Update! • Kenny Keng Web• Activity • Article • Imagine • My ARTWORK • BackPack/Journey • Sketch • All Art • alphafo

alphafoBasic Sketch • • 333 STUDIO KENNY KENG Blog


ALPHA FO
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 58 คน [?]








**อันนี้ก็สำคัญครับ กับเรื่องของสิทธิ
คือว่าถ้าหากเพื่อนๆท่านใด
ต้องการนำภาพหรือบทความไปเผยแพร่
กรุณาแจ้งผมด้วยนะครับ

**ขอบคุณครับ**

alphafo

New Article : JAN 2015

Art trip : My Journey
• "แบ่งเขต ไม่แบ่งใจ ; ไทย ลาว เวียดนาม"ฮานอย1 เวียดนาม:13/02/15
• "แบ่งเขต ไม่แบ่งใจ ; ไทย ลาว เวียดนาม" ซาปา3 เวียดนาม:31/01/15
• "แบ่งเขต ไม่แบ่งใจ ; ไทย ลาว เวียดนาม" ซาปา2 เวียดนาม:16/01/15
• "แบ่งเขต ไม่แบ่งใจ ; ไทย ลาว เวียดนาม" ซาปา1 เวียดนาม:14/01/15
• "แบ่งเขต ไม่แบ่งใจ ; ไทย ลาว เวียดนาม" เดียนเบียนฟู เวียดนาม:09/01/15
• "แบ่งเขต ไม่แบ่งใจ ; ไทย ลาว เวียดนาม" หลวงพระบาง ลาว:07/01/15
• "แบ่งเขต ไม่แบ่งใจ ; ไทย ลาว เวียดนาม" ไชยบุรี2 ลาว:26/12/14
• "แบ่งเขต ไม่แบ่งใจ ; ไทย ลาว เวียนาม" ไชยบุรี1 ลาว:25/12/14
• "แบ่งเขต ไม่แบ่งใจ ; ไทย ลาว เวียดนาม" ปาด แปด 8:23/12/14
• "เริ่มใหม่...ได้ทุกเมื่อ":25/02/14
• "ปั่นคิดที่กองโค":19/12/12
• "12 12 12":12/12/12

• "ลับแล ซะที" :06/08/12

• BEST OF THE BEST:05/03/12

alphafo

• กาแฟสดบ้านหมึกจีน coffee and china's art gallery:16/02/12

Update! • อุปกรณ์การวาด carbon powder
•เทคนิคการทำเฟรมเขียนสีน้ำมัน
•เทคนิคการทำเฟรมสีน้ำมัน
•ปลอกต่อดินสอ EE กรณีดินสอของท่านหดสั้นจุ๊ดจู๋
•การทำสมุดเสก็ตซ์อย่างง่ายและประหยัด
•ภาพตัวอย่างสีชอล์ก 1
•ภาพตัวอย่างสีชอล์ก 2
•ภาพตัวอย่างสีชอล์ก 3



Update!เทคนิค ขั้นตอน การวาดภาพการ์ตูน
• : เทคนิคการวาดภาพผงคาร์บอนพระเจ้าตากสินมหาราช และพระยาพิชัยดาบหัก
• การวาดการ์ตูนล้อเลียน
• พื้นฐานการวาดการ์ตูน
•เทคนิคการวาดภาพคนสีชอล์ก(หลวงปู่แดง)
•เทคนิคการวาดภาพคนเหมือนเต็มตัวสีน้ำมัน
•การวาดเส้นสีคนเหมือน แบบหญิง
•การวาดเส้นสีคนเหมือน แบบชาย
•เทคนิคการวาด carbon powder
•การวาดสีชอล์กแท่ง พระยาพิชัยดาบหัก
•การแก้ไขภาพสีน้ำมัน landscape
•เทคนิควาดภาพสีน้ำมัน Landscape
•พื้นฐานการวาดภาพสำหรับผู้เริ่มต้นใหม่(Basic)
•เทคนิคการวาดเส้นหุ่นนิ่ง(Drawing)
•เทคนิคการวาดเส้นภาพเหมือน(portrait) "ตา"
•เทคนิคการวาดเส้นภาพเหมือน(portrait) "จมูก"
•เทคนิคการวาดเส้นภาพเหมือน(portrait) "ปาก"
•เทคนิคการวาดเส้นรูปคนเหมือนด้วยดินสอ EE(drawing portrait-woman)
•เทคนิคการวาดเส้นคนเหมือน (Drawing sketch)
•เทคนิคการวาดเส้นรูปคนเหมือนภาพสีด้วยสีชอล์กแท่ง(pastel portrait)
•เทคนิคการใช้สีชล์อกแบบ drawing
•เทคนิคการแกะสติ๊กเกอร์แบบปลอกล้วย(จริงๆ)

