Group Blog
 
All Blogs
 
ปัญหาคาบเกี่ยวระหว่างการคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์สิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า[ชัชวาลย์ เสวี] ๑

ขอขอบคุณบทความนี้ที่มีประโยชน์อย่างมาก และขออนุญาตนำเผยแพร่ต่อ

ปัญหาคาบ เกี่ยวระหว่างการคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้า : [ชัชวาลย์ เสวี]
ความนำ
ลักษณะกฎหมายลิขสิทธิ์ สิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า ถือได้ว่าเป็นกฎหมายหลัก
ของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ที่มีแนวปรัชญาของการให้ความคุ้มครองที่แยกกันตาม
ลักษณะของสิทธิ(Character Right)โดยเฉพาะ ด้วยวิวัฒนาการของกฎหมายในแต่ละยุคมาสู่ยุดปัจจุบัน ทรัพย์สินทางปัญญา ถูกกำหนดบทบาทแปรเปลี่ยนหลักปรัชญาการให้ความคุ้มครองสิทธิ เปลี่ยนกลไกขยายความคุ้มครองสิทธิเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองในทุกรูปแบบ โดยอาศัยข้อสันนิษฐานเพียงว่าไม่ได้มีบทบัญญัติกฎหมายห้ามไว้ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายเป็นการทำลายระบบทรัพย์สินทางปัญญาในแต่ละระบบ โดยหากมองย้อนเข้าไปจะพบว่าปัญหาความคาบเกี่ยวในการให้ความคุ้มครองสิทธิเป็นปัญหาที่อยู่คู่ขนานกับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญามาโดยตลอด มีการแก้ไขปัญหากันมาโดยตลอดแต่ปัญหาก็ยังซ่อนอยู่โดยตลอด ซึ่งจะเห็นได้จากการสร้างแนวป้องกันในหลายประเทศ แม้กระทั่งประเทศไทยมีคำพิพากษาฎีกาในยุคแรกๆ ก็ไม่ยอมรับการให้ความคุ้มครองคาบเกี่ยว ซึ่งการให้ความคุ้มครองที่มากเกินไป ไม่ก่อให้เกิดความเป็นธรรม บทความนี้มุ่งประสงค์ที่จะนำเสนอปัญหาของความคาบเกี่ยวที่เกิด
ขึ้นจริงและเป็นประเด็นปัญหาที่ยังคงทิ้งไว้ให้นักกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาได้ถอดรหัส
ปลดล็อด การให้ความคุ้มครองที่คาบเกี่ยว ที่เจ้าของสิทธิพยายามที่จะขอรับความคุ้มครองยาว
นานตราบชั่วนิจนิรันดร์1 ความถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง หรือความคิดเห็นต่าง ประการใดไม่ใช่สาระสำคัญ มุ่งเพียงนำเสนอสะท้อนปัญหาความคุ้มครองคาบเกี่ยวเหมาะสมหรือไม่อย่างไรในกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
∗บทความนี้มีที่มาจากการค้นคว้าวิจัยวิทยานิพนธ์ของผู้เขียนที่เสนอต่อมหาวิทยาลัยรามคำแหง หลักสูตรนิติศาสตรมหา
บัณฑิต
1 โปรดดูวิชัย อริยะนันทกะ ข้อสังเกตุบางประการเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าและป้องกันการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.
