Group Blog
 
All Blogs
 
การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในสิบสองปันนา

สิบสองปันนาดินแดนแห่งพระพุทธศาสนา

ชาวสิบสองปันนาทั้งหมดเป็นข้าของพระพุทธศาสนา เรามีศีล มีธรรม ก็เพราะคำสอนของพระพุทธเจ้า หลังจากพระพุทธศาสนาหายไป คนไม่ได้นับถือศาสนา มากว่า 20 ปี

ทบทวนฝันในฝัน วันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2556
สิบสองปันนาดินแดนแห่งพระพุทธศาสนา 
 
 
 
ตอน การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในสิบสองปันนา
เรียบเรียงจากรายการโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา
ที่ออกอากาศทางช่อง DMC
 
 
 
        มณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นมณฑลทางตอนใต้ ที่มีเขตแดนใกล้กับประเทศไทยมากที่สุด แบ่งการปกครองออกเป็น 16 เมือง มีประชากรราว 44 ล้านคน มีชนกลุ่มน้อยรวมทั้งสิ้น 25 ชนชาติ จาก 56 ชนชาติในจีน มณฑลยูนนานจึงเป็นดินแดนแห่งความหลากหลายของวัฒนธรรมและภาษา
 
แผนที่มณฑลยูนนาน(สีส้ม) มณฑลทางตอนใต้ของจีนที่อยู่ใกล้ไทยมากที่สุด
แผนที่มณฑลยูนนาน(สีส้ม) มณฑลทางตอนใต้ของจีนที่อยู่ใกล้ไทยมากที่สุด
 
 
แผนที่มณฑลยูนนาน เลขที่ 16 คือ เมืองสิบสองปันนา
แผนที่มณฑลยูนนาน เลขที่ 16 คือ เมืองสิบสองปันนา
 
 
        ย้อนไปเมื่อปี พ.ศ. 2536 คุณครูไม่ใหญ่ ได้เมตตามอบพระพุทธรูป ชื่อ “พระพุทธนิรันตราย” ให้แก่ชาวพุทธ เมืองคุนหมิง เมืองหลวงของมณฑลยูนนาน โดยมอบหมายให้พระเดชพระคุณหลวงพ่อทัตตชีโว พร้อมด้วยคณะสงฆ์ 9 รูป เดินทางไปมอบองค์พระ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ วัดไต่เจียไจ้ เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน
 
พระพุทธนิรันตราย มีความหมายว่า “พระพุทธเจ้า ผู้ทรงเดชานุภาพป้องกันภยันตรายทั้งปวงได้” ประดิษฐาน ณ วัดไต่เจียไจ้ เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน
พระพุทธนิรันตราย มีความหมายว่า พระพุทธเจ้าผู้ทรงเดชานุภาพป้องกันภยันตรายทั้งปวงได้
ประดิษฐาน ณ วัดไต่เจียไจ้ เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน
 
 
พระเดชพระคุณหลวงพ่อทัตตชีโว สนทนากับ จาง ฉาว ฮุย รองผู้ว่ามณฑลยูนนานในขณะนั้น ในพิธีมอบพระพุทธรูป
พระเดชพระคุณหลวงพ่อทัตตชีโว สนทนากับ จาง ฉาว ฮุย
รองผู้ว่ามณฑลยูนนานในขณะนั้น ในพิธีมอบพระพุทธรูป
 
 
ภาพประวัติศาสตร์พระมหาเถระวัดพระธรรมกาย เมื่อครั้งเดินทางไปถวายพระพุทธรูปที่เมืองคุนหมิง ในปี พ.ศ.2536
ภาพประวัติศาสตร์พระมหาเถระวัดพระธรรมกาย
เมื่อครั้งเดินทางไปถวายพระพุทธรูปที่เมืองคุนหมิง ในปี พ.ศ.2536
 
        สิบสองปันนา เป็นเขตปกครองตนเองชนชาติไท มณฑลยูนนาน อยู่ห่างจากเชียงใหม่ราวร้อยกว่ากิโลเมตร ประกอบไปด้วยสามเมือง มีเมืองเอกชื่อนครเชียงรุ้ง, เมืองฮาย(ติดพม่า), และเมืองล่า(ติดกับลาว) มีชุมชนไทลื้อราว 3 แสนคน วิถีชีวิตของชาวไทลื้อ ผูกพันกับพระพุทธศาสนาเถรวาท พื้นที่ของชุมชนไทลื้อในเมืองสิบสองปันนา มีวัดประมาณ 600 วัด โดยเฉลี่ย 1 วัด 1 ชุมชน กระจายไปทั้ง 3 เมือง ชาวไทลื้อนิยมบวชบุตรชายเป็นสามเณร เพื่อศึกษาเล่าเรียนในหลักธรรมและหนังสือตลอดจนการอบรมความประพฤติ ทั้งนี้ก่อนบวช เด็กจะถูกส่งไปบวชเป็นขโมย(ลูกศิษย์วัด) ก่อน 3 เดือน
 
