It's All I Have to Bring Today !
Group Blog
 
All blogs
 

✺พระนักพัฒนาแห่งล้านนา 140 ปี “ครูบาศรีวิชัย



 

 
 
 140 ปี “ครูบาศรีวิชัย” พระนักพัฒนาแห่งล้านนา

11 มิถุนายน ของทุกปี ศรัทธาชาวล้านนารวมถึงคนลำพูนถือเป็นวันครบรอบวันเกิดครูบาเจ้าศรีวิชัย มหาสมณะเจ้า หรือที่คนล้านนาเรียกท่านว่า “ตนบุญ”


ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ.2421 ณ วันอังคารขึ้น 11 ค่ำปีขาล ตรงกับวันที่ 11 มิถุนายน 2421 เวลาพลบค่ำพระอาทิตย์คล้อยลงต่ำ ทันใดนั้นท้องฟ้าที่ใสสว่างกลับวิปริตมืดคลื้ม พายุพัดกระหน่ำพาเอาสายฝนเทลงมา เสียงฟ้าร้องคำราม อสุนีฟาดเปรี้ยงลงมาจนเกิดแผ่นดินไหว ทารกน้อยผู้หนึ่งได้ถือกำเนิดมาในกระท่อมเล็ก ๆ ในชนบทกันดารของหมู่บ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ทารกผู้นี้ได้รับการตั้งชื่อว่า “อินตาเฟือน” หรือ “อ้ายฟ้าร้อง” ตามนิมิตแห่งการเกิด

เมื่อเยาว์วัยท่านเป็นเด็กเลี้ยงง่ายและอยู่ในโอวาทคำสั่นสอนของบิดามารดาช่วยประกอบสัมมาอาชีวะ ปกติท่านชอบเลี้ยงวัวเลี้ยงควายและรักความสงบตามธรรมชาติป่าเขา เป็นบรรยากาศที่ช่างเหมาะสมกับอุปนิสัยที่จะปลูกฝังโพธิญาณของพระโพธิสัตว์เจ้าโดยแท้


 
ครั้นเมื่อท่านอายุได้ 18 ปี เกิดความคิดวิตกขึ้นในใจว่า ชาตินี้เกิดมามีฐานะลำบากยากจน ต้องทรมาณร่างกายด้วยการทำมาหากินเพื่อเลี้ยงชีพทั้งบิดามารดาและตนเอง ทั้งนี้เพราะบุพกรรมแต่ในอดีตที่มิได้ให้ทานรักษาศีลภาวนา การได้บวชบำเพ็ญภาวนาในพระพุทธศาสนาน่าจะเป็นผลบุญต่อไปในภายภาคหน้า ทั้งยังถือเป็นการตอบแทนพระคุณบิดามารดา ดังนั้นท่านจึงได้ขอลาบิดามารดาไปอยู่วัดบ้านปาง ศึกษาเล่าเรียนและบวชเป็นสามเณรกับพระอาจารย์ขัติยะ หรือ ครูบาแข้งแขะ เพราะท่านเดินขากระแผลก เมื่ออายุได้ 21 ปีจึงได้อุปสมบทที่วัดบ้านโฮ่งหลวง จังหวัดลำพูน โดยมีครูบาสม สมฺโณ เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้รับฉายาว่า “สิริวิชโย ภิกขุ” แต่ชาวบ้านจะเรียกท่านว่า “พระศรีวิชัย”

พระศรีวิชัยได้ศึกษาไสยศาสตร์เวทมนต์คาถาจากครูแข้งแขะ โดยได้ยึดมั่นว่าเป็นของดีของวิเศษที่จะนำความสุขความเจริญมาให้ ท่านยังได้สักหมึกดำที่ขาทั้งสองข้างตามความเชื่อของลูกผู้ชายชาวล้านนาว่าจะช่วยให้อยู่ยงคงกระพัน ต่อมาครูบาสม สมฺโณ ได้แนะนำให้พระศรีวิชัยไปนมัสการครูบาอุปละที่วัดดอยแต อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ครูบาอุปละได้เมตตาถ่ายทอดครองวัตรปฏิบัติวิชชาอาคมให้พระศรีวิชัยสมควรแก่ภูมิธรรมเป็นเวลา 1 พรรษา จากนั้นจึงได้กราบลาครูอุปละไปศึกษาต่อกับครูบาวัดดอยคำและกลับมาศึกษาต่อกับครูบาสม สมฺโณ ที่วัดบ้านโฮ่งหลวง การได้ศึกษากับพระอาจารย์ผู้เปี่ยมด้วยภูมิรู้และวัตรปฏิบัติ ทำให้ท่านเกิดความเข้าใจในพุทธศาสนาที่ถูกต้อง มีความมุ่งมั่นปฏิบัติในด้านกัมมัฏฐาน โดยละเลิกความสนใจทางด้านไสยศาสตร์ ด้วยเล็งเห็นว่ามิใช่หนทางแห่งความหลุดพ้น


พระศรีวิชัยกลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านปางอีกครั้งและปลีกตัวเองไปอยู่ในเขตอรัญญาวาส บำเพ็ญสมาธิภาวนาด้วยความสงบ ฉันอาหารมื้อเดียว ละเว้นจากการฉันเนื้อสัตว์และเว้นจากของเสพติดเช่น หมาก พลู บุหรี่ เมี่ยง บางครั้งท่านไม่ฉันข้าวนานถึง 5 เดือน ฉันแต่ผักผลไม้ ทำให้ชาวบ้านตลอดจนชาวเขาหลายเผ่าที่อยู่ในแถบนั้นพากันเคารพเลื่อมใสศรัทธาในตัวท่าน

พระศรีวิชัย ได้ชื่อว่าเป็นพระนักพัฒนาโดยแท้ ท่านเป็นผู้นำพัฒนาวัดบ้านปางเป็นแห่งแรก ก่อสร้างปฏิสังขรณ์กุฏิ วิหาร โบสถ์ และให้ชื่ออารามใหม่นี้ว่า “วัดจอมศะหรีทรายมูลบุญเรือง” แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังคงเรียกว่า “วัดบ้านปาง” นอกจากนั้นท่านยังได้ปลูกสร้างปฏิสังขรณ์วัดวาอารามและถาวรวัตถุทางศาสนาอีกหลายสิบวัดในพื้นที่ภาคเหนือ เช่น วัดพระธาตุหริภุญชัยลำพูน, วัดเชียงยืน, วัดพระพุทธบาทตากผ้า, วัดจามเทวี, วัดพระสิงห์, วัดสวนดอก, วัดศรีโสดา,วัดพระแก้วดอนเต้าลำปาง เป็นต้น


