Group Blog
 
All blogs
 

การแก้ไข พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ถาม ดิฉันเป็นพนักงานของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ซึ่งมีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้กับพนักงานด้วย ดิฉันได้ยินมาว่ากำลังจะมีการออกประกาศ แก้ไขพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในเร็วๆ นี้ ไม่ทราบว่า การแก้ไขในครั้งนี้มีประเด็นใดบ้าง และจะมีผลอย่างไรกับสมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพบ้างคะ

ตอบ ใช่แล้วครับ ในเร็วๆ นี้ กำลังจะมีการประกาศแก้ไข พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่ได้ใช้กันมาถึง 20 ปีแล้ว โดยในการแก้ไขในครั้งนี้นั้นมีประเด็นสำคัญๆ อยู่ด้วยกัน 5 เรื่อง ดังนี้ คือ

1.การรับโอนเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ซึ่งในขณะนี้นั้น หากลูกจ้างในบริษัทเอกชนที่มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่ มีการลาออกจากบริษัทนั้นไปทำงานในบริษัทเอกชนแห่งใหม่ ที่มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้กับพนักงาน ลูกจ้างดังกล่าวก็สามารถโอนเงินและผลประโยชน์ทั้งหมด ที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทที่ลาออก ไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทที่เข้าทำงานใหม่ เพื่อสะสมเงินและผลประโยชน์ต่อได้
แต่หากกรณีเป็นข้าราชการที่ลาออกจากการเป็นข้าราชการ แล้วมาทำงานในบริษัทเอกชน ที่มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้กับพนักงาน หรือกรณีลูกจ้างในบริษัทเอกชนที่มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้กับพนักงานลาออกไปเป็นข้าราชการ ข้าราชการดังกล่าวจะไม่สามารถโอนเงินและผลประโยชน์ทั้งหมดที่ได้รับจาก กบข. ไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทที่เข้าทำงานใหม่ หรือลูกจ้างดังกล่าวจะไม่สามารถโอนเงินและผลประโยชน์ทั้งหมดที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปยัง กบข.เพื่อสะสมเงินและผลประโยชน์ต่อได้

ในการแก้ไขพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในครั้งนี้ จะทำให้กรณีข้าราชการที่ลาออกจากการเป็นข้าราชการแล้วมาทำงานในบริษัทเอกชนที่มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้กับพนักงานมีการเปลี่ยนแปลงไปคือ ข้าราชการดังกล่าวจะสามารถโอนเงินและผลประโยชน์ทั้งหมดที่ได้รับจาก กบข. ไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทที่เข้าทำงานใหม่ เพื่อสะสมเงินและผลประโยชน์ต่อไปได้ ส่วนกรณีลูกจ้างในบริษัทเอกชนที่มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้กับพนักงานลาออกไปเป็นข้าราชการนั้นยังคงเดิมคือ ไม่สามารถทำได้เช่นเดิมครับ

2.การจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบาย (master fund) ซึ่งในขณะนี้หากคณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทเอกชนใดที่ต้องการให้มีรูปแบบการลงทุนของกองทุนหลายๆ แบบให้กับสมาชิกได้เลือกที่จะลงทุน เนื่องจากเห็นว่าสมาชิกซึ่งเป็นลูกจ้างของบริษัทนั้นมีคุณลักษณะ ความชอบ ความต้องการในเรื่องโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทน และความสามารถที่จะยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุนที่อาจแตกต่างกัน คณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทเอกชนดังกล่าวก็จะต้องมีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหลายๆ กองทุนขึ้น เพื่อให้สมาชิกซึ่งเป็นลูกจ้างของบริษัทนั้นได้เลือกที่จะลงทุนให้สอดคล้องกับความต้องการของตน (employee’s choice)

แต่การตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหลายๆ กองทุนนั้นจะทำให้มีภาระค่าใช้จ่ายมาก ในการแก้ไขพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในครั้งนี้ จึงเปิดโอกาสให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพแต่ละกองทุนทั้งที่มีอยู่เดิมและที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ สามารถมีนโยบายการลงทุนที่หลากหลายภายในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกองนั้นๆ เลย (master fund)

