Oversee@a day

Oversee ณ a day

Deaf Party!!

      เมื่อได้ยินประโยคที่ว่า “มีดนตรีอยู่ในหัวใจ” บรรดาคนที่มีสัมผัสประสาทครบทั้งห้า (บางคนมีหก) ก็คงจะไม่ค่อยรู้สึกรู้สาอะไรกันนัก ก็..แหมฟังเพลงกันทุกวัน ไปเต้นระบำ ไปร้องคาราโอเกะกันอยู่บ่อยๆ เสียงดนตรีมันก็ต้องแทรกเข้ารูหูส่งตรงไปสั่นในสมองก่อนจะพุ่งเข้าหัวใจกันเป็นธรรมดาอยู่แล้ว

      มาลองนึกกันเล่นๆดีกว่า ถ้าเกิดเราไม่มีหูหรือเสียประสาทการรับฟังไป มันจะเป็นยังไงหนอ คนที่หูหนวกน่ะเค้าคิด เค้ารู้สึก เค้าทำ เค้าจัดการยังไงกับเสียงดนตรี พวกเค้าก็มีดนตรีในหัวใจเหมือนกับพวกเราคนโชคดีมีโอกาสได้ยินเสียงต่างๆ ได้ยินเสียงเพลงที่บรรเลงอยู่ในโลกใบนี้หรือเปล่า


อ่านต่อ...



Amargosa

     Oversee ฉบับนี้จะเล่าเรื่องราวที่หลายคนอาจจะทราบแล้ว แต่เชื่อแน่ว่ายังมีอีกหลายคนเช่นกันที่ยังไม่รู้ เป็นเรื่องราวของอาณาจักรที่สร้างจากความฝันของคนที่มีหัวใจอิสระ ยืนหยัดต่อสู้เพื่อสิ่งที่ตนรัก และจะมีก็เพียงความตายเท่านั้นที่จะมาหยุดเธอได้

     เรื่องราวเริ่มต้นขึ้นเมื่อ 36 ปีที่แล้ว ที่ เดธ วัลเลย์ จังชั่น (Death Vally Junction)อันเป็นเมืองเล็กๆแห่งหนึ่งในรัฐแคลิฟอเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา วันหนึ่งในปี 1967 นักเต้นหญิงวัย 43 จากนิวยอร์ก ซึ่งอยู่ในระหว่างการเดินสายเปิดการแสดงเดี่ยวของเธอมาหยุดรถที่เมืองเดธ วัลเลย์ เนื่องจากยางรถยนต์แบน ระหว่างที่รอสามีของเธอเปลี่ยนยางรถ มาร์ทา เบ็คเค็ต ก็ออกไปเดินเล่นเยี่ยมชมเมือง และแล้วเธอก็ได้เจอหอประชุมที่ถูกทิ้งให้รกร้างไม่มีคนดูแล และข้างในนั้นมีเวทีที่สามารถจัดการแสดงได้

อ่านต่อ...



Printemps des Poètes

     เช้าวันหนึ่งในต้นฤดูใบไม้ผลิ อากาศสดใสด้วยแสงแดดอ่อนๆ ฤดูหนาวอันเย็นเยียบผันผ่านไปแล้ว เปิดทางให้กับฤดูกาลแห่งการเริ่มต้นชีวิตใหม่ๆหมุนเวียนมาอีกรอบ ฤดูใบไม้ผลินำสีสันของดอกไม้และสายลมบางเบามาทำให้รู้สึกว่าโลกนี้ไม่ได้โหดร้ายหนาวเหน็บอยู่ตลอดเวลา

     เมื่อตื่นนอนขึ้นมาเปิดวิทยุ ก็แว่วเสียงกวีคนโปรดร่ายกลอนให้ฟังเพิ่มรสละมุนละไมให้อาหารเช้า ออกไปเปิดกล่องรับจดหมายหน้าบ้าน ก็เจอบทกลอนกินใจจากผู้ส่งนิรนามปะปนมากับแคทตาล๊อกจากซุปเปอร์มาเก็ต ใบทวงหนี้จากการประปา การไฟฟ้า โทรศัพท์ และบัตรเครดิต หลังจากนั้นก็หยิบกลอนที่เขียนขึ้นเมื่อคืนมาอ่านอีกรอบก่อนจะบรรจงสอดใส่ซอง ตั้งใจว่าเย็นนี้จะเอาไปติดบน กำแพงบทกวี ในเมืองให้คนทั่วไปร่วมชื่นชม

อ่านต่อ...



Beyond Olympic : Olimpick

     ใครๆก็คงรู้ว่าเดือนสิงหาคมปีนี้ การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน (Summer Olympic Games) จะจัดขึ้น ณ ประเทศกรีซ บ้านเกิดของการแข่งขันระดับโลกรายการนี้ แต่คงมีไม่กี่คนรู้ว่า งานแข่งขันกีฬาโอลิมปิ๊ก (Olimpick Games) ประจำปีนี้จัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน คือในเดือนนี้แหล่ะ ส่วนสถานที่จัดงานก็เดิมๆเหมือนทุกปี คือ ที่เมืองชิปปิง แคมป์เดน ประเทศอังกฤษ

     ชิปปิง แคมป์เดน (Chipping Campden – ชาวเมืองเขาเน้นนักเน้นหนาว่าของแท้ต้องมีตัว p หลังตัว m ในคำว่า Campden คาดว่ามีคนเขียนผิดบ่อย เลยต้องรีบบอกกันไว้ก่อน) เป็นเมืองเล็กๆน่ารักแต่ไม่ธรรมดาเลยสักนิด ด้วยมีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ย้อนไปได้ถึงยุคกลางเลยทีเดียว

อ่านต่อ...



