Group Blog
 
All Blogs
 

Blood Type Diets คืออะไร?


การมีสุขภาพดี ได้มาจากการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส อารมณ์ดี อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศบริสุทธิ์ และการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่เป็นพิษต่อร่างกาย ช่วยให้สุขภาพดีได้ด้วยเหมือนกัน ดังคำกล่าวที่ว่า “You are what you eat” กินอะไรก็ได้อย่างนั้น

Dr. Peter J. D’ Adamo นักกายภาพบำบัด นักวิจัย และอาจารย์ชาวอเมริกันที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ผู้เขียนหนังสือ Eat Right For Your Type กล่าวไว้ว่า หมู่เลือดมีบทบาทสำคัญในการทำปฎิกิริยากับเลคติน (Lectin) ในอาหาร อาหารแต่ละชนิดมีโปรตีนซึ่งเป็นอนุมูลอิสระและเปลี่ยนแปลงได้ ที่เรียกว่า เลคติน มีคุณสมบัติเหนียวจับเกาะติดและมีผลต่อเลือด หากอาหารมีโปรตีนเลคตินที่ไม่เข้ากับแอนติเจนของหมู่เลือด เลคตินจะเข้าไปที่อวัยวะ หรือระบบของร่างกาย และจับเกาะติดเซลล์เลือดในบริเวณนั้น ผลคือ เลคตินจะรบกวนการทำงานของอวัยวะ ระบบย่อย การสร้างอินซูลิน การเผาผลาญอาหาร และความสมดุลของฮอร์โมน จึงเป็นเหตุให้ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีเลคตินที่จับเกาะติดเซลล์ของหมู่ เลือดเรา แต่เลคตินส่วนใหญ่ที่พบในอาหารไม่ได้เป็นอันตรายต่อชีวิตมากนัก ส่วนใหญ่แล้วระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะช่วยป้องกันเราจากเลคตินที่ไม่ดี 95 % ของเลคตินที่ดูดซึมเข้าไปในร่างกาย จะถูกร่างกายกำจัดออกไป แต่น้อยที่สุด 5 % จะถูกกรองเข้าสู่กระแสเลือด และทำให้เกิดปฎิกิริยาเคมีที่แตกต่างกันในอวัยวะต่าง ๆ

อาหารตามหมู่เลือด O
ลักษณะสำคัญของคนหมู่เลือด O ต้องการโปรตีนและการออกกำลังกายมาก ย่อยเนื้อสัตว์ สัตว์ปีกและปลาได้ดี เนื่องจากในกระเพาะมีกรดสูง ทำให้ย่อยเนื้อสัตว์ได้ง่าย ซึ่งการมีกรดสูงนี้ ทำให้ในคนหมู่ O มีอุบัติการณ์การเป็นโรคกระเพาะมากกว่าปกติ ย่อยข้าวได้ไม่ดี เนื่องจากเลคตินกลูเตน (Gluten) ที่พบในข้าวสาลี ขนมปัง เป็นตัวขัดขวางการทำงานของอินซูลิน ทำให้เผาผลาญอาหารได้น้อยลง ทำให้อ้วน ข้าวโพด มีผลต่อการสร้างอินซูลิน ทำให้อ้วน และเกิดเบาหวาน ควรเลี่ยงถั่วเลนทิล และถั่วแดง ในถั่วจะมีเลคตินที่ไปสะสมในกล้ามเนื้อและยับยั้งประจุไฟฟ้าที่เป็นตัวขับ เคลื่อนกล้ามเนื้อ คนหมู่ O มีแนวโน้มระดับไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ หรือหน้าที่ของไทรอยด์ไม่คงที่ ทำให้เกิดปัญหาเมตาบอลิซึม จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ยับยั้งการทำงานของไทรอยด์ เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก แต่เพิ่มอาหารที่ช่วยการสร้างฮอร์โมน เช่น สาหร่ายเคลป์ อาหารทะเล เกลือไอโอดีน รับประทานผักที่ให้วิตามิน K สูง จะช่วยเพิ่มปัจจัยที่ทำให้เลือดแข็งตัว ซึ่งมีอยู่น้อยในคนหมู่ O เลี่ยงผักที่ปลูกในที่ร่ม อันเป็นแหล่งของเลคตินที่สะสมในเนื้อเยื่อรอบข้อต่อ มะเขือเทศ มีเลคตินที่จับเกาะกับหมู่เลือดอื่น ยกเว้นหมู่ O รับประทานได้ ผลไม้ เป็นแหล่งของใยอาหาร เกลือแร่และวิตามิน ผลไม้สีแดงเข้ม น้ำเงินและ ม่วง เช่น พลัม พรุน มีความเป็นเบสตามธรรมชาติ ช่วยสมดุลกรดที่มีมาก ลดแผลในกระเพาะอาหาร และการระคายเคือง เลี่ยงเมลอน แคนตาลูป มีเชื้อราสูง ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ และจำกัดพวกนมและผลิตภัณฑ์จากนม เพราะระบบย่อยอาหารของคนกลุ่มนี้ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อเมตาบอลิซึมที่เหมาะ สมกับอาหารเหล่านี้ ถ้าได้รับมากไป จะทำให้ท้องอืด มีแก๊สในกระเพาะอาหารมาก กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มกลั่น ชาดำ ควรเลี่ยง ไม่เหมาะกับหมู่ O แต่ ชา Club Soda และ Seltzer water ให้ประโยชน์สูง

