>>>        ชาวพุทธแท้ หรือชาวพุทธในทะเบียนบ้านต่างกันอย่างไร ?       อลัชชีคืออะไร ?        เงินกับพระอย่างไรเหมาะควร ??        กรรมของชาวไทย ปัจจุบันและวิธีแก้ไข            หนทางสู่การปฏิบัติ            อานาปานสติอย่างที่ท่านเข้าใจจริงหรือ ?และFAQ อานาปานสติ

ตอบตำถาม "สอบถามเรื่องการปักกลดค่ะ" Y9974011


            คือเราจะไปบวชเร็วนี้ค่ะ มีให้เลือกระหว่างอยู่ห้องกับปักกลด เราอยากปักกลดด้วยคิดว่าน่าจะสงบกว่าอยู่ห้องรวมเพราะบางทีเจอเด็กๆที่พ่อแม่พามาด้วยคุยดึกดื่นเสียงดัง +เราเป็นภูมิแพ้อากาศเย็นๆน่ะค่ะ เราอยากถามเพื่อนๆที่เคยปักกลดว่ามีประสบการณ์อย่างไรบ้าง พอจะเล่าให้ฟังได้มั๊ยคะ ว่าหนาวมากมั๊ย ดูไม่ค่อยปลอดภัยเหมือนอยู่ห้องหรือเปล่า อื่นๆ เราเข้าใจว่าการบวชไม่ควรไปถือสาอะไรเรื่องที่พักมากนักแต่เราก็อยากลองถามเพื่อนๆดูอะคะเผื่อว่าปีนี้จะอยู่กลดจะได้ซื้ออุปกรณ์ทัน รบกวนด้วยนะคะ ขอตอบแทนด้วยกิฟท์ละกันค่ะ


ตอบ
           เรื่องกลด อนุโมทนาครับ
สมัยปัจจุบันเราท่านคงจะไม่เคยเห็นกลดแบบปัก กันแล้วน่ะครับ ส่วนใหญ่เป็นลักษณะแขวนหมดแล้ว เพราะสะดวกกว่าหลายๆ ด้าน เมื่อเทียบกับแบบปักในสมัยก่อน
เรื่องการใช้กลดเป็นเรื่องดีเพราะหาพิจารณาจากพุทธพจน์เรื่องที่เป็นสัปปายะ(ที่เหมาะ)แก่การภาวนา ท่านให้ใช้ ป่า หรือโคนไม้ ที่เรื่อนว่าง(อาจแปลได้ว่าว่างจากเรือน กลดในสมัยพุทธกาลน่าจะมีใช้กันในสังคมสมัยนั้นแล้ว แต่พระผู้ปฏิบัติสมัยพุทธกาล อาจจะไม่มีใช้ก็เป็นได้ คือท่านใช้แค่ จีวร 3 ผืนแทน โดยข้ามเวทนาจากยุงไปทีเดียว พระภิกษุอยู่ป่าส่วนใหญ่ในยุคที่ผ่านมาหรือยุคปัจจุบันก็ใช้กันเป็นปกติ
หากเราคนในสังคมปัจจุบันใช้กลดเป็นเรื่องน่าอนุโมทนายิ่งเพราะเข้าใกล้ตามพุทธดำรัสเรื่องสถานที่ ที่เหมาะควรแก่การภาวนา คือ ป่า โคนไม้ ดังกล่าว ทีนี่จะขยายความกลดชนิดต่างๆ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน กลด อีกส่วนหนึ่งที่ใช้ร่วมกัน คือมุ้งกลด
  • กลด คืออุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายร่ม คือพับเก็บได้ ตัวกลดเองวิธีเลือกซื้อคงไม่มีไรมากเพราะคล้ายกัน จะมีต่างกันก็เป็นเรื่องวัสดุที่ใช้ทำ เช่น ไม่ไผ่ ไม้เนื้อแข็ง อลูมิเนียม ซึ่งก็สามารถเลือกให้เหมาะแก่การใช้งาน
  • มุ้งกลด เป็นตัวที่ครอบกลดเข้าอีกที มีหลากหลาย แบบโปร่ง(ไนล่อน) แบบเกือบทึบ(ผ้า) การเลือกใช้ก็อยู่กับสภาพอากาศและผู้ใช้ว่า แบบไหนเหมาะควร เพราะอย่างแบบไนล่อน หากไปเจอสถานที่ เป็นป่าซึ่งกลางคืนจะเย็นกว่าสภาพอากาศในเมือง และหากมีลมกรรโชกด้วยแล้ว หลับไม่ลงครับ หนาวมาก แบบไนล่อนจึงน่าใช้สำหรับหน้าร้อน หรือที่ อุณหภูมิปกติ ส่วนแบบที่เป็นผ้านั้น พระภิกษุอยู่ป่าปัจจุบันมักใช้แบบนี้ ทำจากผ้า สาลู กลางคืนจะบังลม และกันหนาวได้ดี และ เนื่องจากความนุ่มของใยผ้าอากาศจึงถ่ายเทได้ไม่อึดอัด


