เที่ยวเมือง PENANG
บ่ายวันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน ผมและเพื่อนคอสีน้ำคนหนึ่ง ก็ตระเกียกตระกาย (เขียนไงก็ไม่แน่ใจ) ขึ้นรถไฟตู้นอนชั้นสอง มุ่งหน้าสู่ปีนัง เมืองในมาเลย์เซียที่เคยเป็นเมืองสุดฮิตสมัยคุณป้ายังสาว (คือสมัยผมเป็นเด็กนั่นเอง) หรือสมัยที่ลอนดอน, อิตาลี่, ดูไบ อะไรเหล่านี้ยังอยู่ไกลสุดเอื้อม อะไรปานนั้นแหละครับ
ขึ้นรถไฟนี่ ผมชอบครับ ทั้งๆที่มันไม่ได้สะบายบรื๋ออย่างที่ควรจะเป็น แต่บรรยากาศของการเดินทางโดยรถไฟก็ยังทำให้ผมขนลุกขนชันด้วยความตื่นเต้นดีใจอยู่ได้นั่นเอง, ถ้าคำเปรียบเทียบของผมฟังไม่จูงใจเท่าที่ควร ก็ช่วยทำใจแทนด้วยนะครับ เพราะผมอยากให้รถไฟไทยก้าวหน้าทันโลกกับคนอื่นเขาซะทีจริงๆ แล้วผมคงมีเรื่องเล่าการเดินทางด้วยรถไฟเยอะขึ้นแยะแน่ๆเลยครับ
ก็เลยขอนำสิ่งที่เห็นจากการนั่งรถไฟมาประกอบด้วยครับ เรื่มด้วยหน้าตาที่นั่งและเล็กๆน้อยๆของชีวิตบนรถไฟครับ

It was 3 PM on Friday 12th, June 09, when Pramote and I boarded a 2nd class sleeper train heading toward Penang. Penang was a popular destination where grand ma went shopping when London, Paris or Dubai were not as common as today.
I love travelling by trains, never failed to get over excited though even when always wished the service was as half as good as other 3rd world countries!
Whatever, let's get on with a little somethings about the trains I was on. The train seat arrangement that transformed into double level bunk bed at 8.30 PM and a glimps of night life on boards.




เรื่องรถไฟชักทำเขว เอาเป็นว่าเราก็ขึ้นรถไฟจะให้ถึงบัตเตอร์เวิร์ธแล้วลงเรือข้ามฟากไปขึ้นฝั่งปีนัง ปีนังเป็นเกาะครับ เนื้อที่เท่าไหร่ขอติดไว้ก่อนครับ รวมทั้งจำนวนประชากร ก็ขอติดไว้เช่นกัน เวลาตามกำหนดก็จะถึงบัตเตอร์เวิร์ธราวบ่ายโมงวันรุ่งขึ้น รวมเวลาเดินทางจากกรุงเทพฯประมาณ 22 ชม.
อย่างไรก็ตาม จากการคุยกับพนักงานรถไฟก็ได้ความว่า เวลารถไฟเป็นเวลายืดหยุ่น การผ่านด่านตรวจที่ปาดังเบซาร์จะใช้เวลาประมาณ 3 ชมเป็นอย่างน้อย ผู้โดยสารต้องลงตรวจออกจากเมืองไทยแล้วต่อด้วยการตรวจเพื่อเข้าเมืองมาเลย์พร้อมกระเป๋าสัมภาระทั้งหมด จากนั้น ก็จะเดินทางต่อไปบัตเตอร์เวิร์ธเพียง 3 รถตู้จากจำนวนทั้งหมดประมาณสิบกว่ารถตู้ ท้ายสุด ก็จะมึความเป็นไปได้สูงที่จะถึงจุดหมายปลายทางได้ช้ากว่ากำหนดสักชั่วโมงสองชั่วโมงซะกระมัง
เล่นเอาต้องรีบนอนทำใจแต่หัววัน สักสองทุ่มครึ่งกระมังครับ เวลามารตฐานการทำที่นั่งให้แปลงกายเป็นเตียงนอน ทั้งเตียงบนและล่าง
อย่างไรก็ตาม (ครั้งที่ 2) เมื่อรถไฟถึงหาดใหญ่ตอน 7 โมงเช้า เราก็ตัดสินใจโดด (ที่จริงก็เดินลงธรรมดานี่เอง แต่ใช้สำนวนตามที่มันควรจะเป็นเพื่อความเหมาะสมเท่านั้น) ลงจากรถไฟ แล้วมุ่งหน้าเข้าร้านบากุตเต๋ (ซุปกระดูกหมูตุ๋นยาจีนและเผ็ดด้วยพริกไทย สไตล์สิงคโปร์ครับ)
เหตุผลการสละรถไฟก็ง่ายๆว่าเพื่อนท่านที่เดินทางด้วยเป็นผู้คุ้นเคยกับหาดใหญ่เป็นอย่างดีและก็เกิดคิดถึงเพื่อนเก่าเจ้าประจำร้านบะกุดเต๋รสเด็ดของหาดใหญ่ขึ้นมากระท้นหันในเช้าที่รถไฟวิ่งเข้าสถานีพอดี
เราก็เลยแวะกินอาหารเช้าที่หาดใหญ่นี่แหละครับ

Lets not let the train disrail my destination, we were scheduled to reach Butterhworth 22 hours later on Sat 1 PM. The train attendant good naturedly informed us that the train was very lightly to be a few hours late due to the usual long and boring immigration check at Padung Besar.
The information seemed to call for some digestion, so we went to bed early, in line with the nearby few fellow travellers.
By 7 AM, we magically reached Haad Yai, as scheduled! However, by another magical train of events, Pramote gave us a solid reason to disown our seats to Butterworth. You see, Pramote was no stranger to Haad Yai, he knew Haad Yai like his own palm. And at exactly the moment the train reached Haadyai station he recalled vividly of the famous pork rib soup not far from the station. So, off we went.




