Simply , Easy , Me...
Group Blog
 
All Blogs
 

"พุทธทาส" กับทฤษฎีไร้ระเบียบ

วันนี้มีบทความที่เห็นว่า น่าสนใจมาให้อ่านกันครับ
จากหนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ
ฉบับวันที่ 15-17 สิงหาคม พ.ศ. 2548
ในส่วน บทความพิเศษ โดย ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์
พิมพ์โดย ผมเอง...ฮ่า ๆ ๆ Phoenixนิลมังกร ถอดความมาเลยนะครับ
บล็อกโดย พันทิพย์บล็อกแก๊ง

"พุทธทาส" กับทฤษฎีไร้ระเบียบ
3.โลกไร้ระเบียบในทรรศนะของท่านพุทธทาส


ในหนังสือชื่อ "บันทึกนึกได้เอง" ที่นายแพทย์ บัญชา พงษ์พานิช ได้จัดพิมพ์ขึ้นด้วยการถ่ายสำเนาลายมือท่านพุทธทาสที่บันทีกไว้ในหนังสือไดอะรี่ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2495 ท่านได้เขียนว่า
"ครั้นบัดนี้โลกโคลง เร่าร้อนอย่างยิ่ง จนเราต้องเตรียมใจกันใหม่เพื่อรับหน้า"

ต่อมาวันที่ 16 เมษายน ท่านได้ตั้งคำถามว่า "โลกต้องการอะไรบ้าง เพื่อลดความเร่าร้อนรุนแรงให้เย็นลง" ซึ่งท่านได้วงเล็บภาษาอังกฤษกำกับไว้ด้วย to cool the present turmoil

ในปีเดียวกันนั่นเอง ท่านบันทึกไว้ในสมุดที่เป็นหน้าของวันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2495 ท่านเขียนตัวโตไว้กลางกระดาษเพื่อย้ำความสำคัญเป็นอักษรพาดหัวใหญ่ว่า "โลกหมุนเร็วขึ้นทุกที ?" แล้วเสริมรายละเอียดข้อสังเกตด้วยลายมือของท่านเองดังนี้

"นักวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะทาง physics ย่อมไม่เชื่อและเห็นด้วย แต่สำหรับนักธุรกิจ นักรัฐศาสตร์ หรือนักการเมือง และอื่นๆ อีกเป็นอันมาก ย่อมมองเห็นชัด และเชื่อว่าโลกหมุนเร็ว "จี๋" ยิ่งขึ้นทุกที และจะหมุนเร็วขึ้นอีกจนละลายไป เพราะการหมุนเร็วเกินขอบขีดนั้นก็ได้"

นี่เป็นข้อห่วงใยที่ท่านพุทธทาสมีต่อโลก และมนุษยชาติ สิ่งที่ท่านได้เขียนเอาไว้และกล่าวไว้ในหลายๆที่ ในเวลาต่อมา ไม่ได้ต่างไปจากช่วงเวลานั้นเลย

นักรัฐศาสตร์ นักธุรกิจ และนักสังคมศาสตร์ ได้พูดถึงโลกที่เปลี่ยนแปลงเร็วจี๋ โลกที่พึ่งพิงอิงกันและกัน เขย่ากันไปมาจนโคลงเคลง เสียศูนย์ เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมานี้เอง
แต่ท่านพุทธทาส ท่านได้ "เห็น" โลกหมุนจี๋ เมื่อ 50 กว่าปีมาแล้ว อัจฉริยะอันน่าอัศจรรย์ในการมองเห็นภาพใหญ่ของโลกได้อย่างถูกต้องของท่าน มีต้นตอหรือแหล่งที่มาจากแหล่งใด ?

ท่านพุทธทาสมีสายตาที่แหลมคมมองเห็นจุดเล็กนิดเดียวกับฝุ่นบางๆที่เกิดขึ้น ณ เบื้องขอบฟ้าอันไกลโพ้น แล้วท่านหยั่งรู้ได้ว่ามันนำไปสู่อะไรแค่เห็นเงื่อนไขเบื้องต้นเพียงนิดเดียว ก็ประเมินผลลัพธ์ที่ใหญ่หลวงได้

นี่คือความหยั่งรู้ หรือญาณ หรือ sense ที่ชาร์ล แฮนดี้ พูดถึงใช่หรือไม่ ว่าเราต้องพัฒนาทักษะตัวนี้ขึ้นมาให้ได้ เพื่อรับมือกับโลกปฏิทรรศน์