  • ****************
    ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 94
    "อุปมาดังเสือเหลืองซุ่มตัวอยู่ จึงจับสัตว์ป่าได้ฉันใดก็ดี
    พระพุทธบุตรประกอบความเพียรบำเพ็ญวิปัสสนานี้ก็ฉันนั้นแล
    (ต้อง) เข้าป่า จึงคว้าเอาอุดมผลได้"
    เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงเสนาสนะป่าอันเป็นโยคภมิ (ที่ทำความเพียร) แห่งผู้มีความบากบั่นและความว่องไวในการภาวนา) แก่โยคาวจรภิกษุนั้น จึงตรัสคำว่า อรญฺคโตวา เป็นอาทิ




     

    Create Date : 03 ธันวาคม 2553    
    Last Update : 3 ธันวาคม 2553 21:09:48 น.
    Counter : 1953 Pageviews.  

    ตอบคำถามเรื่องธรรมกายY9861023.

    *******************************

             คำถาม จะมาขอความรู้ กรณี " ธรรมกาย " อ่าคะ คือ คำสอนของธรรมกายต่างกับคำสอนพระพุทธเจ้าฉบับดั้งเดิมตรงไหนบ้างคะ ไม่รู้จริงๆ นะคะ เลยมาขอความรู้คะ พอดีที่บ้านติดจานดำเลยมีช่อง DMC อ่าคะ งงเรื่องการนั่งสมาธิ การทำบุญ ทำบุญมาก ๆๆ จะได้ไปสวรรค์ ห้ามคิดถึงความชั่วของตัวเองอดีตที่ผ่านแล้ว เพราะ ตายไปจะไม่ได้ไปสวรรค์ เพราะถ้าจิตก่อนตายค้างอยู่ที่ความชั่วตรงนั้น จิตจะพาเราไปนรกทันที ต้องทำบุญกับพระถึงจะได้บุญมากๆ ทำทานได้บุญนิดเดียว ประมาณไม่ต้องทำมากถ้าจะทำทำบุญกับพระสงฆ์ดีที่สุดได้บุญมากที่สุดเพราะพระถือศีลเยอะนี่คือคำสอนของพระพุทธเจ้าจริงๆๆรึเปล่า อ่าคะ คือหลายอย่างที่มันดูขัดตาอ่าคะ คำสอนบางอย่างก็ดูแปลก ๆเลยอยากทราบอ่าคะ ว่าขัดกับหลักศาสนาพุทธ ตรงไหนบ้างขอข้อมูลเยอะ ๆๆ เลยนะคะ อยากทราบจริง ๆๆๆ ไม่ได้มีเจตนาร้ายนะคะ สาบานได้คะ

    ถาม1.งงเรื่องการนั่งสมาธิ 2. การทำบุญ ทำบุญมาก ๆๆ จะได้ไปสวรรค์
    ตอบ นั่งสมาธิในการสอนของวิชาธรรมกายเป็นลักษณะของกสิณ แต่ทว่าตามหลักการทำกสิณที่ปรากฎในพระไตรปิฎกนั้น ไม่ปรากฎว่ามีคำสอนใดๆ กล่าวไว้ในเรื่องภาพพระ 1
    นิมิตที่มีอยู่พระไตรปิฎกท่านให้มองจนติดตาไม่ใช่การอุปโลกให้เกิดขึ้น 1
    ปิติที่เกิดในสมาธิพระพุทธองค์หมายเอาผรณาปิติเท่านั้น 1
    นักปฏิบัติวิชาธรรมกายบางท่านกล่าวว่านิมิตที่ได้เหมือนกับนิมิตในอานาปานสติที่ปรากฎใน คัมภีร์อรรถกถา 1 ฯลฯ

