It's All I Have to Bring Today !
Group Blog
 
All blogs
 
'​ศิลปะ​เชียง​แสน​' (​ศิลปะ​ล้าน​นา​')​

(​ต่อ​จาก​ฉบับ​วัน​เสาร์​ที่​แล้ว​) ​จาก​งาน​วิจัย​ของ​อาจารย์​ ​ศักดิ์​ชัย​ ​สาย​สิงห์​ ​ที่​นำ​มา​เสนอ​อย่าง​ต่อ​เนื่อง​นี้​นับ​เป็น​งาน​วิจัย​ที่​มี​คุณูปการ​ต่อ​วง​การ​ศึกษา​และ​สะสม​ ​พระ​พุทธ​รูป​ ​ใน​ยุค​ปัจจุบัน​เป็น​อย่าง​ยิ่ง​เพราะ​เป็น​การ​ให้​คำ​ตอบ​ ​ต่อ​บรรดา​นัก​ศึกษา​และ​นัก​สะสม​ได้​เป็น​อย่าง​ดี​ ​พร้อม​เป็น​การ​ไข​ปริศนา​ความ​ลับ​ที่​มี​มายา​วนา​น​นี้​ทำ​ให้​การ​ศึกษา​และ​สะสม​ “​พระ​พุทธ​รูป​สมัย​เชียง​แสน​” ​นอก​จาก​ง่าย​ขึ้น​แล้ว​ยัง​ไม่​สับ​สน​หรือ​วก​วน​ต่อ​ผู้​สน​ใจ​ศึกษา​อีก​ด้วย​ ​เนื่อง​จาก​การ​สร้าง​พระ​พุทธ​รูป​ใน​สมัย​ต่อม​า​ถึง​ปัจจุบัน​มัก​จะ​มี​การ​สร้าง​พระ​พุทธ​รูป​ใน​ลักษณะ​ ​เลียน​แบบ​ ​ศิลปะ​เก่า​แก่​อยู่​เสมอ​ประกอบ​กับ​การ​สร้าง​เลียน​แบบ​นั้น​มี​อายุ​ความ​เก่า​ ​ที่​ใกล้​เคียง​กับ​ศิลปะ​ต้น​แบบ​ก็​ยิ่ง​ทำ​ให้​มี​ความ​สับ​สน​ต่อ​การ​แยก​แยะ​ ​จึง​มี​การ​ทึก​ทัก​พร้อม​เหมา​รวม​ว่า​เป็น​การ​สร้าง​ใน​ยุค​เดียว​กัน​ไป​เลย​ ​ดัง​นั้น​ผลง​า​นก​า​รวิ​จัย​ของ​ ​อาจารย์​ ​ศักดิ์​ชัย​ ​สาย​สิงห์​ ​จึง​ถือ​ว่า​เป็น​การ​ยุติ​ได้​แบบ​เบ็ดเสร็จ​เพราะ​เป็น​การ​วิจัย​ ​ที่​ค้น​คว้า​หา​ความ​จริง​จาก​หลัก​ฐาน​ทาง​โบราณ​คดี​ ​ที่​ยัง​มี​ปรากฏ​ให้​เห็น​ใน​ปัจจุบัน​นั่น​เอง​

​ยุค​ทอง​ที่​รับ​อิทธิ​พล​จาก​ศิลปะ​ “​สุ​โข​ทัย”

