Group Blog
 
All Blogs
 
ปัญหาคาบเกี่ยวระหว่างการคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์สิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า[ชัชวาลย์ เสวี]๒

3.ลักษณะของการเกิดปัญหาความคุ้มครองคาบเกี่ยว
ประการแรก ลักษณะของปัญหาความคุ้มครองคาบเกี่ยวเกิดขึ้นพร้อมกัน โดยที่สิทธิที่
เจ้าของสิทธิได้รับความคุ้มครองโดยเมื่อคิดสร้างสรรค์ขึ้นมาแล้วได้รับความ คุ้มครองโดยผล
ของกฎหมายทันที เปิดช่องเพื่อขอความคุ้มครองตามกฎหมายอื่น โดยปัญหาในข้อนี้มักจะเกิด
กับสิทธิในงานอันมีลิขสิทธิ์ ประเภทศิลปประยุกต์และงานออกแบบผลิตภัณฑ์ และเกิดขึ้นจาก
งานอันมีลิขสิทธิ์กับเครื่องหมายการค้า โดยเหตุผลมาจากเงื่อนไขของการได้รับความคุ้มครอง
ตามกฎหมายลิขสิทธิ์
ประการที่สอง ลักษณะของปัญหาความคุ้มครองคาบเกี่ยวเกิดขึ้นภายหลัง เนื่องจาก
เจ้าของสิทธิ ขยายความคุ้มครองของตน โดยอ้างว่าไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามไว้ เป็น
ปัญหาที่เกิดขึ้นได้จากกฎหมายลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้า เช่น กฎหมายลิขสิทธิ์
ประเภทศิลปประยุกต์ กับกฎหมายสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ กฎหมายลิขสิทธิ์กับ
กฎหมายเครื่องหมายการค้า กฎหมายสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ กับกฎหมายเครื่องหมาย
การค้า ในรูปร่างและรูปทรงของวัตถุ รวมถึงกรณีทั้งกฎหมายลิขสิทธิ์ประเภทศิลปประยุกต์ กับ
กฎหมายสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์และกฎหมายเครื่องหมายการค้า ในรูปร่างและรูป
ทรงของวัตถุ
4 .วิเคราะห์ปัญหาและผลของการให้ความคุ้มครองคาบเกี่ยว
4.1ปัญหาลักษณะความคาบเกี่ยวระหว่างกฎหมายลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการ
ค้า
ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2512 จากประเด็นในคดีนี้จะเห็นได้ว่าเป็นยุคแรกๆ
ของการให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทย ศาลได้พยายามแยก
ความคุ้มครอง ซึ่งน่าจะเป็นการแก้ปัญหาในเรื่องของการให้ความคุ้มครองคาบเกี่ยว โดย
ปฏิเสธที่จะให้ความคุ้มครองคาบเกี่ยวกัน วินิจฉัยชี้ขาดปัญหาลงไปโดยเด็ดขาด แต่การชี้ขาด
ลงไปที่ปัญหาก่อให้เกิดความสงสัยในแวดวงนักกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งศาลได้
8
วินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาดังกล่าวว่า รูปซุปเปอร์แมน ไม่ใช่งานศิลปกรรม เป็นรูปศิลป์ เป็นเพียง
เครื่องหมายการค้า สิทธิของโจทก์จึงเป็นสิทธิในเครื่องหมายการค้าไม่ใช่ลิขสิทธิ์ในศิลปกรรม
ซึ่งการวินิจฉัยในประเด็นว่า รูปซุปเปอร์แมนไม่ใช่รูปศิลป์นั้น มีปัญหาที่จะต้องพิจารณา
ตามหลักของกฎหมายในการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ว่ารูปซุปเปอร์แมน ควรได้รับความคุ้ม
ครองถือว่าเป็นงานศิลปกรรมประเภทจิตรกรรมหรือไม่ เมื่อพิจารณาจากคำพิพากษาของศาล
ซึ่งศาลได้วินิจฉัยเลยว่าไม่ใช่ลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรม แต่เป็นเพียงสิทธิในเครื่องหมายการค้า
จะมาฟ้องเพิกถอนเครื่องหมายการค้าโดยอ้างว่าละเมิดลิขสิทธิ์ไม่ได้ ซึ่งในคำพิพากษาได้
วินิจฉัยไว้ว่า “ลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมที่โจทก์จะมีขึ้นได้ ต้องเป็นศิลปกรรมที่ได้ทำขึ้นในแผนก
ศิลปะ เช่น รูปศิลป์”
เมื่อพิจารณาถึงองค์ประกอบของคำว่าศิลปกรรม ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรม
และศิลปกรรม พ.ศ.24744 แล้ว ศิลปกรรมคือศิลปะที่ทำขึ้นในแผนกศิลปะ ซึ่งมิได้ให้ความ
หมายที่พิเศษออกมาว่าอย่างไรเป็นงานศิลปกรรมอย่างไรไม่ใช่งานศิลปกรรม เพื่อพิจารณาถึง
รูปซุปเปอร์แมน เป็นภาพที่ลักษณะของงานจิตรกรรมที่เกิดจากการสร้างสรรค์เป็นภาพที่มี
ลักษณะของงานศิลปะ ซึ่งเมื่อเป็นงานศิลปะแล้วไม่จำต้องเข้าไปวินิจฉัยในภาพดังกล่าวว่าเป็น
อย่างไร สวยงามเหมาะสมหรือไม่เพียงใดตลอดจนมีคุณค่าพอที่จะเป็นงานศิลปะหรือไม่ ต้อง
ถือว่าเป็นงานศิลปกรรมที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย แต่ในประเด็นพิพาทในคดีนี้ศาลได้
วินิจฉัยว่า รูปซุปเปอร์แมน ไม่ใช่ภาพศิลปะ แต่เป็นเพียงเครื่องหมายการค้าหรือเป็นสิทธิใน
เครื่องหมายการค้า ซึ่งประเด็นนี้ในคำพิพากษาไม่ได้วินิจฉัยให้ละเอียดว่าไม่ควรได้รับความคุ้ม
ครองอย่างไร ไม่ใช่ไปปฏิเสธเสียทีเดียวว่าไม่ใช่รูปภาพอันเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ จึงก่อให้เกิด
ความสงสัยเพราะถ้าศาลไม่ไปวินิจฉัยในประเด็นเรื่องของรูปศิลป์ตามกฎหมายลิขสิทธิ์เสีย คดี
นี้น่าจะเป็นบรรทัดฐานในเรื่องของการให้ความคุ้มครองคาบเกี่ยว โดยคำพิพากษาของศาลซึ่ง
ขณะนั้นต้องถือว่าเป็นเรื่องใหม่
ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ถึงคำพิพากษาของศาลดูจะเป็นแนวที่จะไม่ยอมรับให้ความคุ้มครอง
คาบเกี่ยวกับสิทธิในกฎหมายลิขสิทธิ์และสิทธิตามกฎหมายเครื่องหมายการค้า ซึ่งจากคำ
พิพากษาหากไม่ปฏิเสธสิทธิว่าไม่ใช่งานอันมีลิขสิทธิ์ แต่ไม่สามารถมาบังคับใช้กับกฎหมาย
เครื่องหมายการค้า และไม่สามารถนำมาฟ้องเพิกถอนเครื่องหมายการค้าเพราะรูปซุปเปอร์
4พระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.2474 มาตรา 4.