    ตารางแจกแจงแหล่งคำสอนภาคปฏิบัติศึกษาเฉพาะกรณีวิธีการปฏิบัติ
    PhotobucketPhotobucket
                หมายเหตุ กรณีศึกษานี้ยกมาเฉพาะกรณีที่มีผู้ศึกษาปฏิบัติมากเท่านั้น ซึ่งยังมีครูอาจารย์สำนักอื่นอยู่อีก
    * และไม่กล่าวรวมถึงท่านอาจารย์อีกกลุ่มคือเล่าเกจิอาจารย์ทั้งหลายที่เป็นเหล่าที่ศึกษาและสอนในแนว เป่า เสก มนต์ คาถาอาคม ไม่ได้นำมาใช้ในการศึกษาในตารางนี้
    ถาม2. การทำบุญ ทำบุญมาก ๆๆ จะได้ไปสวรรค์
    เรื่องทำบุญมากๆ อธิบายด้วยบุญกริยาวัตถุ 10 ฉะนั้นการทำบุญมีหลายวิธีโดยสรุปแยกเป็น 3 คือ ทาน ศีล ภาวนา ท่านจขกท.คงหมายถึงเน้นไปที่เรื่องทานกับพระเรียกว่าบุญ จริงๆ แล้วจะเรียกว่าทานก็ได้ แต่ในส่วนของความที่ว่าให้ทำมากๆ โดยยก พระสูตร หรือบุคคลเช่น นางมหาอุบาสิกาวิสาขานั้นที่เป็นผู้ให้ทานมาก หรือเป็นผู้ทำบุญมากนั้น จะได้ผลบุญมากไปด้วยนั้นอธิบายดังนี้ องค์ประกอบของการทำทานพิจารณาที่
    1. ผู้รับบริสุทธิ์ (เป็นผู้มี ศีล สมาธิ ปัญญา ตามลำดับ)
    2. ผู้ให้บริสุทธิ์ (เป็นผู้มี ศีล สมาธิ ปัญญา ตามลำดับ)
    3. วัตถุทานบริสุทธิ์ (ของที่ถวายได้มาชอบธรรม)
    โดยมีเจตนาก่อนให้ ขณะให้ และหลังให้แล้ว เป็นกุศล "บุคคลใดที่ทำบุญหรือให้ทานด้วยจิตใจที่โสมนัสยินดี ทั้งประกอบด้วยปัญญา เชื่อกรรมและผลของกรรมครบทั้ง ๓ กาลแล้ว บุญของผู้นั้นย่อมมีผลมาก" ฉะนั้น การให้ทานจึงไม่ได้อยู่ที่จำนวนเป็นตัวแปลที่สำคัญแต่อย่างเดียว


    เรื่องทานที่มีอานิสงค์มาก ... คลิ๊ก

    สารบัญเรื่อง
















    ถาม 3.ห้ามคิดถึงความชั่วของตัวเองอดีตที่ผ่านแล้ว เพราะ ตายไปจะไม่ได้ไปสวรรค์ เพราะถ้าจิตก่อนตายค้างอยู่ที่ความชั่วตรงนั้น จิตจะพาเราไปนรกทันที
    ตอบ กรรมจวนเจียน, กรรมใกล้ตาย แต่การที่จะห้ามความคิดในขณะนั้นไม่ปกติที่จะห้ามได้ กล่าวคือโดยปกติ บุคคลก่อนถึงแก่กรรมจะมี นิมิตก่อนตายและตัวนิมิตนั้นจะแสดง อาสันนกรรม อันเป็นสิ่งแสดงภพภูมิที่จะไปเกิด
    กรรม ๑๒ กรรมจำแนกตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ผล พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ ๑๒ อย่าง
    อาสันนกรรม กรรมจวนเจียน, กรรมใกล้ตาย
    หมายถึง กรรมที่เป็นกุศลก็ดี อกุศลก็ดี ที่ทำเมื่อจวนตายยังจับใจอยู่ใหม่ๆ ถ้าไม่มีครุกกรรม และพหุลกรรม ย่อมให้ผลก่อนกรรมอื่นๆ เหมือนโคที่ยัดเยียดกันอยู่ในคอก เมื่อคนเลี้ยงเปิดคอกออก ตัวใดอยู่ใกล้ประตู ตัวนั้นย่อมออกก่อน แม้จะเป็นโคแก่
    (ข้อ ๑๑ ในกรรม ๑๒)
    ถาม 4.ต้องทำบุญกับพระถึงจะได้บุญมากๆ 5.ทำทานได้บุญนิดเดียว ประมาณไม่ต้องทำมาก 6.ถ้าจะทำทำบุญกับพระสงฆ์ดีที่สุดได้บุญมากที่สุดเพราะพระถือศีลเยอะ นี่คือคำสอนของพระพุทธเจ้าจริงๆๆรึเปล่า อ่าค่ะ
    ตอบ พระไตรปิฎกเล่มที่ 23
    อาหุเนยยสูตร
    [๒๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๙ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรของคำนับเป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า๙ จำพวกเป็นไฉน คือ พระอรหันต์ ๑ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์ ๑ พระอนาคามี ๑ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ๑ พระสกทาคามี ๑ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ๑ พระโสดาบัน ๑ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ๑ โคตรภูบุคคล ๑ ดูกรภิกษุุทั้งหลาย บุคคล ๙ จำพวกเหล่านี้แล เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ
    จบสูตรที่ ๑๐
    พระไตรปิฎกเล่มที่ 24
    อาหุเนยยสูตร
    [๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๑๐ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรของคำนับเป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า๑๐ จำพวกเป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ๑ ท่านผู้เป็นอุภโตภาควิมุต ๑ ท่านผู้เป็นปัญญาวิมุต ๑ ท่านผู้เป็นกายสักขี ๑ ท่านผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ ๑ ท่านผู้เป็นสัทธาวิมุต ๑ ผู้เป็นธัมมานุสารี ๑ ท่านผู้เป็นสัทธานุสารี ๑ ท่านผู้เป็นโคตรภู๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๑๐ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ

    จบสูตรที่ ๖


    .............................................................




