ชีวิตหลังหกโมงเย็น...
Group Blog
 
All blogs
 

หรือเป็นเพียง......“ฤดูกาลที่แตกต่าง”


ฤดูกาลเปลี่ยนปรับจากร้อนอบอ้าวเป็นหนาวยะเยือกเพียงชั่ววินาทีที่เราเผลอกระพริบตา
ฤดูกาลบางครั้งก็มาช้าบางครั้งก็มาเร็วจนเหมือนลมหายใจที่มิคงที่ตราบยังยืนยง
ฤดูกาลบ้างก็ว่าขานขับบทเพลงอันยังคงมีมนต์ขลังเย้ายวนมากหลายหลาก
ฤดูกาลบ้างก็ว่ายเวียนวนเหมือนเปลวเทียนอยู่กลางฝนรออรุณฉันนั้น
ฤดูกาลที่มีเมฆหมอกหนาเหมือนนภาโดนปิดดวงเนตรหลับใหล
ฤดูกาลผันผ่านไปไวดั่งจันทร์และตะวันลับจากฟ้าลาแผ่นดิน
ฤดูกาลขานขับเรื่องราวความเป็นมาแม้นในป่าดงคอนกรีต
ฤดูกาลที่แสนวายวุ่นชุลมุนกรุ่นไอตะวันแดงเศร้าหมอง
ฤดูกาลผันผ่านเปลี่ยนปรับไปตามกาลกำหนดแล้วไซ้
ฤดูกาลใช้ให้ชโลมด้วยเลือดสีแดงแดงโหยหาย
ฤดูกาลแม้นไม่สุขเหมือนดั่งทุกคราไปก็วาย
ฤดูกาลที่แตกหายต่างจิตใจคงต้องทน

คุณาพร : กิตติพร 9/1/2550.
www.siamsouth.com




 

Create Date : 09 กุมภาพันธ์ 2550    
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2550 23:24:26 น.
Counter : 467 Pageviews.  

มาเถอะเพื่อน!



"มาเถอะเพื่อน"


มาเร็วเกลอ! แล่นเรือ ไปด้วยข้า
อรุณใหม่ นาฬิกา อ้าปีกหนี
เราจะขึ้น ก้อนเมฆผล็อย ลอยเมฆี
ร้องสดุดี "อนันตชีพ" พลางรีบไป

อ้อไม่กล้ามา เพราะกลัว ตัวจะพลาด
ชั่วโมงซึ่ง หมายมาด หรือสหาย?
หรือขาติด ตรวนชีพ บีบใจกาย
จงปัดหาย และกล้าแกล้ว แล้วเฟ้นฟรี

จงฟาดฟัน อุปสัค ซึ่งปักขวาง
จงฟังเสียง ลมคราง เป็นเพลงซี่
ทั้งกุหลาบ แสงจันทร์ ความลับมี
และฟังดอก ลิลลี่, กระซิบดาว
นั่นเป็นเพลง บรรเลงนาน ล้านปีแล้ว
ล้านปีที่ มีศูนย์แน่ว คืนหนึ่ง; เอ้า!
มันกางโน้ต สูงแสง แดดจับวาว
ส่งเสียงเร้าโลกของท่าน ทั้งจักรวาล

รู้ตัวไว้ ! สลัดสาย ระยางซี
เมื่อท่านมี โลกของท่าน ในตัวท่าน
จึ่งคุยกับ ดาวรุ่งฤกษ์ อย่างเบิกบาน
ถือท้ายเรือ หมายสถาน เมฆขลิบทอง
ข่มอินทรีย์, เพราะ, โอ้มันชักใยเป็น
ภาพลวงเล่น, จงเฟ้น วิมุติก่อง
ทางไปสู่ ศานติรส ไม่หมดมอง
ก็เป็นของ ท่านเท่านั้น มันอยู่ใน.



buddhadasa


siamsouth





 

Create Date : 21 ตุลาคม 2549    
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2550 23:04:06 น.
Counter : 308 Pageviews.  

หอยนางรม



ลักษณะ
หอยนางรมแบ่งเป็น ๒ พวก คือ พันธุ์เล็ก เรียกว่า "หอยเจาะ" หรือ "หอยปากจีบ" พันธุ์ใหญ่เรียกว่า "หอยตะโกรม" ลักษณะเป็นหอย ๒ ฝา
แหล่งที่พบ
พบโดยทั่วไปตามบริเวณน้ำตื้นชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำลำคลอง ที่สุราษฎร์ธานี แหล่งที่เลี้ยง
หอยนางรมใหญ่ที่สุด คือบริเวณอ่าวที่ตำบลท่าทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ นอกจากนี้ก็มีการเลี้ยงที่บริเวณ
แหลมซุย อำเภอไชยา ปัจจุบันมีผู้เลี้ยงหอยนางรมในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีประมาณ ๗๔๑ ราย เนื้อที่ ประมาณ ๔,๘๖๖ ไร่
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
เนื่องจากหอยนางรมมีคุณค่ามาก เนื้อในขาวสะอาด กินสดหวานมัน ไม่มีกลิ่นคาว และมีคุณค่า
ทางอาหารสูง ยกระดับเป็นอาหารภัตตาคาร ราคาค่อนข้างแพงทำให้ผู้เลี้ยงมีรายได้สูง

หอยนางรมสด (ตำรับไทย)
เครื่องปรุง
  • หอยนางรมแกะเปลือกแช่เย็น 10 ตัว

  • ยอดกระถิน 30 ยอด

น้ำจิ้ม
  • กระเทียม 1 ช้อนโต๊ะ

  • พริกขี้หนู 1 ช้อนโต๊ะ

  • เกลือ 1 ช้อนชา

  • น้ำส้ม หรือน้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ

โขลกกระเทียม พริกขี้หนู ให้ละเอียด ใส่เกลือและน้ำส้ม ผสมเข้ากัน

siamsouth




 

Create Date : 21 ตุลาคม 2549    
Last Update : 21 ตุลาคม 2549 4:19:10 น.
Counter : 484 Pageviews.  