เรื่องที่ท่านพุทธทาสเขียนไว้เมื่อปี พ.ศ.2495
สังคมไทยย่อมตามไม่ทัน มองไม่เห็น
และเข้าใจได้ยาก
เพราะล้ำสมัยมากๆ


ขณะนั้น เรายังไม่มีมีโทรทัศน์ดูกัน โทรศัพท์ยังมีกันไม่มาก เครื่องบินไอพ่นที่นำนักท่องเที่ยวจำนวนมากมายมาประเทศไทยก็ยังไม่มี การทำมาค้าขายกับธุรกิจต่างประเทศก็ยังมีไม่กี่รายการ ไม่มี CNN ไม่มีอินเตอร์เน็ต ไม่มีมือถือและ MTV เรายังปฎิสัมพันธ์กับโลกอย่างช้าๆ และเบาบาง ไม่เข้มข้น และถี่ยิบเป็นวินาทีดังตลาดหุ้นวันนี้ ในบริบทดังกล่าวเป็นเรื่องยาก ที่คนธรรมดาจะมีจินตนาการได้ลึก

เมื่อพิจารณาตามสภาพของโลกเครือข่ายในวันนี้ เรื่องที่ท่านพุทธทาสสอนเอาไว้จึงมีความหมายอย่างยิ่งยวดสำหรับคนไทยในปัจจุบัน และอนาคตไปอีกหลายสิบปี
เราจำเป็นจะต้องศึกษาค้นคว้าสิ่งที่ท่านได้บรรยายเอาไว้ในที่ต่างๆ และเวลาต่างๆ อย่างเอาจริงเอาจัง เพื่อสามารถนำไปปฎิบัติได้ด้วย

มันเป็นเรื่องธรรมดาที่คนทั่วไปจะเข้าใจ "ความรู้" บางเรื่องที่ล้ำลึกและมาก่อนกาล ต้องใช้เวลานานกว่า ดูกรณีทฤษฎีสัมพันธภาพ ( relativity theory ) ของไอน์สไตน์ ซึ่งถูกเสนอเมื่อปี 2448 ( พ.ศ. ) กว่านักฟิสิกส์จำนวนมากจะเข้าใจและพิสูจน์ได้ว่าจริงก็ผ่านไปหลายสิบปี

"บันทึกนึกได้เอง" ของท่านพุทธทาส เมื่อมี พุทธศักราช 2495 ที่เตือนเรื่องโลกโยกโคลง และหมุนเร็วจี๋เกินขอบเขต กว่าที่คนทั่วไปจะตระหนักและเตรียมรับมือกับมัน ย่อมต้องใช้เวลาเช่นกัน

ผมเห็นว่าดีนะ... แต่เพื่อนๆ พี่ๆน้องๆ อ่านแล้วจะรู้สึกอะไร คิดอะไรบ้าง รึเปล่า...
ก็แหล่ว แต๊...




 

Create Date : 26 สิงหาคม 2548    
Last Update : 27 สิงหาคม 2548 2:25:55 น.
Counter : 542 Pageviews.  

รายการเวลา สถานที่ และหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อเพื่อบริจาคโลหิต


เวลานี้ ทุกวันนี้... ความต้องการโลหิตต่างๆ ยังขาดแคลนอยู่ตลอดนะครับ มีเวลา ก็ไปบริจาคกัน เพื่อช่วยเพื่อนมนุษย์ หรืออาจจะเพื่อนเรา ญาติพี่น้องเราเองก็ได้


สถานที่ติดต่อ
ท่านสามารถบริจาคโลหิตได้ที่



ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
วันจันทร์ - วันพุธ, วันศุกร์ (ไม่หยุดพักกลางวัน) 08.00-16.30 น.
วันพฤหัสบดี (ไม่หยุดพักกลางวัน) 07.30-19.30 น.
วันเสาร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ 11.00-15.30 น.
วันอาทิตย์ 12.00-16.00 น.


หน่วยเคลื่อนที่ประจำ
สวนจตุจักร ทุกวันเสาร์
(รถจอดริมถนนพหลโยธิน) 10.00-15.00 น.

สนามหลวง วันอาทิตย์
(รถจอดบริเวณด้านหน้ากรมศิลปากร) 09.00-14.00 น.

ตลาดนัดธนบุรี (สนามหลวง 2)
ทุกวันอาทิตย์ สัปดาห์สุดท้ายของเดือน
(รถจอดหน้าสำนักงาน) 10.00-15.00 น.

มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก
ทุกวันจันทร์และวันอังคาร
(รถจอดบริเวณข้างหอสมุดด้านคณะนิติศาสตร์) 10.00-15.00 น.

สถานีกาชาด 11"วิเศษนิยม" บางแค
ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี
(รับบริจาคโลหิตภายในอาคาร ข้างฟิวเจอร์ปาร์ค บางแค) 09.00-15.00 น.

ห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต
ทุกวันอาทิตย์สัปดาห์ที่สองของเดือน
(รับบริจาคโลหิตภายในอาคารหน้าร้าน S.B. เฟอร์นิเจอร์ ชั้น 2)
13.00-17.00 น.

ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์
ทุกวันศุกร์และวันเสาร์สัปดาห์ที่สามของเดือน
(รับบริจาคโลหิตบริเวณลานโยโย่ ชั้น 3)
13.00-17.00 น.

ห้างสรรพสินค้า Big C สาขาบางพลี
ทุกวันเสาร์สัปดาห์ที่สองของเดือน
(รับบริจาคโลหิตบริเวณด้านหน้าห้าง)
13.00-17.00 น.


ห้างสรรพสินค้า Big C สาขาแฟชั่นไอส์แลนด์
ทุกวันเสาร์สัปดาห์สุดท้ายของเดือน
(รับบริจาคโลหิตบริเวณชั้น 2 หน้าซุปเปอร์ Big C )
13.00-17.00 น.

สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า
โทร.0-2468-1116-20

สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ สถาบันพยาธิกรมแพทย์ทหารบก รพ.พระมงกุฎเกล้า โทร.0-2245-8154

สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ รพ.ตำรวจ โทร. 0-2252-8111 ต่อ 4146

สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ รพ.รามาธิบดี โทร. 0-2246-1057-87

สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ รพ.ภูมิพลอดุลยเดช โทร.0-2531-1970-99 ต่อ 27109-10

สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล
โทร. 0-2243-0151-64


และสาขาบริการโลหิตแห่งชาติ โรงพยาบาลประจำจังหวัดทั่วประเทศ (ในวันและเวลาราชการ)

ท่านสามารถสอบถามหน่วยเคลื่อนที่อื่น ๆ ได้ที่
โทรศัพท์ 0-2252-6116,0-2252-1637 ,
0-2252-4106-9 ต่อ 113, 157



เดิม update ไว้เมื่อ 20 กรกฎาคม 2548 5:39:36
แต่มีการเปลี่ยนแปลงเวลาทำการของสภากาชาดครับ เลยเข้ามา update




 

Create Date : 20 กรกฎาคม 2548    
Last Update : 8 มิถุนายน 2550 14:42:05 น.
Counter : 7105 Pageviews.  

ภัยแล้ง... และปัญหาสิ่งแวดล้อม... คุณคิดว่ายังไงบ้าง ?


-

แม้ว่าบล็อกนี้ ผมจะทำขึ้นตั้งแต่เดือน มีนาคม 2548 แต่ตอนนี้... ปัญหาเรื่องภาวะน้ำแล้ง ยังไม่ได้หมดไปนะครับ ถ้าเพื่อนๆ แวะมาอ่าน... ก็ ขอให้ช่วยกันประหยัดน้ำ หรือ ช่วยกันปลูกต้นไม้ ใส่ใจ สิ่งแวดล้อมกันให้มากขึ้นหน่อย... ไม่ใช่เพียงใครคนหนึ่ง ไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่งเท่านั้น นะครับ... เพื่อเราทุกคน

ช่วงนี้ ( มีนาคม 2548 ) เพื่อนๆ คงได้รับรู้ข่าว ภัยแล้ง ที่เขื่อนต่างๆ มีน้ำเหลือเพียง
20-30 % และเพียง 16% ในบางแห่ง... ที่เหลือน้ำใช้ได้ เมื่อน้ำมีน้อย... ก็ไม่พอสำหรับเกษตรกรรม