โดยบริษัทจัดการที่ได้รับการว่าจ้างให้ทำหน้าที่จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะจัดทำบัญชีแยกทรัพย์สินของแต่ละนโยบายออกจากกัน ซึ่งเงินทั้งหมดที่มีส่วนได้เสียอยู่ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของลูกจ้างแต่ละรายจะถูกนำไปลงทุนตามแต่นโยบายการลงทุนที่ลูกจ้างได้เลือกไว้ และเมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพบริษัทจัดการจะคำนวณผลประโยชน์จากทรัพย์สินในบัญชีของนโยบายที่ลูกจ้างดังกล่าวมีส่วนได้เสียแล้วจ่ายคืนให้กับลูกจ้างนั้น

ทั้งนี้ หากลูกจ้างไม่เลือกนโยบายการลงทุน ในกรณีที่ลูกจ้างที่ได้สะสมเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งได้จัดตั้งขึ้นมาก่อนที่คณะกรรมการกองทุนจะจัดให้มี master fund ให้ถือว่าสมาชิกประสงค์ที่จะเลือกลงทุนในนโยบายการลงทุนเดิมต่อไป ส่วนกรณีที่เป็นลูกจ้างที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แล้วมาเป็นสมาชิกภายหลังจากที่คณะกรรมการกองทุนได้จัดให้มี master fund หรือมีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพขึ้นใหม่ที่เป็น master fund เพื่อให้ลูกจ้างได้เลือกลงทุน ให้ถือว่าลูกจ้างเลือกที่จะลงทุนในนโยบายการลงทุนที่มีระดับความเสี่ยงน้อยที่สุดของนโยบายการลงทุนทั้งหมดที่มีให้เลือกในขณะนั้นๆ

3.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถจ่ายเงินคืนให้แก่สมาชิกซึ่งเป็นลูกจ้างที่เกษียณอายุเป็นงวดๆ ได้ ซึ่งในขณะนี้กรณีที่สมาชิกซึ่งเป็นลูกจ้างได้เกษียณอายุลง สมาชิกดังกล่าวนั้นจะสิ้นสมาชิกภาพจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและต้องรับเงินคืนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพียงครั้งเดียวทั้งจำนวนภายใน 30 วัน ในการแก้ไขพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในครั้งนี้ จะให้ยังคงสมาชิกภาพของสมาชิกซึ่งเป็นลูกจ้างที่เกษียณอายุแล้วนั้นต่อไปได้ตามระยะเวลาที่มีการกำหนดไว้ในข้อบังคับของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งจะส่งผลให้ และในระหว่างนั้นสมาชิกดังกล่าวก็ไม่ต้องนำส่งเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพอีก ในขณะที่บริษัทนายจ้างก็ไม่ต้องจ่ายเงินสมทบให้กับสมาชิกดังกล่าวเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพเช่นกันด้วย สำหรับการจ่ายเงินคืน

เป็นงวดๆ ให้แก่ สมาชิกซึ่งเป็นลูกจ้างที่เกษียณอายุนั้นให้คณะกรรมการกองทุนและบริษัทจัดการร่วมกันกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการจ่ายเงินเป็นงวดๆ ไว้ แต่หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังกล่าวจะต้องเปิดโอกาสให้สมาชิกสามารถเปลี่ยนแปลงความถี่และจำนวนเงินที่จะรับได้ด้วย

4.การคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ในขณะนี้กรณีสมาชิกซึ่งเป็นลูกจ้างได้ลาออกจากการเป็นพนักงานของบริษัทนั้น กฎหมายไม่ได้มีการกำหนดเรื่องการคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างชัดเจนไว้ แต่สมาชิกดังกล่าวสามารถขอคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยไม่มีภาระภาษีได้ถ้าเป็นการคงเงินทั้งหมดไว้ไม่เกิน 1 ปี แต่ในระหว่างนั้นสมาชิกดังกล่าวจะต้องสิ้นสมาชิกภาพจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยเปลี่ยนฐานะเป็นเจ้าหนี้แทน และจะไม่มีสิทธิได้รับดอกผลเพิ่มเติมจากเงินทั้งหมดที่คงไว้นั้น ในการแก้ไขพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในครั้งนี้ จะอนุญาตให้สมาชิกซึ่งเป็นลูกจ้างที่ได้ลาออกจากการเป็นพนักงานของบริษัทนั้นสามารถคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น แต่ระยะเวลาที่กำหนดไว้นั้นจะต้องเป็นระยะเวลาซึ่งไม่น้อยกว่า 90 วัน โดยยังคงสมาชิกภาพในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุนรวมทั้งมีสิทธิได้รับดอกผลจากเงินทั้งหมด ที่คงไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามส่วนด้วย

