Group Blog
 
All blogs
 
77. วัดธาตุทอง กรุงเทพฯ

ตั้งอยู่ริมถนนสุขุมวิท เลขที่ ๑๓๒๕ แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร

มีเนื้อที่ ๕๔ ไร่ ๓ งาน ๘๒ ตารางวา ความเป็นมาของวัดธาตุทอง เดิมมี ๒ วัด แห่งหนึ่งชื่อวัดหน้าพระธาตุ อีกแห่งหนึ่งชื่อวัดทองล่าง วัดหน้าพระธาตุตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลคลองเตย อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ชื่อว่าวัดหน้าพระธาตุนี้ เนื่องด้วยภายในกลางบริเวณวัด มีเจดีย์ใหญ่องค์หนึ่ง ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ (ฉะนั้นเครื่องหมายของวัดธาตุทองนี้ จึงมีรูปเจดีย์ หน้าอุโบสถประตูหน้าต่างเป็นสัญลักษณ์)

ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๘๐ รัฐบาลต้องการที่ตำบลคลองเตย ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อสร้างท่าเรือกรุงเทพฯ วัดหน้าพระธาตุและวัดทองล่าง ซึ่งอยู่ภายในบริเวณนั้น จึงถูกเวนคืนทั้ง ๒ วัด โดยรัฐบาลชดใช้เงินให้เพื่อไปรวมกับวัดอื่น หรือไปสร้างวัดใหม่ขึ้นคณะกรรมการได้มาตกลงเลือกซื่อสถานที่ในปัจจุบัน โดยถือกรรมสิทธิ์เป็นที่วัดธาตุทอง เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๘๐ ส่วนที่มาของวัดทองล่างนี้เล่ากันมาว่า สถานที่ตรงนั้นเป็นสวนผลไม้ของ ปู่ ย่า ตา ยาย ของนายทอง โดยได้รับมรดกจากวงศ์สกุล นัยว่า กลางสวนนั้นมีต้นโพธิ์ใหญ๋โตมากนายทองจึงเป็นกังวลเพราะเห็นว่าต้นโพธิ์ เป็นต้นไม้ในวัดไม่สมควรจะให้อยู่ในบ้าน จะโค่นทิ้งเสียก็กลัวว่า จะเป็นอันตรายแก่ตนและครอบครัว จึงบริจาคที่ส่วนนั้น สร้างเป็นวัดเล็กๆขึ้น พอเป็นที่อยู่ของพระพอสมควรวัดนั้นยังไม่สำเร็จบริบูรณ์ดีแต่ก็ยังมีสมภารชาวรามัญรูปหนึ่งชื่อว่า "กะทอ" กะทอเป็นภาษารามัญ กะ แปลว่า ปลาตะเพียน ทอ แปลว่า ทอง กะทอ จึงแปลว่า ปลาตะเพียนทอง ส่วนชาวบ้านแถวนั้นเรียกว่า สมภารทอง สมภารกับนายทองเจ้าของวัดต่างร่วมกันทำนุบำรุงวัดจัดสร้างอุโบสถเสนาสนาราม ต่อมาท่านทั้ง ๒ เล็งถึงนิมิตหมาย ๓ ประการ คือ ๑. ที่เดิมมีต้นโพธิ์อยู่ ๒. เจ้าของที่ชื่อนายทอง ๓. สมภารชื่อทอง จึงตั้งชื่อวัดนี้ขึ้นว่า "วัดโพธิ์สุวรรณาราม" หรือวัดโพธิ์ทอง ครั้นนายทองถึงแก่กรรม นายบุตรเกิดผู้บุตร ได้ปฎิสังขรณ์วัดเป็นลำดับ มาในชั้นหลังๆวัดนี้ชาวบ้านเรียกกันว่า "วัดทอง" ภายหลังวัดทอง มีหลายแห่งตามแม่น้ำเจ้าพระยามีทั้งด้านบนและล่างจึงเพิ่มอักษรท้ายชื่อนี้ว่า "วัดทองล่าง" คู่กับวัดทองบน ที่ตั้งของวัดทองล่างนี้ อยู่ใกล้กับฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ปากคลองพระโขนง อยู่ในอาณาเขตต้องถูกเวนคืนที่ดิน ทางคณะสงฆ์จึงตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง มีพระเดชพระคุณพระมหารัชมังคลาจารย์(เทศ นิเทสสกเถร) สมัยเมื่อยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระรัชมงคลมุนี วัดสัมพันธวงศ์ เป็นประธานกรรมการและท่านเจ้าคุณพระพรหมมุนี (ผิน สุวจเถร)ครั้งยังเป็นพระเทพมุนี วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นผู้แนะนำเลือกสถานที่ดินที่สร้างวัด มีเนื้อที่ ๕๔ ไร่ ๓ งาน ๘๒ ตารางวา ราคาที่ดินไร่ละ ๕๐๐ บาท หรือวาละ ๕สลึงคณะกรรมการได้จัดการย้ายเสนาสนะถาวรวัตถุ"วัดหน้าพระธาตุและวัดทองล่าง" มาปลูกสร้างรวมกันที่ตำบลคลองบ้านกล้วย ณ สถานที่แห่งนี้ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารเป็นองค์อุปถัมภ์ และทรงนำมงคลนาม ทั้ง ๒ วัดนี้มารวมกันประทานนามใหม่ว่า "วัดธาตุทอง" ย้ายมาเมื่อปี พุทธศักราช ๒๔๘๑ปี ๒๔๘๒ จึงเริ่มมีพระภิกษุสามเณรจำพรรษาเป็นคราวแรกปี ๒๔๘๓ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาได้เริ่มก่อสร้างมาตามลำดับ จนถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งมีถาวรวัตถุ และความสำคัญแต่ละอย่าง ตามความเหมาะสมของวัด ดังต่อไปนี้วัตถุเครื่องก่อสร้าง ที่สำเร็จเป็นหลังๆ ไปนั้น เมื่อเห็นว่าตอนสำเร็จแล้วก็รู้สึกว่าหาได้ง่าย ไม่อยากลำบากอะไร แต่ความจริงแล้ว ยากลำบากที่สุด เช่น พระอุโบสถ กว่าจะผูกพัทธสีมาได้ต้องใช้เวลาถึง ๑๕ ปี ทำให้กลัวไปต่างๆนานาเพราะผู้สร้างโบสถ์ หากไม่ตายเร็ว ก็รวยเร็ว แต่ก็ไม่ตายและไม่รวย จึงต้องอาศัยเวลานาน ซึ่งต้องอดทนทุกอย่าง ที่ว่าเป็นบุญเป็นกุศล ก็คงเนื่องจากว่าทนได้นี้เอง













Create Date : 19 กันยายน 2556
Last Update : 9 กรกฎาคม 2560 17:58:30 น. 0 comments
Counter : 509 Pageviews.

เหมียวสินธร
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




Friends' blogs
[Add เหมียวสินธร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.