alphafo ART ARTICLE :
• "เที่ยวไปกับถ่าน"ตอนที่ 6(สุดท้าย): โบนัสพิเศษกับงานศิลปะ
• "เที่ยวไปกับถ่าน"ตอนที่ 5 : วิธีการวาดภาพให้ได้ (เอาจริงซะที 2)
• "เที่ยวไปกับถ่าน"ตอนที่ 4 : วิธีการวาดภาพให้ได้ (เอาจริงซะที 1)
• "เที่ยวไปกับถ่าน"ตอนที่ 3 : ตามหามุมบันทึก(วาดเส้น)
• "เที่ยวไปกับถ่าน"ตอนที่ 2 : ทำไมต้องเป็นถ่าน?
• "เที่ยวไปกับถ่าน" ตอนที่ 1: เด็กน้อยกับฝาบ้าน
**ภาพสเก็ตซ์สีชอล์กน้ำมัน
**เทคนิคประสม...ใคร ??
ศิลป์(ป่ะ) “ต้องเป็นตัวของตัวเองดิ๊” ...

ภาพวาดที่ฉีก: ผมยืนมองภาพพร้อมกับฟังเสียงหล่น..
ANATTA: วันที่ความหดหู่ หดเหี่ยว หรือเหี่ยวจนหด...
alphafo
alphafo

alphafo
alphafo


Sketch crawl ร่วม Sketch กับเพื่อนๆทั่วโลก

alphafo ALPHA FOCUS หนังสือพิชัย เมืองเล็กฯ เรื่องราวเกี่ยวกับเมืองหน้าด่านของสยามประเทศในอดีต.....
alphafo
โอกาสที่ท่านมุ้ยมอบให้ สิ่งที่ผมเฝ้าศึกษาและสังเกตุ จะมีเรื่องราวและข้อมูลไปพ้องกับใครบางท่านเข้าอย่างจัง...

New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ALPHA FO's blog to your web]
Links
 

 

การวาดภาพหุ่นนิ่ง (Basic Art _Drawing 2)

(Basic Art _Drawing 2)

ทำไมต้องหุ่นนิ่ง
หุ่นนิ่งแสดงว่ามันไม่ขยับ
เพราะไม่ขยับ มันจึงเป็นหุ่นนิ่ง
ฮืม.....
ผมเปล่ากวน(...)นะครับ มันเป็นแบบนั้นจริงๆ

 


ที่ผมไม่ได้กวน เพราะผมไม่มีกระทะกับตะหลิว  (ยังอีก) ^_^!


อ่ะ...การที่เราต้องฝึกวาดภาพหุ่นนิ่งนั้น 
เพราะว่า ..มันเป็นพื้นฐานอีกอย่างหนึ่งของการวาดภาพน่ะครับ
การที่ต้องวาดหุ่นนิ่ง เพราะเราต้องฝึกการสังเกตุ และพิจารณา
ทั้งขนาด รูปทรง รูปร่าง เส้น สี แสง เงา 
มุมมอง ขนาด รูปร่าง เส้น จะไม่เปลี่ยนแปลงไปไหน

 


ยกเว้นแสงและเงา ที่จะมีการเปลี่ยนแปลง
ฉะนั้นเวลาร่างรูปเราจึงต้องรีบล็อค แสงเงาไว้ด้วยเพื่อกันพลาด

 


ต้องฝึกการควบคุมน้ำหนักของเส้น เพื่อเพิ่มน้ำหนัก
ย้ำนะครับ ว่าฝึกเพิ่มน้ำหนัก(ไม่ใช่น้ำหนักตัว) ไม่ใช่ลดน้ำหนัก โดยการใช้ยางลบ 
การใช้มือและนิ้วจึงเป็นสิ่งสำคัญ
อารมณ์ที่เย็นเจี๊ยบ แบบค่อยๆเป็นค่อยๆไปจึงจำเป็นต้องบังเกิดขึ้น  ใจร้อนไม่ได้
อย่างที่เราได้ทราบกันมาในเรื่องของพื้นฐานการวาดภาพตอนแรก