5.การกำหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาในการจ่ายเงินสมทบให้กับสมาชิกซึ่งเป็นลูกจ้างที่ได้ลาออกจากบริษัท (Vesting Clause)ในขณะนี้ยังไม่ได้มีกฎหมายที่กำหนดในเรื่องดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไว้ว่า ให้นายจ้างสามารถกำหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาในการจ่ายเงินสมทบได้ แต่ต้องเป็นเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่เหมาะสมและมีเหตุผลอันสมควร ในการแก้ไขพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในครั้งนี้ จะมีการกำหนดในเรื่องดังกล่าวให้ชัดเจนขึ้นโดยกรณีที่นายจ้างจะกำหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาในการจ่ายเงินสมทบให้กับสมาชิกซึ่งเป็นลูกจ้างที่ได้ลาออกจากบริษัทนั้น ข้อกำหนดจะต้องไม่ตัดสิทธิของลูกจ้างโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร
ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นจะเป็นประเด็นสำคัญๆ ในการแก้ไขพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในครั้งนี้ครับ

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ Fundamentals




 

Create Date : 24 มกราคม 2551    
Last Update : 24 มกราคม 2551 16:24:36 น.
Counter : 513 Pageviews.  

การวิเคราะห์ด้วยปัจจัยพื้นฐานได้ผลจริงหรือ ?

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเป็นเรื่องที่ฟลูคหรือเปล่า ?

เปล่าเลย! การวิเคราะห์ด้วยปัจจัยพื้นฐาน (Financial Analysis : FA) นั้นเป็นการวิเคราะห์ตัวเลขและอัตราส่วนต่างๆ ซึ่งไม่ใช่ทุกคนจะทำได้ คุณต้องมีการทุ่มเทเวลาในการศึกษา และทำความเข้าใจกับตัวเลขเหล่านั้น และตีความออกมาได้ถูกต้อง ซึ่งถ้าคุณมีพื้นฐานบัญชีอยู่บ้างก็พอจะช่วยได้ ไม่เช่นนั้นคุณก็อาจจะ คำนวณ หรือตีความออกมาอย่างผิดๆ เกี่ยวกับค่าเหล่านั้น ส่งผลให้คุณตัดสินใจในการซื้อขาย ผิด

มีใครบ้างไหมที่สามารถพยากรณ์ราคาหุ้นได้จาก FA

แน่นอนครับ นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจะใช้ข้อมูลจริงทางบัญชี และอื่นๆ ประกอบในการคาดการณ์ราคาหุ้นในอนาคต เช่น การพยากรณ์ รายได้ การเติบโตของธุรกิจ เหล่านี้จะทำให้พวกเขาคาดการณ์ราคาที่ควรจะเป็นของหุ้นในปัจจุบันและในอนาคตได้

โดยค่าที่นิยมนำมาใช้ คือ ค่า P/E Ratio อย่างไรก็ตาม มันก็ไม่ได้ถูกต้องเสมอไป เพราะนักวิเคราะห์เพียงแค่ให้ข้อมูล ว่าราคาปัจจุบัน และอนาคตของหุ้นควรจะเป็นเท่าไร แต่ไม่ได้ หมายความว่าราคาหุ้นจะวิ่งไปที่ราคานั้นทันที

FA สามารถบอกในเรื่องของระยะเวลาได้หรือไม่

ไม่เชิงครับ ทำไมนะเหรอ เพราะนักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานไม่ได้วิเคราะห์เพื่อซื้อขายหุ้นระยะสั้น แต่เป็นการวิเคราะห์เพื่อการลงทุนระยะยาว ส่วนใหญ่ประมาณ 1-2 ปี บางคนก็ถือหุ้นจนกว่าปัจจัยพื้นฐานของหุ้นตัวนั้นเปลี่ยนไป

เปอร์เซ็นต์ความสำเร็จอยู่ที่เท่าไร

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานส่วนใหญ่ จะได้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดี เพราะพวกเขาปฎิบัติตามกฎและทฤษฏี

ที่มา : สยามอินโฟบิส (www.siaminfobiz.com) โดย aimanun




 

Create Date : 22 มกราคม 2551    
Last Update : 22 มกราคม 2551 9:46:49 น.
Counter : 459 Pageviews.  