- ชาวนา ชาวไร่ ต้องสูญเสียผลิตผลทางการเกษตร ที่ลงทั้งทุน ลงทั้งแรง นาข้าว เป็น สิบๆล้านไร่... ต้องตาย ไร่อ้อย ลำไย ฯลฯ เป็นล้านๆไร่ ไม่มีน้ำ พืช พรรณต่างๆ ที่เราต้องปล่อยให้มันตายไป... เพราะไม่มีน้ำ ชาวประมงน้ำจืดตอนนี้... จากที่จับปลาได้วันละหลายตัน กลับได้ไม่กี่กิโล ในตลาดแถวลุ่มน้ำปิง ปกติ มีร้านขายปลากว่า 20 เจ้า ตอนนี้เหลือแค่ 2-3 เจ้า กับปลาเพียงนิดหน่อย เวลานี้ เบื้องต้น... เราสูญเสียสินค้าที่จะส่งออกแล้ว กว่า 15,000 ล้าน

- ถ้าต่อไป... เราไม่มีข้าว เราก็ไม่มีแป้ง เราก็จะไม่มีขนมปัง มาม่า ไวไว ยำยำ ฯลฯ อย่างที่หลานผมตอบเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา... เมื่อผมถามว่า ถ้านาไม่มีน้ำ ไม่มีข้าว เค้าจะกินอะไรกัน...

- ตอนนี้... รัฐบาล กำลังเจรจา ขอซื้อน้ำ จากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งก็ใช่ว่าเพื่อนบ้าน จะมีน้ำขายให้เราตลอดไป เพราะเค้าเอง ก็จะได้รับผลกระทบเหมือนเรา ในไม่ช้า เพียงแต่เวลานี้ ความต้องการในการใช้น้ำของเค้าอาจจะยังไม่มากอย่างเรา

- เราอาจจะเป็นเพียงหน่วยเล็กๆ ในสังคม แต่... ถ้าเรา ไม่คิดจะร่วมมือ ร่วมใจ รักษาสิ่งแวดล้อม ปลูกต้นไม้ ไม่ทำลายธรรมชาติ

- หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นพิษต่อธรรมชาติ ไม่ใช้ชีวิต สิ่งของต่างๆ อย่างฟุ่มเฟือย เพียงแค่... ก่อนจะใช้ ก่อนจะซื้อ ก่อนจะทิ้ง... หยุดคิดอีกสักนิดว่า... เราควรจะทำยังไงกับมันบ้าง

ถ้าขาดน้ำ.... จะเกิดอะไรบ้าง ?

1. สูญเสียพืชไร่ ข้าว ผลไม้ต่างๆ หรือไม่มีคุณภาพ

2. สูญเสียปศุสัตว์

3. ไม่มีน้ำให้เขื่อนปั่นไฟ

4. ไม่มีน้ำกิน... ไม่มีน้ำอาบ

5. สูญเสียป่าไม้ ซึ่งเป็นต้นวัฎจักรของแหล่งน้ำ


สำหรับการรักษาธรรมชาติ ถ้าเพื่อนๆรู้แล้ว ก็ดีครับ
แต่ถ้ายังไม่รู้ ผมขอแนะแนวทาง ในการรักษาสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น ได้แก่


1.Reject
-- คือการปฎิเสธ ไม่ใช้สิ่งของที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

2.Reuse
-- คือการนำของที่ยังใช้ได้ กลับมาใช้ใหม่

3.Reduce
-- คือการลดปริมาณการใช้ ใช้เท่าที่จำเป็น ไม่ใช้ทิ้ง ใช้ขว้าง อย่างฟุ่มเฟือย

4.Repair
-- คือการนำของที่มีอยู่ มาซ่อมแซม หรือบำรุงรักษาให้ใช้งานได้ดี เช่น เครื่องใช้ต่างๆ
หรือเครื่องยนต์

5.Recycle
-- คือการนำกลับมาใช้ใหม่ เช่นการนำกระดาษมาใช้ใหม่ นำขยะมาแปรรูปเป็นวัสดุต่างๆ

กับอีกนิด... เราไปปลูกต้นไม้ในวันเกิดกันเถอะครับ ( ไม้ใหญ่ หรือไม้ผลได้ก็จะดี ) ถ้ามีที่ดิน มีส่วน มีไร่ หรือ มีบริเวณบ้าน เริ่มจากใกล้ๆตัว หรือ วันหยุด ก็ไปปลูกป่าก็ได้ ( ขอโม้หน่อย สมัยเรียนมหาลัย ผมก็เป็นหนึ่งผู้เสนอความเห็นให้พารุ่นน้อง Freshy ไปปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติที่ประจวบฯ )

รู้สึกว่า... ช่วงนี้... ผมมีแต่เรื่อง ซีเรียสมาให้เพื่อนๆอ่านแฮะ... ก็... ขออภัยด้วยนะครับ...

