Group Blog
 
All Blogs
 

โรคหูเสื่อม


หูเสื่อม ผลการสุ่มตรวจการได้ยินของนักเรียนวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหา นครจำนวนประมาณ 400 คน ของกรมควบคุมมลพิษ พบว่าร้อยละ 25 มีความผิดปกติในการรับฟังเสียง เพราะปัจจุบันเด็กวัยรุ่นนิยมฟังเพลงโดยใช้หูฟังจากเครื่องเล่นเอ็มพี 3 หรือไอพอด รวมไปถึงการใช้หูฟังของเครื่องโทรศัพท์มือถือทั้งระบบธรรมดา และบลูทูธ ซึ่งการใช้หูฟังประเภทนี้ นอกจากจะส่งผลต่อภาวะการได้ยินแล้ว สมองมีโอกาสที่จะได้รับรังสีคลื่นวิทยุด้วย เพราะโดยปกติหูคนเราสามารถรับเสียงได้ประมาณ 80 เดซิเบลเท่านั้น การได้รับเสียงถึงระดับ 105 เดซิเบล โดยทฤษฎีแล้ว สามารถที่จะทำลายประสาทการรับเสียง หรืออาจจะกระทบแก้วหู จนทำให้เกิดปัญหาในระยะยาวได้



อาการ

โดยอาการเริ่มต้นของผู้ที่ประสาทหูผิด ปกติ มีหลายอาการแต่ที่พบมาก คือ การได้ยินเสียงวิ้งๆ ในหู ทั้งที่ไม่ได้เปิดเพลง หรือถอดหูฟังออกแล้ว เพราะปลายประสาทเกิดการกระทบกระเทือนจากเสียงที่มากระตุ้น และยังอาจเกิดอาการทรงตัวผิดปกติ เช่น ตื่นนอนแล้วมีอาการมึนงง ทรงตัวไม่ได้ ฯลฯ ถ้าเริ่มมีอาการเหล่านี้ติดต่อกัน 2-3 วันไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ ทั้งนี้ การฟังเพลงหรือคุยโทรศัพท์ผ่านหูฟังเหล่านี้มากที่สุดไม่ควรฟังติดต่อกันนาน เกิน 2 ชั่วโมง

หูเสื่อม

ประสาทหูเสื่อมหรือที่เรียกง่ายๆ ว่า "หูเสื่อม" เป็นภาวะที่ได้ยินเสียงลดลง หรือไม่ได้ยินเลย เกิดจากการรับเสียงดังเกินไปและนานเกินไป แต่ปัญหาหูเสื่อมไม่จำเป็นต้องมาจากเสียงรบกวนเสมอไป อาจเกิดขึ้นจากเสียงที่พึงปรารถนาด้วยพฤติกรรมต่างๆ เช่น ติดนิสัยฟัง MP3 ตลอดเวลาโดยเปิดในระดับดังมากๆ การเที่ยวกลางคืนบ่อยๆ ทำให้เซลล์รับเสียงคลื่นในความถี่ 2,000-6,000 เฮิร์ตท์ (Hz) ถูกกระทบกระเทือนจนทำงานไม่ได้ ผู้ป่วยจึงไม่ได้ยินเสียงพูดคุยระดับปกติ และต้องฟังเสียงดังขึ้นเรื่อยๆ

เครื่องเล่น MP3

เมื่อฟังเพลงจากเครื่องเล่น MP3 อาจรู้สึกว่าเสียงไม่ดังเท่าไหร่ แต่ถ้าวัดอย่างจริงจังจะพบว่าบางคนฟังเพลงดังมากกว่า 100 เดซิเบล ทำให้หูเสื่อมเช่นเดียวกับการได้ยินเสียงดังรูปแบบอื่นๆ วิธีสังเกตว่าเครื่องเล่นเพลง MP3 ดังเกินไปหรือไม่ อาจพิจารณาได้จาก

1. เซ็ตความดังเสียงเครื่องเล่นไว้เกินกว่า 60% ของระดับเสียงสูงสุดหรือไม่
2. เมื่อฟังเพลงจากเครื่องเล่น MP3 ยังสามารถได้ยินเสียงจากสิ่งรอบตัวหรือไม่
3. คนอื่นๆ ได้ยินเสียงจากเครื่องเล่น MP3 ของคุณหรือไม่
4. เมื่อฟังเครื่องเล่น MP3 คุณต้องตะโกนคุยกับคนอื่นหรือไม่
5. หลังจากฟังเครื่อง เล่น MP3 คุณมีอาการหูอื้อหรือไม่