วิธีการอ่านกราฟหุ้น

นักลงทุนหลายท่านคงจะมีคำถามในใจเสมอว่า จะอ่านกราฟหุ้นอย่างไรให้ถูกต้อง หรือผิดพลาดน้อยที่สุด การอ่านกราฟหุ้นนั้นมีปัจจัยหลายอย่างบนกราฟที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อหรือขายหุ้น

คุณจึงจำเป็นต้องวิเคราะห์ปัจจัยเหล่านั้นและสรุปออกมาให้ได้ว่า คุณควรเข้าซื้อหุ้นนั้นได้หรือยัง หรือคุณควรจะขายหุ้นนั้นได้แล้ว และนี่คือสิ่งที่แตกต่างกันระหว่างมืออาชีพกับมือสมัครเล่น คำถามที่คุณควรจะถามตัวเองเกี่ยวกับกราฟหุ้นนั้นๆ ได้แก่

· หุ้นนั้นอยู่ใน Stage ไหน
· หุ้นนั้นอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น หรือแนวโน้มขาลง (Up Trend or Down Trend)
· หุ้นนั้นอยู่ในช่วงไหนของแนวโน้ม (เริ่มต้น ช่วงกลาง หรือสิ้นสุดแนวโน้ม)
· แนวโน้มนั้นมีความเข้มแข็งแค่ไหน
· เส้นแนวโน้มนั้นอยู่ที่ใด
· หุ้นนั้นอยู่ในคลื่นลูกไหน (Wave)
· เส้นค่าเฉลี่ยของหุ้นนั้นบอกอะไรกับคุณ
· มีการทะลุเส้นแนวรับหรือแนวต้านเมื่อเร็วๆ นี้หรือไม่
· กราฟหุ้นนั้นมีลักษณะ “ราบเรียบ (smooth)” หรือ “ชัน (sloppy)”
· กราฟหุ้นมีลักษณะตรงกับ chart patterns ไหนหรือไม่
· ในกราฟหุ้นนั้นมีแท่งเทียนที่สูงอยู่ในแนวโน้มนั้นหรือไม่
· ในกราฟหุ้นนั้นมีช่องว่าง (Gaps) ระหว่างแท่งกราฟหรือไม่
· แนวรับ แนวต้านของหุ้นนั้นอยู่บริเวณใด
· หุ้นนั้นอยู่ที่ระดับ Fibonacci Level หรือไม่
· ปริมาณการซื้อขายหุ้นนั้นบอกอะไรแก่คุณ

แน่นอนครับที่คุณจะรู้สึกว่า ข้อมูลเหล่านี้มันมากมายเหลือเกินที่จะติดตามหรือพิจารณาได้หมด แต่คำถามเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็น คุณควร print มันออกมาแล้วติดไว้บนบอร์ดเหนือเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ เพื่อที่คุณจะได้เช็คดูว่าคุณพิจารณาครบทุกข้อหรือยัง

เริ่ม print เลยครับ ผลจะคอย.....

Print เสร็จแล้วใช่ไหมครับ ดีครับ คราวนี้มาลองดู list ข้างบนกันที่ละข้อเลยนะครับ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณรู้ว่าจะตอบคำถามเหล่านี้ให้ถูกต้องได้อย่างไร ไม่ต้องกังวลไปนะครับ การฝึกฝนจะทำให้คุณสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้โดยอัตโนมัติ คุณจะสามารถอ่านกราฟได้อย่างรวดเร็ว แค่มองปราดเดียวคุณก็รู้แล้วว่าจะตอบคำถามเหล่านี้ว่าอย่างไร

Stages, Trends, and Waves

ลองดูกราฟตัวอย่างด้านล่าง



เป็นกราฟหุ้นที่สวยใช่ไหมครับ หุ้นพึ่งทะลุแนวต้านที่เข้มแข็งไปได้ในเดือน July และขณะนี้มันก็อยู่ในแนวโน้มที่เข้มแข็ง ลูกศรสีเขียวคือวันที่เรากำลังพิจารณาหุ้นตัวนี้ ดังนั้น คำตอบของเราเกี่ยวกับกราฟนี้คื

· หุ้นนี้อยู่ใน stage ที่ 2

คุณจำเรื่อง stage ได้หรือไม่ครับ กราฟหุ้นนั้นมีอยู่ด้วยกัน 4 stages ได้แก่

- Stage #1 ช่วงสะสมหุ้น
- Stage #2 ช่วงแนวโน้มขึ้น
- Stage #3 ช่วงสะสมหุ้นอีกครั้ง
- Stage #4 ช่วงแนวโน้มลง