     

    Create Date : 01 ธันวาคม 2553    
    Last Update : 3 ธันวาคม 2553 21:12:48 น.
    Counter : 429 Pageviews.  

    สมาธิของฝากเพื่อนต่างชาติ (English version)




    Questions
    1.What is the first jhana means (directed thought) ?
    2.What is the measurement for first jhana ? Ans 2 things ; 1. Mind signal is Nimit and 2. Physics signal is Piti
    Answer
    Whenever we say "first jhana" and then want to explain a characteristic of jhana. We have to know the context in the same topic. Clause the lord Buddha teach many kinds of meditation technical: 40 Methods. So I mean If we talk to the characteristic of first jhana, it have many description depend on what kind of meditation method.
    Here I will say the 1st jhana characteristic of Breathing meditation. Actually 1st jhana have Five Jhana-factors are :
    1. Initial application (vitakka)
    2. Sustained application (vicara)
    3. Joy (píti)
    4. Happiness (sukha)
    5. One-pointedness (ekaggata)

    Many people use Five Jhana-factors to evaluate 1st jhana. Nevertheless in my opinion , "we cannot evaluate jhana by Five Jhana-factors". Especially begin-er who don't know in Vasi process.

    In fact 1st jhana characteristic of Breathing meditation have NIMIT(Bali); it means "marking or Sign". Breathing meditation(anapanasti) have 3 steps of NIMIT are: 1.bhavana nimit 2.uggaha nimit 3.patibhaga nimit (jhana)

    1.When we start and know breathing continuously ;That is bhavana nimit
    2.Have a characteristic touching like as Cotton wool or like the wind; uggaha nimit >>> medium concentrate
    3.Have a characteristic seeing in mind like a ; Appear like stars,jewel, some pearl(s), seed cotton, Burr wood with some rough touched,breast chain,flower,burning smoke,gossamer,clouds ,wheels,moon ,sun ;>>>deep concentrate or jhana

    Remark: - The 1st jhana nimit is the early items on nimit list as star to jewel(pearl to sun are upper-jhana)
    - The steps of nimits will appear only one kind depend on our subconscious.
    - Nimit ; It's not difficult to appearance but very difficult to keep.

    And the most important thing of the Buddhist way which many people have done a wrong process. That is a consideration in Jhana or Five Jhana-factors. Because, if we consider in 5 factors of Jhana while we didn't expert in five Vasi. Jhana will decline.

    A Jhana consideration is a 5th step of Vasi.
    Vasi (skillfulness)
    1. Skillfulness in pondering (Avajjanavasi), Many sources have differ to translate ;In my opinion is "Warming" or "prepared" .

    2. Skillfulness in entering (Samapajjanavasi),

    3. Skillfulness in holding back (Abhitthanavasi),

    4. Skillfulness in exit (Vutthanavasi),

    5. Skillfulness in reflection (Paccavekkhanavasi). consideration in
    ----------------------------------------------------------------------------------
    And the other thing that people always misunderstanding. that is 5 Piti.
    The Lord Buddha said Piti which mean 5th piti or Pharana-piti only . So, many people when they do Jhana then they get some 1st-4th piti. Follow the Buddha word they don't get a real Jhana.

    A) Khuddaka-piti------- Minor rapture

    B) Khanika-piti-----------Momentary or instantaneous joy

    C) Okkantika-piti--------Showering joy or flow of joy

    D) Ubbenga-piti----------Uplifting joy or transporting rapture

    E) Pharana-piti-----------Suffusing joy or all-pervading rapture
    Pharana-piti—suffusing or all-pervading joy. This form of piti radiates all over the body. One has ecstatic feelings while experiencing this kind of rapture. This is truly the rapture in Jhana. However, some who have yet to reach Jhana may also be able to experience this form of piti.

    Remark---------------

    Acinteyya - the four unthinkables

    To call something unthinkable is to say that it is too unpleasant or too abstruse to think about or that no amount of thinking about it will yield a clear understanding of it. The Buddha uses the term unthinkable (acinteyya) in this last sense. He said: 'There are these four unthinkables, not to be thought about, thinking about which one will become mad and confused. What four?

    1.Thinking about the range of a Buddha's understanding,
    2. Thinking about the range of some meditative states,
    3.Thinking about the results of kamma and
    4. Thinking about the origins of the world' (A.II,80). Sometimes the end of the world also.




     

    Create Date : 26 พฤศจิกายน 2553    
    Last Update : 26 พฤศจิกายน 2553 9:54:54 น.
    Counter : 533 Pageviews.  