ปัญหาที่มากับเสียงดัง

1. สูญเสียการได้ยิน หูอื้อ หูหนวก หรือหูอึง
2. ความดันโลหิต สูง ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว มือเท้าเย็น ระบบไหลเวียนโลหิตบกพร่อง
3. รบกวนการทำงาน การพักผ่อน ทำให้เกิดความเครียด หรือการตื่นตระหนก และอาจพัฒนาไปสู่อาการซึมเศร้า และโรคจิตประสาท
4. ทำให้ขาดสมาธิ ประสิทธิภาพการคิดค้น การวิเคราะห์ข้อมูล การเรียนรู้และการรับฟังข้อมูลลดลง
5. ลดประสิทธิภาพของการทำงาน รบกวนระบบ และความต่อเนื่องของการทำงาน ทำให้ทำงานล่าช้า คุณภาพ และปริมาณงานลดลง
6. ขัดขวางการได้ ยิน ทำให้การสื่อสารบกพร่อง ต้องตะโกนคุยกัน ได้ยินเพี้ยน
7. ในเด็กเล็กทำให้พัฒนาการด้านการฟัง การพูด และการออกเสียงเพี้ยนไป
8. กระตุ้นพฤติกรรมก้าวร้าว เสียงดังจะเร้าอารมณ์ให้สร้างความรุนแรง และอาจถึงขั้นสูญเสียการควบคุมตนเองจนทำร้ายผู้อื่นได้ แม้ได้ยินเสียงดังเพียงเล็กน้อย

โรคประสาทหูเสื่อมจากการประกอบอาชีพ

1. เป็นภาวะการเสื่อมของประสาทหู เนื่องจากสัมผัสกับเสียงดังที่เกิดจากการทำงานอาชีพกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ บุคคลที่ต้องทำงานอยู่กับเสียงดัง ลูกจ้างของโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ โรงทอ โรงงานถลุงเหล็ก โรงเลื่อย หรือสัมผัสกับเสียงดังนอกโรงงาน ได้แก่ คนขับรถตุ๊กตุ๊ก รถอีแต๋น ตำรวจจราจร บุคคลที่อาศัยอยู่ในชุมชนที่มีปัญหาการจราจร เป็นต้น
2. องค์ประกอบที่ทำให้ประสาทหูเสื่อม เนื่องจากเสียง ได้แก่ ความเข้มของเสียง เสียงดังมากจะยิ่งทำลายประสาทหูมาก ความถี่ของเสียง เสียงที่มีความถี่สูงหรือแหลมจะทำลายประสาทหูมากกล่าเสียงที่มีความถี่ต่ำ ระยะเวลาที่ได้ยินเสียง ยิ่งสัมผัสกับเสียงเป็นเวลานาน ประสาทหูจะยิ่งเสื่อมมาก ลักษณะของเสียงที่มากระทบ เสียงกระแทกไม่เป็นจังหวะ จะทำลายประสาทหูมากกว่าเสียงที่ดังติดต่อกันไปเรื่องๆ ความไวต่อการเสื่อมของหู เป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคน ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จะเกิดประสาทหูเสื่อมได้ง่ายกว่าคนปกติ
3. การสูญเสียการได้ยิน แบ่งเป็น 2 ลักษณะ การสูญเสียการได้ยินอย่างเฉียบพลัน เมื่อได้ยินเสียงระเบิด เสียงปืน เป็นต้น และการสูญเสียการได้ยินแบบค่อยเป็นค่อยไป เกิดขึ้นในผู้ที่ทำงานอยู่ในที่ที่มีเสียงดังเป็นเวลานานๆ เช่น โรงทอ โรงกลึง เป็นต้น
4. เกณฑ์การวินิจฉัยโรค ประวัติทำงานในที่ที่มีเสียงดังติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือได้ยินเสียงดังมากทันที ผลการทำสอบสมรรถภาพการได้ยินมีกราฟเป็นรูปตัววีที่ความถี่ 4,000 เฮิร์ต และระดับการได้ยินเกิน 25 เดซิเบลระดับการได้ยิน