My path leads to Tibet

     ลองหลับตานึกภาพผู้หญิงคนหนึ่งเดินทางเพียงลำพังไปประเทศเนปาล ข้ามไปถึงทิเบต โดยไม่อาศัยไกด์บุ๊กหรือคนนำทาง พาหนะที่ใช้คือม้า ขึ้นขี่บุกบั่นไปตามภูเขา ลัดเลาะไปในหมู่บ้านต่างๆ เมื่อเธอไปถึงทิเบตที่ซึ่งคนตาบอดได้รับการปฏิบัติราวกับไม่ใช่มนุษย์ ถูกมองว่าตาบอดเพราะทำกรรมเก่ามาจากชาติก่อน หรือต้องคำสาปจากภูตผีปิศาจ

     เธอเกิดแรงบันดาลใจอยากช่วยเหลือคนเหล่านั้น เธอเข้าไปสมัครทำงานเป็นอาสาสมัครในองค์กรการกุศลหลายต่อหลายแห่งตั้งใจจะทำงานเพื่อสังคมในทิเบต แต่ทุกองค์กรล้วนปฏิเสธไม่ยอมรับเธอเข้าทำงาน ต่างเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ที่เธอจะลงทำงานในพื้นที่ แม้ว่าเธอพูดภาษาจีนและภาษาทิเบตได้ดี ทั้งนี้เพียงเพราะเหตุผลเดียวคือเธอเป็นคน “ตาบอด”

อ่านต่อ...



The other voices of America

     สหรัฐอเมริกา มีอะไรมากกว่าที่เห็นในข่าวทางทีวี บนจอหนัง และจากร้านเฟรนไชส์แดกด่วนที่ทะลักมาผุดขึ้นทุกหัวระแหงในบ้านเรา หากเปรียบข้อมูลที่เราได้จากสถานีวิทยุ ว๊อยซ์ ออฟ อเมริกา (Voice of America) คลื่นวิทยุของรัฐบาลสหรัฐซึ่งส่งกระจายเสียงไปทั่วโลกเป็นเสียงที่ดังสนั่นมาเข้ารูหูให้เราได้รับรู้เรื่องราวของประเทศนี้ได้ง่ายๆ เสียงที่คุณจะได้ยินต่อไปนี้ก็จะเป็นเสียงเล็กๆอื่นๆจากอเมริกาที่กระจายด้วยกำลังส่งต่ำต้องใส่ใจเงี่ยหูฟังดีๆจึงจะได้ยิน

     กระนั้นเสียงเล็กๆเหล่านี้ก็เป็นข้อมูลสะท้อนให้เห็นภาพของอเมริกาที่ต่างออกไปจากที่อยู่ในใจของเราไม่มากก็น้อยและเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น

อ่านต่อ...



Children’s express

     ในปี 1976 ระหว่างการสมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในสมัยนั้น ขณะที่นักข่าวทั่วโลกกำลังตั้งตารอคอยคว้าข่าวใหญ่ว่าใครจะสมัครรับเลือกตั้งคู่กับจิมมี คาร์เตอร์ ไม่มีใครสนใจเด็กชายจิลเบิร์ต จิลล์ อายุ 12 ปี ผู้บังเอิญเข้าไปในลิฟต์เดียวกับคณะผู้อาวุโสที่ปรึกษาการเลือกตั้งของคาร์เตอร์ วันต่อมา สำนักข่าวชิลเดรน เอ็กซแพรส ก็เป็นสำนักข่าวที่ลงข่าว คาร์เตอร์ลงสมัครรับเลือกตั้งคู่กับมอนเดล เป็นสำนักข่าวแรก

     “พวกผู้ใหญ่นึกไม่ถึงว่าเด็กๆกำลังฟังพวกเขาคุยกันอยู่และพวกแกยังเข้าใจด้วยว่าเกิดอะไรขึ้น” แน่นอนว่าคนที่พูดประโยคนี้ออกมาไม่ใช่เด็ก เพราะพวกผู้ใหญ่นอกจากจะไม่คิดว่าเด็กๆฟังพวกเขาอยู่ พวกเขายังไม่ฟังเด็กๆพูดอีกด้วย

อ่านต่อ...