    เงื่อนไของค์ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 และวิธีพิจารณา Y9941846

    เครดิต SirYo Blogz
    เงื่อนไขในการขาดจากศีล

    ศีล แต่ละข้อหรือแต่ละประเภท ที่เรามีเจตนารักษาแล้วจะขาดได้ก็ต่อเมื่อเราละเมิดครบองค์ของศีลข้อนั้นๆ เช่น ระบุไว้ว่าศีลข้อที่ ๑ (ปาณาฯ) จะขาดก็ต้องละเมิดให้ครบทั้ง ๕ องค์ ถ้าละเมิดไม่ครบองค์ ๕ ศีลก็ไม่ขาด เป็นแต่ศีลทะลุด่างพร้อย หรือเศร้าหมองเท่านั้น ศีลแต่ละข้อจะขาดได้ ก็อยู่ที่เรา “จงใจ” หรือ “เจตนา” ล่วง ถ้าล่วงเพราะไม่เจตนาก็ไม่ขาดและไม่ด่างพร้อยด้วย
    พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 287
    ศีลข้อ ๑ ปาณาติปาตา เวรมณี มีองค์ ๕ คือ
    ๑. *ปาโณ สัตว์มีชีวิต
    ๒. ปาณสญฺญิตา รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
    ๓. วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า
    ๔. อุปกฺกโม เพียรเพื่อจะฆ่า
    ๕. เตน มรณํ สัตว์ตายด้วยความเพียรนั้น
    ศีลข้อ ๒ อทินนาทานา เวรมณี มีองค์ ๕ คือ
    ๑. ปรปริคฺคหิตํ ของมีเจ้าของหวงแหน
    ๒. ปรปริคฺคหิตสญฺญิตา รู้ว่ามีเจ้าของหวงแหน
    ๓. เถยฺยจิตฺตํ จิตคิดจะลัก ( ทั้งโดยคิดลักเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นลักแทน )
    ๔. อุปกฺกโม เพียรเพื่อจะลัก
    ๕. เตน หรณํ นำของมาด้วยความเพียรนั้น
    ศีลข้อ ๓ อพรหมจริยา เวรมณี มีองค์ ๔ คือ (ศีลข้อนี้จะขาดต่อเมื่อล่วงพร้อมด้วยองค์ ๒ หรือ ๔)

    ตามนัยแห่งฎีกาพรหมชาลสูตรและกังขาวิตรณี
    ๓.๑ เสวนจิตฺตํ จิตคิดจะเสพ
    ๓.๒ มคฺเคน มคฺคปฺปฏิปาทนํ อวัยวะเพศถึงกัน

    ตามนัยแห่งอรรถกถาขุททกปาฐะ
    ๓.๑. อชฺฌาจรณียวตฺถุ วัตถุที่จะพึงประพฤติล่วง ( คือ เสพทางทวาร ๓ ได้แก่ ปาก ทวารเบา และทวารหนัก)
    ๓.๒. ตตฺถ เสวนจิตฺตํ จิตคิดจะเสพในวัตถุที่จะพึงล่วงนั้น
    ๓.๓. เสวนปฺปโยโค พยายามเสพ
    ๓.๔. สาทิยนํ มีความยินดี

    ศีลข้อ ๔ มุสาวาทา เวรมณี มีองค์ ๔ คือ
    ๑. อตถํ วตฺถุ เรื่องไม่จริง
    ๒. วิสํวาทนจิตฺตํ จิตคิดจะพูดให้ผิด
    ๓. ตชฺโช วายาโม พยายามพูดออกไป
    ๔. ปรสฺส ตทตฺถวิชานนํ คนอื่นเข้าใจเนื้อความนั้น
    ศีลข้อ ๕ สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี มีองค์ ๔ คือ
    ๑. มทนียํ ของทำให้เมามีสุรา ยาดอง เป็นต้น
    ๒. ปาตุกมฺยตาจิตฺตํ จิตใคร่จะดื่ม
    ๓. ตชฺโช วายาโม พยายามดื่ม
    ๔. ปีตปฺปเวสนํ ดื่มให้ไหลล่วงลำคอเข้าไป
    ศีลข้อ ๖ วิกาลโภชนา เวรมณี มีองค์ ๔ คือ
    ๑. วิกาโล เวลาตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนอรุณขึ้น
    ๒. ยาวกาลิกํของเคี้ยวของกินที่สงเคราะห์เข้าในอาหาร
    ๓. อชฺโฌหรณปฺปโยโค พยายามกลืนกิน
    ๔. เตน อชฺโฌหรณํ กลืนให้ล่วงลำคอเข้าไปด้วยความเพียรนั้น
    ศีลข้อ ๗ นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนะ เวรมณี เว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศล มีองค์ ๓ คือ
    ๑. นจฺจาทีนิ การเล่นมีฟ้อนรำขับร้อง เป็นต้น
    ๒. ทสฺสนตฺถาย คมนํ ไปเพื่อจะดูหรือฟัง
    ๓. ทสฺสนํ ดูหรือฟัง
    ศีลข้อ ๘ มาลาคันธวิเลปนธารณมัณฑนวิภูสนัฏฐานา เวรมณี เว้นจากการลูบทา ทัดทรง ประดับตกแต่งร่างกายด้วยระเบียบดอกไม้ ของหอม เครื่องย้อม เครื่องทาอันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัว มีองค์ ๓ (๒ ตอน) คือ