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยทำให้การตอบสนองต่ออารมณดียิ่งขึ้น การออกกำลังกายที่เหมาะสม เช่น การเต้นแอโรบิค วิ่ง ปั่นจักรยาน ครั้งละ 30-40 นาที ประมาณ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ จะช่วยทำให้เกิดสภาวะสมดุลของอารมณ์

อาหารตามหมู่เลือด A
หมู่เลือด A จัดเป็นพวกมังสวิรัติ ควรเลี่ยงเนื้อสัตว์เพื่อลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและมะเร็ง เนื่องจากในกระเพาะอาหารของหมู่ A มีกรดน้อย ไม่ค่อยมีเอนไซม์ย่อยโปรตีน ทำให้ย่อยเนื้อสัตว์ได้ยาก ทานปลา ถั่วเหลือง ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ถั่ว เต้าหู้ แทนเนื้อสัตว์ ยกเว้นถั่วแดงและถั่วลิมา ซึ่งรบกวนระบบย่อย ทำให้การสร้างอินซูลินลดลง อาจจะทำให้อ้วนและเกิดโรคเบาหวาน ย่อยข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าวได้ดี แต่ไม่ทานแป้งสาลีมากไป เพราะจะไปยับยั้งการทำงานของอินซูลินและทำให้การเผาผลาญแคลอรี่ช้าลง ซีเรียลให้ทานกับนมถั่วเหลืองเท่านั้น ทานนมและผลิตภัณฑ์นมได้ไม่ดี นมจะยับยั้งระบบการเผาผลาญ ทำให้แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ทานนมหมักได้บ้าง เช่น โยเกิร์ต Kefir ผักและผลไม้ดีมาก ให้เกลือแร่ เอนไซม์ และสารต้านอนุมูลอิสระ เลคตินในมันฝรั่ง มันเทศ กะหล่ำ มะเขือเทศ เห็ด มะกอกและพริกไทย มีผลเสียต่อหมู่ A ทำให้เกิดโรคกระเพาะ เลี่ยงมะม่วง มะละกอ และส้ม ซึ่งไม่ดีต่อระบบย่อย กระเทียม หัวหอม แครอท ฟักทอง ผักโขม บล็อคโคลี่ ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน เน้นผลไม้ที่เป็นเบสค่อนข้างมาก เพื่อสมดุลกรดที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อจากการย่อยข้าวและแป้ง เลี่ยงเมลอน แตงโม แคนตาลูป มีเชื้อราสูง ย่อยยาก ส้ม มะขาม ระคายเคืองกระเพาะ รบกวนการดูดซึมเกลือแร่ สับปะรด แอปริคอท เชอร์รี่ มีเอนไซม์ช่วยย่อย ส้มโอ มะนาว เป็นเบสเมื่อถูกย่อย ดีต่อกระเพาะ ชาเขียว ไวน์แดงวันละแก้ว ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ช่วยย่อย ป้องกันมะเร็ง ดีต่อเลือดและหัวใจ น้ำขิง กาแฟ วันละแก้ว ช่วยให้กระเพาะหลั่งกรดมากขึ้น เบียร์ โซดา ชาดำ น้ำอัดลม เครื่องดื่มกลั่น ไม่เหมาะกับระบบย่อย ไม่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน

สำหรับการออกกำลังกายของหมู่เลือด A ไม่เหมาะกับการออกกำลังกายหนัก ควรเป็นแบบที่ง่ายและช้า การออกกำลังกายนอกจากช่วยลดน้ำหนักแล้วยังช่วยลดความเครียดด้วย ซึ่งมีรายงานว่าคนหมู่ A จัดการกับความเครียดได้ไม่ดีนัก โยคะและการทำสมาธิ เป็นการออกกำลังกายที่แนะนำ สำหรับคนกลุ่มนี้ การฝึกโยคะ การทำสมาธิ กำหนดลมหายใจ และไทชิ ช่วยลดน้ำหนักและผ่อนคลาย ส่วนการออกกำลังกายอย่างอื่น เช่น ปีนเขา ว่ายน้ำกอล์ฟ เต้นรำ เป็นต้น

