมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น คือ วิกฤติการณ์วังหน้า เมื่อ พ.ศ. 2417 การที่ทรงตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ให้รวมเงินมาอยู่ที่เดียวกัน กระทบกระเทือนต่อเจ้านาย เละข้าราชการ โดยเฉพาะกรมพระราชวังบวร สถานมงคล กรมหมื่นไชยชาญ วิกฤติการณ์วังหน้าเป็นเรื่องของความขัดแย้งระหว่างวังหลวงกับวังหน้า แสดงถึงปฏิกิริยาโต้ตอบ การริเริ่มดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางคือสถาบันกษัตริย์ เห็นได้ชัดเจน ว่าเมื่อกรมพระราชวังบวรสถานมงคล กรมหมืนวิไชยชาญ ทิวงคต ในปี พ.ศ.2428 พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงปรับปรุงการบริหารการปกครองส่วนกลางเป็น 12 กรม (ต่อมาเรียกว่า กระทรวง) ในปี พ.ศ.243 2

ความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทยให้เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ได้เริ่มมีมาแต่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีความเคลื่อนไหวมาตลอดจนถึงวันที่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 แนวความคิดและความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ได้แก่

การเรียกร้องต้องการรัฐธรรมนูญ ของกลุ่มเจ้านายและข้าราชการใน ร.ศ.103
ร่างรัฐธรรมนูญ แผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว
บทความเกี่ยวกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยของเทียนวรรณ
ความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองของกลุ่มกบฏ ร.ศ.130
แนวพระราชดำริและการเตรียมการเรื่องระบอบประชาธิปไตยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
การเรียกร้องต้องการรัฐธรรมนูญของกลุ่มเจ้านายและข้าราชการใน ร.ศ.103

ร ศ 103 ตรงกับ พ ศ.2427 เป็นปีที่ 17 ของการครองราชย์ชองพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีเจ้านายและข้าราชการ จำนวนหนึ่งที่รับราชการ ณ สถานทูตไทย ณ กรุงลอนดอน และกรุงปารีส ได้ร่วมกันลงชื่อในเอกสารกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงการปกครองราชการแผ่นดิน ร.ศ. 103 ทูลเกล้าฯ ถวาย ณ วันพฤหัสบดี แรม 8 ค่ำ เดือน 2 ปีวอก ฉอศอ ศักราช 124 ตรงกับวันที่ 9 เดือนมกราคม พ.ศ.2427

เจ้านายและข้าราชการที่จัดทำหนังสือกราบบังคมทูลความเห็นครั้งนั้น มีพระนามชื่อปรากฏอยู่ท้ายเอกสาร ได้แก่

1. พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์ (พระเจ้าบรมวงเธอกรมพระนเรศร์ วรฤทธิ์ )

2. พระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าโสณบัณฑิต (พระเจ้าบรมวง เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา)

3. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ (สมเด็จกรมพระสวัสดิ์วัฒน วิศิษฏ์)

4. พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ (พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าปฤษฎางค์)

5.นายนกแก้ว คชเสนี {พระยามหาโยธา)

6. หลวงเดชนายเวร(สุ่น สาตราภัย ต่อมาเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอภัยพิพิธ)

7. บุศย์ เพ็ญกุล (จมื่นไวยวรนาถ)

8. ขุนปฏิภาณพิจิตร(หุ่น)

9. หลวงวิเสศสาลี (นาค)

10. นายเปลี่ยน

11. สัปเลฟเตอร์แนนสะอาด

พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ได้ทรงมีบันทึกไว้ว่า

...ตกลงกันเป็นอันจะทูลเกล้าฯ ถวายความเห็นร่วมกันรับผิดชอบ

ด้วยกัน ซึ่งเป็นความเห็นของพระองค์เจ้าสวัสดิโสภณมากข้อ ข้าพเจ้าเป็น

ผู้เรียบเรียง กรมหมื่นนเรศร์พระองค์โสณบัณฑิตฯ พระองค์สวัสดิ์เป็นผู้

แก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมทำ 4 ฉบับ ส่งเข้าไปให้สมาชิก ส โมสรหลวง สุด