    ตอนที่ ๑ การบันเทิง ๓
    ๗.๑ นจฺจาทีนิ การเล่นมีฟ้อนรำขับร้อง เป็นต้น
    ๗.๒ ทสฺสนตฺถาย คมนํ ไปเพื่อจะดูหรือฟัง
    ๗.๓ ทสฺสนํ ดูหรือฟัง

    ตอนที่ ๒ การตกแต่ง ๓
    ๗.๑. มาลาทีนํ อญฺญตรตา เครื่องประดับตกแต่ง มีดอกไม้และของหอม เป็นต้น
    ๗.๒. อนุญฺญาตการณาภาโว ไม่มีเหตุเจ็บไข้ เป็นต้นที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต
    ๗.๓. อลงฺกตภาโว ทัดทรงประดับตกแต่ง เป็นต้น ด้วยจิตคิดจะประดับให้สวยงาม


    ศีลข้อ ๙ อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี งดเว้นจากการนั่งและการนอนบนที่นอนสูงใหญ่ มีองค์ ๓ คือ
    ๑. อุจฺจาสยนมหาสยนํ ที่นั่งที่นอนสูงใหญ่
    ๒. อุจฺจสยนมหาสยนสญฺญิตา รู้ว่าที่นั่งที่นอนสูงใหญ่
    ๓. อภิสีทนํ วา อภิปชฺชนํ วา นั่งหรือนอนลง
    ศีลข้อ ๑๐ ชาตรูปรชตปฏิคฺคหณา เวรมณี เว้นจากการรับเงินทอง
    ๑. ชาตรูปรชตํ หรือ หิรญฺญสุวณฺณฺ ของนั้นเป็นเงินและทอง
    ๒. อตฺตโน อตฺถาย ทียมานํ เฉพาะเป็นของตน
    ๓. อุคฺคณฺเหยฺย วา อุคฺคณฺหาเปยฺย วา อุปนิกฺขิตฺตํ วา สาทิเยยฺย รับเอาเอง หรือ ให้ผู้อื่นรับ หรือ เขาเก็บไว้ให้ ยินดี 

    * อรรถกถาบางแห่งใช้ว่า ปรปาโณ คือสัตว์อื่นที่มีชีวิต มิได้หมายถึงตัวเอง เพราะฉะนั้นการฆ่าตัวเองจึงไม่ล่วงกรรมบถ เพราะไม่ครบองค์ของศีลข้อนี้ ถ้าครบองค์ ๕ ศีลข้อ ๑ ก็ขาด ถ้าไม่ครบ ๕ ข้อ ศีลไม่ขาด แต่ก็เศร้าหมอง โทษของศีลข้อ ๑ นี้ อย่างหนักทำให้ไปเกิดในอบาย เป็นสัตว์นรก เปรต อสูรกาย สัตว์เดรัจฉาน อย่างเบาทำให้อายุสั้นเมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ ถึงกระนั้นโทษของการล่วงศีลข้อนี้ก็หนักเบาต่างกันด้วยร่างกายของสัตว์ ๑ ด้วยคุณของสัตว์ ๑ ด้วยเจตนา ๑ และด้วยความพยายาม ๑กล่าวคือ ถ้าฆ่าสัตว์ใหญ่ โทษก็มาก ถ้าฆ่าสัตว์เล็ก โทษก็น้อย ถ้าฆ่าสัตว์มีคุณมาก โทษก็หนักมาก ถ้าฆ่าสัตว์มีคุณน้อย โทษก็น้อยลดหลั่นกันลงไป ถ้าเจตนา คือความจงใจแรง โทษก็แรง ถ้าเจตนาคือ ความจงใจอ่อน โทษก็น้อย ความพยายามมากโทษก็มาก ความพยายามน้อยโทษก็น้อย แต่อย่าได้คิดว่าเมื่อท่านฆ่าสัตว์เล็ก ทั้งมีคุณน้อย มีความจงใจอ่อน และมีความพยายามน้อย โทษก็น้อย คงจะไม่น่ากลัว อย่าลืมว่า บาปอกุศลนั้นถึงแม้จะเล็กน้อยก็ไม่ควรทำ เพราะเมื่อสำเร็จเป็นกรรมแล้ว ย่อมพาไปอบายได้เช่นเดียวกับโทษหนักเหมือนกัน เพียงแต่ว่าอาจไปอยู่ในอบายชั่วระยะเวลาอันสั้น ไม่ยาวนานเหมือนโทษหนัก เพราะฉะนั้นจึงควรสังวรระวังไม่ประมาทแม้โทษเพียงเล็กน้อยใน อรรถกถาวัมมิกสูตร มัช.มูล. เล่าถึงพวกโจรที่ฆ่าอุบาสกที่เป็นพระอนาคามีว่าทำให้ตาบอดทันที เพราะผู้ถูกฆ่าเป็นสัตว์ใหญ่ มีคุณธรรมสูง เจตนาของโจรก็แรง ผลจึงเกิดขึ้นในปัจจุบันทันที ยังไม่ต้องกล่าวถึงโทษที่จะเกิดในอนาคตว่าจะร้ายแรงแค่ไหน
    หมายเหตุ ศีล ๕ ข้อกาเม มีข้อต่างกัน ได้แก่
    ๓. กาเมสุ มิจฺฉาจารา เวรมณี (เว้นจากการประพฤตผิดในกาม, เว้นจากการล่วงละเมิดสิ่งที่ผู้อื่นรักใคร่หรือหวงแหน)
    ศีลข้อนี้จะขาดต่อเมื่อล่วงพร้อมด้วยองค์ ๔
    ๓.๑ อคมนียวตฺถุ หญิงหรือชายที่ไม่ควรละเมิด (หญิง 20 จำพวก)
    ๓.๒ ตสฺมึ เสวนจิตฺตํ จิตคิดจะเสพ
    ๓.๓ เสวนปฺปโยโค พยายามเสพ
    ๓.๔ มคฺเคน มคฺคปฺปฏิปตฺติอธิวาสนํ ยังอวัยวะเพศให้ถึงกัน