​ใน​ยุค​ทอง​ของ​ ​ศิลปะ​ล้าน​นา​ ​นี้​นอก​จาก​มี​การ​สร้าง​พระ​พุทธ​รูป​แบบ​ ​เชียง​แสน​สิงห์​หนึ่ง​ ​และ​ ​พระ​พุทธ​สิ​หิงค์ ​วัด​พระ​สิงห์​ จ.​เชียง​ใหม่​ ​แล้ว​การ​สร้าง​พระ​พุทธ​รูป​ที่​ได้​รับ​อิทธิ​พล​จาก​ ​ศิลปะ​สุ​โข​ทัย ​ใน​รัช​สมัย​ของ​ ​พระ​เจ้า​ติ​โลก​ราช​ ​ก็​ได้​รับ​ความ​นิยม​จัด​สร้าง​ขึ้น​เช่น​เดียว​กัน​ ​กับ​ยุค​ที่​อิทธิ​พล​ศิลปะ​สุ​โข​ทัย​ได้​แผ่​เข้า​มายัง​อาณา​จักร​ล้าน​นา​ใน​สมัย​ ​พระ​เจ้า​กือ​นา​ ​ผู้​เป็น​กษัตริย์​รัช​กาล​ที่​ ๖ ​แห่ง​ ​ราช​วงศ์​เม็ง​ราย​ ​ซึ่ง​ก็​คือ​ครั้ง​ที่​พระ​เจ้า​กือ​นา​อาราธนา​ ​พระ​สุมน​มหา​เถระ​ ​จาก​อาณา​จักร​สุ​โข​ทัย​ขึ้น​มา​เผย​แผ่​พระ​พุทธ​ศาสนา​แบบ​ ​ลังกา​วงศ์​ ​ใน​อาณา​จักร​ล้าน​นา​จึง​เป็น​การ​ส่ง​อิทธิ​พล​ของ​ศิลปะ​สุ​โข​ทัย ​ที่​มี​ต่อ​พระ​พุทธ​รูป​ใน​อาณา​จักร​ล้าน​นา​เป็น​ครั้ง​แรก​ ​ส่วน​ครั้ง​ต่อม​า​ก็​คือ​ใน​รัช​สมัย​ของ​ ​สมเด็จ​พระ​บรม​ไตร​โลกนาถ​ ​ก็​มี​ความ​นิยม​จัด​สร้าง​พระ​พุทธ​รูป​ใน​กลุ่ม​ที่​ได้​รับ​อิทธิ​พล​จาก​ ​ศิลปะ​สุ​โข​ทัย ​จึง​เป็น​การ​ส่ง​อิทธิ​พล​ของ​ศิลปะ​สุ​โข​ทัย​ใน​อาณา​จักร​ล้าน​นา​เป็น​ครั้ง​ที่​สอง​ ​และ​ใน​ครั้ง​นี้​ถึง​แม้​จะ​ได้​รับ​อิทธิ​พล​จาก​ศิลปะ​สุ​โข​ทั​ยก​็​ตาม​แต่​ศิลปะ​แบบ​ล้าน​นา​ใน​ยุค​นี้​ ​ก็​ได้​มี​พัฒนา​การ​เป็น​ของ​ตน​เอง​กระทั่ง​มี​ศิลปะ​เป็น​เอกลักษณ์​ ​ใน​ศิลปะ​ล้าน​นาที​่​ผสม​ผสาน​กับ​ศิลปะ​สุ​โข​ทั​ยก​ลาย​เป็น​ความ​ลง​ตัว​ ​ที่​กลม​กลืน​ได้​เป็น​อย่าง​ดีด​ัง​นั้น​ใน​สมัย​ของ​ ​พระ​เจ้า​ติ​โลก​ราช​ ​ที่​มี​การ​ยอม​รับ​ว่า​เป็น​ยุค​ทอง​ของ​อาณา​จักร​ล้าน​นา​ ​ก็​รับ​เอา​อิทธิ​พล​จาก​ศิลปะ​สุ​โข​ทัย​ส่ง​ผล​ให้​ศิลปะ​ยุค​นี้​ ​เป็น​ศิลปะ​แบบ​ผสม​ผสาน​ระหว่าง​ศิลปะ​   ​สุ​โข​ทั​ยก​ับ​ศิลปะ​ล้าน​นา​ ​และ​ใน​ยุค​ทอง​ของ​อาณา​จักร​ล้าน​นาก​็​มิ​ใช่​จะ​มี​แต่​ใน​รัช​สมัย​ของ​ ​พระ​เจ้า​ติ​โลก​ราช​ ​เท่า​นั้น​ใน​รัช​สมัย​ต่อ​ ๆ ​มา​เช่น​ใน​รัช​สมัย​ของ​ ​พระ​เมือง​แก้ว​ ​ก็​ถือ​เป็น​ยุค​ทอง​ของ​อาณา​จักร​ล้าน​นาด​้วย​เช่น​กัน​ ​ดัง​นั้น​การ​ผสม​ผสาน​ระหว่าง​ศิลปะ​ล้าน​นาก​ับ​ศิลปะ​สุ​โข​ทัย​จึง​เกิด​ขึ้น​ใน​ยุค​นี้​ด้วย​ ​และ​มี​วิวัฒนาการ​ของ​การ​เป็น​ศิลปะ​มาก​กว่า​การ​ส่ง​อิทธิ​พล​ ​ของ​ศิลปะ​สุ​โข​ทัย​ใน​ยุค​แรก​ซึ่ง​ใน​ข้อน​ี้​อาจารย์​ ​ศักดิ์​ชัย​ ​ได้​มี​บท​วิเคราะห์​ไว้​ดัง​นี้​