และร้านบะกุ๊ดเต๋ที่ว่าครับ มีโอกาสก็แวะลองได้เลย ผมไม่ได้มีส่วนอะไรนะครับ บอกได้แค่ว่า รสชาดเขาเยี่ยมทีเดียว

Pictured below, the famous herbal pork rib soup or Bakut Teh, Singapore style, was really worth the train jump. Don't just believe me but do check it out the next time you are around the area. Go early as the shop closes at 2 PM!




เอาเป็นง่ายๆว่า เมื่ออิ่มจากอาหารเช้าที่รสชาดเข้าเหงื่อเข้าไคลแล้ว เราก็ต่อรถตู้เข้าเมืองปีนังโดยตรง โดยเข้าทางด่านสะเดาแทนที่จะเป็นด่านปาดังเบซาร์แบบรถไฟ ไม่ต้องวุ่นวายกับการลงเรือข้ามฟาก (ferry ครับ แบบที่ใช้ข้ามไปเกาะช้างจากตราดนั่นแหละครับ) รถตู้ 12 ที่นั่งก็วิ่งไปส่งถึงที่พักเลย ตอนประมาณบ่าย 2 โมง ก็ไม่มีโอกาสเสาะถามให้มากความว่ารถตู้วิ่งเร็วหรือช้ากว่ารถไฟหรือไม่หรือจะมากน้อยกว่ากันอย่างไร เอาเป็นว่าถึงเหมือนกันเป็นใช้ได้ก็แล้วกันนะครับ
ลืมเล่าตอนเรื่มต้นเรื่อง ถึงจุดประสงค์ของการโดดขึ้นโดดลงรถไฟไปครับ ว่า เราผู้สูงอายุทั้งสอง เดินทางมาปีนัง ไม่ได้เพื่อช๊อบปิ้งอย่างที่คุณป้าทำตอนยังสาวนะครับ แต่เรามีจุดประสงค์ในการท่องเที่ยววาดรูปครับ เป็นทัศนศึกษาเพื่อความรู้เป็นการเปิดหูเปิดตา อย่างที่เด็กนักเรียนทำกันนั่นแหละครับ แต่นี่เราทำกันเอง ไม่มีผอ. ที่บ้านเป็นผู้นำก็เลยระหกระเหินกันเล็กน้อย แต่เราก็แน่ใจว่า พอจะดูแลตัวเองได้ครับ อายุก็ปูนนี้แล้วนี่
ที่พ้กของเราเป็น guest house เล็กๆที่ดัดแปลงจากบ้านสองชั้นที่มีลักษณะฝรั่งปนตะวันออกซึ่งเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของปีนังที่อยู่ในโครงการอาคารอนุรักษ์ ได้รับการคุ้มครองรักษาเพื่อการศึกษาและเป็นสมบัติส่วนรวมต่อไป อาคารลักษณะนี้มีหลายแห่งที่ดัดแปลงเป็นโรงแรมที่พัก ส่วนใหญ่เป็นโรงแรม 5 ดาว แต่ที่เราพักนี้ (Hutton Lodge) เป็นแบบ guest house มีอยู่เพียงสิบกว่าห้อง ส่วนใหญ่เป็นแบบห้องน้ำรวมครับ ราคาก็ย่อมเยา (ประมาณ 1000 บาท/คืน)

When we got a better control of our sweat, we took a 12 seat van to Penang via Sadao check point instead of Padung Basar. The van saved us the trouble of going through the ferry routine and brought us directly to the island. We reached our destination by about 2 PM without really knowing if we made it earlier or later than the train. Does it matter with the Bakut Teh thrown in?
Before we went too far, just'd like to mention that we were not on our shopping spree as our grand aunts did but to see and capture Penang, a lovely and close by Malaysian town on paper and colors. This is how we would like to see the world, just like any kid would, yes, as it is at our age and we will do it before it's too late!
Our accommodation in Penang was a lovely heritage guest house of a moderate rate with great locality, just off the major Penang Road.




ที่พักอยู่ค่อนข้างกลางเมือง เราออกมาเดินเที่ยวตลาดปีนัง ซึ่งเป็นที่นิยมของคนไทยในยุคหนึ่ง ไม่ทราบว่ายังนิยมในปัจจุบันหรือไม่ ตลาดเช้าเหมือนกรุงเทพมาก

We took a stroll at the Penang Market where all Thai hi-so used to once flock. Not so sure if it is still the IN place though!




ทั้งอาหารการกิน

We felt very much at home, from people to the mess and the rest!



ผักสดผลไม้ รวมทั้งของดองของเปรี้ยวจากเมืองจีน

Not even the EXOTIC stuff like this, we have all this right on 3rd floor at MBK, no kidding!



ปีนังส่วนกลางเมืองด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะชื่อ George Town เป็นส่วนที่ตั้งของการบริหารและธุรกิจตั้งแต่สมัยอังกฤษปกครอง สังเกตุเห็นได้จากหลายๆมุมมองด้วยอาคารสูง Comtar ซึ่งเป็นอาคารสูงหลังแรกและแห่งเดียวในปีนังครับ


อีกวิวหนึ่งของตึก Comtar


ปีนังต่างจากเมืองอื่นๆในมาเลย์เซียตรงที่เป็นเมืองที่มีชาวจีนอยู่มากที่สุดครับ การที่มีชาวจีนอยู่อาศัยอย่างหนาแน่นทำให้เป็นเมืองที่รุ่งเรืองมากด้านเศรษฐกิจ จนถือเป็นเมืองที่มีความสำคัญเป็นทีสอง รองจากกัวลาลัมเปอร์อันเป็นเมืองหลวงเองเลยทีเดียว กล่าวได้ว่า ปีนัง เป็นเมืองที่มีฐานะทางเศรษฐกิจทัดเที่ยมได้กับโยโฮบารูห์ ซึ่งก็มีคึกคักด้านเศรษฐกิจอย่างสูงเพราะเป็นเมืองที่อยู่ติดกับสิงคโปร์เลย
นอกจากอาคารต่างๆที่มีอิทธิพลตะวันตกอันได้จากการอังกฤษสมัยก่อนรับเอกราษฎร์แล้ว อาคารที่แสดงออกถึงศาสนาอิสลามก็มีให้เห็นอยู่มากมาย เช่นโบสถ์แขกใหญ่สง่าสวยงามกลางเมืองนี้ครับ




