วิตามินซี (Vitamin C)

วิตามินซี คืออะไร
ประวัติการค้นพบ วิตามินซี เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่สมัย ศตวรรษที่ 18 มีการสังเกตว่าพวกทหารเรือที่มีการรอนแรมออกเดินเรือไปในทะเลเป็นเวลานานๆ ซึ่งมักจะขาดแคลนพวกผักสดผลไม้สด จะป่วยเป็นโรคลักปิดลักเปิด และสุขภาพไม่ค่อยดี มีอาการอ่อนเพลีย อยู่บ่อยๆ แต่ก็มีคนสังเกตเห็นว่าจะไม่พบอาการดังกล่าวในทหารเรือที่รับประทานมะนาวเป็นประจำ
และเมื่อต่อมาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก้าวหน้ามากขึ้น ในปี 1982 ก็สามารถหาสารอาหารสำคัญที่เป็นต้นเหตุของโรคดังกล่าวได้ว่าสารที่พวกทหารเรือขาดไปคือ “กรดแอสคอร์บิค (Ascorbic acid)” ซึ่งมันมีฤทธิ์สามารถช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิดได้ ในปัจจุบัน กรดแอสคอร์บิค ก็ถูกรู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อของ “วิตามินซี”
และมีนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งซึ่งเคยได้รับรางวัลโนเบลถึง 2ครั้ง และมีอายุยืนยาวมากกว่า 90 ปีแม้จะป่วยเป็นโรค มะเร็ง มายาวนานถึง 20 ปีก็ตามคือ Dr.Linus Pauling ชาวเมืองพอรต์แลนด์ ได้เคยพูดไว้ว่า เหตุที่เขาสามารถมีสุขภาพดีและสามารถชะลอการลุกลามของโรค มะเร็ง ในตัวได้นานกว่า 20 ปี ก็เนื่องจาก วิตามิน และ เกลือแร่ ที่เขารับประทานเข้าไป
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิตามินซี ซึ่งหลังจากที่เขารับประทานขนาดสูงทุกวัน เขาก็ไม่เคยเป็นหวัดอีกเลย Dr.Linus Pauling เริ่มรับประทาน วิตามินซี ชนิดเม็ดตั้งแต่อายุ 40 ปี และเพิ่มขนาดสูงถึง 18,000 มิลลิกรัม เมื่อรู้ว่าตนเองเป็น มะเร็ง ตั้งแต่อายุได้ 64 ปี เขายืนยันว่ามันช่วยให้ มะเร็ง ในร่างกายสงบลง

ประโยชน์ของ วิตามินซี
เราทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่า วิตามินซี มีประโยชน์มากมากหลายอย่าง ไม่ว่าจะช่วยปกป้องเซล เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สุขภาพและความแข็งแรงของเนื้อเยื่อในร่างกายที่เกี่ยวข้องกับ เส้นเอ็น และคอลลาเจน ก็มีผลมาจากปริมาณ วิตามินซี ในร่างกาย และ วิตามินซี ยังมีฤทธิ์ในการเป็นสารแอนตี้อ๊อกซิแดนท์ที่ดี
จึงสามารถป้องกันการทำลายเซลจากอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี และมันช่วยให้ร่างกายสามารถรีไซเคิลสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่นๆ ดังนั้นเพื่อประโยชน์สูงสุดจึงควรที่จะรับประทาน วิตามินซี ร่วมกับสารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่นๆ เช่น วิตามินอี แคโรทีน ฟลาโวนอย เป็นต้น

นอกจากนี้ วิตามินซี ยังมีประโยชน์ด้านอื่นๆ อีก คือ
• วิตามินซี ช่วยบรรเทาความรุนแรงและระยะเวลาของการเป็นโรคหวัด หากเริ่มรับประทาน วิตามินซี ตั้งแต่เริ่มแรกที่เห็นอาการของโรคหวัด จะช่วยให้อาการป่วยลดความรุนแรงและหายได้เร็วขึ้น มีการศึกษาเมื่อปี 1995 พบว่าหากรับประทาน วิตามินซี 1,000 ถึง 6,000 มิลลิกรัมต่อวันตั้งแต่เริ่มมีอาการของโรคหวัด จะช่วยให้หายได้เร็วขึ้น 21% แต่ก็ยังไม่มีรายงานว่า วิตามินซ๊สามารถช่วยป้องกันโรคหวัดได้

• วิตามินซี ช่วยให้แผลหายได้เร็วขึ้น เนื่องจาก วิตามินซี ช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมและรักษาตัวเองโดยการไปเสริมสร้างผนังเซล ทำให้เส้นเลือดฝอยแข็งแรง และต่อต้านอาการอักเสบ จึงทำให้แผลหายได้เร็วขึ้น ในทางกลับกันการขาด วิตามินซี ก็สงผลให้แผลให้ได้ช้าลงเช่นกัน

