ไร้สาระ กับ นายบัวรำวง

Root cells & Culture

Root cells and Culture



หากติดตามข่าวสารข้อมูลของกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงกล้วยไม้ เป็นระยะเวลาพอควร อาจจะได้ยินคำพูดที่ว่า “รากดี ย่อมหมายถึง กล้วยไม้มีความสมบูรณ์” ข้อเท็จจริงนี้ อาจจะอธิบายถึงเรื่องระบบราก และวิธีการเลี้ยงกล้วยไม้เบื้องต้นดังนี้

เริ่มต้นด้วยหลักการพื้นฐานเรื่องราก

1. รากเซลล์ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำ สารอาหาร (ในรูปสารละลายไอออน) และลำเลียงก๊าซ (แลกเปลี่ยนก๊าซ โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ออก และ ออกซิเจนเข้า)ไปสู่ลำต้น แต่ในปลายรากที่มีสีเขียว จะเกิดขบวนการสังเคราะห์แสง ทิศทางการแลกเปลี่ยนก๊าซจะเกิดตรงกันข้าม

2. ปริมาณการแลกเปลี่ยนน้ำ สารอาหาร และก๊าซที่เกิดขึ้น ถูกกำหนดโดยลักษณะทางกายภาพของเซลล์ราก และสัมพันธ์กับองค์ประกอบระหว่างผนังเซลล์ และ รากเซลล์

3. รากเซลล์เมื่อเจริญงอกงามจะ “เกาะยึด” กับเครื่องปลูก และไม่สามารถเปลี่ยนไปตามสิ่งแวดล้อมใหม่ได้ เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของระบบรากเก่าที่ผุพังหรือเหี่ยวแห้งไป เมื่อเปลี่ยนเครื่องปลูกใหม่ และเซลล์ใหม่จะเจริญและปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่

4. เครื่องปลูกเก่า และการเปลี่ยนเครื่องปลูก

ก. เมื่อเปลี่ยนกระถางใหม่ ต้องแน่ใจว่ารากนั้นกระเทือนน้อยที่สุด เพื่อให้โอกาสของเซลล์รากเจริญเหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมใหม่ และความสมบูรณ์ของระบบรากใหม่จะช่วยสนับสนุนพืชให้เจริญเติบโตได้ดี เมื่อระบบรากเก่าเริ่มเสื่อมโทรม

ข. สิ่งสำคัญประการหนึ่งในการดูแลกล้วยไม้ให้อยู่สภาพแวดล้อมที่มีความเครียดต่ำ สำหรับ 4 – 6 สัปดาห์ หลังจากเปลี่ยนกระถางใหม่ เมื่อกล้วยไม้เริ่มตั้งตัว รากใหม่ยังเจริญไม่เต็มที่ และรากเก่าไม่สามารถทำงานได้เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ระบบรากจะมีความอ่อนไหวมาก ควรตระหนักว่า รากเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงฉับพลันจากที่เคยเกาะยึดกับเครื่องปลูกเก่า และเมื่อเครื่องปลูกใหม่แฉะ หรือมีน้ำมากเกินไป รากอากาศจะจมน้ำ ควรทำให้เครื่องปลูกโปร่ง ระบบการระบายน้ำดี มากกว่าปล่อยให้เครื่องปลูกแฉะ ยิ่งไปกว่านั้นประการหนึ่งที่สำคัญ คือ หากเราปล่อยให้เครื่องปลูกเปื่อยเน่าพัง การแลกเปลี่ยนก๊าซ อาหาร และน้ำ จะยากขึ้น เราควรตรวจว่าเครื่องปลูกกล้วยไม้ถึงเวลาเปลี่ยนหรือยัง หากเครื่องปลูกผุพัง ควรรีบรื้อโดยไว ซึ่งปรกติเรามักไม่ให้ความสนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนเครื่องปลูกกล้วยไม้ ในความเป็นจริงมันมีผลต่อการแลกเปลี่ยนก๊าซ สารอินทรีย์ที่เกิดจากการผุพังของเครื่องปลูกที่มักจะแน่น และเปียกแฉะอยู่เสมอ ควรตระหนักว่า การที่เครื่องปลูกแน่นเกินไป แฉะเปียก รวมถึงผุพังมักจะทำให้กล้วยไม้อ่อนแอ ทรุดโทรมลง

ค. โดยปกติเมื่อกระบวนการหายใจของกล้วยไม้ที่รากเกิดขึ้น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์จะกระจายไปในอากาศ ถ้าเครื่องปลูกแน่น และแฉะ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์จะไม่กระจายไป แต่จะทำปฏิกิริยากับน้ำ ในรูปกรดคาร์บอนิก ซึ่งจะทำลายเนื้อเยื่อของรากอย่างรวดเร็ว การไม่ไหลเวียนของก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์บริเวณรากจะจำกัดความสามารถการทำงานของระบบราก รวมไปถึงทำให้ “รากหายใจไม่ออก”

