บันเทิง คลิป ตลก ฮา สนุก พอจะมีสาระ
 
สงคราม ... เพื่อ เกียรติยศ ความรัก และ อำนาจ



ตลอดเวลาที่ผ่านมา ..... มนุษย์
ก่อสงคราม บ้างก็เพื่ออำนาจ บ้างเพื่อชัยชนะ บ้างเพื่อเกียรติยศ และ
บ้างก็เพื่อความรัก .. ในยุคกรีกโบราณ
ความรักและปรารถนาแห่งสองชู้รักที่อื้อฉาวมากที่สุดใ นวรรณคดีปารีส
เจ้าชายแห่งทรอย และเฮเลน ราชินีแห่งสปาร์ตา
ได้จุดชนวนสงครามที่ทำลายล้างชนชาติ
เมื่อปารีสได้ลักพาตัวเฮเลนไปจากสวามีแห่งเธอ กษัตริย์เมเนลาอุส
ซึ่งนับว่าเป็นการหมิ่นหยามกันอย่างไม่อาจยอมได้
เกียรติศักดิ์ของวงศ์ตระกูลได้บงการว่าการสบประมาทเม เนลาอุส
ก็เท่ากับได้สบประมาท อกาเมมนอน ผู้เป็นพี่ชายเช่นกัน
เขาเป็นกษัตริย์ที่ทรงอำนาจแห่งชาวไมซีเน
ผู้ซึ่งรวบรวมบรรดาชนเผ่ากรีกจำนวนมากในเวลาอันรวดเร ็ว
เพื่อไปชิงตัวเฮเลนกลับมาจากทรอย เพื่อปกป้องศักดิ์ศรีของน้องชาย

ในความเป็นจริงแล้ว ..... การ
ไล่ตามเพื่อศักดิ์ศรีของอกาเมมนอนนั้น
ถูกครอบงำไว้ด้วยความโลภอย่างมหาศาลของเขา
เขาต้องการมีชัยเหนือทรอยเพื่อครอบครองอีเจียน
มันจะเป็นการยืนยันถึงอำนาจสูงสุดแห่งอาณาจักรอันมโห ฬารอยู่แล้วของเขา
เมืองที่ล้อมรอบด้วยกำแพง ภายใต้การนำของกษัตริย์ไปรอัม
และการปกป้องของเจ้าชายเฮกเตอร์ผู้กล้าหาญ
เป็นป้อมปราการมั่นคงที่ไม่เคยมีกองทัพใดสามารถทำลาย ได้
มีเพียงชายหนุ่มผู้เดียวเท่านั้นที่เป็นกุญแจสำคัญสู
่ชัยชนะหรือความพ่ายแพ้ต่อทรอย .. อคิลลิส
ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดที่มีชีวิตอยู่ ยโส หัวแข็ง
และดูเหมือนไม่มีใครเอาชนะได้ อคิลลิส ไม่ภักดีต่อสิ่งใดและผู้ใด
เขารักษาแต่ชื่อเสียงของตนเองไว้
ความกระหายที่จะมีชื่อเสียงไปตลอดกาลอย่างไม่รู้จักพ อของเขา
คือสิ่งที่นำเขาไปสู่การโจมตีประตูเมืองแห่งทรอย ภายใต้การนำของอกาเมมนอน
.. แต่ที่สุดแล้วความรักจะเป็นเครื่องตัดสินของเขา

สองอาณาจักร ..... จะเข้าสู่สงครามเพื่อเกียรติยศและอำนาจ ผู้คนนับพันจะล้มตายบนเส้นทางสู่ชัยชนะ และเพื่อรัก บ้านเมืองจะถูกเผาจนเหลือเพียงเถ้า



ภาพยนตร์ ทรอย TROY ..... ที่
กําลังดังสุดๆอยู่ในขณะนี้ เป็นเรื่องที่สร้างขึ้นจากตํานานมหากาพย์
สงครามกรุงทรอย โดยยกเอาเรื่องของวีรบุรุษสําคัญ ของกองทัพกรีกมาเป็นหลัก
เขาผู้นั้นก็คือ อคิลลิส ACHILLES ซึ่งสวมบทบาท โดยพระเอก แบรด พิทท์
ดังนั้น ซันเดย์ สเปเชียล หนนี้จึงขอนําเอาเกร็ด ประวัติอันน่าตื่นใจของ
อคิลลิสมาเล่าสู่กันฟัง แต่ถ้าไม่พูดถึงความเป็นมา
ของสงครามครั้งนี้เสียก่อน เดี๋ยวทั่นผู้ชม...เอ๊ย...ทั่นผู้อ่าน
จะจับต้นชนปลายไม่ถูก จึงขอเล่าควบคู่กันไปเลยดังนี้ผม

ตํานานสงครามกรุงทรอย ..... มา
จากมหากาพย์ อีเลี้ยด Iliad ซึ่งกวีกรีก โฮเมอร์ Homer ผู้มีชีวิตอยู่ในราว
900800 ปี ก่อน ค.ศ. ได้รจนาไว้ สงครามนี้บางท่านเรียกว่า Trojan War
คาดว่าเกิดขึ้นประมาณ 1,200 ปีก่อน ค.ศ. ก้อ...3 พันกว่าปีมาแล้วละ
เป็นมหายุทธอันยิ่งใหญ่ และยืดเยื้อระหว่างกองทัพฝ่ายกรีก กับฝ่ายกรุงทรอย
ซึ่งอยู่กันคนละฟากฝั่งทะเลเอเจี้ยน สาเหตุและผลแห่งสงครามมีดังนี้

ในพิธี สยุมพรระหว่าง ..... ธี
ทิส Thetis เทพีแสนสวยแห่งทะเล กับ พีลิอุส Peleus
หลานชายจอมเทพซีอุสบรรดาเทพเจ้าได้มาร่วมยินดีกันแทบหมดสวรรค์ ยกเว้น อีริส
Eris เทพีแห่งความแตกร้าว ทําให้นางแค้นเคืองมาก จึงบุกเข้าไปในงาน
แล้วโยนแอปเปิ้ลทองคําลูกหนึ่งเข้าไปกลางวง แอปเปิ้ลลูกนี้มีคําจารึกว่า
แด่สตรีที่งามที่สุด

อ้าว แบบนี้ ..... สาว
น้อยสาวใหญ่ต่างก็แย่งชิงกันอุตลุดซี โดยเฉพาะ 3 เทพีสําคัญ ได้แก่
เฮรามเหสีของซีอุส อธีนาเทวีแห่งสงคราม และ อโฟรไดตี หรือ
วีนัสเทพีแห่งความรัก แต่ทําอย่างไรก็ตกลงกันไม่ได้
จอมเทพซีอุสจึงโยนเผือกร้อนไปให้เจ้าชาย ปารีส โอรส
ท้าวเปรียมกษัตริย์แห่งกรุงทรอยเป็นผู้ตัดสิน
ด้วยว่าปารีสนั้นรูปงามหล่อเหลา