• หากรับประทาน วิตามินซี เป็นประจำทุกวัน มันจะช่วยให้เหงือกมีสุขภาพแข็งแรง โดย วิตามินซี จะไปช่วยรักษาเซลที่ถูกทำลายและช่วยให้แผลที่เหงือกหายเร็ว

• เพิ่มความต้านทานต่อ โรคหัวใจ โดยการไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมระดับ คลอเรสเตอรอล ในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรับประทานร่วมกับ วิตามินอี โดยมันจะไปลดการเกาะตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด

• เนื่องจาก วิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี มันจึงอาจจะช่วยในการป้องกันและต่อสู้กับโรค มะเร็ง ได้ มีการศึกษาอย่างมากในเรื่องนี้แต่ก็ยังไม่ข้อสรุปที่ชัดเจน โดยยังมีการถกเถียงกันอย่างมากเกี่ยว วิตามินซี กับการป้องกันและต่อสู้กับโรค มะเร็ง

• ช่วยในการป้องกันโรคต้อกระจก เนื่องจาก วิตามินซี สามารถช่วยปกป้องเลนส์ตาจากอันตรายต่างๆ เช่น ควันบุหรี่ แสงอุลตร้าไวโอเลต ที่เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดโรคต้อกระจก มีการศึกษาอันหนึ่งพบว่าผู้หญิงที่รับประทานวิตามินซีมาอย่างน้อย 10 ปี พบว่ามีความเสี่ยงที่จะมีอาการเลนส์ตาขุ่นมัวซึ่งเป็นอาการเริ่มแรกของโรคต้อกระจก ลดลงถึง 77%

• บรรเทาอาการแพ้ หอบหืด ไซนัส ทั้งนี้เนื่องจากโดยธรรมชาติแล้ว วิตามินซี มีคุณสมบัติเป็นสารต่อต้านภูมิแพ้ต่างๆ เช่น ฝุ่นละออง เกษรดอกไม้ ซึ่งอาการแพ้เหล่านี้ก็เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของโรคไซนัส นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่า วิตามินซี ช่วยป้องกันและทำให้อาการหอบหืดดีขึ้น

• ช่วยป้องกันอาการไมเกรน เมื่อรับประทานร่วมกับ pantothenic acid โดย วิตามินซี จะไปช่วยร่างกายในการต่อสู้กับความเครียดได้ดีขึ้น

• ช่วยเรื่องความจำ โดย วิตามินซี จะไปช่วยรักษาสภาพของเซลประสาทและจะได้ผลดียิ่งขึ้นหากรับประทานร่วมกับอาหารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่นๆ เช่น วิตามินอี แคโรทีน กิงโกะไบโลบ้า และโคเอนไซม์ Q10

ขนาดที่รับประทาน
ในสภาวะปกติปริมาณที่แนะนำให้รับประทานคือ 60 มิลลิกรัมต่อวัน (แต่ในคนที่สูบบุหรี่ 200 มิลลิกรัมต่อวัน) อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารเสริมสุขภาพได้แนะนำว่าเพื่อประสิทธิภาพที่ดีต่อสุขภาพควรจะต้องรับประทานอย่างน้อย 100-200 มิลลิกรัมต่อวัน คนที่มีความเครียดควรรับประทานวันละ 500 มิลลิกรัมต่อวัน แต่หากต้องการผลในด้านการป้งกันโรคต่างๆ เช่น
มะเร็ง ความชรา ควรจะรับประทาน 250 – 1,000 มิลลิกรัม

หากเราได้รับ วิตามินซี น้อยกว่าที่ร่างกายควรจะได้รับ ก็จะเกิดลักปิดลักเปิด ซึ่งจะยิ่งรุนแรงมากขึ้นหากขาดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานและไม่ต้องกังวัลว่าจะได้รับมากเกินไป เนื่องจาก วิตามินซี สามารถละลายน้ำได้ดี หากร่างกายไม่ได้ใช้ก็จะมีการขับออกมาได้ทางปัสสาวะ อีกทั้งยังไม่เคยมีรายงานเกี่ยวกับพิษที่เกิดจากการรับประทาน วิตามินซี
แม้จะรับประทานในปริมาณที่สูงกว่า 6,000 - 18,000 มิลลิกรัม

ข้อปฏิบัติในการรับประทานเพื่อประโยชน์สูงสุด
• เพื่อให้ได้ผลดีที่สุดควรพิจารณารับประทานร่วมกับสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่นๆ เช่น วิตามินอี ฟลาโวนอย จะไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ วิตามินซี

• เพื่อสุขภาพทั่วไป ควรรับประทานอย่างน้อย 500 มิลลิกรัมต่อวัน

• สำหรับการรับประทานเพื่อการรักษาหรือการป้องกัน ควรรับประทาน 1,000 – 6,000 มิลลิกรัม ขึ้นกับโรคแต่ละชนิด