แต่จะมีผู้ใด... เต็มใจลงนามร่วมเห็นพ้องด้วย ทูลเกล้าถวาย 1 ฉบับ สำหรับ

พระราชทานลงนาม ทูลเกล้าถวาย 1 สำหรับสำนักทูตทั้ง 2 เมือง

สำนักละฉบับให้นายเสน่ห์ หุ้มแพร นำเข้าไปทูลเกล้าฯ ถวายและ

ชักชวนผู้อื่นให้ลงนามด้วย...

สาระสำคัญของคำกราบบังคมทูล นี้อยู่สามข้อ กล่าวคือ

1. ภัยอันตรายจะมาถึงบ้านเมือง เนืองจากการปกครองในขณะนั้น

2. การที่จะรักษาบ้านเมืองให้พ้นอันตราย ต้องอาศัยความเปลี่ยนแปลงบำรุงรักษาบ้านเมืองแนวเดียวกับที่ญีปุ่นได้ทำตามแนวการปกครองของประเทศในยุโรป

3. การที่จะจัดการตามข้อ 2 ให้สำเร็จ ต้องลงมือจัดให้เป็นจริงทุกประการ

ภัยอันตราย ที่จะมาถึงบ้านเมือง คือ ภัยอันตรายที่จะมีมาจากประเทศที่มีอำนาจมากกว่าประเทศไทย ถ้ามหาอำนาจในยุโรปประสงค์ จะได้เมืองใดเป็นอาณานิคม ก็จะต้องอ้างเหตุผลว่าเป็นภารกิจของชาวผิวขาวที่มีมนุษยชาติ ต้องการให้มนุษย์มีความสุขความเจริญ ได้รับความยุติธรรมเสมอกัน ประเทศที่มีการปกครองแบบเก้านอกจากจะกีดขวางความเจริญของประเทศในเอเชียแล้วยังกีดขวางความเจริญของประเทศที่เจริญรุ่งเรืองแล้วด้วย แล้วสรุปว่า รัฐบาลที่มีการปกครองแบบเก่าจัดการบ้านเมืองไม่เรียบร้อย เกิดอันตรายทำให้อันตรายนั้นมาถึงชาวยุโรป นับว่าเป็นช่องทางที่ชาวยุโรปจะเข้าจัดการให้หมดอันตราย และอีกประการหนึ่ง ถ้าปิดประเทศไม่ค้าขายก็จะเข้ามาเปิดประเทศค้าขายให้เกิดประโยชน์ ทั้งหมดเป็นเหตุผลที่ประเทศในยุโรปจะยึดเอาเป็นอาณานิคม

การป้องกันอันตรายทีจะบังเกิดขึ้นอยู่หลายทางแต่คิดว่าใช้ไม่ได้คือ

1) การใช้ความอ่อนหวานเพื่อให้มหาอำนาจสงสาร ประเทศญี่ปุ่นได้ใช้ความอ่อนหวานมานานแล้ว จนเห็นว่าไม่ได้ประโยชน์ จึงได้จัดการเปลี่ยนการบริหารประเทศให้ยุโรป นับถือ จึงเห็นว่าการใช้ความอ่อนหวานนั้นใช้ไม่ได้

2) การต่อสู้ด้วยกำลังทหารซึ่งก็เป็นความคิดที่ถูกต้อง กำลังทหารของไทยมีไม่เพียงพอทั้งยังต้องอาศัยซื้ออาวุธจากต่างประเทศได้รบกันจริง ๆ กับประเทศในยุโรป ประเทศในยุโรปจะยอมแพ้ทั้งประเทศอื่นๆ ที่เป็นมิตรประเทศของคู่สงครามกับประเทศไทยก็จะไม่ขายอาวุธให้ประเทศไทยเป็นแน่