ง. การเลือกวัสดุปลูกที่โปร่งเหมาะสมจะทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซจำนวนมากเกิดขึ้นอย่างคงที่ รากจะไม่แฉะเน่า และเป็นโรคในเครื่องปลูกที่ดี ความเห็นของนักเลี้ยงกล้วยไม้บางคนให้ความเห็นว่า การรดน้ำสะอาด ซึ่งมีก๊าซออกซิเจนมากมีประโยชน์กับพืช ดังนั้นน้ำที่ดี อาจช่วยทำให้กล้วยไม้เจริญเติบโตได้ดี

จ. ในความเป็นจริงเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการผุพังเสื่อมโทรมของเครื่องปลูก แต่เราสามารถกำจัดปัญหาที่ทำให้เกิดความเครียดกับระบบราก หากเราหมั่นตรวจตราเครื่องปลูก เพื่อหลีกเลี่ยงโรคจากภายนอก การแข่งขันแย่งอาหารจากวัชพืช และที่สำคัญคือ ช่วยลดการทำลายตัวเองของพืชที่เกิดจากสารพิษ ของเครื่องปลูกที่เสื่อมโทรม

ฉ. สิ่งสำคัญประการหนึ่ง ที่เป็นหลักใหญ่คือ เมื่อเราปลูกกล้วยไม้พวกอิงอาศัย หรือกล้วยไม้ดินกึ่งรากอากาศ เช่น รองเท้านารี แน่นอนที่สุดว่า รากของมันถูกสร้างมาในสภาพแวดล้อมสัมผัสกับอากาศ รากมักเกาะยึดกับกิ่งไม้ ก้อนหิน หรือแค่ใต้ใบไม้ในพื้นป่า (เช่น ขนเส้นเล็กๆ บริเวณรากของรองเท้านารี จะสัมผัสอากาศที่อยู่ระหว่างราก และใบไม้) ดังนั้นเราควรมั่นใจว่าภาชนะปลูก และสภาพในเครื่องปลูกไม่ได้ทำความเสียหายให้ระบบราก เพื่อการเจริญเติบโตที่ดีของกล้วยไม้




 

Create Date : 27 ธันวาคม 2548    
Last Update : 27 ธันวาคม 2548 18:45:50 น.
Counter : 820 Pageviews.  

การแบ่ง section กล้วยไม้สกุลหวาย

กล้วยไม้สกุลหวาย



กล้วยไม้สกุลหวายมีหลากหลายพันธุ์ ต้องการการดูแลเอาใจใส่แตกต่างกัน กล้วยไม้สกุลหวายจำนวนมากใช้ระยะเวลาเจริญเติบโต และหยุดพักในเวลาหนึ่งปี นอกจากนี้กล้วยไม้สกุลหวายยังต้องการน้ำ และอุณหภูมิที่เหมาะสมสอดคล้องกับช่วงเวลาของการเจริญเติบโตและการหยุดพัก ดอกกล้วยไม้มักจะบานจากหนึ่งวันจนไปถึงหลายสัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของกล้วยไม้นั้น กล้วยไม้สกุลหวายสามารถแบ่งได้ 41 section ในที่นี้ขอกล่าวถึง กล้วยไม้ เพียง 6 section ดังนี้
1. Phalaenanthe
ลักษณะโดยทั่วไปตลอดปี ไม่ผลัดใบ ลำลูกกล้วยผอม ออกดอกในช่วงฤดูใบไม้ร่วง หรือปีละ 2 ครั้ง ตัวอย่าง Den. affine, bigibbum (Phaleanopsis), dicuphum และ williamsianum
2. Spatulate (Antelope type) บางตำราว่า Ceratobiumลักษณะโดยทั่วไปตลอดปี ไม่ผลัดใบ ลำต้นใหญ่แข็งแรง ให้ดอกช่วงปลายหน้าร้อน ปีละครั้ง ตัวอย่าง Den. antennatum, canaliculatum, discolor, goudii, jonannis, lineale, stratiotes และ taurinum
3. Dendrobium
ลำลูกกล้วยมักมีใบตลอดลำ และมักร่วงถ้าอากาศแห้งและเย็น ดอก 1 – 5 ดอก ออกตามตาที่ใบร่วง ดอกบานในช่วงฤดูหนาวถึงฤดูใบไม้ผลิ แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อยได้แก่
ก. กลุ่ม 1 เช่น เอื้องสายมรกต หวายเหลืองจันทบูร โนบีเล่ Den. wardianum
ข. กลุ่ม 2 เช่น เอื้องสายหลวง ไม้เท้าฤาษี สายวิสูตร แววมยุรา พวงหยก เอื้องสีตาล เอื้องครั่ง เอื้องสายน้ำผึ้ง Den. loddigesii, moniliforme, transparens
>***หวายในกลุ่มนี้ นิยมนำมาผสมกันเป็นลูกผสมใหม่ๆแปลกๆ เรียกกันโดยทั่วไปว่า หวาย Nobile (โนบีเล่) ลูกผสมบางตัวมีเทือกเถาเหล่ากอหลายชั้น บางชนิดมีมากกว่าเก้าชั้น นักผสมพันธุ์กล้วยไม้หวายโนบีเล่ ได้พัฒนาให้ต้นเตี้ยลง กะทัดรัด สามารถตั้งโต๊ะได้ (ซึ่งเดิมลำลูกกล้วยมักจะยาว) บางครั้งลูกผสมใหม่ๆ มักจะทำให้สีสันสวยงาม บางลูกผสมมีลักษณะดอกเหมือนพันธุ์แท้ เช่น สายวิสูตร เพียงแต่ไม่มีข้อปม และลำกลับตั้งตรง