แต่...รู้สึกว่า ไม่พูด ไม่บอก... ไม่ได้จริงๆ








ต่อไป... ไทยจะยังเป็นดินแดนที่... "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว" อีกไหม ?




 

Create Date : 15 มีนาคม 2548    
Last Update : 19 กรกฎาคม 2548 14:42:41 น.
Counter : 918 Pageviews.  

Prepare your Health 20 ข้อ ควรรู้ก่อนบริจาค

20 ข้อ ควรรู้ ก่อนจะบริจาคโลหิต ( และต้องรู้ )

1. อายุ ระหว่าง 17-60 ปี และสุขภาพสมบูรณ์ ( ไม่ใช่ แค่ปกติหรือแข็งแรง )
ถ้าอายุน้อยเกินไป จะมีภาวะทางความคิดและร่างกายไม่เหมาะสม กฎหมายไม่อนุญาต ต้องมีผู้ปกครองรับทราบ และยินยอม
ถ้าอายุมากเกินไป ก็จะมีปัจจัยสุขภาพเสี่ยงเกินไป เป็นอันตรายต่อผู้บริจาคเอง

2. นอนหลับไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
การนอนหลับ ไม่ควรนอนผิดเวลาจากปกติ ผู้ที่ทำงานเป็นกะ ไม่ควรบริจาค ถ้านอนไม่พอ ถึงบริจาคไปแล้ว ก็เอาไปใช้ไม่ได้ เพราะเลือดจะลอย

3. กินอาหารประจำมื้อเรียบร้อยแล้ว ( ก่อนบริจาค 4 ชม. )
ก่อนบริจาค ควรกินอาหารมาให้เรียบร้อย แต่ไม่ควรเน้นอาหารที่มีไขมันมาก หรือ งดอาหารมันๆ ก่อนบริจาค 1 วันก็จะดี

4. ท้องเสีย ท้องร่วง ภายใน 7 วัน
เป็นผลเสียทั้งต่อผู้บริจาค และ ผู้รับบริจาคอาจติดเชื้อ ( ถ้ามี ) ได้

5. น้ำหนักลด ในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา โดยไม่ทราบสาเหตุ
หากเกิดขึ้น มักมีสาเหตุจากโรคภายใน เช่น เบาหวาน ไทรอยด์เป็นพิษ หรือแม้แต่... AIDS หรือ HIV ถ้ากินยาลดน้ำหนัก ก็ไม่ควรบริจาคเช่นกัน
แต่ถ้าน้ำหนักลดอย่างสมเหตุสมผล จากการออกกำลังกาย หรือ ควบคุมอาหาร ( โดยไม่ใช้ยา ) สามารถบริจาคได้

6. กินยาแอสไพริน ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาแก้ปวดข้อ
อาจมีผลทำให้ยาไปยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดโลหิต ทำให้โลหิตแข็งตัวช้าลง ไหลแล้วหยุดยาก

7. กินยาแก้อักเสบใน 7 วัน หรือยาอื่นๆ โปรดปรึกษาเจ้าหน้าที่
หากกินแก้อักเสบอยู่อาจหมายถึง ผู้บริจาคได้รับการติดเชื้อ ซึ่งอาจแพร่เชื้อเข้ากระแสโลหิตของผู้รับบริจาคได้
นอกจากนี้ ผู้รับบริจาค อาจแพ้ยา ที่ผู้บริจาคกินก่อนมาบริจาคได้

8. เป็นโรคหอบหืด ลมชัก โรคผิวหนังเรื้อรัง ไอเรื้อรัง วัณโรค หรือโรคภูมิแพ้อื่นๆ
การเป็นโรคดังกล่าว แล้วมาบริจาค อาจจะเป็นตัวกระตุ้นให้อาการดังกล่าวกำเริบได้

9. เคยเป็น หรือมีคนในครอบครัวเป็นโรคตับอักเสบ
ผู้ที่เคยเป็น แล้วไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นชนิดใด หรือ ไม่สามารถบอกได้ว่า หายขาด หรือไม่มีเชื้อแล้ว ไม่ควรบริจาคจนกว่าจะได้รับการยืนยันจากแพทย์ ว่าปลอดภัยจากเชื้อตับอักเสบ ผู้ที่สัมผัส ใกล้ชิดผู้ป่วย ก็อาจได้รับเชื้อแล้วเช่นกัน

10. เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจ ไต ไทรอยด์ มะเร็ง โลหิตออกง่ายหยุดยาก หรืออื่นๆ
เพื่อความปลอดภัย หากมีความจำเป็นต้องบริจาค ให้อยู่ในความดูแล และวินิจฉัยจากแพทย์อย่างใกล้ชิด

11. ทำฟัน ภายใน 3 วันก่อนจะบริจาค
เหงือกอาจจะอักเสบ และ หากมีแผลในช่องปาก อาจเป็นทางนำเชื้อโรคสู่กระแสโลหิตได้

12. ท่าน หรือ คู่ของท่าน มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศกับผู้อื่น
โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์บางอย่าง แสดงอาการให้เห็น แต่บางอย่าง แม้ติดเชื้อแล้ว ก็ตรวจไม่พบในระยะฟักตัว ทั้งๆที่ผู้บริจาคอาจมีเชื้ออยู่แล้ว ดังนั้น...หากไม่แน่ใจใน 6 เดือน ควรไปตรวจที่คลีนิกนิรนามหรือที่โรงพยาบาลก่อนบริจาค

13. ได้รับการผ่าตัดใหญ่ ในระยะ 6 เดือน หรือผ่าตัดเล็ก ใน 1 เดือน
การผ่าตัดอาจเสียโลหิตไปส่วนหนึ่ง แผลผ่าตัด ต้องใช้เวลาและสารอาหารในการซ่อมแซม จึงควรงดเว้นในการบริจาคไปก่อน

14. เจาะหู สัก ลบรอยสัก ฝังเข็ม ในระยะ 6 เดือน
เข็มเจาะ และรูแผลที่ผิวหนัง มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อโรคติดเชื้อที่มีการส่งต่อทางกระแสโลหิตและน้ำเหลือง และสามารถส่งต่อไปยังผู้รับบริจาคได้อีกด้วย เช่นไวรัส ตับอักเสบ บี , ซี และ AIDS หรือ HIV

15. เคยมีประวัติติดยาเสพติด หรือพ้นโทษในระยะ 3 ปี
ผู้ที่เคยมีประวัติติดยาเสพติด หรือเพิ่งพ้นโทษ จะมีโอกาสเสี่ยงสูงต่อโรคที่มีการส่งต่อทางโลหิตและน้ำเหลือง แม้จะไม่มีการใช้เข็มร่วมกัน หรือแม้เสพย์ทางการกิน หรือสูดดม อาจทำให้มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศภายหลังใช้ยาได้

16. เคยเจ็บป่วยต้องรับโลหิตผู้อื่นในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา
เมื่อเคยป่วยและได้รับโลหิตจากผู้อื่น จะมีการสร้างภูมิต้านทานต่อระบบหมู่โลหิตได้ ถึงแม้จะมีการตรวจเพื่อหาหมู่โลหิตหลักที่เข้ากันได้ แต่หมู่ย่อยไม่สามารถหาได้ตรงกันทั้งหมด และยังคงเป็นปัญหากับผู้ป่วยอีกด้วย

17. ฉีดวัคซีนในระยะ 14 วัน หรือ ฉีดเซรุ่มในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา
เช่นวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ และ เซรุ่มป้องกันพิษสุนัขบ้า เป็นต้น

18. เข้าไปในพื้นที่ ที่มีเชื้อมาเลเรียชุกชม ในระยะ 1 ปี หรือเคยป่วยเป็นมาเลเรีย
ถ้าเคยป่วยแล้วไม่ได้รับการรักษาให้หายขาด เชื้อสามารถแอบแฝงอยู่ในร่างกายได้โดยไม่แสดงอาการ ดังนั้น ผู้ที่จะบริจาคได้ต้องไม่มีอาการซ้ำ เป็นเวลา 3 ปี

19. อยู่ในระหว่างมีรอบเดือน
ไม่ควรให้ร่างกายมีการเสียโลหิตซ้ำซ้อนในคราวเดียวกันโดยไม่จำเป็น ควรรอให้หมดรอบเดือนเสียก่อน

20. คลอดบุตร หรือ แท้งบุตร ภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา
การคลอด หรือ การแท้งบุตร จะมีการเสียโลหิตเป็นจำนวนมาก ร่างกายของผู้บริจาค ต้องใช้เวลาในการปรับตัวเพื่อให้มีการสร้างโลหิตที่มีคุณภาพขึ้นมาใหม่

21. งดบุหรี่ หรือสิ่งมึนเมาใดๆ ก่อนบริจาคโลหิต
ถ้าเป็นบุหรี่ ก็ 1 วัน หรืออย่างน้อย 3-4 ชม. เพื่อให้ปอดได้ฟอกเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพหน่อย

แหะๆ ข้อ 21 นี้ ขอมาเพิ่มหน่อยครับ.