* หูปกติ น้อยกว่า 25 เดซิเบล
* หูตึงเล็กน้อย 25-40 เดซิเบล
* หูตึงปานกลาง 41-55 เดซิเบล
* หูตึงมาก 56-70 เดซิเบล
* หูตึงรุนแรง 71-90 เดซิเบล

การป้องกัน

1. การแก้ไขเพื่อลดระดับเสียง เช่น ลดระยะเวลาการทำงาน ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
2. การป้องกันทางสิ่งแวดล้อม เช่น กำหนดจุดอันตราย ถ้ามีเสียงดังเกิน 155 เดซิเบล ตรวจวัดเสียงบริเวณที่เป็นจุดกำเนิดเสียง หรือบริเวณที่ลูกจ้างทำงาน
3. การป้องกันที่ ตัวบุคคล โดยให้ความรู้ และให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น ปลั๊กอุดหู ที่ครอบหู
4. การตรวจการได้ยิน โดยตรวจก่อนเข้าทำงาน และตรวจระหว่างทำงาน เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง




 

Create Date : 03 มิถุนายน 2553    
Last Update : 3 มิถุนายน 2553 22:03:29 น.
Counter : 602 Pageviews.  

ยาก่อน/หลังอาหาร รับประทานอย่างไร?

      บางครั้งที่คุณป่วยและต้องขอยาจากหมอมาบรรเทา ยาที่หมอจ่ายจะระบุว่าต้องกินก่อนหรือหลังอาหาร คุณก็ควรปฏิบัติตามนั้นด้วยค่ะ

      ยาก่อนอาหาร คือ ยาที่ละลายได้ดีในสภาวะเป็นกรด กระเพาะอาหารของเราขณะที่ท้องว่าง จะมีน้ำย่อยซึ่งมีคุณสมบัติเป็นกรด เมื่อเรากลืนยาลงสู่กระเพาะ ก็จะละลายและดูดซึมได้ดี ทำให้ยาออกฤทธิ์ได้เต็มประสิทธิภาพ ยาประเภทนี้ควรรับประทานก่อนอาหารประมาณ 30 นาที

      สำหรับ ยาหลังอาหาร มักเป็นยาที่มีฤทธิ์เป็นกรดหรือกัดกระเพาะ หรือบางตัวถ้าหากรับประทานขณะท้องว่า ฤทธิ์ของยาจะถูกทำลายด้วยกรดจากน้ำย่อยในกระเพาะทำให้ยาขาดประสิทธิภาพ ยาประเภทนี้จึงควรรับประทานหลังจากรับประทานอาหารไปแล้วประมาณ 15 – 30 นาที เพื่อให้อาหารย่อยไปสักครู่ก่อน ยาจะได้ดูดซึมพร้อม ๆ กับอาหารพอดี

ที่มา : นิตยสาร ชีวจืต




 

Create Date : 03 มิถุนายน 2553    
Last Update : 3 มิถุนายน 2553 18:31:14 น.
Counter : 439 Pageviews.  

ระวัง! Oral Sex เสี่ยงมะเร็งในลำคอ


      เมื่อก่อนเราอาจคิดว่า การกินเหล้า สูบบุหรี่ คือสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งในลำคอ แต่ตอนนี้ นักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐฯ ได้ศึกษาพบว่า เชื้อไวรัสที่สามารถติดต่อกันได้จากการทำออรัลเซ็กส์นั้น เป็นสาเหตุของมะเร็งในลำคอบางชนิด

      เชื้อหลักก็คือ เชื้อเอชพีวี ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกนั่นเอง โดยพบว่า ผู้หญิงถึง 80% ที่มีเพศสัมพันธ์บ่อยจะมีการติดเชื้อเอชพีวีนี้อยู่ในระดับหนึ่งไม่น้อยก็ มากครั้ง ในช่วงชีวิตของพวกเธอ และการทำออรัลเซ็กส์ก็น่าจะเป็นช่องทางหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อเอชพีวี

      ส่วนการจูบก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัย ที่อาจต้องมีการวิจัยกันต่อไปว่ามีผลหรือไม่ ส่วนใหญ่การติดเชื้อเอชพีวีจะสามารถหายไปได้เองโดยมีอาการเพียงเล็กน้อยหรือ ไม่มีเลย มีเปอร์เซ็นต์ไม่มากที่เมื่อได้รับเชื้อแล้วจะก่อตัวกลายไปเป็นมะเร็งในภาย หลัง

      ใครที่มีรสนิยมแบบนี้ก็ระวังตัวหน่อยก็แล้วกัน

ที่มา : Lisa




 

Create Date : 03 มิถุนายน 2553    
Last Update : 3 มิถุนายน 2553 12:37:47 น.
Counter : 581 Pageviews.  