ผลงานด้านการพัฒนาของท่านเป็นที่รู้จักและยังคงกล่าวขวัญถึงยุคปัจจุบันก็คือ ถนนขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ ที่สมัยนั้นถือได้ว่าเป็นการร่วมแรงร่วมใจของผู้คนจากทั่วภาคเหนือที่พร้อมใจกันมาสร้างถนนก็ว่าได้ ในสมัยก่อนการจะเดินทางขึ้นไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพต้องเดินเท้าขึ้นไปด้วยความลำบาก ใช้เวลาไม่ต่ำ 4 – 5 ชั่วโมง และการที่จะสร้างถนนขึ้นไปเป็นเรื่องที่ยากเกินจะเป็นไปได้ เพราะต้องใช้ทั้งแรงงานมากมาย เวลาและเงินตรามหาศาล ทั้งสมัยนั้นยังไม่มีเครื่องจักรที่ทันสมัย รัฐบาลในสมัยนั้นซึ่งมีพลเรือตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ทราบเรื่องจากหลวงศรีประกาศ (ฉันท์ วิชยาภัย) จึงได้ส่งนายช่างขึ้นมาทำการสำรวจเส้นทาง ระยะทางทั้งหมด 11.530 กิโลเมตร โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2477 แล้วเสร็จในวันที่ 30 เมษายน 2478

ความมีชื่อเสียง ความสำเร็จผลในด้านการเป็นพระนักพัฒนา ดูเหมือนว่าการบำเพ็ญบารมีธรรมในชีวิตของครูบาศรีวิชัยจะก้าวไปพร้อมกันกับอุปสรรค์แสนเข็ญ ด้วยคณะสงฆ์ผู้ใหญ่ในล้านนาไม่พอใจในตัวท่าน จนถึงขนาดมีการกล่าวหาเอาผิดท่านถึง 3 ครั้ง โดยกล่าวหาว่าท่านทำตัวเป็น “ผีบุญ” อวดอิทธิฤทธิ์ ซ่องสุมกำลังผู้คน คิดขบถต่อบ้านเมือง และนำท่านไปจำไว้ที่ลำพูนและวัดศรีดอนไชย เชียงใหม่ จากนั้นจึงได้ส่งตัวท่านไปไต่สวนที่กรุงเทพ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ตั้งกรรมการชำระคดีครูบาศรีวิชัย ผลปรากฏว่าท่านเป็นผู้บริสุทธิ์ไม่มีความผิด

วันที่ 22 มีนาคม 2481 ขณะที่อายุได้ 60 ปีเศษ ครูบาศรีวิชัยได้ถึงแก่กาลมรณภาพที่วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพที่วัดจามเทวี เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2489 ตามแบบประเพณีล้านนาไทย

ครูบาศรีวิชัย จึงนับเป็นแบบอย่างของพระพัฒนาที่สร้างคุณูปการต่อจังหวัดเชียงใหม่และล้านนาไทยเป็นอย่างมาก แม้วันนี้ครูบาศรีวิชัย หรือ พระศีลธรรม จะมรณภาพมานานกว่า 80 ปี ทว่าชื่อเสียงของท่านยังคงอยู่ในศรัทธาของชาวเชียงใหม่และใกล้เคียงไม่เสื่อมคลาย
 


ภาพบีจี ญามี่    @กรอบ goffymew






 

Create Date : 13 มิถุนายน 2561    
Last Update : 13 มิถุนายน 2561 7:02:46 น.
Counter : 2224 Pageviews.  

ทำไม ? พระเทวทัตจึงเป็นศัตรูกับพระพุทธเจ้า (ฉบับเต็ม) ทั้งที่เป็นดุจพระญาติมาก่อน



ครั้งนั้น ลาภสักการะบังเกิดแก่พระองค์กับทั้งภิกษุสงฆ์สาวกเป็นอันมาก คนทั้งหลายถือสักการะ มีจีวร บิณฑบาต เภสัช อัฎฐบาน เป็นต้น เข้ามาสู่วิหาร ถวายแก่พระสงฆ์สาวกเป็นเนืองนิตย์ ส่วนมากทุก ๆ คนที่มา ย่อมถามถึงแต่พระอัครสาวกทั้งสอง และพระสาวกองค์อื่น ๆ //winne.ws/n11151





สมัยหนึ่ง พระบรมศาสดาเสด็จจาริกไปประทับ ณ เมืองโกสัมพี

ครั้งนั้น ลาภสักการะบังเกิดแก่พระองค์กับทั้งภิกษุสงฆ์สาวกเป็นอันมาก คนทั้งหลายถือสักการะ มีจีวร บิณฑบาต เภสัช อัฎฐบาน เป็นต้น เข้ามาสู่วิหาร ถวายแก่พระสงฆ์สาวกเป็นเนืองนิตย์ ส่วนมากทุก ๆ คนที่มา ย่อมถามถึงแต่พระอัครสาวกทั้งสอง และพระสาวกองค์อื่น ๆ ว่า ท่านอยู่ ณ ที่ใด แล้วพากันไปเคารพนบไหว้สักการะบูชา ไม่มีใครถามถึงพระเทวทัตแม้แต่ผู้เดียว

พระเทวทัตเกิดความโทมนัสน้อยใจ ตามวิสัยของปุถุชนจำพวกที่มากด้วยความอิจฉา ฤษยา คิดว่า เราเป็นกษัตริย์ศากยะราชสกุลเหมือนกัน ออกบรรพชากับด้วยกษัตริย์ขัตติวงศ์นั้น ๆ แต่ไม่มีใครนับถือ ถามหา น่าน้อยใจ เมื่อคิดดังนี้แล้ว ก็เกิดตัณหาในลาภสักการะ เข้าครอบงำจิต คิดใคร่จะได้ลาภสักการะ สัมมานะ เคารพนับถือ แล้วก็คิดต่อไปว่า เราจะทำบุคคลผู้ใดให้เลื่อมใส กราบไหว้บูชาดีหนอ จึงจะบังเกิดลาภสักการะ ครั้นคิดต่อไปก็มองเห็นอุบายทันทีว่า พระอชาตศัตรูราชกุมาร พระโอรสของพระเจ้าพิมพิสารนั้น ยังทรงพระเยาว์ ยังไม่รอบรู้คุณและโทษแห่งบุคคลใด ๆ ควรจะไปคบหาด้วยพระราชกุมารนั้นเถิด 

  ลาภสักการะก็จะพลันบังเกิดเป็นอันมาก ครั้นดำริดังนั้นแล้ว ก็หลีกจากเมืองโกสัมพีไปสู่เมืองราชคฤห์ แล้วนิรมิตกายเป็นกุมารน้อย เอาอสรพิษ ๔ ตัว ทำเป็นอาภรณ์ประดับมือและเท้า ขดทำเป็นเทริดบนศรีรษะ ๑ ตัว ทำเป็นสังวาลย์พันกาย ๑ ตัว สำแดงปาฎิหาริย์ปุถุชนฤทธิ์ของตนเหาะไปยังพระราชนิเวศน์ ลอยลงจากอากาศ ปรากฎกายอยู่เฉพาะหน้าพระอชาตศัตรูราชกุมารครั้นพระราชกุมารตกพระทัยกลัว ก็ทูลว่า “อาตมา คือพระเทวทัต” แล้วเจรจาเล้าโลมให้พระราชกุมารหายกลัว สำแดงกายเป็นพระทรงไตรจีวรและบาตร ยืนอยู่ตรงพระพักตร์พระราชกุมาร 