การแต่งกายของชาย หญิง ชาวไทลื้อ
การแต่งกายของชาย หญิง ชาวไทลื้อ
 
 
สภาพบ้านเรือนของชาวไทลื้อ ซึ่งทางการจีนให้อนุรักษ์ไว้
สภาพบ้านเรือนของชาวไทลื้อ ซึ่งทางการจีนให้อนุรักษ์ไว้
 
 
วัดสวนม่อน วัดชาวไทลื้อที่เก่าแก่ที่สุดในสิบสองปันนามีอายุกว่าพันปี
วัดสวนม่อน วัดชาวไทลื้อที่เก่าแก่ที่สุดในสิบสองปันนามีอายุกว่าพันปี
 
 
พระธาตุหน่อ เมืองลวง สิบสองปันนา เจดีย์ศักดิ์สิทธิ์อายุนับพันปี ที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุ
พระธาตุหน่อ เมืองลวง สิบสองปันนา
เจดีย์ศักดิ์สิทธิ์อายุนับพันปี ที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุ
 
 
ประเพณีการสานพระด้วยไม้ไผ่ วัฒนธรรมชาวพุทธอันดีงามที่ยังสืบสานมาถึงปัจจุบัน
ประเพณีการสานพระด้วยไม้ไผ่ วัฒนธรรมชาวพุทธอันดีงามที่ยังสืบสานมาถึงปัจจุบัน
 
 
พระอินสาน หนึ่งในพระพุทธรูปที่สานขึ้นด้วยไม้ไผ่ ซึ่งชาวบ้านชาวสิบสองปันนา ช่วยกันสานและถวายไปยังวัดต่างๆ
พระอินสาน หนึ่งในพระพุทธรูปที่สานขึ้นด้วยไม้ไผ่
ซึ่งชาวบ้านชาวสิบสองปันนา ช่วยกันสานและถวายไปยังวัดต่างๆ
 
 
ภาพจิตรกรรมฝาผนังในวัดสวนม่อน ชาวไทลื้อปูเสื่อ โปรยดอกไม้ ต้อนรับการเสด็จมาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ภาพจิตรกรรมฝาผนังในวัดสวนม่อน ชาวไทลื้อปูเสื่อ
โปรยดอกไม้ ต้อนรับการเสด็จมาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 
 
ปัจจุบันชาวไทลื้อ ยังคงรักษาประเพณีการโปรยดอกไม้ ต้อนรับพระภิกษุสงฆ์ซึ่งเป็นตัวแทนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ได้อย่างงดงาม
 
ปัจจุบันชาวไทลื้อ ยังคงรักษาประเพณีการโปรยดอกไม้ ต้อนรับพระภิกษุสงฆ์ซึ่งเป็นตัวแทนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ได้อย่างงดงาม
ปัจจุบันชาวไทลื้อ ยังคงรักษาประเพณีการโปรยดอกไม้ต้อนรับพระภิกษุสงฆ์
ซึ่งเป็นตัวแทนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ได้อย่างงดงาม
 
 
        ในยุคของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และการปฏิวัติวัฒนธรรมจีน พระพุทธศาสนาในสิบสองปันนาได้ถูกทำลาย วัดกลายเป็นสถานที่เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ ฐานองค์พระกลายเป็นเวทีการแสดง ไม่มีใครกล้าทำกิจกรรมทางศาสนาในวัด พระถูกจับสึก พระบางรูปต้องปลีกวิเวกไปอยู่ตามป่า
      
ช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครองและยุคปฏิวัติวัฒนธรรมจีน ส่งผลให้วัดกลายเป็นที่เลี้ยงสัตว์ พระพุทธรูปถูกทำลาย ฐานองค์พระกลายเป็นเวทีการแสดง(ภาพจิตรกรรมฝาผนัง)
ช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครองและยุคปฏิวัติวัฒนธรรมจีน ส่งผลให้วัดกลายเป็นที่เลี้ยงสัตว์
พระพุทธรูปถูกทำลาย ฐานองค์พระกลายเป็นเวทีการแสดง(ภาพจิตรกรรมฝาผนัง)
 