9
แมนของโจทก์ที่ใช้กับสินค้าเป็นการใช้อย่างเครื่องหมายการค้าโดยนำมาหมายกับสินค้า ไม่ได้
ใช้อย่างงานศิลปกรรมอันเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ ซึ่งจะนับได้ว่าเป็นบรรทัดฐานในเรื่องของการให้
ความคุ้มครองคาบเกี่ยว โดยไม่ยอมรับในสิทธิตามกฎหมายลิขสิทธิ์มาบังคับใช้เกี่ยวกับสิทธิใน
เครื่องหมายการค้า
เมื่อพิจารณาตามกฎหมายลิขสิทธิ์ รูปซุปเปอร์แมน เป็นรูปศิลป์ที่ควรได้รับความคุ้ม
ครองหรือไม่ ในประการแรกเมื่อพิจารณาจากรูปภาพ จะเห็นได้ว่าเป็นภาพที่เป็นงานสร้างสรรค์
รูปทรงด้วยเส้น แสง สี ตามเงื่อนไขของงานจิตรกรรม เมื่อพิจารณาถึงตามหลักของกฎหมาย
ลิขสิทธิ์ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ด้วยตนเอง (Originality) อันเป็นการแสดงออกซึ่งความคิด
(Expression of Idea) และมีการสร้างสรรค์งานด้วยความวิริยะลงทุนลงแรงโดยใช้ความ
สามารถ ใช้สติปัญญาวิจารณญาณและฝีมือ skill, labour and judgment5 อันเป็นข้อ
พิจารณาเห็นว่า รูปซุปเปอร์แมน ผู้สร้างสรรค์ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์โดยรูปลักษณ์ของการ
แต่งกายก็แตกต่างจากการแต่งกายทั่วไป การออกแบบเสื้อผ้าอาภรณ์สวมใส่ และอิริยาบถใน
ท่าทางต่างๆเหาะเหิรเดินอากาศได้ เกิดรูปลักษณ์ท่าทาง ซึ่งถือว่าเข้าเงื่อนไขการได้มาของงาน
อันมีลิขสิทธิ์ ส่วนจะควรค่าแห่งประโยชน์ของศิลปะหรือไม่นั้น กฎหมายไม่ได้คำนึงถึง ภาพรูป
ซุปเปอร์แมน ผู้สร้างสรรค์ได้ใช้ความสามารถ ใช้สติปัญญาวิจารณญาณและฝีมือ พอสมควรที่
จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ อันเป็นงานศิลปกรรมซึ่งก็เคยมีคำพิพากษาศาล
ฎีกาได้วางแนวไว้ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 876/24966 ที่จะเป็นข้อพิจารณาได้ว่าได้สร้าง
สรรค์โดยใช้ความสามารถข้างต้นหรือไม่
จากคำพิพากษาของศาลฎีกา ซึ่งจากคำฟ้อง คำให้การ เห็นว่าผู้ฟ้องคดีโยนภาระให้
ศาลชี้ขาดในเรื่องของการให้ความคุ้มครองคาบเกี่ยว ในความเคลือบแคลงสงสัยในประเด็นใน
เรื่องของการให้ความคุ้มครองคาบเกี่ยว ที่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายไว้ชัดเจน ปัญหาในเรื่อง
ของการพิจารณา ถ้าศาลเห็นว่ารูปซุปเปอร์แมน เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์แล้ว ศาลจะพิจารณาเรื่อง
อำนาจในการฟ้องเพื่อเพิกถอนเครื่องหมายการค้าหรือไม่
5W. R. Cornish, Intellectual Property: patent copyright tread mark and Allied Right 10-06, op. cit., p. 384
6คำพิพากษาฎีกาที่ 876/2496
10
ศาลได้พิพากษาไว้เด็ดขาดว่าไม่สามารถเพิกถอนเครื่องหมายการค้าได้ โดยบทบัญญัติ
ของกฎหมายเครื่องหมายการค้าในขณะนั้น ซึ่งการกระทำของจำเลยที่นำเครื่องหมายการค้า
มาจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
เมื่อพิจารณาแล้วศาลฎีกาได้พิพากษาให้สอดคล้องกับศาลชั้นต้น โดยมองว่าไม่ควรให้
ความคุ้มครองสิทธิในลักษณะที่มีความคาบเกี่ยวกัน โดยยืนยันว่าสิทธิของโจทก์ที่นำมาฟ้องใน
คดีนี้เป็นสิทธิในเครื่องหมายการค้า(ซึ่งความเป็นจริงในข้อนี้ รูปซุปเปอร์แมนที่ปรากฏเป็นงาน
ศิลปกรรม ประเภทจิตรกรรม รูปซุปเปอร์แมนที่ปรากฏบนเครื่องเขียนสิ่งตีพิมพ์ที่พิพาทกัน ถ้า
กฎหมายในปัจจุบันถือว่าเป็นศิลปประยุกต์ ในยุคขณะพิพาทกันศิลปประยุกต์ยังไม่ถูกบัญญัติ
ไว้ให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย) โจทก์จึงอ้างสิทธิว่าภาพดังกล่าวเป็นภาพศิลปกรรมที่
ใช้อย่างเครื่องหมายการค้าจึงนำเสนอว่าเครื่องหมายการค้าของตนเป็นทั้งเครื่องหมายการค้า
และลิขสิทธิ์ และขอรับความคุ้มครองโดยอ้างสิทธิทั้งสองอย่างพร้อมกัน ประเด็นในคดีนี้ไม่ว่า
คำพิพากษาจะออกมาว่าเครื่องหมายการค้านั้นเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์หรือไม่มีลิขสิทธิ์ ก็ไม่เกิด
ผลใดต่อการบังคับใช้สิทธิเพราะคำพิพากษาได้แยกความคุ้มครองไว้ชัดเจนว่าไม่ได้ให้ความ
คุ้มครองเพราะการกระทำไม่เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์
ผู้เขียนเห็นว่าศาลได้เข้าไปชี้ขาดในรูปซุปเปอร์แมนว่าไม่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ เพราะ
เห็นว่าไม่ใช่รูปศิลป์ที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ซึ่งความจริงศาลน่าจะเข้าไปชี้ขาด
ว่ารูปเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ เพราะโจทก์นำ
มาใช้อย่างเครื่องหมายการค้าโดยนำไปหมายกับสินค้า ใช้เพื่อให้สาธารณชนเข้าใจได้ว่าเป็น
เครื่องหมายการค้า และเป็นงานที่กฎหมายลิขสิทธิ์ไม่ได้บัญญัติให้ความคุ้มครอง เพราะถ้าใน
ปัจจุบันปัญหานี้โจทก์อาจแยกความคุ้มครองโดยถือว่าเป็นศิลปประยุกต์ จะอย่างไรก็ตามผู้
เขียนเห็นว่าการที่ศาลชั้นต้นไม่ได้ให้ความคุ้มครองสิทธิในการที่จะอ้างสิทธิเพื่อเพิกถอนและ
เห็นว่าไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ควรจะถูกต้องมากกว่า และค่อนข้างที่จะมองไปในอนาคตว่า
ไม่ให้ความคุ้มครองที่คาบเกี่ยวกัน แยกแยะสิทธิอย่างชัดเจนว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์และเครื่อง
หมายการค้า
คดีสนูปปี้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4026/2524 ,4594/2531โจทก์ฟ้องคดีโดยอ้างสิทธิ
แห่งมูลละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อเพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลย คดีนี้ไม่ได้มีการสืบพยาน เช่น
คดีซุปเปอร์แมน โดยขอให้ศาลวินิจฉัยว่าภาพการ์ตูนที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้
11