Chinese pens out of China

     ช่วงนี้เราได้ยินคนรอบๆข้างและสื่อมวลชนต่างๆพูดถึงประเทศจีนกันหนาหู หนังสือพิมพ์หลายฉบับเพิ่มคอลัมน์ว่าด้วยประเทศนี้โดยเฉพาะ ไหนจะสถาบันสอนภาษาจีนผุดขึ้นมาเพียบแทบจะทุกหัวระแหง ส่วนที่เห็นกันชัดๆคือ สินค้าจากประเทศจีนทะลักเข้ามาจนแทบตั้งตัวไม่ติดทั้งบนห้างและตามแบกะดิน

     ไม่ต้องบอกใครๆก็เดาออกว่าเหตุผลหลักที่ทำให้กระแสน้ำจากเมืองจีนไหลเชี่ยวกรากข้ามเขื่อนใหญ่ที่เคยกักกั้นไว้ในอดีตออกสู่โลกภายนอกกำแพงเมืองจีนก็คือ การเปิดประตูการค้าเข้าเป็นสมาชิกองค์การค้าโลก (World Trade Organization - WTO) เมื่อปลายปี 2001

อ่านต่อ...



Time for Thai pens

     Oversee เมื่อฉบับที่แล้ว ได้เล่าเรื่องราวของเหล่านักเขียนชาวจีนที่สร้างงานเขียนโด่งดังในต่างประเทศนอกประเทศบ้านเกิดแถวตะวันตกซีกโลกฝรั่งตาน้ำข้าวทั้งในอเมริกาและในยุโรปให้ทราบโดยทั่วกันไปแล้ว โดยทางยุโรปได้เน้นสถานการณ์ในประเทศฝรั่งเศสเป็นหลัก แต่เรื่องที่อยากเล่าให้ได้รู้กันก็ยังไม่หมดเสียทีเดียว ก็เลยต้องขออนุญาตบ.ก.ของเรากล่าวถึงปรากฏการณ์งานวรรณกรรมต่างชาติในประเทศนี้ต่อในครั้งนี้

     เรื่องที่จะพูดถึงต่อนี้เป็นเรื่องซึ่งเกิดขึ้นฝากโพ้นทะเลที่มองข้ามไปอย่างไม่น่าให้อภัยเพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับงานเขียนของคนไทยเราๆนี่เอง

อ่านต่อ...



Silly Cyber Indy

     เมื่อเอ่ยถึง “เพลงใต้ดิน” หรือ “หนังสือนอกกระแส” หรือ “หนังอินดี้” หลายคนก็คงคุ้นเคยพอจะนึกออกว่าเป็นผลงานของศิลปินและบรรดาคนทำงานที่กำหนดตัวเองชัดแจ้งว่าตั้งตนอยู่นอกระบบการค้ากระแสหลักที่กำลังครอบงำคนในสังคมให้คิดและบริโภคสิ่งซึ่งผู้มีอำนาจและอิทธิพลในบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆเพียงไม่กี่คนกำหนดแนวทางให้

     กลุ่มคนที่สร้างผลงานนอกคอกเช่นนั้นมิได้มีแต่ในวงการศิลปะ หนังสือและภาพยนต์เท่านั้น แม้แต่ในสังคมอินเตอร์เน็ตและไอทีก็ยังมีผลงานในรูปแบบต่างๆในลักษณะนี้ให้เห็นเช่นกัน ผลงานที่เห็นได้ง่ายๆและกระทบตัวผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างเราๆก็พวกโปรแกรมไวรัสต่างๆที่แพร่กระจายไปทั่วโลก

อ่านต่อ...



Copyleft : some rights reserved

     คงเคยได้ยินกันผ่านหูกันมาบ้างว่า ไม่มีกวีบทไหน ไม่ได้รับแรงบันดาลใจจากกวีบทเก่า เช่นเดียวกับงานสร้างสรรค์ต่างๆก็ล้วนก่อเกิดแตกยอดมาจากสิ่งที่ดำรงอยู่แล้วก่อนหน้าทั้งสิ้น หากในยุคที่ทุกสิ่งทุกอย่างถูกขึ้นทะเบียนตีตรา จดสิทธิบัตร สงวนลิขสิทธิ์ไปเสียหมดอย่างในทุกวันนี้ ถ้าใครคิดขยับตัวทำอะไรก็ต้องคิดหน้าคิดหลัง ต้องตรวจสอบแล้วเล่าว่าไปละเมิดลิขสิทธิ์ของใครเข้าบ้างหรือเปล่า

     ข้อบังคับเรื่องลิขสิทธิ์อันเข้มงวดได้เพิ่มจำนวนผู้ไม่สบอารมณ์มากขึ้นทุกที และกฎหมายในหลายๆประเทศที่ออกมาขยายระยะเวลาการถือครองสิทธิของทายาท หลังผู้สร้างสรรค์เสียชีวิตจากห้าสิบปีเป็นเจ็ดสิบปีก่อนที่จะตกเป็นสมบัติสาธารณะ

อ่านต่อ...



Ora-ito : Dream designer

     จะเกิดอะไรขึ้น ถ้านักออกแบบโนเนมวัยยี่สิบเอ็ดปี ตั้งตนเองเป็นนักออกแบบของบริษัทยักษ์ใหญ่ชื่อดังระดับโลกอย่างไนกี้ หลุยส์ วิตตง แอปเปิล กุชชี ลงมือออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ภายใต้แบรนด์เนมและคอนเสปท์ของผลิตภัณฑ์เหล่านั้นโดยไม่ขออนุญาตบอกกล่าวบริษัทเหล่านั้นเลยสักคำ

     แถมยังนำผลงานของตนขึ้นแสดงบนเวบไซต์ให้คนที่ไปดูเข้าใจผิดคิดว่าผลงานออกแบบเหล่านั้นเป็นสินค้ารุ่นใหม่ล่าสุดของบริษัทต่างๆ

อ่านต่อ...



