ทำทุนประกันคุ้มครองเท่าไหร่ดีล่ะ การเงินของเราถึงจะไม่เดือดร้อน
ในประเทศไทยยังไม่เคยมีการคำนวณอย่างเป็นทางการว่า ควรจะซื้อประกันชีวิตเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของรายได้ โดยที่ไม่เดือนร้อน

ดังนั้นจึงต้องยกตัวเลขจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งจัดได้ว่าเป็นประเทศที่มีสวัสดิการสังคมมั่นคงและมีมายาวนานแล้ว มาพิจารณาประกอบกันด้วย สรุปเป็นตัวเลขคือ 10-15% ของรายได้ครับ ถ้าเบี้ยประกันรวมทุกกรมธรรม์ที่คุณมีอยู่ เกินกว่า 15% ของรายได้ อาจจะทำให้การเงินขลุกขลัก ยามฉุกละหุกได้ครับ

แต่ถ้าตอนนี้ตัวเลขที่คุณคำนวณได้เกินกว่า 15% ก็ไม่ต้องตกใจครับ เวลาเงินเดือนคุณขึ้น ตัวเลขเปอร์เซ็นต์มันก็จะลดน้อยลงไปเองครับ

ยกตัวอย่างหมีพูเองครับ เมื่อก่อนก็ชำระเบี้ยประกันตกประมาณ 17% ของรายได้ (ตอนนั้นงกครับ ซื้อทุนประกันเกษียณตั้ง 6 แสน + ประกันสุขภาพ + ประกันอุบัติเหตุ) แต่คล้อยหลังไป 4 ปี มีรายรับเข้ามาดีมาก ตัวเลขปัจจุบันนี้ก็ลดลงเหลือ 11% ของรายได้เองครับ หายใจคล่องขึ้นเยอะเลย พอมาปีที่แล้วนี้เลยถือโอกาสทำเพิ่ม เจียดส่วนนึง ไปซื้อประกันแบบคุ้มครองสูง ๆ ได้ทุนประกันเพิ่มมาอีก 5 แสน ส่วนต้นปีที่ผ่านมาก็ซื้อประกันมรดกเพิ่มขึ้นอีกพอสมควร เป็นการสร้างความอุ่นใจให้กับคนข้างหลังได้ดีมากเชียวครับ

ปัจจุบันมักจะมีคนนำประโยคเด็ดเกี่ยวกับประกันชีวิตว่าจะทำทุนประกันเท่าไหร่ถึงจะพอแล้ว โดยคำนวณว่าถ้าอยู่ 5 ปีแล้วหาเงินเลี้ยงตัวเองไม่ได้ คนข้างหลังก็สมควรตาย ฮึ...เขาก็พูดได้เพราะไปพูดตอนลูกเต้าโต ๆ กันหมดแล้วน่ะสิ พูดแบบให้ไปตายเอาดาบหน้า (อีก 5 ปีข้างหน้า)

ถ้าใครมีลูกเล็ก ๆ ยังเรียนแค่ชั้นอนุบาลหรือประถม เขายังต้องใช้เวลาอีกเป็นสิบปีในการเรียนหนังสือ ไหนจะค่าใช้จ่ายประจำวันของครอบครัวอีก ถ้าคุณพ่อคุณแม่ของเด็กจะใช้ประกันชีวิต เพื่อเป็น Wealth Protection ให้กับครอบครัว ไม่ว่าคุณจะอยู่หรือไม่ก็ตาม จำนวนทุนประกันนั้นต้องเพียงพอรองรับ ลูกคุณไปจนกว่าเขาจะจบการศึกษาและมีงานทำเลี้ยงตัวเองได้ คุณพ่อคุณแม่ถึงจะวางใจใช่มั้ยครับ แม้จะตายก็ตายตาหลับ