ในปีนัง ชาวจีนมีบทบาทไม่แต่ด้านเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงอาคาร สถาปัตยกรรมและประเพณี วัฒนธรรมด้านอื่นๆด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาคารสมาคมและวัดต่างๆที่สร้างขึ้นโดยคนรวยล้นอำนาจของตระกูลต่างๆ ไม่ผิดกับกลุ่มมาเฟียของอิตาลี่เลยแหละ
มีวัดมากมายในปีนังที่ยังคงไว้ซึ่งคุณค่าทางสถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์ที่มักซ่อนอยู่หลังตึกแถวธรรมดาทั่วไปริมถนน
เช่นวัดของตระกูลแซ่ๆหนึ่ง ซึ่งมีทางเข้ากว้างเพียงหนึ่งคูหาเหมือนร้านค้าอื่นทั่วไป


ภาพแสดงตำแหน่งวัดหรืออาคารสมาคมที่งดงามซ่อนอยู่ในกลุ่มอาคารและการรักษาบูรณะคืนสู่สภาพสมบูรณ์เพื่อเป็นมรดกตกทอดถึงสังคมปัจจุบันและอนาคต





ผมขอจบตอนแรกของการเที่ยวปีนังครับ ถือเป็นการหอมปากหอมคอนะครับ ผมจะมีปีนังตอนที่สองครับ และหวังว่า คงจะเป็นที่สนใจบ้าง



Create Date : 27 มิถุนายน 2552
Last Update : 30 มิถุนายน 2552 17:20:52 น.
Counter : 2778 Pageviews.

4 comment
ภูฐาน 3_Paro, Goodbye Bhutan
ภูฐานตอนที่ 3 นี้ เป็นย่อหน้าสุดท้ายของสมุดภาพวาดบันทึกการเทียวเรียนรู้โลกของผมครับ
และก็เพิ่งฉุกใจนึกว่า น่าจะทำอะไรที่สนุกแตกต่างไปจากความเคยชินที่ทำอยู่ ถ้าจะดี
ก็เลยถือโอกาสลองครับ แต่หากท่านอ่านแล้วไม่รู้สึกว่ามีอะไรต่างไปจากที่ผ่านมา ก็ดีไปครับ ไม่ถือเป็นความผิดปกติอย่างไร
อีกอย่างที่อยากแจ้งคือ หากท่านอ่านคำประกอบภาพวาดทั้งไทยและอังกฤษ
และจับได้ว่า มันช่างไม่เหมือนกันเอาทีเดียว
ก็กรุณาถือว่า เป็นกำไรของท่าน ที่ได้รู้สองอย่างจากรูปวาดเดียวกัน
นะครับ

คณะไทยเที่ยวภูฐานได้บ่ายหน้าสู่ทิศตะวันออก ท่องมาถึงโภพจีก้า (Phobjika) ซึ่งอยู่ประมาณตอนกลางของประเทศ
ก็ย้อนกลับสู่เมืองพาโร ด้วยการอ้อมใต้เล็กน้อย ผ่านหุปผา ฮา (Ha Valley)
รูปด้านล่างเป็นการหยุดทานทานกลางวันแบบปิคนิก ใต้หมู่สนสูงร่มรื่น สนเสียดใบ ในสายลม
ริมธารน้ำแห่งหนึ่ง น้ำเซาะหิน ไหลรินได้ยิน หมาใหญ่น้อยเมียงมอง ไม่กล้าและไม่กล้ว
รีบวาดกลางความหิว ระหว่างรอเปิดกล่องข้าวกล่อง


Picnic at Ha Valley

These are the last few pages from my Bhutan sketchbook.
Our itinerary went as far east as Bumtang, about the middle of the country's breadth,
we then back track to Thimphu and headed Paro via a southern route through Ha valley.
We stop for a picnic lunch under patch of tall pine trees near a small stream.
It was one of my memorable times of the trip.


ภูฐานประทับใจ ด้วยภาพที่ชวนแบ่งปัน หลายรส หลายลักษณ์ หลายเรื่อง
แรกสุด ต้องตระหนัก ว่าขุนเขา หุบผา ของภูฐาน เราพูดถึงขุนเขาของเขาตระหง่าน ที่ล้อมรอบหมู่บ้านในหุบผา
ที่มีทางสายเล็กคดเคี้ยว วกวนบางครั้ง เกินกว่าจะพับผ้าได้ เป็นความงามที่น่ายำเกรง

SDC13685

I would not end my Bhutan blog well without sharing some of the scenes that have a special place in heart.
Such as, above: the valley of winding road and small cluster of Bhutanese dwellings .


หมู่ธงสีสูงลิ่ว สบัดพริ้ว ลิ่วลมอึงคนึง ธงเหล่านี้แพร่พุทธรรมไปกับสายลม ทั่วสารทิศ
ชโลมจิตที่อ่อนล้าของผู้เดินทาง ตามโตรกเขาอันคดเคี้ยว ตามทางอันหักย้อน เท่ากัน

SDC13689

the prayer flags that's such a relieve and sheerful sight when you come across one after long hours of traveling along the very winding high way..


หมู่ชนรายเรียง ในอาคารอันคงแบบอย่างไม่เลอะหลง
ท่ามกลาง ขุนเขาใกล้ไกล น้อยใหญ่ ที่อาบฉานด้วยแสงสะอาดของยามเย็น
ผมไม่อาจซ่อนเร้น ทั้งริษยาและตื่นใจได้หรอกครับ

SDC13932


the hills (again) and the light filled evening sky


รวมทั้งความจริงของชีวิตในโลกวันนี้
อันน่าอิจฉาที่ชีวิตนี้ไม่เดียวดาย ไม่ไร้คู่สาย แม้บนสวรรค์ ก็ยังแฮปปี้ได้ครับ

Monk

and the way you are not alone;-) when you are in Bhutan!


