วิจัยพบ! "บั้นท้ายใหญ่" ลดเสี่ยงเบาหวาน


หลายคนแอบอายที่บั้นท้ายของตัวเองใหญ่เทอะทะ แต่หารู้ไม่ว่านั่นแหละดีแล้ว งานวิจัยชิ้นใหม่จากฮาร์วาร์ดระบุ บรรดาคนที่ “ไว้ก้น” เป็นงานอดิเรก จะเสี่ยงเป็นเบาหวานน้อยกว่าคนที่มีบั้นท้ายเล็กกว่า และพุงโตกว่า ดังนั้นหากยอมให้มีไขมันสะสมทั้งทีขอมีที่ "ก้น" ดีกว่า "พุง"

ก่อนหน้านี้นักวิจัยต่างรู้กันว่าไขมันห่อหุ้มที่อวั ยวะภายใน (visceral fat - วิสเซอเริล แฟต) โดยเฉพาะในช่องท้อง หรืออาการ "ลงพุง" ยิ่งมีมากจะเพิ่มความเสี่ยงโรคเบาหวานและหัวใจ ขณะที่ผู้มีรูปร่างเหมือนลูกแพร์ ซึ่งมีไขมันใต้ผิวหนัง (subcutaneous fat - ซับคิวเทเนียส แฟต) สะสมที่บั้นท้ายและสะโพก ต้นขากลับเสี่ยงเป็นโรคดังกล่าวน้อยกว่า

อีกทั้งผลการวิจัยล่าสุดก็เผยอย่างแจ่มชัดว่า ไขมันใต้ผิวหนังช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคเกี่ยวเนื่อ งจากการเผาผลาญอาหาร โดย ดร.โรนัลด์ คาห์น (Ronald Kahn) จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกาเผยว่า ไขมันดังกล่าวช่วยให้ฮอร์โมนอินซูลินทำงานดีขึ้น โดยฮอร์โมนนี้ทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

ทั้งนี้ คาห์นได้ตั้งข้อสังเกตต่อไขมันทั้ง 2 ประเภท และเริ่มต้นศึกษาเพื่อหาคำตอบพื้นฐานว่า ไขมันวิสเซอเริล แฟต ที่สะสมในช่องท้องนั้นเป็นอันตราย เพราะตำแหน่งที่มันอยู่ หรือว่าเป็นเพราะลักษณะเฉพาะของไขมันชนิดนี้กันแน่

จากนั้นคาห์นและทีมได้แบ่งการทดลองออกเป็นชุดๆ โดยนำไขมันใต้ผิวหนังของหนูชุดหนึ่งไปปลูกถ่ายในช่อง ท้องของหนูอีกชุดหนึ่ง ซึ่งหนูกลุ่มนี้มีน้ำหนักลดลงภายในไม่กี่สัปดาห์ โดยเซลล์ไขมันก็หดเล็กลง อีกทั้งรูปร่างของหนูยังเพรียวบางขึ้นด้วย ทั้งที่ไม่ได้มีการควบคุมอาหารหรือเปลี่ยนกิจกรรมของ หนูแต่อย่างใด

ทว่าในทางกลับกัน เมื่อปลูกถ่ายไขมันที่สะสมอยู่บริเวณช่องท้องจากหนูช ุดหนึ่ง เข้าไปทั้งในช่องท้อง และใต้ผิวหนังของหนูอีกชุด กลับไม่มีปฎิกิริยาตอบสนองใดๆ

“สิ่งที่เราพบคือเมื่อเราปลูกถ่ายไขมันใต้ผิวหนังเข้ าไป การเผาผลาญอาหารของหนูก็ดีขึ้น” คาห์นเผย ซึ่ง การค้นพบนี้ยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า ไม่ใช่ไขมันทุกชนิดที่มีผลเสียไปทั้งหมด ซึ่งไขมันใต้ผิวหนังแตกต่างจากไขมันที่ห่อหุ้มอวัยวะ ภายใน

"ไม่ใช่ว่าไขมันในช่องท้องจะทำให้เกิดผลร้าย แต่ไขมันใต้ผิวหนังต่างหากที่ผลิตผลดี สัตว์ที่มีไขมันใต้ผิวหนังมากจะมีน้ำหนักเหมาะสมกับอ ายุ มีการตอบสนองต่ออินซูลินในระดับที่ดี และถ้าอินซูลินในร่างกายต่ำเมื่อใด ก็พร้อมที่จะปรับให้เกิดสมดุล" คาห์นอธิบาย

อย่างไรก็ดี จากข้อค้นพบนี้สอดคล้องกับหลายๆ งานวิจัยก่อนหน้า ที่ระบุถึงการดูดไขมัน ซึ่งก็คือการนำเอาไขมันใต้ผิวหนังออก กลับไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงหรือรักษาอาการต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับระบบเผาผลาญเลย อีกทั้งยังเพิ่มอาการดื้ออินซูลิน จนกลายเป็นปัญหาขึ้นมาอีกด้วย

กระนั้นก็ยังไม่มีงานวิจัยใดที่จับตาศึกษาผลดีของไขม ันใต้ผิวหนังที่ถูกดูดออกไป ซึ่งคาห์นก็ได้ทำ และระบุข้อค้นพบนี้ลงในวารสารกระบวนการเผาผลาญอาหารร ะดับเซลล์ "เซลล์ เมตาบอลิซึม" (Cell Metabolism) ฉบับเดือน พ.ค.51

นอกจากนั้น เขายังเผยถึงความเป็นไปได้ว่า ไขมันใต้ผิวหนังน่าจะสร้างฮอร์โมนที่รู้จักกันดีว่า "อะดิโพไคน์" (adipokine) ซึ่งมีผลดีต่อกระบวนการเผาผลาญ โดยคาห์นคาดว่าน่าจะช่วยลดผลร้ายที่กระทำโดยไขมันที่ สะสมในช่องท้อง

อย่างไรก็ดี นักวิจัยจากฮาร์วาร์ดรายนี้ก็ยังคงมุ่งหน้าศึกษาต่อไ ป เพื่อระบุให้ได้ว่าไขมันใต้ผิวหนังสร้างสารที่เป็นผล ดีต่อกระบวนการเผาผลาญได้อย่างไร และค้นหาสารดังกล่าวเพื่อพัฒนาเป็นยาที่มีประสิทธิภา พใกล้เคียงกัน.


Create Date : 18 ธันวาคม 2553
Last Update : 18 ธันวาคม 2553 14:52:56 น. 0 comments
Counter : 229 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 
 

ubuntu
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add ubuntu's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com