3) การอาศัยประโยชนที่ประเทศไทยมีเขตแดนติดต่อกับประเทศที่เป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษและประเทศฝรั่งเศส ประเทศอังกฤษและประเทศฝรั่งเศสอาจให้ประเทศไทยเป็นรัฐกันชน ( Buffer State) และก็คงให้มีอาณาเขตแดนเพียงเป็นกำแพงกั้นระหว่างอาณานิคมประเทศไทยก็จะเดือดร้อนเพราะเหตุนี้

4) การจัดการบ้านเมืองเพียงเฉพาะเรื่อง ไม่ได้จัดให้เรียบร้อยตั้งแต่ฐานราก ไม่ใช่การแก้ปัญหา

5) สัญญาทางพระราชไมตรีที่ทำไว้กับต่างประเทศ ไม่เป็นหลักประกันว่าจะคุ้มครองประเทศไทยได้ ตัวอย่างที่สหรัฐอเมริกาสัญญาจะช่วยประเทศจีนครั้นมีปัญหาเข้าจริงสหรัฐอเมริกาก็มิได้ช่วย และถ้าประเทศไทยไม่ทำสัญญาให้ผลประโยชน์แกต่างประเทศ ประเทศนั้นๆก็จะเข้ามากดขี่ให้ประเทศไทยทำสัญญาอยู่นั่นเอง

6) การค้าขายและผลประโยชน์ของชาวยุโรปที่มีอยู่ในประเทศไทย ไม่อาจช่วยคุ้มครองประเทศไทยได้ถ้าจะมีชาติที่หวังผลประโยชน์มากขึ้นมาเบียดเบียน

7) คำกล่าวที่ว่า ประเทศไทยรักเอกราชมาได้ก็คงจะรักษาได้อย่างเดิม คำกล่าวอย่างนั้นใช่ไม่ได้ในสถานการณ์ปัจจุบันซึ่งเป็นเวลาที่ประเทศในยุโรปกำลังแสวงหาเมืองขึ้นและประเทศที่ไม่มีความเจริญก็ตกเป็นอาณานิคมไปหมดแล้ว ถ้าประเทศไทยไม่แก้ไขก็อาจจะเป็นไปเหมือนกับประเทศที่กล่าวมา

8) กฎหมายระหว่างประเทศจะคุ้มครองประเทศที่เจริญและมีขนบธรรมเนียมคล้ายคลึงกัน ประเทศญี่ปุ่นได้แก้ไขกฎหมายให้คล้ายกับยุโรปก็จะได้รับความคุ้มครอง ประเทศไทยต้องปรับปรุงการจัดบ้านเมืองให้เป็นที่ยอมรับเช่นเดียวกับประะทศญี่ปุ่นมิฉะนั้นกฏหมายระหว่างประเทศก็ไม่ช่วยประเทศไทยให้พ้นอันตราย

ในหนังสือกราบบังคมทูล ได้เสนอความเห็นที่เรียกว่าจัดการบ้านเมืองตามแบบยุโรป รวม 7 ข้อ ดังนี้

1) ให้เปลี่ยนการปกครองจากแอบโสลูดโมนากี ให้เป็นการปกครองที่เรียกว่า คอนสติติวชั่นแนลโมนากี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นประธานของบ้านเมือง มีข้าราชการรับสนองพระบรมราชโองการ เหมือนสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทุกพระองค์ในยุโรป ที่มิต้องทรงราชการเองทั่วไปทุกอย่าง

2) การทำนุบำรุงแผนดินต้องมีพวกคาบิเนต รับผิดชอบและต้องมีประราชประเพณีจัดสืบสันตติวงศ์ให้เป็นที่รู้ทั่วกัน เมื่อถึงคราวเปลี่ยนแผนดินจะได้ไม่ยุ่งยาก และป้องกันไม่ให้ผู้ใดคิดหาอำนาจเพื่อตัวเองด้วย