เหมือนหรือคล้ายกับภาพการ์ตูนสนูปปี้ของโจทก์หรือไม่ หากเหมือนหรือคล้ายกันจะเป็นการ
ละเมิดสิทธิของโจทก์หรือไม่
ต่อมาศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ภาพการ์ตูนของโจทก์และจำเลยมีลักษณะคล้าย ๆ หรือ
เหมือนกัน แต่จำเลยไม่ได้นำออกใช้อย่างวรรณกรรมและศิลปกรรม ไม่เป็นการละเมิดสิทธิของ
โจทก์ พิพากษายกฟ้อง
คดีนี้จะมีลักษณะคล้ายกับคดีซุปเปอร์แมน ทั้งๆ ที่คดีซุปเปอร์แมน มีข้อสงสัยในปัญหา
การให้ความคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ โจทก์ยังจะเลือกโดยให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด โจทก์น่าจะนำ
พยานเข้าสืบเพื่อให้เห็นแนวถึงข้อสงสัยที่เกิดขึ้นกับคดีซุปเปอร์แมน ก็จะได้เห็นข้อวินิจฉัยที่จะ
บอกถึงการไม่ให้ความคุ้มครองในลักษณะงานอันมีลิขสิทธิ์ ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่น่าสงสัย
ประการหนึ่งว่าไปสละข้ออ้าง ข้อเถียง ข้อพิสูจน์ของตน ลักษณะของปัญหาก็เกิดคล้ายๆกัน แต่
ในคดีนี้โจทก์ได้ฟ้องในลักษณะของงานอันมีลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรม
และศิลปกรรม พ.ศ. 2474 และรูปสนูปปี้ก็ไม่ได้ใช้อย่างเครื่องหมายการค้าโดยนำไปขอรับ
ความคุ้มครองตามกฎหมายเครื่องหมายการค้า ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยอย่างชัดเจนว่าจำเลยไม่
ได้นำออกใช้อย่างวรรณกรรมและศิลปกรรม ไม่เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ เห็นได้อย่างชัด
เจนว่า ศาลชั้นต้นได้อาศัยตาแนวคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีซุปเปอร์แมน คือไม่ยอมรับใน
เรื่องของการให้ความคุ้มครองคาบเกี่ยว โดยถ้าวิเคราะห์จากคำพิพากษาของศาลชั้นต้นก็ไม่
เข้าไปวินิจฉัยในประเด็นที่ได้มีการสละข้อต่อสู้กันไว้ให้ชัดเจนว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์หรือไม่
โดยการวินิจฉัยล่วงไปถึงว่าไม่เป็นการละเมิดสิทธิเพราะมิได้ใช้อย่างงานอันมีลิขสิทธิ์ ซึ่งก็สอด
คล้องกับคดีซุปเปอร์แมน แต่เป็นการย้อนกลับไปว่างานที่เจ้าของจะมาบังคับใช้สิทธินั้นถ้ามี
ลักษณะที่ไม่ได้ใช้อย่างงานอันมีลิขสิทธิ์ ก็ไม่สามารถบังคับใช้ว่าผู้อื่นมาละเมิดสิทธิตน และ
ขณะเดียวกันหากผู้กระทำละเมิดมิได้นำงานมาใช้ในลักษณะเดียวกับเจ้าของสิทธิบังคับใช้สิทธิ
ก็ไม่ถือว่าละเมิดสิทธิ ซึ่งคล้ายๆว่าศาลชั้นต้นจะบอกว่า งานอันมีลิขสิทธิ์จะมาบังคับใช้สิทธิได้
ก็เฉพาะงานที่มีการใช้อย่างงานอันมีลิขสิทธิ์ งานอันมีลักษณะการใช้อย่างเครื่องหมายการค้าก็
สามารถบังคับใช้สิทธิกับผู้ที่ละเมิดอย่างเครื่องหมายการค้า ศาลไม่ยอมรับในเรื่องของการให้
ความคุ้มครองคาบเกี่ยวซึ่งน่าจะเกิดคุณประโยชน์ต่อแวดวงทรัพย์สินทางปัญญาแต่คดีไม่ถึงที่
สุด และอีกทั้งเหตุผลประการที่สำคัญน่าจะเกิดจากในขณะที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2521 ยังไม่บังคับใช้ การให้ความคุ้มครองประเภทศิลปประยุกต์ ยังไม่บังคับใช้ ศาลจึงไม่
12
มีกฎหมายรองรับสิทธิที่เกิดขึ้นดังกล่าว จึงพิพากษาไปตามประเด็นของงานที่กฎหมายให้ความ
คุ้มครอง
ต่อมาเนื่องจากคดีไม่ถึงที่สุดมีการอุทธรณ์ฎีกาจนถึงศาลฎีกา ก็เกิดปัญหามีข้อสงสัย
อีกประการในเรื่องของการเข้าไปวินิจฉัยในเรื่องของงานอันมีลิขสิทธิ์ของรูปสุนัขสนูปปี้โดยได้
วินิจฉัยว่า
“ลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมที่โจทก์จะมีขึ้นได้ต้องเป็นศิลปกรรมที่ได้ทำขึ้นในแผนกศิลปะ เช่น
รูปศิลป์ รูปการ์ตูนสุนัขตามเอกสารท้ายฟ้องไม่ใช่รูปศิลป์ แต่เป็นรูปคล้ายสุนัขธรรมดาทั่วๆไป
ที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะการขีดเขียนจึงอาจเหมือนหรือคล้ายกันได้เป็นธรรมดา รูปการ์ตูนสุนัข
ของโจทก์จึงไม่ใช่ลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมตามความหมายของพระราชบัญญัติดังกล่าว”
เมื่อวิเคราะห์จากคำพิพากษาของศาลฎีกา เมื่อนำรูปสุนัขสนูปปี้มาพิจารณา ใน
ประการแรกก่อนว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์หรือไม่สิ่งที่จะต้องนำมาวินิจฉัยโดยนำหลักของ
กฎหมายลิขสิทธิ์ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ด้วยตนเอง (Originality) อันเป็นการแสดงออกซึ่งความ
คิด (Expression of Idea) และมีการสร้างสรรค์งานด้วยความวิริยะลงทุนลงแรงโดยใช้ความ
สามารถ ใช้สติปัญญาวิจารณญาณและฝีมือ skill, labour and judgment ซึ่งหลักของการ
พิจารณาต้องนำข้อพิจารณาเหล่านี้มาพิจารณาว่า การวาดรูปสุนัขสนูปปี้เกิดขึ้นจากภาพ
การ์ตูน ซึ่งผู้สร้างสรรค์ต้องใช้ความคิดและสติปัญญาถ่ายทอดออกมาเป็นสุนัขการ์ตูนที่มีความ
แตกต่างจากสุนัขโดยทั่วไป หาใช่เป็นการวาดภาพเหมือนจึงอาจคล้ายกันได้เป็นธรรมดา สุนัข
ย่อมเป็นสุนัข แต่ภาพการ์ตูนเป็นเรื่องยากมากที่การสร้างสรรค์และขีดเขียนออกมาคล้ายกัน
การวินิจฉัยของศาลนำเรื่องของงานอันมีลิขสิทธิ์ มาวินิจฉัยตามหลักของลักษณะกฎหมาย
เครื่องหมายการค้า กล่าวคือได้นำเรื่องของลักษณะบ่งเฉพาะ (Distinctiveness) มาพิจารณา
ประกอบซึ่งหากจะพิจารณาว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์หรือไม่ นำลักษณะของเครื่องหมายการค้า
มาวินิจฉัยและพิจารณาประกอบซึ่งจะขัดต่อระบบลิขสิทธิ์
เมื่อเปรียบเทียบกับคดีซุปเปอร์แมนแล้ว ศาลบอกว่าโจทก์ใช้รูปซุปเปอร์แมนอย่าง
เครื่องหมายการค้า อย่ามาบังคับใช้ตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ศาลไม่ให้ความคุ้มครองและขณะ
เดียวกันโจทก์ในคดีสนูปปี้ ไม่ได้ใช้อย่างเครื่องหมายการค้า แต่ใช้อย่างงานอันมีลิขสิทธิ์ ทั้งการ