ส่วนการคำนวณหาทุนประกันและเบี้ยประกันที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย จะเป็นความร่วมมือของตัวแทนและผู้ขอเอาประกันเอง
- โดยตัวแทนต้องคำนวณทุนประกันที่เหมาะสม และคำนวณเบี้ยประกันให้สอดคล้องกัน (อย่ายึดติดกับแบบประกันฮอตฮิต)
- ส่วนผู้ขอเอาประกันควรให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผน

หากคำนวณออกมาแล้วเกินกว่ากำลังที่จะรับไหวในขณะนี้ ก็ต้องมาทำแผนย่อยต่าง ๆ ให้เหมือนการต่อจิ๊กซอว์ ค่อย ๆ ทยอย ๆ ทำเพิ่มไปเรื่อย ๆ ตามอัตภาพครับ วิธีนี้จะทำให้
- กรมธรรม์ของลูกค้ามีผลบังคับด้วยดีไปตลอดรอดฝั่ง ซึ่งก็เท่ากับบรรลุเป้าหมาย
- ตัวแทนก็สบายใจที่ได้ลูกค้ามีคุณภาพ
- ลูกค้าประกันก็อุ่นใจว่ามีตัวแทนดี หากในภายหลังตัวแทนคนนั้นได้ลาออกไปหรือย้ายไปที่อื่น ลูกค้าก็ยังเข้าใจและสามารถควบคุมแผนประกันของตัวเองและครอบครัวได้อย่างดีต่อไปครับ

ในต่างประเทศใกล้ ๆ บ้านเราอย่างประเทศญี่ปุ่น , สิงคโปร์ , มาเลเซีย , ฮ่องกง , ไต้หวัน , เกาหลีใต้ ผู้เอาประกันส่วนใหญ่ในประเทศเหล่านี้ ต่างมีเงินทุนประกันชีวิตที่สูง เพื่อให้ครอบคลุมภาระต่าง ๆ ในอนาคตข้างหน้าเป็นสิบ ๆ ปี ไม่ใช่แค่ห้าปีอย่างที่บ้านเราชอบพูดกันสนุกปาก แม้กระทั่งค่าลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกันชีวิต ก็ยังสูงกว่าประเทศไทยมาก (คิดดูสิขนาด LTF ยังให้ลดหย่อนได้ตั้ง 3 แสน + RMF อีก 3 แสน แต่ทำไมเบี้ยประกันชีวิตถึงให้ลดหย่อนได้แค่ 5 หมื่น)

หมีพูขอบอกวิธีคิดง่าย ๆ แบบพื้นฐานว่า ตัวเราควรทำทุนประกันเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม สำหรับคนที่ไม่รู้จะวางแผนอย่างไร นั่นคือ 6 เท่าของรายได้รวมตลอดปีครับ

เช่น ได้เงินเดือน ๆ ละ 2 หมื่นบาท ตกปีละ 240,000 บาท คูณ 6 เท่า = ทุนประกันชีวิต 1,440,000 บาท (คิดไปเลย ทุนล้านห้าแสน) อึ้งไปเลยล่ะสิ...... ถึงได้แนะนำว่าให้ทยอย ๆ ทำเพิ่ม อย่าลงไปพรวดเดียว แต่ถ้าซื้อแบบประกันตลอดชีพ เบี้ยประกันก็ไม่ถึงหมื่น (ถ้าอายุน้อย) แต่ถ้าเลือกแบบประกันชนิดสะสมทรัพย์มีเงินคืน หรือส่งสั้น ๆ รับรองว่าส่งเบี้ยหัวฟูแน่นอน .... นี่คือปัญหาอีกอย่างของตัวแทนในประเทศไทย ที่รู้อยู่แล้วว่าลูกค้าเหมาะสมที่ทุนประกันเท่าไหร่ แต่ขายตามทุนประกันนั้นไม่ได้ เพราะชอบไปยึดติดว่า ประกันชีวิต = สะสมทรัพย์ แต่จริง ๆ แล้ว ประกันชีวิต/สุขภาพ/อุบัติเหตุ/วินาศภัย = เครื่องมือเก็บรักษาความมั่งคั่งให้คนที่ทำประกันนั่นเองครับ




Create Date : 22 เมษายน 2550
Last Update : 11 มิถุนายน 2550 17:59:45 น.
Counter : 1030 Pageviews.