“​นอก​จาก​การ​สร้าง​พระ​พุทธ​รูป​แบบ​สิงห์​หนึ่ง​ที่​สืบ​ทอด​มา​จาก​งาน​ใน​ยุค​ก่อน​หน้า​นี้​ ​นอก​จาก​จะ​เป็น​ที่​นิยม​อย่าง​มาก​ใน​ระยะ​เวลา​นี้​แล้ว​ ​ยัง​ได้​พบ​งาน​อีก​กลุ่ม​หนึ่ง​ที่​มี​พัฒนา​การ​ต่าง​ออก​ไป​เล็ก​น้อย​กล่าว​คือ​ ​ยัง​รักษา​ระเบียบ​ของ​พระ​พุทธ​รูป​แบบ​สิงห์​หนึ่ง​ไว้​ใน​ส่วน​ของ​แบบ​ขัด​สมาธิ​เพชร​ ​และ​เหนือ​อุษณีษ์​เป็น​ต่อม​กลม​ ​แต่​ลักษณะ​พระ​พักตร์​และ​พระ​วรกาย​ ​กลับ​มี​อิทธิ​พล​ของ​กลุ่ม​พระ​พุทธ​รูป​สุ​โข​ทัย​เข้า​มา​ผสม​ได้​แก่​ ​พระ​พักตร์​บอบ​บาง​และ​เป็น​รูป​ไข่​มาก​ขึ้น​ ​พระ​วรกาย​เพรียว​พระ​อุระ​ไม่​นูน​ ​และ​ที่​สำคัญ​คือ​เป็น​กลุ่ม​พระ​พุทธ​รูป​ที่​มี​จารึก​และ​สร้าง​พร้อม​ขึ้น​กับ​รุ่น​แรก​” (​ศักดิ์​ชัย​ ​สาย​สิงห์​ : ​ศิลปะ​เมือง​เชียง​แสน​ ​หน้า​ ๑๗๖)