2544 หน้า 9
2
1.การให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ สิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า
จากแนวปรัชญาของการก่อให้เกิดสิทธิและการให้ความคุ้มครองสิทธิในกฎหมายลิข
สิทธิ สิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้า มีประวัติของการให้ความคุ้มครองที่ถูกวิวัฒนาการ
มาตามลำดับ แต่สิ่งที่ไม่เปลี่ยนคือปรัชญาการให้ความคุ้มครอง ซึ่งเจตนารมณ์มีลักษณะของ
งานเป็นเอกภาพ โดยลิขสิทธิ์คุ้มครองในรูปแบบการแสดงออกซึ่งความคิด (Expression of
idea) ไม่เน้นเรื่องของความใหม่ (Novelty) แต่ห้ามไปลอกเลียนงาน (Non-copying) หรือทำซ้ำ
งานของผู้อื่นมาโดยไม่ได้รับอนุญาต การได้รับความคุ้มครองก็ได้โดยอัตโนมัติ (Automatic
protection) สิทธิบัตร เป็นการคุ้มครองเรื่องความคิด (Idea) มุ่งเน้นถึงความใหม่ (Novelty)
และไม่เคยแสดงหรือเปิดเผยมาก่อน (Prior art) ได้รับความคุ้มครองเมื่อนำมาจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้า ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องความใหม่ (Novelty) จะใช้มาก่อนหรือเปิดเผยมา
ก่อนก็ได้ แต่ต้องมีลักษณะพิเศษที่สำคัญคือต้องมีลักษณะบ่งเฉพาะ (Distinctiveness) ได้รับ
ความคุ้มครองเมื่อนำมาจดทะเบียน หากไม่นำมาจดทะเบียนจะได้รับความคุ้มครองในกรณีลวงขาย
ดังนี้ในระบบแต่ละระบบมีความต่างของเงื่อนไขการได้รับความคุ้มครอง ซึ่งถ้าหากศึกษา
จากเจตนารมณ์และทฤษฎีแห่งการให้ความคุ้มครองสิทธิแล้ว อาจไม่มีทางเป็นไปได้เลยว่าจะก่อให้
เกิดความคุ้มครองคาบเกี่ยว แต่ด้วยกลไกของกฎหมายในการบังคับใช้สิทธิได้มีความพยายามที่จะ
ขยายความคุ้มครองให้มากขึ้น จึงก่อให้เกิดความคุ้มครองคาบเกี่ยว
2.มาตรการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความคาบเกี่ยวการคุ้มครองระหว่างกฎหมายลิขสิทธิ์ สิทธิ
บัตรและเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศ
เกี่ยวกับปัญหาความคาบเกี่ยวที่เกิดขึ้น บางประเทศมีบทบัญญัติไว้ชัดเจนว่าไม่ให้ความ
คุ้มครองคาบเกี่ยวโดยมีลักษณะของการห้ามความคุ้มครองไว้เสียทีเดียว
2.1 ประเทศที่มีบทบัญญัติของกฎหมายบัญญัติไว้
ประเทศสหราชอาณาจักร
ในประเทศสหราชอาณาจักรได้เคยมีการวางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับปัญหาความคาบเกี่ยว
ของงานสร้างสรรค์ในรูปแบบของงานศิลปกรรมที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมหรือการออกแบบผลิต
ภัณฑ์และงานอันมีลิขสิทธิ์ โดยได้มีการตรากฎหมาย Copyright Act 1911 Section 22
3
ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่ได้มีการตรากฎหมายออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาแต่ก็ยังไม่สามารถ
แก้ไขปัญหาให้สำเร็จได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายอีกหลายครั้ง ที่สุดได้มีการประกาศใช้
Copyright, Designs and Patent Act, 1988 มีบทบัญญัตที่ห้ามการให้ความคุ้มครองคาบ
เกี่ยวระหว่างลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ในSection 51(1)Section 52
Section 236
การให้ความคุ้มครองแบบผลิตภัณฑ์ในประเทศสหราชอาณาจักร โดยได้กำหนดให้ได้
รับความคุ้มครองตามกฎหมาย 2 ฉบับ ได้แก่ Registered Design Act 1949 และ Copyright,
Designs and Patent Act, 1988 โดยได้มีการจำแนกแบบผลิตออกเป็น 2 ชนิด
1) แบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว (Registered Designs) Registered
Design Act 1949
2) แบบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับการจดทะเบียน (Unregistered Designs) Copyright,
Designs and Patent Act, 1988 ซึ่งเรียกว่า “Design Right” ซึ่งหมายถึง แบบผลิตภัณฑ์ตาม
section 213
ในส่วนของเครื่องหมายการค้าตาม The Trade Marks Act, 1994 ในเรื่องของความคุ้ม
