>>>        ชาวพุทธแท้ หรือชาวพุทธในทะเบียนบ้านต่างกันอย่างไร ?       อลัชชีคืออะไร ?        เงินกับพระอย่างไรเหมาะควร ??        กรรมของชาวไทย ปัจจุบันและวิธีแก้ไข            หนทางสู่การปฏิบัติ            อานาปานสติอย่างที่ท่านเข้าใจจริงหรือ ?และFAQ อานาปานสติ

-การประดิษฐานและการรักษาพระสัทธรรมในประเทศไทย

            แผ่นดินใหม่พุทธธรรมฝ่ายเถระวาทที่เหลืออยู่ในโลกอย่างชัดเจนก็คือแถบบริเวณประเทศไทย พม่านี้เท่านั้นโดยมีการแลกเปลี่ยน กันทำสังฆกรรม เพื่อความคงไว้ซึ่ง ธรรมวินัย แท้ๆ ยกตัวอย่างเช่นกรณีประเทศศรีลังกาที่ได้กล่าวมาแล้ว ไทยกับพม่าหรือมอญก็เช่นกันหลังจากศึกสงครามเมื่อพระไตรปิฎกเสียหายก็หาจากแหล่งดังกล่าวมาเติม ในสมัยเสียกรุงครั้งที่ 1 ไม่ถูกเผาทำลาย การจัดการจึงไม่ยุ่งยากเท่าไร โดยมีวิธีอิงความบริสุทธิ์ในการแก้ไข 2 สถาน คือ

1. ความคงที่มาของพระไตรปิฎกให้ดั่งเดิมที่สุดเท่าจะทำได้
2. ความบริสุทธิ์ของพระสงฆ์ที่เป็นองค์กำเนิดรุ่นต่อๆไป งานหลังนี้ค่อนข้างหนักครับเพราะไม่รู้ใครเป็นใคร ดีชอบอย่างไรดูที่ไหน ก็ต้องใช้ผู้ชำนาญพิเศษ เฉพาะทางมาพิสูจน์กัน


            มีเรื่องบันทึกไว้ว่า พระเจ้าตากหลังจากทรงกอบกู้เอกราชได้แล้วนั้นได้ทรงโปรดให้มีการทำสังคยานาพุทธธรรมครั้งใหญ่ในต้นรัชกาล จากการที่ก่อนเคยผนวชอยู่ 3 พรรษา และพร้อมกับปฏิบัติไปด้วยในขณะที่เกิดศึกประชิดเมืองกรุงศรีอยุธยาใกล้แตกนั้น การต้านทัพพม่าในหัวเมืองบางแห่งนิมนต์พระ เป็นผู้นำการต่อต้านข้าศึกและอาจฆ่าคนหรือสั่งให้ฆ่าไปบ้าง จึงทรงให้จัดนำพระอุปัชฌาย์ทั่วประเทศเข้าเฝ้า และดำรัสว่าหากท่านใดรูปใดหมดจากความเป็นพระแล้วให้บอกซะตอนนี้ แล้วพระองค์จะเลือกภรรยาให้ พร้อมให้ทำงานในราชการ หากยังยืนยันความบริสุทธิ์ก็ให้อธิษฐานจิต ดำน้ำ จนกว่าจะตีระฆังหากผ่านจนครบเสียงระฆังก็ทรงอนุญาตให้กลับไปดูแลพระศาสนาต่อไป หากไม่ผ่านพระองค์จะลงโทษประหารชีวิต


            เหตุการณ์ต่างๆเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงพระราชภาระอันหนักขององค์ศาสนูปถัมภกในประวัติศาสตร์ชาติไทยเราเพื่อดำรงไว้ซึ่งความบริสุทธิ์ของขอบขัณฑสีมาในบวรพุทธศาสนาจากนั้นในรัชสมัยพระเจ้าแผ่นดินองค์ต่อๆมาก็ทรงโปรดให้มีการทำสังคายนาอยู่ เสมอเพื่อให้คงความบริสุทธิ์ของพระสัทธรรมไว้แต่ในส่วนขององค์คณะสงฆ์น้อยครั้งมากที่จะมีการจัดการเพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมากและไม่มีวิธีการที่ชัดเจนในการจัดการ นอกจากต้องอาศัยผู้ที่มีความแตกฉานทั้ง การศึกษา และปฏิบัติพร้อมผลของการปฏิบัติที่ชัดเจนตามคำสอน


             อนึ่ง ในเหตุการณ์ต่างๆที่ผ่านมานั้นมีเรื่องหนึ่งที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษคือ ตัวภาษาที่ใช้บันทึกพระสัทธรรม อันว่าพุทธองค์ทรงใช้ภาษาบาลีในการอธิบายธรรม จะอธิบายสักเล็กน้อยในภาษาบาลีนั้นเป็นภาษาที่ตาย กล่าวคือเป็นภาษาที่ไม่มีตัวอักษรใช้เขียน มีเพียงภาษาพูดที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในครั้งพุทธกาลเท่านั้น
พระพุทธองค์จึงใช้ภาษานี้ในการอธิบายพระสัทธรรม อีกทั้งเป็นภาษาที่มีไวยากรณ์ชัดเจนมากความคลาดเคลื่อนของความหมายที่เกิด จากการกร่อนทางภาษาจึงมีน้อยมาก จึงเป็นผลดีอย่างมากในการรักษาสืบทอดพระสัทธรรมคำสอนสืบจนปัจจุบัน ในสมัยพุทธกาลนั้นใช้วิธีท่องจำพระธรรมถ่ายทอดโดยการบอก ท่อง บ่น จัดแยกเป็นหมวด หมู่ชัดเจน หลังจากพุทธปรินิพพานเล็กน้อย ได้มีการสังคายนาและจารึกเป็นหนังสือขึ้นโดยใช้อักษรจากภาษาอื่นมาเทียบ เสียง เช่น เอาอักษร เทวนาครี มาใช้


            เมื่อพระสัทธรรมถึงประเทศเราในสมัยนั้นซึ่งเป็นยุคชนชาติขอม ครองแผ่นดินนี้อยู่จึงนำเอาอักษรขอมมาเทียบเสียงในภาษาบาลี ขอยกตัวอย่างเพื่อความเข้าใจ เช่น เอาอักษรอังกฤษ เทียบเสียงบาลี คำว่า นะโมตัสสะ ก็จะได้ว่า Namo Tussa จะเห็นได้ว่าทำความเข้าใจยากมากไทยเราใช้รูปแบบลักษณะนี้มาตั้งแต่เริ่มมี พระสัทธรรมเข้ามา


            ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าการที่จะเรียนรู้ธรรมในพระไตรปิฎกได้นั้น จึงต้องเป็นผู้รู้ในภาษาอย่างน้อยๆ 3 ภาษาคือ 1. รู้ภาษาไทยอ่าน ออก เขียนได้ 2.รู้ภาษาขอมชัดเจนอ่านออกเขียนได้ 3. รู้ภาษาบาลีเมื่อผสมอักษรขอม แล้วอ่านออก เขียนได้ ฉะนั้นผู้ที่จะเข้าใจพระไตรปิฎกในสมัยก่อนได้จึงมีน้อยมาก ลำพังภาษาไทยเองผู้อ่านออกเขียนได้ก็ไม่มาก จึงต้องเป็นผู้มีภูมิรู้ชั้นสูงมากๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชนชั้นราชวงศ์ หรือหากไม่ใช่ก็จะได้รับแต่งตั้งบางทีก็สถาปนา ขึ้นเป็นชั้นต่างๆ เช่น หลวงพ่อทวด ๆ ครั้นได้ข่าวการแต่งตั้งเป็นสังฆราชองค์ท่านจึงหนีเข้าป่าแถบภาคใต้ไม่ขอรับตำแหน่ง สมเด็จโตพรหมรังสีหนีเข้าป่าแถบอีสานเหนือจนในหลวงรัชกาลที่ 4 ตามกลับมาด้วยวิธีให้ส่งตัวพระที่รูปลักษณะคล้ายองค์ปู่โตเข้ามาพระนคร จนกระทั่งหลวงปู่เห็นว่าเป็นการสร้างความเดือดร้อนแก่หมู่สงฆ์จึงกลับเข้ามา จำพรรษาในพระนครตั้งแต่นั้น


         พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เช่นกันพระองค์ประสูติภายใต้ร่มเศวตฉัตรในพระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงเป็นเจ้าฟ้าพระองค์ต้นที่จะขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบิดา ขณะสิ้นรัชสมัยรัชกาลที่ 2 นั้น พระองค์ทรงพระเยาว์อยู่มาก จึงมีการสรุปตกลงกันของราชนิกุลและผู้มีอำนาจในสมัยนั้น กราบทูลเชิญ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระมารดา เสด็จขึ้นครองราชย์แทนเจ้าฟ้ามกุฎ(รัชกาลที่4) จึงทรงออกผนวชเป็นเณรน้อยตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ณ วัดมหาธาตุใกล้บรมมหาราชวัง ครั้นเมื่อเข้ามาศึกษาก็ทรงร่ำเรียนด้วยความแตกฉานอย่างรวดเร็ว ใน 3 ภาษาที่เป็นพื้นดังที่กล่าวข้างต้นโดยคณาจารย์ชั้นครูระดับประเทศ


            ใช้เวลาทรง เรียน 3 ปีจึงสามารถอ่านพระบาลีเข้าพระทัย ขณะทรงเป็นเณรน้อยนั้นเอง ทรงศึกษาปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง จวบจนกระทั้งพระชันษาครบบวช จึงทรงผนวชเป็นภิกษุสงฆ์และย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่ วัดราชาธิวาส เพื่อให้เหมาะแก่การปฏิบัติเพราะวัดราชาในสมัยนั้นมีสภาพเป็นวัดป่า ในขณะนั้นเองทรงมีพระดำริว่า ทำไมพระสงฆ์ในขณะนั้นจึงประพฤติหรือมีความเป็นอยู่ไม่เหมือนในพระไตรปิฎก(ใน สมัยนั้นพระยังไม่จับหรือรับเงิน ทอง ความประพฤติจึงเป็นเรื่อง อื่นๆ) และทรงเริ่มหาภิกษุที่จะให้ความชัดเจนในเรื่องนี้โดยทั่วแคว้น มีโอกาสก็ออกจาริกไปเพื่อดูความเป็นอยู่ของพระในถิ่นไกลๆ

            ซึ่งในสมัยนั้นการเดินทางเต็มไปด้วยภยันตราย นานาประการ โดยการนั้นทรงพบสมบัติคู่แผ่นดิน เช่น หลักศิลาจารึก พระพุทธรูปองค์สำคัญของประเทศหลายๆ องค์ องค์พระปฐมเจดีย์ และทรงตั้งปณิธาน อธิษฐานจิตว่า จักต้องหาให้พบหมู่สงฆ์หมู่ใดที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบศึกษาลงลึกถึงศีลละเอียดรวมทั้งธุดงควัตร 13(ข้อวัตรเด็ดขาด13ข้อเพื่อการบรรลุธรรม) จากการที่ทรงหาหมู่สงฆ์อยู่นั้นพระองค์ทรงผนวชซ้ำ(ทัฬหีกรรม; บวชซ้ำเพื่อทำให้มั่นใจ)อยู่ 4 ครั้ง จนกระทั้งมีพรรษาใกล้ 10 โปรดให้มีการขุดลูกนิมิต แห่งวัดราชาขึ้นมาดูว่าผูกถูกต้องตามพุทธพจน์หรือไม่


            การทรงพิสูจน์ เพื่อคงไว้ซึ่งความบริสุทธิแห่งพุทธดำรัสในครั้งนั้น ปรากฏผลว่าอุโบสถนั้นผูกนิมิตไม่สมบูรณ์ซึ่ง วิธีบวชตามพุทธานุญาติที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก ซึ่งบันทึกไว้ชัดเจนว่าการบวชนั้นๆ ไม่สมบูรณ์ จึงทัฬหีกรรมอีกครั้งกับคณะสงฆ์เชื้อสายมอญ ณ อุโบสถกลางน้ำที่จัดทำเพื่อการนี้โดยเฉพาะ(ถือว่าเป็นอุโบสถที่บริสุทธิ์ ที่สุด) หน้าท่าน้ำเจ้าพระยาวัดราชาธิวาสนั้นเอง จากนั้นจึงเห็นว่าการจะอยู่วัดราชาต่อแล้วปฏิบัติที่แตกต่างจากพระยุคนั้น จะเป็นการไม่สะดวกแก่การประพฤติ


            อีกทั้งพระเถระ(10พรรษาขึ้น)มหาเถระ(20พรรษาขึ้น)ในวัด ที่พรรษามากกว่าพระองค์ก็มาก จึงมีพระดำริหาอารามเพื่อศึกษาตามแนวที่พระองค์ศึกษามาจากพระไตรปิฎก จึงทรงย้ายมาวัดรังสีบริเวณบางลำพู แล้วทรงตั้งชื่อใหม่ว่า วัดบวรนิเวศวิหาร อันมีความหมายว่า ที่พักของวังหน้า(ชั้นยศรองจากพระเจ้าแผ่นดิน) เมื่อเสด็จมาประทับจำพรรษาที่วัดบวรนิเวศได้มีคณะสงฆ์ที่ติดตามมาด้วยความ เลื่อมใสในแนวทางพร้อมกับ ราชนิกุล ข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ตามมาผนวชกับพระองค์โดยพระองค์ทรงเป็นองค์อุปัชฌาย์ ให้ด้วยพระองค์เองและทรงนำประพฤติปฏิบัติ โดยทรงขนานนามคณะสงฆ์นี้ว่าคณะธรรมยุติ