และ ครั้งหนึ่งในชีวิต จะได้ไม่เสียดายที่ได้เกิด คือการได้ตะเกียกตะกายไปขึ้น Taktsang
วัดสำคัญที่สุดของภูฐาน บนเขาสูงที่เมือง ภาโร
ในการนั่งวาดลงสี กับสิ่งที่ปรากฎอยู่เบื้องหน้า ที่ไม่ต้องยกเมฆจากรูปถ่ายในห้องโรงแรม หรือนั่งเทียนที่กรุงเทพฯ

Viewing of Taktsang

When in Bhutan, and as a "once in a life time" matter, we visited Taktsang, high up on the mountain of Paro.


การเดินทางขึ้นชมวัดเก่าแก่สำคัญชื่อ ทักซัง ที่ภาโร แยกออกได้เป็นสามระยะ
ระยะแรกง่ายสุด เพื่อเป็นการออมแรง คณะเดินทางขี่ม้า (บางคนก็เป็นฬาแทน) ใช้เวลาประมาณ 45 นาที ก็จะถึงลานแรก
ที่ลานชมวิวแรกนี้ มีร้านเครื่องดิ่มและอาหาร เป็นที่ๆผมปักหลักวาดรูป
ช่วงที่สอง ต่ออีกประมาณครึ่งชั่วโมงกว่า ถึงลานโล่งชมวิวที่สอง ไม่มีที่พัก
ช่วงที่สาม จากลานโล่งชมวิว ลงไปในหุบเขาแล้วไต่ขึ้นจนถึงตัวอาคารของวัด
รูปวาดข้างล่างนี้ เห็นช่วงที่สาม ที่ต้องลงในหุบ ก่อนไต่ขึ้นจนถึงตัววัด
ทางเดินทั้งหมด เป็นทางดินและหิน กว้างประมาณ 1-2 เมตร บางช่วงเป็นขั้นให้เดินได้ง่ายขึ้น บางส่วนเป็นหินกรวดค่อนข้างร่วน ไม่ถึงกัยเป็นอันตรายหากระมัดระวัง

The path to reach Taktsang

ผมวาดเส้นลงสีน้ำบนลานชมวิว โดยมีหมาและนกเป็นเพื่อน หลังต้องตัดสินใจ ว่าจะต่อขึ้นให้ใกล้ตัววัดหรือจะพอแค่นี้
แน่นอน รูปวาดย่อมต่างไปหรืออาจดีกว่านี้ แต่ก็เสี่ยงกับการไม่ได้ลงสีเลย
เพราะฝนทำท่าจะตก และอาจไม่มีเวลาพอกลับพร้อมคณะเดินทาง
ท้ายสุด ก็ตัดสินใจที่ลานต่ำสุดอันแรกนี้
อย่างน้อย ก็มีกาแฟร้อนๆระหว่างวาดรูปนี้ เป็นรางวัล

Taktsang

I wish I was able to get to the 2nd view point where I would have a closer and more frontal view of the monaster. But by doing that I would not have chance to do the coloring there. Well, I have no regret though! The last stage of the climb will be from the 2nd viewing area down the cliff and up the slope to the temple.
I might do it the next time, if I ever visit Bhutan again.


จากทักซัง เราเข้าชมดซองใหญ่ที่สุดในภาโร
วัดแห่งนี้ ประกอบด้วยลานใหญ่ภายในสองลาน ต่อเชื่อมต่างระดับด้วยขั้นบันไดที่ทอดเงาเหลื่อมล้ำกลางแดดอ่อนยามเย็น

Paro Dzong, the steps down to the inner court

After Taktsang, we visited Dzong of Paro: view of court yard and its steps, the very characteristic of being Bhutan: steps, steps and steps.



วันสุดท้ายที่ภาโร ประตูเข้าออกของภูฐาน สวรรค์บนแดนเขียวของไหล่เขาและหุบกว้าง ที่ธารน้ำไหลเย็น ลมกรรโชกแรง แดดใสฟ้าโปร่ง เมฆหนาลอยฟ่อง บางครั้งระเรี่ยบางครั้งอ้อยอิ่ง
บนดินแดนแห่งนี้ ที่ผมได้มีความสุข กับสิ่งแปลกใหม่ ชีวิตและความเป็นอยู่ที่มีเรียบง่าย
ที่เวลามีความหมายน้อยกว่าจุดมุ่งหมาย ที่จุดมุ่งหมายมีความหมายน้อยกว่าความสงบสุข
ที่ที่การเดินด้วยเท้า ให้ระยะทางมากกว่ารถ ที่การฟังให้ความหมายมากกว่าคำพูด และความคิดให้ภาพชัดเจนกว่าการเห็น

ในการวาดรูประหว่างท่องเที่ยวเรียนรู้ที่ภูฐานนี้ ได้รับรางวัลที่มีค่าที่สุดคือมิตรภาพจากสหายน้อยๆหลายคน
เณรน้อยเหล่านี้ พลิกสมุดรูปวาด เพลิดเพลินกับหลายแห่งที่บันทึกไว้ด้วยเส้นหมีกและดินสอแรเงา สีในบางรูป
ดีใจเมื่อเจอบางรูป ของสถานที่ที่รู้จัก จำได้

ด้วยเสียงที่ตื่นเต้น ด้วยแววตาที่อยากรู้ และด้วยสีหน้าที่กระตือรือล้น
ผมได้แต่ตื้นตัน ที่ได้มีโอกาสนั้นในช่วงลมหายใจนั้น ได้อยู่กลางเพื่อนที่เพิ่งรู้จัก ได้ทำในสิ่งที่ให้ความสุขกับอีกสองสามชีวิตนี้ ได้แต่หวัง
ว่าหากเป็นความสนใจจริง วันหนี่ง คงมีคนเสก็ตช์รูปเพิ่มขี้นอีกคนในโลกนี้ วันหนี่งข้างหน้า
และผมในวันนี้ ก็จะขอบันทึกวาดรูปต่อไปเรื่อยๆครับ

Young novices at Paro Dzong

I have no idea if that was the first time ever see a sketchbook. But I hope they enjoy the sketches as much as we all do and like the idea of doing sketches.
I hope one of them would also take up sketching, some how of their own way.