​จะ​เห็น​ได้​ว่า​การ​สร้าง​พระ​พุทธ​รูป​ของ​ ​อาณา​ ​จักร​ล้าน​นาท​ั้ง​สอง​ยุค​ ​ล้วน​รับ​เอา​อิทธิ​พล​จาก​สุ​โข​ทัย​ด้วย​กัน​คือ​ยุค​แรก​ใน​รัช​สมัย​ของ​ ​พระ​เจ้า​กือ​นา​ ​จะ​สร้าง​พระ​พุทธ​รูป​เลียน​แบบ​ศิลปะ​สุ​โข​ทั​ยล​้​วน​ ๆ ​โดย​มิ​ได้​มี​พัฒนา​การ​ทาง​ศิลปะ​เป็น​แบบ​การ​ผสม​ผสาน​ ​เฉก​เช่น​การ​สร้าง​พระ​พุทธ​รูป​ของ​ล้าน​นา​ใน​ระยะ​ที่​สอง​ที่​อยู่​ใน​รัช​สมัย​ของ​ ​พระ​เจ้า​ติ​โลก​ราช​ ​ที่​มี​การ​ผสม​ผสาน​ระหว่าง​ศิลปะ​ล้าน​นาที​่​มี​อิทธิ​พล​ของ​ ​ศิลปะ​เชียง​แสน​ ​อยู่​มาก​และ​มี​เอกลักษณ์​ที่​โดด​เด่น​จาก​การ​ผสม​ผสาน​ทาง​ศิลปะ​ขึ้น​มา​ ​กระทั่ง​เห็น​ข้อ​แตก​ต่าง​ระหว่าง​อิทธิ​พล​ของ​ศิลปะ​สุ​โข​ทัย​ยุค​แรก​ ​กับ​อิทธิ​พล​ศิลปะ​สุ​โข​ทัย​ยุค​ที่​สอง​ได้​ชัดเจน​ ​นอก​จาก​นี้​ยัง​มี​ข้อ​พิจารณา​ใน​เรื่อง​ความ​แตก​ต่าง​ ​ระหว่าง​ศิลปะ​ล้าน​นาที​่​รับ​อิทธิ​พล​จาก​ศิลปะ​สุ​โข​ทัย​ใน​ระยะ​แรก​ ​กับ​อิทธิ​พล​ของ​ศิลปะ​สุ​โข​ทัย​ใน​ยุค​ที่​สอง​ ​ซึ่ง​อิทธิ​พล​ของ​ศิลปะ​สุ​โข​ทัย​ใน​ระยะ​แรก​ก็​คือ​ใน​รัช​สมัย​ของ​ ​พระ​เจ้า​กือ​นา​ ​จะ​สร้าง​พระ​พุทธ​รูป​เลียน​แบบ​ ​ศิลปะ​สุ​โข​ทัย ​และ​ที่​ฐาน​พระ​พุทธ​รูป​จะ​ไม่​มี​การ​จารึก​อักษร​ระบุ​ศักราช​ที่​สร้าง​ ​พร้อม​ผู้​สร้าง​ ​และ​วัตถุ​ประสงค์​ใน​การ​สร้าง​ ​ส่วน​พระ​พุทธ​รูป​ล้าน​นา​ใน​ยุค​ทอง​ซึ่ง​เป็น​ยุค​ที่​รับ​อิทธิ​พล​จาก​ศิลปะ​สุ​โข​ทัย ​ใน​ระยะ​ที่​สอง​ซึ่ง​การ​สร้าง​พระ​พุทธ​รูป​ใน​ยุค​นี้​จะ​มี​การ​จารึก​อักษร​ระบุ​ศักราช​ ​และ​อักษร​ธรรม​ล้าน​นา​ ​พร้อม​ระบุ​ชื่อ​ผู้​สร้าง​ ​รวม​ทั้ง​วัตถุ​ประสงค์​ใน​การ​สร้าง​ ​ดัง​เช่น​การ​สร้าง​พระ​พุทธ​รูป​ล้าน​นาที​่​เลียน​แบบ​ ​พระ​พุทธ​รูป​เชียง​แสน​สิงห์​หนึ่ง​ ​นี่​คือ​ข้อ​แตก​ต่าง​ระหว่าง​อิทธิ​พล​ของ​ศิลปะ​สุ​โข​ทัย​ใน​ระยะ​ที่​สอง​ ​อัน​เป็น​ยุค​ทอง​ของ​อาณา​จักร​ล้าน​นา​ซึ่ง​เรื่อง​ราว​เหล่า​นี้​อาจารย์​ ​ศักดิ์​ชัย​ ​ได้​ให้​ความ​เห็น​ไว้​ดัง​นี้​