• การรับประทานไม่จำเป็นต้องรับประทานในครั้งเดียวต่อวัน สามารถแบ่งรับประทานเป็นหลายๆ ครั้งต่อวัน

• การรับประทาน วิตามินซี ไม่จำเป็นต้องรับประทานพร้อมอาหาร หรือทานอาหารก่อนการรับประทาน

• ยังไม่มีรายงานว่า วิตามินซี ชนิดพิเศษพวก Esterifies วิตามินซี จะให้ผลดีกว่าวิตามินซีแบบธรรมดา

ข้อควรระวัง
• การรับประทานในปริมาณสูงๆ อาจจะมีผลต่อการดูดซึมแร่ธาตุอื่นๆ เช่น Copper Selenium

• การรับประทานในปริมาณสูงๆ อาจจะมีผลต่อการผิดพลาดของผลตรวจระดับน้ำตาลในปัสสาวะได้

• วิตามินซี ทำให้การดูดซึมธาตุเหล็กได้ดี จึงอาจจะเกิดภาวะได้รับธาตุเหล็กเกิน

ข้อมูล: //health.deedeejang.com/news/What-is-Vitamin-C.html

Smiley บีบี้ Smiley





 

Create Date : 05 สิงหาคม 2552    
Last Update : 5 สิงหาคม 2552 0:09:42 น.
Counter : 500 Pageviews.  

บริเวอร์ยีสต์ (Brewer’s Yeast)

บริเวอร์ยีสต์คืออะไร
บริเวอร์ยีสต์ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Saccharomyces Cerevisias เป็นเชื้อยีสต์ที่มีชีวิตโดยจะถูกความร้อนทำให้ตายหมด ไม่มีฤทธิ์ในการเป็นเชื้อหมักฟู เหลือไว้แต่เพียงคุณค่าทางโภชนาการ โดย บริเวอร์ยีสต์ เป็น By-Product ที่ได้รับจากการผลิตเบียร์ มีรสชาติค่อนข้างรุนแรง ถึงแม้ว่า บริเวอร์ยีสต์ โดยปกติจะได้จากขบวนการผลิตเบียร์ แต่ปัจจุบันได้มีการปลูกแยกเป็นผลิตภัณฑ์ต่างหากและถูกยกย่องว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างมาก

บริเวอร์ยีสต์ ประกอบไปด้วยธาตุอาหารสมบูรณ์มากมาย มี กรดอะมิโน ที่จำเป็นต่อร่างกายถึง 16 ชนิดจากทั้งหมด 20 ชนิด เกลือแร่ 14 ชนิด และ วิตามิน อีก 17 ชนิด โดย บริเวอร์ยีสต์ เป็นแหล่งธรรมชาติที่ดีที่สุดของVitamin B-Complex ซึ่งประกอบไปด้วย B1 (thiamine), B2 (riboflavin), B3 (niacin), B5 (pantothenic acid), B6 (pyridoxine), B9 (folic acid) และ H (biotin) นอกจากนี้ยังมีเกลือแร่สูง คือ โครเมียม สังกะสี เหล็ก ฟอสฟอรัส และ เซเลเนียม อีกทั้ง บริเวอร์ยีสต์ ยังเป็นแหล่งที่สำคัญของโปรตีนอีกด้วย โดยประมาณว่าจะมีโปรตีนถึง 16 กรัมต่อปริมาณผงยีสต์ 30 กรัม

บ่อยครั้งที่เกิดความสับสนว่า บริเวอร์ยีสต์ เป็นยีสต์ประเภทเดียวกันกับยีสต์ที่ใช้ทำขนมปัง ซึ่งความจริงแล้ว บริเวอร์ยีสต์ กับยีสต์ที่ใช้ทำขนมปังมีความแตกต่างกันอย่างมาก เพราะยีสต์ที่ใช้ทำขนมปังไม่เพียงแต่ปราศจาก Vitamin B-complex เท่านั้น ยังกลับจะมีส่วนในการทำลาย Vitamin B ในลำไส้และในส่วนอื่นๆ ของร่างกายเสียหมด

บริเวอร์ยีส์กับประโยชน์ต่อร่างกาย
เนื่องจาก บริเวอร์ยีสต์ ประกอบด้วย Vitamin B จำนวนมาก จึงมีส่วนช่วยเพิ่มบทบาทของ วิตามิน ดังกล่าวภายในร่างกายคนเรา Vitamin B-complex นั้นจะมีส่วนช่วยในระบบการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีนภายในร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยสนับสนุนระบบการทำงานส่วนประสาทและช่วยรักษากล้ามเนื้อที่ใช้ในกระบวนการย่อยอีกด้วย