อาหารตามหมู่เลือด B
หมู่ B มีระบบย่อยอาหารและระบบภูมิคุ้มกันที่สมดุล และตอบสนองต่อความเครียดได้ดี ถ้าได้รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ อายุจะยืนยาว สามารถรับประทานอาหารได้หลากหลาย ทานเนื้อได้ แต่ควรเลี่ยงเนื้อไก่ เป็ด ห่าน นก ซึ่งมีเลคตินที่ทำให้เลือดข้นและเหนียว ซึ่งอาจทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดได้ง่าย เนื้อวัว ไก่งวง เนื้อแกะ กวาง กระต่าย ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ทานปลาน้ำลึก เช่น ปลาหิมะ และปลาเนื้อขาว เช่น ปลาจาระเม็ด ปลาตาเดียว ไม่ทานหอยเชลล์ซึ่งมีเลคตินที่รบกวนการทำงานของร่างกาย ไม่ควรทาน ปู กุ ้ง หอยนางรม กบ ปลาหมึก เต่า ซึ่งย่อยยาก ทำลายระบบย่อย ข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง ดีต่อหมู่ B ส่วนข้าวสาลีมีกลูเตน (Gluten) ซึ่งเป็นเลคตินที่ยับยั้งการทำงานของอินซูลินและการเผาผลาญไขมัน ทำให้อ้วน ข้าวไรน์ มีเลคตินที่สะสมในเส้นเลือด ทำให้เลือดผิดปกติ และอุดตันได้ ข้าวโพด ยับยั้งการเผาผลาญของร่างกาย การควบคุมการทำงานของอินซูลินผิดปกติ ทำให้ของเหลวคั่งในร่างกายและอ่อนเพลีย ถั่ว โดยเฉพาะถั่วลิสง เลนทิล งา และ เมล็ดทานตะวัน ถั่วเหลือง ถั่วแดงหลวง ลิม่า เนวี่ มีเลคตินที่รบกวนการสร้างอินซูลิน หมู่ B เป็นหมู่เลือดเดียวที่ทานนม เนยและผลิตภัณฑ์และไข่ได้เต็มที่ เพราะน้ำตาลหลักที่เป็นองค์ประกอบของแอนติเจนของหมู่เลือด B คือ D-galactosamine เป็นน้ำตาลชนิดเดียวกับที่พบในนม ผักส่วนใหญ่ดีกับหมู่ B ยกเว้น มะเขือเทศ ที่ต้องเลี่ยงอย่างเคร่งครัด เพราะมีเลคตินที่ทำให้เกิดการระคายเคืองผนังกระเพาะ มะกอก มีเชื้อราที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ ผักใบเขียว ทั้งหลายทานแล้วดี มีแมกนีเซียม (Mg) ซึ่งเป็นสารต้านไวรัส ต่อสู้กับโรคจากเชื้อไวรัสและโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง หมู่ B มีระบบการย่อยที่สมดุลทานผลไม้ได้แทบทุกชนิด มีเพียงลูกพลับ ทับทิม และลูกแพร์ที่ควรเลี่ยง สับปะรด มีเอนไซม์ช่วยย่อยอาหาร ดีสำหรับการลดน้ำหนัก ทำให้ร่างกายไม่เก็บน้ำ น้ำผลไม้และน้ำผักแทบทุกชนิดดีต่อหมู่ B

และการออกกำลังกายที่เหมาะกับหมู่ B เป็นประเภทที่ท้าทายร่างกายและจิตใจ ใช้สมอง ควบคู่กับการใช้แรง เช่น เทนนิส ศิลปะการต่อสู้ ปั่นจักรยาน เดินทางไกล ตีกอล์ฟ เป็นต้น เมื่อเครียดร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมา ระดับฮอร์โมนที่สูงขึ้น ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง มีโอกาสติดเชื้อไวรัส เกิดอาการเหนื่อยล้า จิตใจมัวหมอง ต้องลดฮอร์โมนที่หลั่งออกมา ด้วยการทำสมาธิ และการใช้จินตนาการ เช่น ไทชิ ซึ่งช่วยลดความเครียด ลดความดันโลหิตทำให้รู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์ดี และอาจฟังดนตรีแนวผ่อนคลาย หรือเพลงที่ทำให้เกิดจินตนาการ

อาหารตามหมู่เลือด AB
เป็นหมู่เลือดที่มีลักษณะผสม ระหว่างหมู่ A และ B หมู่เลือด AB จะมีกรดในกระเพาะอาหารน้อยเหมือนหมู่ A และทานเนื้อได้เหมือนหมู่ B แต่จะย่อยเนื้อสัตว์ได้ไม่ดีนัก ต้องทานในปริมาณที่พอเหมาะ อาหารทะเล ปลาทูน่า แมคเคอเรล ซาร์ดีน ให้ประโยชน์สูง ถ้าในครอบครัวมีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านม ให้ทานหอยทาก (Helix pomatia) เลคตินในหอยจะหยุดการกระจายของมะเร็งได้ เลี่ยงเนื้อไก่และเป็ด เนื่องจากมีเลคตินที่รบกวนระบบเลือดและระบบย่อยอาหาร โทฟุ (Tofu) เป็นแหล่งโปรตีนเสริมที่ดี หมู่ AB ทานนมได้ นมหมักและนมเปรี้ยว ย่อยง่าย แต่ต้องระวังการสร้างเมือก (Mucus) ที่มากเกินไป มีคำแนะนำว่า ควรเริ่มต้นทุกวันด้วยการดื่มน้ำอุ่นผสมมะนาวฝานครึ่งซีก เพื่อล้างการสะสมของเมือกในระหว่างการนอนหลับ ถั่ว เนวี่ ถั่วเหลือง ให้ประโยชน์สูง ถั่วเลนทิล เป็นอาหารต้านมะเร็ง โดยทั่วไปหมู่ AB รับประทานข้าวได้ดี แต่ข้าวสาลีจะทำให้เกิดการสร้างกรดในกล้ามเนื้อ หมู่ AB มีระบบภูมิคุ้มกันไม่ค่อยดี ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการทานผัก ผลไม้ที่เป็นเบส เพื่อสร้างสมดุลของกรดที่เกิดขึ้นในเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อจากการย่อยอาหาร เช่น องุ่น พลัม เบอร์รี่ เชอร์รี่ ทานมะเขือเทศได้ดี ไม่ทำให้เจ็บป่วย ผลไม้เมืองร้อนไม่เหมาะกับหมู่ AB เลี่ยงมะม่วง ฝรั่ง มะพร้าว กล้วย แต่สับปะรดดีมาก ช่วยย่อย ส้ม ทำให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะ ยับยั้ง ขัดขวาง รบกวนการดูดซึมเกลือแร่ แต่ส้มโอ ทำให้มีแนวโน้มความเป็นเบสหลังการย่อย มะนาว ช่วยย่อยและช่วยกำจัดเมือกที่เกิดขึ้น ควรทานผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามิน C จะช่วยป้องกันมะเร็งในกระเพาะอาหาร เพราะวิตามิน C มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ส่วนกระเทียม และหัวไชเท้า ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน

การออกกำลังกายที่เหมาะกับคนหมู่ AB ควรทำกิจกรรมประเภทที่ก่อให้เกิดความสงบนิ่งและใช้แรงมาก เช่น โยคะ ไทชิ เพื่อผ่อนคลายและเพื่อความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ แอโรบิค ปีนเขา เต้นรำ ว่ายน้ำ ตีกอล์ฟ และปั่นจักรยาน เป็นการออกกำลังกายที่ดีสำหรับคนหมู่ AB

การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะกับหมู่เลือด เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการช่วยดูแลสุขภาพ หากเราเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่มีโทษต่อร่างกาย ร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นการเสริมสร้างความสมดุลที่ดีที่สุดให้แก่ภูมิคุ้มกันของร่างกาย ระบบย่อย ช่วยลดน้ำหนัก เพิ่มกำลังกาย ทำให้ไม่แก่เร็ว สุขภาพดีทั้งกายและใจ

ที่มา: กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี




 

Create Date : 20 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 20 พฤษภาคม 2553 13:22:35 น.
Counter : 537 Pageviews.  

โยเกิร์ต : ผลิตภณฑ์ดีมีคุณค่า

โยเกิร์ตเป็นผลิตภัณฑ์นมที่ได้จากการนำนมไปหมักกับเชื้อจุลินทรีย์ จนกระทั่งแลกโทสซึ่งเป็นน้ำตาลธรรมชาติในนม เปลี่ยนเป็นกรดแลกติก และนมเปลี่ยนสภาพจากเดิม เป็นลักษณะข้นเหนียว เป็นลิ่มคล้ายคัสตาร์หรือเต้าฮวย มีเนื้อสัมผัสแบบเจล และมีรสเปรี้ยวเฉพาะตัว

โยเกิร์ตมีมานานราว4,500 ปีมาแล้ว แหล่งกำเนิดคือกลุ่มประเทศแถบคาบสมุทรบอลข่าน ต่อมาได้ไปนิยมแพร่หลายในแถบยุโรปตะวันออกและยุโยปกลาง สันนิษฐานกันว่าพบครั้งแรกจากการขนส่งนมซึ่งบรรจุในภาชนะที่ทำจากหนังแพะ ซึ่งจะเกิดการหมักขึ้นเนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์ที่มีในหนังแพะ ทำให้นมเปลี่ยนสภาพเป็นข้นเหนียวและมีรสเปรี้ยว

จากการค้นพบของนักประวัติศาสตร์ ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า โยเกิร์ตเป็นอาหารของชนเผ่าทราเซียน ซึ่งเป็นบรรพบุรุษเก่าแก่ที่สุดของชาวบัลกาเรีย ชนเผ่าทราเซียนมีความชำนาญในการเลี้ยงแกะ คำว่า Yog ในภาษาทราเซียน แปลว่า หนาหรือข้น ส่วน คำว่า urt แปลว่า น้ำนม คำว่า Yogurt หรือ Yoghurt น่าจะมาจาก คำสองคำนี้รวมกัน ในยุคโบราณราวศตวรรษที่4 ถึง ศตวรรษที่6 ก่อนคริสตกาล ชาวทราเซียนมีวิธีการเก็บรักษาน้ำนมไว้ในถุงที่ทำจากหนังแกะ โดยมักนิยมคาดไว้ที่เอว เชื้อจุลินทรีย์ที่มีในหนังแกะ เมื่อได้รับความอบอุ่นจากร่างกายจะเป็นตัวช่วยให้เกิดปฏิกิริยาการหมักขึ้น มา เป็นผลให้น้ำนมในถุงเปลี่ยนสภาพกลายเป็นโยเกิร์ต

นอกจากนี้โยเกิร์ตเป็น ชื่อที่ชาวตุรกีใช้เรียกนมวัว นมแพะ นมแกะหรือนมควาย ซึ่งผ่านการหมักโดยเชื้อแบคทีเรีย เกิดเป็นกรดแลกติก สำหรับชื่ออื่นที่หมายถึงโยเกิร์ตก็มีแตกต่างกันไปในประเทศต่าง ๆ เช่น ชาวคอเคซัล เรียกว่า metzon และ katyk ชาวกรีกเรียกว่า tiaouriti ชาวอิยิปต์ เรียกว่า laban ชาวบัลการเรีย เรียกว่า naja ชาวอิตาเลียน เรียกว่า gioddue ชาวอินเดีย เรียกว่า dahi เป็นต้น