หุ้นตัวนี้อยู่ใน stage #1 ช่วงเดือน July แต่ในช่วงสิ้นเดือน July มันได้ทะลุเข้าสู่ stage #2 และมันยังคงอยู่ใน stage #2 (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติ่มเกี่ยวกับ stage ได้ที่บทความ “Stock Market Stages”)

· หุ้นนี้อยู่ในช่วแนวโน้มขาขึ้น

ส่วนนี้คงเป็นส่วนที่ง่ายที่สุด ตราปได้ที่ราคาหุ้นยังคงสูงขึ้น โดยกราฟสูงขี้นไปยังมุมขวาบนมันยอมเป็นแนวโน้มขาขึ้น ดังนั้นจึงบอกได้ว่า “หุ้นตัวนี้อยู่ในแนวโน้มขาขึ้น”

แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่า หุ้นนี้อยู่ในช่วงไหนของแนวโน้ม แน่นอนการทะลุแนวต้านขึ้นมาเป็นการเริ่มต้นของแนวโน้มไหม่ และถ้าหุ้นนั้นได้ถูกดึงกลับลงมายังแน้วแนวโน้มเป็นครั้งแรก และคุณได้เข้าไปซื้อขายหุ้นในช่วงนี้ก็แสดงว่าคุณเข้าไปซื้อขายหุ้นในช่วงต้นของแนวโน้ม แต่จากกราฟนี้จะเห็นว่าหุ้นได้ถูกดึงกลับลงมาที่เส้นแนวโน้มถึงสองครั้งแล้ว แสดงให้เห็นว่าแนวโน้มนี้กำลังจะสิ้นสุดลง

· หุ้นนี้อยู่ในแนวโน้มที่เข้มแข็งหรือไม่

ดัชนี ADX (ไม่ได้แสดงในกราฟ) อยู่บริเวณ 30 ซึ่งเราพิจารณาว่าเป็นแนวโน้มที่ไม่เข้มแข็ง ยิ่งค่า ADX สูงเท่าไหร่ ความเข้มแข็งของแนวโน้มก็จะมากตามไปด้วย หุ้นตัวนี้อยู่ต่ำกว่าเส้นแนวโน้ม โดยคุณจะเห็นว่าที่เส้นสีเขียว หุ้นได้แตะและทะลงเส้นแนวโน้มลงมา

· หุ้นนี้อยู่ในคลื่นลูกที่ 4

จากทฤษฎีของ Elliatt Wave หุ้นที่วิ่งผ่าน 5 คลื่นในแนวโน้มขาขึ้น ในกราฟด้านบน คลื่นแรกคือหลังจากทะลุผ่านแนวต้านขึ้นไป และถูกดึงกลับลงมาที่เส้นแนวโน้มครั้งแรกเป็นคลื่นลูกที่ 2 จากนั้นหุ้นได้เด้งกลับขึ้นไปและถูกดึงกลับลงมาอีกครั้งเป็นคลื่นลูกที่ 4 วึ่งตอนนี้เราอยู่ในคลื่นลูกที่ 4 และยังเหลืออีกหนึ่งลูกสุดท้าย

สรุป

ตอนนี้เรารู้แล้วว่า มีความเป็นไปได้ที่หุ้นจะขึ้นต่อจากนี้ แต่อย่าลืมว่าไม่มีอะไรแน่นอนในตลาดหุ้น อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่ากราฟนี้ เราสามารถมั่นใจได้ว่าโอกาสที่มันจะขึ้นมีอยู่ค่อนข้างสูง

หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว ผมอยากให้คุณลอง print กราฟหุ้นออกมา และลองทำตามบทความนี้ดู เพื่อสร้างความเข้าใจกับธรรมชาติของหุ้นและความแตกต่างของแต่ละ stages, trends และ waves

แต่นี่ยังไม่จบนะครับ ยังมีอีกหลายคำถามที่คุณต้องตอบ อย่าลืมอ่านต่อในเรื่อง “หลักการวิเคราะห์กราฟ”นะครับ

ที่มา : สยามอินโฟบิส โดย Aimanun




 

Create Date : 18 มกราคม 2551    
Last Update : 18 มกราคม 2551 22:52:36 น.
Counter : 4575 Pageviews.  