            ธรรมยุติในความหมายดั่งเดิม มีความหมายว่าคณะที่ใช้ธรรมเป็นข้อยุติ มีจุดประสงค์เพื่อปฏิบัติตามแนวพระไตรปิฎกที่สืบต่อกันมาตามสาย พุทธวงศ์นิกายเถรวาทที่มีเจตนาไม่เปลี่ยนคำสอนเดิม ซึ่งเป็นการขัดแย้งอย่างรุนแรงในสมัยนั้นจะด้วยการไม่ได้ศึกษาประวัติกำเนิด เถระวาทหรืออย่างไรไม่ทราบพระในสมัยนั้นส่วนใหญ่จึงเห็นว่าพระธรรมวินัยใน สมัยนั้นไม่สามารถปฏิบัติตามได้ บางเหล่าบางบุคคลที่ศึกษาน้อยยังกล่าวว่าพระองค์ทำสังฆเภทหรือการยุยงให้ สงฆ์แตกกัน แต่ด้วยความที่เป็นหน่อเนื้อเชื้อกษัตริย์และทรงกระทำด้วยความรู้จริง เหตุการณ์จึงไม่รุนแรงมากนักจะเห็นได้ว่าพระองค์ไม่มีเจตนาในการแยกนิกาย สงฆ์


            นับจากทรงครองวัดบวรนิเวศวิหารพระองค์ผลิตบุคคลากร ทางพระศาสนามากมายโดยทรงให้พระภิกษุที่บวชโดยพระองค์เมื่อมีพรรษามากขึ้น ก็ทรงให้ครองวัดอื่นโดยรอบและพร้อมกันนั้นทรงโปรดให้สร้างวัดขึ้นอีกหลายวัด พระองค์ทรงเห็นว่าการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่จะสืบต่อพระศาสนา เพราะหากมีผู้รู้หนังสือมากก็จะสามารถเรียนรู้หรือถ่ายทอดตามคำพุทธพจน์ได้ สะดวกและตรงแนวทางขึ้น จึงทรงโปรดให้มีการเรียนสอนหนังสือในวัดขึ้น ซึ่งจัดว่าเป็นระบบการศึกษาครั้งแรกในประเทศและยังมีงานอื่นอีกมากที่ทรง ประทานแก่ประเทศชาติและพระศาสนาจวบจนสิ้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงได้รับการอาราธนาให้ลาสิกขาบทเพื่อขึ้นครองราชย์ โดยมีภิกษุพรรษา 27 พระชนมายุ 47 พรรษา


             หลังจากขึ้นครองราชย์พระองค์ได้ทรงสืบสานงานเก่าขณะทรงผนวชโดยเฉพาะเรื่อง การศึกษา ทรงให้กำเนิดโรงเรียนในราชสำนัก ทรงให้มีการเรียนสอนภาษาอังกฤษ แก่บรรดาเจ้าฟ้า และขุนนางชั้นผู้ใหญ่ เพื่อประโยชน์ในการเจรจาบ้านเมือง โดยเฉพาะการวางแผนหาทางออกเรื่องการกำหนดท่าที่ต่อการล่าอาณานิคมของประเทศ ทรงอำนาจ ซึ่งเป็นอันตรายใหญ่ในการรักษาพระพุทธธรรม และแผนในการกระจายการศึกษาออกไปทั่วประเทศในนามคณะสงฆ์ไทย พร้อมกับเริ่มแปลงอักษรขอมในพระไตรปิฎกให้เป็นอักษรไทย(แล้วเสร็จในรัชสมัย รัชกาลที่ 5) จึงทำให้การเรียนรู้พระธรรมคำสอนสะดวกขึ้น หลักจากพระไตรปิฎกชุดนี้ออกไปทั่วประเทศ 1000 ชุด เมล็ดพันธุ์แห่งผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบจึงเริ่มกำเนิดขึ้น


            ลุถึงในปี พ.ศ.2413ได้เกิดบุคคลที่มีคุณูปการต่อพระสัทธรรมขึ้น คือหลวงปู่มั่น เมื่อถึงอายุครบบวช องค์ท่าน ได้ออกบวชราวปีพ.ศ.2433 และเป็นผลผลิตเอกอุชัดเจนในแนวทางเถระวาทที่แน่วแน่ในการประพฤติ พรหมจรรย์ ทั้งสิกขาบทและธุดงควัตร กล่าวคือเพียบพร้อมทั้ง ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ จัดเป็นผลผลิตโดยตรงของในหลวงรัชกาลที่4 ทั้งในแง่ของพระไตรปิฎกทีศึกษาเข้าใจง่ายขึ้น และสายสืบวงศ์การบวชจากพระองค์โดยตรง เป็นแม่ทัพธรรมในยุคปัจจุบันอย่างแท้จริง ในขณะที่องค์ท่านไม่ได้เป่าประกาศให้เผยแผ่พระศาสนาเยอะๆมากๆนานนนๆ แต่หากองค์ท่านทำที่ตนพระองค์เองก่อน


            เมื่อพร้อมแล้วจึงสงเคราะห์หมู่สงฆ์ ตามธรรมและวินัยอันเป็นการเผยแผ่พระสัทธรรมอย่างแท้จริงการศึกษาพระไตรปิฎก ในปัจจุบันนี้ เริ่มจากการแปลออกเป็นภาษาไทยความหมายไทยฉบับสมบูรณ์เมื่อประมาณ 50 กว่าปีมานี้ ปัจจุบันนี้ พ.ศ.2549 พระไตรปิฎกมีการแปลออกเป็นภาษาไทยแล้ว การศึกษาง่ายกว่าสมัยก่อนมาก อีกทั้งระบบการค้นหาก็สะดวกคล่องตัวมากจะขาดแคลนก็แต่บุคคลที่ศึกษาและ ปฏิบัติตามเท่านั้นที่ดูแล้วน่าจะเพิ่มมากขึ้นมากกว่านี้และเป็นกำลังให้พระ ศาสนาต่อไปและช่วยกันลดจำนวนอลัชชีในพระศาสนาให้ลดลงโดยให้ความสำคัญเชิง คุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณ


            การศึกษาพระสัทธรรมคำสอนนั้น หากเราท่านทั้งหลาย ทราบถึงความเป็นไปโดยรวมของการพัฒนาและดำรงอยู่ของพระสัทธรรมแล้ว จะทำให้ทราบตำแหน่งแห่งที่ของหนทางดำเนินในแนวพุทธว่ามีการปฎิรูปไปในทิศทาง ใดบ้าง พร้อมกับเห็นคุณค่าของสิ่งมีคุณค่าสูงสุดที่ชาวไทยทั้งหลายมีอยู่ คือการดำรงไว้ซึ่งความบริสุทธิ์ของพระสัทธรรมและเหล่าบริสุทธิสงฆ์ อันไม่สามารถหาได้อีกแล้วจากสถานที่อื่นในสากลจักรวาล และเมื่อทราบภาพโดยกว้าง โดยภาพรวมแล้ว จึงสามารถศึกษาเจาะลงให้ชัด, ตรงในคำสอนอันบริสุทธิ์ต่อไป