3) ต้องหาทางป้องกันคอรัปชั่นให้ข้าราชการมีเงินเดือนพอใช้ตามฐานานุรูป

4) ต้องให้ประชาซนมีความสุขเสมอกันมีกฎหมายให้ความยุติธรรมแก่ประชาขนทั่วไป

5) ให้เปลี่ยนแปลงแก้ไชขนบธรรมเนียม และกฎหมายที่ใช้ไม่ได้ที่กีดขวางความเจริญ ของบ้านเมือง

6) ให้มีเสรีภาพในทางความคิดเห็น และให้แสดงออกได้ในที่ประชุมหรือในหนังสือพิมพ์ การพูดไม่จริงจะต้องมีโทษตามกฎหมาย

7) ข้าราชการทุกระดับชั้นต้องเลือกเอาคนที่มีความรู้ มีความประพฤติดี อายุ 20 ขึ้นไป ผู้ที่เคยทำชั่วถูกถอดยศศักดิ์ หรือเคยประพฤติผิดกฎหมาย ไม่ควรรับเข้ารับราชการอีก และถ้าได้ ข้าราชการที่รู้ขนบธรรมเนียมยุโรปได้ยิ่งดี

ในข้อเสนอนั้นได้ระบุว่า “ทางที่ข้าพระพุทธเจ้ากราบบังคมทูลพระกรุณาว่าเป็น คอนสติติวชั่นยุโรปนั้นหาได้ประสงค์ที่จะมีปาลิเมนต์ในเวลานี้ไม่หมายความผู้เสนอขอให้มีรัฐธรรมนูญ (Constitution ) ยังไม่ได้ต้องการรัฐสภา (Parliament) เหมือน “ดังกรุงอังกฤษฤาอเมริกn ซึ่งอำนาจและความผิดชอบอยู่ในเนื้อมือราษฎรทั้งสิ้นให้มี “เคาเวอนเมนต์ และกำหนดกฎหมายความยุติธรรมอันแน่นอน” หมายถึงให้มีคณะรัฐบาล(Government) ซึ่งประกอบด้วยเสนาบดีหรือรัฐมนตรีพร้อมทั้งมีกฎหมายที่ให้ความยุติธรรม ่

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเก้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสตอบ ความเห็นของคณะที่กราบบังคมทูลจะให้เปลี่ยนแปลงการปกครองว่า พระองค์ทรงตระหนักในอันตรายที่กล่าวมานั้นและไม่ต้องห่วงว่าพระองค์จะทรง “ขัดขวางในการที่จะเสียอำนาจซึ่งเรียกว่า แอบโซลูด พระองค์ทรงกล่าวต่อไปว่าเมื่อพระองค์ทรงครองราชสมบัติใหม่ๆ ทรงไม่มีอำนาจอันใดเลย ขณะพระองค์ทรงมีอำนาจบริบูรณ์ ในเวลาที่ทรงมีอำนาจน้อย ก็มีความลำบาก เวลานี้มีอำนาจมากก็มีความลำบาก พระองค์จึงทรงปรารถนาอำนาจปานกลาง ได้ทรงครองราชย์มาถึง 17-18 ปี ได้ทรงศึกษาเหตุการณ์บ้านเมืองอื่นอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่เหมือนคางคกในกะลาครอบหรือทรวอยู่เฉยๆ ไม่ได้ทรงทำอะไรเลย ที่เรียกร้องให้มีรัฐบาล (คอเวอนเมนต์) ก็มีเสนาบดีเป็นรัฐบาลแล้ว แต่ยังไม่ดี สิ่งที่พระองค์ทรงต้องการคือ “คอเวอนเมนตรีฟอม” หมายถึงให้พนักงานของราชการแผ่นดินทุกๆ กรมทำการให้ได้เต็มที่ ให้ได้ประชุมปรึกษากัน ติดต่อกันง่ายและเร็ว อีกประการหนึ่งทรงหาผู้ทำกฎหมายสละที่ปรึกษากฏหมายการกระทำทั้งสองประการต้องได้สำเร็จก่อน การอื่นๆ ก็จะสำเร็จตลอด