เผยแพร่และการจดทะเบียน(ประเทศสหรัฐอเมริกาให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์โดยนำมาจด
ทะเบียน)ศาลก็ไม่ให้ความคุ้มครอง โดยบอกว่าจำเลยไม่ได้นำออกใช้อย่างวรรณกรรมและศิลป
กรรม ไม่เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ ซึ่งเมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบทั้งสองคดีแล้ว จากคำ
13
วินิจฉัยของศาลเห็นว่าไม่ยอมรับในเรื่องของการให้ความคุ้มครองคาบเกี่ยว ซึ่งมีเกิดขึ้นมานาน
แต่ทั้งสองคดีต่างก็ได้วินิจฉัยออกมาเหมือนกันโดยให้เหตุผลเช่นเดียวกันว่า รูปซุปเปอร์แมน
และรูปสนูปปี้ ไม่ใช่งานศิลปะ โดยลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมที่โจทก์จะมีขึ้นได้ต้องเป็นศิลปกรรมที่ได้
ทำขึ้นในแผนกศิลปะ เช่น รูปศิลปะ
ชวลิต อัตถศาสตร์7 ได้ให้ความเห็นว่า การที่ศาลฎีกายกตัวอย่าง รูปศิลปะ อาจเป็น
เพราะศาลฎีกาพิจารณาว่าการกระทำใดๆ ในแผนกศิลปะนั้นจะมีลิขสิทธิ์ได้จะต้องมีคุณค่า
ทางศิลปกรรม (ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้กล่าวถึงความมีคุณค่าทางศิลปกรรมแต่อย่าง
ใด)
ปริญญา ดีผดุง8 ได้ให้ความเห็นว่า ศาลฎีกาเห็นว่าเจตนารมณ์ของพระราช-บัญญัติคุ้ม
ครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พุทธศักราช 2474 มุ่งจะคุ้มครองงานสร้างสรรค์ในประเภท
ศิลปกรรมที่มีคุณค่าทางศิลปะด้วย ไม่ใช่จะเป็นเพียงรูปร่างใดๆ ที่เขียนขึ้นเท่านั้น
สมบูรณ์ บุญภินนท์9 ได้ให้ความเห็นว่า รูปซุปเปอร์แมน รูปการ์ตูนสุนัข เป็นเครื่อง
หมายการค้าที่ทำขึ้นใช้เป็นที่หมายของสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้านั้น ๆ เป็นของเจ้าของเครื่อง
หมายการค้า มิได้มุ่งหมายไปทาง “ศิลปกรรม”
แม้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ มาตรา 4 จะบัญญัติว่าเป็นงานประเภทศิลปกรรมได้
ไม่ว่าจะมีคุณค่าทางศิลปะหรือไม่ ก็เป็นคนละเรื่องกัน เพราะมาตรานี้หมายถึงเมื่อเป็นศิลป
กรรมแล้วไม่ว่าดีหรือไม่ดีก็ยังเป็นศิลปกรรมได้ แต่กรณีนี้ไม่เป็นศิลปกรรมเสียแล้ว หาใช้ไม่เป็น
ศิลปกรรมเพราะไม่มีคุณค่าไม่
จากแนวความคิดของนักกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาข้างต้นทั้งสาม ที่มีความเห็น
ค่อนข้างแตกต่างกันในบางประการข้างต้น ผู้เขียนเห็นว่าไม่จำต้องไปวินิจฉัยตามคำพิพากษา
ของศาลว่า เมื่อบอกว่าเป็นงานศิลปกรรม แล้วไม่ต้องไปวิเคราะห์ถึงเรื่องของคุณค่าและคำ
พิพากษาของศาลก็ไม่ได้บอกชัดเจนว่าแสดงว่าภาพดังกล่าวไม่มีคุณค่าทางศิลปะ จึงทำให้
7ชวลิต อัตถศาสตร์, ลิขสิทธิ์ภายในประเทศ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา(กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม,
2532), หน้า 290 .
8ปริญญา ดีผดุง, คำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา, (กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, 2532) 703.
9สมบูรณ์ บุญภินนท์, ข้อสังเกตเกี่ยวกับคดีเครื่องหมายการค้า สิทธิบัตรและลิขสิทธิ์กฎหมายทรัพย์สินทาง
ปัญญา (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, 2532), หน้า 209-210.
14
กฎหมายลิขสิทธิ์ที่แก้ไขต่อมาเป็นพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 บัญญัติมัดไว้เป็นประเด็น
เลยว่า ไม่ว่าจะมีคุณค่าทางศิลปะหรือไม่ โดยที่ควรจะเป็นในคดีนี้ มีประเด็นเพียงว่าภาพ
การ์ตูนที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ เหมือนหรือคล้ายกับภาพการ์ตูนสนูปปี้ของ
โจทก์หรือไม่ หากเหมือนหรือคล้ายกันจะเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์หรือไม่ หากศาล
พิพากษาไปตามประเด็นว่าภาพการ์ตูนเหมือนคล้ายกันแต่ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิ เพราะ
จำเลยใช้อย่างเครื่องหมายการค้าเพื่อไปหมายกับสินค้า ซึ่งตามฟ้องก็คือนำไปหมายกับเสื้อผ้า
มิได้มีเจตนานำมาใช้อย่างงานอันมีลิขสิทธิ์ (ที่สำคัญงานอันมีลิขสิทธิ์ในขณะนั้นยังไม่ได้ให้
ความคุ้มครองถึงศิลปประยุกต์ ซึ่งเกณฑ์การวิเคราะห์ต้องเปลี่ยนแปลงไป) ไม่จำต้องไปวินิจฉัย
ว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ เพราะตามหลักของกฎหมายลิขสิทธิ์ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าภาพการ์ตูนส
นูปปี้ เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ควรได้รับการคุ้มครอง
4.2 วิเคราะห์ปัญหาลักษณะความคาบเกี่ยวระหว่างกฎหมายสิทธิบัตรและเครื่องหมาย
การค้า
ในสหราชอาณาจักรคดี Re Coca-Cola co.1986 คดีขวดโคคา-โคลา ซึ่งเป็นคดีที่เกิด
ขึ้นในประเทศอังกฤษ โดยที่ศาลสูง (House of Lord) ได้วางหลักการถึงข้อพิจารณาขอบเขตให้
ความคุ้มครองไว้ แนวความคิดเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองของศาลสูง (House of Lord) ของ
ประเทศอังกฤษได้ให้แนวคำพิพากษาไว้น่าสนใจยิ่ง
The Trade Marks Act, 1994 ได้บัญญัตินิยามความหมายของเครื่องหมาย ซึ่งรวมถึง
รูปร่างของสินค้าไว้ด้วย โดยที่คดีนี้เดิมเจ้าของสิทธิได้ขอรับความคุ้มครองในลักษณะของสิทธิ
การออกแบบผลิตภัณฑ์ไว้แล้ว เมื่อสิ้นอายุการให้ความคุ้มครอง เจ้าของสิทธิประสงค์ที่จะขอ
รับความคุ้มครองต่อไปจึงนำมาจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วเห็นได้ว่าเป็นเรื่องของความคุ้มครองคาบเกี่ยว คือลักษณะของขวด
โคคาโคล่า เมื่อได้รับความคุ้มครองในลักษณะของแบบผลิตภัณฑ์แล้ว เมื่อสิ้นอายุการให้ความ
คุ้มครองแล้ว ควรจะตกเป็นสมบัติสาธารณะ (Public Domain) ผู้ใดย่อมมีสิทธินำมาใช้