ครองคาบเกี่ยวได้วางบทบัญญัติหรือกำหนดเกี่ยวกับกรณีปัญหาความคุ้มครองคาบเกี่ยวไว้
ตาม Section 5(4)
เมื่อพิจารณาถึงจาก The Trade Marks Act, 1994 ของสหราชอาณาจักร ก็ไม่ได้จำกัด
ความคุ้มครองไว้ว่าหากเป็นกรณีที่รูปร่างและรูปทรงวัตถุ เข้าเงื่อนไขการขอรับความคุ้มครอง
ตามลักษณะของทรัพย์สินทางปัญญาก็อาจขอรับความคุ้มครองได้ และรวมอีกทั้งปัจจุบันการ
ขยายความคุ้มครองของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา การตรากฎหมายมักจะไม่มีข้อจำกัดไว้
แต่สิ่งที่น่าจะต้องพิจารณาเป็นลำดับรองต่อไปคือหลักของความสุจริตและลักษณะบ่งเฉพาะ
รวมถึงแนวคำพิพากษาในคดี Re Coca-Cola co.1986 ว่าควรจะได้รับความคุ้มครองหรือไม่
แต่อย่างไรก็ตามจากบทบัญญัติของ The Trade Marks Act, 1994 Section 5 (4) ข้างต้นถือ
ได้ว่ากฎหมายมีเจตนาที่จะไม่ให้ความคุ้มครองคาบเกี่ยว โดยบัญญัติไว้ในส่วนของกฎหมาย
เครื่องหมายการค้า
ประเทศออสเตรเลีย
ในการให้ความคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศออสเตรเลีย ถือได้ว่า
เป็นประเทศที่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายเป็นข้อห้ามและ/หรือยกเว้นไว้ในการแก้ปัญหาในเรื่อง
4
ของความคุ้มครองคาบเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ตามDesigns Act 1906 Section
17 A
………. ข.คำขอที่ทำขึ้นโดยหรือได้รับความยินยอมจากเจ้าของลิขสิทธิ์สำหรับการจด
ทะเบียนของแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกัน การออกแบบนั้นไม่ถูกพิจารณาเพื่อวัตถุประสงค์ของ
พระราชบัญญัตินี้ ที่นอกเหนือจากความใหม่หรือแหล่งกำเนิด หรือได้รับการเผยแพร่ ด้วยเหตุ
ผลเดียวคือต้องไม่มีการใช้ลักษณะเป็นงานศิลปกรรมมาก่อน…………
จากบทบัญญัติของกฎหมายได้บัญญัติไว้เป็นข้อยกเว้นในเรื่องของการให้ความคุ้ม
ครองคาบเกี่ยวกับงานศิลปกรรมตามกฎหมายลิขสิทธิ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ตามกฎหมาย
Designs Act 1906
ประเทศออสเตรเลียได้มีการวางหลักในเรื่องของการให้ความคุ้มครองคาบเกี่ยวที่อาจ
เกิดขึ้นโดยเกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์กับกฎหมายลิขสิทธิ์ ใน Copyright Act 1968 ซึ่งมี
ส่วนคล้ายกับของประเทศสหราชอาณาจักร กล่าวคือกรณีการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้จด
ทะเบียนตามกฎหมายการออกแบบผลิตภัณฑ์จะสูญเสียความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์
และเมื่อสิ้นสุดอายุการคุ้มครองตามกฎหมายการออกแบบผลิตภัณฑ์จะสูญเสียความคุ้มครอง
ทั้งตามกฎหมายลิขสิทธิ์และกฎหมายการออกแบบผลิตภัณฑ์2
เกี่ยวกับกฎหมายเครื่องหมายการค้าในกรณีของเรื่องการให้ความคุ้มครองคาบเกี่ยว มิ
ได้มีบทบัญญัติห้ามไว้ชัดเจนในเรื่องของการให้ความคุ้มครองแต่เมื่อพิจารณาจากนิยามคำว่า
เครื่องหมายตาม TRADE MARKS ACT 1995 Section 6 การให้ความคุ้มครองค่อนข้างที่จะ
กว้างขวางมากรวมถึงรูปร่าง สี เสียงและกลิ่น ย่อมมีโอกาสที่จะเกิดการให้ความคุ้มครองคาบ
เกี่ยวกันได้
ประเทศแคนาดา
ในประเทศแคนาดาถือว่าเป็นประเทศหนึ่งที่ไม่ให้ความคุ้มครองคาบเกี่ยว โดยมีบท
บัญญัติของกฎหมายบัญญัติไว้ชัดเจนว่าไม่คุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศแคนาดา
ซึ่งก่อนหน้า ค.ศ.1988 บัญญัติไว้ใน Section 44 มาบังคับใช้อันเป็นการป้องกันปัญหาในเรื่อง
ของความคาบเกี่ยว และถูกบังคับใช้ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงในเชิงของการบังคับใช้ จึงได้มี
2สุกัญญา รุ่งทองใบสุรีย์, “ปัญหาการให้ความคุ้มครองซ้ำซ้อนแก่การออกแบบผลิตภัณฑ์,” (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหา
บัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2534), หน้า 44.