Create Date : 06 มิถุนายน 2552
Last Update : 7 มิถุนายน 2552 22:59:51 น.
Counter : 3611 Pageviews.

8 comment
BHUTAN 2_Central region.

ภูฐานอยู่ด้านตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัย ไม่มีชายแดนที่สามารถออกสู่ทะเลได้โดยตรง เป็นอาณาจักรที่ชาวโลกเริ่มรู้จักและเข้าถึงได้เมื่อไม่เกิน 30 ปีที่ผ่านมานี้เอง
ภูฐานเป็นเทศเล็กอยู่ระหว่างอินเดีย จีนและทิเบต มีพุทธศาสนานิกายมหายานเป็นศาสนาประจำชาติ เช่นเดียวกับทิเบต แต่ภูฐานมีความสัมพันธ์กับอินเดียมากกว่าประเทศเพื่อนบ้านอืนๆ เราอาจรู้สึกว่า คนภูฐานเหมือนคนทิเบตมาก แต๋ที่จริง ชาวภูฐานมีรูปลักษณ์และอะไรหลายอย่างที่คล้อยไปทางอินเดียมากกว่าจะเป็นจีนหรือทิเบต ผิวคล้ำ หน้าออกคม ที่เหมือนทิเบตคือวัฒนธรรมและความเชื่อถือทางศาสนาเท่านั้น

ภูฐานมี ดซอง (Dzong: ป้อมปราการที่แปรเปลี่ยนเป็นหน่วยบริหารการปกครองผสมกับกิจกรรมด้านศาสนาที่ซึมแทรกอยู่กับวิถีชีวิตประจำวันของชาวภูฐาน) และ Lhakhang (วัดที่สร้างขึ้นเพื่อกิจกรรมทางศาสนาโดยตรง) กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปไมน้อยกว่า 2000 แห่งบนเนื้อที่ประเทศประมาณ 50000 ตร กม ที่มีประชากรประมาณ 6-7 แสนคนเท่านั้น
รูปเสก็ตช์ด้านล่างนี้เป็น ลักษณะทั่วไปของดซองแห่งหนึ่ง ประกอบด้วยกำแพงอาคารด้านนอกล้อมรอบเป็นกรอบสี่เหลียมสูงประมาณ 3-4 ชั้น บริเวณกลางลานกว้างภายในกำแพงเป็นอาคารหลัก มักเป็นหอคอยด้วย ที่จะเป็นส่วนประกอบพิธีทางศาสนา คล้ายโบสถ์ของวัดไทย

Dzong in Thimphu

Bhutan is a Buddhist kingdom in eastern Himalayas between India and China. Land-lock, opened to outside world only some three decades ago.
Buddhism of Bhutan is of Mahayana, same as Tibet, they are closer to Indian than Tibetan or Chinese. Its over two thousand temples and monasteries spreaded all over her some 50,000 square kilometres size.


คงไม่เป็นการแปลกอะไรที่การเยือนภูฐานของผมประกอบไปด้วยการเข้าเยียมชมดซองมากมายหลายแห่ง
แต่ละแห่งล้วนแตกต่างกัน ทั้งประวัติความเป็นมาที่สำคัญ ความน่าสนใจ ตลอดจนอายุ ยุคสมัยในการสร้าง ถึงความแตกต่างของการดัดแปลงใช้งานปัจจุบันและลวดลายความเป็นเอกลักษณะที่หลากหลาย
จนสับสนปนเปอย่างน่าให้อภัยครับ
ด้านล่าง เป็นตัวอย่างดซองที่มีอาคารหลักกลางลานกว้าง ล้อมรอบด้วยอาคารสองชั้นที่เป็นเสมือนกำแพงชั้นนอก โดยเฉพาะดซองนี้ซึ่งเป็นสถานศึกษาด้วย อาคารสองชั้นที่รายล้อมจึงเป็นห้องพักของสามเณรน้อยๆจำนวนมาก

Gangtey Gonpa

We visited so many Dzong (former fortress now used as monastery) and Gompas (monastery) that at the end I was really confused! However, most Dzong would have one or two inner courts. Picture above was sketched, in a hurry, of one with a main shrine at the center. The court yard is surrounded with two storey building that's most of the time living quarters for the monks.


จากเมืองหลวงทิมภู เราเดินทางต่อไป ภูนาคา (Punaka) ทางตะวันออกของทิมภู
ดซองที่ภูนาคาเป็นดซองขนาดใหญ่สีขาวสอาด สูงสง่าตั้งตระหง่านเลียบริมแม่น้ำภูนาคา ณ สถานอันรโหฐารนี้เองที่เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของภูฐาน เมื่อกษัตริย์องค์ที่ 5 ของภูฐานประกอบพิธิทางศาสนาในวโรกาสขั้นครองราชย์เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 ที่ผ่านมาไม่นานนี้เอง
รูปเสก็ตช์ด้านล่าง เป็นอาคารกลาง มองจากลานภายในลานแรก ดซองนี้ประกอบด้วยลานภายในสองลานครับ

Trongsa Dzong in Trongsa

From the capital Thimphu, we proceeded east to Punaka. Punaka Dzong is both beautiful and dominating. Stood proudly by the side of Punaka river, this was where the present king's Spiritual Coronation took place in November 2008. The most recent significant date of event in Bhutan's modern history. A view of the inner court, above.