ผู้ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับโยเกิร์ตเป็นคนแรกคือ ชาวรัสเซีย ซึ่งทำงานเป็นผู้ช่วยของ หลุยส์ ปลาสเตอร์ชื่อว่า Mr. Metchnikoff โดยเขาได้วิจัยพบว่า โยเกิร์ตเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีของเชื้อแบคทีเรียสองชนิด คือ Streptococcus thermophillusและ Thermobacterium bulgaricum

โยเกิร์ตสามารถแบ่งได้หลายชนิด ดังนี้

1. แบ่งตามกรรมวิธีการผลิต ได้แก่

      * โยเกิร์ตชนิดคงตัว (set yoghurt) ซึ่งผลิตโดยเพาะเชื้อจุลินทรีย์ในนม แล้วบรรจุในภาชนะบ่ม จนกระทั่งมีลักษณะแข็งเป็นก้อน
      * โยเกิร์ตชนิดคน (stirred yoghurt) ใช้วิธีเติมเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำนม แล้วนำไปบ่มถังหมัก เมสื่อพบว่ามีการแข็งตัวเป็นก้อน จึงนำไปปั่น เพื่อทำลายโครงสร้างตะกอนนม ต่อจากนั้นจึงบรรจุภาชนะ

2. แบ่งตามลักษณะกลิ่นรส ได้แก่

      * โยเกิร์ตชนิดธรรมดา (plain yoghurt)
      * โยเกิร์ตที่ปรุงแต่งด้วยผลไม้ (fruit yoghurt) มีการเติมผลไม้ต่างๆลงไปเพื่อเพิ่มรสชาติ
      * โยเกิร์ตที่ปรุงแต่งด้วยสารสังเคราะห์ต่างๆ (flavoured yoghurt) เพื่อให้มีกลิ่นรสต่างๆ

ซึ่งโยเกิร์ตทั้งสามกลุ่มนี้อาจมีกรรมวิธีผลิตเป็นแบบชนิดคงตัวหรือแบบ ชนิดคน ก็ได้

โยเกิร์ตและนมเปรี้ยวมีกรรมวิธีการผลิตเหมือนกัน ต่างกันตรงลักษณะของผลิตภัณฑ์ คือถ้าเป็นชนิดครีม จะเรียกว่า โยเกิร์ต ถ้าเป็นของเหลวชนิดพร้อมดื่ม ก นมเปรี้ยว

โยเกิร์ตประกอบด้วยเชื้อจุลินทรีย์หลายล้านตัว ซึ่งเป็นชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หรือที่รู้จักกันในนามของโพรไบโอติก (probiotics) เป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิตและเมื่อรับประทานอาหารที่มีเชื้อจุลินทรีย์ชนิด นี้แล้วจะก่อให้เกิดผลดีต่อร่างกาย เนื่องจากสามารถทำให้มีการปรับจำนวนจุลินทรีย์ที่อยู่ในระบบทางเดินอาหารจน อยู่ในสภาพสมดุลย์ ปกติจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร มีประมาณ 400-500 ชนิดและมีปริมาณรวมกันประมาณร้อยล้านล้านตัว โดยในกระเพาะอาหารซึ่งมีสภาวะเป็นกรดจะมีน้อยกว่าในลำไส้ ในลำไส้เล็กปริมาณจุลินทรีย์เพิ่มจนเป็นหมื่นล้านตัว และเมื่อไปถึงลำไส้ใหญ่ปริมาณจุลินทรีย์เพิ่มมากถึงล้านล้านตัว จุลินทรีย์ชนิดนี้ได้แก่ แบคทีรอยเดส ไบฟิโดแบคทีเรีย คลอสทริเดีย และที่มีมากที่สุด คือ แลกโตแบซิลลัส ซึ่งเป็นจุลินทรีย์สุขภาพ สามารถป้องกันโรคติดเชื้อ เนื่องจากจุลินทรีย์กลุ่มนี้จะสร้างกรดอะซิติกและกรดแลกติก ทำให้เกิดสภาวะเป็นกรดซึ่งเป็นผลทำให้จุลินทรีย์ที่เกิดโรค (pathogens) เช่น โรคท้องเสีย โรคติดเชื้อ ภาวะเป็นพิษต่างๆ ไม่สามารถทำงานได้และยังไปแย่งอาหารของจุลินทรีย์เหล่านั้น
ด้วย

นอกจากนี้จุลินทรีย์สุขภาพยังสร้างสารที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันแก่ร่าง กาย ทำหน้าที่ช่วยย่อยอาหารที่เรารับประทานเข้าไปมีสารอาหารต่าง ๆ ซึ่งจะถูกย่อยในสภาวะแตกต่าง ถ้าเป็นโปรตีนหากถูกย่อยด้วยจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคจะเกิดเป็นสารพิษซึ่ง ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆขึ้นได้ ไขมันหากย่อยไม่หมดและถูกย่อยต่อด้วยจุลินทรีย์อื่นที่ไม่ใช่จุลินทรีย์ สุขภาพ จะทำให้เซลล์ลำไส้ถูกกระตุ้นให้เกิดการแบ่งตัวซึ่งอาจกลายเป็นมะเร็งลำไส้ มีเพียงสารคาร์โบไฮเดรตเท่านั้นที่เมื่อผ่านไปถึงลำไส้ใหญ่ จะถูกย่อยด้วยจุลินทรีย์สุขภาพ เกิดกรดแลกติกและสารที่เกิดเป็นพลังงานแก่ลำไส้ รวมทั้งสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาด้วย

