ภัยแห่งสังสารวัฏนั้น น่ากลัวยิ่งกว่าภัยอื่นใด - อัสติสะ
Group Blog
 
All blogs
 
๒๓๒-ปฏิบัติธรรมก่อนสงกรานต์ '๕๓




๑๐ เมษายน ๕๓ ข้าพเจ้าเดินทางไปวัดป่าแห่งหนึ่ง เพื่อตั้งใจเข้าปฏิบัติธรรม ซึ่งมีกำหนดการไว้ตั้งแต่ช่วงหลังปีใหม่ที่ผ่านมา หลายสิ่งหลายอย่างเข้ามาในชีวิต ดูเหมือนจะทำให้ข้าพเจ้าเขวออกนอกทางไปพอสมควร การเข้าไปปฏิบัติธรรมยังวัดป่าครั้งนี้ เท่ากับเป็นการกลับไป "รีเชต" ความคิดและกระเทาะเอากิเลสบางส่วนออกเสียบ้าง
เพราะยิ่งอยู่ใกล้ชิดกับสังคมแห่งความโลภ โกรธ หลง มากเท่าไหร่ก็ดูเหมือนว่าตัวเองนั้นยังไม่อาจจะวางใจให้อยู่ตรงกลาง เมื่อถูกกิเลสนั้น ๆ เข้ามากระทบได้ เหมือนอย่างที่เคยเป็นมาในอดีต

ข้าพเจ้าออกเดินทางจากกรุงเทพ ฯ ตั่งแต่เช้าเพราะต้องการฝ่าการจราจรที่น่าจะสาหัส เพราะเป็นวันหยุดแรกของเทศกาลสงกรานต์ หลังจากเข้านมัสการพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีเรียบร้อย ซึ่งระยะหลังดูเหมือนจะเป็นธรรมเนียมไปเสียแล้ว ว่าผ่านจังหวัดสระบุรีครั้งใด จะต้องแวะนมัสการพระพุทธบาทเสียก่อน นั่นไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการขอพรให้ร่ำรวย หรือ อายุยืนยาว หรือ แม้กระทั่งการขอให้การเดินไม่เจอกับอุปสรรค แต่หากเป็นการเข้านมัสการสัญลักษณ์ที่พระพุทธเจ้าทรงทิ้งไว้ต่างหาก เป็นพุทธานุสติอย่างหนึ่ง ซึ่งหากย้อนกลับไปอ่านบันทึกที่ข้าพเจ้าเขียนก็จะทราบดีว่า พระพุทธบาทแห่งนี้สำคัญและเป็นแรงบันดาลของข้าพเจ้ามากมายขนาดไหน

ช่วงบ่ายแก่ ๆ ข้าพเจ้าก็เดินทางมาถึงวัดป่าแห่งนั้น แน่นอนว่าต้องเป็นวัดที่พิเศษ ที่ยังคงหลงเหลือร่องรอยแห่งพระกรรมฐานสายหลวงปู่มั้นในอดีตอยู่ วัดนี้ไม่วุ่นวายด้วยทั้งฆราวาส และภิกษุ มีแนวการปฏิบัติที่ไม่ได้มีรูปแบบว่าต้องเริ่ม หนึ่ง สอง สาม อย่างนี้แล้วจะได้อย่างนี้ แต่เป็นลักษณะเปิด คือ เปิดให้ผู้ข้องใจเข้าไปถามหลวงปู่ได้ตลอดเวลา หากติดข้องในการปฏิบัติ หากไม่มีข้อข้องใจก็เลือกว่าจะอยู่พักที่กุฏิไหน ที่ชอบใจจะเชิงป่า หรือ ตามศาลาหลวงปู่ก็ไม่ว่าอะไร

ใครจะปฏิบัติอย่างไร ก็ตามจริตนิสัย แต่ถ้าถามหลวงปู่ ท่านจะแนะนำให้ท่องคำบริกรรม พุท-โธ ตามแนวทางของพระป่าสายหลวงปู่มั่น เมื่อจิตสงบหลุดจากคำบริกรรม มีสติจับจ้องอยู่ก็ชักจิตเข้ามาพิจารณาอสุภกรรมฐาน คือ การพิจารณาความไม่งามของร่างกาย คือ ความสกปรกไม่ใช่สิ่งที่น่ายึดน่าใคร่ ฯ