 
        ท่านเตาซู่เหริน หรือ เจ้าแสงเมือง อดีตกษัตริย์เจ้าเมืองฮายองค์สุดท้าย ปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่ง รองประธานพุทธสมาคมแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน, ประธานสมาคมพุทธมณฑลยูนนาน ดูแลกิจการงานของสงฆ์ฝ่ายเถรวาทของประเทศจีน
 
ท่านเตาซู่เหริน หรือ เจ้าแสงเมืองผู้นำฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในสิบสองปันนา
ท่านเตาซู่เหริน หรือ เจ้าแสงเมืองผู้นำฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในสิบสองปันนา
 
        เล่าว่า “เราเกิดเป็นคนไท ชาวสิบสองปันนาทั้งหมดเป็นข้าของพระพุทธศาสนา เรามีศีล มีธรรม ก็เพราะคำสอนของพระพุทธเจ้า หลังจากพระพุทธศาสนาหายไป คนไม่ได้นับถือศาสนา มากว่า 20 ปี ต่อมารัฐบาลจีนเปิดกว้างมากขึ้นให้คนนับถือศาสนา พอเริ่มฟื้นฟูศาสนาจากวัดร้างไม่มีพระ ไม่มีสามเณร เราเริ่มด้วยการบวชพระ แล้วส่งไปเรียนที่ไทย พม่า ศรีลังกา แล้วกลับมาที่สิบสองปันนาช่วยกันฟื้นฟูศาสนา ผมดีใจที่ผมได้ฟื้นฟูศาสนาขึ้นมา เพราะพระพุทธศาสนา เป็นวัฒนธรรมของชนชาติไททั้งหมด ใบลานอยู่ในวัด วัฒนธรรมชาวพุทธอยู่ในวัด เมื่อก่อนผมเป็นเจ้าแผ่นดิน ตอนนี้ผมเป็นข้าราชการ แต่ผมก็ไม่ลืมสิ่งที่ปู่ย่า ตายาย สอนว่า เราเป็นคนไท เราต้องช่วยกันดูแลและฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ไม่ให้สูญสลายหายไปในยุคของเรา”
 
        จากความพยายามในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในสิบสองปันนา ทำให้ปัจจุบันมีจำนวนพระภิกษุสงฆ์เพิ่มจำนวนขึ้น มีจำนวนกว่า 4,000 รูป ซึ่งแรกเริ่มท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ท่านได้ไปสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมไว้ ต่อมาได้มีการสร้างวิทยาลัยสงฆ์เถรวาทขึ้น และมีการประสานความร่วมมือกับชาวพุทธนานาประเทศ ช่วยกันสนับสนุนและฟื้นฟูพระพุทธศาสนาเถรวาทบนแผ่นดินสิบสองปันนาให้เจริญยิ่งขึ้นสืบไป ให้เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ดังจะเห็นได้จากพิธีฉลองวิหารวัดป่าเจ หรือ วัดป่าเชต์มหาราชฐาน วัดในพระพุทธศาสนาเถรวาทที่ใหญ่ที่สุดในสิบสองปันนา
 
วิหารวัดป่าเจ หรือ วัดป่าเชต์มหาราชฐาน เมืองสิบสองปันนา
วิหารวัดป่าเจ หรือ วัดป่าเชต์มหาราชฐาน เมืองสิบสองปันนา
 
 
วิทยาลัยสงฆ์ เมืองสิบสองปันนา
 
วิทยาลัยสงฆ์ เมืองสิบสองปันนา
วิทยาลัยสงฆ์ เมืองสิบสองปันนา
 
 
ทีมงานพระอาจารย์จากวัดพระธรรมกาย มอบองค์พระและพระไตรปิฎก บาลี แปล จีน ฉบับ PDP (พีดีพี) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สถาบันธรรมชัย ร่วมกับ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ให้ท่านเตาซู่เหริน
ทีมงานพระอาจารย์จากวัดพระธรรมกาย มอบองค์พระและพระไตรปิฎก บาลี แปล จีน ฉบับ PDP
ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สถาบันธรรมชัย ร่วมกับ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ให้ท่านเตาซู่เหริน
 
 
อาเต้า หรือ เจ้าสุรินทรา หลานชายของท่านเตาซู่เหริน ทำหน้าที่เป็นพิธีกรรายงานข่าว DMC จากเมืองสิบสองปันนา
อาเต้า หรือ เจ้าสุรินทรา หลานชายของท่านเตาซู่เหริน
ทำหน้าที่เป็นพิธีกรรายงานข่าว DMC จากเมืองสิบสองปันนา
 
 



Create Date : 09 พฤษภาคม 2556
Last Update : 9 พฤษภาคม 2556 12:45:28 น. 0 comments
Counter : 4826 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อุ่นอาวรณ์
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุ่นอาวรณ์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.