    (หญิง ๒๐ จำพวก คือ ๑. หญิงมีมารดารักษา ๒. หญิงมีบิดารักษา ๓. หญิงมีมารดาและบิดารักษา ๔. หญิงมีพี่ชายหรือน้องชายรักษา ๕. หญิงมีพี่สาวหรือน้องสาวรักษา ๖. หญิงมีญาติรักษา ๗. หญิงมีตระกูลเดียวกันรักษา ๘.หญิงประพฤติธรรมร่วมอาจารย์เดียวกันรักษา ๙. หญิงมีสามีรักษา ๑๐. หญิงที่ถูกสินไหมบังคับ ๑๑. ภรรยาสินไถ่ ๑๒. หญิงสมัครอยู่กับชาย ๑๓. หญิงเป็นภรรยาเพราะทรัพย์ ๑๔. หญิงเป็นภรรยาเพราะได้ผ้านุ่งห่ม ๑๕. หญิงที่ชายสู่ขอ ๑๖. หญิงที่ชายช่วยปลงภาระ ๑๗. หญิงเป็นทาสีชายได้เป็นภรรยา ๑๘. หญิงรับจ้างชายได้เป็นภรรยา ๑๙. หญิงเชลยได้มาเป็นภรรยา ๒๐. หญิงอยู่กับชายขณะหนึ่งคิดว่าชายนั้นเป็นสามีตน (สำหรับชายต้องห้ามสำหรับหญิง พึงเทียบกลับเอาตามนี้)





     

    Create Date : 25 พฤศจิกายน 2553    
    Last Update : 3 ธันวาคม 2553 21:16:41 น.
    Counter : 4449 Pageviews.  

    ข้อสังเกตสำคัญเรื่องการถวายเงินพระกับการระวังเตือนคนรอบข้าง

    ไม่ควรกล่าวว่า "อย่าถวายยเงินพระ"  และไม่ควรกล่าวว่า"เงินถวายพระได้อนุโมทนา"

  • "อย่าถวายเงินพระ"ไม่ควรกล่าว เพราะเป็นการห้ามทานบุคคลอื่นพระองค์ตรัสการห้ามทานบุคคลอื่นชื่อว่า อมิตร

    •  "เงินถวายพระได้อนุโมทนา "  ไม่ควรกล่าว เพราะถ้าพูดอย่างนั้นเท่ากับค้านพุทธพจน์  เป็นวาจาที่มีโทษกร่อนพุทธดำรัส(คือทำให้เลือนลงๆ)
    ฉะนั้นจะพูดอย่างไร  ก็ต้องบอกเป็นกลางๆ ถึงหลักว่าพระองค์ตรัสไว้ว่าอย่างไรมีทางออกอย่างไร  และมีวัดท่านที่ชัดเจนในศีลเรื่องนี้ท่านทำอย่างไรส่วนในท่าที ถ้าหากรณรงค์ในแง่ความรู้ปริยัติข้อนี้ได้เป็นดีที่สุดแต่ไม่ใช่ไป พูดว่าห้ามหรืออย่าถวายเงินพระ  อันนี้สังเกตได้ว่า เรื่องเดียวกันวินัยเดียวกัน แต่มีรายละเอียดแยบคายแตกต่างกันดังนี้