ครั้งที่หนึ่ง จ้างนายขมังธนู รอบยิงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


เมื่อพระราชกุมารเห็นปาฎิหาริย์เช่นนั้น ก็ทรงเลื่อมใส เคารพนับถือ ถวายลาภสักการะบูชาเป็นอันมาก ภายหลัง พระเทวทัตเกิดบาปจิตคิดใฝ่สูงด้วยอำนาจตัณหา มานะครอบงำจิตคิดผิดไปว่า เราสมควรจะเป็นผู้ครองพระภิกษุสงฆ์ทั้งปวง พอดำริดังนั้น ปุถุชนฤทธิ์ของตนก็เสื่อมสูญพร้อมกับจิตตุบาท 

ครั้นคิดดังนั้นแล้ว ก็เดินทางมาเฝ้าพระพระบรมศาสดาซึ่งประทับอยู่ที่พระเวฬุวันวิหาร ณ เมืองราชคฤห์ ในเวลาที่พระบรมศาสดาทรงแสดงธรรมแก่มวลพุทธบริษัท ซึ่งพระเจ้าพิมพิสารมหาราชประทับเป็นประธานอยู่ เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว 

พระเทวทัตได้กราบทูลว่า 

  “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้พระองค์ทรงชราภาพแล้ว จงเสวยทิฎฐธรรมสุขวิหารสำราญพระกมล มีความขวนขวายน้อยเถิด ข้าพระองค์จะรับภาระธุระช่วยว่ากล่าวครอบครองภิกษุสงฆ์ทั้งปวง ขอพระองค์จงมอบเวรพระภิกษุสงฆ์สาวกทั้งสิ้นให้แก่ข้าพระองค์เถิด ข้าพระองค์จะได้ว่ากล่าวสั่งสอนแทนพระองค์สืบไป”

พระเทวทัตคิดการณ์ใหญ่ อยากเป็นประมุขสงฆ์

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสดับ จึงตรัสห้ามว่า “ไม่ควร” ไม่ทรงอนุญาตให้เป็นไปตามความปรารถนาของพระเทวทัต ๆ ก็โทมนัส ผูกอาฆาตในพระบรมศาสดา จำเดิมแต่นั้นมา พระบรมศาสดาได้ทรงประกาศความประพฤติอันไม่ดีอันไม่งามของพระเทวทัต ซึ่งเกิดขึ้นด้วยจิตลามกให้พระสงฆ์ทั้งหลายทราบ เพื่อให้ภิกษุที่ยังเป็นปุถุชนอยู่ จะได้สังวรระวังจิตมิให้วิปริตไปตาม

 พระเทวทัตลอบปลงพระชนม์พระพุทธเจ้าด้วยวิธีต่าง ๆ พระเทวทัตได้พยายามทำร้ายพระบรมศาสดา โดยคบคิดกับพระเจ้าอชาติศัตรูเป็นการใหญ่ 

ครั้งที่หนึ่ง ได้ใช้ให้นายขมังธนูทั้งหลาย เข้าไปทำอันตรายยิงพระบรมศาสดา แต่นายขมังธนูกลับมีจิตศรัทธา สดับพระธรรมเทศนา ให้บรรลุโสดาปัตติผลด้วยกันสิ้น.

ครั้งที่สอง กลิ้งก้อนหิน เพื่อทำร้ายพระพุทธเจ้า


 ต่อมาพระเทวทัตคิดการใหญ่ ปรารถนาจะทำอันตรายแก่พระผู้มีพระภาค 

จึงเข้าไปเฝ้าพระอชาตศัตรูราชกุมาร แล้วด้วยอุบายทูลว่า แต่ก่อนมนุษย์ทั้งหลายมีอายุยืน บัดนี้อายุของมนุษย์น้อยถอยลง หากพระองค์สิ้นพระชนม์เสียก่อนพระราชบิดา แต่เวลายังหนุ่มอยู่แล้ว ไฉนพระองค์จะได้รับราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ เสวยพระราชสมบัติสมดังพระทัยที่ปรารถนาไว้เล่า 

ฉะนั้น พระองค์จงปลงพระชนม์ชีพพระราชบิดา จัดการสถาปนาพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ เสวยราชสมบัติเสียตั้งแต่บัดนี้เถิด แม้อาตมาก็จะฆ่าพระสมณะโคดมเสีย จะได้เป็นพระบรมศาสดา ปกครองพระสงฆ์ทั้งปวงเช่นเดียวกัน.

เมื่อพระอชาตศัตรูราชกุมาร ยังเยาว์พระวัย พระทัยเบา หลงเชื่อถ้อยคำของพระเทวทัต จึงทำปิตุฆาต ปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์พระเจ้าพิมพิสาร พระชนกนาถ ให้อภิเษกพระองค์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์สำเร็จดังปราถนา

ครั้งที่สอง พระเทวทัตลอบขึ้นไปบนภูเขาคิชฌกูฎ กลิ้งก้อนหินศิลาใหญ่ลงมาหวังจะให้ประหารพระบรมศาสดา ขณะเสด็จขึ้น ถึงสะเก็ดศิลาได้กระทบพระบาทจนห้อพระโลหิต นับเป็นครั้งแรกและครั้งเดียว ที่พระผู้มีพระภาค ผู้เป็นนาถะของโลก เป็นพระบรมครูขอเทพยดาและมวลมนุษย์ ต้องประสบอันตรายถึงเสียพระโลหิตจากพระกาย เพราะพระเทวทัตกระทำอนันตริยกรรมพุทธโลหิตุบาท.

ครั้งที่สาม พระเทวทัตให้ปล่อยช้างนาฬาคีรี ข่าวร้ายนี้กระจายไปในวงกว้างมาก


 ครั้งที่สาม พระเทวทัตให้ปล่อยช้างนาฬาคีรี 

       ช้างพระที่นั่งกำลังซับมันดุร้าย เพื่อให้ทำอันตรายพระชนม์ชีพพระบรมศาสดา ในเวลาเสด็จออกบิณฑบาต แต่ช้างนาฬาคีรีก็ไม่ทำร้ายพระองค์ ครั้งนั้น พระอานนท์เถระเจ้า มากด้วยความกตัญญู สละชีวิตถวายเป็นพุทธบูชา โดยกลัวว่าช้างนาฬาคีรีจะทำร้ายพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ออกไปยืนกั้นหน้าช้างนาฬาคีรีไว้ เพื่อให้ช้างทำลายชีวิตท่าน ปรารถนาจะป้องกันพระบรมศาสดา ในทันใดนั้น พระบรมศาสดาได้ทรงช้างนาฬาคีรีให้หมดพยศอันร้ายกาจ หมอบยอบกายเข้าไปถวายบังคมพระบรมศาสดา ฟังพระบรมศาสดาตรัสสอนแล้วเดินกลับเข้าสู่โรงช้าง ด้วยอาการอันสงบ 