อย่าคิดว่าเทพเจ้าบนสวรรค์ ..... จะ
ทรงซื่อถือสัตย์ยุติธรรมนะ ทรงถนัดในด้านติดสินบน ไม่แพ้มนุษย์หรอก
ด้วยเหตุฉะนี้เฮราจึงแอบกระซิบ กับปารีสว่า ถ้าหากตัดสินให้พระนาง
ได้แอปเปิ้ลทองคํา ละก้อ เขาจะได้เป็น บุรุษผู้มั่งคั่งที่สุดของโลก
ส่วนอธีนาก็เสนอว่าจะให้ปารีส เป็นขุนศึกผู้เก่งกาจที่สุด และวีนัสนั้น
ก็ติดสินบน โดยจะมอบหญิงสาว สวยที่สุดในโลกให้


แหม หนุ่มน้อยสุดหล่อนี่ เก๊าะต้องเลือกเอาสาวงามเป็นธรรมดา

หากทว่าสาวสวยสุดๆ ..... ใน
สายตาของเทพีวีนัสนั้น มิใช่สาวอิสระ เธอมีนามว่า เฮเลน เป็นมเหสี ของ
เมเนเลอุส เจ้าชายกรีกผู้เป็นอนุชาของ อกาเมมนอน กษัตริย์แห่ง
นครรัฐไมซีนี่ แต่วีนัสก็รักษาสัญญาที่ให้ไว้
โดยเมื่อได้แอปเปิ้ลทองคํามาครอบ ครองแล้ว
พระนางก็จัดการให้ปารีสได้พบกับเฮเลน และลักพาเอานางจากดินแดนกรีกมาไว้ ณ
กรุงทรอย

ทําแบบนี้ก็เท่ากับหยามหน้าชาวกรีกซี ..... บรรดา
นครรัฐต่างๆของกรีก อาทิ สปาร์ตา ซึ่งเป็นนครที่มีกองทัพอันเกรียงไกร
และแน่นอน นครไมซีนี่ ซึ่งผูกพันฉันญาติเมเนเลอุส
ต่างก็ระดมพลรวมกันเป็นกองทัพมหึมาลงเรือรบหลายร้อยลํายกขบวนข้ามทะเลเอ
เจี้ยน มาแย่งชิงเฮเลนคืนจากกรุงทรอย

ฝ่ายทรอยแม้จะรู้ดีว่า ..... เจ้า
ชายปารีสของตนทําไม่ถูกทํานองคลองธรรม
หากทว่าด้วยศักดิ์ศรีและความเคารพในท้าวเปรียมกษัตริย์เฒ่าเหล่าเมืองน้อย
ใหญ่พันธมิตร ในดินแดนเอเชียไมเนอร์ก็ยกกําลังทัพของตนมาช่วยทรอย
รวมทั้งเผ่านักรบสาว อเมซอน อันโด่งดังก็มาด้วย

ทั้งสองฝ่ายต่างก็มียอดขุนพลผู้เก่งกาจพอๆกัน .....

นักรบวีรบุรุษฝ่ายกรีกก็ได้แก่ อคิลลิส .. อแจ๊คส์ .. เฮอร์คิวลิส .. โอดิสซีอุส ฯลฯ

ส่วนทางฝ่ายทรอยก็คือ .....

เฮคเตอร์แม่ทัพใหญ่ .. เอนีแอส .. เพนธีซีเลียราชินีแสนสวยแห่งเผ่าอเมซอน

และปารีสเองก็เป็นขุนศึก สําคัญคนหนึ่งด้วย

มหายุทธครั้งนี้มิใช่มีแต่มนุษย์รบกัน ..... หาก
ทว่าเทพเจ้าแทบทั้งสวรรค์ ที่ลงมาช่วยฝ่ายที่ตนรักใคร่ องค์ไหนชอบกรีก
ก็คอยดลบันดาลให้นักรบกรีกชนะ องค์ไหนที่ชอบทรอยก็คอยช่วย
ยามขุนศึกทรอยเพลี่ยงพลํ้า วุ่นวายแทบจะตีกันตาย ในหมู่เทพเจ้าด้วยกันละ

ส่วนการยุทธ .....

ระหว่างมนุษย์ก็ดุเดือดเผ็ดร้อน งัดเอากลยุทธ์และเล่ห์เหลี่ยมทุกอย่างที่มี

มาต่อกรกันต่างฝ่ายต่างล้มตายมากมาย รวมทั้งขุนศึกวีรบุรุษก็สิ้นชีพร่อยหรอไปด้วยกัน

สําหรับอคิลลิส ..... ผู้
ได้รับความยกย่องให้เป็นแม่ทัพกรีกนั้น
จัดเป็นขุนศึกผู้เก่งกาจที่สุดของกรีกก็ว่าได้
มารดาและบิดาของอคิลลิสนั้นมิใช่ใครอื่น แต่เป็นเทพีธีทิสกับพีลิอุส
ที่แต่งงานกันตอนต้นเรื่อง นั่นแหละ อย่าไปนับไล่เลียงวันเวลาหรืออายุเลย
เดี๋ยวจะสับสน เพราะตํานาน หรือนิยายนั้นบางทีลูกก็โตทันใช้งานเร็วทันใจ

เมื่อตอนถือกําเนิดขึ้นมานั้น ..... เท
พีธีทิสอยากจะให้โอรสเป็นอมตะ จึงจับตัวลงจุ่มแม่นํ้าสติคซ์อันศักดิ์สิทธิ์
ทั้งร่างของอคิลลิสจึงอยู่ยงคงกระพัน
ยกเว้นแต่ส้นเท้าตรงที่ผู้เป็นมารดาจับไว้ตอนจุ่ม
จุดอ่อนนี้แหละที่เป็นที่มาของคําว่า ส้นเท้าอคิลลิสAchilles heel
หมายถึงจุดอ่อนของผู้ใดก็ตามที่เจ้าตัวอาจคาดไม่ถึง

อคิลลิสนําทัพกรีก ..... บุก
โจมตีกรุงทรอยอย่างห้าวหาญ แต่ขณะที่ศึกดําเนินไปนั้นก็เกิดความบาดหมาง
ระหว่างนายทัพกรีกด้วยกัน กล่าวคือ เมื่อกรีกตีได้เมืองเลอร์เนสซุส
ซึ่งเป็นพันธมิตรกับทรอย มเหสีแสนงาม ไบรซีอีส
ของกษัตริย์นครนี้ได้ตกเป็นรางวัลของอคิลลิส
หากทว่าเมื่ออกาเมมนอนจอมทัพใหญ่เห็นนางเข้า
ก็เกิดความพอใจและพรากเอานางมาไว้ในค่ายตน อคิลลิสแค้นเคือง
จึงถอนตัวออกจากการเป็นแม่ทัพ ทําให้กําลังของกรีกอ่อนไปถนัดตา
และแม้ว่ากรีกจะเพลี่ยงพลํ้าในการรบเท่าใด อคิลลิสก็หาสนใจไม่

