ปฏิบัติการ "ยื้อคืนคลื่น" บีบหัวใจ "กสทช." เขย่าประมูล 3G

คลื่นความถี่เดิมภายใต้สัมปทานที่กำลังจะทยอยหมดอายุ เริ่มจากปีหน้าเป็นต้นไปกับคลื่น 1800 MHz ของ "ทรูมูฟ และดีพีซี" ผู้กำกับดูแล "กสทช." หรือคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ มีนโยบายชัดว่าจะนำคลื่นเดิมมาจัดสรรด้วยการประมูลใหม่ในช่วงต้นปีหน้า 2556 หลังประมูลใบอนุญาต 3G คลื่น 2.1 GHz เรียบร้อยแล้ว (ก่อนสัมปทานหมดอายุ) รวมถึงมีแผนเรียกคืนคลื่นอื่น ๆ เช่น 2300 MHz เพื่อนำมาจัดสรรใหม่ (refarming)

ก่อนที่ "กสทช." จะทันทำอะไร ปรากฏชัดว่าทั้ง "ทีโอทีและ กสทฯ" ในฐานะผู้มีสิทธิ์ถือครองคลื่นดังกล่าว ไม่ว่าจะโดยนัดหมายกันหรือไม่ก็ตาม แต่ทั้งคู่เห็นตรงกันว่าจะทำทุกทางเพื่อให้ได้สิทธิ์ใช้คลื่นต่อ

โดย การสนับสนุนของกระทรวงไอซีทีต้นสังกัด "น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ" รัฐมนตรีไอซีที แสดงความเชื่อมั่นว่า ตาม พ.ร.บ. กสทช.มีช่องทางให้มีการนำคลื่นความถี่ไปใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะได้ หากการยืดเวลาคืนคลื่นของทีโอทีและ กสทฯทำได้ตามกฎหมาย ก็พร้อมรับหน้าที่ประสานงานให้ อีกทั้งยังกำลังเตรียมแผนงานที่จะให้ทีโอทีเป็นแม่งานทำหน้าที่

สร้างโครงข่ายบรอดแบนด์ให้หน่วยงานรัฐด้วย โดยใช้โครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงเดิมเชื่อมต่อกับเทคโนโลยี LTE บนคลื่น 2300 MHz

การ นำแบ็กโบน "ไฟเบอร์ออปติก" มาผสมผสานกับเทคโนโลยีไร้สาย LTE ทำให้การขยายบริการครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศได้รวดเร็ว ช่วยประหยัดงบประมาณ

การลงทุนด้านไอซีทีของภาครัฐ โดยเฉพาะโครงข่ายบรอดแบนด์ของกระทรวงศึกษาธิการที่ต้องพร้อมรองรับการใช้งาน แท็บเลตที่รัฐบาลได้แจกให้เด็กป. 1 กว่า 9 แสนคนทั่วประเทศและมีแผนขยายไปถึงเด็กนักเรียนในชั้นอื่น ๆ อีกเร็ว ๆ นี้

รม ว.ไอซีทีย้ำว่า แต่ละปีกระทรวงศึกษาธิการต้องใช้เงิน 3,000-4,000 ล้านบาท พัฒนาโครงข่าย และมีโรงเรียนอีกเป็นหมื่นแห่งที่ยังเข้าไม่ถึงบรอดแบนด์เรียกว่า ตั้งธงชัดเจนว่าจะนำคลื่น (2300 MHz) ไปใช้ประโยชน์

ไม่ใช่แค่นั้น "พันธ์เทพ จำรัสโรมรัน" ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ทีโอที ยังยืนยันว่าจะไม่คืนคลื่นความถี่ 900 MHz ให้ กสทช.แน่นอน แม้สัญญาสัมปทานของ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) จะสิ้นสุดในเดือน ก.ย. 2558 โดยได้มอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายไปศึกษารายละเอียดของ พ.ร.บ. กสทช. และแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ เพื่อใช้เป็นแนวทางเจรจากับ กสทช.ต่อไป

"หาก ทีโอทีมีแต่เสาไม่มีคลื่น เอกชนที่ไหนจะมาเช่าใช้งาน ขณะที่คลื่น 900 MHz เวลานี้มีลูกค้าจำนวนมาก หาก กสทช.เอาคลื่นคืนกลับไป ประชาชนจะเดือดร้อน เชื่อว่าไม่มีหน่วยงานราชการใดอยากทำให้ประชาชนเดือดร้อน ทีโอทีจึงต้องเดินหน้าเจรจากับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยจะไม่เลือกวิธีฟ้องร้องเพราะเชื่อว่ายังมีทางออก แต่ถ้าโดนกระทำจนไม่มีที่ยืนก็คงต้องฟ้องขอความเป็นธรรม"

นอกจาก คลื่นความถี่ 900 MHz ที่ชัดเจนเป็นอย่างยิ่งว่า "ขอยื้อสุดแรง" "ประธานบอร์ดทีโอที" ยังขยายความต่อด้วยว่า มีไอเดียที่จะปรับแผนธุรกิจ "TOT 3G" จากเดิมวางแผนปูพรมติดตั้งสถานีฐานเพิ่มเติมเฟส 2 อีกกว่า 30,000 แห่ง ให้กลายเป็น "3G+LTE" โดยจะเพิ่มสถานีฐาน 3G เฟส 2 แค่ 10,000 สถานีฐาน แล้วนำเทคโนโลยี LTE หรือที่คนทั่วไปรู้จักในชื่อ 4G มาต่อยอด ซึ่งมีความเร็วของบริการดาต้าดีกว่า โดยจะนำมาเชื่อมเพื่อทำให้โครงข่ายครอบคลุมขึ้น ร่วมกับการใช้สถานีฐาน ร่วมกับโครงข่าย HSPA ของ กสทฯในต่างจังหวัด