ปรากฎแก่มหาชนที่ประชุมกันดูอยู่เป็นอันมาก เป็นมหัศจรรย์ ครั้นพระผู้มีพระภาค พาพระสงฆ์เสด็จกลับยังพระเวฬุวันวิหาร มหาชนก็พากันแซ่ซ้องร้องสาธุการ ติดตามไปยังพระเวฬุวันวิหาร จัดมหาทานถวายครั้นเสร็จภัตตกิจแล้วพระบรมศาสดาได้ตรัสอนุปุพพิกกถาอนุโมทนา 

เมื่อได้ทรงสดับคำพรรณนาถึงคุณของพระอานนท์เถระเจ้าที่ได้สละชีวิตออกไปยืนกั้นช้างนาฬาคีรี สมเด็จพระชินสีห์ จึงประทานพระธรรมเทศนามหังสชาดก และจุลลหังสชาดก ยกคุณของพระอานนท์เถระเจ้าที่ได้สละชีวิตถวายพระองค์แม้ในอดีตชาติ

   แท้จริง การที่พระเทวทัตเกิดมีจิตบาปหยาบช้าลามก ทำร้ายพระบรมศาสดามาก่อนนั้นก็ดี แนะนำให้พระเจ้าอชาตศัตรู ปลงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสารก็ดี มิสู้จะปรากฎแพร่หลายนัก 

 ต่อเมื่อปล่อยช้างนาฬาคีรี ให้ประทุษร้ายพระบรมศาสดาครั้งนั้นแล้ว ความชั่วร้ายแต่หนหลังของพระเทวทัตก็ปรากฎทั่วไป 

ชาวพระนครราชคฤห์พากันโพนทนากันโกลาหลว่า พระเทวทัตคบคิดด้วยพระเจ้าอชาติศัตรูปลงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสาร ทำร้ายพระสัมมาพุทธเจ้า ทำกรรมชั่วช้าลามกสิ้นดี

  ครั้นพระเจ้าอชาติศัตรูได้ทรงสดับข่าวติฉินร้ายแรงเช่นนั้น ก็ละอายพระทัย จึงเลิกโรงทานที่จัดอาหารบำรุงพระเทวทัตและศิษย์เสียสิ้น ทั้งไม่เสด็จไปหาพระเทวทัตเหมือนแต่ก่อน  แม้ชาวเมืองทั้งหลายก็ไม่ศรัทธาเลื่อมใส ไม่พอใจให้การบำรุง แม้พระเทวทัตไปสู่บ้านเรือนใด ๆ ก็ไม่มีใครต้อนรับ เพียงแต่อาหารทัพพีหนึ่งก็ไม่ได้ พระเทวทัตได้เสื่อมเสียจากลาภสักการะทั้งปวง.

ครั้งที่สาม พระเทวทัตให้ปล่อยช้างนาฬาคีรี

พระเทวทัตขอวัตถุ ๕ อย่าง (ที่เคร่งเกินพอดี) ภายหลัง พระเทวทัตปรารถนาจะเลี้ยงชีพด้วยโกหัญญกรรม การหลอกลวงสืบไป เพื่อจะเเสดงว่าตนเป็นผู้เคร่งครัด ได้เข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดา ทูลขอวัตถุ ๕ ประการ เพื่อให้พระบรมศาสดาบัญญัติให้ภิกษุทั้งหลายปฎิบัติโดยเคร่งครัด คือ…

 - ให้อยู่ในเสนาสนะป่า เป็นวัตร

        - ให้ถือบิณฑบาต เป็นวัตร

        - ให้ทรงผ้าบังสุกุล เป็นวัตร

       - ให้อยู่โคนไม้ เป็นวัตร

       - ให้งดฉันมังสาหาร เป็นวัตร

  ในวัตถุทั้ง ๕ ภิกษุรูปใด จะปฎิบัติข้อใด ให้ถือข้อนั้นโดยเคร่งครัด คือให้สมาทานเป็นวัตร ปฎิบัติโดยส่วนเดียว พระบรมศาสดาไม่ทรงอนุญาต ตรัสว่า “ไม่ควร ควรให้ปฎิบัติได้ตามศรัทธา” ด้วยทรงเห็นว่า ยากแก่การปฎิบัติ เป็นการเกินพอดีไม่เป็นทางสายกลางสำหรับบุคคลทั่วไป 

        พระเทวทัตโกรธแค้น ไม่สมประสงค์ กล่าวยกโทษพระบรมศาสดา ประกาศว่า คำสอนของตนประเสริฐกว่า ทำให้ภิกษุที่บวชใหม่ มีปัญญาน้อยหลงเชื่อ ยอมทำตนเข้าเป็นสาวก 

        ครั้นพระเทวทัตได้ภิกษุยอมเข้าเป็นบริษัทของตนแล้ว ก็พยายามทำสังฆเภท แยกจากพระบรมศาสดา เมื่อพระบรมศาสดาทรงทราบ ก็โปรดให้หาพระเทวทัตมาเฝ้า รับสั่งถาม พระเทวทัตก็ทูลตามความสัตย์ จึงทรงตรัสพระพุทธโอวาทห้ามปรามว่า

        “ดูก่อนเทวทัต ท่านอย่าพึงทำเช่นนั้น อันสังฆเภทนี้เป็นครุกรรมใหญ่หลางนัก” พระเทวทัตมิได้เอื้อเฟื้อในพระโอวาท ไปจากที่นั้น พบพระอานนท์ ในพระนครราชคฤห์ ได้บอกความประสงค์ของตนว่า 

        “ท่านอานนท์ จะเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าเลิกจากพระบรมศาสดา ข้าพเจ้าเลิกจากหมู่สงฆ์ทั้งปวง ข้าพเจ้าจะทำอุโบสถสังฆกรรมเป็นการภายในแต่พวกของเราเท่านั้น” พระอานนท์ได้นำความนั้นมากราบทูลพระบรมศาสดา เมื่อทรงทราบแล้วก็บังเกิดธรรมสังเวช 

       ทรงพระดำริว่า “พระเทวทัตจะกระทำอนันตริยกรรม อันจะนำตัวให้ไปทนทุกข์อยู่ในอเวจีมหานรก” แล้วทรงอุทานว่า “กรรมใดไม่ดีด้วย ไม่เป็นประโยชน์ด้วย กรรมนั้นทำได้ง่าย ส่วนกรรมใดดีด้วย มีประโยชน์ด้วย กรรมนั้นทำได้ยากยิ่งนัก”

พระเทวทัตทำสังฆเภท (ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน

      ในที่สุด พระเทวทัตก็ประชุมภิกษุ ส่วนมากเป็นชาววัชชี บวชใหม่ ในโรงอุโบสถ ประกาศทำสังฆเภท จักระเภท แยกออกจากหมู่สงฆ์ทั้งปวง แล้วพาภิกษุเหล่านั้นไปยังตำบลคยาสีสะประเทศ ครั้นพระบรมศาสดาได้ทรงทราบเหตุนั้นแล้ว ทรงดำรัสให้พระสารีบุตรเถระและพระโมคคัลลานะเถระ ไปนำภิกษุพวกนั้นกลับ อัครสาวกทั้งสองรับพระบัญชาแล้วไปที่คยาสีสะประเทศนั้น แนะนำพร่ำสอนภิกษุเหล่านั้น ให้กลับใจ 