“​สำหรับ​อิทธิ​พล​ศิลปะ​สุ​โข​ทัย​พระ​พุทธ​รูป​ใน​กลุ่ม​นี้​ ​ได้​แก่​พระ​พุทธ​รูป​ที่​แสดง​ลักษณะ​อิทธิ​พล​ศิลปะ​สุ​โข​ทัย​ที่​แต่​เดิม​เรียก​ว่า​แบบ​ ​เชียง​แสน​สิงห์​สอง​ ​โดย​ใช้​ข้อ​สังเกต​ที่​ว่า​เป็น​พระ​พุทธ​รูป​ขัด​สมาธิ​ราบ​ ​พระ​พักตร์​รูป​ไข่​ ​ขมวด​พระ​เกศา​เล็ก​ ​พระ​รัศมี​เป็น​เปลว​ ​ชาย​สังฆาฏิ​ยาว​จรด​พระ​นาภี​ ​เป็นต้น​ ​อย่าง​ไร​ก็​ตาม​ ​แม้​จะ​เป็น​งาน​ที่​ได้​รับ​แรง​บันดาล​ใจ​ ​ใน​การ​สร้าง​มา​จาก​วิวัฒนาการ​ของ​สุ​โข​ทัย ​ที่​เริ่ม​ขึ้น​ใน​ระยะ​ที่​สอง​แต่​ใน​ยุค​นี้​ล้าน​นาก​็​ได้​พัฒนา​รูป​แบบ​เกิด​เป็น​ลักษณะ​เฉพาะ​ตัว​ ​โดย​ลักษณะ​ของ​สังฆาฏิ​จะ​ต่าง​จาก​สุ​โข​ทัย​ที่​เป็น​หยัก​โค้ง​ลาย​คลื่น​ ​ทำ​ให้​นัก​วิชา​การ​บาง​ท่าน​เรียก​พระ​พุทธ​รูป​ใน​ยุค​นี้​ว่า​ ​รูป​แบบ​ผสม​ ​และ​จาก​การ​ศึกษา​พระ​พุทธ​รูป​ล้าน​นา​จะ​พบ​ว่า​พระ​พุทธ​รูป​กลุ่ม​นี้​ ​มี​รูป​แบบ​ที่​แพร่​หลาย​และ​เหลือ​หลัก​ฐาน​ให้​ศึกษา​มาก​ที่​สุด​ใน​ล้าน​นา​โดย​เฉพาะ​ใน​ช่วง​รัช​สมัย​ของ​พระ​เจ้า​ติ​โลก​ราช​ ​ถึง​รัช​สมัย​ของ​พระ​เมือง​แก้ว​ ​เช่น​ ​พระ​พุทธ​รูป​ปาง​มารวิชัย​ใน​วิหาร​วัด​เจดีย์​หลวง​มี​จารึก​ที่​ฐาน​ว่า​ ​พระ​เจ้า​แสน​ทอง​องค์​นี้​สร้าง​ขึ้น​โดย​ธานี​ใน​ปี​ พ.ศ. ๒๐๒๕ ​และ​หวัง​ไป​ ​เกิด​ใน​ยุค​ทอง​ของ​พระ​ศรี​อริ​ย​เมตไตรย​ ​ซึ่ง​ใน​รัช​สมัย​ของ​พระ​เมือง​แก้ว​นี้​ถือ​ได้​ว่า​เป็น​ยุค​ที่​มี​การ​ค้น​พบ​หลัก​ฐาน​เกี่ยว​กับ​พระ​ศาสนา​มาก​ที่​สุด​ใน​ล้าน​นา​ ​โดย​เฉพาะ​หลัก​ฐาน​การ​สร้าง​วัด​และ​พระ​พุทธ​รูป​ที่​ปรากฏ​ใน​จารึก​ ​พบ​ว่า​ตัว​อย่าง​ของ​พระ​พุทธ​รูป​ใน​การ​ศึกษา​ครั้ง​นี้​มี​ถึง​ ๔๑% ​ที่​จัด​อยู่​ใน​สมัย​นี้​และ​พระ​พุทธ​รูป​ส่วน​ใหญ่​มี​จารึก​บอก​ปี​ที่​สร้าง​ถึง​ ๗๑%” (​ศักดิ์​ชัย​ ​สาย​สิงห์​ : ​ศิลปะ​เมือง​เชียง​แสน​ ​หน้า​ ๑๗๖-๑๗๗)