    ส่วนประเด็นหากจะกล่าวว่า  ไทยเกือบไม่ใช่เถรวาทแล้วไม่เป็นไรหรอกอันนี้ก็ถูก  เพราะโดยพฤตินัยเป็นอย่างนี้จริงๆ หลายๆ ที่  ประหนึ่งว่ากายเป็นมหายานใจเป็นมหายาน แต่วาจาเป็นเถรวาท  คือพูดอย่างเดียวว่าเป็นเถรวาท

       
    หากทว่าในแง่หลักมหภาค(นโยบาย)ของชนในชาติแล้วพูดอย่างนั้นไม่ได้เมืองไทยเป็นเถรวาทเต็มตัว  เพราะอะไร ? เพราะโดยศีลข้อนี้แล้วทั้งมหานิกายและธรรมยุติก็ยังมีคณะสงฆ์ รักษาอยู่อย่างเข็มงวด  เช่น มหานิกายสาขาหนองป่าพง(200 กว่าสาขา)  ท่านพระผู้ใหญ่อย่างพระพรหมคุณาภรณ์รวมทั้งคณะธรรมยุติ(ส่วนมากที่ไม่รับ) อีกหลายหมื่นวัด


    ส่วนมายาคติที่ว่า เกจิท่านนี้ ท่านนั้น หลวงปู่นี้ หลวงปู่นั้น  ยังรับเงินเลยไม่เห็นเป็นอะไร  ก็ต้องยกตัวอย่างว่าท่านเทวทัตต์เนี่ยเหาะได้น่ะขอรับ  ฉะนั้นจะเอาฤทธิ์มาวัดไม่ได้ ต้องวัดกันที่พุทธดำรัส พอถึงตรงนี้ก็จะมีผู้กล่าวอีกว่า กาลามสูตรเขาจะอ้างว่า  เอก็ที่เป็นพุทธดำรัสเนี่ยเอามาจากพระไตรปิฎกไม่ใช่เร่อพระพุทธองค์ไม่ให้เชื่อไม่ใช่เร่อ  ก็ต้องอธิบายว่าไม่ใช่ทรงไม่ให้เชื่อแต่ทรงให้ตรวจสอบก่อนจึงเชื่อที่นี่ที่พระองค์ตรัสว่าให้ตรวจสอบก่อนนี่คืออะไรเพราะก็จะมาอ้างว่าพระไตรปิฎกเชื่อถือไม่ได้ ดูอย่างในจีน ในญี่ปุ่นสิ นั้นมันเป็นอย่างนั้น เป็นงูกินหาง ด้วยอำนาจโมหะและในมี่สุดโดยอธิบายหนักเข้า ๆ ก็ห่างจาก ผู้รู้และความจริงมากขึ้นเรื่อยๆ เข้าสู่ความเป็นไสย คือมืดบอดในที่สุด

    จริง ๆ เรื่องนี้ไม่ต้องการกล่าวถึงอีกแล้วแต่ด้วยเหตุว่าจำเป็นต้องแถลงความแตกต่างของวลี วลีดังกล่าวคือ

    • อย่าถวายเงินพระ"  ไม่ควรกล่าวเพราะเป็นการห้ามทานบุคคลอื่น พระองค์ตรัสการห้ามทานบุคคลอื่นชื่อว่าอมิตร

    •  " เงินถวายพระได้อนุโมทนา "  ไม่ควรกล่าว เพราะถ้าพูดอย่างนั้นเท่ากับค้านพุทธพจน์เป็นวาจาที่มีโทษ กร่อนพุทธดำรัส(คือทำให้เลือนลงๆ)

    ด้วยความเคารพทุกท่าน







    Free TextEditor




     

    Create Date : 24 พฤศจิกายน 2553    
    Last Update : 3 ธันวาคม 2553 21:23:15 น.
    Counter : 826 Pageviews.  

    1  2  3  4  5  6  7  

    aero.1
    Location :
    นนทบุรี Thailand

    [Profile ทั้งหมด]

    ฝากข้อความหลังไมค์
    Rss Feed
    Smember
    ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




    การศึกษาทางโลก
    รบ. ธรรมศาสตร์ 2536(นักศึกษาทุนภูมิพล)

    การศึกษาทางธรรม
    -สัทธิวิหาริก สมเด็จญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 19 พศ 2535
    -พระเจ้าหน้าที่เวรดูแลพระอาการ สมเด็จญาณสังวร
    -อดีตพระป่า(หนองป่าพง)
    -ประธานรุ่นนักศึกษาภาคมหาบัณฑิตมหามกุฏราชวิทยาลัย 2546

    .

    **************************
    Friends' blogs
    [Add aero.1's blog to your web]
    Links
     

     Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.