       ด้วยอำนาจเทศนาปาฎิหาริย์และอิทธิปาฎิหาริย์ต่างๆ ให้ภิกษุเหล่านั้นได้บรรลุอมตธรรม แล้วพาภิกษุเหล่านั้นกลับมาเฝ้าพระบรมศาสดา พระโกกาลิกะ ซึ่งเป็นศิษย์ผู้ใหญ่ของพระเทวทัต มีความโกรธ กล่าวโทษแก่พระเทวทัต ที่ไปคบค้าด้วยพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ 

       ให้พระอัครสาวกทั้งสองพาภิกษุทั้งหลายกลับไปหมดสิ้น แล้วประหารพระเทวทัตที่ทรงอก ด้วยเท้าอย่างแรงด้วยกำลังโทสะ เป็นเหตุให้พระเทวทัตเจ็บปวดอย่างสาหัส ถึงอาเจียนเป็นโลหิต ได้รับทุกข์เวทนากล้า

พระเทวทัตอาพาธและสำนึกผิด

  เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จจากพระนครราชคฤห์  ไปประทับยังพระเชตวันวิหารพระนครสาวัตถีแล้ว ต่อมาพระเทวทัตก็อาพาธหนักลง ไม่ทุเลาถึง ๙ เดือน กลับหวลคิดถึงพระบรมศาสดา ใคร่จะเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นครั้งสุดท้าย ด้วยแน่ใจในชีวิตสังขารของตนคงจะดับสูญในกาลไม่นานนั้นเป็นแน่แท้ 

        จึงได้ขอร้องให้ภิกษุที่เป็นสาวกของตนให้ช่วยพาไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุพวกนั้นกล่าวว่า “ท่านอาจารย์เป็นเวรอยู่กับพระบรมศาสดาหนักนัก ข้าพเจ้าทั้งหลาย หาอาจพาไปเฝ้าได้ไม่” 

        พระเทวทัตจึงกล่าวว่า “ท่านทั้งปวงอย่าให้เราพินาศฉิบหายเสียเลย แม้เราจะได้ทำเวรอาฆาตในพระผู้มีพระภาค แต่พระผู้มีพระภาคจะได้อาฆาตตอบเราแม้แต่น้อยหนึ่งก็มิได้มี เราจะไปขมาโทษ ขอให้พระองค์อดโทษให้สิ้นโทษ ด้วยน้ำพระทัยพระผู้มีพระภาคเปี่ยมด้วยพระกรุณา ทรงพระการุญในพระเทวทัตก็ดี ในองคุลีมาลโจรก็ดี ในช้างนาฬาคีรีก็ดี ในพระราหุลผู้เป็นพระโอรสก็ดี เสมอกัน” 

        เหตุนั้น พระเทวัตจึงขอร้อง วิงวอนแล้ว ๆ เล่า ๆ ให้ภิกษุผู้เป็นศิษย์ ช่วยนำตัวไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า บรรดาภิกษุผู้เป็นศิษย์มีความสงสาร จึงพร้อมกันยกพระเทวทัตขึ้นนอนบนเตียงแล้วช่วยกันหามมา ตั้งแต่เมืองราชคฤห์ จนถึงเมืองสาวัตถี ครั้นพระสงฆ์ทั้งหลายรู้ข่าว จึงเข้าไปกราบทูลพระบรมศาสดา 

พระองค์ตรัสว่า 

  “ภิกษุทั้งหลาย พระเทวทัตได้ทำกรรมหนัก ไม่อาจเห็นตถาคตในอัตตภาพนี้ได้เลย” แม้ภิกษุทั้งหลายจะได้เข้ากราบทูลให้ทรงทราบเป็นระยะ ๆ หลายหน ถึงครั้งสุดท้าย พระเทวทัตได้ถูกหามมาใกล้พระเชตวันวิหารแล้ว พระผู้มีพระภาค ก็ยังทรงรับสั่งเช่นเดิมอยู่อย่างนั้นอีกว่า 

 “ภิกษุทั้งหลาย แม้พระเทวทัต จะเข้ามาในพระเชตวัน  พระเทวทัตก็จะไม่ได้เห็นตถาคตเป็นแน่แท้” 

พระเทวทัตโดนแผ่นดินสูบในวาระสุดท้าย

 เมื่ออันเตวสิกทั้งหลาย หามพระเทวทัตมาถึงสระโบกขรณี ซึ่งอยู่นอกพระเชตวันวิหาร จึงวางเตียงลงในที่ใกล้สระ แล้วก็ชวนลงอาบน้ำในสระนั้น ส่วนพระเทวทัตก็ลุกขึ้นนั่งอยู่บนเตียง ห้อยเท้าทั้งสองถึงพื้นดิน ประสงค์จะเหยียบยันกายขึ้นบนพื้นปฐพี ในขณะนั้น พื้นปฐพีก็แยกออกเป็นช่อง สูบเอาเท้าทั้งสองของพระเทวทัตลงไปในแผ่นดินโดยลำดับ พระเทวทัตได้จมหายไปในภาคพื้น ตราบเท่าถึงคอ และกระดูกคาง วางอยู่บนพื้นปฐพี ในเวลานั้น พระเทวทัตได้กล่าวคาถาสรรเสริญบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

“พระผู้มีพระภาค เป็นอัครบุรุษ ยอดแห่งมนุษย์และเทพดาทั้งหลาย พระองค์เป็นสารถีฝึกบุรุษอันประเสริฐ พระองค์ทรงสมบูรณ์ด้วยบุญญลักษณ์ถึงร้อย และบริบูรณ์ด้วยสมันตจักษุญาณ หาที่เปรียบมิได้ ข้าพระองค์ ขณะนี้ มีเพียงกระดูกคางและศรีษะ กับลมหายใจเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว ขอถึงพระพุทธเจ้า เป็นสรณะ”

พอสิ้นเสียงแห่งคำนี้เท่านั้น  ร่างพระเทวทัตก็จมหายลงไปในแผ่นพื้นปฐพีไปบังเกิด ในอเวจีมหานรก ด้วยบาปไม่เคารพในพระรัตนตรัย ประทุษร้ายในพระบรมศาสดา ทำสังฆเภทอันเป็นอนันตริยกรรม ข่าวพระเทวทัตถูกแผ่นดินสูบ เป็นข่าวใหญ่เกรียวกราว ได้แพร่สะพัดไปในชาวนครสาวัตถี ไม่นานก็รู้กันทั่วกรุง โจษจันกันไปทั่วชุมนุมชน ด้วยเพิ่งจะรู้จะได้ยิน เพิ่งจะปรากฎ ผู้หนักในธรรมก็สังเวชสลดใจ คนใจบุญก็สดุ้งต่อปาบ เห็นบาปเป็นภัยใหญ่หลวง 