แท้จริงแล้วพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระบรมราโชบายที่จะทรงปรับปรุงการบริหารราชการแผ่นดินมาตั้งแต่พระองค์ทรงมีอำนาจในการปกครองอย่างสมบูรณ์ กล่าวคือ ใน พ.ศ.2417 ได้ทรงสถาปนาสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและสภาที่ปรึกษาในพระองค์เป็นองค์กใหม่ช่วยบริหารประเทศ โดยทรงมีพระราชดำริว่า ราชการบ้านเมืองที่จะเกิดขึ้นใหม่และที่คั่งค้างมาแต่เดิมนั้น ไม่สามารถที่จะทรงจัดการให้สำเร็จโดยลำพังพระองค์เอง” ถ้ามีผู้ช่วยกัน คิดหลายปัญญาแล้ว การที่รกร้างมาแต่เดิม ก็จะปลดเปลื้องไปทีละน้อยๆ ความดีความเจริญก็ยังเกิดแก่บ้านเมือง... สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) มีสมาชิกเป็นผู้มีบรรดาศักดิ์ชั้นพระยา า2 นาย ทำหน้าที่ประชุมปรึกษาข้อราชการและออกพระราชกำหนดกฎหมายตามพระบรมราชโองการ หรืออาจจะกราบบังคมทูลเสนอความคิดเห็นในการออกกฎหมายใหม่ ส่วนสภาที่ปรึกษาในพระองค์ (Privy Council) สมาชิกของสภานี้คือ พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการระดับต่างๆ มี 49 นาย ทำหน้าที่ถวายคำปรึกษาข้อราชการ และเสนอความคิดเห็นต่างๆ ซึ่งอาจจะนำไป อภิปรายในสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน แต่ปรากฏว่าสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและสภาที่ปรึกษาในพระองค์ไม่ได้มีผลงานหรือจะเรียกว่าประสบความล้มเหลว สมาชิกทั้งสองสภาไม่ค่อยได้แสดงความคิดเห็นตามวิถีทางอันควร อาจเป็นเพราะขาดความรู้ความสามารถ และหรือไม่กล้าที่จะออกความคิดเห็นซึ่งไม่ใช่ลักษณะที่เคยทำมาก่อน

เพราะฉะนั้น การเรียกร้องให้มีรัฐบาลและรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายปกครองประเทศตามความหมายของระบอบประชาธิปไตยเป็นไปได้ยาก

รัฐธรรมนูญแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

คำว่ารัฐธรรมนูญตรงกับคำว่า Constitution ได้มีการบัญญัติขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ผู้ที่บัญญัติศัพท์คำนี้คือ พลตรี พระเจ้าวรวงเธอกรมหมี่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ มีความหมายว่า “กฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ซึ่งกำหนดรูปแบบและหลักการปกครอง ตลอดจนวิธีการดำเนินการปกครองไว้อย่างเป็นระเบียบ รวมทั้งกำหนดหน้าที่ของประชาชนที่พึงกระทำต่อรัฐกับรับรองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนซึ่งรัฐจะละเมิดมิได้ไว้อีกด้วย

ได้มีผู้สงสัยว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีพระปรีชาสามารถ ทรงปรับปรุงการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นแบบอารยประเทศ จะไม่ทรงมีพรกระแสพระราชดำริเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ หรือคำกราบบังคมทูลของกลุ่มบุคคลใน ร.ศ.103 ไม่บังเกิดผลแต่อย่างไร ต่อมานายปรีดา ศรีชลาลัย ได้เล่าเรื่องการค้นพบ “ร่างรัฐธรรมนูญแผ่นดินของสมเด็จพระปิยมหาราช” ว่า