 


ความรวดเร็ว ไม่ใช่ใจร้อนนะครับ เร็วกับใจร้อนไม่เหมือนกัน
ที่เร็วนั้นเพราะว่าเขาแม่น ผ่านการฝึกฝนมาจนเข้าใจลักษณะของทุกอย่างที่กล่าวมาแล้ว
ทำให้การตัดสินใจ วางแผนตั้งแต่องค์ประกอบการร่างภาพ
จนถึงการใช้น้ำหนักจนภาพ เสร็จสมบรูณ์ ได้ภาพอย่างใจหวัง
ไม่ใช่ก็ใกล้เตียง  อุ่ย..เคียง
เขาเรียกว่ามีแบบและแผนในหัวครับ

 


เพราะฉะนั้นสำหรับผู้ที่เริ่มต้น มาตั้งแต่พื้นฐานการวาดภาพครั้งที่แล้ว
ก็มาต่อตรงนี้ได้เลยครับ มาต่อตรงนี้เพื่อ...
เราจะตัดสินใจอะไรได้ง่ายขึ้น โดยมองจากโครงร่างพื้นฐานแบบง่ายๆ
อย่างรูปเรขาคณิตต่างๆ ตั้งแต่ วงกลม  สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมเฉยๆ 
หรือจะเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู คางแมวอะไรก็ได้ แต่อย่าให้ถึงกับครางครวญ ก็แล้วกัน

 


พื้นฐานอันนี้ จะส่งผลไปถึงการร่างรูป วาดรูปคนเหมือน ทิวทัศน์ 
ไปจนถึงการเสก็ตซ์ ทั้งหลายทั้งปวงเลยครับ
แต่ถ้าเรามีมีพื้นฐานอยู่แล้ว ก็ลุยได้เลย งานไหนๆก็ลุยทั้งนั้นได้ครับ

 


เอาเป็นว่า...
ผมจะแนะนำการร่างภาพแบบง่ายๆอย่างที่บอกไว้ในหกแถวขึ้นไปนี้^นะครับ
สิ่งที่ต้องศึกษาเพิ่มเติม 

คือเรื่องของ เพ็อเสป๊กทีพของรูปเรขาคณิตต่างๆควบคู่ไปด้วยครับ
เพ็อเสป๊กทีพตัวนี้ก็สำคัญครับ มันจะทำให้เรารู้ถึงระยะโดยการใช้เส้นได้อย่างดี
ถ้าเรารู้จักการใช้เส้นแบบเพ็อเสป๊กทีพตัวนี้ จะทำให้งานเราง่ายขึ้น
ไม่ถูกหลอกตาจากแสงหรือเงา สรุปว่า...รู้แล้วดีครับ

แต่จะติดปัญหาคือใช้เส้นแบบนี้เบ่งไม่ได้เท่านั้นเองครับ ไม่เหมือนเส้นสีเขียว หุหุ




ตัวอย่างภาพดรออิงภาพนี้ ผมจะใช้กาและถ้วยชาซึ่งเป็นเซรามิคครับ
แต่ท่านสามารถไปประยุกต์เอาเองได้ทั้ง แก้ว ขวด ผ้า ดินสอ ปากกา ไปยาลใหญ่..
เริ่มแรก ต้องมองด้วยสายตาคร่าวๆก่อนครับว่าบริเวณไหน เส้นแกนจะอยู่อย่างไร
วัสดุเป็นแบบไหน สี่เหลี่ยมหรือวงกลม สัดส่วนประมาณด้วยสายตาประมาณเท่าไหร่


 

จากนั้น ก็ร่างเส้นแกนบนประดาษเบาๆ
 ร่างตามแบบที่เราได้มองด้วยตาจินตนาการด้วยสมอง
จนชัดเจนยิ่งกว่าตาที่สแกนได้ของซุปเปอร์แมน




มองส่วนโ้ค้งเว้าให้ทะลุ ปรุโปร่ง
(ชำนาญกันอยู่แล้ว) นั่นแหละคือต้องอาศัยจินตนาการเป็นสำคัญ




อย่าลืมเรื่องเส้น ของวัตถุที่ต้องขนานกันด้วย
เส้นที่ 1 โค้ง 2,3 และ 4 ก็ต้องโค้งตาม
อย่าให้เส้นแต่ละเส้นชี้โด่เด่กันไปคนละทิศทาง