 คนที่เกลียดชังพระเทวทัต ก็พากันดีใจ โลดเต้นสาปแช่ง สมน้ำหน้าพระเทวทัตหนักขึ้น ภิกษุทั้งหลายทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า 

 “บัดนี้ พระเทวทัตไปบังเกิดในที่ไหน?”  พระบรมศาสดาตรัสว่า ไปบังเกิดในอเวจีมหานรก ภิกษุทั้งหลาย คนทำบาป ย่อมเดือดร้อนในโลกนี้ เมื่อละจากโลกนี้ไป ก็ย่อมทวีความเดือดร้อนยิ่งขึ้น

สุดท้าย

ภายหลัง พระเจ้าอชาตศัตรูทรงรู้สึกในความผิดของพระองค์ ทรงเดือดร้อนพระทัย โปรดให้หมอชีวกโกมารภัจจ์ พาพระองค์เฝ้าพระผู้มีพระภาค ซึ่งประทับอยู่ที่พระวิหารกลม ในชีวกัมพวนาราม ครั้นสดับพระธรรมเทศนาของพระบรมศาสดาแล้วทรงเลื่อมใส ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ เป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นกำลังอุปถัมภ์บำรุงพระศาสนาต่อมา.

อ้างอิงจาก : //dhammaforlearner.blogspot.com/2015/09/BuddhaHistoryEp14.html

ขอบคุณภาพและเนื้อเรื่องจาก //www.winnews.tv/news/11151




 

Create Date : 12 ธันวาคม 2559    
Last Update : 12 ธันวาคม 2559 7:54:12 น.
Counter : 2641 Pageviews.  

เพื่อนๆมีใครเคยฟังเพลงนี้บ้างครับ" ต้นน้ำ"



  เพลง: "ต้นน้ำ"

ประพันธ์คำร้อง: "ตะวันธรรม"
ทำนอง/เรียบเรียง: ชาญณรงค์ แดงกูร
ขับร้อง: สาโรจ จาระ
~~~~~~~~~~~~~~~
เหงื่อกลั่นจากใจที่รักแผ่นดิน 
รักทุกชีวิน ไหลรินท่วมกาย
สายลมผ่านมา พัดพากลับกลาย
เป็นมหาเมฆมองคล้าย ร่มฉัตรสวรรค์
ล่องลอยโปรยปรายสายธารา
แด่มวลพฤกษาในพนาวัน
เป็นแหล่งน้ำหล่อเลี้ยงชีวัน
ส่ำสัตว์หฤหรรษ์ ด้วยฝนกรุณา
เป็นห้วยละหานเป็นธารน้ำใส
น้ำตกน้อยใหญ่ไหลเย็นซัดซ่า
เป็นน้ำในอ่างเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา
หล่อเลี้ยงไร่นาให้เชียวขจี
เป็นสระน้อยๆ สองฝั่งแม่น้ำ 
เก็บไว้ใช้ยามขาดสายชลธี
แบ่งปันธาราลงสู่มหานที
หล่อเลี้ยงชีวีพี่น้องต่างแดน
รู้ไหมหยาดเหงื่อผู้ใด
หยาดเหงื่อผู้ใดหล่อเลี้ยงทุกสิ่ง
เป็นต้นน้ำที่แท้จริง 
เป็นต้นน้ำที่แท้จริง
ให้ชาวไทยสุขแสน 
ถ้าหากอยากรู้ ... ดูสิว่า
~~~~~~~~~~~~~~~
อยากถามว่า...คุณรู้จัก "ตะวันธรรม" ที่ประพันธ์คำร้องเพลงนี้บ้างหรือเปล่า.... เจ้าของบล็อกทราบครับ...แต่อยากรู้ว่าเพื่อนๆทราบไหม?
ขอบคุณเสียงคลิปจาก ยูทูบ




 

Create Date : 23 ตุลาคม 2559    
Last Update : 23 ตุลาคม 2559 21:43:06 น.
Counter : 1660 Pageviews.  

@#น้อมส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย น้อมรำลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณ ....



 น้อมส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย น้อมรำลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณ และร่วมถวายความอาลัยด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ



ขอเชิญชวนพสกนิกรชาวไทยทั่วโลก ร่วมถวายความอาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ และน้อมรำลึกถึงบุญกุศลทั้งปวง น้อมถวายแด่พระองค์ พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย //winne.ws/n8937



ส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและร่วมถวายความอาลัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

















 

Create Date : 14 ตุลาคม 2559    
Last Update : 14 ตุลาคม 2559 20:23:51 น.
Counter : 4562 Pageviews.  

โปรดอย่าเอาทิฏฐิตนมาจับผิด ตั้งแง่ที่จะทำร้ายกิ่งอื่น หักรานกิ่งอื่น




ที่มา: https://goo.gl/aAMRO3

จุดชี้ขาดความเป็นชาวพุทธเถรวาท คืออะไร?
 เมื่อประมาณเดือนพ.ค. 59 ที่ผ่านมา มีบางท่านตั้งคำถามต่อประเด็นในร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 67 ว่า ทำไมต้องกำหนดไว้ด้วยว่า "รัฐพึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแพร่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท" พร้อมแสดงความกังวลว่า การกำหนดเนื้อหาดังกล่าวไว้จะทำเพิ่มความขัดแย้งให้สังคมไทย
โฆษกคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ให้เหตุผลว่า



“ที่ต้องกำหนดลงไปว่า เป็นพระพุทธศาสนาเถรวาท เพราะต้องการให้เกิดความชัดเจน เพราะเป็นนิกายที่คนไทยนับถือ เวลานี้ศาสนาพุทธมีหลายนิกายและนับวันจะมีนิกาย มีลัทธิใหม่ๆ ลัทธิแผลงๆ เกิดขึ้นมากมาย จึงต้องการให้กำหนดไว้ให้ชัดเจนว่า ศาสนาพุทธที่รัฐพึงสนับสนุน คือเถรวาท เพื่อรักษาพุทธแท้ตามพระไตรปิฎก ซึ่งเรื่องนี้ก็ไม่เกี่ยวกับเสรีภาพในการนับถือศาสนาของประชาชน ทุกคนยังสามารถเลือกนับถือศาสนาใดก็ได้...”  (//www.komchadluek.net/news/politic/228583)

  คำถามที่เกิดขึ้นในใจของชาวพุทธอย่างเราๆ ที่ไม่ได้อ่านมาก รู้มากเหมือนพระเปรียญหรือนักวิชาการศาสนา อยากรู้ว่าพระพุทธศาสนาเถรวาทมีลักษณะอย่างไร? ความรู้นี้ชาวพุทธเราควรรู้ไว้ไม่เสียหลาย...รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม....รู้ดีกว่าไม่รู้จริงไหมค่ะ?