Free Radio : Voice without boss

     ยุคสมัยที่สื่อคุมตลาดและพฤติกรรมมนุษย์อย่างทุกวันนี้ คงจะมีน้อยคนนักไม่เคยฟังวิทยุ แต่ผู้ฟังวิทยุสักกี่คนกันเชียวจะรู้สึกตัวว่าความจริงเสียงที่ออกจากวิทยุไม่ได้เป็นเสียงจากรายการวิทยุเสียเท่าไหร่ แต่ที่ได้ฟังเป็นเสียงโฆษณาสินค้าเสียกว่าครึ่งค่อน ทั้งช่วงสปอตและที่คุณดีเจทั้งหลายพูดกรอกซ้ำย้ำเข้าไป ย้ำเข้าไป ย้ำเข้าไป (ขออีกที)

     ย้ำเข้าไปจนอยากไปซื้อหาไปใช้บริการให้ได้ คนเราพอฟังเสียงกรอกหูบ่อยๆ ถึงจะเป็นคนหัวแข็ง แต่คงไม่แกร่งไปกว่าหินที่ถูกน้ำหยดใส่จนกร่อน

อ่านต่อ...



Le Canard enchaîné : The Duck of Le Coq

      ไก่ตัวผู้หรือ Le coq (เลอ ค๊อก) เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศสที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะเห็นเป็นโลโก้อยู่บ่อยๆ บนอกเสื้อนักฟุตบอลทีมชาติประเทศนี้

     แต่ oversee ฉบับนี้ไม่ได้มาเล่าเรื่อง Le coq ให้ฟัง (แค่ดึงมาช่วยเปิดเรื่องเฉยๆ) แต่จะแนะนำให้รู้จักสัตว์ที่มีบทบาทอย่างสูงในการตรวจสอบและเป็นผู้สื่อข่าวสารในวงการเมือง แวดวงธุรกิจและกระบวนการยุติธรรมของไก่ฝูงใหญ่ฝูงนี้สู่มวลชน ซึ่งไม่ใช่นกน้อยในไร่ส้มหรือหมาเฝ้าบ้าน(ที่เชื่องมากเชื่องน้อย แต่เชื่อง) อย่างในบ้านเรา หากเป็นเป็ดตัวหนึ่งและเป็นเป็ดที่ถูกล่ามโซ่เสียด้วย

อ่านต่อ...



Artist Pension Trust

      เมื่อร้อยกว่าปีก่อน มีศิลปินไร้ชื่อเสียงและเงินทองผู้หนึ่งขายภาพเขียนของตนภาพหนึ่งไปในราคา 2,700 บาท และภาพนั้นเป็นผลงานเพียงชิ้นเดียวที่ขายได้ขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่ ไม่นานหลังจากเขาตายไป ผลงานของเขาได้รับความชื่นชมนิยมยกย่องอย่างกว้างขวาง

     ปัจจุบัน เขาเป็นศิลปินที่ติดอันดับเจ้าของผลงานภาพวาดที่มีราคาแพงที่สุดภาพหนึ่งของโลก ด้วยราคาขายจากการประมูล คิดเป็นเงินไทยได้ประมาณ 272,250,000,000 บาท

อ่านต่อ...



Más respeto, que soy tu madre

      นักท่องเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทุกวันนี้น้อยคนนักจะไม่เคยผ่านตาคำว่า blog (บล็อก) ซึ่งเป็นคำย่อที่รวบมาจากคำว่า web log (เวบ ล็อก)

     แต่ว่าเวบ ล็อก มันคืออะไรกันแน่

     (ขออภัยที่อาจจะต้องฉายข้อมูลซ้ำ เรียนเชิญคนที่รู้อยู่แล้ว อ่านข้ามสามย่อหน้าถัดจากนี้ไปได้เลย เราไม่ว่ากัน ส่วนคนที่ยังไม่ค่อยรู้ สามารถอ่านคำอธิบายอีกรอบให้ทราบลักษณะพื้นฐานของบล็อกแบบน้ำๆ ก่อนจะเข้าเรื่องราวเนื้อๆ)

อ่านต่อ...



The Observer ethical awards

      ประกาศ : โลกเราร้อนขึ้น ภูเขาน้ำแข็งขั้วโลกกำลังละลาย น้ำจะท่วมโลก สภาพอากาศปั่นป่วนจนเกิดพายุบ้าคลั่ง ปัญหาปฏิกิริยาเรือนกระจกกำลังรุนแรงขึ้น ป่าไม้ร่อยหรอลงไปกว่าครึ่งค่อน อากาศเป็นพิษ น้ำสะอาดจะขาดแคลน ต้นตอของโรคร้ายทั้งวัวบ้าและไข้หวัดนกมาจากการเลี้ยงสัตว์อย่างผิดธรรมชาติ สารเคมีในกิจการเกษตรเป็นต้นตอของโรคมะเร็ง และอื่นๆ และอื่นๆ

     ประกาศทำนองนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ บรรดานักต่อสู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมร้องป่าวเตือนมาตลอดตั้งแต่ไหนแต่ไร ด้านคนทั่วไปนั้น ได้ยินบ้าง ไม่ได้ยินบ้าง ไม่ได้ฟังบ้าง

อ่านต่อ...



