Group Blog
 
All blogs
 

76. วัดสุทธิวราราม กรุงเทพฯ

ถนนเจริญกรุง แขวงยานนาวา เขตสาธร กรุงเทพฯ

วัดสุทธิวรารามสร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีพระอุโบสถ ประดิษฐาน ณ ที่ซึ่งเป็นที่ตั้งอาคารของโรงเรียนวัดสุทธิวรารามในปัจจุบัน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2454





 

Create Date : 19 กันยายน 2556    
Last Update : 9 กรกฎาคม 2560 17:55:40 น.
Counter : 1313 Pageviews.  

77. วัดธาตุทอง กรุงเทพฯ

ตั้งอยู่ริมถนนสุขุมวิท เลขที่ ๑๓๒๕ แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร

มีเนื้อที่ ๕๔ ไร่ ๓ งาน ๘๒ ตารางวา ความเป็นมาของวัดธาตุทอง เดิมมี ๒ วัด แห่งหนึ่งชื่อวัดหน้าพระธาตุ อีกแห่งหนึ่งชื่อวัดทองล่าง วัดหน้าพระธาตุตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลคลองเตย อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ชื่อว่าวัดหน้าพระธาตุนี้ เนื่องด้วยภายในกลางบริเวณวัด มีเจดีย์ใหญ่องค์หนึ่ง ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ (ฉะนั้นเครื่องหมายของวัดธาตุทองนี้ จึงมีรูปเจดีย์ หน้าอุโบสถประตูหน้าต่างเป็นสัญลักษณ์)

ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๘๐ รัฐบาลต้องการที่ตำบลคลองเตย ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อสร้างท่าเรือกรุงเทพฯ วัดหน้าพระธาตุและวัดทองล่าง ซึ่งอยู่ภายในบริเวณนั้น จึงถูกเวนคืนทั้ง ๒ วัด โดยรัฐบาลชดใช้เงินให้เพื่อไปรวมกับวัดอื่น หรือไปสร้างวัดใหม่ขึ้นคณะกรรมการได้มาตกลงเลือกซื่อสถานที่ในปัจจุบัน โดยถือกรรมสิทธิ์เป็นที่วัดธาตุทอง เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๘๐ ส่วนที่มาของวัดทองล่างนี้เล่ากันมาว่า สถานที่ตรงนั้นเป็นสวนผลไม้ของ ปู่ ย่า ตา ยาย ของนายทอง โดยได้รับมรดกจากวงศ์สกุล นัยว่า กลางสวนนั้นมีต้นโพธิ์ใหญ๋โตมากนายทองจึงเป็นกังวลเพราะเห็นว่าต้นโพธิ์ เป็นต้นไม้ในวัดไม่สมควรจะให้อยู่ในบ้าน จะโค่นทิ้งเสียก็กลัวว่า จะเป็นอันตรายแก่ตนและครอบครัว จึงบริจาคที่ส่วนนั้น สร้างเป็นวัดเล็กๆขึ้น พอเป็นที่อยู่ของพระพอสมควรวัดนั้นยังไม่สำเร็จบริบูรณ์ดีแต่ก็ยังมีสมภารชาวรามัญรูปหนึ่งชื่อว่า "กะทอ" กะทอเป็นภาษารามัญ กะ แปลว่า ปลาตะเพียน ทอ แปลว่า ทอง กะทอ จึงแปลว่า ปลาตะเพียนทอง ส่วนชาวบ้านแถวนั้นเรียกว่า สมภารทอง สมภารกับนายทองเจ้าของวัดต่างร่วมกันทำนุบำรุงวัดจัดสร้างอุโบสถเสนาสนาราม ต่อมาท่านทั้ง ๒ เล็งถึงนิมิตหมาย ๓ ประการ คือ ๑. ที่เดิมมีต้นโพธิ์อยู่ ๒. เจ้าของที่ชื่อนายทอง ๓. สมภารชื่อทอง จึงตั้งชื่อวัดนี้ขึ้นว่า "วัดโพธิ์สุวรรณาราม" หรือวัดโพธิ์ทอง ครั้นนายทองถึงแก่กรรม นายบุตรเกิดผู้บุตร ได้ปฎิสังขรณ์วัดเป็นลำดับ มาในชั้นหลังๆวัดนี้ชาวบ้านเรียกกันว่า "วัดทอง" ภายหลังวัดทอง มีหลายแห่งตามแม่น้ำเจ้าพระยามีทั้งด้านบนและล่างจึงเพิ่มอักษรท้ายชื่อนี้ว่า "วัดทองล่าง" คู่กับวัดทองบน ที่ตั้งของวัดทองล่างนี้ อยู่ใกล้กับฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ปากคลองพระโขนง อยู่ในอาณาเขตต้องถูกเวนคืนที่ดิน ทางคณะสงฆ์จึงตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง มีพระเดชพระคุณพระมหารัชมังคลาจารย์(เทศ นิเทสสกเถร) สมัยเมื่อยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระรัชมงคลมุนี วัดสัมพันธวงศ์ เป็นประธานกรรมการและท่านเจ้าคุณพระพรหมมุนี (ผิน สุวจเถร)ครั้งยังเป็นพระเทพมุนี วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นผู้แนะนำเลือกสถานที่ดินที่สร้างวัด มีเนื้อที่ ๕๔ ไร่ ๓ งาน ๘๒ ตารางวา ราคาที่ดินไร่ละ ๕๐๐ บาท หรือวาละ ๕สลึงคณะกรรมการได้จัดการย้ายเสนาสนะถาวรวัตถุ"วัดหน้าพระธาตุและวัดทองล่าง" มาปลูกสร้างรวมกันที่ตำบลคลองบ้านกล้วย ณ สถานที่แห่งนี้ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารเป็นองค์อุปถัมภ์ และทรงนำมงคลนาม ทั้ง ๒ วัดนี้มารวมกันประทานนามใหม่ว่า "วัดธาตุทอง" ย้ายมาเมื่อปี พุทธศักราช ๒๔๘๑ปี ๒๔๘๒ จึงเริ่มมีพระภิกษุสามเณรจำพรรษาเป็นคราวแรกปี ๒๔๘๓ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาได้เริ่มก่อสร้างมาตามลำดับ จนถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งมีถาวรวัตถุ และความสำคัญแต่ละอย่าง ตามความเหมาะสมของวัด ดังต่อไปนี้วัตถุเครื่องก่อสร้าง ที่สำเร็จเป็นหลังๆ ไปนั้น เมื่อเห็นว่าตอนสำเร็จแล้วก็รู้สึกว่าหาได้ง่าย ไม่อยากลำบากอะไร แต่ความจริงแล้ว ยากลำบากที่สุด เช่น พระอุโบสถ กว่าจะผูกพัทธสีมาได้ต้องใช้เวลาถึง ๑๕ ปี ทำให้กลัวไปต่างๆนานาเพราะผู้สร้างโบสถ์ หากไม่ตายเร็ว ก็รวยเร็ว แต่ก็ไม่ตายและไม่รวย จึงต้องอาศัยเวลานาน ซึ่งต้องอดทนทุกอย่าง ที่ว่าเป็นบุญเป็นกุศล ก็คงเนื่องจากว่าทนได้นี้เอง