Vitamin B แต่ละชนิดต่างก็มีบทบาทหน้าที่แตกต่างกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสนับสนุนระบบเส้นประสาท โดย Vitamin B จะส่วนบรรเทาอาการตึงเครียด อาการซึมเศร้า และความอ่อนเพลีย นอกจากนี้ยังช่วยชลอความชราบางประการได้อีกด้วย เมื่อใดที่ร่างกายตกอยู่ในสภาพความกดดัน ตึงเครียดหรือภาวะติดเชื้อ ร่างกายจะต้องการ Vitamin B มากกว่าเดิมเป็นพิเศษ โดยร่างกายของเราไม่สามารถกักเก็บ Vitamin B ส่วนเกินเอาไว้ได้ ดังนั้นจำเป็นที่เราต้องบริโภค Vitamin B เป็นประจำอยู่เสมอ

Biotin เป็น Vitamin B ชนิดหนึ่งที่มีอยู่มากใน บริเวอร์ยีสต์ มีความสามารถในการช่วยให้เล็บที่เปราะแข็งแรงขึ้น และช่วยบำรุงสุขภาพผมอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการใช้เพื่อการรักษาผู้ป่วยโรค เบาหวาน ได้อีกด้วย

ใน บริเวอร์ยีสต์ ยังเป็นแหล่งธรรมชาติที่สำคัญของ โครเมียม อีกด้วย ซึ่งสถาบัน U.S. FDA แนะนำขนาดที่ควรรับประทานต่อวันในคนปกติเท่ากับ 120 มิลลิกรัม โดย โครเมียม มีความสามารถในการลดระดับ คลอเลสเตอรอล ในเลือด ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกิจกรรมของอินซูลินภายในร่างกายซึ่งจะช่วยในบุคคลที่สูญเสียน้ำหนักได้เป็นอย่างดี โครเมียม เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายดูดซึมได้ไม่ดี แต่สามารถดูดซึมได้ดีจาก บริเวอร์ยีสต์ นอกจากนี้ โครเมียม ยังมีสรรพคุณเพื่อการรักษาสิวได้ผลดี นอกจากนี้ บริเวอร์ยีสต์ ยังเป็นแหล่งที่ดีของ RNA ที่มีประสิทธิภาพในการชลอความชราได้อีกด้วย

บริเวอร์ยีสต์กับโรคเบาหวาน
มีรายงานว่า บริเวอร์ยีสต์ สามารถป้องกันการเป็นโรค เบาหวาน ของกลุ่มคนที่บุคคลภายในครอบครัวมีประวัติเป็นโรค เบาหวาน มาก่อนได้อีกด้วย มีการศึกษาชิ้นหนึ่งของประเทศเดนมารก์พบว่าบุคคลที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจะมีอาการที่ดีขึ้นหลังจากได้รับประทาน บริเวอร์ยีสต์ ขนาด 2 ช้อนโต๊ะเป็นประจำทุกวันเป็นเวลา 1 เดือน

บริเวอร์ยีสต์กับระดับคลอเลสเตอรอลสูง
มีการศึกษาของมหาวิทยาลัย Syracuse ใน New York พบว่า จากการทดลองให้บุคคลได้รับประทาน บริเวอร์ยีสต์ ขนาด 2 ช้อนโต๊ะเป็นประจำทุกวันเป็นเวลา 2 เดือน ปรากฏว่าบริเวอร์ยีสต์มีผลช่วยลดระดับ คลอเลสเตอรอล ได้ถึง 10%

บริเวอร์ยีสต์กับระบบทางเดินอาหาร
• บริเวอร์ยีสต์ กับโรคท้องร่วง
โรคท้องร่วงจะมีอาการถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ และบ่อยครั้ง โดยสามารถเกิดได้จากหลายๆ สาเหตุ การท้องร่วงแบบรุนแรงบ่อยครั้งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อและต้องการการบำบัดทางยาซึ่งเมื่อเกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรงจะทำให้เกิดการสูญเสียน้ำ โซเดียม โปแตสเซียม และแคลลอรี่ ได้ ในแถบทวีปยุโรปได้ใช้ บริเวอร์ยีสต์ กันอย่างแพร่หลายเพื่อช่วยป้องกันการเกิดอาการท้องร่วงจากสิ่งมีชีวิตได้ โดยการศึกษาในสัตว์พบว่า บริเวอร์ยีสต์ ได้ขัดขวาง ต่อสู้กับ Clostridium diffcile ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคท้องร่วง จากการทดลองพบว่าการให้ บริเวอร์ยีสต์ ขนาด 500 มิลลิกรัม 4 ครั้งต่อวัน จะช่วยป้องกันการติดเชื้อจากสิ่งมีชีวิตในโรคท้องร่วงได้ นอกจากนี้ บริเวอร์ยีสต์ ยังช่วยนักท่องเที่ยวป้องกันโรคท้องร่วงระหว่างการเดินทางได้อีกด้วย