            จากการที่หลายท่านได้อ่านบทความนี้ คงได้ประโยชน์จากเจตจำนงค์ดังกล่าวนั้น และเป็นการไม่ยากที่จะเขียนให้สั้น ๆ สรุป ๆ หากแต่ประโยชน์อันพึงได้รับจากการอ่านคงเฉพาะผู้ที่ได้ศึกษาแล้ว หรือผู้ที่คิดว่ารู้แล้วเท่านั้น ซึ่งจากการที่ได้พรรณนามานี้ก็หวังว่าท่านผู้อ่านจะทราบถึงที่ไปที่มาของ เรื่องราวความเป็นมาของการรักษาไว้ซึ่งพระสัทธรรมบริสุทธิ์ในยุคต่างๆเพื่อจะได้นำ ไปเป็นส่วนประกอบในการศึกษาพระสัทธรรมให้ยิ่งขึ้นไปและพร้อมกันนั้นแสดงให้ เห็นมูลเหตุ ของจุดผกผันของพระศาสนาในยุคต่างๆเพื่อให้ทราบถึงตำแหน่งที่ยืนในพระศาสนา ว่าเราท่านทั้งหลายอยู่ตรงส่วนใดของพระศาสนาเพื่อประโยชน์ในการกำหนดท่าที ว่าการเป็นชาวพุทธของเราท่านทั้งหลายนั้นชัดเจนเพียงใดและมีทางออกของพุทธ ศาสนิกชนร่วมกันคิดร่วมกันสร้างความสามัคคีของชนในชาติอย่างไรโดยไม่ให้ กระทบต่อการทรงไว้ซึ่งแนวทางการศึกษาตามพระไตรปิฎกฉบับเถระวาทซึ่งเป็นเบ้า หลอมวัฒนธรรมของชนในชาติมาอย่างยาวนาน


บทที่ 1 จบ



                                                




 

Create Date : 13 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 3 ธันวาคม 2553 18:19:04 น.
Counter : 1151 Pageviews.  

บทที่ 2 กรรมของชาวไทยปัจจุบันและวิธีแก้ไข

             หากมีคนตั้งคำถามว่า "กรรมอะไรหนอ ชาวไทยถึงได้พบกับความวุ่นวายอย่างนี้ " ตอบ กรรมเกิดจากเรื่องเงินที่ได้มาโดยมิชอบผลกรรมก็ต้องชดใช้ด้วยการอึดอัด จากการกระทำอันมิชอบที่มีที่มากับเรื่องเงิน และความเข้าใจผิดในส่วนของสภาวะโพธิสัตว์ โดยรับความโน้มเอียงจากนิกายมหายานฝังรากลงในจิตวิญญาณแทนที่เถรวาทอันมีจุดยืน คือการไม่เปลี่ยนแปลงพุทธบัญญัติ และกลายพันธุ์เป็น กายเป็นเถรวาท แต่พฤติกรรมเป็นมหายานส่งผลให้เกิดการกร่อนพุทธดำรัสซึ่งเป็นบาปกรรมไม่เล็กน้อย

            ปัญหาในแง่ จริยธรรมเนี่ยล่ะครับเป็นรากปัญหา มากกว่า 60 % ของชายไทยที่เคยบวช และก็ยังงงอยู่ว่าสอนให้ถือศีลแต่ทำไมยังรับเงินได้ มันได้แทรกลงไปในจิตใต้สำนึกว่ามีความชอบธรรมซ่อนอยู่ใน จริยธรรมอันบิดงอ หรือมีจริยธรรมจากปากแต่สามารถทำได้โดยสกปรกมันจึงเป็นบ่อเกิดปัญหาทั้งมวล สมัยที่ข้าพเจ้าเรียนรัฐศาสตร์ สรุปการแก้ปัญหาบ้านเมืองอยู่ที่ การศึกษา เพื่อให้ประชาชน เข้าใจระบบประชาธิปไตยเพื่อลดบทบาทและ/หรือทำความเข้าใจที่ถูกควร ของระบบอุปถัมภ์อันนำมาซึ่งการซื้อเสียง แต่ไม่ใช่เท่านั้นยังต้องปลูกจิตสำนึกให้เห็นคุณค่าจริยธรรม ซึ่งตรงนี้ชัดเจนว่าทำไม่ได้ครับ เพราะ ตราบใดที่พระไทยส่วนใหญ่ยังรับเงินและยังไม่ปฏิบัติตามศีล 150 ข้อหลัก ชาวบ้านไม่สนหรอกครับในจิตใต้สำนึกเพราะผู้นำทางจิตวิญญาณหรือพระเอง ตอบโจทย์ข้อนี้เป็นนัยๆ อยู่แล้วดังกล่าว แม้เณรน้อยพระก็ว่ากล่าวไม่ได้...จึงสรุปลงมาที่การไม่กล่าวว่าใครเป็นสิ่งดีมันจึงกลับตาลปัตรไปกันใหญ่ของสังคมไทย


            อีกประเด็นของการความเบี่ยงเบน ของชนในชาติ คือ จิตบุคคลที่รับเอาสัทธรรมปฏิรูป มีอาการของการปรารถนาสภาพโพธิสัตว์ ซึ่งในสมัยที่พระพุทธองค์ ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ นั้น แม้เหล่ามดแมลงก็ ปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งต้องยอมรับในที่นี้ว่าความหลงนั้นเองที่ชักนำให้มีความคิดเช่นนั้น เพราะความหลงนั้นแหละที่ทำจิตติดสังสารวัฏ และในสมัยปัจจุบันบุคคลที่หลงดีอย่างสุดๆ ติดในดีสุด ก็อาจเกิดสภาพนี้ คือปรารถนาความเป็นโพธิสัตว์ซึ่งไม่ใช่คำสอนพุทธเจ้า เหตุเพราะธรรมเหล่านั้นเป็นใบไม้นอกกำมือที่พระองค์ทรงตรัส ฉะนั้น ยุคนี้คือยุคถิ่นกาขาว คือยุคที่ พระโพธิสัตว์มากเหลือหลาย แต่จะมีสักกี่ดวงล่ะที่เป็นปรารถนามาอย่างแน่วแน่ และพอจะมีทางออก สังคมไทยยกเอา ท่านเทวทัตต์ ออกมาเป็นสัญลักษณ์ของความหยาบช้า อย่าลืมว่า ท่านเทวทัตต์คือ ปัจเจกโพธิสัตว์พยากรณ์ หมายถึงท่านขึ้นจากอเวจีและจะตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเมื่อใกล้สิ้นกัป ทางมีอยู่แล้วไม่เดินมัวหลงเข้าป่าเข้าพงลังแต่จะนำพาให้กร่อนพุทธดำรัสวินัยบัญญัติมากขึ้นทุกวัน...


            จากเหตุดังกล่าวส่งผลให้เกิด สภาพการเบี่ยงเบนของบุคคลากรในพุทธศาสนา คือเกิดการประนอมแม้ วินัย คำสอนของพระพุทธองค์ เพื่อความสะดวกในการขนคนได้มากได้เยอะ รับเงิน รับทองโดยผิดวิธี เพื่อบำรุงพระศาสนา...!สิ่งเหล่านี้แหละที่เป็นขุยไผ่ทำลายต้นไผ่เอง

             หากจะกล่าวถึงความเบี่ยงเบนนี้ก็ต้องยกเอาความเบี่ยงเบนที่เห็นชัดที่สุดคือเรื่องเงิน หากมีคนตั้งคำถามว่าถวายเงินให้พระบาปไหม?