แต่เหตุการณ์ได้พลิกผัน ..... เมื่อ
เปโตรคลุส เพื่อนรักของอคิลลิส ถูกเฮคเตอร์สังหาร
อคิลลิสก็โกรจจัดท้าทายให้เฮคเตอร์ออกมาสู้กันตัวต่อตัว
ผลการต่อกรอันดุเดือด ระหว่างสองสุดยอดขุนพล
ปรากฏว่าอคิลลิสได้ชัยชนะด้วยแรงแค้น ทําให้เขากระทํายํ่ายีศพของเฮคเตอร์
ด้วยการเอาร่างไร้ชีวิต ของแม่ทัพทรอยผูกรถศึกแล้วลากตระเวน ประจานรอบค่าย
สร้างความตกตะลึง และโศกศัลย์อย่างใหญ่หลวงแก่ กษัตริย์เปรียม
และประชากรทรอยทั้งเมือง

แต่อคิลลิสเอง ..... แม้
จะเก่งกาจเพียงใดก็หารอดไม่ เพราะมีจุดอ่อนอยู่ที่ส้นเท้า
ซึ่งไม่ได้ชุบนํ้าอมฤตจึงโดนปารีสลอบยิงด้วยธนู ปักตรงจุดตายพอดี
ทั้งนี้ก็ด้วยความอนุเคราะห์จากเทพอปอลโล ผู้ฝักใฝ่ในทรอยหรอก
พระองค์บังคับให้ธนูของปารีสพุ่งสู่จุดหมายอย่างแม่นยํายังกะอาวุธนําวิถี
ยังไงยังงั้นฮา

และต่อมาไม่นาน ..... ปารีส
ก็ต้องธนูข้าศึกด่าวดิ้นไปอีกหนึ่ง แต่กรุงทรอยก็ยังไม่แตก ..
จวบจนการศึกกินเวลาล่วงไปถึง 10 ปี ก็ยังไม่มีทีท่าว่ากรุงทรอยจะแตก
และกองทัพกรีกก็หมดกําลังใจ ที่จะทําสงครามต่อไปอีกแล้ว ..
ทว่าพวกเขาได้งัดอุบาย สุดท้ายขึ้นมาใช้

นั่นคือการสร้างม้าไม้ .....

ขนาดมหึมาขึ้นตัวหนึ่ง จากนั้นจึงถอนทัพลงเรือออกแล่นไป

ทําประหนึ่งว่าทิ้งม้าไม้ไว้เป็นอนุสรณ์ แห่งมหายุทธครั้งนี้

ฝ่ายทรอยเมื่อเห็นทัพกรีกยกกลับ ..... ก็
สุดแสนยินดีออกจากกําแพงเมือง
มาลากม้าไม้เข้าไปร่วมฉลองชัยชนะอย่างมโหฬารในเมือง พอตกดึก
เหล่าทหารและประชากรทรอยสลบไสลจากงานเลี้ยง
ทหารกรีกก็ออกจากม้าไม้แล้วเข่นฆ่าพวกทรอย
รวมทั้งทําลายเผาผลาญเมืองจนพินาศยับเยิน
สมกับความแค้นที่สะสมมาตลอดการศึกอันยาวนาน


สงครามกรุงทรอยก็สิ้นสุดลงด้วยประการฉะนี้


TROY กับร่องรอยจางๆ ของ ILIAID

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ..... กับ
ภาพยนตร์เรื่อง TROY ของผู้กำกับ โวล์ฟกัง ปีเตอร์เซ่น ยามนี้ คล้ายๆ กับ
สิ่งที่เคยเกิดขึ้นกับภาพยนตร์เรื่อง “ไอ้ฟัก” ของพันธุ์ธัมม์ ทองสังข์
คือการออกอาการอึดอัดขัดใจของแฟนหนังสือ
ที่เมื่อมาดูหนังแล้วพบว่ามีบางสิ่งบางอย่าง “เปี๊ยนไป๋”

TROY ..... ถูก
หนอนหนังสือที่เป็นแฟนมหากาพย์อีเลียดพร่ำบ่น (ไปจนถึงขั้นก่นด่า)
โทษฐานที่เปลี่ยนแปลงเรื่องราวอย่างมโหฬารในการดำเนินเรื่อง อย่างไรก็ตาม
สิ่งที่ต้องรีบแยกแยะและทำความเข้าใจก็คือ TROY
เป็นเพียงภาพยนตร์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากมหากาพย์อีเลียด ของมหากวีตาบอด
“โฮเมอร์” เท่านั้น

โฮเมอร์ (Homer) กล่าวกันว่า ..... เป็น
มหากวีที่นัยน์ตาของท่านบอดสนิท มีชีวิตอยู่ในราว 800 ปีก่อนคริสตกาล
ตามตำนานเล่าว่าท่านเป็นนักขับลำนำ
ผู้ถ่ายทอดอีเลียด-เรื่องราวของมหาสงครามชิงเมืองทรอย กับโอดิสซีย์
(Odyssey)
ซึ่งกล่าวถึงการเดินทางกลับบ้านเมืองและการพลัดหลงอยู่ในมหาสมุทรเป็นเวลา
ยาวนาน โดยผลแห่งการโกรธกริ้วขององค์เทพของโอดิสซุส หรือยูลิสซิส
ภายหลังสงครามเมืองทรอยสิ้นสุด
มหากาพย์ทั้งสองเรื่องนี้นับเป็นหลักไมล์ทางวรรณกรรมที่สำคัญซึ่งมีอิทธิพล
ต่อวรรณคดีและวรรณกรรมตะวันตกอย่างมาก

จากการวิจัยค้นคว้าในภายหลังพบว่า ..... มหา
กาพย์ทั้งสองเรื่องนี้อยู่ในข่าย Epic of Growth
คือเกิดขึ้นอย่างวิจิตรพิสดารจากการเสริมเติมของนักเล่าคนแล้วคนเล่า
มิใช่ฝีมือของผู้ใดผู้หนึ่งคนเดียว ในที่นี้ย่อมหมายถึงโฮเมอร์
นักวิชาการปัจจุบันเชื่อว่าอีเลียดกับโอดิสซีย์มิใช่ฝีมือของโฮเมอร์ผู้
เดียว หากแต่ได้รับการแต่งเสริมต่อเติมโดยนักเล่าในรุ่นต่อๆ
มาจนกลายเป็นมหากาพย์ที่วิจิตรพิสดาร