The Night of Museums

     คืนวันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 คุณทำอะไรอยู่

     คืนวันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ประชาชนนับล้านทั่วยุโรปไปพิพิธภัณฑ์ใกล้บ้านของตน ไม่ว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนั้นจะจัดแสดงผลงานประเภทใด ศิลปะร่วมสมัย ศิลปะสมัยใหม่ ศิลปะยุคเก่า ภาพวาด งานปั้น งานติดตั้ง ศิลปะประยุกต์ ภาพถ่าย วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์พื้นบ้าน ประวัติศาสตร์ประจำเมือง หรือทางการทหาร จนถึงพิพิธภัณฑ์ด้านอุตสาหกรรม

อ่านต่อ...



Green Dragon?

      Oversee ฉบับนี้เป็นเรื่องเขียวๆ อีกครั้ง โดยจะขอกล่าวถึงประเทศจีนที่กำลัง “ชดใช้” ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ

      เงินทองที่ไหลมาเทมาหลังการเปิดการค้าเสรี ด้วยมลภาวะเป็นพิษ ปัญหาสังคม และชีวิตของคนงานเหมืองถ่านหินอันเป็นแหล่งพลังงานหลักของอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตสุดขีดจนละเลยหลัก “ปลอดภัยไว้ก่อน”

อ่านต่อ...



Grigori Perelman

     เมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โลกคณิตศาสตร์ตื่นตะลึง สื่อมวลชนได้หัวข้อข่าวแปลกให้เขียนถึง ขณะที่ประเทศรัสเซียได้วีรบุรุษคนใหม่ นามว่า กริกอรี เปเรลมาน (Grigori Perelman)

     เปเรลมาน ผู้มีดีกรีเป็นดอกเตอร์ด้านคณิตศาสตร์ ได้รับการเสนอชื่อและตัดสินให้ได้รับเหรียญฟิลดส์ หรือรางวัลชื่อเต็มๆ ยาวๆ ว่า เหรียญรางวัลสากลสำหรับการค้นพบที่โดดเด่นทางด้านคณิตศาสตร์ ประจำปี 2006 และยังมีสิทธิได้รับเงินรางวัลจากการแก้หนึ่งในปริศนา 7 ข้อแห่งสหัสวรรษ

อ่านต่อ...




Creative commons

     ใน a day ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2547 เคยเล่าให้ฟังถึงปรากฏการณ์งานสร้างสรรค์ที่เจ้าของไม่หวงลิขสิทธิ์ทั้งหมด (all right reserved) แบบเดิมๆ โดยหันมาใช้ลิขสิทธิ์ชื่อกอปปีเลฟท์ (copyleft) ไปแล้วว่าเป็นแนวทางการเผยแพร่ผลงานแบบใหม่ ที่เปลี่ยนความคิดฝังใจใครต่อใครเกี่ยวกับการสงวนเก็บกักทรัพย์สินทางปัญญา

     ตอนนั้น นอกจากผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะและนักเขียนใจกว้างไม่กี่คน วงการที่นำข้อสัญญาสงวนสิทธิ์บางส่วนนี้มาใช้อย่างเป็นรูปธรรมที่สุด คือ วงการซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ นำโดยกองทุนเพื่อโปรแกรมคอมพิวเตอร์เสรี

อ่านต่อ...




Hergé 007

     เห็นหัวข้อแล้ว หลายคนอาจจะฉงนฉงาย

     มิได้ มิใช่ว่าโอเวอร์ซีฉบับนี้จะมาเล่าเรื่องสายลับเจ้าเสน่ห์คนใหม่ของอังกฤษ แต่จะมาพูดถึงชายผู้สร้างสรรค์เรื่องราวการผจญภัยที่ตื่นเต้นเร้าใจไม่แพ้พ่อเจมส์ บอนด์ 007 เลยต่างหาก

     ชายผู้นี้เป็นนักวาดการ์ตูนชาวเบลเยี่ยมที่มีผลงานซึ่งอยู่ในใจหลายต่อหลายคน ด้วยยอดขายกว่า 200 ล้านเล่มทั่วโลก แปลไปแล้วมากกว่า 60 ภาษา (รวมทั้งภาษาไทยของเราด้วย) เขาเป็นคนให้กำเนิดการ์ตูนที่มีตัวเอกเป็นหนุ่มน้อยนักข่าว เจ้าของทรงผมปอยหน้ากระดกผู้เดินทางผจญภัยแล้วแทบทุกทวีป


อ่านต่อ...



Da la Rey

     ถ้าเอ่ยถึง ทวีปแอฟริกา คุณนึกถึงอะไร

     อาจจะหนีไม่พ้น สัตว์ป่า ซาฟารี ทะเลทราย ความแห้งแล้ง ความอดอยาก เมืองขึ้นยุคอาณานิคม สงครามกลางเมือง เหมืองเพชร โรคเอดส์ และคนดำในชุดประจำเผ่า

     เชื่อว่าน้อยคนนักจะนึกถึงคนผิวขาวชาวแอฟริกันที่เรียกตัวเองว่า แอฟริกันเนอร์ (Afrikaner) พวกเขาเป็นลูกหลานที่สืบเชื้อสายมาจากพวกโบร์ (Boer) อันเป็นคำเรียกกลุ่มผู้อพยพจากยุโรปมาตั้งถิ่นฐานและตั้งตนเป็นประชาชนของทวีปแอฟริกา


อ่านต่อ...