            ตอบว่า เป็น ส่วนผสมบุญและบาป บุญเกิดจากจิตที่ได้สละ บาปเกิดจากความปัญญาน้อยนำมาซึ่งโมหะวิบาก และวิบากในส่วนการสนับสนุนให้เกิดการกร่อนพุทธดำรัส

            ทางแก้ ศึกษาให้ออกว่าควรทำอย่างไร ? ให้ถูกต้อง...วิธีการที่จะถวายเงินที่ถูกต้องมีอยู่ และก็อย่าไปโฆษณาว่า "อย่าถวายเงินพระ" แต่หากต้องถวายให้ถูกต้องตามพุทธดำรัส ประโยชน์จะเกิดมหาศาลทั้งประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน,เพื่อประโยชน์ทางโลกและธรรมนี่การทำบุญของผู้มีปัญญา

            ข้อควรพิจารณา เงินก็เงินอย่าไปเรียกปัจจัยคนละเรื่อง ปัจจัยนั้นมีแค่ปัจจัย 4 เท่านั้น แต่ที่ใช้กันทุกวันนี้เพราะต้องการหาช่องทางถูกต้องให้กับความสบายใจโง่ๆเป็นความมักง่ายของผู้รับและผู้ให้


            มีเรื่องเล่าให้ฟังเรื่องหนึ่ง พระรูปหนึ่งบิณฑบาต โยมสตรีท่านหนึ่งก็ถวายบาตร และก็ยืนซองให้ ท่านก็ปฏิเสธการรับอันเป็นไปตามพระไตรปิฎกว่าต้องปฏิเสธการรับ แต่โยมก็ยังดึงดันที่จะถวาย พระท่านจึงกล่าวว่า ให้ตามเข้าไปในวัดแล้วจึงเดินจากมาในขณะที่พระที่มาจากวัดอื่นเกือบจะวิ่ง เข้า รับบาตร และกล่าวอีกว่าออเห็นเป็นเงิน 20/100 ละซิถึงไม่รับถ้าเป็นเงิน10,000/100,000--คงไม่ปฏิเสธ

            วันต่อมาพระองค์เดิมก็ ท่านบิณฑบาตตามปกติ โยมท่านนี้ก็หาทางแก้ใหม่โดยใช้ถุงสีทึบใส่อาหารและใส่เงินไว้ในถุงอาหารที่ ผนึกผูกไว้ ท่านเห็นดังนั้นจึงไม่รับบาตร และเดินเลี่ยง ถึงวัดจึงกล่าวกับลูกศิษย์ว่าอีกหน่อยคงใส่แบงก์ปั่นผสมข้าวให้พระฉันแน่แล้วยิ้มๆ

            บางท่านที่ชอบกล่าวว่าโลกสมัยนี้มันเปลี่ยนไปแล้วพระต้องใช้เงิน--เดินทางจะทำอย่างไร-เจ็บป่วยจะทำอย่างไร? โปรดศึกษาใหม่อย่าเป็นพุทธแต่ในทะเบียนบ้าน เงินไม่ใช่พึ่งมี การใช่เงินไม่ใช่พึ่งมี การเดินทางโดยใช้เงินมีมานานแล้ว การใช้เงินรักษาการเจ็บป่วยมีมานานแล้วและสำคัญที่สุดพระพุทธองค์บอกไว้ชัด ในการดำรงเพศบรรพชิตว่าคืออะไร ให้ทำอะไรอย่างไร โดยชัดเจนในพระวินัยปิฎก อันเป็นพุทธกิจของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ต้องทำคือบัญญัติพระวินัย และสามารถใช้ได้จนหมดพระศาสนา

            อนึ่งคำเขียนเรื่องกรรมของบ้านเมือง นี้ข้าพเจ้าไม่ได้ หมายเอาเฉพาะว่า เป็นความผิดของใครฝ่ายเดียวฝ่ายหนึ่ง แต่หากกรรมมันเกิดเป็นวงจรที่ไม่สามารถบอกเบื้องต้นเบื้องปลายที่แน่นอน อีกทั้งเพราะมันมีอนุวงจรซ้อนกันอยู่อีก อันนี้เป็นไปตามหลักพิจารณาปัญหาที่ซับซ้อนมากๆเพื่อที่จะหาแนวทางแก้ไข สมดังที่พระพุทธองค์แสดงเป็นตัวอย่างไว้แล้วในปฏิจจมุปบาท จึงสรุปลงถ้าจะแก้ต้องแก้ที่สาเหตุอันจะกล่าวในเบื้องหน้าตามแผนภูมิต่อไปนี้


Photobucket





อ่านต่อ -หลักธรรมที่ใช้ในการพิจารณาแนวทางแก้ไข คลิ๊ก...



                                                




 

Create Date : 13 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2554 11:00:59 น.
Counter : 2092 Pageviews.  

-หลักธรรมที่ใช้ในการพิจารณาแนวทางแก้ไข

หลักธรรมที่ใช้ในการพิจารณาแนวทางแก้ไข
1.กรรม 12 หมวดที่ 3 ในส่วนของลำดับความแรงในการให้ผลกรรม
2.บุญกริยาวัตถุ 10

กรรม 12 หมวดที่ 3 ว่าโดยปากทานปริยาย คือ จำแนกตามความยักเยื้องหรือลำดับความแรงในการให้ผล (classification according to the order of ripening)
9. ครุกกรรม (กรรมหนัก ให้ผลก่อน ได้แก่ สมาบัติ 8 หรือ อนันตริยกรรม ; weighty kamma)
10. พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม (กรรมทำมากหรือกรรมชิน ให้ผลรองจากครุกกรรม ; habitual kamma)
11. อาสันนกรรม (กรรมจวนเจียน หรือกรรมใกล้ตาย คือกรรมทำเมื่อจวนจะตาย จับใจอยู่ใหม่ๆ ถ้าไม่มี 2 ข้อก่อน ก็จะให้ผลก่อนอื่น ; death threshold kamma; proximate kamma)
12. กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม (กรรมสักว่าทำ, กรรมที่ทำไว้ด้วยเจตนาอันอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้นโดยตรง ต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผลแล้วกรรมนี้จึงจะให้ผล ; reserve kamma; casual act)}*๑