หากพิจารณาเฉพาะเนื้อหา ..... อี
เลียดกับโอดิสซีย์มีลักษณะที่ผสมผสานกันระหว่างความเป็นเทพนิยาย (Myth)
นิยายปรัมปราของชาติ (National Legend) เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์
(Historical Legend) ตามขนบของมหากาพย์โบราณทั่วไป
ทั้งยังปรากฏรูปลักษณ์ของ Heroic Narrative
คือบรรยายถึงวีรกรรมของวีรบุรุษของชาติ ด้วยบทพรรณนาที่ประณีต งดงาม
และมีความเป็นโศกนาฏกรรม (Tragedy) ที่เศร้าสะเทือนอารมณ์

ในเมืองไทย ..... ปรากฏ
การแปลมหากาพย์อีเลียดจากต้นฉบับที่ต่างกัน 2 ครั้ง คือ นายตำรา ณ เมืองใต้
แปลและเรียบเรียงเผยแพร่ในชื่อ “อีเลียด” จากฉบับเล่าความของ อัลเฟรด เจ.
เชิร์ช ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2536
และเพิ่งตีพิมพ์ล่าสุดโดยสำนักพิมพ์น้ำฝน เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
กับอีกเล่มใช้ชื่อว่า “อีเลียด” โดยผู้แปลสองท่านทำงานร่วมกันคือ ดร.ปราณี
ศิริจันทพันธุ์ กับส่งศรี ศรีจันทราพันธุ์ แปลจากต้นฉบับภาษาฝรั่งเศส
(ซึ่งเป็นอีเลียดฉบับเยาวชน) ของ Leconte de Lisle รวมทั้งได้แปล “โอดิสซี”
(สะกดตามชื่อหนังสือ) ของผู้เขียนชาวฝรั่งเศสคนเดียวกันนี้
ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2543-4 โดยสำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง

เมื่อมีการประกาศอย่างชัดเจน ..... ถึง
การสร้างภาพยนตร์เรื่อง Troy โดยใช้เพียงแรงบันดาลใจจากอีเลียด
เช่นนั้นแล้วผู้ชมก็มิจำเป็นจะต้องแบกอีเลียดเข้าไปดูหนังเรื่องนี้
หรือหากจะมีพื้นความรู้เรื่องอีเลียดอยู่บ้าง
ก็ควรใช้พื้นภูมินั้นเปรียบเทียบให้สนุกมากกว่าจะเคร่งครัด-เคร่งเครียด

มาดูกันว่า Troy ใช้หรือไม่ใช้อะไรจากอีเลียดบ้าง .....

1 ..... Troy
แทบจะโละทิ้งความเป็นเทพปกรณัมของอีเลียด แต่คงตัวละครสำคัญๆ
ฝ่ายมนุษย์เอาไว้เกือบจะครบถ้วน
และเมื่อตัดเหล่าทวยเทพซึ่งมีบทบาทในการขับเคลื่อนเรื่อง
หรือก่อให้เกิดปมปัญหาและการคลี่ปมต่างๆ อย่างมากมายในอีเลียดทิ้ง Troy
จึงจำเป็นต้องสร้าง “แรงขับ” ให้แก่ตัวละครของเขาใหม่ เช่น ความรัก
(ปารีส+เฮเลน) ความทะเยอทะยานในชื่อเสียง (อคิลลิส) และอำนาจ (อกาเมมน่อน)
ความโกรธแค้นที่ถูกหยามเกียรติ (เมเนลอส) เหล่านี้เป็นต้น

2 ..... Troy
จัดเรียงสัมพันธภาพและบทบาทของตัวละคร (มนุษย์) ใหม่ เช่น
สัมพันธภาพระหว่างเจ้าชายเฮคเตอร์กับปารีส ซึ่งในมหากาพย์อีเลียด
ทั้งคู่มิได้เติบโตมาด้วยกัน แต่ใน Troy
กำหนดให้ทั้งคู่เป็นพี่น้องที่สนิทแน่น
โดยเฮคเตอร์เป็นฝ่ายปกป้องคุ้มครองน้องรักคนนี้มาแต่เยาว์วัย
และดูเหมือนเขาสมัครใจจะทำเช่นนั้นจนตลอดชีวิต ซึ่งในอีเลียด
สัมพันธภาพของสองเจ้าชายนี้มิได้ราบรื่นขนาดนี้
โดยปารีสมีเทพีอะโฟรไดท์คอยช่วย หรือแม้แต่บริเซอิส
หลานสาวกษัตริย์พริเอมใน Troy นั้น
ก็เป็นผลพวงมาจากการจัดความสัมพันธ์ใหม่ในเงื่อนไขใหม่ซึ่งไม่ได้ยึดตรงตาม
อีเลียด รวมถึงการกระจายบทบาท น้ำหนัก หรือการให้ความสำคัญกับตัวละครต่างๆ
ก็ย่อมต้องอยู่ในเงื่อนไขที่สร้างขึ้นใหม่ให้เหมาะกับความเป็นภาพยนตร์แนวสม
จริงด้วย

3 ..... Troy
ย่นย่อเวลาที่เกิดเรื่องใหม่ ไม่ได้ยึดเอาเวลา 10 ปี
ที่ทำการสู้รบกันแบบยืดเยื้อ
และไม่ได้ยึดการจัดเรียงลำดับเหตุการณ์อันซับซ้อนมากมายเช่นอีเลียด
ซ้ำสร้างเหตุการณ์เสริมให้แก่เรื่องเอาเองอีกมากมาย
ทั้งนี้เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงใน 2 ข้อแรก

เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว ..... การ
ติดยึดกับโครงสร้างและรายละเอียดในมหากาพย์อีเลียด
โดยไม่เปิดรับเงื่อนไขในการสร้างสรรค์ใหม่ย่อมทำให้การดูภาพยนตร์เรื่องนี้
ไม่สนุก และย่อมอึดอัดขัดใจ

Troy ไม่ใช่อีเลียด ..... แม้อีเลียดจะเล่าเรื่องทรอย แต่ Troy ก็ไม่ได้เล่าเรื่องอีเลียด Troy เล่าเรื่องของสงครามกรุงทรอยตามแนวทางของมัน!!