0 comment
คุ้มครองคุณระยะยาว เหมาะสมกับแผนประกันใด ส่งเบี้ยอย่างไรดี
ตั้งเป้าหมายในระยะยาว
- แผนเกษียณ
- แผนมรดก
- แผนค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว

เลือกแบบประกันมาตรฐานทั่วไปที่ถูกใจและถูกเงิน
- ประกันชั่วคราว 5/10/15 ปี (ถูกสุด ๆ แต่คุ้มครองชั่วระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้น)
- คุ้มครองตลอดชีพ (ถูกในระดับมาตรฐานทั่วไป)
- ออมทรัพย์ , บำนาญ

ปัจจุบันนี้แบบประกันโดยทั่วไปมักจะมี "เงินคืนระหว่างทาง" ซึ่งเป็นคำที่เรียกและระบุอย่างชัดเจนในกรมธรรม์ เงินคืนล่วงหน้า ก็คือเงินคืนที่เราจะได้รับคืนมาก่อน เพื่อที่จะได้นำมาใช้สอยก่อนที่จะครบกำหนดสัญญา ตามจรรยาบรรณแล้วตัวแทนไม่สามารถเรียกเป็นอย่างอื่นได้ เพราะความหมายอาจจะผิดเพี้ยน เกิดความเข้าใจผิดกันได้ (โปรดระวังตัวแทนจะบอกว่าเป็นโบนัสหรือเงินปันผลล่ะ....ป๊าด โดนตัวแทนมองค้อนตาเขียวใส่...อิอิ)


ส่งเบี้ยประกันอย่างเหมาะสม
- ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป ตามฐานานุรูป ณ ขณะนั้นเป็นสำคัญ
- เลือกส่งได้ทั้งราย 1/3/6/12 เดือน
- ถ้าส่งเป็น "เงินสด" ต้องขอใบเสร็จรับเงินชั่วคราวจากตัวแทนหรือบริษัททุกครั้ง ถ้าตัวแทนไม่มีก็ไม่ต้องจ่ายเงินให้เลย แม้ตัวแทนจะเป็นเพื่อนสนิทก็ตาม เราเอาไปชำระเองผ่านธนาคารก็ได้
- หรือจะเลือก "หักบัญชีธนาคาร" ซึ่งเป็นบริการฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
- หรือจะเลือก "ตัดจากบัตรเครดิต" ซึ่งเป็นบริการฟรี (ไม่คิดค่าธรรมเนียมกับผู้ชำระ) แถมได้แต้มสะสมอีกต่างหาก

ขอให้คุณมีความสุขกับการส่งประกันชีวิตอย่างมีเป้าหมายครับ





Create Date : 22 เมษายน 2550
Last Update : 11 มิถุนายน 2550 17:59:12 น.
Counter : 649 Pageviews.

0 comment
แบบประกันยอดนิยม เข้าใจง่าย คุ้มครองสูง ส่งเบี้ยประกันถูก มีด้วยหรือ
แบบประกันชีวิตยอดนิยมมายาวนาน สำหรับประกันชีวิตในยุคปัจจุบัน ที่ส่งเบี้ยน้อยและคุ้มครองยาวนาน (ทำให้มีสิทธิซื้อประกันสุขภาพและอุบัติเหตุรวมถึงประกันโรคร้ายต่าง ๆ ได้ยาวนานตามไปด้วย) ก็คือ