ประโยชน์ได้ในรูปแบบของแบบผลิตภัณฑ์ แต่เจ้าของสิทธิยังมาขยายความคุ้มครองต่อโดยขอ
คุ้มครองในรูปของเครื่องหมายการค้าซึ่งได้รับความคุ้มครองโดยตลอดไปตราบเท่าที่ยังต่ออายุ
การให้ความคุ้มครองและไม่สูญสิ้นลักษณะของเครื่องหมายการค้า ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อ
สาธารณชน
15
คดีนี้ศาลสูงได้ปฏิเสธที่จะให้ความคุ้มครองเพราะจากปรัชญาของเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้ามีหน้าที่นำมาประทับกับสินค้า เพื่อหมายกับสินค้า ใช้เป็นข้อแยกแยะให้
เห็นความแตกต่างของสินค้าหนึ่งกับสินค้าของผู้อื่นเพื่อคุ้มครองสาธารณชนเป็นหลักเพื่อมิให้
เกิดความสับสนหลงผิด เครื่องหมายการค้าไม่มีหน้าที่ที่จะคุ้มครองเจ้าของสินค้า แต่มุ่งคุ้ม
ครองผู้บริโภคคุ้มครองสาธารณชน และถึงแม้กฎหมายจะยอมรับให้ความคุ้มครองรูปร่างของ
สินค้า แต่จากคำพิพากษาของศาลสูงเห็นว่า เครื่องหมายไม่ควรที่จะเป็นตัวสินค้าเสียเองนั้นก็
คือไม่ยอมรับให้ความคุ้มครองรูปร่างของขวดโคคา โคล่า ว่าเป็นเครื่องหมายการค้า สิ่งที่จะได้
รับความคุ้มครองควรเป็นบางสิ่งบางอย่างที่นำมาปรับใช้กับสินค้า ซึ่งก็หมายถึงนำมาหมายกับ
สินค้า ตามหลักเจตนารมณ์ของคำว่า เครื่องหมาย ซึ่งคำพิพากษาของศาลได้วางหลักเกณฑ์ที่
เห็นชัดว่าไม่ให้ความคุ้มครองคาบเกี่ยวกับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์และเครื่องหมาย
การค้าอย่างชัดเจน เพราะคงจะพิจารณาเห็นแล้วว่าได้รับความคุ้มครองมาจนสิ้นอายุการให้
ความคุ้มครองแล้ว
ผู้เขียนเห็นว่า ขวดโคค่าโคล่านั้นไม่มีลักษณะที่จะใช้ในลักษณะอย่างเครื่องหมายการ
ค้าโดยประทับหรือหมายลงบนสินค้า เป็นส่วนหนึ่งของสินค้า โดยมีลักษณะของเงื่อนไขการติด
ตรึงกับสินค้า (Affixation Requirement)10 ซึ่งถือว่าโดยหลักทั่วไปของกฎหมายเครื่องหมาย
การค้าต้องการให้เครื่องหมายการค้านั้นต้องติด (affixed) ซึ่งจากลักษณะของขวดโคคาโคล่า
อาจจะเป็นการเล็งถึงคุณลักษณะของสินค้า (Descriptive term) เพราะเป็นขวดบรรจุน้ำ
บุคคลทั่วไปก็ทราบดีว่าลักษณะของการบรรจุขวด เครื่องหมายการค้าที่มาขอรับความคุ้มครอง
ไม่ได้ทำหน้าที่อย่างเครื่องหมายการค้า แต่เป็นเรื่องของความคาบเกี่ยวคือเป็นลักษณะของ
แบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งหากจะพิจารณาเปรียบเทียบของการทำหน้าที่อย่างเครื่องหมายการค้าในรูป
ร่างหรือรูปทรงของวัตถุ เช่น รูปปั้นโดนัล ที่ร้านแมคโดนัล รูปปั้นชายชราถือไม้เท้า ยืนอยู่ที่ร้าน
เคเอฟซี เป็นการทำหน้าที่อย่างเครื่องหมายการค้า
ดังที่ศาลสูง (House of Lord) ของประเทศอังกฤษได้พิจารณาความจำเป็นในอนาคต
ว่าหากรับจดทะเบียนขวดโคคาโคล่า ในรูปลักษณะรูปร่างของภาชนะเป็นการผูกขาด และเป็น
การทำลายระบบการค้าเสรีและเป็นธรรม (Free and Fair trade)ไม่ก่อเกิดประโยชน์ต่อสังคม
10โปรดดู วุฒิพงษ์ เวชยานนท์, เครื่องหมายการค้ากับธุรกิจระหว่างประเทศ, เรื่องเดียวกัน, หน้า 109.
16
4 . 1 วิเคราะห์ปัญหาลักษณะความคาบเกี่ยวระหว่างกฎหมายลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร
คดีปากกาแลนเซอร์11 ซึ่งโดยผลจากคำพิพากษาของศาลฎีกาคดีนี้ก่อให้เกิดความ
สนใจต่อแวดวงนักกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมาก เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ได้วาง
หลักไว้โดยคำพิพากษาของศาลฎีกา เท่ากับยอมรับการให้ความคุ้มครองคาบเกี่ยวในระบบของ
กฎหมาย ระหว่างกฎหมายลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร โดยอาศัยผลแห่งข้ออ้างว่าไม่มีกฎหมายห้าม
ไว้ ซึ่งความเห็นในแวดวงนักกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ที่เกิดความสงสัยซึ่งแน่นอนในเรื่อง
ของความเห็นทางกฎหมายย่อมเป็นสองแนวทาง
แนวทางในประการแรก เป็นการมองว่าไม่ถือเป็นปัญหาในเรื่องของความ คุ้มครอง
เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามไว้ ย่อมเป็นการสมควรที่เจ้าของสิทธิควรที่จะได้รับ
ความคุ้มครองอย่างเต็มรูปแบบ และไม่มองปัญหาในเรื่องของการให้ความคุ้มครองคาบเกี่ยว
เป็นปัญหาที่จะต้องแก้ไข
แนวทางประการที่สอง เป็นการมองเข้าไปถึงระบบของสิทธิของทรัพย์สินทางปัญญา
พยายามที่แก้ไขปัญหาในเรื่องของความคุ้มครองคาบเกี่ยว ว่าไม่ควรให้เจ้าของสิทธิได้รับความ
คุ้มครองที่มากเกินไป และมุ่งจะจัดระบบของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งแยกสิทธิให้ชัด
เจน ถึงแม้ไม่มีกฎหมายห้ามไว้แต่ด้วยปรัชญาและระบบของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆมี
การแยกความคุ้มครองไว้ จึงควรได้รับความคุ้มครองตามลักษณะของสิทธิ
ซึ่งถ้าวิเคราะห์เข้าไปถึงลักษณะสิทธิ ลิขสิทธิ์ มีลักษณะเป็นงานสร้างสรรค์ที่เป็นการ
แสดงออกมาจากจิตใจ เพราะเป็นงานที่เกิดขึ้นจากความสุนทรีภาพ (Aesthetic) อันเป็นงานที่
มุ่งตอบสนองเกิดผลทางด้านจิตใจและการเรียนรู้ของมนุษย์ สร้างสิ่งอันสวยงามทั้งด้านภาย
นอกและภายในจิตใจ การจำแนกงานออกเป็นประเภท มีลักษณะที่แสดงออกถึงความสวย
งามและมีผลโดยตรงต่อจิตใจ ในขณะเดียวกันองค์ประกอบของการออกแบบผลิตภัณฑ์ เป็น
เพียงองค์ประกอบภายนอกของผลิตภัณฑ์เพียงเพื่อความสวยงามเพื่อดึงดูดใจ โน้มน้าวใจเพื่อ
ให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึกพอใจในรูปทรงภายนอกในผลิตภัณฑ์นั้น แตกต่างจากงานอันมี
ลิขสิทธิ์ ซึ่งผู้บริโภคสามารถชื่นชมงานสร้างสรรค์ดังกล่าว บริโภคในลักษณะให้เกิดความ
สุนทรียภาพ อันเป็นการบริโภคโดยตรงต่อวัตถุแห่งสิทธิ มิใช่การชื่นชมเพื่อดึงดูดให้บริโภคผลิต