โดยแนวทางของมันที่ว่านั้นคือ ..... การ
เปิดเรื่องในสถานการณ์การขยายดินแดนและแสวงอำนาจเหนือดินแดนต่างๆ
ของอกาเมมน่อน โดยมีขุนศึกคนสำคัญคือ อคิลลิส ผู้เก่งกาจและห้าวหาญ
และไม่อยู่ในการบัญชาการของใคร
เพราะเขามิได้นำตัวเองเข้าสู่สงครามเพื่อกองทัพไหน แผ่นดินใด
แต่อคิลลิสประสงค์จะให้ชื่อของเขาเป็นที่โจทย์ขานไปอีกนานเท่านาน
แม้ชีพลับดับสูญ แต่ชื่ออคิลลิสต้องเป็นอมตะไปอีกร้อยปีพันปีข้างหน้า

ถัดมา ..... เรื่อง
ก็เคลื่อนเข้าสู่ขั้นตอนที่เรียกว่า ปัญหาเริ่มปรากฏ (Incitng moment)
เมื่อเจ้าชายปารีสผู้ติดสอยห้อยตามเจ้าชายเฮคเตอร์มาในฐานะผู้แทนเมืองทรอย
เพื่อกระทำสัมพันธไมตรีกับกษัตริย์เมเนลอสแห่งสปาร์ตา
ซึ่งเมืองทั้งสองเป็นคู่ปรับกันมาอย่างยาวนานนั้น
ได้ลักลอบเป็นชู้กับเฮเลนแห่งสปาร์ต้า ชายาที่เมเนลอสหวงแหนสุดชีวิต
ด้วยความสวยของนางเป็นที่เลื่องลือไปทุกแว่นแคว้น ซ้ำลักพานางหนีกลับทรอย

ต่อมา ..... เรื่อง
ก็เคลื่อนเข้าสู่ขั้น การขยายตัวของปัญหา (Development)
เมื่อเจ้าชายเฮคเตอร์ตัดสินใจปกป้องชีวิตน้อง
และพาเฮเลนกลับทรอยด้วยกันอย่างวิตกกังวล
และกษัตริย์พริเอมก็ตัดสินพระทัยให้เฮเลนแห่งสปาร์ต้า
เป็นเฮเลนแห่งทรอยตามคำอ้อนของเจ้าชายปารีส-ผู้เป็นบุตรสุดที่รักและได้รับ
การตามใจมานาน
เมเนลอสจึงไปอ้อนอกาเมมน่อนผู้เป็นพี่ชายให้ระดมสรรพกำลังจากทุกแคว้นใน
ปกครอง ยกกองทัพไปทรอยเพื่อทวงศักดิ์ศรีและสตรีเลอโฉมกลับคืน
ปัญหาขมวดปมเขม็งขึ้น เพราะอกาเมมน่อนคิดสวมรอยยึดทรอยไว้เป็นเมืองขึ้น

ระยะที่เหลือก็คือ ..... การ
ขับเคลื่อนเหตุการณ์ให้เข้าไปสู่จุดสูงสุดของเรื่อง (Climax)
นั่นคือการเผชิญหน้ากันของ 2 ขุนพลแห่งยุค คือ เจ้าชายเฮคเตอร์ กับอคิลลิส
จะเห็นว่าหนังพยายามหน่วงเรื่องด้วยการเลี่ยงมิให้สองขุนพลนี้เผชิญหน้ากัน
ในสถานการณ์วิกฤติอันจะนำไปสู่จุดแตกหัก ซ้ำส่งบริเซอิส
หลานสาวกษัตริย์พริเอมมาเคาะประตูใจของอคิลลิสให้หวั่นไหวใน
“เป้าหมายชีวิต” ไปด้วยอีก
การยั่วให้ผู้ชมเฝ้ารอจุดสูงสุดของเรื่องจึงหน่วงได้หนักและนานยิ่งขึ้น
ครั้นเพโตรคลัสผู้ญาติและผู้เป็นศิษย์ที่รักของอคิลลิสซึ่งแอบสวมชุดเกราะขอ
งอคิลลิสออกรบ แล้วปะทะกับเจ้าชายเฮคเตอร์จนเพลี่ยงพล้ำเสียชีวิตนั่นแหละ
ชนวนระเบิดจึงได้รับการจุด
และนำไปสู่จุดสูงสุดของเรื่องคือการรบกันอันเป็นตำนาน

ทรอย ..... ภาย
ใต้การนำของพระเจ้าพริเอมมีสิ่งที่เชื่อมั่นอยู่ 3 อย่าง
ซึ่งทำให้ไม่มีใครในทรอยเคยคิดมาก่อนเลยว่า ทรอยจะล่มสลายได้ นั่นคือ
ทวยเทพผู้ปกปักรักษาเมือง กำแพงอันใหญ่โตมโหฬารของเมือง
(ซึ่งเปล่งแสนยานุภาพร่วมกับพลธนูที่ยอมเยี่ยม) และเจ้าชายเฮคเตอร์
มีเพียงเจ้าชายเฮคเตอร์เท่านั้นที่รู้ชะตากรรมของเมือง
จึงได้นำชายา-อันโดรมาคี ไปดูทางหนีทีไล่
ก่อนจะออกรบในวันรุ่งขึ้นกับอคิลลิส

การปูพื้น ..... ด้วย
ท่าทีมากมายของเจ้าชายเฮคเตอร์นั้น
คือการคลี่คลายเข้าสู่จุดจบและช่วงเวลาของการยุติปมปัญหา (Denoument and
final)
ซึ่งก็หมายถึงการสิ้นพระชนม์ของพระองค์จนถึงการล่มสลายของทรอยด้วยอุบาย
“ม้าไม้” ของโอดิสซุส โดยมีอคิลลิสเข้าไปด้วยเพื่อช่วยปกป้องบริเซอิส
แต่กลับถูกเจ้าชายปารีสปลิดชีพของเขา

แม้หนัง ..... จะ
เอาแต่เน้นหนักที่ความสนุก ตื่นเต้น น่าติดตาม
กับความหล่อเหลาและเรือนกายที่กวนกาม (Sexy) ของผู้แสดง
แต่ไม่ลืมย้ำให้เห็นแรงขับในใจคนว่าเป็นตัวกำหนดเป้าหมายชีวิต
และเป้าหมายชีวิตก็จะกำหนดการกระทำหรือหนทางเดิน
และการกระทำหรือหนทางเดินก็จะนำพาไปสู่ผลลัพธ์
ซึ่งจะน่าพอใจหรือไม่ก็อยู่ที่เป้าหมายกับแรงขับซึ่งเป็นโจทย์
เป็นตัวเหนี่ยวนำและผลักดันมาสู่นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ..... เดิน
เข้าโรงหนังก็จงดูหนังให้สนุก
เรียนรู้เงื่อนไขและเส้นทางการเล่าเรื่องของหนัง
จากนั้นค่อยพิจารณาว่าแยบคาย มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ
ก่ออารมณ์สะเทือนใจหรือประทับใจให้หรือไม่ แม้จะดูโฉ่งฉ่างและฉาบฉวยไปบ้าง
แต่ในบทหนังก็ได้สร้างวาทกรรมที่ชวนขบคิดเอาไว้มากมาย
รวมไปถึงแรงขับหรือเหตุผลเบื้องกลังการกระทำของตัวละครแทบทุกตัวก็ล้วนน่า
คิด