ดังนั้นคนเราจึงจำเป็นต้องมีจุลินทรีย์สุขภาพร่างกายให้มารกขึ้น เพื่อให้เกิดการหมักของโปรตีนหรือไขมันที่เหลือมาจากการย่อยในลำไส้เล็ก ปริมาณจุลินทรีย์สุขภาพต้องมีประมาณ 3,000-10,000 ล้านตัว จึงจะช่วยให้มีสุขภาพดี สำหรับโยเกิร์ต 1 ถ้วย โดยทั่วไปจะมีจุลินทรีย์ ประมาณ 3,000 ล้านตัวขึ้นไป โดยเมื่อครบเวลา 8 ชั่วโมง ปริมาณจุลินทรีย์สุขภาพก็จะลดลง และจะหมดภายใน 8 วัน

ดังนั้นจึงควรรับประทานโยเกิร์ตเป็นประจำ ซึ่งถ้าเราไม่รับประทานทุกวันก็ต้องรับประทานเป็นระยะๆเพื่อให้มีจุลินทรีย์ สุขภาพในปริมาณเพียงพอในการก่อให้เกิดผลดีต่อระบบทางเดินอาหาร ดังกล่าวแล้วข้างต้นกล่าวกันว่าเคล็ดลับที่ช่วยทำให้ชาวบัลกาเรียและชาว ทิเบต มีอายุยืนนับร้อยปี มีสุขภาพดี ไม่เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร ก็เพราะโยเกิร์ตซึ่งเป็นอาหารพื้นเมืองที่รับประทานสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน โดยไปทำให้การทำงานของระบบทางเดินอาหารและระบบขับถ่ายดีขึ้น

โยเกิรต์นับว่าเป็นอาหารสุขภาพอย่างหนึ่งที่อุดมด้วยวิตามิน แคลเซียม และโปรตีน ช่วยการทำงานของระบบย่อยอาหาร ช่วยแก้อาการเกรียมแดด ใช้ในการล้างเชื้อราในช่องต่างๆของร่างกายนอกจากนั้นยังใช้ในการทำความสะอาด ผิวหนัง อีกด้วย ในญี่ปุ่นมีผู้ศึกษาวิจัย พบว่า น้ำนมหมักประเภทโยเกิร์ตมีผลดีในการต่อต้านเนื้องอกซึ่งคงเป็นผลมาจากการที่ จุลินทรีย์สุขภาพไปหมักแลกโทสในนมเกิดเป็นกรดแลกติกขึ้นมา สำหรับประเทศไทยมีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ให้นมเปรี้ยวเป็นอาหารควบคุมเฉพาะแต่ยังไม่รวมถึงโยเกิร์ต

ที่มา: กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี




 

Create Date : 20 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 20 พฤษภาคม 2553 13:16:34 น.
Counter : 547 Pageviews.  

สุขภาพดีด้วยสีสันของพืช


วันไหนว่างๆ ลองสังเกตดูธรรมชาติรอบ ๆ ตัวเราดูซิคะ มีสีสรรมากมาย สีของสายรุ้ง สีบนปีกผีเสื้อ สีของดอกไม้ สีของผลไม้ ซึ่งพืชและสัตว์ต่างก็ใช้สีเหล่านี้เพื่อดึงดูดความสนใจ

แล้วทราบไหมคะสีที่สดใสในพืช นอกจากจะใช้เป็นเสน่ห์แล้วยังช่วยป้องกันตัวมันเองจากการถูกทำลายทางเคมี (chemical damage) อีกด้วย หากเรารับประทานพืชหรือผลไม้เหล่านี้เข้าไปก็จะเป็นการช่วยป้องกันตัวเราเอง จากการทำลายทางเคมีเหมือนกัน ต้นเหตุของการทำลายทางเคมีที่ว่าก็คือ อนุมูลอิสระ (free radical) ในเซลล์พืชซึ่งมีสาเหตุมาจากการได้รับแสงอัลตราไวโอเลต (UV) ดังนั้นพืชจึงสร้างเม็ดสีบางชนิดที่เป็นสารเคมีประเภทแอนติออกซิแดนซ์ขึ้นมา เพื่อป้องกันตัวเอง ถ้าอนุมูลอิสระเหล่านี้ผ่านออกมาจากเซลโดยที่ไม่มีการยับยั้ง มันจะไปทำลายส่วนอื่น ๆ ของพืชด้วย