บังเอิญงานค้นคว้าทางประวัติศาสตร์เป็นผลให้ข้าพเจ้าได้พบสำเนา

ร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งรัชกาลที่ 5 ในร่างนั้นมีระบุถึงประธานาธิบดีแต่ไม่ใช่

ประธานาธิบดีแห่งมหาชนรัฐ ข้อความบ่งให้ทราบว่าได้ร่างขึ้นก่อน ร.ศ 112

(คือก่อนพ.ศ.2436 ) แต่ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ร่าง ครั้นต่อมาได้พบสำเนาจดหมาย

ของท่านเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี กราบบังคมทูลพระกรุณาท้าวความถึงสมเด็จ

กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ...สมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ได้ทรงทราบ

จดหมายของท่านเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีตลอดแล้ว จึงลงลายพระหัตถ์เป็น

การชี้แจงตอบ... ล้วนแต่เกี่ยวกับการเมืองอย่างสำคัญๆ ในระหว่างนั้นและ

โดยเฉพาะราชการของที่ประชุมร่างกฎหมายและกฎข้อบ้งคับ ประสบอุปสรรค

ต่างๆ เพราะเหตุไร ในส่วนพระองค์ท่าน...ทำการร่างกฎหมายสำคัญไปแล้วมีอะไร

บ้าง เช่น (1) ราชประเพณี (ได้แก่ที่เรียกในปัจจุบันนี้ว่า รัฐธรรมนูญ) (2) พระราช

กฤษฎีกาสำหรับที่ชุมนุมทั้งปวงปรึกษากันในสภา ฯลฯ เป็นอันทราบได้จากสำเนา

ลายพระหัตถ์ดังกล่าวมานี้ว่า ร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งในเวลานั้นเรียกว่าราชประเพณี

สมเด็จพรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการทรงร่างเสด็จ ก่อนวันที่ 9 สิงหาคม

พ.ศ.2432 (คือเมื่อก่อน60 ปีมานี้ หรือก่อนสิ้นรัชกาลที่ 5 เป็นเวลา 20 ปีเต็ม)

“ราชประเพณี” ที่กล่าวถึง ชื่อว่า “ ร่างพระราชกฤษฎีกาที่ 1 ว่าด้วยราชประเพณีกรุงสยาม” เป็นร่างกฎหมาย 20 มาตรา กำหนดพระบรมเดชานุภาพ ราชสดมภ์คือ (1) รัฐมนตรีสภาหรือลูกขุน ณ ศาลหลวง คือผู้ซึ่งทรงเลือกสรรให้คิดร่างกฎหมาย และคอยระวังไม่ให้เสนาบดีสภาทำผิดพระราชกำหนดกฎหมาย (2) องคมนตรีสภา เป็นผู้ทรงเลือกสรรไว้ต่างพระเนตรพระกรรณ (3) เสนาบดีสภา หรือลูกขุน ณ ศาลา เป็นผู้ซึ่งทรงเลือกสรรไว้ทนุบำรุงแผ่นดินตามพระบรมราโชบายและตามพระราชกำหนดกฎหมาย ในราชประเพณียังกล่าวถึงการสืบสันตติวงศ์ ผู้รั้งราชการ การประชุม คำวินิจฉัยตกลงเป็นมาตราสุดท้าย