           หากเราวิเคราะห์จากหลักกรรมที่จำแนกลำดับตามความแรงของการให้ ผลแล้ว โดยมีหลักของเวลาในการส่งผลดังนี้ จะเห็นได้ว่า กรรมบ้านเมือง ณ วันนี้เกิดจากพหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม (กรรมทำมากหรือกรรมชิน) เพราะคงไม่ใช่กรรมตัวที่เหลือเช่น ครุกรรมเพราะเป็นไปไม่ได้ว่า ชนในชาติตอนนี้ทั้งหมดร่วมทำครุกรรมกันมา ฉะนั้นเมื่อเราวิเคราะห์ได้ดังนี้ เราสามารถมีแนวทางแก้ไข 2 กรณี คือ
1.ผลิตฌานสมาบัติเพื่อเติมกุศล (ถ้ามี) เพราะเป็นครุกรรมซึ่งผลคือ ผลกรรมหรือวิบากกรรมจะแสดงผลก่อนกรรมชนิดอื่นตามหลักกรรมข้อ 9 ครุกกรรม (กรรมหนัก ให้ผลก่อน ได้แก่ สมาบัติ 8 หรือ อนันตริยกรรม
2.ถ้าข้อ 1 ทำไม่ได้ ก็ต้องทำกรรมย้อนเกล็ดเหตุเดิมที่ทำไว้ คือทำกรรมที่มีขนาดเดียวกันคือเป็นพหุลกรรมเข้าไปแทนที่ ผลที่กำลังจะเกิดให้ต้านทานกันไว้ก่อน ตามหลักของกรรมดังกล่าว


           อันการทำบุญนั้นมี 10 แบบวิธี เรียกภาษาธรรมว่า บุญกริยาวัตถุ 10 ประกอบด้วย


           {๑. ให้ทาน แบ่ง ปันผู้อื่นด้วยสิ่งของ ไม่ว่าจะให้ใครก็เป็นบุญ (ทานมัย) การให้ทานเป็นการช่วยขัดเกลาความเห็นแก่ตัว ความคับแคน ความตระหนี่ถี่เหนียว และความติดยึดในวัตถุ นอกจากนี้สิ่งของที่เราแบ่งปันออกไปก็จะเป็นประโยชน์กับบุคคลหรือชุมชนโดย ส่วนรวม
           ๒. รักษาศีล ก็ เป็นบุญ (ศีลมัย) เป็นการฝึกฝนที่จะ ลด ละ เลิกความชั่ว ไม่ไปเบียดเบียนใคร มุ่งที่จะทำความดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่นเป็นการหล่อเลี้ยงบ่มเพาะให้เกิดความดีงามและ พัฒนาคุณภาพชีวิตไม่ให้ตกต่ำ
           ๓. เจริญภาวนา ก็ เป็นบุญ (ภาวนามัย) การภาวนาเป็นการพัฒนาจิตใจและปัญญา ทำให้จิตสงบ ไม่มีกิเลส ไม่มีเรื่องเศร้าหมอง เห็นคุณค่าสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง ผู้ที่ภาวนาอยู่เสมอย่อมเป็นหลักประกันว่า จิตจะมีความสงบ ชีวิตมีความสุข คุณภาพชีวิตดีขึ้น สูงขึ้น
           ๔. อ่อนน้อมถ่อมตน ผู้น้อย อ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็แสดงออกในความมีเมตตาต่อผู้น้อย และต่างก็อ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรมรวมถึงการให้เกียรติ ให้ความเคารพในความแตกต่างซึ่งกันและกันทั้งในความคิด ความเชื่อและวิถีปฏิบัติของบุคคลและสังคมอื่น เป็นการลดความยึดมั่นถือมั่นในความเป็นตัวตน ก็เป็นบุญ (อปจายนมัย)
           ๕. ช่วยเหลือสังคมรอบข้าง ช่วยเหลือสละแรงกาย เพื่องานส่วนรวม หรือช่วยงานเพื่อนบ้านที่ต้องการความช่วยเหลือ ก็เป็นบุญ (ไวยาวัจมัย)
           ๖. เปิดโอกาสให้คนอื่นมาร่วมทำบุญกับเรา หรือ ในการทำงานก็เปิดโอกาสให้คนอื่นมีส่วนร่วมทำ ร่วมแสดงความคิดเห็น รวมไปถึงการอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วด้วย ก็เป็นบุญ (ปัตติทานมัย)
           ๗. ยอมรับและยินดีในการทำความดี หรือทำบุญของผู้อื่น การชื่นชมยินดีหรืออนุโมทนาไม่อิจฉาหรือระแวงสงสัยในการกระทำความดีของผู้ อื่น ก็เป็นบุญ (ปัตตานุโมทนามัย)
           ๘. ฟังธรรม บ่ม เพาะสติปัญญาให้สว่างไสว ฟังธรรมะ ฟังเรื่องที่ดีมีประโยชน์ต่อสติปัญญา หรือมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตที่ดี เป็นความจริง ความดี ความงาม ก็เป็นบุญ (ธรรมสวนมัย)
           ๙. แสดงธรรม ให้ ธรรมะและข้อคิดที่ดีกับผู้อื่น แสดงธรรมนำธรรมะไปบอกกล่าว เผื่อแผ่ให้คนอื่นได้รับฟัง ให้เขาได้รู้จักวิธีการดำเนินชีวิตที่ดี เป็นเรื่องของความจริง ความดี ความงามก็เป็นบุญ (ธรรมเทศนามัย)
           ๑๐. ทำความเห็นให้ถูกต้องและเหมาะสม มี การปรับทิฏฐิ แก้ไขปรับปรุงพัฒนาความคิดเห็น ความเข้าใจให้ถูกต้องตามธรรม ให้เป็นสัมมาทัศนะอยู่เสมอ เป็นการพัฒนาปัญญาอย่างสำคัญ ถือเป็นบุญด้วยเช่นกัน (ทิฏฐุชุกรรม)}*๒


           แนวทางแก้ไขเบื้องต้น เนื่องจากข้อแรกทำไว้ผิด ข้ออื่นจึงจะบริสุทธิ์ไปไม่ได้เปรียบเหมือนกับการติดกระดุมผิดตั้งแต่เม็ด แรก ยกตัวอย่างเช่น เมื่อให้ทาน กับคณะที่ทุศีล ก็ต้องอยู่ใกล้ชิดคณะนั้นๆ รักษาศีลก็ไม่ตรง ภาวนาจึงผิดทาง อ่อนน้อมก็ผิดที่ผิดคน ช่วยเหลือก็ช่วยกันผิดๆ ชวนกันไปก็ชวนกันไปผิดๆ โมทนาก็ผิดๆ ฟังธรรมปฏิรูป แสดงธรรมก็เบี้ยวๆ ความเห็นจึงไม่มีทางถูกควรได้เลยเพราะจากที่กล่าวในเหตุของกรรมบ้านเมือง ตามกระทู้
ฉะนั้นทางแก้จึงง่ายมากคือ การทำความเห็นให้ตรง และปรับท่าทีให้เป็นผู้กำหนดรู้ว่าจะแยบคายในการให้ทานที่ถูกต้องตามพุทธ พจน์ดำรัส ฉะนั้นเมื่อทำได้ดังนี้ทาน จึงบริสุทธิ์ได้และข้อสำคัญบุญทั้ง 10 ชนิดจึงมีอันทำได้โดยปราศจากพิษ


: *๑, ๒ พจนานุกรมพุทธศาสน์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)



อ่านต่อ-แนวทางแก้ไขในภาพรวมระยะยาว คลิ๊ก...



                                                




 

Create Date : 13 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 3 ธันวาคม 2553 18:20:53 น.
Counter : 1364 Pageviews.  