• บริเวอร์ยีสต์ กับโรคท้องผูก
จากการศึกษาพบว่า บริเวอร์ยีสต์ มีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดอาการท้องผูกได้ เนื่องจากในผง บริเวอร์ยีสต์ 30 กรัม จะบรรจุไปด้วย ไฟเบอร์ ทางอาหารประมาณ 6 กรัม (24% ของขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวัน) ซึ่ง ไฟเบอร์ เป็นส่วนสำคัญของอาหารเนื่องจากมันจะช่วยเพิ่มกากใยเป็นจำนวนมากในอุจจาระ ป้องกันการเกิดโรคท้องผูกได้ บริเวอร์ยีสต์ จึงมีส่วนช่วยสนับสนุนให้ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่มี สุขภาพ ที่ดี สมบูรณ์

• บริเวอร์ยีสต์ กับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
จากห้องทดลองระบาดวิทยามีการวิจัยรายงานว่า สารอาหาร เซเลเนียม จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรค มะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้ สาร เซเลเนียม ที่มีมากใน บริเวอร์ยีสต์ ใช้เป็นสารอาหารเสริมเพื่อช่วยลดการเกิดและอันตรายจากโรค มะเร็งในลำไส้ใหญ่ ในร่างกายมนุษย์ได้ แต่ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าเป็นเพราะ selenomethionine หรือรูปแบบอื่นของ เซเลเนียม หรือส่วนประกอบอื่นของ เซเลเนียม ที่อยู่ใน บริเวอร์ยีสต์ ที่ให้ผลดังกล่าว

• บริเวอร์ยีสต์ กับการบาดเจ็บและสมานผิว
Vitamin B-complex ที่ได้จาก บริเวอร์ยีสต์ เป็นธาตุที่สำคัญในการบำบัดอาการบาดเจ็บได้ ดังนั้น จึงแนะนำให้ใช้ บริเวอร์ยีสต์ ในช่วงการพักฟื้นฟูบาดแผลหรือแผลไฟไหม้ โดยจากการศึกษาพบว่าใน บริเวอร์ยีสต์ มีสารชื่อ Glucan มีฤทธิ์ช่วยให้บาดแผลหายไวโดยกระตุ้นและสนับสนุนการเติบโตของเซล์และเส้นโลหิตฝอย อีกทั้งยังเสริมการทำงานของระบบต่อสู้การติดเชื้อของร่างกาย และ SRF (Skin Respiratory Factor) ช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิต บริเวณผิวหนังและเร่งรัดการสร้างคลอลาเจน เพื่อซ่อมแซมเนื้อเยื่อ

• บริเวอร์ยีสต์ กับอาการตึงเครียด
Vitamin B-complex ใน บริเวอร์ยีสต์ มีส่วนสำคัญต่อร่างกายอย่างมากในช่วงที่ต้องเผชิญกับภาวการณ์กดดันทางร่างกายหรืออารมณ์ ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์จึงแนะนำให้ใช้ บริเวอร์ยีสต์ ที่มี Vitamin B-complex ในการอาการป่วยที่เป็นต่อเนื่อง เช่น อาการอ่อนเพลียหรืออาการซึมเศร้าแบบเรื้อรัง

• บริเวอร์ยีสต์ กับการนอนหลับ
จากการศึกษาพบว่า Niacin และ Vitamin B6 ในบริเวอร์ยีสต์ สามารถช่วยบุคคลที่มีปัญหาในการนอนหลับยากได้ โดยสารดังกล่าวจะทำงานร่วมกันในการผลิตสาร seratonin ในสมองซึ่งมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้หลับพักผ่อนได้ง่าย

รูปแบบและขนาดที่ใช้รับประทาน
รูปแบบของ บริเวอร์ยีสต์ ที่ใช้เป็นธาตุอาหารเสริมมีทั้งในรูปแบบ เม็ดแคปซูล ก้อนเล็กๆ และผงสกัด โดยเราสามารถเติม บริเวอร์ยีสต์ ในอาหารที่รับประทาน เช่น ซุป เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการได้ นอกจากนี้ยังใช้เติมในน้ำส้มเพื่อดื่มกันอย่างแพร่หลายอีกด้วย บริเวอร์ยีสต์ ไม่จำเป็นต้องแช่ในที่เย็น และมีอายุการใช้งานที่นาน

ผง บริเวอร์ยีสต์ คุณภาพสูงจะบรรจุด้วย โครเมียม 60 mcg ต่อ 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม) โดยแพทย์จะแนะนำให้รับประทาน 1-2 ช้อนโต๊ะต่อวัน (ประมาณ 200 mcg) ซึ่งเป็นขนาดที่เหมาะสมและปลอดภัย โดยผง บริเวอร์ยีสต์ จะมีรสชาติที่รุนแรง ถ้าผลิตภัณฑ์ใดไม่ปรากฏรสชาติดังกล่าวแสดงว่าไม่ใช่ บริเวอร์ยีสต์ ของจริงซึ่งจะไม่มีสาร โครเมียม บรรจุอยู่