Slow fish

     ในโลกปัจจุบันที่นอกจากปลาใหญ่จะกินปลาเล็กแล้ว ปลาทุกขนาดยังต้องเคลื่อนไหวรวดเร็ว เพื่อหลีกเลี่ยงปรากฏการณ์ ‘ปลาเร็วกินปลาช้า’ อย่างที่คุณคาร์ล ออนอเร สะกิดให้เห็นภาพในหนังสือเรื่อง In praise of slowness หรือในภาคภาษาไทยชื่อ “เร็วไม่ว่า ช้าให้เป็น” (แปลโดยคุณกรรณิการ์ พรมเสาร์ จัดพิมพ์โดย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค)

     ไม่ต้องยกตัวอย่างธุรกิจพันล้านอื่นใดไกลตัว แค่งานเขียนคอลัมน์เล็กๆ อย่างโอเวอร์ซี ช่วงหลังนี่ ยังมีการ “ปาด” กันฉึบฉับ เริ่มจากการเขียนถึงหัวข้อเดียวกันของสองนักเขียนร่วมคอลัมน์ ซึ่งพอจะให้อภัย เป็นที่เข้าใจได้ว่าสลับเขียนกันมานานแล้ว จะเลี้ยวเข้าซอยเดียวกันก็คงไม่แปลก (ที่น่าแปลกคือทำไมเพิ่งมาชนกันเอาป่านนี้)


อ่านต่อ...




Surveillance Camera Players

     ป่านนี้ คงไม่มีใครไม่รู้จักรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลิตี้ทีวีที่ให้คนจริงๆ มาใช้ชีวิตตามล่าฝัน เงินรางวัล และชื่อเสียงอยู่ในจอบ้านคุณ (ที่มีเคเบิล) ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง หลายคนเฝ้าหน้าจอจับตาดู “ตัวละคร” หน้ากล้องที่ซ่อนในมุมต่างๆ ของบ้านจากโครงการหมู่บ้านของสปอนเซอร์ประจำรายการอย่างใจจดใจจ่อ คอยลุ้นเขาหรือเธอให้สามารถผ่านด่านทดสอบในรูปแบบต่างๆ ที่ทางผู้จัดกำหนด

     แต่รู้ตัวกันบ้างหรือเปล่าว่า เมื่อปิดทีวี ก้าวออกจากบ้าน (หรือจากห้องพักคอนโดมีเนียมและโรงแรม) ผู้ชมที่จับตามองตัวละครในจอโทรทัศน์ จะเปลี่ยนบทบาทไปเป็น “ผู้เล่น” ปรากฏตัวตามหน้าจอมอนิเตอร์ของหน่วยงานรักษาความปลอดภัย ทั้งส่วนเอกชนตามอาคารต่างๆ และส่วนราชการ ผ่านกล้องโทรทัศน์วงจรปิด หรือที่เรียกย่อๆ ว่า CCTV (Closed-circuit television) ที่ติดอยู่แทบทุกหัวระแหงตามถนนหนทางในทันที



อ่านต่อ...




Surveillance Camera Players

    เมื่อวันก่อนอ่านนิตยสาร DPP (Digital Photo Pro) มีบทสัมภาษณ์ช่างภาพหลายคนว่ากล้องถ่ายรูปพิลึกกึกกือสุดๆ ที่แต่ละคนเคยใช้เป็นอย่างไร กล้องของบางคนเป็นกล้องแบบจับจีบสมัยพระเจ้าเหาที่ซื้อมาจากร้านของเก่า บางคนเป็นกล้องที่ติดเลนส์ “โฮมเมด” เบี้ยวๆ ที่เจ้าของหลอมเรซินเอง และมีกล้องของช่างภาพคนหนึ่งที่น่าสนใจ คือ กล้องถ่ายรูปรูเข็มทำจากกล่องไม้ขีด (Matchbox pinhole Camera)

    น่าสนใจเพราะเป็นกล้องประเภททำเองก็ได้ง่ายจังและถูกด้วย เหตุผลข้อหลังจูงใจให้คิดลงมือทำดูบ้าง เริ่มต้นด้วยการค้นหาข้อมูลวิธีการทำต่อในอินเตอร์เน็ต เจอบล้อกที่อธิบายวิธีการทำอย่างละเอียดทุกขั้นตอน ตามลิงก์ไปยังชุมชนของคนเล่นกล้องกล่องไม้ขีดที่ต่างนำรูปของตัวเองขึ้นอวดกันไปมาในเวบไซต์ช่วยเพิ่มความฮึกเหิม



อ่านต่อ...