ร่างรัฐธรรมนูญในรัชการที่ 5 มีความสำคัญที่จะได้เปรียบเทียบว่า ความมุ่งหมายของคนในสมัชนั้นกับความมุ่งหมายของคนในปัจจุบัน แตกต่างกันอย่างไร ส่วนไหนเป็นประโยชน์และความต้องการของฝ่ายปกครอง และส่วนไหนราษฎรจะได้ผลดีบ้าง ร่างรัฐธรรมนูญในรัชกาลที่ 5 ไม่ได้ปรากฎว่านำมาใช้แต่อยางไรบทความเกี่ยวกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยของเทียนวรรณ เทียนวรรณ หรือ ต.ว.ส วัณณาโภ เกิดใน พ.ศ. 2358 หลังจากสึกจากสมณเพศใน พ.ศ.2411 ได้ลงเรือไปกับผรั่งท่องเที่ยวในเอเชียและหมุ่เกาะแปซิฟิกเป็นเวลาหลายปี เทียนวรรณเคยถวายหนังสือที่เขาพิมพ์ขึ้นพร้อมกับขอรับราชการเมื่อ ร.ศ. 121 (พ.ศ. 2445) เทียนวรรณเป็นที่ปรึกษาของหนังสือพิมพ์สยามออฟเซอรเวอร์ ต่อมาได้ออกหนังสือรายปักษ์ชื่อ ตุลวิภาคพจนกิจ ได้ล้มเลิกเมือ พ.ศ. 24498 แล้วออกหนังสือเล่มใหม่ชื่อ ศิริพจนภาค เป็นรายเดือนในปี พ.ศ. 2451 เทียนวรรณตกลงใจเขียนสิ่งที่จนคิดออกเผยแพร่ วิจารณ์สภาพการณ์ที่เขาเห็นว่าควรมีการแก้ไข เปลี่ยนแปลงด้วยความรักชาติ ด้วยความบริสิทธิ์ใจ

เรื่องที่เทียนวรรณวิจารณ์รุนแรงที่สุด จนเป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องทรงโต้ตอบก็คือ เรื่องว่าด้วยกำลังใหญ่ 3 ประการของบ้านเมือง กล่าวคือต้องมีปัญญาและมีความรู้มาทั่วกัน ทั้งเจ้านาย ขุนนาง และราษฎร มีโภคทรัพย์สมบัติมาก และบ่อเกิดของทรัพย์เกิดจากปัญญาและวิชาความเพียรของรัฐบาลและราษฎร มีทหารและพลเมืองมากและกล่าวว่า ชาวยุโรปได้เอาใจใส่ปกครองชาติ ราษฏรมีโอกาสอันดีด้วยความสามัคคีเป็นใหญ่ พูดถึงญี่ปุ่นใช้เวลา 60 ปี ก็เจริญโดยเร็วทั้งมีความรู้ยิ่ง ประเทศอังกฤษยอมให้คนบังคับอังกฤษรับอำนาจศาลวินิจฉัยของศาลญี่ปุ่นตามแต่ญี่ปุ่นจะพิพากษา

ในเรื่องเกี่ยวกับประชาธิปไตย เทียมวรรณเสนอความคิดในข้อเขียนเรื่อง “ว่าด้วยความฝันละเมอแต่มิใช่นอนหลับ” ในข้อที่ 28 กล่าวไว้ว่า

จะตั้งปาลิเมนต์ อนุญาตให้มีหัวหน้าราษฎรมาพูดธุระชี้แจงของตนแก่

รัฐบาลได้ ในข้อที่มีคุณและมีโทษทางความเจริญและไม่เจริญนั้นๆ ได้

ตามเวลาที่กำหนดอนุญาตไว้

ในความฝันที่เราฝันมานี้ ในชั้นต้นจะโหวตเลือกผู้มีสติปัญญาเป็น

ชั้นแรกคราวแรกที่เริ่มจัด ให้ประจำการในกระทรวงทุกอย่างไปก่อน

กว่าจะได้ดำเนินให้เป็นปรกติเรียบร้อยได้

ต่อมาเทียนวรรณได้เขียนกลอนให้เห็นว่า ราษฎรจำเป็นต้องมีผู้แทน มีรัฐสภา ซึ่งเทียนวรรณใช้คำทับศัพท์ว่า ปาลิเมนต์