ที่มา: https://goo.gl/C2Sf7U

พระพุทธศาสนา เถรวาท ~ Theravada หรือหินยาน

    นิกายเถรวาท หรือ หินยาน เป็นนิกายเก่าแก่ที่สุด ยึดถือพระธรรมวินัยเดิมอย่างเคร่งครัด นับถือมากในไทย พม่า เขมร ลาว ศรีลังกา

คัมภีร์ของพระพุทธศาสนา

 เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ 3 เดือน สาวกผู้ได้เคยสดับฟังคำสั่งสอนของพระองค์จำนวน 500 รูป ก็ประชุมทำสังคายนากัน ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา ใกล้เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ สอบปากคำกันอยู่ 7 เดือน จึงตกลงประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรก นี่คือบ่อเกิดของคัมภีร์พระไตรปิฎก ต่อมาเมื่อมีปัญหาขัดแย้ง พระเถระผู้ใหญ่ก็ประชุมขจัดข้อขัดแย้งกัน เป็นสังคายนาต่อมาอีกหลายครั้ง จนได้พระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาทดังที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ ซึ่งถือกันทั่วไปว่าเป็นคำสอนโดยตรงของพระพุทธเจ้าที่นับว่าใกล้เคียงที่สุด

เนื่องจากภาษามคธที่ใช้บันทึกคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า  นั้น ครั้นกาลเวลาล่วงไปก็ค่อยๆ กลายเป็นภาษาโบราณ ยากที่จะเข้าใจได้ทันทีสำหรับนักศึกษารุ่นหลังๆ จึงได้มีผู้เชี่ยวชาญนิพนธ์ชี้แจงความหมายเรียกว่า อรรถกถา เมื่อนักศึกษารู้สึกว่าอรรถกถายังไม่ชัดเจนก็มีผู้เชี่ยวชาญนิพนธ์ฎีกาขึ้นชี้แจงความหมาย และมีอนุฎีกาสำหรับชี้แจงความหมายของฎีกาอีกต่อหนึ่ง

ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะปัญหาก็นิพนธ์ชี้แจงเฉพาะปัญหาขึ้นเรียกว่า ปกรณ์ เหล่านี้ถือว่าเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาทั้งสิ้น แต่ทว่ามีน้ำหนักน้อยกว่าพระไตรปิฎก เพราะถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ตีความ นักศึกษาจะเห็นกับบางคัมภีร์ และไม่เห็นด้วยกับบางคัมภีร์ก็ได้ ไม่ถือว่ามีความเป็นพุทธศาสนิกมากน้อยกว่ากันเพราะเรื่องนี้

"พระไตรปิฎก คือ คัมภีร์คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
แบ่งเป็น 3 หมวด คือ

1. พระสุตตันตปิฎก รวมคำสอนของพระพุทธเจ้า และพระสาวก
2. พระวินัยปิฎก ศีลของพระภิกษุ และพิธีกรรมทางศาสนา
3. พระอภิธรรมปิฎก รวมหลักธรรมชั้นสูง






พระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาทเป็นภาษามคธ ฝ่ายมหายานเป็นภาษาสันสกฤต

หลักธรรมที่สำคัญ ได้แก่

>>>อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ
>>>อริยมรรคมีองค์ 8 ได้แก่ ความเห็นชอบ, ความดำริชอบ, เจรจาชอบ, การงานชอบ, เลี้ยงชีพชอบ, เพียรชอบ, ระลึกชอบและตั้งใจชอบ สรุปย่อมรรคทั้ง 8 ข้อ ลงในหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

พิธีกรรมที่สำคัญทางพุทธศาสนา ได้แก่
>>> การบวช ได้แก่ บวชเณร เรียกว่า บรรพชา, บวชพระ เรียกว่า อุปสมบท
>>> การเวียนเทียน ในวันสำคัญ คือ วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา

จากที่ว่ามานั้นเป็น "การเฟ้นหาความต่างนี้เพื่อความรู้ ไม่ใช่เพื่อสร้างความไม่พออกพอใจต่อกันและกัน ทั้งมหายานและเถรวาทต่างก็มีสายเลือดอันเดียวกัน พิสูจน์ได้จากหลักคำสอนที่เป็นแกนหลักสำคัญ เช่น อริยสัจ 4 ปฏิจจสมุปบาท ความหลุดพ้น พระโคตมพุทธเจ้า จะมีความแตกต่างกันก็แต่เพียงปลีกย่อย ไม่ใช่สารัตถะสำคัญ เปรียบเหมือน พี่น้องท้องแม่เดียวกันเมื่อเจริญวัยต่างคนต่างไป ทำกิจการงานต่างๆ ย่อมมีวิธีการ และรสนิยมในการดำเนินชีวิตเพื่อความอยู่รอดที่ไม่เหมือนกัน แต่ก็ยังเป็นพี่เป็นน้องเป็นสายเลือดเดียวกัน ย่อมจะตัดขาดจากกันไม่ได้..."(พระใบฎีกาอนุรักษ์ อินฺทวณฺโณ)

หลักวินิจฉัยว่าใครคือพุทธเถรวาท
แล้วถามว่า




- ชาวพุทธที่เคารพบูชาเจ้าแม่กวนอิมด้วย เป็นพุทธเถรวาทหรือไม่
- ชาวพุทธที่ตั้งศาลพระภูมิในบ้าน เป็นพุทธเถรวาทหรือไม่
- ชาวพุทธที่เชิญพราหมณ์มาประกอบพิธีในวาระโอกาสต่างๆ เป็นพุทธเถรวาทหรือไม่
- ชาวพุทธที่เคารพบูชาศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ต่างๆ เป็นพุทธเถรวาทหรือไม่
- ชาวพุทธที่สักยันต์ ดูหมอ ใบ้หวย นับถือกุมารทอง นางกวัก แม่ย่านาง ปลัดขิก บูชาราหู เป็นชาวพุทธเถรวาทหรือไม่

  แล้วถ้าตัดชาวพุทธเหล่านี้ออกหมด จะเหลือชาวพุทธไทยถึง 5% หรือไม่


 หัวใจของพระพุทธศาสนาคือพระรัตนตรัย


หลักวินิจฉัยว่าใครคือพุทธเถรวาทหรือไม่อยู่ที่

  1. เขาเคารพบูชาพระพุทธเจ้าหรือไม่
     2. เขาเคารพบูชาพระธรรม ยอมรับคำสอนในพระไตรปิฎกหรือไม่
     3. เขาเคารพพระสงฆ์ ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบหรือไม่


    ถ้าเขายึดถือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ เป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด เขาก็คือพุทธเถรวาท แม้จะเคารพเจ้าพ่อ เจ้าแม่ อื่นๆบ้างก็ตาม

ในครั้งพุทธกาล เพียงแค่นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์เปล่งวาจาขอถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ 3 รอบ ก็สำเร็จเป็นพระภิกษุแล้ว แม้ปัจจุบันก็สำเร็จเป็นสามเณร