 

Create Date : 19 กันยายน 2556    
Last Update : 9 กรกฎาคม 2560 17:58:30 น.
Counter : 507 Pageviews.  

78. วัดพญาไม้ จ.ราชบุรี

ต.โคกหม้อ อ.เมือง จ.ราชบุรี

วัดพญาไม้ ได้รับการจัดขึ้นทะเบียนให้เป็นวัดในกรมศาสนา เมื่อพุทธศักราช 2423 เริ่มก่อสร้างขึ้นเมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏชัด แต่มีการบอกเล่าว่า เมื่อรัชสมัย รัชกาลที่ 5 มีชาวบ้านท่านหนึ่งไม่ปรากฏนาม ตั้งบ้านเรือนอยู่ทางทิศเหนือของวัด ได้เข้าไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กของพระเจ้าแผ่นดิน จึงทรงพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นเจ้าพระยา พระยาท่านนี้รู้สึกทราบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ จึงคิดจะสร้างถาวรวัตถุ เพื่อเป็นการสนองพระเดชพระคุณ และเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัว จึงได้กลับมาสร้างวัดขึ้นวัดหนึ่ง ในภูมิลำเนาเดิมที่ตนเคยอาศัยอยู่ ชาวบ้านจึงพากันเรียกวัดที่สร้างขึ้นใหม่ว่า “วัดพระยาใหม่” กาลเวลาล่วงเลยไปเป็นเวลานาน คำเรียกขานก็เพี้ยนเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย คำว่า วัดพระยาใหม่ ก็เปลี่ยนมาเป็น วัดพญาไม้ และหมู่บ้านในระแวกนั้น ก็พลอยถูกเรียกว่า บ้านพญาไม้ ไปด้วยจนถึงปัจจุบัน