-แนวทางแก้ไขในภาพรวมระยะยาว

Photobucket




แนวทางแก้ไขในภาพรวมระยะยาว


           1.ให้ความสำคัญ วินัยปิฏก อันเป็นจุดยืนของเถรวาทที่จะไม่เปลี่ยนแปลงคำสอน

           2. ประชาชนควรศึกษาอะไรควรไม่ควรกับภิกษุ และชาวพุทธต้องรู้หน้าที่ชาวพุทธคือ ๑. เรียนพระไตรปิฎก ๒.ปฏิบัติ ๓.ทำให้ เกิดผล ๔.ปรัปวาท หรือสามารถพูดอธิบาย พุทธวจนะตามเจตนารมณ์ เดิมได้

           3.ให้ความสำคัญแด่พระภิกษุสงฆ์ที่ประพฤติตามวินัย แท้ๆ


           4. ปฎิสังคยนารูป การปกครองสงฆ์อันเป็นต้นตอและรากการศึกษาไทย อันนำมาให้เห็นถึง ความเบี่ยงเบน ระหว่างจริยธรรมที่เหมาะควรอย่างแท้จริง ไม่ใช่ปากว่าตาขยิบ เปรียบดั่ง สมภารยังไม่สามารถ ว่ากล่าวตักเตือน สามเณรน้อยได้เพราะ สมภารเองหรือพระภิกษุส่วนใหญ่ของประเทศ ที่กล่าวว่าเป็นเถรวาทบริสุทธิ์ยังรับเงินอยู่ เมื่อเป็นดังนี้ก็ไม่สามารถว่าใครได้ น่าเศร้าใจ


           วิเคราะห์วาระกรรมใหม่ในอนาคต มหาวิทยาลัยสงฆ์ขยายการศึกษาในทางโลกให้พระมีวุฒิการศึกษา ตรี โท เอก เรียนรวมกับฆราวาสทั้งผู้หญิงผู้ชาย กรรมจะตามมาคือวันหนึ่ง พระภิกษุจะขอเข้าไปนั่งในสภาอันทรงเกียรติ์บ้างเพื่อจริยธรรมจะได้เกิดทาง การเมือง...พุทธศาสนิกชนเลือกเอาจะสร้างกรรมแบบใดอยู่ที่ท่านเอง
ความคิดที่ ภิกษุเหล่านั้นจะเข้าไปเล่นการเมืองก็คือ การต้องการรักษาพระพุทธศาสนาไว้ให้ยืนนานและต้องการให้เป็นที่ขยายขจายพุทธ ศาสนาให้ แพร่หลายเป็นวงกว้างของประชาชนชาวโลก ความคิดเหล่านี้เป็นความคิดที่ดี แต่ทว่า มันไม่ใช่พุทธประสงค์ การจะเผยแพร่ศาสนานั้นต่างจาก การเผยแผ่พระสัทธรรม คนละเรื่อง เผยแพร่ นั้นมันเกิดจากผู้หวังดีแต่ผิดหลัก เหตุเพราะเผยแพร่มันไม่ต่างจากแพร่เชื้อไปในตัว ในความจริง พระผู้มีพระภาคให้ภิกษุเรียนรู้ธรรมวินัย ปฏิบัติให้เห็นผลก่อน จึงเผยแผ่และการเผยแผ่นั้น ก็ไม่ได้เน้นเรื่องปริมาณ อีกข้อหนึ่งคือการที่ท่านศึกษาปฏิบัติในธรรมอริยะวินัย นี้แหละเป็นการเผยแผ่พระสัทธรรมไปในตัวอยู่แล้ว ไม่เห็นต้องเน้นปริมาณเข้าไปเป็นฝ่ายนิติบัญญัติหรือบริหารประเทศ เหล่านี้จึงเป็นความคิดดีและหวังดีที่มืดบอด



บทที่ 2 จบ


อ่านต่อคลิ๊ก...บทที่ 3 สิ่งที่ชาวพุทธแท้ต้องแสวงหาและวิธีปฏิบัติเมื่อพบ/มีแล้ว


                                                




 

Create Date : 13 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 3 ธันวาคม 2553 18:21:42 น.
Counter : 1244 Pageviews.  

บทที่ 3 สิ่งที่ชาวพุทธแท้ต้องแสวงหาและวิธีปฏิบัติเมื่อพบ/มีแล้ว

ปรโตโฆสะ+โยนิโสมนสิการ จากกัลยาณมิตร พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า เป็นจุดเริ่มต้นและที่สุดแห่งพรหมจรรย์

            กัลยาณมิตร คือ เพื่อน ผู้ร่วมธุระร่วมกิจร่วมการหรือร่วมอยู่ในสภาพอย่างเดียวกัน, ผู้ชอบพอรักใคร่คบหากัน, ใน ทางธรรม เนื้อแท้ของความเป็นเพื่อน อยู่ที่ความมีใจหวังดีปรารถนาดีต่อกัน กล่าวคือ เมตตา หรือไมตรี เพื่อนที่มีคุณสมบัติเช่นนี้ เรียกว่า มิตร การ คบเพื่อนเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง ที่จะนำชีวิตไปสู่ความเสื่อมความพินาศ หรือสู่ความเจริญงอกงาม พึงหลีกเลี่ยงมิตรเทียมและเลือกคบหาคนที่เป็นมิตรแท้ ดู มิตตปฏิรูป, มิตรแท้

             บุคคลที่ช่วยชี้แนะแนวทาง ชักจูงตลอดจนแนะนำสั่งสอน ชักนำผู้อื่นให้ดำเนินชีวิตที่ดีงาม ให้ประสบผลดีและความสุข ให้เจริญก้าวหน้า ให้พัฒนาในธรรม แม้จะเป็นบุคคลเสมอกัน หรือเป็นมารดาบิดาครูอาจารย์ ตลอดทั้งพระสงฆ์ จนถึงพระพุทธเจ้า ก็นับว่าเป็นเพื่อน แต่เป็นเพื่อนใจดี หรือเพื่อนมีธรรม เรียกว่า กัลยาณมิตรแปลว่า มิตรดีงาม

กัลยาณมิตรมีคุณสมบัติที่เรียกว่า กัลยาณมิตรธรรม หรือธรรมของกัลยาณมิตร ๗ ประการ คือ
๑. ปิโย น่ารัก ด้วยมีเมตตา เป็นที่สบายจิตสนิทใจ ชวนให้อยากเข้าไปหา
๒. ครุ น่าเคารพ ด้วยความประพฤติหนักแน่น เป็นที่พึงอาศัยได้ ให้รู้สึกอบอุ่นใจ
๓. ภาวนีโย น่าเจริญใจ ด้วยความเป็นผู้ฝึกฝนปรับปรุงตน ควรเอาอย่าง ให้ระลึกและเอ่ยอ้างด้วยซาบซึ้งภูมิใจ
๔. วัตตา รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงแนะนำ เป็นที่ปรึกษาที่ดี
๕. วจนักขโม อดทนต่อถ้อยคำ พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษาซักถาม ตลอดจนคำเสนอแนะวิพากษ์วิจารณ์
๖. คัมภีรัญจะ กถัง กัตตา แถลงเรื่องล้ำลึกได้ สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจและสอนให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป
๗. โน จัฏฐาเน นิโยชเย ไม่ชักนำในอฐาน คือ ไม่ชักจูงไปในทางเสื่อมเสียหรือเรื่องเหลวไหลไม่สมควร*๑