รูปเสก็ตช์ด้านล่างของกังเตลาคัง (Gangtey Lhakhang) เป็นวัดสำคัญที่ ทาโล (Talo) บนยอดเขาแห่งหนึ่งในทาโลที่สูงถึงประมาณ 3000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลใ
กลุ่มสยามสมาคมได้มีโอกาสรับพรจากท่านเจ้าอาวาส ซึ่งถือ(ได้รับการพิสูจน์รับรองแล้ว)ว่าเป็นลามะที่กลับชาติมาเกิดองค์หนี่ง อันนับเป็นกุศลเป็นที่ยิ่ง
ผมจึงถือโอกาสขอพรให้ท่าน Trulku Thinley เซ็นชื่อท่านบนรูปเสก้ตช์รูปนี้ ด้วยครับ

Dzong at Talo

The following line sketch is the monastery of Gangtey at Talo. Cited as one of the most impressive Dzong, some 3000 meter high above sea level.
My drawing was autographed by Talo principle Trulku Thinley who kindly allowed our group a short session and blessing in a prayer in the main shrine. (Yes, especially with his signature on the upper part of my page)


นอกจากได้รับพรโดยตรงจากท่านแล้ว คณะของเราก็ได้รับความกรุณาอย่างสูง ให้เข้าร่วมในพิธีสวดมนต์ในสถานชั้นในของวัดด้วย
หลายท่านอาจเคยเห็นจากภาพยนต์เกี่ยวกับทิเบตบ้าง
แต่การได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของหมู่สงฆ์ ที่นั่งเรียงรายหลายแถว ในโถงสูงที่มีธงทิวห้อยระย้าเป็นแถบเป็นทาง
หน้าแท่นบูชาที่มีองค์พระสีทองขรึมขนาดใหญ่น้อยมากมายหลายปาง เห็นได้โดยผ่านริ้วควันของธูปและเทียน
ท่ามกลางเสียงประสานสวดที่แผ่วต่ำในบางครั้ง และรัวเร็วในบางคราว ที่กระกอบไปด้วยจังหวะกระหน่ำของฆ้องกลอง กรับและแตรในบางครา
คงจะไม่มีประสบการณ์ในชีวิตใดอีก ที่จะทัดเทียบได้กับความรู้สึกของการอยู่ท่ามกลางเสียงสวดมนต์ของหมู่สงฆ์ที่ภูฐานนี้
และท่ามกลางประสบการณ์แห่งชีวิตนี้ ผมได้ทำการวาดลายเส้นบนสมุดบันทึกให้เป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ครั้งแรกครั้งหนึ่งในชีวิตครับ
กล้องถ่ายรูปทุกชนิดห้ามนำเข้าในสถานที่ศักดิสิทธิเช่นนี้ครับ
เข้าได้เฉพาะสิ่งอันถือได้ว่าเป็นและมีชีวิตเท่านั้น


Prayer inside the Dzong

Considered previleged, we were allowed to join part of the prayer inside the temple. It was a wonderful first hand experience of a life time in sight, sound, physically and spiritually! As none of the temples allowed the use of camera inside its interior, I turned to my pen and sketchbook, as above, without any sign of notice, or protest!


รูปเสก็ตช์บางส่วนของพุทธศิลป์ในวัดแห่งหนึ่ง ซึ่งเก็บเอาแนวและลายที่ดลบันดาลใจที่สุดในขณะที่เห็นนั้น เป็นการสุดปัญญาที่จะวาดละเอียดตามเป็นจริง
ภาพเขียนผนังในวัดต่างๆของภูฐานมีสีสันสวยงาม หลากหลายและงดงามประณีตมาก ศิลปะบนผนังจำนวนมากวาดขึ้นด้วยศรัทธาอันแรงกล้าของศิลปินจำนวนมากที่ไม่ปรากฎนามและหลายแห่งที่มีอายุเก่าแก่นับด้วยสิบศตวรรษ
ภาพอันมีค่าเหล่านี้ หาชมได้ยากมาก ได้รับการเก็บรักษาให้พ้นจากการแตะต้องด้วยการใช้ม่านปิดคลุมทั้งผนังทีเดียว น่าเสียดายที่บางครั้ง ผ้าคลุมทำให้ความงามของสถานที่ด้อยน้อยลง แต่ก็คงเป็นทางเดียวเพื่อปกป้องภาพเขียนล้ำค่าเหล่านี้
ว่าไปแล้ว ภายในของวัดก็มักจะดูมืดทึมอยู่แล้ว ขนาดหลายแห่งต้องใช้ไฟฉายส่องดูด้วยซ้ำ ผ้าคลุมก็ดูเข้ากับบรรยากาศดีเหมือนกัน


Thimphu

(Part of) Buddhist arts commonly seen in all temples depicting one or other state of the enlightenment, mostly works of anonymity and some are far back as 7th century


จากภูนาคาผ่านทาโล เราเดินทางมาถึงช่วงกลางของภูฐานบนความสูงประมาณ 2-300 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ณ ที่ราบกว้าง (valley) กลางหุบเขาสูงใหญ่ ชื่อ Black Neck Crane Valley มีขนาดกว้างใหญ่มากจนเป็นที่เหล่านกกระยางคอดำยึดเป็นแหล่งพำนักในช่วงหน้าร้อน
เราพักที่โรงแรม Dawenchen ในหุบเขาที่เมือง Phobjika เป็นโรงแรมเล็กๆ น่ารัก มีเตาไฟใช้ฟืนในห้องนอนด้วย เพราะกลางคืนหนาวแถมไม่มีไฟฟ้าใช้หลังสามทุ่มครึ่งด้วย ก็สนุกกับการเติมท่อนฟืนไม้สนเนื่ออ่อน ติดไฟง่ายแต่ไม่นาน ต้องเติมใหม่ทุก 20 นาทีครับ เติมไม่มีปัญหาแต่ตอนติดต้องตามเด็กโรงแรมมาทำให้
ที่ โพปจิก้านี้ใช้เครื่องปั่นไฟแทนไฟฟ้า ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เสาไฟและสายไฟเป็นอันตรายต่อความเป็นอยู่ของเหล่ากระยางคอดำที่มาเยือนปีละครั้งครับ

Hotel Dewachen in Phobjika

We continued further east toward Phobjika.
Dawechen Hotel at Phobjika by the valley of the Black Neck Cranes runs on generator that turns off after 9.30 PM. We had fun feeding logs into this charming heater, every 20 minutes or so, to keep away the 12 deg C, till we fell asleep (10 PM!)