หลวงพ่อตามใจ หรือ พระพุทธชัยมงคล เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางสะดุ้งมาร ศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น สูง 2 เมตร หน้าตักกว้าง 1.70 เมตร พุทธลักษณะงดงามผุดผ่องมาก โดยเฉพาะพระพักตร์ที่อิ่มเอิบ พระโอษฐ์ที่ให้ความรู้สึกว่าท่านแย้มยิ้มตลอดเวลา หลวงพ่อตามใจ ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถหลังเก่า วัดพญาไม้

ส่วนประวัติหลวงพ่อตามใจ ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าพระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นแต่เมื่อใด หรืออัญเชิญมาจากที่ไหน แม้แต่ประวัติการสร้างวัดก็ไม่ปรากฏเช่นกัน มีแต่เรื่องเล่าจากคนเก่าแก่ว่า วัดพญาไม้ เดิมมีชื่อว่า วัดพระยาใหม่ เนื่องจากประ มาณ พ.ศ.2423 มีชายหนุ่มคนหนึ่งมีถิ่นเดิมอยู่แห่งนี้ ได้ถวายตัวเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็ก และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นถึงพระยา และด้วยความกตัญญูต่อถิ่นเกิด พระยาท่านนั้นก็เลยสร้างวัดนี้ขึ้น แล้วก็ไม่รู้ว่าพระยาท่านนี้ชื่ออะไร และไม่ได้ระบุชื่อวัดไว้เสียด้วย ชาวบ้านพร้อมใจกันตั้งชื่อว่า "วัดพระยาใหม่" ก่อนจะเพี้ยนมาเป็นวัดพญาไม้ในปัจจุบัน วัดพญาไม้แห่งนี้ พบว่ามีพระพุทธชัยมงคล หรือหลวงพ่อตามใจ ประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ในพระอุโบสถ นับตั้งแต่สร้างวัดเป็นต้นมา พระอธิการอดุลย์ สุธัมโม เจ้าอาวาสวัดพญาไม้ เล่าถึงความศักดิ์สิทธิ์ของ หลวงพ่อตามใจ ว่าราวปี พ.ศ.2511 ที่พระครูโอภาสิริรัตน์ เป็นเจ้าอาวาสรูปสุดท้าย วัดพญาไม้ ขาดเจ้าอาวาสดูแลวัดเป็นเวลานาน ทำให้วัดอยู่ในสภาพทรุดโทรม โดยเฉพาะอุโบสถที่ประดิษ ฐานหลวงพ่อตามใจอายุกว่า 200 ปี กระทั่งปี พ.ศ.2549 คณะสงฆ์จังหวัดราชบุรี ได้แต่งตั้งให้พระอธิการอดุลย์ สุธัมโม มาดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส

"สภาพวัดตอนนั้นทรุดโทรมอย่างหนัก แทบจะเรียกได้ว่าเป็นวัดร้าง ไม่มีปัจจัยหรือกระทั่งสิ่งใดที่จะนำมาทำนุบำรุงวัด อย่างไรก็ตาม รู้สึกแปลกใจมาก แม้อุโบสถจะเก่าร้าง แต่หลวงพ่อตามใจที่อยู่เบื้องหน้า กลับมีองค์พระที่สุกใส สว่าง งดงาม ผุดผ่องไปด้วยทองเปลวที่ปิดทับ ทั้งที่อยู่ในความมืด อาตมาได้ก้มกราบขอพรทันที" โดยอธิษฐานว่า "ฤดูกาลกฐินที่จะมาถึง หากยังไม่มีผู้ใดมารับเป็นเจ้าภาพ ก็หมายความว่า ความตั้งใจที่จะมาดูแลฟื้นฟูคงไม่สำเร็จเป็นแน่ หากถึงวันนั้นก็คงต้องลาสิกขาบท แต่ถ้ายังพอมีบุญหลงเหลือตามที่ได้ตั้งเจตนาไว้ คงมีผู้หยิบยื่นมาให้ความร่วมมือ ให้งานลุล่วงไปด้วยดี ขอรับใช้พระพุทธศาสนาสืบไปจนชั่วชีวิต"