ภัณฑ์นั้นเพื่อประโยชน์ในทางใช้สอยในทางอุตสาหกรรม หากให้ความคุ้มครองสิทธิในกรณี
11 คำพิพากษาฎีกาที่6379/2537
17
พิพาทในคดีปากกาแลนเซอร์ว่าเป็นงานศิลปกรรมประยุกต์ โดยยอมรับว่าแบบร่าง แม่พิมพ์
เป็นงานศิลปกรรมแล้ว การสร้างสรรค์งานทุกอย่างในทรัพย์สินทางปัญญา ย่อมถือว่าเป็นงาน
อันมีลิขสิทธิ์ทั้งสิ้น เพราะงานทุกอย่างต้องเริ่มต้นที่การเขียนแบบและแบบร่างทั้งนั้น
ซึ่งเจตนาของผู้สร้างสรรค์นั้นเกิดขึ้นจากการที่มิได้มุ่งผลิตเพียงแบบจำลอง ภาพร่าง
เพื่อเผยแพร่งานสร้างสรรค์ ในลักษณะของงานสร้างสรรค์ในลักษณะของศิลปกรรมประเภท
จิตรกรรมหรือประติมากรรมดังกล่าว โจทก์มิได้มุ่งผลิตแบบร่าง แบบจำลองเพื่อให้เกิดจาก
ความมุ่งหมายในเชิงศิลปะ คือ ในแบบร่างของงานจิตรกรรม หรือแบบจำลองในเชิง
ประติมากรรม ซึ่งเจตนารมณ์ระบบลิขสิทธิ์ อันก่อให้เกิดสิ่งซึ่งความสวยงามอันเป็นงานศิลปะ
อันจะอยู่ในขอบข่ายของงานศิลปกรรม ประเภทจิตรกรรม ถึงแม้คำพิพากษาศาลจะวินิจฉัยว่า
งานสร้างสรรค์แบบปากกาทั้งสองแบบจึงเป็นงานศิลปประยุกต์อันอาจได้รับความคุ้มครองตาม
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีคุณค่าทางศิลปะหรือไม่ แต่การที่กฎหมาย
บัญญัติว่า “ทั้งนี้ ไม่ว่างานตาม (1) ถึง (7) จะมีคุณค่าทางศิลปะหรือไม่” นั้นไม่ได้หมายความ
ว่า ไม่ต้องมีลักษณะทางศิลปกรรมเลย หากแต่มีความมุ่งหมายเพื่อไม่ต้องเอาระดับความสวย
ความไพเราะหรือคุณค่าทางสุนทรียภาพอื่นๆ มาพิจารณาเนื่องจากบุคคลจะเห็นแตกต่างกันได้
12 แต่การสร้างสรรค์งานปากกาแลนเซอร์นั้นเป็นการออกแบบลักษณะรูปทรง ลวดลายต่างๆ
เพื่อเป็นการดึงดูดสายตาและเป็นการกระตุ้นความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งเป็นองค์ประกอบ
ภายนอกของแบบผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคมิได้บริโภคเสมือนหนึ่งเป็นงานศิลปะ แต่มุ่งจะใช้สอย
ประโยชน์แห่งแบบผลิตภัณฑ์นั้นๆ ซึ่งมีส่วนประกอบแห่งองค์ประกอบของศิลปะจะเห็นได้ว่า
การบังคับใช้กฎหมายมุ่งไปที่การตีความบทบัญญัติแห่งกฎหมายมากกว่าที่จะไปพิจารณาเรื่อง
ของระบบของปรัชญาของกฎหมายของแต่ละประเภท กระบวนการที่สร้างสรรค์งานของปากกา
แลนเซอร์ มิได้เป็นการสร้างสรรค์หรือมีความคิดริเริ่มที่สร้างสรรค์งานอันเป็นงานศิลปกรรม
ประเภทจิตรกรรมและประติมากรรม แต่มุ่งสื่อไปที่กระบวนการของการผลิตไปที่ผลิตภัณฑ์เพื่อ
จำหน่าย แบบร่างหรือแบบจำลองมิได้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้บริโภคชื่นชมในความสวยงามหรือ
สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นงานจิตรกรรม งานประติมากรรมโดยตรงแต่อย่างใด
จากปัญหาตามคำพิพากษาข้างต้นหากไม่ให้ความคุ้มครองในเรื่องของกฎหมาย
ลิขสิทธิ์แล้ว จากฟ้องของโจทก์เห็นว่าเป็นการบรรยายฟ้องอ้างสิทธิถึงมูลละเมิดด้วย ซึ่งมีคำ
12โปรดดู ธัชชัย ศุภผลศิริ, กฎหมายลิขสิทธิ์, เรื่องเดิม, หน้า 111.
18
พิพากษาฎีกาที่ 387/250713 และ 353/251014 ได้วางแนวทางของการให้ความคุ้มครอง ใน
กรณีที่จะเป็นละเมิดนั้นการกระทำนั้นจะต้องเป็นการกระทำละเมิดต่อสิทธิที่กฎหมายได้
บัญญัติไว้ ดังนี้จากคำพิพากษาฎีกาที่ 353/2510 นี้เป็นยุคในขณะที่ไม่มีกฎหมายสิทธิบัตร ให้
ความคุ้มครองในเรื่องสิทธิ ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องของการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยโจทก์พยายามจะ
นำสืบในประเด็นในเรื่องของรูปรอยประดิษฐ์เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ตามประมวล
กฎหมายอาญา ที่กฎหมายมีบทบัญญัติไว้แล้วในขณะนั้น แต่ศาลก็ได้มีคำพิพากษาที่สอด
คล้องกับคำพิพากษาฎีกาที่ 837/2507 คือไม่ให้ความคุ้มครองในสิทธิที่ยังไม่มีกฎหมาย
บัญญัติ แต่คำฟ้องของโจทก์ในคดี แลนเซอร์ คาเดท เป็นการบรรยายฟ้องในหลักของมูล
ละเมิดอ้างสิทธิตามกฎหมายลิขสิทธิ์โดยไม่ได้กล่าวอ้างในเรื่องสิทธิในแบบผลิตภัณฑ์
มีปัญหาว่าสิทธิของโจทก์ควรจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์หรือไม่ ซึ่ง
แบบพิมพ์หรือแบบแม่พิมพ์นั้นเป็นลักษณะของภาพสองมิติ (Two dimension) ถูกออกแบบ
และยกร่าง การจะพิจารณางานศิลปกรรมประเภทงานจิตรกรรม จะพิจารณาถึงนิยามความ
หมายตามบทบัญญัติของกฎหมายและตีความอย่างเคร่งครัดตามตัวอักษรแล้ว ภาพพิมพ์เขียว
ที่เขียนและยกร่างนั้น ภาพร่างและแบบนั้นก็จะต้องถือว่าเป็นงานจิตรกรรม แต่ถ้าพิจารณาถึง
เจตนาแห่งการสร้างสรรค์นั้น ผู้ที่ออกแบบร่างนั้นมิได้มุ่งสร้างสรรค์แบบร่างให้มีลักษณะสวย
งามโดยที่มุ่งหมายแห่งการสื่อการใช้ให้ผู้ที่บริโภคที่ได้เสพงานสร้างสรรค์แล้วก่อให้เกิดความ
สวยงามมีผลตอบสนองทางด้านจิตใจ แต่เป็นการทำแบบร่างมาเพื่อที่สร้างแบบเพื่อการผลิต
ปากกาทั้งสองแบบเพื่อให้เกิดความสวยงามสร้างแรงดึงดูด ก่อให้เกิดปฏิกิริยาผู้ที่พบเห็น เกิด
สะดุดตาสะดุดใจ และยังใช้ประโยชน์ได้ และโจทก์ได้ผลิตปากกาออกมาจำหน่ายแล้ว ยังจะมา
ขอรับความคุ้มครองย้อนกลับเข้าไปที่แบบร่าง ภาพร่าง ถ้าเป็นเช่นนี้แล้วเค้าโครงแบบร่างทุก
ฉบับที่วางแนวร่างขึ้นมา ก็ย่อมได้รับความคุ้มครองหมดทุกชิ้น ซึ่งแบบร่างที่สร้างขึ้นก็เพื่อ
ประโยชน์ทางอุตสาหกรรม แบบร่างดังกล่าวจึงไม่ถือเป็นงานศิลปกรรมประเภทจิตรกรรม
การสร้างแม่พิมพ์กับหุ่นจำลองของปากกาดังกล่าวเป็นงานสร้างสรรค์รูปทรงที่เกี่ยวกับ
ปริมาตรสัมผัสและจับต้องได้ อันเข้าลักษณะศิลปกรรม ประเภทงานประติมากรรมหรือไม่ ซึ่ง
นอกจากจะพิจารณาจากบทบัญญัติของกฎหมายแล้ว การพิจารณาของคำ ว่างาน
13คำพิพากษาฎีกาที่ 837/2507
