บันเทิง คลิป ตลก ฮา สนุก พอจะมีสาระ
 
การขยายพันธุ์นกแสก






พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในภาคใต้ของประเทศในปัจจุบัน มีประมาณ 1.7 ล้านไร่
ในอนาคตพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันจะเพิ่มขึ้นอีกมาก
จากนโยบายของรัฐที่ต้องการเพิ่มพื้นที่ปลูกปาล์มให้ได้ถึง 3 ล้านไร่
ในขณะที่ปัญหาต้นทุนการผลิตปาล์มน้ำมันของไทยสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน
ผู้ปลูกปาล์มน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก คือ มาเลเซีย
ซึ่งมีต้นทุนการผลิตผลปาล์มสดกิโลกรัมละประมาณ 1.00 บาท
แต่ของไทยต้นทุนประมาณกิโลกรัมละ 1.52 บาท
พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ปลูกส่วนหนึ่งเป็นพันธุ์ให้ผลผลิตต่ำ
ประกอบกับบางส่วนปลูกในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม
ทำให้ผลผลิตต่อไร่ของปาล์มสดของประเทศไทยได้เพียง 2.807 ตัน/ไร่/ปี
ขณะที่ของประเทศมาเลเซียได้ถึง 3.017 ตัน/ไร่/ปี


ปัญหาที่สำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ผลผลิตต่อไร่ของปาล์มน้ำมันของประเทศไทย ต่ำ คือ ความเสียหายจากการกัดทำลายของหนูศัตรูพืช มี
การสำรวจพบว่าเสียหายร้อยละ 6-36 คิดเป็นมูลค่าของผลผลิตปาล์มสดมากกว่าปีละ
580 ล้านบาท
ความเสียหายต่อผลผลิตต่อไร่ของปาล์มน้ำมันที่เกิดจากหนูศัตรูพืชเห็นได้
ชัดเจน และมีปริมาณมากกว่าศัตรูพืชชนิดอื่นๆ
แม้ว่าเกษตรกรส่วนใหญ่จะแก้ไขปัญหา
โดยใช้สารเคมีกำจัดหนูควบคุมปริมาณหนูในสวนปาล์มอย่างต่อเนื่อง
ก็ยังไม่สามารถลดความเสียหายของผลผลิต และไม่สามารถลดความเสียหายของผลผลิต
และไม่สามารถลดค่าสารกำจัดหนู รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการป้องกันกำจัด
เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันบางส่วนจึงไม่ทำการกำจัดหนู
เนื่องจากไม่คุ้มทุนและไม่ได้ผล และปล่อยให้หนูกินผลผลิตปาล์มน้ำมัน
โดยไม่ดำเนินการใดๆ เหลือผลผลิตจากหนูกินเท่าใดก็เอาเท่านั้น
ถือเป็นความสูญเสียต่อปริมาณผลผลิตและคุณภาพของวัตถุดิบ
ที่จะส่งเข้าโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มอย่างมาก


เพื่อให้เกษตรกรมีทางเลือกในการแก้ไขปัญหาหนูศัตรูปาล์มน้ำมัน จึงได้นำกรณีตัวอย่างของเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันโดยนกแสก (Tyto alba)
โดยการสร้างรังไว้ในสวนปาล์มเพื่อชักนำให้นกแสกเข้ามาอาศัย
และขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนประชากรขึ้นเรื่อยๆ
จนสามารถควบคุมประชากรหนูไม่ให้มีมากจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตอย่าง
รุนแรงได้
แม้ว่าในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศมาเลเซียจะมีนกแสกอยู่ค่อนข้างน้อย
เนื่องจากอยู่ใกล้บริเวณที่เรียกว่า “the intervening equatorial zone”
ซึ่งไม่พบนกแสกอาศัยอยู่ มีรายงานพบนกแสกเพียงครั้งเดียวบนเกาะสุมาตรา


ปี พ.ศ.2532
สถาบันวิจัยปาล์มน้ำมันของมาเลเซีย (PORIM)
สำรวจพบว่าสวนปาล์มน้ำมันในมาเลเซีย จำนวน 188 สวน จากทั้งหมด 2,412 สวน
ใช้วิธีการควบคุมหนูในสวนปาล์มโดยใช้นกแสก
เกษตรกรส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดหนูที่เห็นอันตรายต่อนกแสก
และใช้วิธีการป้องกันกำจัดหนูหลายๆ วิธีผสมผสานกัน
การใช้นกแสกควบคุมหนูในสวนปาล์มมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ



นกแสกเป็นนกประจำถิ่นของประเทศไทย
พบบ่อยและมีปริมาณปานกลางทั่วทุกภาคของประเทศ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
สถานภาพในปัจจุบันจำนวนนกแสกอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วง
เนื่องจากประชากรลดน้อยลงมาก จากสาเหตุ 3 ประการ คือ
ถูกล่าเพราะถูกเกลียดชังว่าเป็นนกผี
ขาดแคลนต้นไม้ใหญ่ที่มีโพรงสำหรับทำรังวางไข่ในฤดูผสมพันธุ์
รวมทั้งโบสถ์วิหารเก่าๆ
ตามวัดวาอารามที่นกแสกเคยใช้เป็นที่อยู่อาศัยถูกรื้อถอนเพื่อสร้างโบสถ์ใหม่
และนกแสกส่วนหนึ่งตายไปเนื่องจากกินหนูที่ถูกวางยาเบื่อตามไร่นา