เช่น ..... หาก
ปารีสเติบโตมาพร้อมๆ กับความรับผิดชอบเช่นเฮคเตอร์ เรื่องจะเป็นเช่นไร
หากเฮเลนไม่อยู่ในสปาร์ต้าด้วยความจำใจ เมเนลอสดูแลนางไปถึงจิตใจ
หล่อนจะคบชู้สู่ชายและนำความวิบัติมาสู่อีกบ้านเมืองหนึ่งหรือไม่
หากอคิลลิสละวางความใฝ่ฝันที่จะสร้างตำนานให้แก่ชื่อของเขาในฐานะยอดนักรบ
กลับบ้าน มามีลูกเมีย โดยที่พวกเขารักและเทิดทูนอคิลลิส
แต่จดจำอคิลลิสได้เพียงไม่กี่ชั่วรุ่นเช่นที่มารดาเขากล่าว แต่ชีวิตมีศานติ
เรื่องจะพลิกผันไปเช่นใด
หรือแม้แต่หากกษัตริย์พริเอมไม่ติดยึดกับความงมงายต่อเรื่องเทพเจ้า
ใช้หลักยุทธศาสตร์มากกว่าอิทธิปาฏิหาริย์
ม้าไม้ของโอดิสซุสย่อมไม่สามารถแทรกเข้ามาในจุดอ่อนที่ว่าได้
ทรอยจะลงเอยอย่างไร

และหากดูหนังจบแล้ว ..... เกิด
ความกระหายใคร่เรียนรู้ ก็เดินเข้าร้านหนังสือ หาอีเลียด โอดิสซีย์
หรือเกร็ดประวัติศาสตร์มหาสงครามแห่งกรุงทรอยมาอ่าน
ในร้านหนังสือก็มีอยู่หลายเล่ม และเชื่อว่าปัญญาความรู้ รสนิยม อารมณ์
คงได้รับโอกาสในการพัฒนาขึ้น



Troy สงครามเพื่อความรัก .. โง่ๆ ..!!

คงจะเคยได้ยินกันมาบ้าง ..... กับคํากล่าวที่ว่า ความรักและความโลภทําให้คนยอมทําทุกอย่าง และเมื่อได้ดู Troy มาแล้วก็คิดได้ทันทีว่า มัน ใช่เลย!

เพราะ ..... เหตุการณ์
ที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นเมื่อ 3,200
ปีก่อนอย่างมหาสงครามเมืองทรอยกับเมืองสปาร์ตาอันก่อให้เกิดชนชาติกรีกและ
โรมันในเวลาต่อมานั้น เกิดมาจากชนวนเหตุแค่ ความรัก .. ทำให้คนตาบอด ..
ระหว่าง ปารีส เจ้าชายองค์เล็กแห่งเมืองทรอยผู้รูปงามปากหวานกับ เฮเลน
หญิงที่งามที่สุดในโลก .. สมัยนั้น .. ซึ่งบังเอิญเจ๊แกก็เป็นสุดที่รักของ
เมเนลิอุส .. เมเนเล้าส์ .. น้องชายผู้เก่งกาจของ อกาเม็มนอน
กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งเมืองไมซีนีผู้ครอบครองดินแดนกรีกอันกว้างใหญ่เสีย
ด้วย แถมเจ้าชายมาทีหลังยังไม่ยอมแพ้ ไปฉุดเอาเมียเขาไปหน้าตาเฉย
แล้วสามีที่ไหนเขาจะยอมให้เมียไประเริงชู้รักกันเล่า
เลยเกิดการตามล่าด้วยความแค้นจนกลายมาเป็นสงคราม
กลายเป็นตำนานที่ถูกสานต่อเป็นหนังใหญ่ไปเรียบร้อยในวันนี้

ก่อนอื่นคงต้อง ..... ขอมอบ
ความดีความชอบให้ วูล์ฟแกง ปีเตอร์เซ่น เสียหน่อย
เพราะใจกล้าเหลือเกินที่หยิบเอาบทประพันธ์ระดับตำนานอย่าง อีเลียต
ของโฮเมอร์ ที่คนชื่นชมกันมานับสองพันปี มาปัดฝุ่นทำใหม่อีกครั้ง หลังจาก
จอห์น เค้นต์ แฮร์ริสัน
เคยขนต้นฉบับมาทำฉายทางทีวีและโดนยำเละไปเมื่อปีที่แล้วว่าทำให้พระเอกดู
เก่งแบบเห่ย ๆ คือ คนเก่งจับคู่สู้กัน กระโดดเหยง ๆ แล้วคนหนึ่งก็ตาย
ไม่ได้เห็นความเก่งกาจอะไรมากนักประมาณนั้น

อย่างไรก็ตาม ..... หน
นี้ตัวหนังเองก็ไม่ถึงกับเรียกได้ว่าสุดยอด อย่างที่สาวกโฮเมอร์คิดไว้
แต่ก็ถือว่าโอเคกับการตั้งหน้าตั้งตารอดูมหากาพย์ภาพสวย รวยหนุ่มหล่อ
และสาวสวย พ่วงด้วยเรื่องปรัชญาชีวิตอันเกี่ยวพันถึง ความ
ทั้งหลายรูปแบบของมนุษย์ อาทิ ความโลภที่มาพร้อมกับความโง่ที่มาติด ๆ
ด้วยความบรรลัย ของกษัตริย์ผู้รักในอำนาจของตัวเองอย่าง อกาเม็มนอน
ความหลงในรูป
ความเห็นแก่ตัวอันเป็นต้นเหตุให้เกิดความหายนะของเจ้าชายรูปงามอย่างปารีส
ความเศร้าที่ผลักดันจนกลายเป็นความกล้าของบิดาผู้สูญเสียลูกชายอย่าง เปรียม
กษัตริย์ชราแห่งเมืองทรอย รวมทั้งความทะเยอทะยานอยากเป็นที่จดจำ
และความยิ่งยโสอันก่อให้เกิดความสลดจนกลายเป็นความแค้น ของ อะคิลิส
ซึ่งจะเห็นได้ว่าทั้งหลายทั้งปวงล้วนมีต้นกำเนิดมาจากเจ้า ความรัก ทั้งสิ้น