ลองดูตัวอย่างของเม็ดสีสองชนิดในใบไม้กันบ้าง ชนิดแรกคือคลอโรฟิลล์ ซึ่งเป็นเม็ดสีสีเขียวและชนิดที่สองคือแคโรทีนอยด์ซึ่งเป็น เม็ดสีสีแดง สีเหลือง หรือสีส้ม เม็ดสีทั้งสองชนิดกระจายตัวอยู่บนในคลอโรพลาสต์ โดยเม็ดสีทั้งสองนี้จะช่วยกันรับพลังงานแสงเพื่อไปใช้ในปฏิกิริยาการ สังเคราะห์แสง นอกจากนี้แคโรทีนอยด์ยังช่วยป้องกันคลอโรฟิลล์จากปฏิกิริยา ออกซิเดชันโดยแสง (photo-oxidation) ซึ่งจะทำให้อัตราการสลายตัวของคลอโรฟิลล์ช้าลงอีกด้วย

นอกจากแสงที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระแล้ว ฝุ่น มลพิษต่างๆ ในอากาศ และสารเคมีบางชนิด ก็เป็นสาเหตุให้เกิดอนุมูลอิสระเช่นกัน ซึ่งอนุมูลอิสระเหล่านี้ใช่ว่าจะมีผลต่อพืชเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อคนและสัตว์อีกด้วย

ร่างกายคนเรามีระบบสร้างสารประเภทแอนติออกซิแดนซ์อยู่แล้ว ตัวอย่างเช่น เอนไซม์ซุปเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทส (superoxide dismutase) ตอนที่เรายังเป็นหนุ่มสาวระบบคุ้มกันนี้ก็ยังแข็งแรงอยู่ แต่เมื่อร่างกายเราอ่อนแอลง หรือเรามีอายุมากขึ้น ระบบนี้ก็จะอ่อนแอตามไปด้วย ซึ่งจะทำผิวหนังเหี่ยวย่น แก่ก่อนวัย บางกรณีอาจทำให้เกิดโรคร้ายแรงเช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ เป็นต้น หากเรารับประทานผักหรือผลไม้ สารแอนติออกซิแดนซ์ในผัก ผลไม้ ก็จะเข้าไปช่วยยับยั้งอนุมูลอิสระเหล่านี้ได้ด้วย

แล้วสงสัยไหมคะว่าสารแอนติออกซิแดนซ์ยับยั้งอนุมูลอิสระได้อย่างไร ในที่นี้ขอยกตัวอย่าง สารแอนติออกซิแดนซ์ตัวหนึ่งชื่อว่า เบต้าแคโรทีน (β- carotene) ที่มีอยู่ในผัก ผลไม้ ที่มีสีเหลือง สีส้ม เบต้าแคโรทีนมีสูตรทางเคมีเป็น C40H56 มีโครงสร้างแสดงดังรูปที่ 1



รูปที่1 โครงสร้างของเบต้าแคโรทีน


นักวิทยาศาสตร์อธิบายกลไกทางกายภาพ ของเบต้าแคโรทีนว่ามีคุณสมบัติเป็นตัวยับยั้ง (quencher) singlet oxygen ซึ่งเป็นอนุมูลอิสระตัวหนึ่ง โดย singlet oxygen ที่สภาวะกระตุ้น จะถ่ายทอดพลังงานให้กับเบต้าแคโรทีน แล้วตัวมันเองกลายเป็น triplet oxygen หรือ oxygen ที่สภาวะพื้น ซึ่งหมดสภาพความเป็นอนุมูลอิสระ ส่วนเบต้าแคโรทีนกลายเป็น triplet β- carotene ที่สภาวะกระตุ้น แล้วกลับสู่สภาวะพื้นโดยการปล่อยพลังงานออกมาในรูปความร้อน

ส่วนกลไกทางเคมี ซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการรอง (minor process) จะได้ผลเป็นสารประกอบคาร์บอนิล (carbonyl compound) และ เอ็นโดเปอร์ออกไซด์(endoperoxides) แสดงดังรูปที่ 2



รูปที่ 2 ขั้นตอนการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของเบต้าแคโรทีนโดย singlet oxygen


นอกจาก singlet oxygen แล้ว เบต้าแคโรทีนยังสามารถระงับอนุมูลอิสระตัวอื่น ๆ ได้อีกซึ่งกลไกและผลิตภัณฑ์ของปฏิกิริยาก็จะแตกต่างกันออกไป

ที่นี้เราลองมายกตัวอย่างสารประเภทแอนติออกซิแดนซ์ว่ามีอะไรและอยู่ใน ผักผลไม้ชนิดใดบ้าง


  • เบต้าแคโรทีน มีใน แครอท ฟักทอง มะละกอ ผักโขม เป็นต้น

  • วิตามินซี (ascorbic acid) มีในส้ม มะขามป้อม ฝรั่ง สตรอเบอร์รี่ กีวี บลอคโคลี่ เป็นต้น

  • วิตามินอี มีใน ถั่ว จมูกข้าว อโวคาโด เป็นต้น

  • แอนโทรไซยานิน มีใน มะเขือม่วง องุ่น ผลไม้ประเภทเบอร์รี่ เป็นต้น

  • ไลโคปีน มีใน มะเขือเทศ เป็นต้น



เห็นไหมคะว่า ผัก ผลไม้ สีสวย ๆ เหล่านี้ มีประโยชน์และอยู่ใกล้ตัวเรานี่เอง เมื่อทราบอย่างนี้แล้ว เรามาทานผัก ผลไม้ กันมื้อนี้เลยนะคะ