4. Callista
ช่อดอกมักห้อยลง ใกล้ปลายยอด เช่น เอื้องผึ้ง เอื้องคำ เอื้องมอนไข่เหลี่ยม เอื้องมัจจานุ เอื้องมอนไข่ใบมน
5. Latourea .
ลำลูกกล้วยใหญ่และหนา ใบมักเกิดที่ปลายยอด ช่อดอกตั้งตรง ดอกมักมีสีเหลือง – เขียว เช่น Den. atroviotaceum, macrophyllum และ spectabile
6. Formosae (nigrohirsutae tape)
มีขนสีดำที่ลำลูกกล้วย และใบ ดอกมีสีขาว ออกดอกที่ปลายยอด 2 – 4 ดอก ตัวอย่าง เอื้องแซะดอยปุย เอื้องเงิน เอื้องเงินแดง เอื้องเงินหลวง เอื้องตาเหิน เอื้องแซะภูกระดึง Den. dearii, lowii, lyonii, sanderae และ shuetzii

***การจัดกล้วยไม้สกุลหวายเป็น section มีประโยชน์ในแง่ของการผสมกล้วยไม้พันธุ์ใหม่ๆ ในแง่ของการดูความชิดใกล้ และความน่าจะเป็นของการเข้ากันได้ (ซึ่งรวมถึงความน่าจะเป็นของการงอกของเมล็ดด้วย)
เปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดลูกผสมข้าม section (ดัดแปลงจาก เทคโนโลยีการผลิตกล้วยไม้ของ ครรชิต ธรรมศิริ)
50 – 100 % = Phalaenanthe + Ceratobium (Spatulate)
25 – 49% = Ceratobium + Latourea, Phalaenanthe + Latourea และ Phaleananthe + Formosae (nigrohirsutae) ***ตัวอย่างท้ายสุดนี้ตัวอย่างเช่น หวายฟาแลนอปซิสกับพวกเอื้องเงิน ใครสนใจอาจจะลองนำหวายตัดดอกมาเข้ากับดอนมารี ก็น่าลองดู
5- 24 % = Phaleananthe + Callista (เช่นเอื้องผึ้ง เอื้องมัจจา), Ceratobium+ Formasae และ Latourea + Formasea
0 – 4 % = Callista + Formasae


***ข้อสังเกต หวายในsection ที่มีเปอร์เซ็นต์การงอกต่ำหรือนั้น มีข้อสังเกตได้ง่ายๆคือ ลักษณะของบริเวณช่อดอกว่าแทงออกมาจากส่วนไหน ถ้าช่อดอกแทงบริเวณกาบใบกับ ช่อดอกแทงบริเวณยอด จะเข้ากันได้ยากลูกผสมเปอร์เซ็นต์การงอกต่ำหรือไม่ก็ไม่งอกเลย ส่วนลูกผสมใน section เดียวกันจะมีเปอร์เซ็นต์การงอกสูง แต่ทั้งนี้ ตัวเลขที่ปรากฏเป็นเพียงแค่ ‘การคาดคะเน’ เท่านั้น ไม่ได้หมายความว่า เปอร์เซ็นต์ต่ำจะผสมไม่ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ โชค โอกาส และการดูแลเอาใจใส่กล้วยไม้ ที่สำคัญที่สุดคือ lab ที่เลือก ลูกผสมบางสายพันธุ์ที่จดทะเบียนเป็นลูกผสมที่มีโอกาสการงอกต่ำ หรือไม่มีเลย เชื่อหรือไม่! ตัวอย่างลูกผสมที่มีโอกาสงอกต่ำมาก แต่มีการจดทะเบียน ได้แก่ 0 – 4% = Callista + Formasae ได้แก่ เอื้องเงินหลวง + เอื้องคำ (ลืมจดชื่อลูก...)
สู้ๆ สู้ ตาย!




 

Create Date : 21 ธันวาคม 2548    
Last Update : 21 ธันวาคม 2548 16:48:44 น.
Counter : 2652 Pageviews.  


buaravong
Location :
มหาสารคาม Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add buaravong's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.