คุณภาพของ บริเวอร์ยีสต์ นั้นจะขึ้นอยู่กับแต่ละขบวนการผลิต บางบรรจุภัณฑ์เป็น บริเวอร์ยีสต์ จากขบวนการคัดเอาแอลกอฮอล์ออก หรือเป็น By-product ภายหลังจากขบวนการทำเบียร์ ซึ่งเป็นบริเวอร์ยีสต์ที่มีคุณภาพทางโภชนาการต่ำ บริเวอร์ยีสต์ ที่มีคุณภาพสูงนั้นจะอยู่ในหัวน้ำตาลและต้องเป็นยีสต์ที่ตั้งใจปลูกไว้เพื่อการใช้เป็น อาหารเสริม โดยเฉพาะ

ข้อควรระวัง

• เนื่องจาก บริเวอร์ยีสต์ ที่เป็นธาตุ อาหารเสริม อาจจะมีผลต่อกับตัวยาอื่น ดังนั้นการใช้ บริเวอร์ยีสต์ ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นการดีที่สุด

• บุคคลที่เป็นโรค กระดูกพรุน ควรหลีกเหลี่ยงการใช้ บริเวอร์ยีสต์ เนื่องจากบริเวอร์ยีสต์จะมีสาร ฟอสฟอรัส เป็นปริมาณสูงกว่า แคลเซียม ซึ่งการที่มีสารฟอสฟอรัสเป็นปริมาณที่สูงจะทำให้เกิดการสูญเสีย แคลเซียมจากร่างกายได้ ถ้าต้องการใช้ยีสต์เป็นธาตุ อาหารเสริม ควรจะต้องมีการบริโภค แคลเซียม เพิ่มเติมเป็นพิเศษด้วย

• บุคคลที่ระบบภูมิคุ้มกันเสียหายอย่างรุนแรงควรหลีกเหลี่ยงใช้ บริเวอร์ยีสต์ หรือไม่ก็ต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

• บุคคลที่มีร่างกายแพ้ต่อสัมผัสได้ง่ายเมื่อใช้ บริเวอร์ยีสต์ แล้วอาจเกิดอาการไมเกรน ปวดหัว บางครั้งอาจมีอาการผื่นคัน อาการบวมน้ำ เป็นหัด ได้

• บุคคลที่เป็นโรคเก๊าท์ควรหลีกเหลี่ยงการใช้ บริเวอร์ยีสต์

• บางครั้งการใช้ บริเวอร์ยีสต์ ในครั้งแรกอาจก่อให้เกิดอาการมีแก๊สในลำไส้ ดังนั้นในการใช้ บริเวอร์ยีสต์ ควรเริ่มใช้แต่เพียงเล็กน้อยก่อน (น้อยกว่า 1 ช้อนโต๊ะต่อวัน) จากนั้นค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนถึงระดับที่แนะนำ

• ในการใช้ บริเวอร์ยีสต์ ถ้ามีอาการคลี่นเหียน อาเจียน ควรหยุดใช้ในทันทีและควรรีบปรึกษาแพทย์

• บริเวอร์ยีสต์ ไม่เป็นอันตรายต่อหญิงมีครรภ์ สามารถใช้ได้ในปริมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะต่อวัน

ปฏิกริยาของบริเวอร์ยีสต์ต่อยาอื่น
ถ้าร่างกายได้มีการใช้ยาประเภท Antidepressants , Monoamin Oxidase Inhibitors (MAOIs) เพื่อการบำบัดโรคอยู่ก่อนแล้ว ไม่ควรใช้ บริเวอร์ยีสต์ โดยปราศจากการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจาก บริเวอร์ยีสต์ ประกอบด้วย tyramine เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นสารที่ควรหลีกเหลี่ยงในบุคคลที่ใช้ยาประเภท antidepressant หรือ MAOIs ตัวอย่างของยาประเภท MAOIs เช่น phenelzine, tranylcypromin, pargyline, selegiline, isocarboxazid โดย บริเวอร์ยีสต์ จะไปทำปฏิกริยากับยาดังกล่าวก่อให้เกิด “สภาวะความดันโลหิตสูง” อย่างรวดเร็ว และจะทำให้ความดันของเลือดเพิ่มอย่างรุนแรงก่อให้เกิดอาการคลี่นเหียน อาเจียน ปวดหัว และหัวใจเต้นผิดปกติ ซึ่งปฏิกริยาเช่นถึงในที่สุดแล้วอาจก่อให้เกิด โรคหัวใจ หรืออาการเป็นลมอย่างฉับพลันได้