เมื่อได้เป็นรูปร่างแบบคร่าวๆแล้ว ลงน้ำหนักรวมให้กับวัตถุที่เราวาดให้หมดทั้งภาพ
มือที่ปลิดปลิลวดุจขนนก ใจที่ผ่อนคลาย ต้องเบายิ่งกว่าตีนแมวย่องเบา  
ย้ำนะครับว่านี่เป็นการค่อยๆเพิ่มน้ำหนัก  อย่าใจร้อน หรือเร่งรีบ 

เพราะถ้าพังจะแก้ไขลำบากครับ
พยายามอย่าใช้ยางลบนะครับ เพราะจะทำให้กระดาษช้ำ 
ภาพที่ได้จะขุ่นมัวจนใจเราเรามัวหมอง ซะจนเกือบจะมอดไหม้เลยทีเดียว




เมื่อลงน้ำหนักรวมแล้ว ทีนี้ก็ต้องค่อยๆเก็บน้ำหนักทีละนิดละครับ
ค่อยๆเพิ่ม ค่อยๆเก็บ หมั่นสังเกตุและวิเคราะห์ ตาดู สมองวิเคราะห์พร้อมตัดสินใจ 
ในขณะที่มือค่อยๆบรรจงฝนเส้นเข้าไป ทีละเส้น ทีละเส้น....
อย่าพยายามลากเส้นยาวเหมือนตอน ล็อคน้ำหนักนะครับ อันนั้นมันเส้นร่างกับล็อค
เพราะถ้าลากยาวเกินไปแล้วจะทำให้เราจะต่อน้ำหนักยากครับ ทำให้ภาพแบนสนิท




พยายามใช้เส้นสั้น ต่อกันไปเรื่อยๆจนเกิดน้ำหนัก ค่อยๆเพิ่ม
ทีละนิด ๆ
ทีละนิด 
นิด
นิ
น..
.......
(อย่าเพิ่งหลับ)

 


ค่อยๆเพิ่มจนเต็มภาพ อย่าใจร้อนรีบเสร็จ





ทีนี้ก็เริ่มเน้น บริเวณของส่วนที่อยู่ในที่มืดสนิท
มืดตื้ดตื้อ ...อย่าเพิ่งเอาให้มืดแบบตึ้ดตื้อ 
เอาไว้สะกิดตอนท้ายๆ
เมื่อได้โครงสร้าง แสงเงาโดยรวม
จากนั้นเราก็จะเริ่มออกลาย  โดยการร่างเส้นที่เป็นลาย
ซึ่งการร่างเส้นลายแบบนี้เราต้องสังเกตุด้วยว่ามันจะตีคู่ไปกับก้นกับปากกา
เพราะถ้ามันไม่ไปคู่กันแสดงว่า เราตาเอียงแหงๆ





ค่อยๆเก็บไปทีละลาย
โดยการร่างเบาๆ  
ถ้าคนที่ฝึกฝนจนชำนาญแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องร่างแบบนี้ครับ
เขาสามารถลงได้เลย
เพราะเส้นร่าง อยู่ในสมองและจิตนาการของเขาเรียบร้อยโรงเรียนจีนไปแล้ว


เมื่อร่างโครงสร้างเสร็จแล้วเราก็มาค่อยๆเก็บเงาครับ ค่อยๆต่อไป
ตอนเก็บต้องสังเกตุเส้นด้วยว่า อย่าให้มันเข้มสุด
มันต้องเข้มตามระนาบของแสงและเงาไปด้วย
เพราะตอนนี้  ส่วนที่เข้มที่สุด คือ ส่วนที่ลึกและอยู่หน้าสุด เท่านั้นเอง
อย่าลืม เข้มสุดแล้ว มันลบไม่ได้ แต่ถ้ายังเข้มไม่พอเราสามารถเพิ่มได้


 



ราวนี้เราก็มาเน้น
เน้นนนนนนนน....ในส่วนบริเวณที่อยู่ในเงา
เน้น.....ไม่ใช่การขีด
แต่เป็นการเน้นนนนนนนนนนน..แบบเน้นๆ