Car sharing = world sharing

    สมัยยังอาศัยอยู่กรุงเทพมหานคร ตอนที่ต้องนั่งรถคุณอาผู้ที่ฉันไปอาศัยอยู่บ้านท่านแถวพัฒนาการเข้ากลางเมืองไปมหาวิทยาลัย โดยใช้เส้นทางที่รถติดกระหน่ำอย่างสุขุมวิทขณะยังไม่มีรถไฟฟ้าวิ่งอยู่เหนือหัว ฉันเคยมองรถยนต์ที่ต่อแถวติดแหง็กเป็นสาย แล้วคิดเล่นๆ ว่า เราน่าจะสามารถลดจำนวนรถยนต์บนท้องถนนได้หลายคันเลย ถ้าคนในหมู่บ้านเดียวกันที่ต้องเดินทางไปทำงานในเส้นทางเดียวกันออกเดินทางจากบ้านด้วยรถคันเดียวกัน

    อีกนานเลยหลังจากนั้น คือในตอนนี้ ฉันเพิ่งรู้ว่า การแบ่งกันใช้รถยนต์เพื่อไปในเส้นทางเดียวกันอย่างที่ฉันเคยได้แค่นึกคิดเล่นๆ มีการลงมือปฏิบัติกันจริงๆ จังๆ แล้วในหลายๆ ประเทศ ไม่ว่าจะเป็น อังกฤษ สวิสเซอร์แลนด์ เนเธอแลนด์ เยอรมัน และในฝรั่งเศส (โดยเฉพาะช่วงที่มีการประท้วงหยุดงานของสหภาพแรงงานรถไฟอย่างเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา)



อ่านต่อ...




On demand book machine – The future of publishing

    หลังจากที่ในสมัยหนึ่งมีคนกริ่งเกรงกันนักหนาว่าหนังสือบนอินเตอร์เน็ตหรืออีบุค (E-book) จะเข้ามาแทนที่หนังสือที่พิมพ์ออกมาเป็นเล่ม ทุกวันนี้ สิ่งที่ปรากฏอยู่คงจะทำให้สิ้นข้อสงสัยในเรื่องนี้กันแล้ว เพราะกาลเวลาและพฤติกรรมของคนอ่านทั่วโลกที่ยืนยันว่ายังพิสมัยการสัมผัสกระดาษพร้อมกับสูดกลิ่นหมึกพิมพ์ และปฏิเสธการเพ่งอ่านตัวหนังสือบนหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ ได้ “เคาะ” ออกมาแล้วว่า หนังสือยังจะเป็นสิ่งที่เหมาะในการอ่านสำหรับมนุษย์มากกว่าการอ่านผ่านสื่ออื่นๆ

    แต่ในยุคที่นักเขียนส่วนใหญ่หันมาส่งต้นฉบับเป็นไฟล์อิเลคทรอนิคส์ผ่านไปรษณีย์อิเลคทรอนิคส์ บรรณาธิการตรวจแก้และส่งไฟล์อิเลคทรอนิคส์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของโรงพิมพ์ที่มีเครื่องรับที่แปลงข้อมูลอิเลคทรอนิคส์ไปยังแท่นพิมพ์ที่รองรับระบบอิเลคทรอนิคส์ ในวงการพิมพ์ที่หันมาใช้อิเลคทรอนิคส์กันในทุกขั้นตอนอย่างนี้ ในยุคที่วงการอื่นๆ เช่น วงการเพลง ที่ปรับตัวจนหาเงินได้เป็นกอบเป็นกำจากไฟล์อิเลคทรอนิคส์ด้วยการขายผลงานให้ดาวน์โหลดง่ายๆ ทางอินเตอร์เน็ตอย่างในสมัยนี้ วงการหนังสือควรจะหยุดนิ่งอยู่กับความพอใจที่ได้เป็นสื่อโบราณแสนรักสุดหวงของนักอ่านในรูปแบบเดิมๆ อีกหรือไม่



อ่านต่อ...



Restos du Coeur – โรงอาหารจากธารน้ำใจ

    ในปี ค.ศ. 1985 เมื่อ โกลุช (Coluche 1944-1986) นักแสดงและตลกชาวฝรั่งเศสกล่าวผ่านรายการวิทยุช่องเออโรป 1 ว่า

    “ผมได้รับจดหมายจากคนตกงานหลายคน เขียนมาว่า พวกคุณช่างใจดี ร้องเพลงการกุศลช่วยคนที่อดอยาก แต่เงินเหล่านั้นถูกส่งไปต่างประเทศ (ช่วงนั้นศิลปินนักร้องจัดงานร้องเพลงการกุศลเพื่อรวบรวมเงินช่วยเด็กๆ ในเอธิโอเปีย) แล้วเมื่อไหร่พวกคุณจะช่วยคนในประเทศบ้างล่ะ ผมเลยเกิดความคิดเล็กๆขึ้นมาว่าจะหาคนรับเป็นสปอนเซอร์ เปิดโรงอาหารที่แจกจ่ายอาหารฟรีๆให้คนที่ขัดสน เริ่มจากในปารีสก่อน แล้วค่อยๆขยายไปหัวเมืองใหญ่ๆ ทั่วประเทศ...”



อ่านต่อ...



