[News] ไทยสุดฮอต! ตลาดโฆษณาบนมือถือ!
ตลาดโฆษณาบนมือถือยังโตไม่หยุด รายงานด้านการตลาดฉบับล่าสุดของบัสสซิตี้ระบุว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ มีการโฆษณามากถึง 87,100 ล้านครั้ง หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 60 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว
       


        รายงานการศึกษาเรื่องตลาดโฆษณาบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก ตอกย้ำให้เห็นชัดเจนอีกครั้งว่า ไทยคือหนึ่งในตลาดที่การโฆษณาผ่านอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และยอดปริมาณการโฆษณาสูงสุดเป็นอันดับ 9 ในบรรดา 50 ตลาดทั่วโลก โดยมียอดโฆษณาถึง 745.1 ล้านครั้ง ในช่วงไตรมาสสามของปีนี้ เทียบกับ 600 ล้านครั้ง เมื่อไตรมาสสอง
       
       สำหรับภาพรวมของตลาดโฆษณาบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก ปีนี้การทำการตลาดผ่านช่องทางนี้ยังคงได้รับความสนใจจากเจ้าของตราสินค้าต่างๆ ตลอดจนนักการตลาดทั่วโลก ในช่วงไตรมาสที่สามของปีนี้ เครือข่ายของบัสสซิตี้ มีการเติบโตร้อยละ 11 โดยร้อยละ 78 (26,200 ล้านครั้ง) ของจำนวนแบนเนอร์โฆษณาทั้งหมด มาจาก 20 ประเทศที่มีปริมาณการโฆษณาสูงที่สุด นอกจากนี้ในบรรดาตลาดหลักๆ เหล่านี้ การเพิ่มขึ้นของความต้องการด้านเนื้อหาที่เฉพาะเจาะจงสำหรับแต่ละประเทศ ยังเปิดโอกาสให้เว็บไซต์ผู้รับลงโฆษณาต่างๆ มีรายได้เพิ่มมากขึ้น
       
       เฉพาะในไตรมาสที่สามของปีนี้ ทั่วโลกมีแบนเนอร์โฆษณาปรากฏจำนวนถึง 33,600 ล้านครั้ง บนเว็บไซต์ของผู้รับลงโฆษณาจำนวน 8,100 แห่ง ซึ่งเป็นเครือข่ายของบัสสซิตี้ แนวโน้มการเติบโตในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ยังคงเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับช่วงครึ่งปีแรกของปี 2554 โดยตลาดที่มีการโฆษณามากกว่า 1,000 ล้านครั้งในไตรมาสนี้มี 5 ประเทศ คือ อินเดีย อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา เวียดนาม และบราซิล ประเทศน้องใหม่ที่เพิ่งติดอันดับ “กลุ่มพันล้าน” ในคราวนี้ รายงานประจำไตรมาสเรื่องแนวโน้มและปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อการโฆษณาบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งจัดทำโดยบัสสซิตี้ ผู้นำด้านการให้บริการโฆษณาผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบุ
       
        รายงานยังระบุอีกว่า ในกลุ่มของผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ โนเกียยังคงครองความเป็นเจ้าตลาดโทรศัพท์มือถือที่ผู้บริโภคนิยมใช้เข้าสู่อินเทอร์เน็ตมากที่สุด (ร้อยละ 52) ตามด้วยแบล็กเบอร์รี่ (ร้อยละ 11) และซัมซุง (ร้อยละ 10)
       
        ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ปริมาณโฆษณาบนโทรศัพท์มือถือในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คิดเป็นกว่าร้อยละ 21 ของการโฆษณาทั่วโลก โดยอินโดนีเซียยังคงนำเป็นที่หนึ่งในภูมิภาคนี้ ตามมาด้วย เวียดนาม ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ โดยมีอัตราการเติบโตเป็นเลขสามหลักเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว
       