5
การออกกฎหมายฉบับใหม่คือ The Copyright Act 1988 Section 64 (2) ในกรณีที่ลิขสิทธิ์มี
อยู่ ในแบบผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้กับสิ่งของที่มีประโยชน์หรือในงานศิลปกรรมซึ่งสืบเนื่องมาเป็น
แบบผลิตภัณฑ์และ
1) สิ่งของนั้นถูกผลิตซ้ำในจำนวนมากกว่าห้าสิบชิ้นหรือ
2) ในกรณีที่สิ่งของนั้นเป็น แผ่นพิมพ์ การแกะสลักหรือหุ่นจำลองซึ่งถูกนำมา
ใช้เป็นแบบในการผลิตสิ่งของกว่าห้าสิบชิ้น
ทั้งนี้โดยการมอบอำนาจจากเจ้าของลิขสิทธิ์ในประเทศแคนาดาหรือที่อื่นใด
กรณีดังกล่าวจะไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของผู้สร้างสรรค์ในการที่
บุคคลใดก็ตามจะกระทำการดังนี้
3) ในการทำซ้ำแบบผลิตภัณฑ์ของสิ่งของหรือทำซ้ำแบบผลิตภัณฑ์ที่ไม่แตก
ต่างในสาระสำคัญจากผลิตภัณฑ์ของสิ่งของนั้นโดยการทำสิ่งของ หรือการทำภาพวาดหรือการ
ทำซ้ำสิ่งของในรูปแบบอื่นใดหรือในการทำกับสิ่งของ ภาพวาด หรือการทำซ้ำตามที่บรรยายใน
(ค) โดยประการใดๆ ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์ที่มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว ที่จะทำกับแบบผลิตภัณฑ์หรือ
งานศิลปกรรมในสิ่งซึ่งมีลิขสิทธิ์
2.2 ประเทศที่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายบัญญัติไว้
ในปัญหาของการให้ความคุ้มครองคาบเกี่ยวในทรัพย์สินทางปัญญาในกลุ่มของ
ประเทศที่ไม่ได้มีบทบัญญัติไว้เป็นกฎหมายเป็นข้อห้ามหรือข้อยกเว้นไว้โดยตรง แต่ก็มีลักษณะ
ของปัญหาการให้ความคุ้มครองคาบเกี่ยวด้วยเช่นกัน โดยใช้วิธีการแก้ไขโดยคำพิพากษาของ
ศาลวางกฎเกณฑ์เอาไว้ อันจะเกิดด้วยปัญหาของระบบของกฎหมาย หรือกระบวนการ
กฎหมาย แต่ก็ได้แก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้นด้วยผลของกฎหมาย
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในการให้ความคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศสหรัฐอเมริกานั้น
ปัญหาการให้ความคุ้มครองความคาบเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญานั้นค่อนข้างที่จะให้
ความคุ้มครองโดยกว้างมักจะไม่จำกัดสิทธิในเรื่องของการให้ความคุ้มครอง โดยเช่นในเรื่อง
ของการให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับสิทธิในแบบผลิตภัณฑ์ตามกฎหมายสิทธิบัตรแล้ว แบบผลิต
ภัณฑ์ยังสามารถได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ได้ด้วย โดยเป็นการให้ความคุ้ม
ครองในลักษณะของศิลปกรรมประยุกต์(Applied art) ตามThe Copyright Act 1976 section
101
6
จากหลักกฎหมายข้างต้นของประเทศสหรัฐอเมริกา ถือได้ว่าเป็นยอมรับในเรื่องของ
การให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งถือว่าเป็นการให้ความคุ้มครองตามกฎหมาย
สิทธิบัตร แต่ในบางกรณีอาจได้รับความคุ้มครองในฐานะงานศิลปกรรมตามกฎหมายลิขสิทธิ์
ได้ดังเช่น คดี Mazer v. stein
และเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ในสหรัฐอเมริกา ภายใต้กฎหมาย The