ไพร่เป็นพื้นยืนร้องทำนองชอบ ตามระบอบปาลิเมนต์ประเด็นขำ

แม้นนิ่งช้าล้าหลังยังมิทำ จะตกต่ำน้อยหน้าเวลาสาย

ขอให้เป็นเช่นเราผู้เฒ่าทก บำรุงรักษาชาติสะอาดศรี

ทั้งเจ้านายฝ่ายพหลและมนตรี จะเป็นศิวิไลซ์จริงอย่านิ่งนาน

ให้รีบหาปาลิเมนต์ขึ้นเป็นหลัก จะได้ชักน้อมใจไพร่สมาน

เร่งเป็นฟรีปรีดาอย่าช้ากล รักษาบ้านเมืองเราช่วยเจ้านาย

จะเห็นว่าข้อเสนอของเทียนวรรณ ก้าวหน้าไปกว่าคำกราบบังคมทูลของกลุ่มเจ้านาย และข้าราชการใน ร.ศ. 103 เพราะได้เรียกร้องให้มีรัฐสภาซึ่งมาจากราษฎร

การเรียกร้องให้มีการปกครองแบบรัฐสภา ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอนเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง “พระบรมราชาธิบายว่าด้วยความสามัคคีแก้ความในคาถาที่มีโนอามแผ่นดิน” ด้วยทรงมีพระราชประสงค์ที่จะอธิบายแนวความคิดอันเป็นพื้นฐานของพระราโชบายของพระองค์เกี่ยวกับการปรับปรุงการปกครองบ้านเมือง ทั้งเป้นการชี้แจงด้วยว่าเหตุใดพระองค์จึงยังไม่ทรงจัดการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของไทยให้เป็นไปตามแบบฉบับของประเทศในยุโรปโดยทันที่เช่น

เพราะฉะนั้นจะป่วยการกล่าวไปถึงความคิดที่จะตั้งปาลิเมนต์

ขึ้นในหมู่คนซึ่งไม่มีความรู้พอที่จะคิดราชการ และไม่เป็นความต้องการ

ของคนทั้งปวง นอกจากที่อยากจะเอาอย่างประเทศยุโรปเพียงสี่ห้าคน

เท่านั้น … ถ้าจะจัดตั้งปาลิเมนต์ หรือให้เกิดมีโปลิติกัลปาตีขึ้นใน

เวลาที่บ้านเมืองยังไม่ต้องการดังนี้ ก็จะมีแต่ข้อทุ่มเถียงกันจนการอันใด

ไม่สำเร็จไปได้ เป็นเครื่องถ่วงให้บ้านเมืองมีความเจริญช้า… ส่วน

เมืองเราราษฎรไม่มีความปรารถนาอยากจะเปลี่ยนแปลงอันใด …

การที่อยากเปลี่ยนแปลงนั้นกลับเป็นของผู้ปกครองบ้านเมืองอยาก

เปลี่ยนแปลง… ถ้าจะตั้งปาลิเมนต์ขึ้นในเมืองไทย เอาความคิดราษฎร

เป็นประมารในเวลานี้แล้ว ข้าพเจ้าเชื่อว่าจะไม่ได้จัดการอันใดได้

สักสิ่งหนึ่งเป็นแน่แท้ที่เดียว คงจะเถียงกันป่นปี้ไปเท่านั้น




Create Date : 23 สิงหาคม 2550
Last Update : 23 สิงหาคม 2550 17:28:30 น. 2 comments
Counter : 303 Pageviews.

 
ยังไม่จบเท่านี้ ยังมีตอน 2


โดย: thaihypn IP: 124.120.81.252 วันที่: 3 กันยายน 2550 เวลา:19:31:01 น.  

 
ท่านทรงปรีชาแล้ว ที่เห็นปัญหาก่อนที่จะลงมือทำลงไป

ตั้งแต่ 2475 ที่เปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น เป็นเพราะคนเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น ที่ต้องการเงินภาษีจากท้องพระคลัง


ซึ่งปัจจุบันก็คือ ทหาร กับ งบลับ????


โดย: thipch วันที่: 4 กันยายน 2550 เวลา:3:49:41 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

thaihypn
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add thaihypn's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.