​จาก​ทรรศนะ​และ​ข้อ​คิด​เห็น​ของ​ ​อาจารย์​ศักดิ์​ชัย​ ​เกี่ยว​กับ​การ​สร้าง​พระ​พุทธ​รูป​ของ​อาณา​จักร​ล้าน​นา​ ​ใน​ยุค​ทอง​นี้​ ​ทำ​ให้​ทราบ​ว่า​การ​สร้าง​พระ​พุทธ​รูป​ของ​อาณา​ ​จักร​ล้าน​นา​ ​นอก​จาก​จะ​เป็น​การ​สร้าง​เลียน​แบบ​ของ​เก่า​แล้ว​การ​รับ​เอา​อิทธิ​พล​ของ​ศิลปะ​ต่าง​อาณา​จักร​ ​อย่าง​เช่น​อาณา​จักร​สุ​โข​ทัย​แม้​จะ​มี​การ​เลียน​แบบ​หรือ​การ​รับ​เอา​อิทธิ​พล​มา​จาก​ต่าง​อาณา​จักร​แต่​ก็​ยัง​มี​วิวัฒนาการ​ทาง​ศิลปะ​ของ​ล้าน​นา​ผสม​เข้า​ไป​ดัง​ที่​ได้​กล่าว​มา​แล้ว​ซึ่ง​แต่​เดิม​นั้น​การ​เข้า​ใจ​อย่าง​ผิว​เผิน​ ​ของ​บรรดา​นัก​สะสม​พระ​พุทธ​รูป​สมัย​เชียง​แสน​ ​จะ​เชื่อ​อย่าง​ฝัง​ใจ​และ​คิด​เพียง​ด้าน​เดียว​ว่า​พระ​พุทธ​รูป​สมัย​เชียง​แสน​ ​มี​การ​สร้าง​ขึ้น​มาท​ี่​เมือง​เชียง​แสน​เพียง​เมือง​เดียว​ ​ซึ่ง​ใน​ความ​เป็น​จริง​นั้น​จาก​การ​ ​ค้น​คว้า​ศึกษา​หา​หลัก​ฐาน​ทำ​ให้​ทราบ​ว่า​พระ​พุทธ​รูป​เชียง​แสน​เป็น​พระ​พุทธ​รูป​ที่​สร้าง​ขึ้น​ใน​ ​อาณา​จักร​ ​ล้าน​นา​ ​ประกอบ​กับ​เชียง​แสน​เป็น​เมือง​ท่า​ที่​สำคัญ​ของ​อาณา​จักร​ล้าน​นา​ ​และ​ชื่อ​ของ​เมือง​เชียง​แสน​ก็​เป็น​ชื่อ​ที่​มี​มงคล​ ​และ​คล้อง​จอง​กับ​พระ​พุทธ​รูป​จึง​มี​ความ​เชื่อ​กัน​ว่า​ถ้า​ได้​บูชา​แล้ว​ ​จะ​มี​ความ​ร่ำรวย​ ​และ​มี​ความ​เจริญ​ก้าว​หน้า​ ​ดัง​นั้น​หาก​เป็น​พระ​พุทธ​รูป​ใน​กลุ่ม​ศิลปะ​เมือง​เชียง​แสน​ ​จึง​ไม่​จำ​เป็น​ที่​จะ​ต้อง​สร้าง​ที่​เมือง​เชียง​แสน​เพียง​เมือง​เดียว​ ​เพราะ​ข้อ​เท็จ​จริง​ใน​เรื่อง​นี้​ก็​คือ​พระ​พุทธ​รูป​ที่​มี​การ​สร้าง​ขึ้น​มา​ใน​อาณา​จักร​ล้าน​นาน​ั้น​ได้​ครอบ​คลุม​ไป​ถึง​หัว​เมือง​ต่าง​ ๆ ​ตั้ง​แต่​เมือง​ ​พะ​เยา​ ​น่าน​ ​เชียง​ราย​ ​ลำพู​น ​ลำ​ปาง​ ​ก็​ล้วน​แต่​เป็น​เมือง​  ​ใน​การ​ปก​ครอง​ของ​อาณา​จักร​ล้าน​นา​และ​มี​เมือง​ ​นพ​บุรี​ศรี​นคร​พิง​ค์​เชียง​ใหม่​ (จ.​เชียง​ใหม่​) ​เป็น​จุด​ศูนย์​กลาง​การ​สร้าง​สรรค์​งาน​ศิลปะ​ส่วน​พระ​พุทธ​รูป​ที่​รับ​เอา​อิทธิ​พล​ของ​ศิลปะ​สุ​โข​ทัย​เข้า​มา​ผสม​ผสาน​นั้น​ก็​มี​วิวัฒนาการ​ด้วย​การ​สร้าง​ ​ฐาน​ลาย​ฉลุ​ ​และ​มี​ขา​รอง​รับ​ฐาน​จำนวน​ ๓ ​ขา​ ​โดย​ ​อาจารย์​ศักดิ์​ชัย​ ​ได้​ให้​คำ​อธิบาย​ไว้​ดัง​นี้​