ปรากฏว่าภายหลังจากนั้น นายวินิจและนางสำอาง สองสามีภรรยาเข้ามาทำบุญให้ญาติที่ล่วงลับไป โยมทั้งสองได้เห็นถึงสภาพศาลาการเปรียญและอุโบสถที่ทรุดโทรมแทบพังลงมา ก็รับปากว่าจะหาคนมาเป็นเจ้าภาพกฐิน เพื่อบูรณะซ่อมแซมให้ ในที่สุด ได้มีผู้ที่เลื่อมใสศรัทธารับเป็นเจ้าภาพ ทำให้วัดพญาไม้ สามารถมีเงินทุนซ่อมแซมศาลาการเปรียญจนสำเร็จลุล่วง ท่ามกลางประชาชนที่แห่แหนเข้ามาร่วมมือสร้างบุญกันล้นหลาม

ความศักดิ์สิทธิ์ในครั้งนั้น หลวงพ่อตามใจ ถูกนำไปร่ำลือกันปากต่อปาก ชาวบ้านจึงเรียกขานนาม พระพุทธรูปแห่งวัดพญาไม้ ว่า "หลวงพ่อตามใจ" ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับหลวงพ่อตามใจ อาทิ เคยมีคนป่วยเป็นอัมพฤกษ์มานานหลายปี เรียกได้ว่าสิ้นหวังเกินจะเยียวยา แต่โชคชะตาได้พาคนผู้นั้นเข้าไปกราบหลวงพ่อตามใจ พร้อมกับอธิษฐานขอพรให้ตนหายเป็นปกติ พอกลับบ้านก็ฝันเห็นคนแก่มาบอกให้รักษาศีล ไม่กินเนื้อสัตว์แล้วจะหาย พอลองทำตามปรากฏว่า อาการอัมพฤกษ์ก็หายเป็นปกติ

เรื่องราวอัศจรรย์ที่ชาวบ้านกล่าวขานถึงความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อตามใจมีมากมาย ทำให้ชื่อเสียงขององค์หลวงพ่อขจรขจายไปไกล พุทธศาสนิกชนที่มีภูมิลำเนาจากถิ่นต่างๆ ไม่ว่าจะใกล้หรือไกล ล้วนเดินทางมา กราบขอพรอยู่เป็นประจำ หากพุทธศาสนิกชนที่มีความ ประสงค์จะเดินทางมากราบสักการะหลวงพ่อตามใจ ณ วัดพญาไม้ อยู่ ม.5 ต.โคกหม้อ อ.เมือง จ.ราชบุรี สามารถเดินทางมาตามถนนเพชรเกษม ก่อนเข้าเมืองราชบุรี จะมีถนนแยกก่อนขึ้นทางต่างระดับไปราชบุรีและเพชรบุรี ให้ใช้เส้นทางราบ เลาะไปตามถนนผ่านแยกใต้สะพานต่างระดับ ตรงไปจนผ่านหน้าห้างบิ๊กซีที่อยู่ถนนด้านซ้ายมือ เข้ามาทางด้านข้างตรงไปแค่ 100 เมตร จะถึงริมแม่น้ำแม่กลองเจอทางกลับรถ ให้ย้อนกลับมา ประมาณ 100 เมตร จะแลเห็นซุ้มประตูวัดอยู่ซ้ายมือ ให้ขับมาตามถนนประมาณ 200 เมตรเท่านั้น ก็เห็นทางเข้าวัดอยู่ด้านซ้าย วัดพญาไม้ เปิดให้สาธุชนเข้ามา กราบนมัสการหลวงพ่อตามใจได้ทุกวัน











 

Create Date : 19 กันยายน 2556    
Last Update : 9 กรกฎาคม 2560 18:00:49 น.
Counter : 1267 Pageviews.  

79. วัดอมรินทราราม (วัดตาล) จ.ราชบุรี

ตำบลโคกหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

สร้างมาแต่ครั้งใดไม่มีหลักฐานปรากฏแน่นอน ทราบจากผู้สูงอายุว่าวัดนี้ สร้างก่อนที่เมืองราชบุรีจะย้ายจากฝั่งวัดมหาธาตุวรวิหาร มาอยู่ฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำแม่กลอง คือกรมการทหารช่างในปัจจุบัน แต่พอจะประมาณได้ว่า เริ่มสร้างวัดนี้ราวปีกุล พุทธศักราช 2534 ก่อนสร้างเมืองราชบุรีใหม่เล็กน้อย โดยเจ้าพระยาวงศาสุรศักดิ์ (แสงวงศาโรจน์) ต้นตระกูลวงศาโรจน์ สมุหพระกลาโหม ในสมัยนั้นเป็นผู้สร้าง โดยท่านเจ้าพระยาผู้นี้ เป็นผู้ว่าราชการเมืองราชบุรี คนที่ 2 ยังมีบรรดาศักดิ์เป็น พระยา อมรินทรฤาชัย ในสมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 2 เมื่อสร้างแล้วคงให้ชื่อว่า วัดตาล เพราะที่วัดนี้เป็นที่ค้าขายน้ำตาล