นอกจากนี้ในกรณีของผู้ป่วยโรค เบาหวาน การใช้ บริเวอร์ยีสต์ เพื่อการบำบัดควรกระทำภายใต้การดูแลของแพทย์ เนื่องจาก บริเวอร์ยีสต์ ประกอบด้วยสาร โครเมียม เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของยาสำหรับผู้ป่วยโรค เบาหวาน (เช่น อินซูลิน หรือ ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดประเภทอื่นๆ) และอาจนำไปสู่ภาวะเลือดมีกลูโคสน้อยกว่าปกติได้ ดังนั้นในการใช้ บริเวอร์ยีสต์ เป็นธาตุ อาหารเสริม ควรอยู่ภายใต้การดูแล แนะนำจากแพทย์เท่านั้น

ข้อมูล: //health.deedeejang.com/news/Brewer-Yeast.html

Smiley บีบี้ Smiley




 

Create Date : 30 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 30 กรกฎาคม 2552 22:34:38 น.
Counter : 478 Pageviews.  

ไบโอติน (Biotin)

ไบโอติน (Biotin) หรือ vitamin H จัดเป็นวิตามินชนิดหนึ่งในกลุ่มวิตามิน บี วิตามินชนิดนี้ บางครั้งจะรู้จักในชื่อของ โคเอ็นไซม์ อาร์ ( Coenzyme R ) ร่างกายสามารถสร้างเองได้เป็นจำนวนมาก โดยแบคทีเรียจากลำไส้

ไบโอตินพบได้ใน เนื้อสัตว์ ไข่แดง กล้วย ตับ ข้าวกล้อง ถั่ว ปลาเนื้อขาว น้ำมันปลา ข้าวกล้อง ข้าวโพด รำข้าวสาลี ไข่ นม เนย โยเกิรต์ ผักต่างๆโดยเฉพาะดอกกะหล่ำ กะหล่ำปลี เห็ด แครอท ไบโอตินจะไม่ถูกทำลายเนื่องจากการประกอบอาหาร การสูญเสียไปโดยมากจะไปกับน้ำที่ล้างหรือน้ำที่ต้มประกอบอาหาร นอกจากนี้แบคทีเรียบางชนิดที่อยู่ในลำไส้ (lactobacillin) สามารถผลิตไบโอตินได้

ความสำคัญของไบโอตินมีหลายประการ เช่น ช่วยในกระบวนการเผาผลาญไขมัน (fat metabolism) ช่วยสังเคราะห์กรดไขมันบางชนิด ลดระดับน้ำตาลในเลือด ส่งเสริมการทำงานของเอ็นไซม์ในร่างกายหลายชนิด และเพิ่มความแข็งแรงให้กับเส้นผมและเล็บ

ยังไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับปริมาณของวิตามินที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน วิตามินนี้จะถูกสังเคราะห์โดยจุลินทรีย์ในลำไส้ ไบโอตินเป็นกรดที่มีกำมะถันอยู่ด้วยในโมเลกุล ผลึกของ ไบโอตินเป็นรูปเข็มยาว ในธรรมชาติมักเกิดรวมอยู่กับกรดอะมิโนไลซีน ระดับของไบโอตินในเซรุ่มของคนปกติอยู่ระหว่าง 213-404 นาโนกรัม/มล.

สาเหตุหนึ่งที่ร่างกายอาจขาดไบโอตินได้ก็คือ การรับประทานไข่ขาวดิบในปริมาณมากเป็นระยะเวลานานๆ ทั้งนี้เพราะในไข่ขาวมีสารที่จะทำลายไบโอติน เมื่อร่างกายเกิดอาการขาดไบโอตินก็จะทำให้เกิดเป็นโรคผิวหนัง ผิวหนังมีสีเทา อ่อนเพลีย โลหิตจาง มีโคเลสเตอรอลในเลือดสูงกว่าปกติจะมีการอักเสบของเยื้อบุต่างๆ ผิวหนังแห้งลอก ตกสะเก็ด มีอาการเบื่ออาหาร อาเจียน ซึม ปวดเมื่อยตามตัว ระดับคอเลสเตอรอลสูง โลหิตจางแม้จะได้รับเหล็กเพียงพอ การขับปัสสาวะลดลง

ประโยชน์ต่อร่างกาย
• ทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ในขบวนการต่างๆของร่างการ เช่น กระบวนการเผาพลาญของร่างกาย ขบวนการสร้างกรดไขมัน พิวรีน

• เป็นตัวส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยผลิตฮอร์โมนเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ และอินซูลิน อีกทั้งยังรักษาสุขภาพของผิวหนัง ผม ต่อม เหงื่อ และกระดูกอ่อนอีกด้วย