นั้นไง...!!!!
ไหนบอกไม่ใช้ยางลบ ใช้เห็นๆ หุหุหุ
....
มาถึงการใช้ยางลบ ใช้เพื่อสะกิดบริเวณ ส่วนขาวที่เราเว้นไว้ ให้ชัดเจนชึ้น
เขาเรียกว่าสะกิดไฮไลท์ ที่ไม่ใช่สะกิดไฮร๊อค
เมื่อเน้นเสร็จ แล้วจะสะกิดอีกทีผิดตรงไหน
ไม่ผิดๆ เน้นไปสะกิดไป เน้นไปสะกิดไป เรื่อยๆจนกว่าจะพอใจ ไม่มีใครว่า 
.....ตามสบาย




ที่ต้องสะกิด เพราะตอนที่เรากำลังเพลินอยู่นั้นมืออาจจะเพลอไปถูภาพเข้า
ทำให้ภาพบริเวณไฮไลท์มีอาการขุ่นมัวบ้าง
เราจึงจำเป็นต้องสะกิดเพื่อให้ภาพนั้นสดใส โดยไม่ต้องใช้โอโม(ผงซักฟอก)
แต่ใช้ยางลบแทน..

สะกิดแล้วเน้น หรือเน้นแล้วสะกิด หรือสะกิดไปเน้นไป จนเสร็จ
แต่ก่อนจะสมบรูณ์  ลองถอยออกมาดูนิดหนึ่ง
เพื่อสำรวจดูว่า มันแบนไป มันไม่กลม เงาขาด หรือไฮไลท์หาย ก็จะได้เพิ่มเติม
และแล้วสมบรูณ์ก็หยิบชิ้นปลามันไปจนได้....
เพราะมัน....เสร็จสมบรูณ์ไปแล้ว




ลองทบทวนนะครับ

(ร่างภาพเป็นเรขาคณิตแล้วค่อยๆเพิ่มน้ำหนัก)

(เริ่มเก็บแสงเงารายละเอียดของภาพ)


(เน้นน้ำหนักในเงา และตัดน้ำหนักที่สว่างสุด เก็บรายละเอียดจนเสร็จ)

 



 







 






Keywords : พื้นฐานการวาดภาพ เสก็ตซ์รูป เทคนิค ขั้นตอน วาดรูป 




 

Create Date : 26 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 3 กุมภาพันธ์ 2558 14:14:24 น.
Counter : 20889 Pageviews.  

พื้นฐานการวาดภาพ (Basic Art _Drawing 1)

พื้นฐานการวาดภาพ (Basic Art _Drawing 1)


ART TRIP : เส้นทางแห่งงานศิลปะ
พื้นฐานการวาดภาพ




เห็นแล้วอยากวาด(รูป) อยากทำ(วาด) อยากสะกิด(สี+ดินสอ+ฝีแปรง)
เพื่อสะกดคนทั้งโลกให้ตะลึงงุนงง+งงงัน แถมด้วยงงงวยจนงวยงง


นั้น..คงเป็นความรู้สึกของหลายๆท่านที่อยากวาดภาพ แต่วาดไม่ได้ สักทีในเมื่อสมองสั่งการ
แต่มือเจ้ากรรมไม่ยอมทำตาม ให้ได้ดั่งใจที่มันสั่งมา
ก็เลยจำเป็นต้องจากจรกันไป แต่ยังไม่อยากจากลาจนสิ้นเยื้อใยไปซะทีเดียว

การวาดภาพที่อยู่ในหัวให้ปรากฎออกมาสู่สายตาสาธารณะชน
เหมือนกับมีเครื่องปริ๊นภาพสุดเจ๋งที่เราบรรจงตกแต่งในคอมพิวเตอร์ให้ออกมา สิ่งเหล่านี้ ต้องได้รับการฝึกฝน
ต้องมีพื้นฐานหรือทักษะการวาด สังเกตุ  ความอดทน 
จนถึงจิตใจที่มุ่งมั่นอย่างแรงกล้ายิ่งกว่าการขอตังค์แม่ซื้อขนมในสมัยอนุบาล

การฝึกทักษะต้องใช้ความอดทน ไม่ว่าจะเป็นทักษะใดๆก็ตาม ตั้งแต่ศิลปะ ดนตรี หรือกีฬา
เพราะฉะนั้นหากเราจะจับดินสอ แล้วให้วาดเก่งเหมือนดาร์วินชี กลับชาติมาเกิดนั้นคงเป็นไปไม่ได้เลย ถ้าไม่มีพื้นฐานการฝึกฝนใดๆมาก่อน ถึงแม้จะรักมากมายขนาดไหนก็ตาม