แกงพุงปลา



วิธีการทำ
ส่วนประกอบที่สำคัญของแกงพุงปลา คือพุงปลา และปลาย่าง พุงปลาที่นิยมรับประทาน ได้แก่ พุงปลาช่อน ปลาขี้เด (ปลากระดี่)ปลากระบอก ปลาทู หรือปลาอื่น ๆ ส่วนปลาย่างที่นิยมใช้ได้แก่ ปลาช่อน ปลากระเบน ปลาดุก ปลาทู ปลาแดง ฯลฯ เครื่องแกงใช้อย่างเดียวกันกับเครื่องแกงกะทิ หรือแกงเผ็ดทั่วไป
ประกอบด้วย พริกขี้หนู ข่า ตะไคร้ พริกไทยดำ หอม กระเทียม ขมิ้น ผิวมะกรูด และกะปิ เครื่องปรุงรส ที่สำคัญคือ เคยปลา(กะปิปลา)และใบทำมัง (ชะมัง) เคยปลาได้จากการนำปลาเล็ก ๆ มาคลุกเกลือ ตำพอแหลก ตากแดดแล้วตำจนละเอียดอีกครั้ง เก็บใส่ภาชนะไว้ประมาณ ๒๐ วัน จึงนำมาใช้แกงได้ใบทำมัง ได้จากต้นทำมัง ซึ่งเป็นไม้ยืนต้น ลักษณะเป็นไม้พุ่ม ใบดกหนาทึบ มีกลิ่นฉุนคล้ายแมงดา ชาวบ้านนิยมใช้ใส่ในแกงพุงปลา และตำผสมน้ำพริกแทนแมงดา
การปรุงแกงพุงปลาหรือแกงน้ำเคย ขั้นตอนแรก เอาน้ำสะอาดใส่หม้อแกง ใส่พุงปลาและเคยปลา ต้มจนเดือด นำมากรองใส่อีกหม้อหนึ่ง เติมน้ำในปริมาณที่พอเหมาะกับเครื่องปรุง ต้มให้เดือด เอาเครื่องแกงที่เตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว ใส่ลงในหม้อแกง เอาปลาย่างที่ฉีกออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ลงไป ต้มให้เดือดจนเครื่องแกงและพุงปลาละลายเข้ากัน ต้มอีกประมาณ ๒๐ นาที ใส่ใบทำมัง ใบมะกรูด เพื่อให้กลิ่นหอม เพิ่มรสชาติให้ชวนรับประทาน การรับประทานแกงพุงปลา ถ้าจะให้ เอร็ดอร่อยมากขึ้น ต้องมี "ผักเหนาะ" ด้วย ผักเหนาะที่นิยมรับประทาน ได้แก่ ยอดหมุย ยอดมันปู ยอดหัวครก (มะม่วงหิมพานต์) บัวบก ผักกาดนกเขา มะเขือพวง สะตอ สะตอเบา (กระถิน) ลูกเนียง และลูกเหรียง เป็นต้น



ประโยชน์
ชาวพัทลุงนิยมใช้แกงพุงปลาหรือแกงน้ำเคย เป็นอาหารหลักในการเลี้ยงแขกของงานบุญต่าง ๆ ที่มีคนมาก ๆ เช่น งานบวช งานศพ และงานวัดต่าง ๆ เนื่องจากเป็นแกงที่ปรุงง่าย ราคาถูก และเป็นที่นิยมของคนทั่วไป นอกจากแกงพุงปลาหรือแกงน้ำเคย จะมีบทบาทด้านวัฒนธรรมการกินของชาวพัทลุงโดยตรงดังกล่าวแล้ว ยังมีบทบาทด้านวัฒนธรรมอื่น ๆ อีก ที่สำคัญ คือ วัฒนธรรมด้านภาษากับชาวพัทลุง เนื่องจากแกงพุงปลาหรือแกงน้ำเคย มีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมของชาวพัทลุงเป็นอย่างมาก จึงทำให้คำว่า "แกงพุงปลา" หรือแกงน้ำเคยเข้ามาอิทธิพลทางวัฒนธรรมด้านภาษาด้วย ดังจะเห็นว่าชาวพัทลุงนำคำว่า "แกงพุงปลา" หรือ "แกงน้ำเคย" ไปใช้ในการสื่อความหมายโดยนัย เมื่อเชื้อเชิญให้เพื่อนบ้านมาร่วมงานบวชนาคว่า "มากินแกงพุงปลากัน" หรือ "มากินแกงน้ำเคยกัน" ซึ่งสะท้อนให้เห็นชัดว่า แกงพุงปลาหรือแกงน้ำเคย มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ถึงกับใช้คำว่า " แกงพุงปลา" หรือ "แกงน้ำเคย" เป็นเครื่องสื่อความหมายแทนการส่งบัตรเชิญ

siamsouth




 

Create Date : 21 ตุลาคม 2549    
Last Update : 21 ตุลาคม 2549 4:20:10 น.
Counter : 445 Pageviews.  


ลูกแก้วลอยน้ำ
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add ลูกแก้วลอยน้ำ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.