Cybercafé Artist - ศิลปินร้านเน็ต

    ขณะนั่งกินมื้อเที่ยงในร้านอาหาร มีชายสองคนในชุดเสื้อผ้าเรียบง่ายเลอะฝุ่นเป็นปื้นๆเข้าร้านมานั่งโต๊ะข้างๆ มองเผินๆ ใครก็เดาออกว่าพวกเขาทำงานก่อสร้างตึกที่ตั้งอยู่ไม่ไกล

    เมื่อเห็นกิริยาท่าทางการกินอาหารเรียบร้อยหมดจด วิธีพูดจาสุภาพมีการศึกษา รวมทั้งหัวข้อ (ที่ฉันเงี่ยหูแอบฟัง) เขาพูดคุยกัน ใจฉันก็ไพล่นึกถึงเรื่องราวของคนๆหนึ่งที่เพิ่งอ่านมาหมาดๆ

    คนๆนั้นเป็นชาวญี่ปุ่น ชื่อ โชเฮอิ คาวาซากิ (Shohei Kawasaki)

    เขาอายุเพียง 26 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งโตเกียวอันเลื่องชื่อ ได้รับเลือกเป็นหนึ่งใน “108 ศิลปินรุ่นใหม่ของญี่ปุ่น” จากนิตยสารศิลปะบิจูทซึ-เทโช (Bijutsu-techo) ในปี 2006

    แล้วยังไงล่ะ หลายคนอาจจะกำลังนึกในใจ



อ่านต่อ...



Arab Superhero - ซุเปอร์ฮีโร่อาหรับ

    ซุเปอร์ฮีโร่ในการ์ตูนทุกเล่มนั้นล้วนแต่มีที่มา เช่น ซุเปอร์แมนลี้ภัยมาจากโลกที่กำลังย่อยยับ สไปเดอร์แมนถูกแมงมุมอาบกัมมันตรังสีกัด แบ็ตแมนต่อสู้กับเหล่าร้ายเพื่อแก้แค้นศัตรูที่สังหารพ่อแม่ของตน ส่วนซุลเลมาน บากิต ชายหนุ่มชาวจอร์แดนคนหนึ่งก็มีเรื่องราวซึ่งทำให้ลูกชายนายกรัฐมนตรีกลายเป็นเจ้าของสำนักพิมพ์การ์ตูนแห่งเดียวในโลกอาหรับเช่นกัน

    เหตุการณ์ที่เปลี่ยนชีวิตของเขาเกิดขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 2002 ในคืนหนาวเหน็บ ที่มหาวิทยาลัยมินเนโซตา สหรัฐอเมริกา ขณะนั้นบากิตกำลังเรียนอยู่คณะวิศวกรรมศาสตร์ตามความประสงค์ของบิดามารดา วันพุธนั้นเป็นคืนที่นักศึกษาอเมริกันดื่มสังสรรค์กันหนัก และเป็นคืนหลังเหตุการณ์ถล่มตึกเวิร์ลเทรด หรือที่รู้จักเรียกกันทั่วไปว่า นายน์ วันวัน ( 9/11) ไม่ถึงหกเดือนนั้น กลุ่มนักศึกษาอเมริกันมึนเมาสี่คนกรูเข้ารุมทำร้าย ใช้ขวดแตกเป็นปากฉลามปาดแทงบากิต ด้วยความชิงชังชาวอาหรับต้นเหตุเรื่องโศกสลด แม้เวลาจะผ่านเลยไปแล้วหกปี แต่ทุกวันนี้รอยแผลเหล่านั้นยังคงปรากฏให้เห็นเด่นชัดบริเวณข้างลำคอของเขา

    ด้วยความอัดอั้นตันใจในความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นกับตน คืนนั้นบากิตปฏิเสธความช่วยเหลือจากตำรวจอเมริกันที่เข้ามาช่วยเหลือ เขาไม่ไปโรงพยาบาลและตัดสินใจรักษาบาดแผลด้วยตัวเอง โดยการใช้มีดเผาไฟจี้บาดแผลเพื่อห้ามเลือด



อ่านต่อ...










 

Create Date : 20 กุมภาพันธ์ 2550    
Last Update : 28 ตุลาคม 2551 12:04:14 น.
Counter : 848 Pageviews.  


Mutation
Location :
somewhere in Hong Kong SAR

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ฉั น คื อ ใ ค ร

     สาวพฤษภชาวแกลงแห่งเมืองระยอง ลอยละล่องเรื่อยไปจนปาเข้าสามสิบ กว่าจะได้พบอาชีพที่ต้องจริตจนคิดตั้งตัวเป็นนักแปลรับจ้างเร่ร่อนไร้สังกัด ปัจจุบันเปิดสำนักพิมพ์เล็กๆ ชื่อ "กำมะหยี่"

     จุดหมายในชีวิต หลังจากผันผ่านคืนวันมาหลายปีดีดัก ขอพักไม่หวังทำอะไรใหญ่โต ขอเพียงมีชีวิตสุขสงบ ได้ทำสิ่งที่ดีๆ ทำตามหน้าที่ของตนในทุกด้านอย่างดีที่สุด แค่นั้นพอ

      ฉันมีหวานใจ- สามี - สุดที่รักแสนดีชาวฝรั่งเศส แถมเรือพ่วงสองลำเล็กๆ ตอนนี้มาใช้ชีวิตกันอยู่ที่ฮ่องกง



Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add Mutation's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.