และ ..... เมื่อ
ทีเด็ดของตัวเรื่องอยู่ที่เรื่องวุ่น ๆ จากความรัก ทีเด็ดของหนัง
งานนี้เลยต้องยกนิ้วโป้งให้ อะคิพิตต์ ...เอ๊ย อะคิลิส
หนุ่มกล้ามงามผู้เป็นจุดขายของเรื่องตัวจริงเสียงจริง
เพราะไม่ว่าจะด้วยลีลาการรบที่เหมือนจะเต้นไปรบไป บทพูดแบบเท่ๆ
หรือจะเป็นบทรัก บทแค้นที่ต้องแสดงอารมณ์เน้น ๆ หนุ่ม แบรด พิตต์
แกเล่นได้แจ่มแจ๋วดีจริง ๆ ทั้งยังโชว์ข้างก้น โชว์ช่วงหน้า ซะจน
ช่างคุ้มตาสาว ๆ แถมกล้องก็จับแล้วจับอีก ซูมแล้วซูมอีก
เรียกว่าขึ้นหน้าจอเยอะกว่าคนอื่นเสียจน คุ้มกับค่าตัว 17.5
ล้านเหรียญเสียเหลือเกินด้วย

ขณะที่คนอื่นๆ ..... ก็
หล่อล่ำไม่แพ้กัน ทั้ง ออร์แลนโด บลูม
ที่หล่อแบบใจไม่ด้านพอกับบทเจ้าชายปารีส เอริก บาน่า
ที่หล่อเข้มกับบทเจ้าชายเฮกเตอร์ หรือแม้แต่ หนุ่มน้อยม้าเร็ว จาค็อบ สมิธ
ที่มาส่งข่าวให้อะคิลิสตอนต้นเรื่อง และแฟรงกี้ ฟิตซ์เจอรัลด์
บบทหนุ่มเอเนสที่มาจากไหนไม่รู้แต่ได้ดาบแห่งเมืองทรอยไปซะเฉย ๆ
ในช่วงหลังก็ทำเอา
สาวน้อยสาวใหญ่และสาวไม่ใช่สาวกรี๊ดกร๊าดหลังหนังจบกันใหญ่
ส่วนสาวที่สวยสุดในซอย เอ๊ย ทรอยอย่าง เฮเลน ฉบับ ไดแอน ครูเกอร์ นั้น
แม้จะดูงามกว่าในโปสเตอร์ แต่ดูเหมือน โรส เบิร์น สาวน้อยใส ๆ ผู้รับบท
ไบรเซอีส หวานใจของอะคิลิส จะดูน่ารักกว่าแยะทีเดียว

ส่วนความตื่นเต้นของหนัง ..... ก็
มีแบบหอมปากหอมคอ
เพราะฉากรบที่จะดูคล้ายมหากาพย์หนังแหวนสามภาคผสมกับบางระจันบ้านเราไปเสีย
หน่อย ก็ทั้งยิง ตี พุ่ง ฟัน แทงกันทะลุจอ มีให้ตกใจ เสียวไส้กันอยู่เรื่อย
.. สังเกตจากอาการสะดุ้งของคนรอบข้าง .. ขณะที่ฉากตายเดี่ยวเด่น ๆ
ที่มาเป็นระลอก รอบแรกการจากไปของสามีผู้ถูกสวมเขาอย่าง เมเนเล้าส์ ..
เบรนแดน กลีสัน .. รอบสองฉากถูกเชือดของนักรบสมัครเล่นอย่าง พาโตรคัส ..
การ์เร็ต เอ็ดลันด์ .. และรอบสามฉากดวลจนตัวตายของนักรบมืออาชีพอย่าง
เจ้าชายเฮกเตอร์ ก็ชวนให้อึ้งอยู่พอควร

และส่วนที่โดนใจสุดๆ ..... คง
หนีไม่พ้นฉากที่กษัตริย์ เปรียม แห่งทรอยที่ทั้งแก่และงอม
แต่ด้วยความรักอย่างสุดซึ้งที่พ่อมีต่อลูก
แกก็อุตส่าห์พาเอาตาบวมเป่งแอบย่องไปขอศพลูกชายคนโตคืนจาก อะคิลิส
ถึงในค่ายของศัตรู ฉากนี้ทั้งสีหน้าท่าทางที่ชวนน้ำตาปริ่มสุด ๆ ของ
ปีเตอร์ โอทูล
บวกกับบทพูดที่เศร้ากินใจอันเกิดจากความรู้สึกอาลัยในตัวลูกชาย
ขณะที่ฝ่ายศัตรูอย่างพิตต์ ก็ยังไม่หายแค้น
ไม่อยากคืนร่างผู้ที่มาพรากบุคคลอันเป็นที่รักยิ่งไป แต่ก็ต้องลำบากใจ
เพราะรู้สึกชื่นชมในความรักที่ทำให้กษัตริย์แห่งเมืองที่ได้ชื่อว่าแข็ง
แกร่งที่สุด ยอมเสี่ยงเพื่อขอศพลูกชายคืน
ความรักของพ่อลูกกับความรักระหว่างญาติ .. แค่นั้นรึเปล่า ..
ทำเอาหลายคนแอบปาดน้ำตาตามจอมทัพผู้เกรียงไกรจากเมืองเมอร์มิดอนเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม ..... หาก
ใครได้อ่าน อีเลียต ของโฮเมอร์ที่ปีเตอร์เซ่นใช้เป็นต้นแบบมาแล้ว
จะเห็นได้ว่า ความน่าตื่นเต้นที่ไล่ไปตามตัวหนังสือ
ไล่ไปตามอิทธิฤทธิ์ของเหล่าเทพที่ปรากฏให้เห็นในจินตนาการยามกางหนังสืออ่าน
นั้น ให้ความรู้สึกสนุก น่าตื่นเต้นมากกว่าการนั่งดูหนังเรื่องนี้เยอะ
เพราะเท่าที่เห็นหนังให้ความตื่นตาตื่นใจได้แค่ฉากแสดงความยิ่งใหญ่ของกอง
ทัพผู้ร่วมรบชาวกรีกที่มากับเรือร่วมพันลำ
และม้าไม้ที่ทิ้งไว้เป็นของขวัญชั่วคราวเท่านั้นเอง

อีกอย่างนะ ..... และ
หลาย ๆ คน .. คิดว่าหนังเรื่องนี้น่าจะได้ชื่อ Achilles .. อะคิลิส ..
มากกว่า เพราะพี่ผู้กํากับ
เล่นให้บทเด่นไปอยู่กับพ่อหนุ่มพิตต์เจ้าของบทนี้เสียหมดเลย
ขณะที่เฮเลนคนงามของปารีสผู้จุดประกายสงครามทำลายเมืองทรอยนั้น
ถูกลดความสําคัญลงไปดื้อ ๆ เรียกได้ว่าแทบหายไปจากความทรงจําเลยด้วยซ้ำ
ทั้งที่จริง ๆ แล้วเธอน่าจะมีบทบาท
พูดให้กําลังใจและออกความเห็นในการรบบ้างตามตํานานเค้าว่าไว้ ขนาด
หนูไบรเซอีส สาวพรหมจรรย์ .. ที่ไม่พรหมจรรย์ .. และคุณแม่มาดเข้ม
อันโดรมาคี ชายาของเฮกเตอร์ ยังดูมีบทบาทมากกว่าเสียอีก