วัดแห่งนี้น่าจะเหมาะกับนักปฏิบัติ ที่ได้ปฏิบัติมาสักระยะหนึ่งมาแล้ว คือ มีพื้นฐานทางการปฏิบัติ เคยฝึกปฏิบัติมาก่อนบ้าง เพราะหากไม่เคยปฏิบัติมาก่อนก็ย่อมงง ๆ ไม่เข้าใจ และจะรู้สึกอึดอัดมากที่สุด และยากที่จะเข้าใจกฎเกณฑ์ และระเบียบที่เข้มงวดในการวางตัว และธรรมเนียมที่ต้องปฏิบัติเมื่ออยู่ใกล้ชิด หรือมีโอกาสรับใช้ สนทนากับหลวงปู่

ข้าพเจ้าก็มีแต่เพียงทฤษฏี พอข้าไปปฏิบัติตามวัตรข้อปฏิบัติของวัด ก็เงอะ ๆ งะ ๆ ทำผิดทำถูกบ้าง และมักจะถูกตำหนิ เสมอ ๆ (ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นสันดานของตัวเองแท้ ๆ)

การปฏิบัติต่อพระวัดป่า กับพระที่อยู่ในเมืองดูจะแตกต่างกันพอสมควร ชีวิตชาวบ้านชนบทนั้นเขาให้ความเคารพพระมากกว่าชาวกรุง ยกตัวอย่างเช่น การเดินสวนทางกับภิกษุ, การแสดงความเคารพนบน้อบ, การพูดคุยเรื่องจุบจิบในศาลา ฯ เรื่องเหล่านี้หากใครได้สัมผัส และเปรียบเทียบก็จะเห็นความแตกต่างชัดเจน รายละเอียดข้าพเจ้าคงไม่ลงสาธยายแล้วกัน เดี๋ยวจะเป็นการแบ่งแยกไปเสียเปล่า ๆ

หลังจากพบและขออนุญาตหลวงปู่ว่าจะมาปฏิบัติธรรมสักสองวันแล้ว หลวงปู่ก็พูดว่า น่าจะมาอยู่สัก สิบหกวัน หรือ หนึ่งเดือน ข้าพเจ้าก็รีบปัดไปว่าต้องทำงาน ไม่สามารถลางานได้มากนัก

เมื่ออยู่ต่อหน้าหลวงปู่ข้าพเจ้า ไม่ต่างกับลูกสุนัขที่อยู่ใกล้กับพญาราชสีห์ มีความรู้สึกอย่างนั้นจริง ๆ อาจจะเป็นเพราะหลวงปู่แตกต่างจากพระทั่วไป(ในความคิดของข้าพเจ้า)

ข้าพเจ้าอยากฟังหลวงปู่เทสน์ไปเรื่อย ๆ มากกว่าที่จะเป็นฝ่ายถามคำถาม ซึ่งข้าพเจ้าไม่ค่อยได้ตั้งคำถามมากนัก เพราะนั่นเป็นเรื่องที่น่าหนักใจเช่นกัน กับการถามคำถามกับหลวงปู่ เพราะข้าพเจ้าก็ไม่รู้จะถามอะไร เหมือนกลายเป็นคนโง่ไปเลย (มันรู้สึกว่าตัวเองโง่จริงๆ)

คืนแรก ข้าพเจ้าเริ่มนั่งสมาธิ สลับการเดินจงกรม ตั่งแต่หนึ่งทุ่มถึงห้าทุ่ม บรรยากาศตามเชิงเขานั้นเงียบวิเวกพอสมควร ข้าพเจ้าเลือกกุฏิที่อยู่ใกล้กับหลวงปู่มากที่สุด (เพื่อความอุ่นใจไว้ก่อน) แต่วัดป่าเมื่อตกกลางคืน คือหลังจากหนึ่งทุ่มไปแล้ว ต่างคนต่างหมดภาระหน้าที่ แยกย้ายกันเข้าที่พัก ใครใคร่ปฏิบัติก็ปฏิบัติ ใครจะนอนก็นอนไม่มีการบังคับ

แต่ตอนเช้าเหมือนว่าหลวงปู่ท่านจะรู้ว่าใครขี้เกียจ ใครขยันปฏิบัติ ท่านจะขึ้นเทศน์สอนก่อนฉันท์อาหาร บางครั้งนานนับชั่วโมงกว่าจะได้ฉันเช้ากัน(ซึ่งเป็นที่รู้กันในหมู่พระที่อยู่ใกล้ชิด)