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค (ตอน 1)

การวิเคราะห์ทางเทคนิคคืออะไร

การวิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นการใช้ข้อมูลราคาและปริมาณมาพยากรณ์การเคลื่อนที่ของราคาในอนาคต โดยเปรียบเทียบกับเวลา

มันเป็นการวิเคราะห์ที่ได้ผลหรือเป็นแค่การเดาสุ่ม

มีการโต้เถียงกันอย่างมากในเรื่องนี้ ฝ่ายเห็นด้วยก็ว่า รูปแบบของราคาหุ้นเป็นการแสดงถึงพฤติกรรมของนักลงทุน และเนื่องจากพฤติกรรมของคนไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว คุณจึงอาจได้เห็นรูปแบบราคานั้นอีกครั้งในอนาคต บางคนก็ว่ารูปแบบของราคาแสดงถึงพฤติกรรมของนักลงทุนที่ลังเลในการตัดสินใจเมื่อได้รับข้อมูลใหม่ๆ เนื่องจากคนส่วนใหญ่ไม่สามารถตัดสินใจได้ทันทีที่ได้รับข้อมูล แต่จะมีนักลงทุนบางกลุ่มที่สามารถตัดสินใจได้รวดเร็ว ซึ่งกราฟสามารถจับพฤติกรรมนั้นได้ว่ามีการทะยอยซื้อหรือขาย บางคนก็ว่ารูปแบบราคาเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก แม้ไม่รู้ว่าทำไม แต่ก็ไม่ควรลงทุนในทิศทางตรงข้ามกับมัน ส่วนกลุ่มสุดท้ายก็ว่า นักลงทุนมีลักษณะมองโลกในแง่ดีและแง่ร้ายสลับไปมา ซึ่งการวิเคราะห์ทางเทคนิคสามารถประมาณการณ์มันได้

ในด้านที่ไม่เห็นด้วยก็ว่า มันเป็นแค่เรื่องบังเอิญ และไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะใช้มันในการตัดสินใจ ส่วนพวกที่ต่อต้านอย่างมากก็ว่า ผลการดำเนินงานในอดีตและอนาคตอาจเกี่ยวพันธ์กัน แต่ไม่ได้หมายความว่ามันจะเป็นอย่างนั้นเสมอไป ดังนั้น การตัดสินใจซื้อขายหุ้นของพวกที่วิเคราะห์ทางเทคนิคก็ไม่ต่างอะไรกับพวกที่ดูดวงดาวเพื่อพยากรณ์อนาคต

ผมเป็นนักลงทุนที่วิเคราะห์ด้วยปัจจัยพื้นฐาน ผมจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเทคนิคหรือไม่

อันนี้แล้วแต่เลยครับ คุณอาจจะใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคเข้าช่วยในเรื่องจังหวะในการเข้าซื้อหรือขายหุ้นที่คุณวิเคราะห์ด้วยปัจจัยพื้นฐานแล้ว เช่นถ้าตลาดไม่ดีคุณอาจรอเพื่อหาจังหวะในการเข้าซื้อ แต่ถ้าคุณเห็นว่าการวิเคราะห์ทางเทคนิคไม่สามารถช่วยให้คุณเข้าซื้อได้และมันก็ไม่ได้มีผลทำให้หุ้นขึ้นแต่อย่างใด คุณอาจซื้อมันเลยโดยวิเคราะห์แล้วว่าราคาที่เข้าซื้อนี้คุณพอใจ ในกรณีนี้คุณก็ไม่จำเป็นต้องทราบเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเทคนิค

ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่คืออะไร

เป็นการคำนวณหาค่าเฉลี่ยราคาหุ้นในช่วงหนึ่งในขณะที่วันต่อมาราคาหุ้นได้เปลี่ยนแปลงไปค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย แต่ด้วยอัตราที่ช้ากว่า

หลักการคำนวณค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบพื้นฐาน ทำได้โดยนำราคาของวันปัจจุบันและวันก่อนหน้านี้มารวมกัน แล้วหารด้วยจำนวนวันที่ต้องการเฉลี่ยทั้งหมด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับเส้นค่าเฉลี่ยนั้นว่า จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์แนวโน้มในระยะสั้น กลาง หรือระยะยาว และสำหรับวันถัดไปสามารถหาค่าเฉลี่ยได้ โดยตัดข้อมูลวันแรกสุดออกไป และเอาราคาของวันล่าสุดเข้ามาแทนที่ จากนั้นก็นำมาคำนวณโดยวิธีเดียวกัน เช่น ถ้าต้องการหาค่าเฉลี่ยระยะสั้น 10 วัน ราคาสำหรับ 10 วันสุดท้ายจะถูกนำมารวมกันแล้วหารผลทั้งหมดด้วย 10 เนื่องจากข้อมูลทั้งหมด (ในที่นี้คือ 10 วัน แล้วหารผลทั้งหมดด้วย 10 เนื่องจากข้อมูลทั้งหมด (ในที่นี้คือ 10 วันสุดท้าย) จะถูกเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MOVE) ไปข้างหน้า จึงเรียกว่า “ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่” โดยการหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่นั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบ ซึ่งสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ “เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่”