        สำหรับประเทศไทย มีปัจจัยหลายประการที่ส่งเสริมให้ไทยมีโอกาสเป็นผู้นำในตลาดโฆษณาบนโทรศัพท์มือถือผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น การกระจายตัวของผู้บริโภคที่สมดุล ความต้องการด้านเนื้อหาและบริการผ่านโทรศัพท์มือถือ ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการเสนอราคาประมูลแย่งโฆษณา (Bid Rate) ในอัตราที่สูง ราคาประมูลแย่งพื้นที่โฆษณาของไทย เฉลี่ยที่ 5 บาทนั้น จัดว่าสูงที่สุดในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก และสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
       
        “ประเทศไทยมีปัจจัยต่างๆ ครบถ้วน ที่เอื้อต่อการสื่อสารระหว่างบริษัทเจ้าของตราสินค้ากับผู้บริโภค” ดร.เค เอฟ ไล ประธานกรรมการบริหารของบัสสซิตี้ กล่าว และว่า “หากมองในอีกด้านหนึ่ง การเสนอราคาประมูลแย่งพื้นที่โฆษณาในอัตราสูงในประเทศไทย เป็นโอกาสอันดีของเว็บไซต์ผู้รับลงโฆษณาที่จะทำกำไรมหาศาลจากการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือที่สูงลิ่วของคนไทย”
       
        ประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจจากตลาดอื่นๆ ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย ตลาดเติบโตต่อเนื่องติดต่อกันเป็นไตรมาสที่หกแล้ว และอาจติดอันดับตลาดที่มีการโฆษณาถึง 1,000 ล้านครั้งในไม่กี่เดือนข้างหน้า แคมเปญบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนใหญ่มุ่งตอบสนองความต้องการเนื้อหาด้านความบันเทิง
       
        สหราชอาณาจักร เป็นตลาดหลักตลาดเดียวที่แบล็กเบอร์รี่ มีส่วนแบ่งเป็นผู้นำในตลาดอย่างชัดเจน ถึงร้อยละ 71.7 แคมเปญส่วนมากจะเน้นการโปรโมตแอปพลิเคชั่นต่างๆ
       
        โปแลนด์ ปริมาณการเข้าชมเว็บไซต์เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 69 ในไตรมาสที่สามของปีนี้ โดยมีจำนวนโฆษณารวมทั้งสิ้นถึง 370 ล้านครั้ง เมื่อเทียบกับ 98 ล้านครั้งของปีที่แล้วทั้งปี
       
        ตุรกี ปัจจุบันมีจำนวนแบนเนอร์โฆษณามากกว่า 350 ล้านครั้งต่อไตรมาส ปริมาณการเข้าชมเว็บไซต์ใน 9 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มสูงกว่าเป็น 2 เท่าของตัวเลขปีที่แล้วทั้งปี
       
        “เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่นอกจากปริมาณการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์จะเพิ่มขึ้นแล้ว สัดส่วนการโฆษณาผ่านช่องทางโทรศัพท์มือถือเมื่อเทียบกับช่องทางโฆษณาอื่นๆ ยังเพิ่มขึ้นอีกด้วย สำหรับเว็บไซต์ผู้รับลงโฆษณาในประเทศที่มีราคาแย่งประมูลโฆษณาสูงกว่าประเทศอื่นๆ ซึ่งรวมถึง ไทย อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร นับว่ามีโอกาสดีและควรเร่งลงทุนสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพดีและนำเสนอบริการที่มีความเฉพาะเจาะจงสำหรับตลาดในประเทศนั้นๆ เพื่อสร้างความจงรักภักดีในตราสินค้าในกลุ่มผู้บริโภคและสร้างรายได้ต่อเนื่อง” ดร.ไล กล่าว



Create Date : 04 พฤศจิกายน 2554
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2554 18:41:08 น.
Counter : 427 Pageviews.

1 comments
  
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ....
โดย: เท็นตะวัน วันที่: 4 พฤศจิกายน 2554 เวลา:22:21:20 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

iFreeZero
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



All Blog