Copyright Act 1976 ในเรื่องของการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรใน The Patent Act 35
U.S.C.A. Section 171 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ของแบบผลิตภัณฑ์ตามกฎหมายไว้
เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าในสหรัฐอเมริกาได้แบ่งแยกออกเป็น 2 ระบบได้แก่
การให้ความคุ้มครองภายใต้ระบบทะเบียนหลัก (Principal Register) ซึ่งเป็นการให้
ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ
การให้ความคุ้มครองภายใต้ระบบทะเบียนรอง (Supplemental Register) ซึ่งเป็นการ
ให้ความคุ้มครองสำหรับเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะแต่อาจมีลักษณะบ่งเฉพาะ
เกิดขึ้นภายหลัง
กฎหมายเครื่องหมายการค้าของประเทศสหรัฐอเมริกา ตาม Lanham Act Section
1091 กำหนดให้หีบห่อและรูปร่าง รูปทรงของสินค้า สามารถขอรับความคุ้มครองโดยจด
ทะเบียนเครื่องหมายการค้าภายใต้ระบบทะเบียนรอง (Supplemental Register) โดยสาระ
สำคัญทั้งหมดของรูปร่างรูปทรงของสินค้าจะต้องไม่ใช่ส่วนที่ใช้ประโยชน์หรือมีหน้าที่การใช้
งานเป็นสำคัญ
และเมื่อพิจารณาภาพรวมของการให้ความคุ้มครองในลักษณะของกฎหมายลิขสิทธิ์
สิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าแล้ว สหรัฐอเมริกายอมรับการให้ความคุ้มครองคาบเกี่ยว โดย
เป็นการให้ความคุ้มครองที่เป็นระบบเปิด ซึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งคำพิพากษาล่าสุดตามคำ
พิพากษาของศาลสหรัฐอเมริกา3 ในคดี Midwest Industries, Inc v. Karavantralers,Inc ศาล
ไม่เห็นด้วยกับแนวทางคำตัดสินที่ผ่านมาและได้วางหลักการว่า ไม่มีข้อจำกัดใดที่จะทำให้
เครื่องหมายการค้าในรูปร่างรูปทรงของวัตถุไม่ได้รับความคุ้มครองอันเนื่องมาจากเหตุที่ว่ารูป
ร่างรูปทรงดังกล่าวได้ปรากฏอยู่ในรายละเอียดการประดิษฐ์หรือรูปแสดงถึงการประดิษฐ์ของ
3รตินุช ก้าวหน้าชัยมงคล, “ปัญหากฎหมายในการให้ความคุ้มครองแก่เครื่องหมายการค้าในรูปร่างรูปทรงของวัตถุ,”
(วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2544), หน้า 45.
7
สิทธิบัตรที่ยังคงมีอายุความคุ้มครอง อยู่ รวมทั้งสิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่หมดอายุความคุ้ม
ครองไปแล้ว
จากคำพิพากษาของศาลในคดีดังกล่าวข้างต้นที่ได้พิพากษาว่าแนวในเรื่องของการให้
ความคุ้มครองคาบเกี่ยวในคดีล่าสุดเท่ากับศาลยอมรับในเรื่องของการให้ความคุ้มครองคาบ
เกี่ยวในทรัพย์สินทางปัญญาน่าจะเป็นข้อสรุปได้เช่นนี้



Create Date : 19 มิถุนายน 2553
Last Update : 20 มิถุนายน 2553 18:37:26 น. 0 comments
Counter : 4211 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

boxxcatt
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add boxxcatt's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.