ตามจดหมายเหตุของครูวินัยธรรม (อินท์) เขียนตามคำขอพระสมุทรมุนีว่า เดิมวัดนี้เป็นป่ารก ท่านจึงให้อุปัฏฐากแผ้วถางทำความสะอาด และเอาชื่อพระยาอมรินทรฤาชัย ต่อเป็นชื่อวัดว่า วัดตาลอมรินทร์ แต่ชาวบ้านยังคงเรียก วัดตาล ต่อมาคำว่า ตาล หายไป จึงใช้ชื่อว่า “วัดอมรินทราราม” ซึ่งเป็นวัดแรกของคณะธรรมยุต จังหวัดราชบุรี







 

Create Date : 19 กันยายน 2556    
Last Update : 9 กรกฎาคม 2560 18:02:07 น.
Counter : 1510 Pageviews.  

80. วัดช่องลม จ.ราชบุรี

ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ

หลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม อ.เมือง จ.ราชบุรี "หลวงพ่อแก่นจันทน์" เป็นพระพุทธปฏิมา ศิลปะสมัยทวารวดี ประวัติหลวงพ่อแก่นจันทน์นี้ลอยน้ำมาจาก จ.กาญจนบุรี เป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร สร้างด้วยโลหะทองคำสัมฤทธิ์ ส่วนล่างแกะสลักจากไม้จันทน์ซึ่งเป็นไม้เนื้อหอม สูงประมาณ 2.26 เมตร ประดิษฐานอยู่ที่วัดช่องลม ชาวราชบุรีเคารพนับถือมาก มีประวัติเล่าสืบทอดกันมาว่า เป็นพระพุทธรูปที่ลอยมาตามลำน้ำแม่กลองตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ชาวราชบุรีได้ร่วมใจกันอธิษฐานนำขึ้นประดิษฐานไว้สักการะเพื่อเป็นสิริมงคล

"วัดช่องลม" พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เดิมชื่อ วัดช้างล้ม ตั้งอยู่ใกล้บริเวณเมืองเก่า ริมถนนวรเดช ใจกลางเมืองราชบุรี เป็นที่ประดิษฐาน "หลวงพ่อแก่นจันทน์" พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองราชบุรี

"หลวงพ่อแก่นจันทน์" เป็นพระพุทธปฏิมา ศิลปะสมัยทวารวดี ในส่วนตั้ง แต่พระเศียรถึงพระอุระ เป็นเนื้อทองสำริด ส่วนองค์พระสร้างด้วยไม้จันทน์หอม มีความสูงตั้งแต่พระเกศมาลาถึงพระบาท 2.26 เมตร เป็นพระพุทธปฏิมาปางอุ้มบาตร โดยบาตรขององค์หลวงพ่อ เหมือนสวมอยู่ในถุงบาตรและมีสิ่งหนึ่งยาวประมาณ 2 นิ้ว ยื่นออกมาจากขอบบาตร ซึ่งติดอยู่กับปากบาตรทั้งสองข้าง ดูแล้วเหมือนม้วนผ้าที่ยื่นออกมาสำหรับจับพระหัตถ์ของหลวงพ่อแก่นจันทน์จับอยู่ที่ม้วนผ้า คล้ายสะพายบาตร ซึ่งนับว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะแปลกจากพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรทั่วไป เพราะเป็นลักษณะถือบาตร ที่ไม่มีในพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรอื่น โดยยังเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามมาก

หลวงพ่อแก่นจันทน์ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และมีบารมีธรรมที่สูงส่งยิ่ง ตามปกติมีผู้มากราบไหว้บูชาขอพร เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ส่วนใหญ่จะขอให้ช่วยปัดเป่าเหตุร้ายทุกวัน จนเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของ จ.ราชบุรี ตลอดมา









 

Create Date : 19 กันยายน 2556    
Last Update : 9 กรกฎาคม 2560 18:03:48 น.
Counter : 989 Pageviews.  

1  2  

เหมียวสินธร
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




Friends' blogs
[Add เหมียวสินธร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.