ทานไขมันอย่างไร? อย่างสุขภาพดี

      ทำไมหลายคนจึงมองว่าไขมันเป็นสิ่งเลวร้าย หรือว่าเราจะรู้จักไขมันกันน้อยเกินไป เพราะไขมันไม่เพียงเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายแล้วไขมันบางชนิดยังช่วย ลดความเสี่ยงของโรคและเสริมสุขภาพได้อีกด้วย อ.กัญชลี ทิมาภรณ์ นักโภชนาการโรงพยาบาลพระรามเก้าได้เผย 5 เคล็ดลับดีๆ เกี่ยวกับการทานไขมันมาฝากกัน

      1. อยากกินของผัด ของทอดต้องเลือกน้ำมัน คงเป็นที่ยอมรับกันว่าอาหารผัด หรือทอดเป็นอาหารจานโปรดของใครหลายคน แต่ที่ต้องลดหรืองดนั้นก็เพราะห่วงเรื่องสุขภาพ ดังนั้นการเลือกน้ำมันที่ใช้ทอดจึงเป็นทางออกที่ดี สำหรับคนที่อดไม่ได้

      2. พิถีพิถันกับประเภทไขมัน ไม่ใช่ปริมาณไขมัน คงต้องยอมรับว่าไขมันหรือน้ำมันเป็นสิ่งที่ หลีกเลี่ยงไม่ได้ เราจึงต้องเลือกชนิดของไขมันหรือน้ำมันที่ดีในการประกอบอาหาร ซึ่งน้ำมันที่ดีที่ควรรับประทาน ควรมีองค์ประกอบของกรดไขมันอิ่มตัวต่ำและไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงโรคร้ายต่างๆ ลดระดับคลอเรสเตอรอลโดยไม่ลดเอชดีแอล ช่วยลดไตรกลีเซอร์ไรด์ได้

      3. หลีกเลี่ยงการกินไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานซ์ ไขมันเหล่านี้มักพบใน เนยเทียม มาการีน กะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม เนื้อสัตว์ติดมัน ฯลฯ ซึ่งเป็นไขมันที่ควรหลีกเลี่ยงเพราะนอกจากจะทำให้อ้วนแล้ว ยังทำให้ระดับคอเลสเทอรอลในเลือดสูง เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด และนำไปสู่โรคร้ายต่างๆ ตามมา

      4. อย่าลดไขมันตามแบบแฟชั่นด้วยอาหารไขมันต่ำ เพราะอาหารไขมันต่ำไม่ได้แปรว่าแคลอรี่จะต่ำไปด้วย มีหลายผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่าไขมันต่ำ แต่พบวามีน้ำตาล สารเพิ่มความเหนียว และสารปรุงแต่งอื่นๆ อีกมากมาย จึงทำให้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ให้พลังงานสูงกว่าอาหารไขมันตามธรรมชาติ

      5. ทดแทนไขมันหนักด้วยไขมันน้ำ เนย ครีม ไขมันสัตว์ เป็นไขมันหนักที่ทานแล้วจะทำให้มีแนวโน้มเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โรคอ้วน และภาวะคลอเรสเตอรอลสูง ดัง นั้นจึงควรทดแทนไขมันหนักเหล่านี้ด้วยการใช้ไขมันน้ำแทน เพื่อให้ร่างกายได้รับไขมันเพียงพอในแต่ละวัน

      อย่างไรก็ตาม แม้จะรู้ว่าไขมันไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิดแต่ก็ควรกินในปริมาณที่พอเหมาะกับ ร่างกายแต่ละคน เพื่อสุขภาพที่ดีจะได้อยู่กับเราตลอดไป

ที่มา : สาระแน.คอม




 

Create Date : 03 มิถุนายน 2553    
Last Update : 3 มิถุนายน 2553 12:28:33 น.
Counter : 493 Pageviews.  