เอกสารอ้างอิง


  1. Sara Webb. “Color of health” 2548. เข้าถึงได้จาก //www.sciencenewforkids.org/articles/20050302/feature1.asp ;

  2. Hu Jianfang. “Is β-carotene an antioxidant?” 2548. เข้าถึงได้จาก //www.medicine.uiowa.edu/frrb/education/ FreeRadicalSp01/Paper%202/HuJ-paper2.pdf

  3. Mechanisms of Carotenoid Antioxidant Behavior .2548. เข้าถึงได้จาก //www.astaxanthin.org/carot-antiox.htm

  4. พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา. โฟโตเคมีอินทรีย์. กรุงเทพฯ.อักษรเจริญทัศน์. 2526



ที่มา: กระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี




 

Create Date : 20 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 20 พฤษภาคม 2553 13:12:56 น.
Counter : 646 Pageviews.  

รู้ไหม! ประจำเดือนบอกโรคได้

      ทราบหรือไม่ว่า ประจำเดือนไม่ใช่เลือดเสีย ปริมาณเลือดที่มากเกินไปในแต่เดือนจึงอาจบ่งชี้ถึงโรคภัยที่คุณคาดไม่ถึงได้

      แพทย์จากศูนย์ การแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยดุ๊คเผย 25 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงที่มีเลือดประจำเดือนมาก เมื่อมาตรวจร่างกายจะพบว่าพวกเธอมีอาการของโรคเลือดออกง่าย ซึ่งเป็นโรคเลือดชนิดหนึ่งที่ส่งผ่านทางพันธุกรรม

      อาการของโรคนี้สังเกตได้ง่าย ๆ เช่น เวลาเป็นแผลมีเลือดหยุดไหลช้านานกว่า 5 นาที แม้มีบาดแผลเล็กๆ แต่เลือดจะออกง่ายเป็นลิ่ม ๆ และหยุดไหลยาก ทุกครั้งหลังทำฟันเลือดจะไหลซึมออกมาก ประกอบกับถ้ามี ประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเลือด มีแผลฟกช้ำแม้ไม่ได้รับบาดเจ็บ รวมถึงการมีประจำเดือนมากเกินไปจนน่าห่วง ควรรีบไปพบแพทย์ก่อนสายเกินไปค่ะ

ที่มา : Health & Cuisine




 

Create Date : 16 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 16 พฤษภาคม 2553 10:28:46 น.
Counter : 458 Pageviews.  

ดื่มเหล้าป้องกันโรคหัวใจ

นักวิจัยสเปน ยกผลการศึกษาชายกว่า 15,500 คน หญิง 26,000 คน ซดเหล้าทุกวัน ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ด้านแพทย์ค้าน พร้อมเผยสุราคร่าชีวิตกว่า 1.8 ล้านราย...

วงแพทย์คัดค้านผลการศึกษาวิจัยแหลก

นักวิจัยเมืองกระทิงดุ ประเทศสเปน อ้างผลจากการศึกษาวิจัยกับผู้ชายไม่น้อยกว่า 15,500 คน ผู้หญิง 26,000 คน ว่าการก๊งเหล้าทุกวัน ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจได้ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 โดยที่แพทย์ผู้ เชี่ยวชาญคัดค้านไม่เห็นด้วยขรม ชี้ว่าทุกวันนี้ สุราได้คร่าชีวิตผู้คนไปปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 1,800,000 คนอยู่แล้ว ทั้งยังทำให้เป็นโรคเป็นภัยต่างๆอย่างอื่นอีกด้วย

หัว หน้าคณะนักวิจัยรายงานผลการวิจัยว่า สำหรับผู้ที่ดื่มแต่น้อย เทียบเท่ากับดื่มเหล้าวอดก้าวันละ 1 เป๊ก จะได้ประโยชน์เสี่ยงกับโรคหลอดเลือดหัวใจน้อยลงร้อยละ 35 และส่วนคนคอแข็ง ดื่มมากระหว่างวันละ 3 เป๊กถึง 10 กว่าเป๊กขึ้น จะห่างไกลจากโรคเฉลี่ยแล้ว ไม่เกินร้อยละ 50 ส่วนผู้หญิงจะไม่เป็นแบบเดียวกันนี้

ฝ่ายวงการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของอังกฤษได้ออกตอบโต้ทันทีว่า ควรจะรับฟังหูไว้หู

เพราะทางสเปนศึกษาเรื่องนี้ โดยไม่ได้คำนึงถึงการเสียสุขภาพเพราะการดื่มเหล้ามาก ทำให้เกิดโรคภัยอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย "หัวใจเป็นเพียงอวัยวะอย่างหนึ่งในร่างกายของเรา ถึงแม้เหล้าอาจจะช่วยปกป้องอวัยวะอันหนึ่งได้อย่างจำกัด มันก็ยังทำให้หัวใจและอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตับ ม้ามและสมองพังได้

ในเวลาเดียวกัน แพทย์สมาคมโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ก็ยังยืนยันว่า จากหลักฐานรวมทั้งหมดส่อว่า ผู้ที่ดื่มจัดประจำ จะล่อแหลมกับโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตมากขึ้นถึง 3 เท่า

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์




 

Create Date : 16 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 16 พฤษภาคม 2553 10:14:03 น.
Counter : 550 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  

quosego
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add quosego's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.