เราท่องไปในส่วนกลางของภูฐานสู่เมืองทรองซาและบุมตังโดยใช้ทางหลวงสายเดียวที่มีในประเทศ
เวลาเดืนทาง 5 ชั่วโมงเศษบนทางที่พาดจากตะวันตกจดตะวันออกตลอดความกว้างของภูฐานนี้ ผ่านไปด้วยความเพลิดเพลินกับทิวทัศน์ที่หลายเสียงยืนยันว่างามราวกับสวิสเซอแลนด์ทีเดียว แต่ที่แน่นอนคืองามด้วยพันธ์ไม้นานาน้อยใหญ่ แพรวพราวด้วยสีสัน และหลายครั้งก็แถมด้วยหมู่แยค (ควายป่าขนยาว หางเป็นพวง) แระเล็มหญ้าเป็นฝูงให้เป็นที่ตื่น่ตาตื่นใจด้วย

Distant view of Trongsa Dzong

Our visit of the central area include Trongsa and Bumthang using the highway, the only high way in Bhutan which runs across east and west of kingdom.
The 5 over hours ride from capital to central area offers great vista that must be of equal to Switzerland, peppered with large and small colorful flowers, quite often with herds of yaks thrown in!
Our two small buses made many close-range inspections stops of the flowers, and the bushes, that doubled up as natural-relief spots for lack of rest area with toilets.




Create Date : 29 พฤษภาคม 2552
Last Update : 30 พฤษภาคม 2552 22:09:31 น.
Counter : 3501 Pageviews.

12 comment
BHUTAN

ผมได้เที่ยวภูฐานซึ่งจัดโดยสยามสมาคมฯเมื่อวันที่ 1 ถึง 12 พค. ที่ผ่านมานี้ พร้อมเพียบทั้งความรู้และความสนุกอย่างมากครับ
ด้วยสายการบินประจำชาติ Druk Air ของภูฐาน เราใช้เวลาบินประมาณ 5 ชั่วโมงก่อนร่อนลงสนามบิน Paro ซึ่งเป็นหุบระหว่างเขาใหญ่สองลูก ซึ่งก็ดูสวยดีเมื่อได้ออกมายืนมองหลังจากเครื่องได้ลงเรียบร้อยแล้ว
เมื่อเข้าในท่าอากาศยาน ความประทับใจอย่างมาก ต่อจากการประดับประดาสดใสของสีสันลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติแล้ว ก็ไม่พ้นเครื่องแบบของเจ้าหน้าที่สนามบินครับ ซึ่งนอกจากสวยด้วยสีและลายแล้ว ก็ยังทำให้บรรยากาศหน้าเคาเตอร์กตม. ดูผ่อนคลายไร้กังวลไปเป็นกอง

มีปัญหานิดเดียวตรงที่ต้องตั้งสติเตือนตัวเองอยู่พัก ว่าไม่ได้พลัดเข้ามาในร้านอาหารญี่ปุ่นแน่หรือเรา ?


I visited the Kingdom of Bhutan with Siam Society of Bangkok from 1 to 12 of May. Our flight from Bangkok took some 5 hours to land in a spectacular valley airport of Paro. The most striking feature upon arriving the airport was their officers, which I vote as the friendliest dress that put you at ease at the immigration desks.
However, it did take me a while to be fully convinced that I am not in a Japanese restaurant!


จากสนามบิน เราเริ่มทัวร์ภูฐานด้วยเข้าชมพิพิธภัณท์แห่งชาติ Ta Dzong ที่เป็นหอคอยเก่า สูง 5 ชั้น ลักษณะป้อมปราการทรงกลมดูทึ่งทั้งงามและน่าตื่นใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับผู้ได้เห็นเป็นครั้งแรกอย่างพวกเรา

Ta Dzong: National Museum, Paro

From the air port we started our Bhutan visit at Ta Dzong, former watch tower, now the National Museum in Paro. The round shape structure and the location are both attractive and scenic,
especially as the first destination to the first time visitors.


ข้างล่างเป็นความน่าตื่นเต้นเล็กๆน้อยๆภายในพิพิธภัณท์ทรงกลม ที่ได้บันทึกไว้ตอนงงว่าเดินมาจากทางซ้ายหรือขวากันแน่

Ta Dzong: National Museum, Paro

And some view I made inside the museum when I was not sure which direction to turn!


ห้องพักโรงแรม Riverview และตัวเมืองที่เห็นจากห้องพัก

Thimphu: Hotel room and town.


Above is the (Riverview) hotel room with Thimphu townscape, right in front of the hotel room window! What a great differrence to Bangkok, my air port runway hometown!


ตัวเมืองทิมภูที่ทอดไต่ตามแนวเชิงเขา

Thimphu Townscape


Thimphu in the full view, below:


การวาดและลงสีน้ำในห้องพัก

Thimphu: Riverview Hotel

And how I make use of the ash tray, one of the last few, I guessed, as I was told that smoking is highly discouraged in Bhutan! Well, it made a great watercolor water cup.


สะพานข้ามแม่น้ำแห่งหนึ่งในทิมภู ตรงข้ามตลาดสินค้าสดริมถนนสายหนึ่ง

>A bridge at farmers market in Thimphu


Thimphu, 2400 M above main sea level, is a very differrent kind of capital. The very pleasant omission from most other capitals is the high-rise buildings (everythings are under 4 storeys except some tembples) and traffic jam!