ข้อมูลเหล่านี้... อาจจะไม่ละเอียดนัก หากใครต้องการรายละเอียด หรือข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ 02-251-3111 , 02-252-4106 ถึง 9 และที่ 02-256-4300
หรือ ที่ //www.redcross.or.th และ อีเมล์ blood@redcross.or.th

หากบริจาคโลหิตมาแล้ว ไม่มั่นใจ ติดต่อแจ้งทันที 02-252-4106 ถึง 9 ต่อ 151 และ 158




 

Create Date : 09 มีนาคม 2548    
Last Update : 15 มีนาคม 2548 19:36:16 น.
Counter : 589 Pageviews.  

Blood Donation การบริจาคโลหิต

บริจาคโลหิต <br>เนื่องจากโลหิตเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยเหลือชีวิตมนุษย์ให้อยู่รอด <br>นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามค้นคว้ามาเป็นเวลานาน





บริจาคโลหิต

เนื่องจากโลหิตเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยเหลือชีวิตมนุษย์ให้อยู่รอด
นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามค้นคว้ามาเป็นเวลานาน

แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จในการหาสารประกอบอื่น ๆ ที่มาทดแทนโลหิตได้
ฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องให้โลหิตจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งด้วยการบริจาคนั่นเอง

การบริจาคโลหิต คือการสละโลหิตส่วนเกินที่ร่างกายไม่จำเป็นต้องใช้
เพื่อให้กับผู้ป่วย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายเลย
เพราะร่างกายแต่ละคนจะมีปริมาณโลหิตประมาณ 17-18 แก้วน้ำ ซึ่งร่างกายใช้เพียง 15-16 แก้วเท่านั้น ส่วนที่เหลือนั้นสามารถบริจาคให้ผู้อื่นได้

ผู้บริจาคโลหิตสามารถบริจาคโลหิตได้ทุก 3 เดือน
เพราะเมื่อบริจาคโลหิตออกไป ไขกระดูกจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดโลหิตขึ้นมาทดแทนให้มีปริมาณโลหิตในร่างกายเท่าเดิม

ถ้าไม่ได้บริจาค ร่างกายจะขับเม็ดโลหิตที่สลายตัว เพราะหมดอายุออกมาในรูปของปัสสาวะ อุจจาระ หรือเหงื่ออยู่แล้ว การบริจาคโลหิตใช้เวลาประมาณ 15 นาที ท่านจะได้รับการเจาะเก็บโลหิตและบรรจุในถุงพลาสติก (BLOOD BAG) ตั้งแต่ 350-450 มิลลิลิตร (ซี.ซี.) ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของผู้บริจาค



โลหิตคืออะไร
โลหิตมีส่วนที่เป็นน้ำ เรียกว่า น้ำเหลือง
มีสีเหลืองอ่อนใสมีโปรตีนและปัจจัยการแข็งตัวของเลือดและส่วนที่เป็นเม็ดโลหิตซึ่งมีเม็ดโลหิตแดง เม็ดโลหิตขาว และเกล็ดโลหิต

เป็นของเหลวสีแดงที่ไหลเวียนอยู่ภายในหลอดโลหิตในร่างกาย โดยกำลังสูบฉีดของหัวใจ

อวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่สร้างเม็ดโลหิต คือ ไขกระดูก ซึ่งได้แก่ กระดูกแขน กระดูกหน้าอก กระดูกซี่โครง กระโหลกศีรษะ กระดูกเชิงกราน กระดูกไขสันหลัง เป็นต้น

ในร่างกายของมนุษย์ (ผู้ใหญ่)จะมีโลหิตประมาณ 4,000-5,000 มิลลิลิตร (ซี.ซี.)
หรือสามารถคำนวณง่ายๆ คือ น้ำหนักตัวสุทธิ x 80 = ปริมาณโลหิตที่มีในร่างกายโดยประมาณ ( หน่วยเป็นซี.ซี.)