ทำไมต้องเป็นค่าเฉลี่ย 200 วัน จะเป็น 190 วันหรือ 210 วันได้หรือไม่

ระยะเวลาที่ใช้ในการคำนวณนั้นขึ้นอยู่ลักษณะของการลงทุน หากเป็นการลงทุนระยะสั้นจำนวนวันก็จะน้อย แต่หากเป้นการลงทุนระยะยาวจำนวนวันก็จะมากขึ้น เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่คำนวณได้จะมีความราบเรียบมากกว่าเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น ส่วนในเรื่องที่ว่าทำไมต้องเป็น 200 วันนั้นคุณสามารถหาคำตอบได้จากหนังสือของ Hurst ในส่วนของ Stock Transaction

อธิบายเกี่ยวกัเรื่องของแนวรับแนวต้าน และวิธีใช้งาน

สมมุติว่าแนวรับอยู่ที่ 35 บาท นั่นหมายความว่าราคาหุ้นตกลงมาที่จุดนี้แล้วเด้งขึ้น โดยทีมันได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต แนวคิดในเรื่องนี้คือ มีนักลงทุนบางกลุ่มรอคอยที่จะซื้อหุ้นที่ราคานี้ ลองจินตนาการดูว่า เมื่อเขาซื้อหุ้นได้ในราคานี้แล้วและหุ้นเด้นขึ้น จนมาถึงแนวต้าน (สมมุติว่าที่ 45 บาท) เขาก็ขายเพราะเห็นว่าหลายครั้งที่หุ้นขึ้นมาถึงราคานี้ก็มักจะถูกดึงให้ตกลง สาเหตุที่ทำให้หุ้นที่ขึ้นมาถึงจุดนี้แล้วถูกดึงลงมาอีกครั้ง คือมีนักลงทุนบางส่วนที่ซื้อหุ้น ณ จุดนี้และเห็นราคาตกเมื่อหุ้นเด้งกลับมาอีกครั้งจึงต้องการที่จะขายออกเพราะกลัวว่าหุ้นจะตกอีกครั้ง

กลยุทธ์หนึ่งที่ใช้กันก็คือซื้อหุ้นใกล้ๆ แนวรับและขายออกใกล้แนวต้าน แต่บางคนก็รอดูว่าหุ้นจะทะลุแนวต้านได้หรือไม่ และเมื่อหุ้นทะลุแนวต้านแรกได้ ก็จะเข้าซื้อเพิ่มเพราะคาดว่าหุ้นจะวิ้งสูงขึ้น

ส่วนแนวรับนั้น บางคนก็ใช้เป็นจุด stop loss คือเมื่อหุ้นตกลงทะลุจุดนี้ให้ขายทิ้ง เพราะคาดว่าหุ้นจะตกลงไปอีกมากนั่นเอง

อะไรที่เป็นสาเหตุให้แนวรับและต้านเหล่านี้ถูกทะลุผ่านได้

หากมีข่าวหรือข้อมูลที่ทำให้มุมมองเกี่ยวกับหุ้นเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและส่งผลให้เกิดการตอบสนองอย่างทันทีทันใด ถ้าข่าวนี้มีผลต่อราคาหุ้นอย่างมาก คุณก็อาจเป็นการกระโดดของราคาเป็น gap ที่ทะลุแนวรับหรือแนวต้านไปเลยก็ได้

ที่มา : สยามอินโฟบิส โดย Chaiyanun

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค (ตอนจบ)




 

Create Date : 18 มกราคม 2551    
Last Update : 19 มกราคม 2551 10:17:01 น.
Counter : 748 Pageviews.  

1  2  

ice coffee
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




Myspace Layouts & CommentsMyspace Layouts @ JellyMuffin.com
Friends' blogs
[Add ice coffee's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.