14คำพิพากษาฎีกาที่ 353/2510
19
ประติมากรรมต้องพิจารณาจากองค์ประกอบลักษณะของการสร้างสรรค์งานประติมากรรม
โดยที่การสร้างสรรค์งานประติมากรรม15 หมายถึงการสร้างสรรค์ศิลปะสามมิติ (Three–
dimension art creation) ด้วยการถ่ายทอดสิ่งแทนต่างๆออกมาเป็นรูปทรง ประกอบด้วยความ
กว้าง ความสูง และความลึก เป็นศิลปะในการจัดมวลสิ่ง (masses) หรือปริมาตร (volume)
พื้นราบหรือพื้นระนาบ (plane) บริเวณของแสง-เงา (light shade area) ผิว (texture) เส้นรอบ
นอก (contour line) และวัสดุต่างๆ ให้เกิดเอกภาพที่ประสานกลมกลืนกันหรือเรียกอีกอย่าง
หนึ่งว่า “plastic art” งานประติมากรรมย่อมสะท้อนถึงลักษณะชีวิต นิสัยใจคอความเชื่อถือ
และความคิดมนุษย์ ซึ่งจากแนวความคิดดังกล่าวงานประติมากรรมจะต้องมีลักษณะพิเศษที่
เกิดขึ้นจากการแสดงออกที่ผลสนองตอบต่อทางด้านจิตใจ ทางด้านความคิดและจินตนาการ
ของมนุษย์ มุ่งที่จะบ่งบอกถึงความสุนทรียภาพ (Aesthetic) หุ่นจำลองเพื่อทำแม่พิมพ์นั้นเป็น
การสร้างขึ้นมีวัตถุประสงค์เป้าหมายของการผลิต เจตนาที่แท้จริงมิใช่การสร้างสรรค์หุ่นจำลอง
เพื่องานประติมากรรมเพื่อให้ผู้พบเห็นได้พบความสวยงามในหุ่นจำลองนั้น แต่เป็นการทำหุ่น
จำลองเพื่อสร้างแม่พิมพ์เพื่อผลิตปากกาขายเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ปากกา ให้ผู้พบเห็นเกิดความ
ชื่นชมในความสวยงามสะดุดตาและเกิดประโยชน์จากการใช้สอยในผลิตภัณฑ์นั้น จึงมิใช่งาน
ศิลปกรรม ประเภทประติมากรรม
ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ถึงงานสร้างสรรค์ของโจทก์ที่มาฟ้องคดีเพื่อขอรับความคุ้มครองนั้นภาพ
ร่าง หุ่นจำลองก็ดี เจตนารมณ์ของกฎหมายลิขสิทธิ์ ได้แยกแยะจำแนกไว้ต่างหากและจำกัด ซึ่ง
เมื่อพิจารณาแล้ว ภาพร่างหรือหุ่นจำลองดังกล่าว ควรจะเป็นงานสร้างสรรค์ประเภทภาพร่าง
โครงสร้างหรืองานสร้างสรรค์รูปทรงสามมิติ โดยตรง แต่บทบัญญัติของกฎหมายก็จำกัดสิทธิไว้
โดย แบบร่าง โครงสร้างหรืองานสร้างสรรค์รูปทรงสามมิตินั้น อันเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ภูมิ
ประเทศ หรือวิทยาศาสตร์ เท่านั้น หาได้รวมถึงแบบร่างโดยทั่วไปไม่ ซึ่งจะสอดคล้องกับคำ
กล่าวที่ว่างานทุกอย่างต้องเริ่มชีวิตบนกระดานเขียนแบบ (Drawing Board)16 นั้นก็คือการ
พิจารณาไปในอนาคตของการให้ความคุ้มครองสิทธิหากไม่จำกัดประเภทของภาพร่าง โครง
15สมพล พรพัฒนเลิศกุล, “งานอันเป็นวัตถุแห่งลิขสิทธิ์,” (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
2 5 2 9), หน้า 2 6 2.
16อ้างแล้ว
20
สร้างหรืองานสร้างสรรค์ รูปทรงสามมิติไว้แล้ว งานทุกชนิดต้องเริ่มต้นด้วยภาพร่างทั้งสิ้น และ
ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ทั้งสิ้นทั้งปวง
ดังนี้งานสร้างสรรค์ดังกล่าวควรจะได้รับความคุ้มครองอย่างไร และฟ้องของโจทก์ควร
ได้รับความคุ้มครองหรือไม่อย่างไร กล่าวคือปากกาของโจทก์ ตามฟ้องก็ควรได้รับความคุ้ม
ครองในประเภทของการออกแบบผลิตภัณฑ์ เพราะความมุ่งหมายและแนวทางการประดิษฐ์
คิดค้น เป็นการสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมา หากจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายก็จะต้องนำแบบ
ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมาขอรับสิทธิบัตร หากไม่ได้ขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ย่อมไม่
ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
ปัญหาต่อมาว่าจากการบรรยายฟ้องของโจทก์ในเรื่องของมูลละเมิดการกระทำของ
จำเลยน่าจะเป็นการใช้สิทธิที่มีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นตามประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ ว่าด้วยละเมิด มาตรา 421 ซึ่งถือว่าเป็นการป้องกันการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม
(Unfair competition) ซึ่งก็เป็นประเด็นปัญหาในเรื่องของการใช้สิทธินั้นจะต้องผูกโยงไปกับ
มาตรา 420 คือการกระทำละเมิด เมื่อวิเคราะห์ถึงสิทธิตามกฎหมายแล้ว สิทธิดังกล่าวของ
โจทก์มิได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์แล้ว และควรจะได้รับความคุ้มครองใน
ลักษณะของการออกแบบผลิตภัณฑ์ แต่โจทก์ไม่ได้ขอรับความคุ้มครองไว้โดยกฎหมายกำหนด
ให้ต้องนำมาจดทะเบียนจึงจะก่อให้เกิดสิทธิ ดังนั้นสิทธิใดๆ จึงยังไม่เกิด ผู้เขียนเห็นว่าคำ
พิพากษาฎีกาที่ 387/2507 และ 353/2510ได้ก่อตั้งแนวป้องกันสิทธิที่ไม่เข้าระบบสิทธิในทรัพย์
สินทางปัญญา กฎหมายไม่ควรให้ได้รับความคุ้มครองเพราะถือว่ามิใช่ “สิทธิตามกฎหมาย” ที่
จะเรียกร้องให้บังคับบัญชาทางศาลได้
1 . 4 วิเคราะห์ปัญหาลักษณะความคาบเกี่ยวระหว่างกฎหมายลิขสิทธิ์ สิทธิบัตรและ
เครื่องหมายการค้า
กรณีปัญหาภาพการ์ตูนชุดเทเลทัปบี้ล TELETUBBIES เป็นภาพการ์ตูนชุดอัน
ประกอบไปด้วยตัวการ์ตูนใช้ชื่อว่า ทิงกี วิงกี (Tinky Winky) ดิปซี (Dipsy) ลา-ลา (Laa-Laa)
โพ (Po) เป็นภาพที่สร้างสรรค์ขึ้นมาจากงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทงานภาพถ่ายตัวการ์ตูน ที่
ประเทศสหราชอาณาจักร ต่อมานำไปจดทะเบียนลิขสิทธิ์อันเป็นออกโฆษณางานครั้งแรก ที่
สำนักงานลิขสิทธิ์สหรัฐอเมริกา หอสมุดสภาครองเกรส โดยแยกเป็นรูปภาพถ่ายโดยมีชื่อภาพ
ข้างต้น ต่อมาหลังจากที่นำเผยแพร่ครั้งแรกในรูปแบบของงานภาพถ่าย โดยจดทะเบียนลิขสิทธิ์
เพื่อขอรับความคุ้มครองต่อมา เจ้าของสิทธิได้นำงานอันมีลิขสิทธิ์ภาพถ่ายที่ได้จดทะเบียนไว้ดัง
21
กล่าวมาสร้างเป็น โสตทัศนวัสดุ รูปแบบภาพยนตร์วิดีโอเผยแพร่ทางโทรทัศน์ อันเป็นงานโสต