• เป็นตัวส่งเสริมความเจริญเติบโตของร่างกายที่สำคัญ ช่วยในการสังเคราะห์วิตามินซี

• เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการรักษาสุขภาพผิวหนัง เส้นผม ประสาท และกระดูกอ่อน

• ช่วยในการผลิตฮอร์โมนเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ และรักษาให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์

ปริมาณที่แนะนำ
ปกติร่างกายจะสามารถสร้างไบโอตินได้อยู่แล้วจากแบคทีเรียในลำไส้ ซึ่ง ถ้าหากรวมกับอาหารที่ได้รับในแต่ละวันถือว่าเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายแล้ว แต่ก็เชื่อว่า ผู้ใหญ่ควรได้รับไบโอติน วันละ 100 – 200 ไมโคกรัม เด็ก(ตั้งแต่ 4 ขวบขึ้นไป) ควรได้รับวันล่ะ 85 – 120 ไมโคกรัม

ข้อมูลอื่นๆ

• มีการดูดซึมที่ลำไส้เล็ก และมีการขับออกทางปัสสาวะ

• อาหารหรือสารต้านฤทธิ์ ได้แก่ วิตามินบีรวม วิตามินบี 12 กรดโฟลิค กรดแพนโทเธ็นนิค วิตามินซี กำมะถัน

• มักจะไม่พบการขาดไบโอตินในผู้ที่รับประทานอาหารครบหมู่หรืออาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบีรวม แต่อาจจะพบในผู้ที่ใช้ยาปฏิชีวนะเป็นระยะเวลานานโดยเฉพาะยาในกลุ่ม Sulfa เนื่องจากเชื้อพวก Lactobacillin จะถูกทำลาย การบริโภคไขขาวดิบในปริมาณสูง และนานติดต่อกันอาจทำให้สาร avidin ในไข่ขาวจับกับไบโอตินทำให้ไบโอตินไม่สามารถดูดซึมได้ก็อาจนำมาซึ่งภาวะการขาดไบโอตินได้ นอกจากนี้การใช้ยาต้านชัก (anti-seizure) เป็นเวลานานติดต่อกันก็สามารถก่อให้เกิดการขาดไบโอตินได้เช่นกัน

• อาการที่พบในผู้ที่ขาดสารไบโอติน ได้แก่ อาการทางผิวหนัง (ผิวหนังอักเสบ) แห้งเป็นขุย ผมร่วง เล็บเปราะ กล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ย แสบตา เป็นต้น อาการที่น่าสนใจคือ ผมร่วง ผมบาง ซึ่งผมร่วงบางชนิดเกิดจากเส้นผมไม่แข็งแรงเนื่องมาจากร่างกายสร้าง keratin ได้น้อย

• ไบโอตินจึงมีความสำคัญในการช่วยสร้าง keratin ในผู้ที่ขาดสารไบโอติน ประโยชน์ของไบโอตินอีกประการหนึ่งก็คือช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับเล็บมือ และเล็บเท้า โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัญหาเล็บเปราะเนื่องมาจากขาดสารไบโอติน

• ขนาดที่ใช้เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของเส้นผม คือ 1-3 มิลลิกรัมต่อวัน และต้องใช้กับผู้ที่มีผมร่วง เนื่องมาจากการขาดไบโอตินเท่านั้น ส่วนขนาดที่ใช้เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับเล็บคือ 2.5 มิลลิกรัมต่อวัน ปัจจุบันยังไม่พบรายงานผลข้างเคียงหรือการเป็นพิษของวิตามินบีชนิดนี้

ข้อมูล: //www.amcclinic.com/biotin.php

Smiley บีบี้ Smiley




 

Create Date : 29 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 5 สิงหาคม 2552 0:08:39 น.
Counter : 5630 Pageviews.  


bee4ever
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]









บีบี้รู้สึกว่าบีบี้ชอบทำอาหารเอามากๆ หลังจากที่บีบี้ทดลองอบขนมหลายๆ อย่าง หลังจากทำเสร็จก็จะมีขนมหลายแบบหลายรสชาติทั้งแบบที่แทบจะกินไม่ได้จนถึงกระทั่งแบบที่อร่อยจนหมดหลังจากอบเสร็จ แต่ขนมทุกอย่างก็ต้องผ่านการชิมจากบีบี้ทั้งสิ้น

ด้วยเหตุนี้ น้ำหนักตัวและสัดส่วนของบีบี้ก็เริ่มเปลี่ยนไป ทำให้บีบี้ต้องกลับไปเล่นโยคะร้อนอีกครั้ง ซึ่งภายใน 3 สัปดาห์นี้ได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจเป็นอย่างมาก บีบี้กำลังรอลุ้นว่าโยคะร้อนคราวนี้จะทำให้สิวขึ้นเขรอะอีกหรือเปล่า

Smiley บีบี้ Smiley



Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add bee4ever's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.