การนอนคนเดียวในที่วังเวงนั้น เป็นการฝึกจิตพอสมควร พอได้ยินเสียงจิ้งจก หรือสัตว์กลางคืนร้อง จิตก็จะปรุงแต่งไปเรื่อย ๆ ทำให้เราเกิดความกลัวขึ้นมาในจิตจนไม่สามารถทำสมาธิ หรือทำความสงบใด ๆ ได้ ซึ่งนั่นก็เป็นเรื่องธรรมดา ของคนที่เคยอยู่กับแต่แสงสีของสังคมเมือง

ตีสี่กว่า ๆ ข้าพเจ้าตื่นนอน พร้อมกับลุกขึ้นมานั่งปฏิบัติสลับกับการเดินจงกรม จนกระทั่งหกโมงเช้า ก็ได้เวลาทำความสะอาตกุฏิหลวงปู่ และทำความสะอาดลานวัด รวมถึงพระลูกวัดต้องเตรียมตัวออกบิณฑบาตร ซึ่งกว่าจะเสร็จการเทศน์ และฉันข้าวเสร็จในตอนเช้าก็สามโมงครึ่งโดยประมาณ จากนั้นก็เริ่มปฏิบัติอีกครั้งเดินสลับนั่งทั้งวัน ซึ่งมีเผลอหลับบ้างนิดหน่อย

อากาศที่ร้อนมาก ข้าพเจ้าไม่เคยรู้สึกร้อนขนาดนี้มาก่อน ต้องดื่มน้ำอยู่ตลอดในทุก ๆ ชั่งโมงเลยทีเดียว ตอนบ่าย นั้นแทบไม่สามารถหาร่มไม้นั่งได้เลย เพราะจะโดนลมร้อนพัดเข้ามาตลอด มีเพียงใต้หลังคาของศาลาเท่านั้นที่พอจะพักสมาธิได้บ้าง แต่ไม่สามารถใช้เดินจงกรมได้เท่านั้น

อาการปวดข้อเท้าเริ่มส่งผล ซึ่งน่าจะมาจากการกดทับบริเวณข้อเท้าซ้ายมากเกินไป สังเกตุตอนเดินรู้สึกเอ็นข้อเท้าจะพลิกและปวดมาก ไม่สามารถเดินในท่าปกติ ต้องบีบนวดสักพักจึงจะเดินต่อไปได้

วันรุ่งขึ้นของอีกวันข้าพเจ้าก็ปฏิบัติอย่างที่ปฏิบัติเมื่อวันก่อน และตอนสายก็ได้ลาศีล ๘ และรับศีล ๕ จากนั้นก็ลาหลวงปู่ เดินทางกลับบ้านเกิดอย่างแท้จริง...


บทนี้จะน่าเรียกว่าบันทึกการปฏิบัติคร่าว ๆ ไม่ได้ลงรายละเอียดมากนัก ข้าพเจ้ามีโอกาสออกปฏิบัติถือ ศีล ๘ อย่างนี้น้อยมาก นี่เป็นครั้งที่ ๓ ที่ได้มีโอกาสปฏิบัติธรรมที่วัด ตั่งแต่เริ่มสนใจการปฏิบัติเมื่อสักสามปีก่อน

การปฏิบัติธรรมนั้น สาระสำคัญคงไม่ได้อยู่ที่การต้องไปวัดให้มากที่สุด เราจึงจะได้พบความสุข ความสงบ แต่สิ่งสำคัญอยู่ที่การฝึกปฏิบัติธรรม ในระหว่างการประกอบการอาชีพประจำวันไปด้วย เพราะเนื้อหาสาระของพุทธศาสนาคือ การดำเนินชีวิตที่อยู่อย่างเป็นปกติตามทางสายกลางมี ศีล สมาธิ ปัญญา หากเรามีใจที่มีธรรมะอยู่ หมั่นฝึกปฏิบัติ ฟังธรรมะอยู่เสมอ นั่นก็ได้ชื่อว่าได้เข้าวัด เข้าใกล้ธรรมะของพระพุทธเจ้าแล้ว...




Create Date : 19 เมษายน 2553
Last Update : 19 เมษายน 2553 7:32:10 น. 11 comments
Counter : 728 Pageviews.