และที่ขาดไม่ได้ ..... ออร์
แลนโด บลูม เจ้าชายปารีสผู้เห็นแก่ตัว งานนี้หมดกันกับมาดแมน .. บางมุม ..
จากหนังแหวนครองพิภพ Lord of the Rings
เมื่อมารับบทเจ้าชายน้อยที่ค่อนข้างจะหน่อมแน้ม อ่อนต่อโลก
รักตัวกลัวตัวเองตายจากการกระดึ๊บ ๆ
ไปกอดแข้งกอดขาอ้อนวอนผู้พี่ให้มาช่วยเหลือในการดวลเดี่ยวที่ตัวเองท้าเอง
ด้วยซ้ำ แถมเป็นเจ้าชายเมืองทรอยอยู่ดี ๆ
ยังแปลงร่างเป็นเอล์ฟซะครึ่งเรื่องอีกด้วย ทำเอาวัยรุ่นเซ็งตงิด ๆ
กับการฉายซ้ำหนนี้ด้วย

อีกส่วนที่ไม่อาจลืมไปได้ ..... ก็
คือผู้กำกับ .. อีกแล้ว .. หนนี้ วูล์ฟแกง ปีเตอร์เซ่น ยังเดินเรื่องเอื่อย
ๆ แพนกล้องช้า ๆ ค่อย ๆ ไล่ไล้ตามเรือผู้มาเยือนเสียจน
ว่าอาจลดความยาวของหนังลงได้อีกสักสิบห้านาทีเลยทีเดียวหากจะแพนให้มันเร็ว
ขึ้นสักหน่อย และขอบอกว่า มันจบได้ไม่ประทับใจโจ๋เลย
เห็นแล้วทําให้เกิดความภูมิใจในหนังไทยเลยว่า สุริโยไท จบยังไง ...Troy
ก็จบได้ไม่ต่างกัน ...เฮ้อ!

แต่ก็เอาเถอะ ..... พลาด
ไปหน่อยก็อภัยให้ได้ เพราะหนังก็ยังมีความดีอยู่อีกเยอะ และ
ว่าคุณเองไม่น่าปฎิเสธให้หนังเรื่องนี้ผ่านไปโดยที่ไม่จูงใครซักคนเข้าไปดู
ด้วยและจะขอทิ้งท้ายด้วยคําคมที่ได้จากหนังฟรีเรื่องนี้หน่อยแล้วกัน

จงอยู่เพื่อศรัทธา .....

จงอยู่เพื่อความรัก .. และจงอยู่เพื่อความภักดีต่อแผ่นดิน .. มิใช่เพื่อคนรัก .. นะ


สำหรับเรื่องทางเทพนิยายคือ

นางไม้องค์หนึ่งไม่ได้รับเชิญไปงานเลี้ยงชุมนุมเทวดาบนเขาโอลิมปุส จึงเสก Golden Apple สลักว่า

"แต่เทพธิดาที่สวยที่สุดบนสวรรค์"


3 Powerful Goddess แห่งสวรรค์ คือ

Juno เมีย Zeus เจ้าสวรรค์ เป็น God of Power

อธีนา ลูก Zeus เป็น เจ้าแห่งปัญญา

วีนัส ลูก Zeus เป็น เจ้าแห่งความงาม

ต่างแย่งกันเป็นเจ้าของ

ในที่สุดจึงลงไปให้เจ้าชายปารีส ตัดสิน

ต่างคนต่างให้สินบนกันใหญ่ คือ อำนาจ ปัญญา และ ผู้หญิง

เจ้าชายปารีสเลือกผู้หญิงจึงให้ วินัสชนะ

วีนัสก็ไปขโมย เฮเลน มาให้ จึงเกิดเป็นสงครามขึ้นมา


เรื่อง Troy อยู่ในมหากาพย์ Iliad เขียนโดย กวีโฮเมอร์ ผู้ตาบอด

และมหากาพย์หลังสงครามเกี่ยวกับการกลับบ้านของเหล่าอัศวิน คือ มหากาพย์ Odyssey


ทรากที่เชื่อว่าคือเมือง Troy ถูกพบที่ตุรกีเมื่อ พ.ศ. 2388


เกร็ด:

Trojan horse หรือม้าไม้แห่งเมืองทรอย ถูกใช้ในคอมพิวเตอร์
เมื่อมีการสร้างไฟล์ล่อหลอกให้คน Download ไปลอง และทำการทำลายข้อมูล หรือ
ทำสิ่งแปลกๆบนเครื่องของผู้ใช้ (มีมาก่อนไวรัสคอมพิวเตอร์ หลายปี)


ดูมาแล้ว


เกลียดสงครามมากขึ้นครับ ไม่ว่า อคิลลิสที่จะเป็นนักรบที่เก่งกาจ
และไม่ยึดต่อสิ่งใด เมื่อมีความโกรธ ก็ทำให้เกิดผลเสียได้ เรื่องนี้
มีทั้งความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง และการพลัดพราก


ประเด็นหลักคือ สงคราม ไม่ว่า จะด้วยสาเหตุใด เช่น จากการที่ถูกแย่งของรัก
ต้องการอำนาจ อาณาเขต ก็ทำให้เกิดความสูญเสีย ในสงคราม ผู้ชายที่ไปสงคราม
ก็คือ พ่อ พี่ชาย น้องชาย ลูก หรือ สามี ของคนที่อยู่ในแนวหลัง และ
เขาเหล่านั้น ก็ถูกส่งให้ไปตาย โดยไม่ใช่เรื่องที่ตัวเองก่อ


มันเป็นความละโมบ ของคน ไม่กี่คนเท่านั้นเอง


ใช้อดีต เตือนสติเราเอง


ขอให้มีสันติภาพ เกิดขึ้นในโลกนี้โดยเร็ว


ขอพรสามประการ

ขอให้เสียงปืน ระเบิด เปลี่ยนเป็นเสียงเพลง และ เสียงหัวเราะ

ขอให้อาวุธ เปลี่ยนเป็น อาหาร สำหรับทุกคน

ขอให้ความอาฆาตแค้น เป็นเป็น มิตรภาพ สำหรับทุกคน


โลกของเราจะน่าอยู่ยิ่งขึ้น








Create Date : 22 สิงหาคม 2554
Last Update : 22 สิงหาคม 2554 17:52:19 น. 0 comments
Counter : 3025 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 
 

tech_loso
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add tech_loso's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com