“​ลักษณะ​ของ​พระ​พุทธ​รูป​โดย​ทั่ว​ไป​ที่​มี​รูป​แบบ​ที่​พบ​มาก​ ​เป็น​กลุ่ม​พระ​พุทธ​รูป​ขัด​สมาธิ​ราบ​สาย​วิวัฒนาการ​ของ​ศิลปะ​สุ​โข​ทัย ​แต่​ใน​สมัย​นี้​ได้​พบ​พระ​พุทธ​รูป​ที่​มี​ลักษณะ​พิเศษ​ที่​สามารถ​ใช้​เป็น​ข้อ​สังเกต​ได้​คือ​วิวัฒนาการ​ของ​ฐาน​บัว​คว่ำ​-​บัว​หงาย​ ​ที่​มี​ลาย​เกสร​บัว​และ​ฐาน​อยู่​ใน​ผัง​แปด​เหลี่ยม​นิยม​ยก​สูง​ขึ้น​ ​หรือ​บาง​กลุ่ม​เจาะ​เป็น​ช่อง​ที่​ใน​ภาค​เหนือ​ ​เรียก​ว่า​ช่อง​กระจก​ ​ซึ่ง​อาจ​จะ​มี​ที่​มา​จาก​ลาย​เมฆ​ที่​มี​อิทธิ​พล​มา​จาก​ศิลปะ​จีน​ ​ที่​ปรากฏ​บน​เครื่อง​ถ้วย​แล้ว​ช่าง​ล้าน​นาน​ำ​มาด​ัด​แปลง​เป็น​ลาย​ประดับ​ฐาน​พระ​พุทธ​รูป​และ​เจาะ​เป็น​ช่อง​พระ​พุทธ​รูป​ใน​กลุ่ม​นี้​ ​ส่วน​ใหญ่​มี​จารึก​ที่​ฐาน​พบ​มาก​ที่​สุด​ใน​ราว​กลาง​ถึง​ปลาย​พุทธ​ศต​วรรษ​ที่​ ๒๑ ​และ​ได้​เกิด​ความ​นิยม​แบบ​ใหม่​ขึ้น​มา​คือ​ส่วน​ฐาน​ที่​มี​ขา​รอง​รับ​ ๓ ​ขา​ ​โดย​ส่วน​ของ​ขาน​ี้​มา​จาก​สาย​ท่อ​ (​ชนวน​) ​สำหรับ​หล่อ​พระ​พุทธ​รูป​เมื่อ​หล่อ​เสร็จ​แล้ว​จะ​ตัด​ทิ้ง​ ​แต่​ความ​นิยม​ใน​สมัย​นี้​ได้​เหลือ​ไว้​ไม่​ตัด​ทิ้ง​จึง​เป็น​ลักษณะ​เฉพาะ​ ​ที่​ได้​รับ​ความ​นิยม​มาก​ใน​สมัย​ของ​พระ​เมือง​แก้ว​” (​อ่าน​ต่อ​ฉบับ​หน้า​) ​ภาพ​ประกอบ​จาก​หนังสือ​ “​พระ​พุทธ​รูป​เ​เละ​เทวรูป​ชิ้น​เยี่ยม​”


"​อดิ​ศ​ศว​ร"


ขอบคุณ นสพ เดลินิวส์




Create Date : 18 พฤษภาคม 2555
Last Update : 18 พฤษภาคม 2555 23:01:49 น. 0 comments
Counter : 2142 Pageviews.

Turtle Came to See Me
Location :
พัทลุง Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]





★ที่มา ล็อกอิน ★Turtle Came to See Me ★( บทกวี Poem )
เป็นหนังสือ สำหรับเยาวชน
★Turtle Came to See Me
แต่งโดย :Margrita Engle
★★★★



BlogGang Popular Award #11

BlogGang Popular Award #12
Friends' blogs
[Add Turtle Came to See Me's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.