 
ต้อนรับกลับสู้สังคมวุ่นวาย แต่ไปปฏิบัติได้อย่างที่เล่ามา น่าจะไปหลงทางแล้วใช่ไหมคะ

การดำเนินชีวิตทางสายกลาง และมีใจที่มีธรรมในตน เป็นสิ่งที่ใกล้ธรรมะที่สุดโดยไม่เข้าวัดจริงแท้ เพราะไปวัดมาเมื่อวานเจอแต่คนเข้าวัดที่แสนขัดตา จนพาความไม่ชอบใจกลับบ้านไปด้วยอีกตะหาก

สงกรานต์ไม่ได้ไปไหนเลยค่ะ อย่างที่เคยคุยนั่นแหล่ะ ทำงานวันแรกของคุณอัส พร้อมไหมเอ่ย


โดย: ขมเตย วันที่: 19 เมษายน 2553 เวลา:7:47:17 น.  

 
พี่ก๋าชอบบทสรุปในบล็อกน้องอัสนี่ล่ะครับ
เห็นด้วยเลย
ธรรมะต้องอยู่ในทางที่เราทำ
เมื่อมีธรรมอยู่ในตน
ก็ไม่จำเป็นต้องหา "ทาง" อีกแล้ว

ปล. พี่ก๋าไม่ไ่ด้เฉียดผ่านสงกรานต์เลยครับ 5555

ทำงานทุกวันครับ




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 19 เมษายน 2553 เวลา:7:51:00 น.  

 


โดย: หาแฟนตัวเป็นเกลียว วันที่: 19 เมษายน 2553 เวลา:8:23:25 น.  

 


โดย: zyberbeing วันที่: 19 เมษายน 2553 เวลา:9:55:44 น.  

 
555 ทำงานตั้งแต่วันที่ 16 แล้วล่ะค่ะ
ได้หยุดเพียง 3 วันเท่านั้น ค่ะ
คุณอัสติสะ
....
สวัสดีกับวันทำงานวันแรกนะคะ
...
มีความสุขมากมาก ตามอัตราภาพค่ะ


โดย: Nissan_n วันที่: 19 เมษายน 2553 เวลา:11:32:48 น.  

 



สวััสดีค่ะ
ไปอยู่วัดมา 9 วันค่ะ แถวป่าละอู
นำบุญมาฝากด้วยนะค่ะ
สงกรานต์สนุกมั๊ยค่ะ


โดย: นุ่มณอ่อนนุช วันที่: 19 เมษายน 2553 เวลา:14:11:51 น.  

 
สวัสดีครับ คุณอัส
พระนางขุตฉุดตรา กับพระนางสามาวดี เกี่ยวพันกันอย่างไร
ขอเรียนเชิญติดตาม หนีนรก ตอนสุดท้าย ได้ที่บล็อกครับผม

ขอให้คุณอัสมีความสุขสดชื่น ในวันจันทร์สดใสนะครับ


โดย: หมึกสีดำ วันที่: 19 เมษายน 2553 เวลา:14:12:18 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับ








โดย: กะว่าก๋า วันที่: 20 เมษายน 2553 เวลา:7:28:02 น.  

 
สวัสดีตอนเช้าๆที่แดดแร๊งแรงค่ะ


โดย: ขมเตย วันที่: 20 เมษายน 2553 เวลา:8:37:39 น.  

 
สวัสดีค่ะ คุณอัส

อ่านแล้วรู้สึกดีจังค่ะ
โดยส่วนตัวยังไม่เคยไปสถานที่แบบวัดป่าแท้ๆ เลยค่ะ
คงวิเวก วังเวงน่าดู แต่ก็ได้อยู่กับตัวเองโดยแท้

ชอบบทสรุปตอนท้ายค่ะ
การปฏิบัติอยู่กับตัวเรา ทำที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้
แต่ถ้าได้ไปยังสถานที่จำเพาะ ก็ย่อมดี

อนุโมทนานะคะ คุณอัส


โดย: พ่อระนาด วันที่: 20 เมษายน 2553 เวลา:18:36:32 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับ








โดย: กะว่าก๋า วันที่: 21 เมษายน 2553 เวลา:7:05:54 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อัสติสะ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]




ทุกข์ใดจะทุกข์เท่า การเกิด
ดับทุกข์สิ่งประเสริฐ แน่แท้
ทางสู่นิพพานเลิศ เที่ยงแท้ แน่นา
คือมรรคมีองค์แก้ ดับสิ้นทุกข์ทน






Google



New Comments
Friends' blogs
[Add อัสติสะ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.