วิธีปฏิบัติเมื่อเกิดอาการเมาค้าง


มี 3 วิธี ดังนี้

วิธีที่ 1

ยอมฝืนทนให้ตัวเองจมอยู่กับอาการเมาค้างจนกว่าอาการจะ หายไปเอง แต่วิธีนี้ทรมาน และไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย

วิธีที่ 2

บำบัดอาการที่เกิดขึ้นเฉพาะอย่าง เช่น ถ้าปวดร้าวในหัวก็กินยาแก้ปวดระงับอาการ แต่วิธีนี้ใช้กับผู้ร่ำสุราอยู่เป็นอาจิณคงจะไม่ดีแน่ เพราะอาจทำให้ตับวายถึงตายได้ โดยเฉพาะถ้าเป็นยาพาราเซตามอล เนื่องจากตัวยาจะไปสะสมที่ตับ ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่เกิดเพิ่มขึ้นไปจากพิษของแอลกอฮอล์แต่เดิม ซึ่งเป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการ เนื่องจากรับประทานหรือดื่มมากเกินไปโดยตรงจะดีกว่า

วิธีที่ 3

หาทางกำจัดอาการเมาด้วยเทคนิคต่างๆ และคงไม่มีใครมือฉมังในเรื่องการบำบัดอาการเมาค้างเป็นแน่ เพราะต่างคนก็ลองผิดลองถูกกว่าจะคลำหาสูตรลับเฉพาะที่ดูแล้วน่าจะเหมาะกับ ตัวเอง ซึ่งสูตรสำเร็จเด็ดขาดเฉพาะตัวต่างๆ ดังกล่าว พอจะสรุปเป็นวิธีปฏิบัติอย่างง่ายๆ ดังนี้

- รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เนื่องจากอาหารที่ย่อยง่ายเหล่านั้นจะได้ไม่ไปรบกวนการทำงานของกระเพาะลำไส้ หรือไม่กระตุ้นให้อยากอาเจียนมากขึ้น เพราะคนเมาค้างส่วนใหญ่นอกจากจะปวดหัวมากแล้ว ยังรู้สึกอยากจะอาเจียนตลอดเวลา

- พยายามออกมาสูดอากาศบริสุทธิ์ให้ได้ เพราะออกซิเจนจะช่วยให้กระบวนการเมตาบอลิซึ่มมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ปริมาณแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดน้อยลง

- แก้ไขการอาเจียนโดยดื่มน้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวจัด เช่น น้ำส้ม หรือน้ำมะนาว
อาจจะถอนอาการเมาด้วยเบียร์สักแก้ว หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อะไรก็ได้ที่ได้ดื่มไปเมื่อคืน ท้องไส้จะได้ไม่ปั่นป่วน หัวสมองจะได้ไม่ปวดหนักต่อไป แต่ต้องห้ามใจไม่ให้จิบแล้วจิบอีกอย่างเพลิดเพลิน ไม่อย่างนั้นเมาต่ออีกแน่นอน

เมื่อจำเป็นต้องสังสรรค์กันด้วยเหล้า สูตรทั้งหลายแหล่เหล่านี้อาจจะพอช่วยดับทุกข์จากอาการเมาค้างได้บ้าง แต่จะให้สูตรไหนหรืออย่างไรเห็นจะต้องหาทางพิสูจน์กันเอาเองว่า อย่างไหนได้ผลกับตนเอง แต่ถ้าไม่อยากต้องปวดหัวกันสูตรอะไรก็ไม่รู้เยอะไปหมด ก็มีสูตรสุดท้ายนั่นคือ สูตรเลิกกินเหล้าให้เด็ดขาด สูตรนี้ดับอาการเมาค้างอย่างได้ผลจริงแท้และแน่นอน และถ้าเลิกดื่มเหล้าไม่ได้ ยังไงๆ ก็จำเป็นต้องสังสรรค์กับเพื่อนผู้ยกให้เหล้าเป็นพระเอกในวงสนทนา แต่ไม่อยากจะมาลองสูตรโน้นสูตรนี้เพื่อดับอาการเมาค้าง เห็นที่จะต้องพึ่งยาแก้อาการเมาค้างล่ะครับ วิธีนี้คงไม่ยุ่งยาก สะดวก ง่ายดายและเหมาะที่สุดสำหรับผู้ร่ำสุราทุกท่าน

ที่มา : 108 เคล็ดลับ




 

Create Date : 03 มิถุนายน 2553    
Last Update : 3 มิถุนายน 2553 12:20:45 น.
Counter : 449 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  

quosego
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add quosego's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.