ทัศนวัสดุใช้ชื่อเทเลทับบี้ล หลังจากที่เผยแพร่ทางโทรทัศน์แล้วได้มีการนำภาพดังกล่าวมา
จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ตามลักษณะของตัวละครตามภาพถ่ายเพื่อขอรับความคุ้มครอง
ในรูปแบบเครื่องหมายการค้า ต่อมาได้มีการผลิตสินค้าออกมาจำหน่ายในรูปลักษณะ นาฬิกา
กระเป๋า ถุงเท้า ตุ๊กตา ภาพตัวการ์ตูนประทับอยู่บนสินค้า และต่อมาได้มีการกระทำละเมิดโดย
มีผู้ผลิตสินค้าปลอมนาฬิกา กระเป๋า ถุงเท้า ตุ๊กตาออกมาจำหน่าย เจ้าของสิทธิจึงบังคับใช้สิทธิ
ต่อผู้กระทำละเมิด ซึ่งเห็นแล้วว่าเจ้าของสิทธิได้รับความ คุ้มครองคาบเกี่ยวกันกับกฎหมาย
ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้าและสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ทั้งสามกฎหมายในลักษณะ
สินค้าชนิดเดียวกัน กล่าวคือ ในรูปแบบนาฬิกา กระเป๋า ถุงเท้า ตุ๊กตา สติ๊กเกอร์โดยเมื่อจำแนก
ลักษณะของการละเมิดได้ดังนี้
ตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ถือว่าเป็นละเมิดงานศิลปประยุกต์ ซึ่งรูปแบบนาฬิกา กระเป๋า
ถุงเท้า ตุ๊กตา สติ๊กเกอร์ เป็นการนำเอางานภาพถ่าย ซึ่งเป็นงานสร้างสรรค์ที่ได้จดทะเบียนมา
ประกอบเข้าด้วยกัน เมื่อพิจารณาจากรูปลักษณ์หน้าตา และลักษณะพิเศษของตัวละครถือว่า
เป็นการกระทำทำซ้ำ ดัดแปลง ละเมิดในส่วนที่เป็นสาระสำคัญของงานอันมีลิขสิทธิ์ ย่อมถือว่า
เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
ตามกฎหมายเครื่องหมายการค้า ซึ่งเจ้าของสิทธิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
ไว้หลายจำพวกในอิริยาบถของตัวละครข้างต้น ซึ่งรูปแบบนาฬิกา กระเป๋า ถุงเท้า ตุ๊กตา สติ๊ก
เกอร์ นั้นเมื่อพิจารณาจากภาพการ์ตูนเป็นการเอาภาพเครื่องหมายการค้าไปหมายและประทับ
ลงบนสินค้า เมื่อพิจารณาจากรูปเครื่องหมายการค้า ถ้ามิได้เหมือนกับเครื่องหมายการค้าที่จด
ทะเบียนไว้ทุกประการย่อมถือว่าเป็นการเลียน (Imitation) เครื่องหมายการค้า ซึ่งถือว่าเป็นการ
ละเมิดเครื่องหมายการค้า
ตามกฎหมายสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งรูปแบบนาฬิกา กระเป๋า ถุงเท้า
ตุ๊กตา ล้วนแล้วแต่สามารถนำภาพการ์ตูนมาทำลวดลายลงบนวัสดุเหล่านี้ เจ้าของสิทธิ
สามารถมาขอรับความคุ้มครองโดยขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ แต่ในกรณีนี้เจ้า
ของสิทธิมิได้นำมาขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ และตราบใดยังไม่ได้ใช้กับผลิตภัณฑ์
ย่อมถือว่ามีความใหม่(Novelt)อยู่เสมอทั้งๆที่ปรากฏพบเห็นกันอย่างแพร่หลาย
22
จากกรณีดังกล่าวข้างต้นเห็นได้ว่า งานสร้างสรรค์ในรูปแบบเดียวสามารถได้รับ
ความคุ้มครองคาบเกี่ยวทั้งกฎหมายลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้า เป็นการให้ความ
คุ้มครองที่มากเกินไป ทำให้เจ้าของสิทธิสามารถเลือกความคุ้มครองที่เกิดประโยชน์กับตนได้
มากที่สุด จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น เจ้าของสิทธิ์เลือกขอรับความ คุ้มครองโดยบังคับใช้สิทธิ
โดยกฎหมายลิขสิทธิ์ ซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดศิลปประยุกต์ พนักงานสอบสวนได้ดำเนินคดีใน
ข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ พนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้อง จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลทรัพย์สินทาง
ปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้มีคำพิพากษาลงโทษฐานละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งมีอัตรา
โทษสูงสุดในบรรดาทรัพย์สินทางปัญญา และนอกจากนี้เจ้าของสิทธิยังได้รับค่าปรับกึ่งหนึ่ง
และได้รับสินค้าที่ละเมิดคืน
จากกรณีดังกล่าวเห็นว่าเป็นการให้ความคุ้มครองสิทธิแก่เจ้าของสิทธิอย่างมากมาย
ไม่มีกฎหมายใดมาจำกัดสิทธิของเจ้าของสิทธิ โอกาสที่จะแก้ไขกฎหมายในเชิงบังคับใช้โดยใช้
คำพิพากษาของศาลเป็นแนวทางในการปรับใช้กฎหมาย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ก็มิ
สามารถดำเนินการได้เนื่องจากผู้ละเมิดสิทธิไม่มีผู้ใดต่อสู้คดี เนื่องจากเห็นว่าเป็นข้อยุ่งยาก
และอยู่ในสถานภาพที่ตนจะรับได้ในโทษที่ได้รับ ทำให้ปัญหาของการให้ความคุ้มครองคาบ
เกี่ยวก็ยังฝังตัวเองอยู่ในระบบของกฎหมาย กระบวนการพิจารณาของศาลมิอาจเอื้อมมือเข้า
มาแก้ไขและใช้คำพิพากษาเป็นตัวบังคับปรับระบบของกฎหมายเพื่อสร้างความเป็นธรรมได้
บทสรุป
ในยุค พ.ศ.2512 ซึ่งเริ่มต้นของการปรากฏปัญหามาจวบจนปัจจุบัน ปัญหาของความ
คาบเกี่ยวของกฎหมายลิขสิทธิ์ สิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่เป็น
ประจำและแนวโน้มของเจ้าของสิทธิมุ่งจะขยายคุ้มครองมากขึ้น เกิดการแสวงหาความคุ้ม
ครองเพื่อการคุ้มครองเจ้าของสิทธิเพียงประการเดียว นำกฎหมายอื่นๆ มาบังคับใช้ประกอบ
ปรัชญาของกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป ต่างฝ่ายต่างใช้บทบัญญัติทางกฎหมาย นักกฎหมายภาค
ปฏิบัติควรวางทัศนคติอย่างไร ในฐานะผู้ควบคุมกระบวนการขับเคลื่อนการบังคับใช้สิทธิตลอด
จนการขอรับความคุ้มครองสิทธิในเบื้องต้น เหตุผลแห่งข้ออ้างว่า ไม่มีบทบัญญัติของ
กฎหมายห้ามไว้ จะเหมาะสมและมีเหตุผลต่อไปหรือไม่ เพียงไร__



Create Date : 19 มิถุนายน 2553
Last Update : 20 มิถุนายน 2553 18:37:58 น. 0 comments
Counter : 5127 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

boxxcatt
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add boxxcatt's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.