ใจเย็นๆ...พี่น้อง ผองเพื่อน

ก่อนจะวาดรูปใดๆให้ได้ดั่งใจปราถณานั้น
ควรฝึกพื้นฐานเหล่านี้ก่อนแล้วค่อยวาด ฝึกให้ชำนาญ
จนสามารถควบคุมมือให้ลากเส้นได้
ลากจนเส้นตรงให้ตรง เฉียงให้เฉียง กลมก็ต้องให้กลมจริงๆ
ก่อนที่จะวาดภาพต่อไป

ถ้าไม่ฝึกพื้นฐานแบบนี้ก่อน อาจทำให้เราหงุดหงิด หงุนหง่าน จนงอแง
เมื่อเราไม่สามารถบังคับเส้น หรือกล้ามเนื้อมือให้ได้ดั่งใจได้ปราถณา


เวลาจะลากเส้นตรงดันเบี้ยวเป็นรูปหนอนหนีตาย 
จะหมุนให้กลมเหมือนแสกปั้น กลายเป็นรูปก้อนดินเหนียวร่วงพื้นบิดไปมา
หรือการพึ่งพาแต่การดราฟจนทำให้ไม่สามารถออกไปสเก็ตภาพที่ไหนได้
จะวาดภาพ land scape ,sea scape,potrait ที เกร็งจนข้อมือติดขัดเหมือนคอมพิวเตอร์โดนไวรัส
ร่างกายคล้ายๆถูกสะกดให้นิ่งอยู่กับที่
เหมือนผีจีนที่โดนยันต์แปะหน้าผากให้ยืนสงบอยู่ตรงหน้ากระดาษหรือผืนผ้าใบโดยไม่กล้าทำอะไร

ในที่สุดเราก็จะเลือกล้มความตั้งใจไปโดยอัตโนมัติ
กลายเป็นโดนยึดความมั่นใจไปเหมือนกับการโดนเครื่องกดเงินยึดบัตร
เพราะขาดความอดทนกับเราที่ไม่ยอมจำระหัสให้ดี





อุปกรณ์ง่ายๆ ไม่กี่อย่างที่ต้องเตรียม
สำหรับการฝึกมือเพื่อเตรียมตัวสร้างผลงานช๊อคโลกในอนาคต
1. ดินสอ EE+คัดเตอร์
2. กระดาษบรูฟ+กระดานสเก็ต
3. ยางลบ ที่พกมาไว้เพื่ความมั่นใจเหมือนกับการสวมพระไว้กันผี
4. ใจ แบบไม่ต้องเอาปอดมาด้วย

เมื่อเตรียมของเสร็จ ก่อนที่ท่านจะจับดินสอเพื่อเริ่มภาระกิจการวาดภาพเพื่อยกระดับจิตวิญญานของมวลมนุษย์แล้ว
ควรบริหารมือก่อน เหมือนเป็นการอุ่นเครื่องหรือการหยอดน้ำมันให้ลื่นไหล ทั้งกายและใจ

การบริหารก็เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อมือ ที่เกร็งเป็นวงเวียนโดนสนิมให้คล่องแคล่ว ว่องไว
เพื่อที่จะสามารถวาดผลงานสะกดโลกชิ้นโบแดงของเราได้อย่างเต็มพลัง ยิ่งกว่าโงกุนกับผู้เฒ่าเต่า

สลัดๆๆๆ พัดโบกมือไปมา โบกให้พริวไหวประดุจใบไม้ที่ปลิวไปตามลม
เสมือนจอมยุทธน้อยที่กำลังจะตะลุยโลดแล่นออกสู่โลกกว้าง
ด้วยการบิดขี้เกียจให้เต็มที่ หมุนที่ข้อนิ้วมือ ข้อมือ ข้อแขน หัวไหล่ บริเวณเอวตรงกล้ามเนื้อใหญ่
ที่หลายๆท่านใช้ในการหมุนเพื่อกำหนดวงสวิงเวลาเล่นกอล์ฟ