            {สมัย หนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวศักยะชื่อสักระ ในแคว้นสักกะของชาวศากยะทั้งหลาย ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นกึ่งหนึ่งแห่งพรหมจรรย์เทียวนะ พระเจ้าข้า".
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "ดูกรอานนท์ เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น ก็ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียวดูกร อานนท์ อันภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคประกอบ ด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘." } *๒

            มิตรแท้ มิตรด้วยใจจริง มี ๔ พวก ได้แก่

๑. มิตรอุปการะ มีลักษณะ ๔ คือ
๑. เพื่อนประมาท ช่วยรักษาเพื่อน
๒. เพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์ของเพื่อน
๓. เมื่อมีภัย เป็นที่พึ่งพำนักได้
๔. มีกิจจำเป็น ช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก

๒. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ มีลักษณะ ๔ คือ
๑. บอกความลับแก่เพื่อน
๒. ปิดความลับของเพื่อน
๓. มีภัยอันตรายไม่ละทิ้ง
๔. แม้ชีวิตก็สละให้ได้

๓. มิตรแนะประโยชน์ มีลักษณะ ๔ คือ
๑. จะทำชั่วเสียหายคอยห้ามปรามไว้
๒. คอยแนะนำให้ตั้งอยู่ในความดี
๓. ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ไม่เคยได้รู้ได้ฟัง
๔. บอกทางสุขทางสวรรค์ให้

๔. มิตรมีน้ำใจ มีลักษณะ ๔ คือ
๑. เพื่อนมีทุกข์ พลอยทุกข์ด้วย
๒. เพื่อนมีสุข พลอยดีใจ
๓. เขาติเตียนเพื่อน ช่วยยับยั้งแก้ให้
๔. เขาสรรเสริญเพื่อน ช่วยพูดเสริมสนับสนุน


            (อนึ่ง กัลญาณมิตรนั้นรวมถึงพระพุทธองค์, อริยสาวกสังโฆ, กัลยาณปุถุชน, ผู้ทรงไตรปิฎก, ผู้ทรงทวิปิฎก, ผู้รู้หนึ่งปิฎกบุคคลเหล่านี้ พระพุทธเจ้าตรัสให้เข้าไป ถามและขอกรรมฐาน...ฉะนั้นจึงต้องทราบหน้าที่ที่ควรปฏิบัติกันและกันในฐานะ ศิษย์-อาจารย์ และ/หรือบางกรณีต้องผนวกสถานะเพิ่มในส่วนของคฤหัสถ์-พระสงฆ์ด้วย")...ผู้ เขียน


คฤหัสถ์พึงบำรุงพระสงฆ์ ดังนี้
๑. จะทำสิ่งใดก็ทำด้วยเมตตา
๒. จะพูดสิ่งใดก็พูดด้วยเมตตา
๓. จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา
๔. ต้อนรับด้วยความเต็มใจ
๕. อุปถัมภ์ด้วยปัจจัย ๔

พระสงฆ์อนุเคราะห์คฤหัสถ์ ดังนี้
๑. ห้ามปรามจากความชั่ว
๒. ให้ตั้งอยู่ในความดี
๓. อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี
๔. ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๕. ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง
๖. บอกทางสวรรค์ สอนวิธีดำเนินชีวิตให้ประสบความสุขความเจริญ

ครูอาจารย์อนุเคราะห์ศิษย์ ดังนี้
๑. ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคนดี
๒. สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
๓. สอนศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง
๔. ยกย่องให้ปรากฏในหมู่เพื่อน
๕. สร้างเครื่องคุ้มกันภัยในสารทิศคือ สอนให้ศิษย์ปฏิบัติได้จริง นำวิชาไปเลี้ยงชีพทำการงานได้

ศิษย์พึงบำรุงครูอาจารย์ ดังนี้
๑. ลุกต้อนรับแสดงความเคารพ
๒.เข้าไปหา
๓. ใฝ่ใจเรียน
๔. ปรนนิบัติ
๕. เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ

----------------------------

            ปรโตโฆสะ แปลว่า เสียงจากผู้อื่น หมายรวมถึงคำพูด, คำแนะนำ, คำชี้แจง, คำโฆษณา,กระแสข่าว ข้อเขียน,บทความจากบุคคลหรือแหล่งข่าวต่างๆ

ปรโตโฆสะ มี 2 ประเภท คือ ที่เป็นจริง มีเหตุผล เป็นประโยชน์ ประกอบด้วยความหวังดี และที่เป็นเท็จ ไม่มีเหตุผล ไม่เป็นประโยชน์ มุ่งทำลาย

ปรโตโฆสะ เป็นวิถีทางเบื้องต้นแห่งปัญญาและสัมมาทิฐิ แต่ต้องมีโยนิโสมนสิการคอยกำกับ จึงจะสามารถรู้แยกแยะและคัดสรรเฉพาะปรโตโฆสะฝ่ายดีได้ ปรโตโฆสะที่ปราศจากโยนิโสมนสิการจะนำให้เกิดความงมงาย หูเบา เชื่อง่าย ไร้เหตุผลและมิจฉาทิฐิได้ง่าย *๓

            โยนิโสมนสิการ การทำในใจโดยแยบคาย, กระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย,การพิจารณาโดยแยบคาย คือพิจารณาเพื่อเข้าถึงความจริง โดยสืบค้นหาเหตุผลไปตามลำดับจนถึงต้นเหตุ แยกแยะองค์ประกอบ จนมองเห็นตัวสภาวะและความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย หรือตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีที่ชั่ว ยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้นโดยอุบายที่ชอบ ซึ่งจะมิให้เกิดอวิชชาและตัณหา,ความรู้จักคิด, คิดถูกวิธี *๔



อ้างอิง

(๑)*,(๔)* พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
(๒)* พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ อุปัฑฒสูตร
(๓)* พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548

บทที่ 3 จบ




                                                




 

Create Date : 13 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 8 ธันวาคม 2553 10:08:50 น.
Counter : 2319 Pageviews.  

1  2  3  4  

aero.1
Location :
นนทบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




การศึกษาทางโลก
รบ. ธรรมศาสตร์ 2536(นักศึกษาทุนภูมิพล)

การศึกษาทางธรรม
-สัทธิวิหาริก สมเด็จญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 19 พศ 2535
-พระเจ้าหน้าที่เวรดูแลพระอาการ สมเด็จญาณสังวร
-อดีตพระป่า(หนองป่าพง)
-ประธานรุ่นนักศึกษาภาคมหาบัณฑิตมหามกุฏราชวิทยาลัย 2546

.

**************************
Friends' blogs
[Add aero.1's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.