โลหิตแบ่งได้
2 ส่วน คือ


1. เม็ดโลหิต จะมีอยู่ประมาณ 45 % ของโลหิตทั้งหมด ซึ่งมี 3 ชนิด คือ


-
เม็ดโลหิตแดง มีหน้าที่ในการลำเลียงออกซิเจนเพื่อให้เซลล์ต่างๆ ใช้สันดาปอาหารเป็นพลังงาน อายุการทำงานในกระแสโลหิต ประมาณ 120 วัน

-
เม็ดโลหิตขาว ทำหน้าที่ปกป้องและทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และสารที่เป็นอันตรายอื่นๆ ซึ่งเปรียบเหมือนทหารป้องกันประเทศ เม็ดโลหิตขาวมีอายุการทำงานในกระแสโลหิต ประมาณ 10
ชั่วโมง

-
เกล็ดโลหิต ทำหน้าที่ช่วยให้โลหิตแข็งตัวตรงจุดที่มีการฉีกขาดของเส้นโลหิต
มีอายุการทำงานในกระแสโลหิต ประมาณ 5-10 วัน


2. พลาสมา (Plasma )
คือส่วนที่เป็นของเหลวของโลหิตที่ทำให้เม็ดโลหิตทั้งหลายลอยตัว
มีลักษณะเป็นน้ำสีเหลือง จะมีอยู่ประมาณ ร้อยละ 55 ของโลหิตทั้งหมด มีหน้าที่ควบคุมระดับความดันและปริมาตรของโลหิตป้องกันเลือดออก และเป็นภูมิคุ้มกันโรคติดต่อที่จะเข้าสู่ร่างกาย

พลาสมานี้ประกอบด้วยส่วนที่เป็นน้ำประมาณ 92 % และส่วนที่เป็นโปรตีนประมาณ 8 % ซึ่งโปรตีนที่สำคัญ ได้แก่

-
แอลบูมิน
มีหน้าที่รักษาความสมดุลของน้ำในหลอดเลือดและเนื้อเยื่อ

-
อิมมูโนโกลบูลิน
มีหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันโรคติดต่อต่างๆ ที่จะเข้าสูร่างกาย เกร็ดความรู้


ถ้านำเส้นโลหิตทั่วร่างกายมาต่อกัน จะมีความยาวถึง
96,000 กิโลเมตร หรือความยาวเท่ากับ2 เท่าครึ่งของระยะทางรอบโลก

โดยเฉลี่ยแล้วปริมาณโลหิตในร่างกายจะมี 5-6 ลิตรในผู้ชาย และ 4-5 ลิตรในผู้หญิง และโลหิตจะมีการไหลเวียน โดยผ่านมาที่หัวใจถึง 1,000
เที่ยวต่อวัน คนหนุ่มสาวจะมีเซลล์เม็ดโลหิตแดงเท่ากับ 35,000,000,000,000 เซลล์ (สามสิบห้าล้านเซลล์ ) อยู่ภายในร่างกายในเวลา 120 วัน เซลล์เม็ดโลหิตแดง จำนวน 1.2 ล้านเซลล์ จะถึงกำหนดหมดอายุขัย ถูกขับถ่ายออกมาขณะเดียวกันไขกระดูกซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกระดูกซี่โครง กะโหลกศรีษะและกระดูกสันหลัง จะช่วยกันผลิตเซลล์ใหม่เท่ากับจำนวนที่ตายไปขึ้นมาแทนที่




จากชีวิตสู่ชีวิต
มอบ
โลหิตช่วยผู้ป่วย








ภาพนี้...เป็น คอนเสิร์ท เพื่อผู้ประสพภัยซึนามิครับ
แสดงวันที่ 14 มีนาคม 2548 นี้





 

Create Date : 09 มีนาคม 2548    
Last Update : 9 มีนาคม 2548 3:01:29 น.
Counter : 1290 Pageviews.  

1  2  

Phoenixนิลมังกร
Location :
นนทบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ยิ้มง่าย หัวเราะง่าย แต่ไม่ใช่ Joker
จริงจัง จริงใจ แต่ไม่เอาเป็นเอาตาย
ง่ายๆ ไม่เรื่องมาก ไม่ทำร้ายใครก่อน...



- It is only with the heart
that one can see rightly
what is essential is
invisible to the eye.


- ด้วยหัวใจเท่านั้น
ที่เราจะมองเห็นอย่างถ่องแท้ว่า
สิ่งสำคัญ ที่ไม่อาจเห็นได้ด้วยตา
คืออะไร.


//- Antoine de Saint-Exupery

Friends' blogs
[Add Phoenixนิลมังกร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.