มาถึงการจับดินสอ
มีการจับอยู่หลากหลายตามความถนัด
แต่ที่ผมอยากแนะนำให้ลองฝึกเพื่อความคล่องตัวและสะดวกในการใช้งาน คงมีอยู่ 4 อย่างด้วยกัน
1. จับแบบเขียนหนังสือ
   - ใช้สำหรับการเก็บรายละเอียดของงานในพื้นที่เล็ก แคบ
   - วิธีการจับแบบนี้จะใช้ข้อนิ้วในการควบคุมดินสอ เหมือนการเขียนตัวอักษร
   - เป็นการใช้กล้ามเนื้อเล็กของข้อนิ้วในการควบคุมพื้นที่แคบ หากใช้พื้นที่กว้างขึ้นก็เริ่มใช้ข้อมือเป็นศูนย์กลาง
2. จับจับแบบหลวม ใช้สำหรับร่างภาพ ต้องการสะบัดข้อมือแบบสบายๆ
3. จับแบบใช้ทุกนิ้วสัมผัส เพื่อประคองดินสอให้เป็นแนวเส้นตรงสำหรับการลากเส้นแนวดิ่ง ขวาง หรือเฉียง
4. จับแบบคว่ำมือ ใช้สำหรับการกำหนดเส้นร่างแบบคร่าวๆ และให้เบาบางที่สุด

ได้โปรด กรุณาอย่าใช้นิ้วใดนิ้วหนึ่งล๊อคดินสอ
พยายามจับให้ดินสอเป็นอิสระมากที่สุด
โดยนิ้วแค่เป็นตัวประคองดินสอไว้ให้เหมือนกับว่าดินสอนั้นเป็นส่วนหนึ่งใน
มือของเราที่จะบังคับให้ปลายดินสอนั้นไปทางไหนก็ได้ตามใจปรารถณา
เหมือนกับเวลาใช้นิ้วก้อยแคะขี้มูก





อีกนิดครับสำหรับการเหลาดินสอ EE อยากให้ใช้คัดเตอร์เหลาให้ไส้ดินสอออกมายาวๆหน่อย
เพื่อความสะดวกกับองศาของเนื้อไม้กับไส้ดินสอเวลาวาด
และที่สำคัญ อย่าทำหล่นเด็ดขาด เพราะนั้นหมายถึงไส้ดินสอจะหักข้างใน เพราะไส้เปราะมาก

ตอนนี้ผมจะแนะนำจุดศูนย์กลางของแต่ละส่วนในการหมุนตวัดปลายดินสอให้ฉวัดเฉวียน
แต่ไม่เวียนหัวถ้าทำได้

การใช้กล้ามเนื้อเล็กของข้อนิ้วในการควบคุมพื้นที่แคบสำหรับเก็บรายละเอียด
การใช้ข้อมือเป็นศูนย์กลาง เพื่อร่างภาพในวงแคบ
การใช้ข้อศอกเป็นศูนย์กลาง เพื่อร่างภาพในวงกว้าง
การใช้ไหล่เป็นศูนย์กลางเพื่อร่างภาพในวงกว้างมากขึ้น
กระดูกสันหลังส่วนเอว ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อใหญ่ ในการวาดภาพใหญ่ๆ อย่างวาดบนกำแพง เฟรมใหญ่ๆเป็นต้น





เริ่มฝึก

1. ลากเส้นตรงโดยจับดินสอแบบคว่ำใช้ทุกนิ้วสัมผัสให้ใช้ข้อศอกเป็นศูนย์กลางโดยลีอคข้อมือไว้จะได้เส้นที่ตรง
2. ลากเส้น แนวเฉียงโดยจับดินสอแบบคว่ำใช้ทุกนิ้วสัมผัสให้ใช้ข้อศอกเป็นศูนย์กลางโดยลีอคข้อมือไว้จะได้เส้นที่ตรง
3. ลากเส้นแนวนอน โดยจับให้ดินสอแบบคว่ำใช้ทุกนิ้วสัมผัส โดยให้ขนานไปแนวเดียวกับเส้นจะได้เส้นที่ตรง เพราะดินสอได้ถูกประคองไว้ไม่ให้กระดุกกระดิกด้วยนิ้วทั้งห้าของเราแล้ว
4. ตวัดปลายดินสอบนกระดาษด้วยเส้นโค้งสลับกับเส้นที่หมุนวน จนเข้าใจในน้ำหนัก เน้นหนัก เบา ให้ได้อารมณ์ของเส้นเหมือนสายน้ำที่กำลังเลื่อนไหล อย่างไม่หยุดนิ่ง





จากนั้นเราก็จะมาเริ่มฝึกการใช้จินตนาการในกรสร้างขนาดและสัดส่วนของภาพ
เพื่อการที่เราจะสามารถวาดภาพจากต้นแบบได้โดยเข้าใจสัดส่วนและการย่อหรือขยายในขนาดของภาพ