จากตัวเมือง เราออกผจญภัยด้วยการเดินทางไปวัดทาชิโจ ซึ่งอยู่บนเขาแห่งหนึ่ง การเดินทางขึ้นลงไปตามเนินเขานี้ใช้เวลาไปกลับเที่ยวละชั่วโมงครึ่งเป็นอย่างน้อย แต่ความงามระหว่างทางและตัววัดนั้น คุ้มเกินความเหนี่อยเป็นหลายเท่า

LongWalk

As a change from the town life, we took a trekking to a small private temple called Tashichoe Dzong.
The walk of a small driveway width in dirt/stone/gravel was a mixture of fun and awe by its greenery, vista and perhaps enthusiasm.


ดอกไม้งามริมทางเดินที่พวกเราชื่นชอบแต่ทำให้ไกด์ต้องทำงานหนักเป็นพิเศษ


Guide


Picture above, those little pretty flowers, and lots of other pretty stuff, that made our guide work harder to get us moving!





Create Date : 25 พฤษภาคม 2552
Last Update : 31 พฤษภาคม 2552 23:18:20 น.
Counter : 740 Pageviews.

4 comment
Chiangmai

เมื่อมองย่อมเห็น จึงขอเป็นกระดาษและดินสอ

I look, therefore, I see. I'd rather be a SKETHCBOOK


ผมชอบและสนใจการวาดรูป โดยเฉพาะอย่างยิ่งลายเส้นและสีน้ำ เมื่อมีโอกาสได้เดินทางท่องเที่ยวบ้าง หลังเกษียน เลยให้เวลากับการเสก็ตช์บันทึกสิ่งที่ได้พบเห็นในสมุดบันทึกเล่มเล็กๆที่ติดตัวอยู่เสมอ
ขอนุญาตนำมาคุยแบ่งปันกับท่านผู้มีความสนใจในกิจกรรมเดียวกันครับ มาร่วมเดินทางบนเส้นสายของรูปเสก็ตช์สท้อนการพบเห็นในสิ่งธรรมดาอันกลาดเกลื่อนอยู่รอบตัวเรา

Allow me to share with you the passion of sketching, recording, of common sight of places, through traveling I happened to afford after having enough with the working life. Let's stroll along with me on this road of lines, shades and colors called Sketchbook.


ภาพแรกที่ผมนำประกอบนี้
เป็นภาพสมุดบันทึกเสก็ตช์บุ๊คของผมบนโต๊ะร้านเครื่องดื่มที่นั่งเสก็ตช์หน้าวัดพันเต้าเมื่อไปเที่ยวเชียงใหม่ราวปลายปีที่แล้วครับ

At a chocolate dring shop opposite Wat Pan Tao: Chiangmai


รูปเสก็ตช์ วัดพันเต้า ในบริเวณเมืองเก่า เชียงใหม่
เป็นวัดขนาดกำลังดี เงียบสงบ สถาปัตยกรรมงดงาม ตัวโบสถ์ส่วนใหญ่เป็นไม้ ลวดลายสลักละเอียดอ่อน

Wat Pan Tao, Chiangmai. Pencil sketch: 21x15cm



เชียงใหม่มีวัดงดงามจำนวนมากเกือบทุกย่านชุมชน รูปเสก็ตช์ข้างล่างนี้ เป็นอาคารไม้เช่นกัน ในวัดเจดีย์หลวง

Wooden shrines at Wat Jedi Luang, Chiangmai. Pencil sketch: 21x15cm




วัดสิงห์เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งใจกลางเมือง
ผมมีความประทับใจในสถาปัตยกรรมของหอไตรซึ่งอยู่ด้านข้างของพระอุโบสถเป็นอย่างมาก
เป็นอาคารชั้นเดียวทรงสูง บนฐานและบันไดซึ่งทำให้ดูสง่า
รูปเสก็ตช์ด้วยดินสอหลาวปลายแบนครับ

The library building in Phra Singha Temple compound, Chiangmai. Pencil on paper: 15x21 cm



อีกมุมหนึ่งที่อดบันทึกไม่ได้ ในความน่าสนใจ
มุมหนึ่งของวัดเจดีย์หลวง (หรือวัดสิงห์ก็ไม่แน่ใจ)
เส้นหมึกขนาด 0.2 บนกระดาษครับ

An amazing sight beg to be sketched, an unusual tall tree with various activities undershade at a corner of a temple in Chiangmai. Ink on paper:21x15cm



การเที่ยวเชียงใหม่จะไม่ครบเครื่องถ้าไม่ได้แวะตลาดวโรรส ผมเลยต้องบันทึกไว้จนได้

Waroros local market is a must to complete being in Chaingmai. Ink on paper



อีกจุดหมายหนึ่งที่ผมไม่พลาดคือการไปเดินเมียงมองตรงข้าม บ้าน 6 เสา ห้องแถวติดต่อกัน 3-4 คูหา และร้านอาหารริมปิง ฝั่งตรงข้าม

Another landmark to down town Chiangmai is this row of old shophouse by the river opposite the Gallery Restuarant. Pencil on paper: 21x15cm



ขอแถมอีกรูปครับ ตอนที่นั่งแอบๆหน้าตลาดวโรรสครับ
เก้าอี้นั่งหายืมได้ทั่วไป พร้อมทั้งเพื่อนคุยด้วยตลอดเวลาที่นั่งเสก็ตช์

A bonus shot of the sketcher at front of Waroros Market.




Create Date : 19 เมษายน 2552
Last Update : 22 เมษายน 2552 19:38:13 น.
Counter : 5933 Pageviews.

10 comment
1  2  

Atas
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



Atas เป็นสถาปนิกไทย ที่สนใจในการบันทึกสิ่งที่พานพบลงบนหน้ากระดาษด้วยสี แสง และเงา

Atas is a Thai living in Bangkok, an architect by training and a retireee, by now!
He records what he observes of his last 5 years of travels.
Atas can be reached at asnee.t@gmail.com
.
Places of my sketchbook
Make yours @ BigHugeLabs.com
Make yours @ BigHugeLabs.com
LET'S CONNECT : YOUR COMMENTS ARE MOST APPRECIATED. free counters