3G+LTE ต้องใช้งานบนคลื่นความถี่ 2300 MHz ซึ่งปัจจุบัน "ทีโอที" ถือครองอยู่เป็นจำนวนมากถึง 64 MHz และก่อนหน้านี้ "ทีโอที" ได้ทดสอบบริการ 4G บนคลื่นความถี่ดังกล่าวร่วมกับ "เอไอเอส" ทั้งเคยเสนอ กสทช.ขอคลื่น 30 MHz แลกกับการออกใบอนุญาตนำคลื่น 2300 MHz ที่เหลือไปให้บริการ 4G ได้อีกด้วย แต่ล่าสุดยังไม่มีความคืบหน้าใด ๆ

ฟาก "กิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคมกล่าวว่า ได้หารือ กสทช.อย่างไม่เป็นทางการเพื่อหาทางที่จะให้สิทธิ์ กสทฯใช้คลื่น 1800 MHz ต่อไปได้ ด้วยการกำหนดเงื่อนไขที่บริษัทต้องปฏิบัติภายใน 3-5 ปี หาก กสทฯทำไม่ได้ตามเงื่อนไข กสทช.จะยึดคลื่นคืน โดย กสทฯต้องการเวลา 10 ปีในการได้สิทธิ์ถือครองคลื่นต่อไป เนื่องจากเป็นเวลาที่เหมาะสมในการลงทุน และต้องการให้มีความชัดเจนจาก กสทช.ก่อนที่จะมีการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz เพื่อให้บริการ 3G

"เชื่อว่ามีช่องทางกฎหมายที่ทำได้ เพราะหน้าที่ของ กสทช.คือนำทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และตามมาตรา 82 มาตรา 84 พ.ร.บ. กสทช.น่าจะมีช่องทางคงไม่ถึงขั้นฟ้องร้อง เพราะเดินสายคุยกับหลายฝ่ายไว้เยอะแล้ว เรื่องกฎหมายต้องคุยกับนักกฎหมายอีกครั้ง อาจส่งเรื่องหารือทางสำนักงานกฤษฎีกาให้ตีความ พ.ร.บ. บอร์ดเห็นด้วยและเข้าใจแนวทางที่จะรวมโครงข่ายกับคลื่นไว้ด้วยกัน"

"กิตติ ศักดิ์" อธิบายว่า ในทางปฏิบัติถ้าไม่ให้ กสทฯเป็นคนแชร์ทรัพยากร คนอื่นก็ทำได้ยากเพราะมีผลประโยชน์ทับซ้อน โดย 20 ปีที่ผ่านมามีโครงข่ายและคลื่นเป็นเครื่องมือกีดกันการแข่งขัน กสทฯจึงเห็นประโยชน์ที่จะทำให้อุตสาหกรรมได้มีความเป็นกลาง และไม่ได้มีลูกค้าย่อยอยู่ในมือเป็น 10 ล้านราย แต่มุ่งเน้นเพื่อเป็นโครงข่ายของประเทศที่เปิดกว้างให้คนมาใช้มากที่สุด สเต็ปต่อไปจึงจะมองถึงผลประโยชน์ที่จะได้กลับมา ซึ่ง กสทฯทำได้ในฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ

"การแก้ไขสัญญาให้บริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่รูปแบบใหม่ระหว่าง กสทฯกับทรู ในเบื้องต้นการหารือกรอบของการแก้ไขสัญญาราบรื่นดี มีความเห็นค่อนข้างสอดคล้องกัน แต่คงต้องรอดูในรายละเอียดอีกครั้ง อาทิ การย้ายเน็ตเวิร์กโอเปอเรชั่นเซ็นเตอร์เข้ามาตั้งในพื้นที่ กสทฯ ที่ กทค.ระบุไว้ภายใน 3 เดือน ทรูขอให้วิศวกรเข้ามาดูพื้นที่ก่อนว่าจะทำได้ทันหรือไม่"

ส่วนการ ซื้อโครงข่าย HSPA คืนจากกลุ่มทรู "กิตติศักดิ์" บอกว่า ขอพักไว้ก่อนเพื่อเร่งแก้สัญญาให้เสร็จก่อนสิ้นเดือน ก.ค.นี้ ส่วนเรื่องเลขหมายทรูมูฟ เอชกำลังหาทางออก ซึ่งคงต้องรอให้งบประมาณโครงการใหญ่ผ่านการอนุมัติจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยบอร์ด กสทฯเตรียมประชุมวาระพิเศษเพื่อพิจารณางบฯดำเนินการของธุรกิจไร้สาย ภายใต้ "CAT CDMA" และ "my" รวมมูลค่า 1,298 ล้านบาทภายในสิ้นเดือนนี้

ทั้ง กระทรวงไอซีทีและหน่วยงานใต้สังกัด ต่างประสานเสียงเดินหน้าปฏิบัติการยื้อคืนคลื่นเต็มสตรีม และมั่นใจว่าหมากเกมนี้มีทางออกไม่ต้องถึงขั้นฟ้องกสทช.จนอาจเป็นอุบัติเหตุ ให้การประมูล 3G คว่ำ

งานนี้จึงตกหนักอยู่กับ "กสทช." ว่าจะหาทางออกที่สมประโยชน์ตอบโจทย์ทุกฝ่ายได้อย่างไร

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ *



Create Date : 17 กรกฎาคม 2555
Last Update : 17 กรกฎาคม 2555 11:47:19 น. 0 comments
Counter : 1929 Pageviews.

angelica0819
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add angelica0819's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.