มองเป็นเส้น

ไม่ใช่เด็กเส้น แต่เป็นการฝึกการมองภาพข้างหน้าเราแล้วใส่เส้นเข้าไปในภาพนั้น ว่า...
ขนาดรูปร่างสั้นยาวแค่ไหน แบ่งครึ่ง แบ่งเป็นสามหรือสี่ส่วน
ซึ่งในการฝึกฝนแบบนี้ต้องใช้จินตนาการเป็นสำคัญ คือให้มองให้เห็นเส้นในอากาศที่เราสร้างขึ้นมาเอง
จากนั้นก็ทดลองลากและกำหนดแบ่งเส้น เป็นระยะๆดูคร่าวๆ
กำหนดด้วยตัวเอง ลากและกำหนดแบ่งเส้น เป็นระยะๆดูคร่าวๆ กำหนดด้วยตัวเอง





หาเป็นองศา

เพื่อความง่ายในการร่างภาพ ในการกำหนด ระยะ ขนาด รูปร่าง ระนาบ
หรือพื้นที่ เช่น ของที่วางซ้อนกัน
ถ้ามองเป็นองศาแล้วอยู่ประมาณกี่อาศา
จากนั้นก็ลองนำไม้โปร มาวัดว่าที่เราเดาไว้น่ะแม่นหรือไม่แม่น

การลงน้ำหนัก
ใช้ดินสอ EE ตีกรอบ เพื่อฝึกการไล่น้ำหนัก 6 น้ำหนัก
จากนั้นก็แบ่งครึ่งในช่องน้ำหนักทั้ง 6 ไปเรื่อยๆ
จนสามารถกระจายน้ำหนักได้ละเอียดขึ้นเรื่อยๆ
การลงน้ำหนักนี้ก็เพื่อที่ว่าเราจะสามารถทำให้เกิด ความลึก ระยะ
หรือมิติ เพราะตัวน้ำหนักนี้เอง สามารถทำให้เกิดภาพ 2 มิติ หรือ 3 มิติได้

ถ้าเราไม่รู้จักน้ำหนัก หรือไม่สามารถควบคุมน้ำหนักมือของเราได้
ก็จะสามารถมิติพิศวงให้กับผู้ชมงานรวมทั่งตัวเราเองได้เหมือนกัน







ทีนี้ก็เริ่มร่างวงกลม
ที่เราพยายามร่างมาตั้งแต่ครั้งแรก แต่คราวนี้เราจะเริ่มลงน้ำหนักวัตถุให้กลม โดยรู้จักค่าของแสง+เงา
ที่สำคัญคือต้องค่อยๆเพิ่มน้ำหนักขึ้นเรื่อยๆ
อย่าพยายามทำครั้งเดียวให้เข้ม พยายามกระจายน้ำหนัก ให้ชัดเจนขึ้น
จนกระทั่งเสร็จจากนั้นถึงทำการเน้นจุดที่เข้มที่สุดในภายหลัง

จากนั้นก็ฝึกๆๆๆๆ ฝึกจนชำนาญ
ก่อนที่เราจะออกไปตะลุย Drawing ทุกอย่างที่ขวางหน้าต่อไป.....

บทความนี้เริ่มต้นกันตั้งแต่ปี 2009
จนถึงตอนนี้ 2014 ผมนำภาพตัวอย่างสำหรับการลงน้ำหนัก แสงเงามาให้ชมครับ
สำหรับภาพอื่นใน blog ลองเข้าไปดูสังเกตุ เป็นตัวอย่างประกอบกันได้เลย














เน้นอีกครั้งสำหรับความสำคัญ คือ การสังเกตุ และฝึกฝน
ที่สุดของที่สุด คือ ห้ามท้อ ห้ามถอย จนกว่าสมหวัง
หลายๆปีมานี้ ผมเชื่อครับว่า พรสวรรค์ ไม่มีค่าถ้าไม่หมั่นฝึกฝน
ขอเป็นกำลังใจให้กับนักสู้ทุกท่านครับ




แนะนำ บทต่อไป
**เทคนิคการวาดเส้นหุ่นนิ่ง(Drawing)




Keywords : เทคนิค ขั้นตอน พื้นฐานการวาดภาพ การวาดรูป เสก็ตซ์รูป
alphafo




 

Create Date : 15 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 26 กุมภาพันธ์ 2557 11:09:22 น.
Counter : 97478 Pageviews.  

1  2  3  4  5  
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.