แบบคุ้มครองตลอดชีพ
บางที่คุ้มครองถึงอายุ 99 บางที่ก็ถึงอายุ 90) บางที่เรียก ตลอดชีพ/คุ้มครองตลอดชีพ/คุ้มครองธุรกิจ ฯลฯ โดยเลือกส่งเบี้ยประกันเพียง 5/10/15/20 ปี แล้วแต่กำลังทรัพย์ ถ้าเลือกส่งสั้น ๆ ก็ต้องส่งแพงกว่า (แต่หมดภาระไวขึ้น) ถ้าส่งยาว ก็ส่งถูกกว่า

สำหรับคนที่วางแผนเกษียณเป็นหลัก
ควรเลือกแบบมีเงินบำนาญจ่ายคืนหลังเกษียณ (แบบบำนาญ) หรือจะเลือกแบบเงินบำเหน็จก้อนใหญ่ (แบบสะสมทรัพย์) ก็จะเหมาะสมกว่า เพราะเบี้ยประกันแบบนี้จะไม่สูง




Create Date : 22 เมษายน 2550
Last Update : 11 มิถุนายน 2550 17:58:41 น.
Counter : 871 Pageviews.

0 comment
สำหรับผู้ที่อยู่ในวัยทำงานอายุยังไม่มาก และยังไม่มีภาระมาก
ปัจจุบันนี้ ประกันชีวิตและวินาศภัย ก็คือ Wealth Protection

ถ้าเลือกประกันชีวิตแบบที่มีสะสมทรัพย์ด้วย ก็ต้องส่งเบี้ยแพงขึ้นเป็นธรรมดา เพราะประกอบด้วย ส่วนประกันชีวิตแท้ๆ + ส่วนสะสมทรัพย์ ถ้าต้องการเงินคืน/โบนัส/ปันผล ระหว่างทางเยอะ ๆ บ่อย ๆ ก็ยิ่งต้องส่งแพงขึ้น

ดังนั้นถ้าเพิ่งเริ่มทำงานและยังไม่มีภาระมาก อีกทั้งสุขภาพร่างกายยังแข็งแรงดี ก็ควรทำประกันชีวิตไว้ตามสมควร อย่ามากเกินไปและอย่าน้อยเกินไป ค่อย ๆ ทยอยซื้อเพิ่มนะครับ ถ้าการเงินไม่พร้อมอย่าซื้อพรวดเดียว เดี๋ยวการเงินจะฉุกละหุกได้ง่ายครับ ตัวอย่างเช่น

- ปีนี้เพิ่งเริ่มทำงาน ทำทุนประกันไว้สัก 2 แสนก่อน (ถ้าเลือกแบบเบี้ยประกันถูก คุ้มครองสูง ยกผลประโยชน์ให้คุณพ่อคุณแม่ เป็นการตอบแทนพระคุณท่านด้วย เผื่อด่วนจากไปก่อน จะได้มีเงินก้อนทิ้งไว้ให้ท่าน)

- ปีหน้าหรือปีต่อ ๆ ไปได้เงินเดือนขึ้น หน้าที่การงานมั่นคงมากขึ้น ก็ค่อยทำเพิ่มอีกสัก 1 แสน (อาจจะเลือกแบบบำนาญสำหรับตัวเองก็ได้)

- ปีถัดไปแต่งงาน ได้ลูกคนแรก ก็ทำเพิ่มอีกสัก 1 แสน (ไว้รับขวัญให้ลูก เป็นเงินเก็บให้ลูกเอาไว้ตอนโตค่อยเอาไปใช้)




Create Date : 22 เมษายน 2550
Last Update : 25 เมษายน 2550 8:05:31 น.
Counter : 817 Pageviews.

8 comment
1  2  3  4  

หมีพูหมูพี
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]



บริการแผนประกันที่คุ้มค่า

ติดต่อ : CHAIJIT@hotmail.com
โทร. : 086-3914220
Web : http://CHAIJIT.blogspot.com
All Blog