มีการศึกษาวิจัย
พบว่าอาหารที่นกแสกในสวนปาล์มน้ำมันทั้งในประเทศมาเลเซียและในประเทศไทย
เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ คือหนูที่กัดทำลายผลผลิตปาล์มน้ำมัน
โดยเป็นสกุลหนูท้องขาว (Rattus spp.) ประเมินกันว่านกแสก 1
ตัวสามารถกำจัดหนูที่เป็นศัตรูปาล์มน้ำมันได้ประมาณ 700 ตัว/ปี
ซึ่งหนูจำนวนนี้ถ้าหากทำการกำจัดด้วยวิธีใช้สารเคมีประเภทออกฤทธิ์ช้าแบบ
ก้อนขี้ผึ้งสำเร็จรูป รวมกับค่าจ้างคนงานวางยาเบื่อหนู จะมีต้นทุนประมาณ
500 บาท นี่คือมูลค่าของนกแสก 1 ตัว/ปี ถ้าลงทุนสร้างรังให้นกแสกรังละ
1,000 บาท นกแสกมีอายุขันประมาณ 4 ปี สามารถคืนทุนค่าสร้างรังภายใน 2 ปี
และมีกำไรอีกในช่วง 2 ปีที่เหลือของอายุขัย
ในขณะเดียวกันในแต่ละปีนกหนึ่งคู่สามารถสืบพันธุ์ให้ลูกในอัตราเฉลี่ย 3.1 +
2.2 ตัว/คู่/ปี ลูกนกที่เกิดขึ้นมาสามารถจับคู่ผสมพันธุ์ได้ภายใน 1 ปี
ดังนั้น การเพิ่มจำนวนประชากรของนกแสกจึงเป็นลักษณะทวีคูณ ซึ่งจะช้าในช่วง 3
ปีแรก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรพ่อ-แม่นก ในช่วงเริ่มต้น



จากผลการศึกษาที่ได้ดำเนินการที่สวนปาล์มที่ จ.สุราษฎร์ธานี
ซึ่งเริ่มต้นจากพ่อ-แม่นกในธรรมชาติที่มีอยู่น้อยมาก
(ไม่พบนกในสวนปาล์มในระยะแรกเริ่ม
เนื่องจากนกแสกตายจากการกินหนูที่กินยาเบื่อหนู) การสร้างรังให้นกแสกในช่วง
4 ปีแรกมีจำนวนไม่มากนัก (ประมาณ 15 รัง)
ทำให้อัตราการเพิ่มประชากรนกแสกในช่วงแรกค่อนข้างช้า ต่อมาในช่วง 2 ปีหลัง
ได้เพิ่มจำนวนรังนกเป็น 154 รัง ประชากรนกแสกจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ประเมินจำนวนประชากรนกแสกหลังฤดูการจับคู่ผสมพันธ์ปี 2545/2546 ได้ประมาณ
300 ตัว และในฤดูการผสมพันธุ์ปี 2546/2547
ที่ผ่านมาจำนวนประชากรนกแสกคาดว่าจะเพิ่มเป็น 700 ตัว
ซึงนกแสกจำนวนนี้สามารถกำจัดหนูที่กัดทำลายผลผลิตปาล์มน้ำมันได้ประมาณ
210,000 ตัว/ปี และ 490,000 ตัว/ปี ตามลำดับ
จาการสำรวจร่องรอยการกัดทำลายของหนูบนทลายปาล์มสดที่ตัดลงมารวมกองไว้
พบร่องรอยการกัดทำลายน้อยมาก
โดยที่เจ้าของสวนไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีกำจัดหนูเลย


กรณีตัวอย่างดังกล่าว
น่าจะเป็นแนวทางการควบคุมประชากรหนูในสวนปาล์มน้ำมันขนาดใหญ่
ที่สามารถลดค่าใช้จ่าย และลดความเสียหายของผลผลิตปาล์มน้ำมันอย่างได้ผล
ซึ่งจะเป็นผลดีในระยะยาวในการประกอบการ
ซึ่งหน่วยงานทางราชการที่เกี่ยวข้องน่าจะนำโครงการใช้นกแสกศัตรูธรรมชาติควบ
คุมหนูศัตรูปาล์มน้ำมันมาขยายผล
และใช้เป็นต้นแบบเพื่อปรับปรุงขยายผลไปสู่พื้นที่เพาะปลูกพืชอื่นๆ
ที่ประสบปัญหาจากหนูศัตรูพืช เช่นนาข้าวและพืชไร่
โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทางวิชาการ และเปรียบเทียบต้นทุน
ข้อดี-ข้อเสียกับวิธรการกำจัดหนู โดยใช้สารเคมีแบบเดิมๆ ของเกษตรกร


โดย : เกรียงศักดิ์ หามะฤทธิ์ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร







Create Date : 07 กันยายน 2554
Last Update : 7 กันยายน 2554 11:50:08 น. 0 comments
Counter : 849 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 
 

tech_loso
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add tech_loso's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com