 การถึงไตรสรณาคมน์ คือ จุดชี้ขาดความเป็นชาวพุทธเถรวาท

แม้ภิกษุก็เช่นกัน ขอเพียงถึงไตรสรณาคมน์ และผ่านการอุปสมบทถูกต้องตามพุทธบัญญัติก็เป็นพระภิกษุเถรวาท แม้บางรูปอาจมีสักยันต์บ้าง พระทางเหนือมีห้อยลูกประคำบ้างก็ตาม
หากมัวแต่คิดกีดกันคนที่คิด เชื่อบางอย่างไม่เหมือนตน ว่าไม่ใช่พุทธเถรวาท สุดท้ายจะเหลือแต่ตัวเองคนเดียว เพราะคนอื่นๆทุกคนจะต้องมีบางประเด็นที่คิดเชื่อต่างจากเราเสมอ



ขนาดพระอรหันต์ยังมีบางประเด็นเห็นไม่ตรงกันเลย ใครไม่เชื่อลองไปเปิดพระวินัยปิฎกแปล(ฉบับ มจร) เล่ม 7 ข้อ 441 หน้า 382 ว่าด้วยเรื่องสิกขาบทเล็กน้อย ในคราวสังคายนาครั้งที่ 1 ของพระอรหันต์ 500 รูป


แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง คือทางมาแห่งความสามัคคี ความสงบร่มเย็น ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนามาแต่โบราณ

การแสวงจุดต่าง พยายามแบ่งแยก ถือเขา ถือเรา คือทางมาแห่งความทะเลาะเบาะแว้ง แตกความสามัคคี ความเสื่อมของพระพุทธศาสนา


อย่าเอาจุดต่างที่เขาเคารพบูชาบางอย่างไม่เหมือนเรามากีดกันว่าเขาไม่ใช่พุทธเถรวาท ไม่อย่างนั้นชาวพุทธเถรวาทไทยอาจเหลือไม่ถึง 5 % เป็นชนส่วนน้อยในประเทศไทย (พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ (สมชาย ฐานวุฑโฒ)

ทำอย่างไรจะเข้าถึงแก่นพระศาสนา



 ธรรมดาต้นไม้ใหญ่ย่อมมีทั้งใบอ่อน สะเก็ด เปลือก กระพี้และแก่น พระพุทธศาสนาซึ่งเปรียบเสมือนต้นไม้ใหญ่ ก็น่าจะมีเครื่องประกอบเหล่านี้ อะไรคือใบอ่อน สะเก็ด เปลือก กระพี้ และแก่นของพระพุทธศาสนา? ภิกษุในพระพุทธศาสนาควรจะปฏิบัติอย่างไร จึงจะเข้าถึงแก่นพระศาสนา?

พุทธดำรัสตอบ “กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น...เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีลาภสักการะและความสรรเสริญ ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ ไม่ปรากฏ มีศักดาน้อย อนึ่ง เขาไม่ยังฉันทะให้เกิด ไม่พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่าและประณีตกว่าลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อน ท้อถอย เปรียบเหมือนบุรุษคนนั้น ที่มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือก ละเลยสะเก็ดไปเสีย ตัดเอากิ่งและใบถือไป สำคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา...”

          ในจูฬสาโรปมสูตรนั้นมีเนื้อหาแสดงไว้ค่อนข้างยาวแต่พอสรุปได้สั้นๆ ว่า “ลาภสักการะชื่อเสียงเปรียบเหมือนกิ่งไม้ใบไม้ ความสมบูรณ์ด้วยศีลเปรียบเหมือนสะเก็ดไม้ ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิเปรียบเหมือนเปลือกไม้ ญาณทัศนะหรือปัญญาเปรียบเหมือนกะพี้ไม้ ความหลุดพ้นแห่งใจอันไม่กลับกำเริบเปรียบเหมือนแก่นไม้”

          พระพุทธศาสนาเปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ ที่มีราก กิ่งก้าน สาขา ใบ ดอก ผล ทุกส่วนมารวมกันจึงกลายเป็นต้นไม้ที่สมบูรณ์ได้ ที่จะพยุงต้นไม้นี้ไว้ให้ยืนหยัดอยู่ยาวนานต่อไป หากขาดส่วนใดส่วนหนึ่งก็กลายเป็นต้นไม้ที่ไม่สมบูรณ์รอวันเหี่ยวเฉาไปกับกาลเวลา พระพุทธศาสนาก็ย่อมจะมีหลายสิ่งหลายอย่างรวมอยู่ด้วยกัน

ผศ.ร.ท.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ เคยกล่าวไว้ว่า "ต้นไม้ใหญ่ยืนต้นอยู่ได้ไม่ใช่มีแต่แก่น แต่มันยังมีเปลือกอยู่ร่วมด้วยและเปลือกนั้นก็ใช่ว่าจะไร้ประโยชน์ไร้ค่าเสียทีเดียว สถาบันพระพุทธศาสนาก็คือต้นไม้ใหญ่ย่อมต้องมีเปลือกเป็นธรรมดา และเปลือกนั้นแม้จะมีกาฝากเกาะติดบ้างแต่เราก็สามารถทำกาฝากให้เป็นปุ๋ยได้ในโอกาสต่อไป"


 ดังนั้น โปรดอย่าเอาทิฏฐิตนมาจับผิด ตั้งแง่ที่จะทำร้ายกิ่งอื่น หักรานกิ่งอื่น แทนที่เราจะมาเคร่งครัดกับข้อวัตรปฏิบัติตามหลักธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือครูบาอาจารย์ที่เราเคารพเลื่อมใสศรัทธา แล้วฝึกฝนตนเองจนบรรลุผลแห่งความเพียรและบุญบารมีที่แต่ละคนสั่งสมมาในอดีต ทำเช่นนี้จะได้ชื่อว่าเป็นชาวพุทธที่แท้จริง และมีส่วนช่วยผดุงรักษาต้นไม้ใหญ่ คือพระพุทธศาสนาให้ยืนหยัด เจริญงอกงามสืบไป

มะลิ สไมล์

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง:
1. //www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=6505&Z=6695)
2. https://mobile.facebook.com/story.php?story_fbid=477922195739335&id=301226330075590
3. //dbuddhist.com/contentfront003.html
4. //www.dhammathai.org/buddhism/theravada.php
5. //www.komchadluek.net/news/politic/228583
6. //cybervanaram.net/2009-12-17-14-44-23-14/439-2011-03-22-03-14-59
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

ขอบคุณพิเศษภาพและบทความจาก //factsheetmonk.blogspot.jp/2016/09/blog-post.html




 

Create Date : 20 กันยายน 2559    
Last Update : 20 กันยายน 2559 22:35:18 น.
Counter : 1542 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  

Turtle Came to See Me
Location :
พัทลุง Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]





★ที่มา ล็อกอิน ★Turtle Came to See Me ★( บทกวี Poem )
เป็นหนังสือ สำหรับเยาวชน
★Turtle Came to See Me
แต่งโดย :Margrita Engle
★★★★



BlogGang Popular Award #11

BlogGang Popular Award #12
Friends' blogs
[Add Turtle Came to See Me's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.